26 พฤศจิกายน 2553 13:06 น.
กระต่ายใต้เงาจันทร์
ในการเดินทางตามช่วงจังหวะชีวิตของข้าพเจ้าเอง ต้องมักจะมีส่วนไปทางเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาอยู่ร่ำไป เคยถอดใจว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องทางนี้อีกเพราะเมื่อจุดล้มเหลวในชีวิตครั้งหนึ่งแบบสุดๆในชีวิตคิดว่า จะใช้พระพุทธศาสนาเป็นเครื่องน้อมนำจิตใจแต่กลับเจอเรื่องที่เลวร้ายกว่าเก่าทำให้เสื่อมศรัทธาและไม่อยากไปมีส่วนเกี่ยวข้องหรือเดินบนเส้นทางบุญนี้อีก
แต่โลกกลับสอนให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ว่า ในเส้นทางบุญที่เราทำนั้นมีผลและเกิดขึ้นได้จริง จิตของเราไม่มีระเบียบ ไม่มีวินัย ที่หวั่นไหวไปกับการกระทำที่คาดหวังว่าเราทำทุกอย่างดีที่สุดแล้ว ผลตอบแทนต้องกลับมาดี แต่ว่าคาดหวังกับความสมหวังมันอยู่คนละส่วนกัน จิตของเราเริ่มเป็นอกุศลแล้วที่ตัดสินใจและคิดเมื่อสิ่งที่เราคิดไม่เป็นไปตามความต้องการ
ผลการกระทำดีนั้นช่างเกิดขึ้นช้าเสียจริง แต่เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว ก็ไหลน้อมนำต่อเนื่องไม่หยุดกระแสธรรม กระแสบุญ ทำให้ชีวิตข้าพเจ้าเจอแต่คนดีเจอแต่เรื่องๆดีๆเหมือนว่า เกิดเรื่องเสียก่อน จึงจะรู้ว่า สิ่งไหนคือสิ่งที่ทำให้ชีวิตความสุขในปัจจุบัน บุญทำง่ายคะถ้าเราตั้งใจทำและศรัทธาไม่หาเหตุผลมากลบล้างความตั้งใจนั้นเสียก่อน การเดินทางของชีวิตของคนเราอาจกำหนดรูปแบบได้แต่อาจบิดเบี้ยวเสียรูปทรงไปบ้างแต่เราเลือกกระทำได้ เมื่อก่อนข้าพเจ้าเคยมีเงิน มีอำนาจก็เลือกที่จะทำบุญด้วยเงินเพราะเรามีกำลังมากพอที่จะทำ แต่เมื่อเราเลือกชีวิตที่ถูกต้องและที่ใช่ ไม่สนใจเรื่องเงิน และอำนาจ สิ่งนั้นก็หายไปจากชีวิตเราได้ความสบายใจกลับมาแทน
ชีวิตทุกวันนี้คือทำบุญตามกำลังที่เรามีและเลือกที่จะเป็นสะพานใจต่อสะพานบุญต่อสหายธรรมโดยขอเชิญชวนทุกท่านที่มีจิตศรัทธาเป็นเจ้าภาพการสร้างวิทยาลัยสงฆ์เชียงรายเพื่อให้พระสังฆาธิการพระภิกษุสามเณรและจังหวัดใกล้เคียงได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนและยังเป็นทางเลือกใหม่ของประชาชนทั่วไปได้ศึกษาหาความรู้และเป็นต้นทุนการศึกษา ต้นทุนทางการทำงาน และ เป็นต้นทุนที่ได้ศึกษาพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธธรรมสร้างปัญญา การศึกษาสร้างอนาคต พร้อมยังสืบทอดศาสนาให้ยั่งยืนเพราะการศึกษาสามารถสืบทอดไปได้ไม่มีวันสิ้นสุด
ในส่วนรายการประเมินสร้างอาคารเรียนมีดังต่อไปนี้
รายการประมาณราคาปรับปรุงอาคารศาลากลางจังหวัดเชียงรายเป็นอาคารเรียน
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา ห้องเรียนวัดพระแก้ว เชียงราย
ลำดับ รายการ พื้นที่/ตร.ม. หน่วย/บาท รวม/บาทหมายเหตุ/เจ้าภาพ
1ปรับปรุงระบบไฟฟ้าภายในอาคาร 460,000
2ขัดผิวสีทางเดินชั้นที่ 1 300 200 60,000 พระเทพสิทธินายก
3ขัดผิวสีทางเดินชั้นที่ 2 225 200 4 5,000
4ปรับปรุงพื้นผิวและทาสีผนัง
4.1 ห้องเรียน 1 (ชั้น 1 ปีกตะวันตก)60 350 21,000 พระปัญญากรกวี
4.2 ห้องเรียน 2 (ชั้น 1 ปีกตะวันตก)65 350 22,750
4.3 ห้องเรียน 3 (ชั้น 1 ปีกตะวันออก)48 350 16,800
4.4 ห้องเรียน 4 (ชั้น 1 ปีกตะวันออก)60 350 21,000 พระครูขันติพลาธร
4.5 ห้องเรียน 5 (ชั้น 1 ปีกตะวันออก)60 350 21,000 พระพุทธิวงศ์วิวัฒน์
4.6 ห้องเรียน 6 (ชั้น 2 ปีกตะวันตก)60 350 21,000 พระพุทธิญาณมุนี
4.7 ห้องเรียน 7 (ชั้น 2 ปีกตะวันตก)60 350 21,000 พระครูพิพัฒน์รัตนพงศ์
4.8 ห้องเรียน 8 (ชั้น 2 ปีกตะวันตก)65 350 22,750 พระครูสังฆรักษ์สมศาสตร
4.9 ห้องเรียน 9 (ชั้น 1 ปีกตะวันตก)32 350 11,200
4.10 ห้องเรียน 10 (เรียนรวมชั้น 2 ปีกตะวันออก)90 350 31,500
4.11 ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ (ชั้น 2 ปีกตะวันตก)90 350 31,500
4.12 ห้องธุรการ (ชั้น 1 ใกล้ห้องโถง)20 350 7,000
4.13 ห้องอาจารย์พิเศษ (ชั้น 1 ติดห้องธุรการ)30 350 10,500
4.14 ห้องสำนักงานหลัก (ชั้น 1 90 350 31,500
4.14 ห้องวิจัยและพัฒนา (ชั้น 1) 30 350 10,500
4.15 ห้องบริหาร (ชั้น 1) 32 750 24,000 พระครูสุธีสุตสุนทร
4.16 ห้องสืบค้นข้อมูลและบรรณารักษ์50 350 17,500 พระครูสิริธรรมนิวิฐ
4.17 ห้องสมุด (ชั้น 1 ปีกตะวันออก) 180 350 63,000
4.18 ห้องพยาบาล (ชั้น 2 ปีกตะวันออก) 30 580 7,400 พระครูโสภณศิลปาคม
4.19 ห้องสำนักงานทะเบียนและวัดผล 30 3 50 10,500
4.20 ห้องกิจการนิสิต (ชั้น 2 ปีกตะวันออก )83 50 2,800
4.21 ห้องปฏิบัติงานคณะสงฆ์ (ชั้น 2 ปีกตะวันออก)112 750 84,000
4.22 ห้องรับรอง (ชั้น 2) 40 750 30,000
4.23 ห้องประชุมกลาง (ชั้น 2) 65 750 48,750
4.24 ห้องพักคณาจารย์ (ชั้น 2 ปีกตะวันออก) 65 350 22,750
4.25 ปรับปรุงและทาสีผนังห้องน้ำด้านซ้าย 10 2,000 20,000
4.26 ปรับปรุงและทาสีผนังห้องน้ำด้านขวา 10 2,000 20,000
5ปรับปรุงอาคารชั้นสาม ห้องปฏิบัติธรรม150 200 30,000
6 ปรับปรุงพื้นผิวบันไดชั้นล่าง 60 200 12,000
ปรับปรุงพื้นผิวบันไดชั้นบน 2 ด้าน 48 200 9,600
7 ทำห้องเก็บสัมภาระเครื่องใช้ 2 ห้อง 20,000
รวมรายการปรับปรุงบูรณะทั้งสิ้น 1,298,300
8วัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน
8.1 กระดานไวน์บอร์ดแต่ละห้องเรียน 10 ห้อง20 แผ่น 45 0 9,000
8.2 ชุดโปรเจ็คเตอร์ พร้อมจอ 100 นิ้ว 5 38,000 190,000
8.3 ชุดสื่อการสอนคอมพิวเตอร์ประจำห้องสอน 10 12,000 120,000
รวมรายการปรับปรุงวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนทั้งสิ้น319,000
รวมค่าปรับปรุงบูรณะปฏิสังขรณ์ทั้งสิ้น1,617,300
ถ้าท่านใดมีจิตศรัทธาติดต่อขอบริจาคได้ที่ พระธรรมราชานุวัตร เจ้าอาวาสวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย เจ้าคณะภาค6
สถานที่ตั้ง วัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัด เชียงราย
8 พฤศจิกายน 2553 23:52 น.
กระต่ายใต้เงาจันทร์
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาในช่วงบ่าย ได้ให้นิสิตช่วยกันทุบห้องเพื่อกั้นห้องเรียนซึ่งเป็นนิสิตภาคปกติ คณะพุทธศาสตร์และสังคมศาสตร์ชั้นปีที่ ๒ ที่ศาลากลางจังหวัดหลังเก่าเพื่อทำเป็นห้องเรียนและห้องทำงานเพราะทางมจร.ห้องเรียนวัดพระแก้วยังไม่ได้เป็นวิทยาลัยสงฆ์จึงไม่มีงบประมาณต้องช่วยกันทุกทางไม่ว่าด้วยกำลังเงินหรือกำลังคน พระธรรมราชานุวัตร เจ้าอาวาสวัดพระแก้ว ได้มีเมตตาช่วยเหลือสนับสนุนด้านการศึกษามาตลอดทั้งในเรื่องของทุนทรัพย์ กำลังคนและระดมสมองในการทำงานและแค่ค่าเดินระบบไฟใหม่ทั้งหมดเป็นยอดเงินสี่แสนกว่าบาทแล้ว
เพิ่งมีคณะผ้าป่าหนังสือของคุณลุงไพโรจน์ คุณอาหน่อย คุณองอาจ กลับไป แต่ก็มีอีกหลายส่วนที่ต้องทำ ไม่ว่าห้องคอมพิวเตอร์ เพราะคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่เป็นสภาพที่ใช้แล้วได้รับมาทำให้เครื่องเสียเป็นประจำ และเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอกับจำนวนพระนิสิตและนิสิต ซึ่งตอนนี้มีจำนวนถึง ๔๐๘ รูป/คน ในห้องสมุดเองที่กระต่ายไปช่วยงานก็มีคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้เพียงเครื่องเดียวเพื่อลงทะเบียนหนังสือบางทีพระนิสิตก็ขอปริ๊นงาน ไม่มีเครื่องสืบค้นหาหนังสือ ใครเข้าห้องสมุดทีหาหนังสือไม่เจอก็ต้องลุกไปดูและช่วยหาเป็นประจำ
ในส่วนของคณะสงฆ์เอง พระธรรมราชานุวัตร เจ้าอาวาสวัดพระแก้วเจ้าคณะภาค 6 จังหวัดเชียงรายได้ประชุมพระผู้ใหญ่ในจังหวัดเชียงราย และได้ช่วยเหลือบริจาคเป็นเงิน 25,000 บาทถึง60,000 บาทในการกั้นห้องเรียนและสถานที่ทำงานใหม่ทั้งหมด
จึงอยากประชาสัมพันธ์บอกบุญผ่านกับผู้มีจิตศรัทธาถ้าอยากทอดผ้าป่าคอมพิวเตอร์ โดยจะรวมกันหลายๆคนหนึ่งเครื่องหรือแล้วแต่ตามสะดวกแบบไหนอย่างไรคะ โดยเขียนชื่อ นามสกุลท่านไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าท่านใดมีความประสงค์และสนใจ ติดต่อที่ มจร.ห้องเรียนวัดพระแก้ว ต,รอบเวียง. อ.เมือง. จ.เชียงรายหรือสอบถามมาได้ที่ กระต่ายใต้เงาจันทร์อีเมลล์ tamoko_29@hotmail.com
6 พฤศจิกายน 2553 22:43 น.
กระต่ายใต้เงาจันทร์
...ทานวิปริต
ขึ้นชื่อว่า ทาน ชาวพุทธโดยทั่วไปเข้าใจและรู้จักดี เพราะ ทาน เป็นคำสอนซึ่งปรากฏอยู่โดยทั่วไปในพระพุทธศาสนา การให้หรือการบริจาคซึ่งเรียกว่า ทาน นั้นเป็นของดี เป็นบุญกุศลแก่ผู้ให้ เป็นความดีงามแก่ผู้ให้ ก่อให้เกิดความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือสงเคราะห์กันและกันในหมู่ชน หรือในสังคม และธรรมชาติของทานนั้น ย่อมมีผลย้อนกลับไปสู่ผู้ให้ คือ ทำให้ผู้ให้ย่อมได้รับการให้ตอบ ทำให้ผู้ให้ได้บุญเป็นบุญบารมี ผู้ให้ย่อมผูกมิตรภาพยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้อื่นได้ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักนับถือของผู้รับ ผู้ให้ย่อมมีพรรคพวกบริวาร และถ้าเขาเป็นนักให้ นักบริจาคทานอยู่เสมอ ก็จะทำให้เกิดพลังอำนาจ (Power) ขึ้นอย่างหนึ่งที่เรียกว่า บารมีอำนาจ หรือ บริวารอำนาจ หนุนให้นักให้ หรือนักบริจาคทานนั้นสูงส่งยิ่งขึ้น หรือเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น นี้เป็นธรรมชาติที่เป็นไปอย่างนั้นของธรรมะที่เรียกว่า ทาน
...พระพุทธเจ้าท่านทรงทราบชัดถึงข้อนี้... จึงทรงสอนให้รู้จักบริจาคทาน และทรงสอนให้บริจาคทานด้วยเจตนาที่ดี เจตนาที่เป็นบุญกุศล ตลอดถึงให้บริจาคทานแก่ผู้ตกทุกข์ได้ยาก และแม้กระทั่งสัตว์เดรัจฉาน ชาวพุทธจึงนิยมทำบุญบริจาคทานเป็นนิสัยประจำชาติไปแล้ว สังคมไทยจึงเป็นสังคมที่เอื้ออาทรต่อกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน และมีน้ำใจต่อกันอย่างตรงไปตรงมาอย่างไม่ดัดจริตมีมายาสาไถย ไม่บริจาคทานแบบอ่อยเหยื่อ หรือแบบเหยื่อเกี่ยวเบ็ดตกปลาเพื่อลงหม้อแกง
แต่ ทาน ยุคโลกาภิวัตน์ หรือ อินเตอร์เนต ธุรกิจการเมือง หรือธุรกิจทุนนิยมปัจจุบันนี้ ทาน คือการให้ กลายเป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่งของบุคคลบางกลุ่ม บางประเภท คือ ทำการบริจาคหรือให้ เพื่อเป็นบันไดขึ้นไปตักตวงผลประโยชน์อันมากกว่าที่ให้ไปนั้น เป็นร้อยเป็นพันเท่า เพราะคนประเภทนี้รู้ดีว่า ทานคือการให้นั่นแหละ มันจะมีผลย้อนกลับ เป็นหนทางที่จะสร้างอำนาจขึ้นได้ จึงใช้ธรรมะคือทานนี้แหละไปแสวงหาผลประโยชน์ที่มากกว่า อย่างนี้เรียกว่าการใช้ธรรมะในทางที่ผิด ที่ท่านเรียกว่า สัทธรรมปฏิรูป การประพฤติธรรมแบบนี้เป็นการประพฤติธรรมที่ไม่สุจริต ทานของผู้ไม่สุจริตนี้ก็เป็นทานวิปริต คือ ทานที่คลาดเคลื่อนจากวัตถุประสงค์ที่แท้จริง
คนประพฤติธรรมไม่สุจริตแบบนี้ มักจะมาในรูปของนักบุญ ที่เรียกว่า โจรในคราบบุญ หรือถ้าพูดแบบสำนวนพระก็เรียกว่า ซ่อนดาบไว้ในจีวร คนประเภทนี้ดูยาก เรียกว่า รู้หน้าไม่รู้ใจ เพราะเขาอยู่ในรูปแบบของการให้ความช่วยเหลือ เหมือนคนเอาเหยื่อเกี่ยวเบ็ดให้ปลากิน ปลามองไม่เห็นเบ็ด เห็นแต่เหยื่อ ก็นึกว่ามนุษย์นี้ช่างมีเมตตากรุณาดีจริงหนอ อุตส่าห์เอาอาหารมาให้ คิดแล้วก็ไปรับอาหารจากมนุษย์นั้น เมื่องาบเหยื่อเข้าแล้วก็ติดเบ็ด อนาคตก็คือ หม้อแกง
คนประเภทชอบงาบเหยื่อนี้ก็มีอยู่มาก เพราะไม่รู้ถึงความเป็นโจรของเขา ซึ่งซ่อนอยู่ภายใน จึงมองไม่เห็นทุกข์โทษภัยที่จะมาถึง ยิ่งถ้าเป็นเจ้าบ้านผ่านเมือง เป็นนักปกครอง นักบริหารด้วยแล้ว ถ้าหลงไปงาบเหยื่อของนักบุญผู้ให้การช่วยเหลือประเภทนี้เข้า บ้านเมือง ประชาชนก็จะเกิดความทุกข์ยากลำบากเดือดไปทุกหย่อมหญ้า เหมือนละครเรื่องของแผ่นดิน ที่เราเคยดูกันมาครั้งหนึ่งนั่นแหละ ย่อมเป็นอุทาหรณ์ในเรื่องนี้เป็นอย่างดี.
โดย ศรีพลอย เปรียญ...