ส่องโยงโคลงสองรัชกาล พินิจความย่างเยื้อง...............ยลโคลง สอดส่องคำผูกโยง........................อย่างเค้า แลตามอ่านครรโลง......................งานเก่า...อยุธย์เอย ตามเบิ่งลิลิตเจ้า...........................หลากล้วนลีลา มองกวีศรีธเรศล้วน.............ปรีชา สานต่อคำกถา.............................หยั่งท้าย โยงคำต่อกันมา...........................งามดั่ง..กลอนแฮ สดับตรับคำคล้าย........................หนึ่งนี้คมงาม ตามลิลิตเมียงหม้า................สมเด็จพระฯ...*๑ สมเด็จมหาสมณะ........................ร่างไว้ โยงสดับจับวจนะ.........................งามต่อ...เนื่องเฮย เรียงส่งสวยสดให้........................แบบเบื้องปรัตยุบัน สรรค์โคลงโลกนิติน้อม...........กรมพระยาฯ...*๒ ชายมิ่งฯพระเดชา*......................ส่องบ้าง มิเห็นต่อวรรณนา........................โยงเนื่อง สืบส่องมองสล้าง...........................สุดพ้นพรรณนา "**ห้ามเพลิงไว้อย่าให้.....................มีควัน ห้ามสุริยะแสงจันทร์......................ส่องไซร้ ห้ามอายุให้หัน................................คืนเล่า ห้ามดั่งนี้ไว้ได้.................................จึ่งห้ามนินทา ***เสียสินสงวนศักดิ์ไว้...................วงศ์หงส์ เสียศักดิ์สู้ประสงค์..........................สิ่งรู้ เสียรู้เร่งดำรง.................................ความสัตย์....ไว้นา เสียสัตย์อย่าเสียสู้...........................ชีพม้วยมรณา**" เชิญกวีรัตนแก้ว........................โกสินทร์ ขอพระองค์ทรงยิน..........................พร่างนี้ ขอลอกพระวัจนินทร์.......................มาแจก...แจงเฮย ขอเผื่อผู้ใดชี้..................................แบบให้ดูความ ทิกิ_tiki * ๑ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ผู้ทรงประพันธ์ลิลิตตะเลงพ่ายเป็น ร่ายและโคลงสุภาพ ทั้งโคลง ๒ โคลง ๓ และ โคลงสี่ หนึ่งใน ๙ เรื่องโคลงต้นรัตนโกสินทร์รัชสมัยรัชกาลที่สอง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย *๒* สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิสร พระนามเดิม*พระองค์เจ้าชายมิ่ง" ต่อเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๔ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ได้โปรดฯให้กรมพระยาเดชาดิสร ชำระโคลงโลกนิติ จากความเก่าอยุธยาให้เป็นความใหม่สมบูรณ์ แล้วให้จารึก ไว้บนแผ่นศิลาติดไว้ที่แนวระเบียงวัดพระเชตุพน ทิกิ_tiki ส่อง โยง..โคลงสองรัชกาล แบบโยงปัจจุบันที่ใช้กันอยู่จะเป็นดั่งนี้ แบบรัตนโกสินทร์(ปัจจุบัน ?) ๏ 0 0 0 ก่ ข้........ 0 x.....(0 0) 0 ก่ 0 0 x............ ก่ ข้ 0 0 ก่ 0 x............ 0 ก่........(0 0) 0 ก่ 0 0 ข้ ...........ก่ ข้ 0 Z....(0 0) ๚ ๏ Z,Z,Z ก่ ข้....... 0 x.....(0 0) 0 ก่ 0 0 x ............ก่ ข้ 0 0 ก่ 0 x............ 0 ก่........(0 0) 0 ก่ 0 0 ข้ ............ก่ ข้ 0 0....(0 0) ๚ การต่อโคลงระหว่างบท ดูตรง คำท้ายบทต้น ( Z) ให้สัมผัส ระหว่าง คำที่ 1 2 3ของหน้าบทต่อไป( Z,Z,Z,) หรือแบบ ลงตำแหน่งอื่นจากท้ายความ ขอบคุณท่านผู้รู้ทุกท่านที่นี้ไว้เลยค่ะ
12 กรกฎาคม 2548 22:14 น. - comment id 490980
*เมียงหม้า...มาจาก เมียงมาร์.พม่า..จากคำว่า ลิลิตตะเลงพ่าย ปรัตยุบัน...เป็นคำวิธีเขียนเก่าในบทประพันธ์เดิม ผู้เขียนนำมาใช้ให้สวยงามแทนคำว่า ปัจจุบัน
13 กรกฎาคม 2548 09:06 น. - comment id 491071
แวะเข้ามาชื่นชม ผลงาน วิจิตรพิศดาร ยอดเยี่ยม ทำได้เพียงแต่อ่าน เท่านั้น แหละเรา อยากแต่งได้อย่างเขา ไม่รู้ ทำไง ** อยากแต่งบ้าง ครับ แต่สัมผัสระหว่างบท ไม่รู้เขาบังคับอย่างไร ที่แต่ง ๆ ก้อ ดู ๆ พี่ทิกิ นะครับ ไม่รู้จะถูกป่าว
13 กรกฎาคม 2548 12:21 น. - comment id 491103
ขอบคุณคุณไวยากรณ์ ที่ปัจจุบันนิยมใช้แบบต้นรัตนโกสินทร์ ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรสท่านทรงนิพนธ์ไว้เช่น โคลงลิลิตตะเลงพ่าย(ข้าพเจ้ายังค้นหาบทอื่น อ่านไม่พบ หรือพบก็น้อยเกินกว่าที่จะ ระบุแบบโยงโคลง) เป็นดั่งนี้ค่ะ แบบรัตนโกสินทร์(ปัจจุบัน ?) ๏ 0 0 0 ก่ ข้........ 0 x.....(0 0) 0 ก่ 0 0 x............ ก่ ข้ 0 0 ก่ 0 x............ 0 ก่........(0 0) 0 ก่ 0 0 ข้ ...........ก่ ข้ 0 Z....(0 0) ๚ ๏ Z,Z,Z ก่ ข้....... 0 x.....(0 0) 0 ก่ 0 0 x ............ก่ ข้ 0 0 ก่ 0 x............ 0 ก่........(0 0) 0 ก่ 0 0 ข้ ............ก่ ข้ 0 0....(0 0) ๚ การต่อโคลงระหว่างบท ดูตรง คำท้ายบทต้น ( Z) ให้สัมผัส ระหว่าง คำที่ 1 2 3ของหน้าบทต่อไป( Z,Z,Z,) หรือแบบ ลงตำแหน่งอื่นจากท้ายความ ขอบคุณท่านผู้รู้ทุกท่านที่นี้ไว้เลยค่ะ เลยขออนุญาตนำขึ้นหน้าหนึ่งไว้อีกครั้ง อันที่จริงใส่ไว้กระทู้ก่อนหน้าเรื่องโยงโคลง นี้หลายกระทู้แล้วค่ะ แต่สามารถไปอ่านรวมทุกตอนได้ที่นี่ค่ะ http://www.pantip.com/cafe/writer/topic/W3591465/W3591465.html
13 กรกฎาคม 2548 16:33 น. - comment id 491200
ขออนุญาต เพิ่มเติมคำว่า ยังหาแบบอื่นไม่พบ ที่จริงนั้นพบหลายอย่าง หลายแบบแล้ว แต่เมื่อคำนวณ ออกมาเป็น % ยังไม่พอที่จะ ระบุว่าโคลงของท่านนั้นๆๆ กวีในอดีตท่านนั้น ใช้แบบนั้น ยกตัวอย่างท่านสุนทรภู่ ใช้แบบ ก 2.24 % แบบ ข..4.2% เป็นต้น การโยงต่อเนื่องสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัก 70 % ของบทโคลงจึงน่าเชื่อถือว่ากวี ถือระบบการโยงโคลงเช่นนั้น มิฉะนั้นคงระบุว่า กวีท่านนั้น ไม่นิยมโยงโคลง (ถึงแม้จะมีกระเส็นกระสายว่าโยงอย่างตัวอย่างข้างต้นที่ยกมาให้ดูค่ะ) ป.ล. หัวข้อนี้เกิดจากข้าพเจ้าเขียนเอง คิดเองคำนวณเองมิได้ลอกเลียนผู้ใด มีหลายท่านถามทาง MSN เมื่อพบกันว่า ยึดกฎผู้ใด ขอตอบว่า...เปล่าค่ะ นี่กำลัง...ศึกษาทางโยงของแต่ละท่านกวี เท่าที่จะหาอ่านได้ค่ะ หนังสือสมัยเรียน จารึก ยังพอมีอยู่บ้าง ก็นำมาประกอบการอ่านค้นช่วงนี้อยู่ แต่ไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ช่วงนี้ก็ยุ่งงานประจำสักหน่อย ก็ขออภัย อ่านโคลงได้ช่วงกลางคืนก่อนหลับ เท่านั้นแหละค่ะ ขอบคุณทุกความใส่ใจและ สนใจของทุกท่าน ขอเรียนให้ทราบว่า ผู้เขียนไม่ใส่อารมณ์มาในบทประพันธ์ ระหว่างศึกษาหรือสืบค้นหรือวิเคราะห์ จึงอย่ามาจับอารมณ์โคลงของข้าพเจ้าไป ทำเป็นเรื่องเป็นราว ขอบิณฑบาต ไว้ก่อนเลยท่าน
13 กรกฎาคม 2548 19:00 น. - comment id 491257
โฮ๊ะ แย้วมันจะยากอีกมั้ยเนี้ย (ยิ่งสัมผัสยิ่งงง ยิ่งท้อยิ่งทอย ยิ่งดื้อยิ่งด้าน ใจเริ่มต่อต้านแย้วแงะๆๆ ยากโคตร)
13 กรกฎาคม 2548 20:05 น. - comment id 491291
คุณ .นิรัติศัย คะ ๏ 0 0 0 ก่ ข้........ 0 x.....(0 0) 0 ก่ 0 0 x............ ก่ ข้ 0 0 ก่ 0 x............ 0 ก่........(0 0) 0 ก่ 0 0 ข้ ...........ก่ ข้ 0 Z....(0 0) ๚ ๏ Z,Z,Z ก่ ข้....... 0 x.....(0 0) 0 ก่ 0 0 x ............ก่ ข้ 0 0 ก่ 0 x............ 0 ก่........(0 0) 0 ก่ 0 0 ข้ ............ก่ ข้ 0 0....(0 0) ๚ การต่อโคลงระหว่างบท ดูตรง คำท้ายบทต้น ( Z) ให้สัมผัส ระหว่าง คำที่ 1 2 3ของหน้าบทต่อไป( Z,Z,Z,) จำแนวนี้ไว้ก่อน แบบ play safe แม่นแล้วค่อยว่าแบบอื่นทีหลัง อันความรู้รู้กระจ่างเพียงอย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล ท่านครูภู่ท่านว่าไว้อย่างนี้แหละค่ะ ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ ทิกิ
14 กรกฎาคม 2548 02:37 น. - comment id 491395
จำไม่ได้ว่าเคยอ่านที่ไหนเรื่องโคลงสัมผัสข้ามบท......สมัยเรียนก็เคยได้อ่านฟังมา เสียดายหนังสือที่ว่าหายเสียแล้ว หลักการไม่ต่างจากที่ยกมา . ก็ดีนะ สืบค้นให้รู้หลักคำประพันธ์.... แวะมาอ่านครับ....
14 กรกฎาคม 2548 19:39 น. - comment id 491604
ยังหาตำราเล่มที่ว่ามิได้เหมือนกันค่ะ หลายท่านบอกว่า ในตำราฉันทลักษณ์มิได้ระบุไว้ จึงอยากจะสืบค้นการถ่ายทอดดังกล่าว ว่ามาแต่ใดแน่ค่ะ ขอบคุณเพลงผิวนะคะ
14 กรกฎาคม 2548 20:30 น. - comment id 491617
พูดได้คำเดียวว่า \"ขลัง\" ค่ะ!!
15 กรกฎาคม 2548 00:51 น. - comment id 491772
ซอนย่า ขอบคุณ รู้สึกขลังๆดีเหมือนกันแหละคะ
18 กรกฎาคม 2548 14:26 น. - comment id 493093
มีเรื่องโยงถ้อยความระหว่างเว็บที่น่า สนใจที่ผู้อ่านควรเรียนรู้ไว้เป็นอย่างยิ่ง ขออนุญาตนำมาเก็บไว้ที่คำตอบนี้ด้วยค่ะ ขอยกคำตอบที่พันทิปในกระทู้ผู้เข้าไปถาม ในหน้าห้องสมุดพันทิปมาให้ทุกท่านที่นี่หน่อยค่ะเพราะเป็นข้อมุลที่ดียิ่งสมควรแก่การ บันทึกข้ามเว็บไว้ค่ะ ความคิดเห็นที่ 16 http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K3603211/K3603211.html รบกวนถามเรื่องการเขียนบรรณานุกรมที่เอามาจากอินเตอร์เนต ครับ.. ผมไม่ค่อยได้ใช้บ่อย ใช่ Online: Available. http://..... (ชื่อเวป) หรือเปล่าครับ ขอบคุณล่วงหน้านะครับ ..... : แหงนมองดูดาวอันสูงส่ง - [ 13 ก.ค. 48 14:17:59 ] -------------------------------------------------------------------------------- # 1 การเขียนบรรณานุกรม หนังสือ เอกสาร และบทความที่เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต -------------------------------------------------------------------------------- ..........การเขียนรายละเอียดทางบรรณานุกรมสำหรับแหล่งข้อมูลที่เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต มีหลักการเช่นเดียวกับการเขียน รายละเอียดทางบรรณานุกรมของแหล่งข้อมูลประเภทอื่น ๆ คือ ต้องให้รายละเอียดที่ทำให้ผู้สนใจสามารถเข้าถึงแหล่ง ข้อมูลนั้น ๆ ได้ ในที่นี้จะขอกล่าวถึง การเขียนรายละเอียดทางบรรณานุกรมสำหรับแหล่งข้อมูลที่เผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต สามประเภทใหญ่ ได้แก่ หนังสือ เอกสาร และบทความ ข้อความที่ประกาศ (post) และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะ ยกตัวอย่างการเขียนในรูปแบบเอพีเอ (APA) ของสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน แบบเอ็มแอลเอ (MLA) ของสมาคมภาษา สมัยใหม่ และแบบชิคาโก (Chicago) ของมหาวิทยาลัยชิคาโก รูปแบบบรรณานุกรมทั้งสามนี้เป็นรูปแบบที่พบทั่วไปใน งานเขียนทางวิชาการทางสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ..........การเขียนรายละเอียดทางบรรณานุกรมสำหรับ หนังสือ เอกสารและบทความที่เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตมีรูปแบบ และองค์ประกอบเช่นเดียวกับ บรรณานุกรมหนังสือ เอกสารและบทความที่เผยแพร่ทั่วไปในรูปสิ่งพิมพ์ รายละเอียดที่ ควรมี ได้แก่ ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ปีที่ผลิต (เทียบได้กับปีที่พิมพ์) และแม้ว่าจะละรายละเอียดบางประการ เช่น เมืองที่พิมพ์ หรือสำนักพิมพ์ ซึ่งหาไม่ได้ก็ได้ แต่ต้องมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการสืบค้นเอกสารนั้น ๆ ระบุไว้ ได้แก่ วันที่และเดือนปีที่ สืบค้น* และยูอาร์แอล (URL)** ซึ่งควรให้เฉพาะเจาะจงจนถึงหน้าเอกสารที่อ้างถึงให้มากที่สุด และหากยูอาร์แอลมี ความยาว ไม่ สามารถพิมพ์ให้จนจบได้ในบรรทัดเดียว ควรแบ่งข้อความโดยขึ้นบรรทัดใหม่ด้วยข้อความหลังเครื่อง หมายทับ (/) หรือ ก่อนเครื่องหมายมหัพภาค (.) *....เหตุที่ต้องระบุวันที่และเดือนปีที่สืบค้น เป็นเพราะข้อมูลที่เผยแพร่บนเว็บอาจมีการเปลี่ยนแปลง และเคลื่อนย้าย .....ทางที่ดีผู้ค้นคว้าควรพิมพ์เอกสารที่อ้างอิงไว้เป็นหลักฐานด้วย **..URL ย่อมาจาก Universal Resource Locator หมายถึง ตัวชี้แหล่งในอินเตอร์เน็ต : โคอาล่าน้อย - [ 13 ก.ค. 48 14:41:01 ] # 2 ตัวอย่าง บรรณานุกรมหนังสือ .....แบบเอพีเอ ...............Einstein, A. (2000). Relativity : The special and general theory (R.W. Lawson, ..........................Trans.). New York : Bartleby.com. (printing version was published by Henry Holt, ..........................New York in 1920). Retrieved August 21, 2002, from http://www.Bartleby.com/ ..........................173/ ...............หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง. (2542). กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน. ..........................สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2545, จาก http://www.Royin.go.th/roman-translate.html .....แบบเอ็มแอลเอ ...............Einstein, Albert. Relativity : The Special and General Theory. Trans. Robert W. ...........................Lawson. New York : Bartleby.com., (2000) Printing version was published by ...........................Henry Holt, New York in 1920. 21 August 2002 ...............หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2542. ..........................24 สิงหาคม 2545 .....แบบชิคาโก ...............Einstein, Albert. Relativity : The Special and General Theory. Translated by ...........................Robert W. Lawson. New York : Bartleby.com., 2000 Printing version was published ...........................by Henry Holt, New York in 1920. (21 August ...........................2002). ...............หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, ...........................2542. (24 สิงหาคม 2545). : โคอาล่าน้อย - [ 13 ก.ค. 48 14:41:27 ] # 3 เพิ่มเติมตัวอย่างจาก http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=medlib&topic=48 ลองดูนะคะไม่รู้ว่าตรงกับที่ต้องการไหม : โคอาล่าน้อย - [ 13 ก.ค. 48 14:42:48 ] # 4 เขียนบรรณานุกรมจาก WWW ข้อมูลที่ต้องใช้ในการเขียน 1.ชื่อผู้เขียน(ถ้าปรากฏ) 2. ชื่อเอกสารที่ปรากฏในตัวเอกสาร 3. ชื่อสมบูรณ์ของงานหรือชื่อของเว็บเพจ 4. วัน เดือน ปี ที่เริ่มเผยแพร่หรือวันที่ปรับปรุงครั้งหลังสุด 5. URL 6. วัน เดือน ปี ที่สืบค้น รูปแบบ... ชื่อผู้แต่ง. \"ชื่อเอกสาร,\" ชื่อสมบูรณ์ของงาน. วัน เดือน ปีที่เผยแพร่. วัน เดือน ปีที่สืบค้น. : แก่นจุก - [ 14 ก.ค. 48 11:10:54 ] # 5 ขอบคุณทุกท่านครับ : แหงนมองดูดาวอันสูงส่ง - [ 14 ก.ค. 48 16:02:29 ] # 6 มาช้าไปหน่อย .. คิดว่าตรงตามที่คุณต้องการนะคะ ไทย \"ยาม้า ยาบ้า.\". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.au.ac.th/Newabac/special/ E/index.html 2540. อังกฤษ \"Fact Sheet : The Telecommunications Act.\". [Online]. Available: http://www.usia.go...s/gii/commerce.text 1996. ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.car.chula.ac.th/readerweb/web/reference_format.html ค่ะ : mintmint - [ 15 ก.ค. 48 17:14:33 ] ขออนุญาตค้อปี้มาให้ทุกท่านในหน้าแหล่งกวีได้มีโอกาส เพิ่มความรู้เรื่องการจัดระเบียบบรรณานุกรมค่ะ ขอบคุณแหล่งที่มาเป็นอย่างยิ่งค่ะ : tiki_ทิกิ - [ 16 ก.ค. 48 13:59:26 ] http://www.pantip.com/cafe/writer/topic/W3577082/W3577082.html