๑. ..๏ บึงหนองคลองงวดให้.........แตกระแหง ผงฝุ่นปนดินแดง...................ตลบฟุ้ง ลมระอุพัดรุนแรง....................ผ่าวผ่าน ยังจิตพลันหวาดสะดุ้ง.............สิ่งร้ายหมายเยือน ฯ ๒. ..๏ วัวควายรายรอบล้วน.........หิวกระหาย มวลหมู่สัตว์มากมาย..............อ่อนล้า หนองบึงซึ่งกลับกลาย............แห้งผาก ฤๅเทพบนเมืองฟ้า..................สาปให้กรรมหนุน ฯ ๓. ..๏ ชีวิตคนสัตว์ต้อง...............ตรอมตรม ชวนสลดทุกข์ระทม...............อกไข้ เดินตากแดดตากลม.............แสนหม่น- หมองเฮย พืชผักต่างเกรียมไหม้.............หมดสิ้นประดาตัว ฯ ๔. ..๏ ชาวนาพาร่างไร้................ความหวัง เดินผ่านนาปีปรัง..................เหือดแห้ง หมดเรี่ยวแรงกำลัง................บุกบั่น ทนทุกข์ถูกฝนแล้ง.................รุกล้ำย่ำยี ฯ ๕. ..๏ เคียวคราดผุกร่อนสิ้น.......ความคม ไถแอกกองทับถม.................หักสะบั้น หมวกงอบกรอบโดนลม.........กรรโชก ร่วงแฮ เรือนซากเถียงนานั้น............ปลวกล้อมรุมทะลวง ฯ ๖. ..๏ ชาวนามาหมดสิ้น.............วิญญาณ แล้วเฮย ภัยพิบัติหักหาญ.....................พ่ายแพ้ สินทรัพย์ต่างอันตรธาน..........จนหมด มีแต่ความท้อแท้....................มากหนี้ทวีคูณ ฯ ๗. ..๏ จำนองนาได้จาก.............บรรพชน ปลุกเรี่ยวแรงดิ้นรน..............ต่อสู้ ความอดอยากยากจน............ตามหลอก- หลอนแฮ พลัดพรากจากมวลผู้..............อยู่เหย้าเฝ้าเฮือน ฯ ๘. ..๏ หวังตายเอาดาบหน้า.........พเนจร หมายมุ่งยังมหานคร..............จรัสฟ้า ทำงานเช่นกรรมกร................บ่เกี่ยง- ใดเฮย เบาหนักจักทนถ้า..................หากได้เงินทอง ฯ ๙. ..๏ อาบเหงื่อต่างน้ำบ่............โทษชะตา เนื่องจากบุญวาสนา...............เก่าน้อย อีกไร้ซึ่งปริญญา.....................มาสมัคร- งานเฮย มีแต่กำลังข้อย.......................แลกด้วยแรงงาน ฯ ๑๐. ..๏ เก็บหอมรอมริบไว้...........ทำทุน หวังช่วยเหลือเจือจุน.............ถิ่นเหย้า กอรปการอย่างหัวหมุน..........สุจริต คนอยู่เฮือนคงเฝ้า..................ต่างชะเง้อคอยหา ฯ ๑๑. ..๏ รอวันพลิกแผ่นพื้น-...........พสุธา กลับสู่ไร่ผืนนา.......................รกร้าง วอนภาครัฐเมตตา...................คนยาก โปรดช่วยเหลือข้อยบ้าง...........อย่าได้วางเฉย ฯ ๑๒. ..๏ นโยบายฤๅปากพลั้ง............เผลอมา เคยอวดโอ่วาจา.......................กล่าวไว้ หางานหมดเงินมา................บอกรัฐ ยามทุกข์ยากเจ็บไข้..................ช่วยได้ทันที ฯ ๑๓. ..๏ มองนาพาจิตช้ำ.................ทบทวี ความทุกข์ยากมากมี...............บีบคั้น หาใครช่วยบ่มี.......................ใครยื่น- มือเฮย คงแต่วัวควายนั้น...................แสยะยิ้มยืนมอง ๚ะ๛
17 กุมภาพันธ์ 2548 09:48 น. - comment id 426880
มายืนมองค่ะ:)
17 กุมภาพันธ์ 2548 09:49 น. - comment id 426882
ร้าง(สัญญาใจ) แล้วจะมาเขียนโคลงบทนี้ เอาหัวข้อโคลงไปก่อน ตอนนี้ยังนึกไม่ออกครับ ขอความชุ่มชื้น จงบังเกิดมีแด่ผืนนา ชาวนา รวมถึงดวงใจทุกดวงและสัญญาอื่นๆทุกฉบับครับ :]
17 กุมภาพันธ์ 2548 10:16 น. - comment id 426891
ผงฝุ่นปนดินแดง...................คละคลุ้ง ได้ยินมาว่าการกำหนด เอก โท ในโคลง มีเพื่อให้มีระดับเสียงต่างกัน ตรงจุดที่เอกและโทอยู่คู่กัน จะมี 3 แห่งในโคลงสี่สุภาพ คละคลุ้ง เป็นเสียงตรีซ้อนกันโดยไม่เหลื่อมระดับ น่าจะอ่านเอื้อนไม่ไพเราะ
17 กุมภาพันธ์ 2548 11:15 น. - comment id 426909
มาชื่นชมผลงานโคลงที่น่าอ่าน....บอกเล่าเรื่องราวได้จนมองเห็นภาพ......ขอชมจากใจเลยค่ะ...........เก่ง
17 กุมภาพันธ์ 2548 12:00 น. - comment id 426927
คุณเพียงพลิ้ว .. ร้อนน๊า อย่าลืมกางร่มด้วยนะคะ คุณลักษมณ์ .. คำกล่าว ย่อมเป็นยิ่งกว่าคำสัญญาค่ะ จะรออ่านนะคะ คุณแก้วนิดา .. ขอบคุณมากค่ะ สืบเนื่องจากภาพที่อัลมิตราเห็นคราท่องเที่ยว และ ข่าวทางทีวีเมื่อวานค่ะ จึงรู้สึกรันทดใจยิ่งนักต่อชะตากรรมของผู้ประสบภัยแล้ง
17 กุมภาพันธ์ 2548 12:02 น. - comment id 426928
..๏ แล้ง ..๏ บึงหนองคลองงวดให้.........แตกระแหง ผงฝุ่นปนดินแดง...................คละคลุ้ง ลมระอุพัดรุนแรง....................ผ่าวผ่าน ยังจิตพลันหวาดสะดุ้ง.............สิ่งร้ายหมายเยือน ฯ จากบทก่อนการแก้ไข บาทที่สอง หากมองตามรูปแล้ว คละคลุ้ง ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ แต่เมื่อเอื้อนทำนองเสนาะแล้ว จึงพบว่า เสียงเหลื่อมระดับกัน เนื่องจากในวรรคหน้า มีเสียงสามัญเชื่อมต่ออยู่ก่อนแล้วสามคำ ดังนั้นอัลมิตราขอปรับจากคำว่า คละคลุ้ง เป็นคำว่า ตลบฟุ้ง ถ้าสังเกตุให้ดี คำว่า คลุ้ง เสียงตรี ฟุ้ง ก็เสียงตรีเช่นกัน แต่ยังมีคำหน้าคือคำว่า ตลบ เป็นตัวช่วยนำเสียงเอื้อน และถ้าอ่านความหมายทั้งบรรทัดจะสื่อได้ดีกว่า ผงฝุ่นปนดินแดง...................ตลบฟุ้ง (บาทนี้ต้องการสื่อให้เห็นผงผุ่นที่ปนกับดินแดงตลบฟุ้งไปทั่ว เหมือนที่เห็นตามท้องถิ่นชนบท) ตัวอย่างที่ดี โคลงโลกนิติ.. ปลาร้าพันห่อด้วย.............ใบคา ใบย่อมเหม็นคาวปลา.......คละคลุ้ง คือคนหมู่ไปหา................คบเพื่อน พาลนา ได้แต่ร้ายร้ายฟุ้ง...............เฟื่องให้เสียพงศ์ หากจะนำบาทที่สองของโคลงโลกนิติมาเทียบแล้ว คำว่า คละคลุ้ง เสียงไม่เหลื่อมจากสามคำซึ่งอยู่ก่อนหน้าในบาทเดียวกัน (เหม็นคาวปลา) และความหมายก็ยังสื่อได้ชัดเจน ถึงแม้ว่า คลุ้ง จะเป็นเสียงตรีก็ตาม ซึ่งเดิมที สมัยโบราณ ร้อยกรองไม่ใช่มีรูปแบบแต่ผังภาพเท่านั้น หากแต่ยังหมายถึงเสียง ขอขอบคุณ ผู้ที่ไม่สันทัดโคลง ที่กรุณาให้ข้อวิจารณ์มา ทำให้อัลมิตราได้ปรับปรุงผลงานของตนเอง และอาจจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่จะเขียนโคลงท่านอื่นด้วยค่ะ มิตรภาพตราบสิ้นฟ้า
17 กุมภาพันธ์ 2548 12:03 น. - comment id 426929
สัญญามีเอ่ยไว้ เลียบเคียง เคยกล่าวตอนหาเสียง มั่นแท้ สมหวังแค่เป็นเพียง ลมปาก เอ็งทุกข์เอ็งคิดแก้ ปากท้องเอาเอง ช่วยได้อย่างเดียว ให้เอ็งกู้ อิอิอิอิ
17 กุมภาพันธ์ 2548 12:12 น. - comment id 426933
เข้ามาบอกว่า ยังนึกเขียนโคลงที่ได้กล่าวเอาไว้ไม่ออกครับ โคลง ร้าง(สัญญาใจ) คงจะต้อง ร้าง ตามชื่อหัวข้อโคลง ไปด้วยแล้วครับ คำขอโทษ จะใช้ได้หลังคำสัญญาหรือเปล่า? หรือคงต้องใช้คำขอโทษ หลังคำสัญญากันต่อไป !! :}
17 กุมภาพันธ์ 2548 13:20 น. - comment id 426981
งานงามค่ะคุณอัลฯ... เหนื่อยล้านัก หยุดพักสักนิดนะค่ะ....
17 กุมภาพันธ์ 2548 13:33 น. - comment id 426999
อ่านโคลงแล้วโคลงเคลง อิอิ ตอนนี้น้ำในเขื่อนก็เริ่มแห้งแล้ว สงสัยจะแล้งหนักค่ะปีนี้ สงสารชาวไร่ ชาวนาค่ะ
17 กุมภาพันธ์ 2548 14:07 น. - comment id 427023
เห็นรอยดินแยกแตกระแหง แล้วคิดถึงสมัยเด็กๆ ครับ พากันไปเอาเสียม ไปแงะ ไปงัดดินที่แตก เพื่อหาเขียดครับ เขียดตกใจกระโดดหนี วิ่งไล่จับล้มหัวทิ่มเลย อิอิอิ
17 กุมภาพันธ์ 2548 14:25 น. - comment id 427039
++ มองเห็นท้องนา..น้ำตา..ข้าไหล.. ++ มันแห้งแล้งจริงๆๆ.. ....
17 กุมภาพันธ์ 2548 16:18 น. - comment id 427091
ปีนี้น้ำแล้งมาก...ที่คลองชลประทานที่ส่งผ่านหน้าบ้าน น้ำแห้งขอด เห็นชาวบ้านขุดกลางคลองเป็นร่องเล็กๆ ให้น้ำไหลไป... หน้าบ้านมีสระบัว น้ำก็แห้งแล้ว ชาวนามาสูบน้ำไปใช้ในนา..พักนั้น ทีแรกแม่จะห้ามเพราะกลัวบ้านเราไม่มีน้ำใช้..แต่คิดไปแม่บอกว่าทุกข์ของเขาหนักกว่าเรา.. เราแค่ไม่มีน้ำใช้ แต่เขาอาจจะสูญเสียข้าวทั้งนา..แต่ตอนนี้น้ำในสระก็หมดแล้ว.. ไม่อยากคิดเลย.. ข้าวขาดน้ำ ..จะเป็นเช่นไร..หนอ..
17 กุมภาพันธ์ 2548 17:30 น. - comment id 427158
ไพเราะมากจ้า อ่านโคลงมามากแต่ของคุณอัลมิตรานี่ เข้าใจง่ายดีค่า...นับถึบจ้า
17 กุมภาพันธ์ 2548 18:23 น. - comment id 427185
--- พี่อัลมิตรา ดอกข้าวเคยอ่านตำนานฉันทลักษณ์- คุณคมทวนบอกว่า...เปิดจัตวาปิดจัตวามันหมายความว่ายังไงครับ แต่ผมสังเกตุพี่เขาเขียนคำสุดท้ายในแต่ละบทลงด้วยเสียงจัตวา.. และอีกอย่างสัมผัสต่อบท ผมเคยถามพี่เวทย์มาว่ามันมีไหม พี่เวทย์ว่าแล้วแต่.. ถ้ามีคำสุดท้ายให้สัมผัสกับวรรคแรก ....ถ้าไม่ทำในจุดตรงนี้ มันก็ไม่เสียหายอะไรหรือเปล่าครับ
17 กุมภาพันธ์ 2548 18:26 น. - comment id 427186
หวังไว้เถิดนะเจ้าทุยเอ๋ย อย่าสิ้นหวัง ท้องนายังรอวันเขียวขจี ท้องฟ้าไม่มีวันจะทิ้งเราดอก ข้าจะดำ เจ้าจะไถ ด้วยกันเหมือนเคย ...
17 กุมภาพันธ์ 2548 18:27 น. - comment id 427188
ถามอีกอย่างครับ... เอกโทษ โทเทษ คือ คำที่เสียงอะไรก็ได้แต่อยู่ในรู้ที่มีวรรณยุกเอกวรรณยุกโทใช่หรือเปล่าครับ
17 กุมภาพันธ์ 2548 19:28 น. - comment id 427227
มาชื่นชมผลงานโคลงนะครับ..อิ อิ แต่อ่านแล้ว..เวรกรรมชาวนาจริงๆ ประเทศชาติ...เราคงเป็นแบบโคลงนี้ ไปอีกนานแสนนานแหละครับ...
17 กุมภาพันธ์ 2548 21:05 น. - comment id 427277
สัญญาคงเป็นโฆฆะแล้วมั้งค่ะ ปานนี้ เพราะได้เป็นแล้วนิค่ะ อิอิ ชื่นชมในผลงานค่ะ
17 กุมภาพันธ์ 2548 22:25 น. - comment id 427313
คุณฤกษ์ .. สิ่งที่ให้คำมั่นสัญญา กับการกระทำหลังจากนั้น บางทีแล้งเสียยิ่งกว่าลมแล้งอีกนะคะ คุณลักษมณ์ .. อัลมิตราเชื่อว่าคุณเขียนได้ค่ะ .. คุณกัลลดา .. พบเห็น จึงสลดใจที่ได้เห็น เพียงแค่กระบอกเสียงเล็กๆที่ดูเหมือนจะบ่นกับตนเอง ทำอย่างไรหนอที่จะปลดเปลื้องทุกข์นั้นได้ คุณคนเมืองลิง .. เขียนกลอนติดๆกันมาหลายชุด เพิ่งจะได้จับโคลงที่เป็นชิ้นเป็นอัน เรื่องราวก็คือความจริงของมุมหนึ่งบนความปวดร้าวค่ะ คุณขอโทษครับ ผมเมา .. อัลมิตรายังไม่เคยย่ำเท้าไปที่ผืนดินแตกระแหง ในกรุงอากาศร้อน แต่ที่ชนบทนอกจากจะร้อนแล้ว สิ่งเดือดร้อนอื่นๆย่อมสาหัสกว่า สัปดาห์ก่อนได้มีโอกาสเดินทางไกล เห็นลำธารที่มีน้ำไหลเพียงน้อยนิด เห็นต้นไม้ยืนแห้งตาย ดินเริ่มจะผากแล้ว คุณน้ำใส .. ปีนี้ผลกระทบของกรีนเฮ้าท์เอฟเฟค ส่งผลรุนแรงนักค่ะ คุณกุ้งหนามแดง.. ที่ ... ริมรั้วบ้านของอัลมิตราเป็นคลองชลประทานเช่นกัน นี่ก็ไม่ได้แวะไปหลายเดือนแล้ว ยังเคยนั่งหย่อนเท้าบนสะพาน ดูปลา ดูบัว เห็นจิงโจ้น้ำวิ่งไล่กัน ตอนนี้ไม่รู้เป็นอย่างไรบ้าง คุณทิฆัมพร .. ขอบคุณมากค่ะ คุณดอกข้าว .. อัลมิตราเป็นเพียงนักเรียนโคลง ฝีมือยังไม่อาจจัดได้ว่าอยู่ในประเภทฉกาจฉมัง ครั้นจะแนะนำคุณไปก็อาจจะเป็นการชี้แนวที่ผิดโดยไม่ได้เจตนา สิ่งที่คุณถาม อัลมิตราเข้าใจว่าคือเสียงโคลง คุณอ่านโคลงด้วยทำนองเสนาะสิคะ แล้วเอื้อนออกเสียงขับด้วย จะเห็นว่า หากท้ายบทลงเสียงจัตวาจะทำให้ทำนองไพเราะนัก แต่อัลมิตราก็ไม่ได้ยึดถือเป็นแบบบังคับตนเองให้แต่ละบทลงเสียงท้ายบทด้วยจัตวาเสมอ สามารถลงเสียงสามัญได้ค่ะ เช่นกันกับการร้อยโคลงระหว่างบท ถ้าอ่านในลิลิตตะเลงพ่าย หรือตำรับประมวญมารค ก็จะเห็นว่ามี แต่ถ้าไม่มีการร้อยโคลงระหว่างบท ก็ยังไม่เคยพบคำอธิบายว่าผิดรูปแบบของโคลง ส่วนเอกโทษ , โทโทษ .. มีให้เห็นในตำราโบราณ เช่นคำว่า แต่อัลมิตราถูกฝึกมาให้เลี่ยงคำดังกล่าว นัยว่าคนที่ใช้นั้นหมดภูมิ ยกตัวอย่างเช่น เล่น เขียนเป็น เหล้น , ผ้า เขียนเป็น พ่า ... แล้วก็บอกว่าเขียน เล่นผ้า ยังมีอีกมากมายเกี่ยวกับโคลง เช่นจังหวะโคลง สร้อยโคลง ความโคลง หากคุณอยากเรียนรู้ ก็ต้องศึกษาค่ะ อย่างที่เกริ่นไว้ตั้งแต่แรก และเคยบอกเพื่อนๆหลายคนในเวปเสมอ หากอยากรู้จงถามผู้รู้จริง อัลมิตราคงได้แต่แนะแนวว่าควรถามผู้ใด ซึ่งจะก่อประโยชน์ต่อผู้ถามสูงสุด กรณีนี้ อัลมิตราคงต้องแนะนำให้คุณดอกข้าวศึกษาจากบทความ วิถีแห่งโคลง ....โคลงสี่สุภาพ ซึ่งอาหมอของอัลมิตราเป็นท่านหนึ่งซึ่งจัดได้ว่าเป็นผู้รู้จริงในเรื่องของโคลง จากความสนิทสนมเป็นการส่วนตัวแล้ว อัลมิตราเชื่อว่า อาหมอมีน้ำใจกับเพื่อนที่ใคร่รู้ทุกคน คุณสามารถศึกษาได้จาก link ที่ให้ไว้ http://www.siampoetry.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=10 หรือหากคุณดอกข้าวต้องการฝึกปรือการเขียนโคลง ก่อนอื่นต้องเปิดใจรับคำวิจารณ์ แล้วส่งบทโคลงให้ครูโคลงชี้แนะ ค่ะ คุณแก่นไผ่ ใจจันทร์ ..ปลอบใจกันไป กับความหวั่งที่ริบหรี่ แต่ก็ยังดีกว่านั่งตายซากโดนแดดเผา นะคะ คุณหน้ากากปีศาจ .. ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ ภัยธรรมชาติเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็ใช่ว่ารับมือไม่ได้ค่ะ ถ้าพวกเราช่วยกัน คุณผู้หญิงไร้เงา .. ขอบคุณมากค่ะ มิตรภาพตราบสิ้นฟ้า
17 กุมภาพันธ์ 2548 22:35 น. - comment id 427318
ยังเขียนไม่ได้เลย นึกได้แต่หัวข้อจริงๆนะ ขอเปลี่ยนเป็น มายืนมองพร้อมกับแสยะยิ้มให้ เหมือนอย่างเคยก็ละกันนะครับ :]
17 กุมภาพันธ์ 2548 22:47 น. - comment id 427320
เข้ามาอ่านด้วยความทึ่งครับ ผมเขียนโคลงไม่ได้เอาเสียเลย ทั้งที่ชอบ ความกระชับชัดแบบโคลงอยู่มาก วัยเด็กของผม ได้ฟังโคลงผญา ในวิทยุกระจายเสียงของจังหวัดขอนแก่น จำชื่อสถานีไม่ได้ครับ ดูเหมือนน้ำเสียงโคลงยังติดอยู่ในหัว แต่ยามจะเขียนจริง ๆ เขียนไม่ออกเลย ทั้งเกร็ง ทั้งเกรงน่ะครับ อย่าว่าแต่โคลงเลย แม้กลอนผมก็ยังเกร็งเวลาเขียน หลายหนผมจึงเรียกสิ่งที่ผมเขียนว่าความเรียง ผมเข้ามาในเว็บ ได้อ่านงานของคุณอัลมิตรา ผมทึ่งมาก งานของหลายท่านเช่นคุณเวทย์ คุณวฤก ผมยิ่งทึ่ง ถือเป็นงานชั้นครูเลยทีเดียว ขอบคุณมากครับผมที่เขียนอะไรดี ๆ ให้ได้อ่าน
17 กุมภาพันธ์ 2548 23:13 น. - comment id 427325
....ผมพอจะเข้าใจแล้วครับ ไอ้ที่ว่าบังคับ เอก 7 โท 4 ขอให้วางรูปวรรณยุกเอกหรือโทลงในคำที่กำหนดก็ได้แล้ว(ใช่เปล่าครับ)..จะเป็นเสียงอื่นก็ได้ อย่าง ฟุ้ง.......ที่เป็นเสียงตรี แต่เป็นรูปวรรณยุกโท...ก็ลงได้ ผมเข้าใจถูกหรือเปล่าครับ
17 กุมภาพันธ์ 2548 23:33 น. - comment id 427336
คุณลักษมณ์คะ .. ไม่มีสิ่งใดที่เกินความพยายาม นะคะ คุณก่อพงษ์ .. จะว่าไปแล้ว อัลมิตราก็ทึ่งคุณเหมือนกันนะคะ ในงานเขียนของคุณ สมกับที่ได้รางวัลเขียนกลอนประกอบภาพ ค่ะ .. ว่าแต่ว่า รับรางวัลแล้วส่งมอบให้ใครไปทานอาหารแทนเอ่ย .. คุณดอกข้าว .. ตำราดี อัลมิตราส่งให้ถึงมือของคุณแล้ว เพียงแค่คุณอ่าน สิ่งที่คุณถามมีคำตอบแล้วทั้งสิ้นค่ะ สิ่งใดล้วนแล้วแต่อยู่ในสัจจธรรมเดียวกัน นั่นคือไม่มีใครทำอะไรให้ทุกคนชื่นชมพอใจได้ทั้งหมด .. ฟุ้ง ....เป็นเสียงตรี แต่อยู่รูปของ โท ..ดังนั้นไม่ผิดฉันทลักษณ์ ค่ะ (ตัวอย่างโคลงโลกนิติที่ยกอ้าง คลุ้ง)
17 กุมภาพันธ์ 2548 23:47 น. - comment id 427342
...บทกวีนี้...โคลงภัยแล้ง...เป็นโคลงอีกบทในแนวเพื่อชีวิตที่อัลมิตราชอบ... ...ก่อนที่อัลมิตราจะเริ่มเขียนโคลงนี้ขึ้นมา... ...อัลมิตราได้ดูรายการทีวีหลายเรื่อง... ...เกี่ยวกับภาคเกษตรกรและชาวนา... ...ผลกระทบแห่งภัยแล้งบังเกิดทั่วภูมิภาคของประเทศ... ...แต่ที่สื่อในโคลงคือภาคอีสาน... ...เพราะเห็นภาพชัดเจนกว่ามาก... ...และยิ่งนึกไปถึงหญิงชราผู้หนึ่ง ซึ่งได้ต่อสู้เพื่อให้ได้ผืนนากลับคืนมา... ...และอะไรอีกหลายอย่าง... ...วิถีชีวิตที่แสนซื่อและบริสุทธิ์ของเขาเหล่านั้น... ...น่าเก็บมาเขียนและสื่อความให้ได้มากเท่าที่ทำได้... ...การเขียนวรรณกรรมใด ๆ ...อัลมิตราคิดว่า .. ...ขึ้นอยู่กับเราจะใส่จินตนาการและแฝงจิตวิญญาณของเราไปได้แค่ไหน... ...ความงดงานอาจเกิดขึ้นจาก เจตนาของผู้ประพันธ์.. ...รสคำสัมผัสตามฉันทลักษณ์...รสความซาบซึ้งตรึงใจ... ...และบางครั้งกระชากใจผู้อ่านให้ได้รู้สึกคล้อยตาม... ...ไม่ว่าบทกวีนั้น...สุข...ผู้อ่านจะรู้สึกเป็นสุขตามไป... ...บทกวีเศร้า...ผู้อ่านจะสะเทือนอารมณ์ตามไปกับเรื่องราวที่ได้อ่าน... ...หวานซึ้งพลิ้วไหวได้อารมณ์แค่ใด... ...อัลมิตราอาจไม่ถึงขนาดชึ้นำผู้อื่นให้เกิดความรู้สึกนั้น ๆ ได้.. ...อัลมิตรามีจินตนาการ...ซึ่งอาจจะมีไม่น้อยกว่ากวีท่านใด... ...แต่การยกระดับที่จะสามารถเทียบชั้นกวีแต่โบราณนั้น... ...ขอสงวนความว่า...อัลมิตราขอเริ่มก้าวไปด้วยใจรักดีกว่า... ...อัลมิตราจะเขียนในเรื่องที่อัลมิตราชอบและรู้สึกคล้อยตาม... ...ทุกอย่างอัลมิตราทำตามใจที่เป็นอิสระ... ...ไม่จำกัดรูปแบบในวรรณกรรม... ...ซึ่งอัลมิตราเคยทำมาแล้วในบางแบบอย่างที่โบราณมี... ...กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์...หรือกลบทแบบต่าง ๆ ... ...อัลมิตราล้วนเคยเขียนมา... ...อัลมิตรามีความหวังว่า ทุกๆท่านที่ประพันธ์ชิ้นงาน... ...จะเขียนด้วยใจรักและจินตนาการด้วยความเป็นอิสระเสรี... ...และขอเพียงผู้ประพันธ์เพียงไม่ย่ำยีของโบราณเท่านั้น... ...ก็นับได้ว่า สามารถสืบสานวรรณกรรมที่งดงามแต่โบราณไว้ได้... ...ยังมีอีกหลายเรื่องที่อัลมิตราอยากเขียน... ...ปริมาณของผลงานบทวรรณกรรมอาจไม่ใช่จุดหมายของการเขียน.. ...ที่ไว้แข่งขันหรือข่มผู้อื่น... ...แต่ความผ่อนคลายในการเขียน... ...การสืบทอดวรรณกรรมแต่โบราณต่างหากคือสิ่งที่อัลมิตราต้องการ... ...รูปแบบ...แนวทาง...ความถนัด...และมุมมองของผู้ประพันธ์แต่ละคน... ...อาจแตกต่างกันบ้างในรายละเอียด ...อัลมิตราจะทำในสิ่งที่เห็นว่าเป็นจิตวิญญาณของอัลมิตรา... ...ด้วยความจริงใจ... มิตรภาพตราบสิ้นฟ้า
18 กุมภาพันธ์ 2548 00:47 น. - comment id 427354
พูดตรงไปตรงมา ผมเป็นหนึ่งละที่ชอบโคลงรองจากกลอนแปด (โบราณ นะ) แต่โคลงเขียนยากมากกว่ากระชับกว่ารวมทั้งอักขระกฏเกณฑ์ข้อบังคับฉันทลักษณ์มากมาย หากมองผิวเผินแล้วง่าย แต่เข้าลงเล่นเองแล้วจะรู้สึกว่ายากเข็ญจริงๆ นับตั้งแต่มาเล่นกลอนที่นี่และเคยแวะไปอ่านที่พันธ์ทิพย์ซึ่งล้วนแล้วแต่ยอดขุนพลเกือบทั้งสิ้น คุณอัลฯผมมิได้ชมเกินเลยนะครับก็เป็นยอดขุนพลคนหนึ่งในด้านโคลง กาพย์ กลอน ฉันท์ เห็นไหมแม้แต่คนเขียนรวบรวมยังเอาโคลงขึ้นหน้าเลย งานของคุณเกือบทุกๆบทผมชื่นชมเสมอมา ขอพูดแล้วอย่าค้อนผมอีกล่ะ เท่านี้ครับ ขอบคุณ แก้วประเสริฐ.
18 กุมภาพันธ์ 2548 03:30 น. - comment id 427376
ขอเขียนดอกบัว(ฉบับสมบูรณ์) แทนโคลงร้างฯบทนั้นให้ก็ละกันครับ อาจแทนความพยายามที่คุณอัลฯว่าก็ได้นะ นั่งเขียนทั้งคืนไม่แบ่งให้ใครเลยล่ะ :] zzz z
18 กุมภาพันธ์ 2548 03:37 น. - comment id 427378
] zz z
18 กุมภาพันธ์ 2548 03:41 น. - comment id 427379
] zZ zzZ
18 กุมภาพันธ์ 2548 08:28 น. - comment id 427390
คุณแก้วประเสริฐ .. ขอบคุณที่ให้เกียรติ์เช่นนั้น อาจจะเป็นเพราะว่า ที่บ้านกลอนไทยนี้ คุณรู้จักมักคุ้นกับงานเขียนของอัลมิตรา จึงให้ความศรัทธา แต่โลกนี้ยังมีปราชญ์อีกมากที่มีความสามารถเหนือกว่า อึ่งอ่างในกะลาเช่นอัลมิตราเมื่อโดดออกไปสู่โลกภายนอกแล้ว อาจเทียบได้เพียงเศษธุลีกับภูเขา ก็ได้.. คุณลักษมณ์ .. อรุณสวัสดิ์ค่ะ ตื่นได้แล้ว มาเริ่มต้นเขียน .. ร้าง กันดีกว่า ความจริงแล้ว ไม่ยากเลยที่คุณจะเขียน คุณมีผู้ช่วยแยะนี่นา.. อาหมอก็คือตำราใหญ่ที่ยังหายใจได้อยู่ .. กำไรเห็นๆนะคะ คุณลักษมณ์ ถ้าจะศึกษาจากตำรานั้น
18 กุมภาพันธ์ 2548 09:39 น. - comment id 427407
ที่ไหนแล้ง เดี๋ยวจะจัดขบวนแห่นางแมวให้ครับ **แวะมาอ่านอย่างเดียวจริง เพราะเขียนไม่เป็นครับ...
18 กุมภาพันธ์ 2548 12:08 น. - comment id 427467
สัญญาใจร่างขึ้น..........ดั่งคำ ที่กล่าวไว้เกริ่นนำ......บทนี้ พูดแล้วย่อมต้องทำ.....ตามพูด ไม่บิดพลิ้วหลีกลี้.........หลบร้างห่างหนี ร้าง(สัญญาใจ) เขียนร้าง(สัญญาใจ) ให้แล้วนะ ๑ ฉบับ ห้ามฉีกทิ้งล่ะครับ ป.ล. คละคลุ้ง คละ ผันได้เสียงตรี เข่นเดียวกันกับ คลุ้ง จึงไม่ทำให้เสียงเหลื่อมระดับกันอยู่แล้วตามดั่งโคลงโลกนิติครับ ตลบฟุ้ง ตลบ เสียงเอก ฟุ้ง เสียงตรี ตลบฟุ้งคำนี้ต่างหากที่ทำให้เสียงเหลื่อมระดับกันครับ ด้วยความเคารพ ลักษมณ์ :]
18 กุมภาพันธ์ 2548 14:28 น. - comment id 427527
ชาวกรุงพูดกลอกกลิ้ง...........วาจา เชื่อไม่ได้สัญญา..................ปลอกปลิ้น ชาวทุ่งมุ่งสัตยา....................คงมั่น..จริงแฮ ไม่ผิดคำเล่นลิ้น..................สัตย์ล้วนคำขาน สัญญาชาวกรุง-สัตยาชาวทุ่ง ร่างมาแถมให้อีก ๑ ฉบับครับ :]
18 กุมภาพันธ์ 2548 15:47 น. - comment id 427551
คุณบินเดี่ยวหมื่นลี้ .. นางแมวอย่างมิเชล ไฟเฟอร์ พอไหวนะคะ ชอบค่ะ คุณลักษมณ์ .. การที่สามัญเรียงตั้งสามคำ มันไม่เหลื่อมกัน พอมา ตรี-ตรี อีก จึงไม่เหมือนโคลงโลกนิติ อัลมิตราหมายถึง.. เรื่องการเหลื่อมของ เอกโท ที่ติดกันว่าไม่ควรเป็นเสียงเดียวกัน เสียงต้องเหลื่อม จึงจะขับทำนองเสนาะไพเราะ คละคลุ้ง ตรี-ตรี ไม่เหลื่อม ดังนั้น ตลบฟุ้ง ... เอก - ตรี จึงเป็นเสียงเหลื่อม ที่อัลมิตราเลือกใช้ ค่ะ มิตรภาพตราบสิ้นฟ้า ปล .. รอ ร้าง 4 บท ค่ะ
18 กุมภาพันธ์ 2548 17:06 น. - comment id 427572
อ๋อ อย่างนี้เอง ป.ล. พอเหอะฮับ ขอ ฮ้อง หะ ปู้ดม่ายซัดแย้วเห็งมั้ย :}
18 กุมภาพันธ์ 2548 19:15 น. - comment id 427636
สวัสดีค่ะพี่อัล..เพิ่งจะได้มีเวลาต่อเนต เข้ามาอ่านงานของพี่ค่ะ อาจจะไม่ได้อ่านทุกวันและประจำ แต่ก็เข้ามาอ่านอยู่เสมอๆค่ะ ยังไม่ถึงเดือนเมษา ... ก็ขาดน้ำ ขาดฝน มาทำมาหากินกันซะแล้ว เมื่อเมษา..มาเยือน จะทำอย่างไรหนอ ????
18 กุมภาพันธ์ 2548 21:26 น. - comment id 427693
๏ ชาวนาคงยากไร้................เยี่ยงเคย หากไม่ช่วยกันเลย................ล่วงแล้ว รัฐพึงอย่าเพิกเฉย................เพียงผ่าน เพื่อแผ่นดินคลาดแคล้ว.......กระดูกสิ้นสันหลัง ๚ ๏ น้ำใจไทยมากล้น................โถมทวี ช่วยเพื่อนไทยมากมี..............มุ่งพ้น ผ่านจากสิ่งกาลกลี-.................ยุคอยู่ นาพ่อ เพื่อเพื่อนไทยมากล้น............หลากฟื้นจากตม ๚ ๏ ปัญหาแรงมากล้น................กว่างาน คงยิ่งลดเพราะการ..................กิจยั้ง ไม่ต้องจากบ้านนาน................พลัดถิ่น ที่เฮย ต่างมุ่งมั่นด้วยครั้ง...................กลับบ้านทำกิน ๚ ๏ เมื่อแผ่นดินทั่วหล้า..............สมบูรณ์ ด้วยที่ดินเพิ่มพูล.....................ผลิตฟื้น ชาวนาไม่อาดูร.......................อย่างเช่น ก่อนแฮ ไทยจักพัฒนารื้น.....................สุขพร้อมเพื่อนไทย ๚๛
18 กุมภาพันธ์ 2548 21:45 น. - comment id 427706
๑ ๏ ชาวนาคงยากไร้................เยี่ยงเคย หากไม่ช่วยกันเลย................ล่วงแล้ว รัฐพึงอย่าเพิกเฉย................เพียงผ่าน เพื่อแผ่นดินคลาดแคล้ว.......กระดูกสิ้นสันหลัง ๚ ๒ ๏ น้ำใจไทยที่ท้น....................ท่วมทวี ช่วยเพื่อนไทยมากมี...............มุ่งพ้น ผ่านจากสิ่งกาลกลี-.................ยุคอยู่ นาพ่อ เพื่อเพื่อนไทยได้ล้น...............หลากฟื้นจากตม ๚ ๓ ๏ ปัญหาแรงมากล้น................กว่างาน คงยิ่งลดเพราะการ...................กิจยั้ง ไม่ต้องจากบ้านนาน................พลัดถิ่น ที่เฮย ต่างมุ่งมั่นด้วยครั้ง................กลับบ้านทำกิน ๚ ๔ ๏ เมื่อแผ่นดินทั่วหล้า..............สมบูรณ์ ด้วยที่ดินเพิ่มพูล.....................ผลิตฟื้น ชาวนาไม่อาดูร.......................อย่างเช่น ก่อนแฮ ไทยจักพัฒนารื้น.....................สุขพร้อมเพื่อนไทย ๚๛
19 กุมภาพันธ์ 2548 12:28 น. - comment id 427856
ขอร่วมแจมด้วยบทกวีที่เคยเขียนไว้นะจ๊ะ ............... หรือข้าว...ไม่มียาง เป็นกระดูกสันหลังจวนพังผุ อยู่ในกรุนิยายเศร้าให้เล่าขาน เป็นบุคคลข้นแค้นมาแสนนาน และจะผ่านไปอย่างนี้อีกกี่ยุค? เลี้ยงชาวโลกแต่โลกไม่แลเหลียว มือกำเคียวด้วยหัวใจไม่เคยสุข ทั้งหนี้สินท่วมท้นต้องทนทุกข์ อยู่ในคุกเขตคามแห่งความจน ผืนนาแล้งแห้งฝนพอทนได้ แต่คนแล้วน้ำใจให้หมองหม่น คนขายข้าว คนขายควาย คนขายคน ทนทุกข์ทนจนน้ำตาจะแห้งตา ต้องลงแรงจนแรงจะแห้งเหือด หรือจะต้องลงเลือดชโลมหล้า จึงจะได้ ความเท่าเทียม นั้นคืนมา สร้างคุณค่าชดเชยที่เคยรอ ท่านมีเงิน มีเกียรติ มีอำนาจ มีในสิ่งที่เขาขาดเสียทุกข้อ ท่านมีมากเท่าไรไม่เคยพอ เขาทนท้อ น้อยเท่าไรไม่เคยมี ยังคงเป็นนิยายเศร้าให้เล่าซ้ำ ถูกเหยียบย่ำหยามหมิ่นสิ้นศักดิ์ศรี ทำความดีแต่ต้อยต่ำไร้ความดี หรือว่าข้าวที่ปลูกนี้ไม่มียาง
20 กุมภาพันธ์ 2548 21:20 น. - comment id 428457
คุณลักษมณ์ .. ข้าวเหนียวอุดตะหมูกหรือคะ น้องดินสอ.. ช่วงนี้สอบ น้องดินสอหมั่นดูตำรานะคะ ว่างค่อยมาเยือนค่ะ ยัยไหม .. เขียนมาจนได้ 4 บทนะ ขอชมในความพยายามจ๊ะ แต่ต้องคิดเรื่องความด้วย นา... คุณจันทร์เพ็ญ.. ได้รับเกียรติเช่นนี้ เล่นเอาอัลมิตราปลื้มค่ะ .. ขอบคุณมากนะคะ สำหรับบทกลอนที่มีความหมายค่ะ :) :) :)
21 กุมภาพันธ์ 2548 20:04 น. - comment id 428860
ก็ฉันนี่เหละทำนาแล้ง ที่มันแห้งก็ฉันที่ปันผล คนละเสี้ยวเกี่ยวสิทธิ์กันอึงอล กอบจนล้นกำมือมาถือครอง อยากอาบน้ำเพลาละห้าขัน ละสุขสรรค์ตัญหาพาสนอง อ่างทองคำทุบทิ้งโดดลงคลอง ทำโปงป่องลอยเล่นให้เย็นใจ อยากจะแปลงสินทรัพย์ไปเป็นทุน กลัวถูกตุ๋นดินเป็นทองดูผ่องใส เป็นน้ำคำล้ำลึกนึกกลัวภัย ว่าจะแล้งหรือไม่น้ำใจคน ฉันยังคงแห้งแล้งและอ้างว้าง เส้นทางที่ก้าวมายังสับสน ก้าวจากทุ่งมุ่งมาในมลฑล ร้อยแตกร้าวที่ส้น...ยังทนทาน เดินมาครับวันนี้ เมื่อยจัง
21 กุมภาพันธ์ 2548 21:54 น. - comment id 428933
คุณส่องหล้า .. :) วันจันทร์แห่งชาติ ถ้าไม่นับว่าวันนี้ต้องรบกับงานบานตะไท ...ก็ต้องถือว่าวันนี้เป็นวันที่มีความสุข เดินมาเหนื่อยๆ สิ่งที่จะนำมาต้อนรับคุณคือน้ำใจที่ไม่มีวันเหือดแห้ง .. ค่ะ ( รีบวิ่งออกมารับ ยิ้มแก้มปริเลยค่ะ )