สัมผัสในใส่หน่อยค่อยรื่นหู แต่หากดูรกตาก็อย่าฝืน กลอนไพเราะเพราะอารมณ์ที่กลมกลืน ความไหลลื่นไม่สะดุดจุดสำคัญ สัมผัสในของกลอน สัมผัสใน - ( เป็นสัมผัสไม่บังคับ ) ใช้สัมผัสสระหรือสัมผัสอักษรก็ได้ โดยที่กลอน 8 นั้น วรรคหนึ่งจะมีถึง 8 คำ ถ้าแต่งโดยไม่ใช้คำคล้องจองกันเลย ก็จะขาดความไพเราะ กวีจึงเติมสัมผัสลงในวรรค วรรคละแห่งหรือ 2 แห่ง ตามตำแหน่งดังนี้ 00000000 คำที่ 3 สัมผัสกับคำที่ 4 คำที่ 5 สัมผัสกับคำที่ 6หรือคำที่ 7 ตัวอย่าง 1..ฉุดความหวัง สังคม ล้มละลาย 2..มันเกินที่ ทนดู แล้วอยู่นิ่ง สัมผัสตกกระทบ - เป็นเทคนิคในการแต่งกลอนอย่างหนึ่ง โดยใช้สัมผัสอักษรเดียวกัน ในจังหวะตกกระทบตามการแบ่งจังหวะการอ่านกลอน คือ 00000000 อักษรตกกระทบคือคำที่ 3 , 5 และ 8 ตัวอย่าง 1..ความรู้สึก อดสู มิรู้สิ้น 2..เฉกหลักค้ำ สำคัญ หากสั่นคลอน 3..ลบคำหมิ่น เคยมี ที่แล้วมา นอกจากนี้ บางตำราใช้การเล่นล้อคำ แบ่งออกเป็น 3 อย่างคือ สระ อักษร และ สำเนียงอักษร ที่น่าสนใจนำมาใช้เล่นในวรรคของกลอนได้แก่ สระ สระเดียวเรียง 2 คำเป็น เคียง . เฉกหลักค้ำ สำคัญ หากสั่นคลอน สระเดียวเรียง 3 คำเป็น เทียบเคียง .คือฝันร้าย ยุคล่า อาณานิคม สองสระเรียงกันสระละ 2 คำเป็น ทบเคียง ฉุดความหวัง สัง คม ล้มละลาย อักษร อักษรเดียวเรียง 2 คำเป็น คู่ จากจารีตนครบาลกาลกระโน้น อักษรเดียวเรียง 3 คำเป็น เทียบคู่ ..ละหลักการกฎเกณฑ์ควรเป็นไป อักษรเดียวเรียง 4 คำเป็น เทียมรถ ให้เห็นจริงจะแจ้งแจง ปัญหา อักษรเดียวเรียง 5 คำเป็น เทียบรถ . มากมุบมิบโมเมเล่ห์พลิกแพลง สองอักษรเรียงกันอักษรละ 2 คำเป็น ทบคู่ ค่อยอ่อนโอน เนื่องนำอำนวยผล สำเนียงอักษร สำเนียงอักษรเดียวแฝงอยู่หน้าคำเรียง 2 คำ เป็น สังขะ .กี่คนเคยเสวยสวรรค์อันเรืองรอง นอกจากนี้ ยังมีการเล่นล้อคำกันอีกหลายวิธี แต่ที่ไม่นำมากล่าวไว้ที่นี้เพราะเกรงจะทำให้สับสนจึงขอให้ผู้ที่สนใจลองสังเกตจากกลอนดีๆที่มีผู้แต่งไว้กันเอาเอง หรือจะศึกษาจาก กลบท บางชนิดก็ได้ การสอดแทรกสัมผัสในลงไปในวรรคของกลอนนั้นเราสามารถเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีคละเคล้ากันสุดแต่โอกาสจะอำนวย โดยทั่วไปแล้ว นิยมกันว่าในช่วงท้ายวรรคของทุกวรรคควรมีสัมผัสสระ ส่วนในช่วงแรกจะเปลี่ยนเป็นสัมผัสอักษรหรือไม่มีเลยก็ยังไม่เป็นไร เนื่องจาก สัมผัสใน มีไว้เพียงเพื่อเติมความไพเราะให้กลอน ทำให้อ่านแล้ว รื่นหู แต่การที่กลอนจะรื่นหูนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องมีสัมผัสในทุกจุดจนแพรวพราว เพราะปัจจัยสำคัญที่จะทำให้กลอนไม่สะดุดหูนั้นขึ้นอยู่กับ ความหมายที่สื่อ และ เสียง กวีจึงให้ความสำคัญกับ ความหมายที่สื่อ และ เสียง มากกว่า สัมผัสสระ หรือ สัมผัสอักษร ตามตำแหน่งเสียอีก กลอนของสุนทรภู่เองมีหลายวรรคที่ไม่ได้มีสัมผัสในจนครบตำแหน่ง บางวรรคก็ไม่มีเลยด้วยซ้ำไป เช่น... แต่ปางหลัง ยังมี กรุงกษัตริย์ สมมติวงศ์ ทรงนาม ท้าวสุทัศน์ ครองสมบัติ รัตนา นามธานี อันกรุงไกร ใหญ่ยาว สิบเก้าโยชน์ ภูเขาโขด เป็นกำแพง บุรีศรี จะเห็นว่าในสองวรรคแรกจะไม่มีสัมผัสในที่ช่วงหลังของวรรค โดยเฉพาะวรรคสุดท้ายนั้นไม่มีสัมผัสในสักแห่งด้วยซ้ำ แต่อ่านแล้วยังรื่นหูโดยไม่มีอาการสะดุด กลอนบางวรรคแม้จะมีสัมผัสในแพรวพราว แต่ถ้ามีลักษณะกลอนพาไปหรือเนื้อความเลอะเลือนวกวน ก็พาให้สะดุด สู้กลอนที่แม้ไม่มีสัมผัสในเลยแต่อ่านรื่นหูไม่ได้ บางคนถึงกับบอกว่าการเขียนโดยไม่มีสัมผัสในแล้วยังรื่นหูได้นั้นต้องอาศัยฝีมือยิ่งกว่าเขียนให้มีสัมผัสในแพรวพราวด้วยซ้ำ
19 มิถุนายน 2555 09:19 น. - comment id 167015
ความไพเราะของภาษา :-)
16 กันยายน 2546 10:25 น. - comment id 168237
ขอบพระคุณค่ะ
16 กันยายน 2546 10:45 น. - comment id 168247
เป็นอย่างสูงด้วยครับ
16 กันยายน 2546 12:24 น. - comment id 168278
หวังว่าจะเป็นประโยชน์นะ
16 กันยายน 2546 20:04 น. - comment id 168354
ขอบพระคุณ การุณสอน นักกลอนใหม่ ด้วยตั้งจิต คิดสัมผัส อาจขัดติด สื่อความไป ไม่ลื่นไหล ดั่งใจคิด ด้วยรู้นิด หวังไพเราะ เหมาะเจาะความ ระยะหลังผมมักจะเล่นกลอนมีสัมผัสในเยอะครับ ทำให้รู้สึกว่าบางคำความหมายไม่กินใจเท่าที่ควร ขอบคุณอีกครั้งครับ สำหรับข้อแนะนำ
16 กันยายน 2546 20:30 น. - comment id 168359
มาทบทวนความรู้อีกครั้งค่ะ...
16 กันยายน 2546 21:31 น. - comment id 168382
ชัยชนะ, ราชิกา.....:)
16 กันยายน 2546 22:01 น. - comment id 168393
มาขอบพระคุณด้วยค่ะ
16 กันยายน 2546 23:57 น. - comment id 168413
ขอบคุณค่ะสำหรับคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องกลอนแปด แล้วยังไงจะพยายามแต่งกลอนแปดนะค่ะ
17 กันยายน 2546 00:53 น. - comment id 168440
ได้รับประโยชน์จริง ๆ จากการเข้ามาชมในครั้งนี้ ขอบคุณค่ะ
17 กันยายน 2546 05:01 น. - comment id 168485
..เรน..ขออนุญาต.. เก็บในไดฯ..ของเรน..นะคะ.. ..
17 กันยายน 2546 09:09 น. - comment id 168513
ขอขอบคุณ อุ่นใจ ในเมตตา ที่สละ เวลา มาสั่งสอน ให้รู้จัก ฝึกเขียน เรียนกานท์กลอน ให้อักษร ลื่นไหล ดังใจจินต์ ขอบคุณค่ะ...ลุงเวทย์
17 กันยายน 2546 09:44 น. - comment id 168524
ส้มโอ.....อิอิ ผู้หญิงไร้เงา.....กลอนแปด เป็นพื้นฐานสำหรับคำประพันธ์ชนิดอื่นได้ดีน่ะ ข้าวปล้อง.....ประโยชน์เกิดจากการใช้สิ่งที่มีให้ถูกทางนะครับ แหะๆ เรน.....โตยใจเต๊อะ ผีเสื้อปีกบาง.....สมัยนี้ อยากชมบัวก็ต้องปลูกบัว
17 กันยายน 2546 11:44 น. - comment id 168579
...นับเป็นวิทยาทาน...ในบ้านนี้จริงๆ ขอบคุณครับ..
17 กันยายน 2546 12:27 น. - comment id 168587
ผีขี้เมา.....ผมไม่ได้เสียอะไรไปเลยนี่นา อิอิ
17 กันยายน 2546 14:38 น. - comment id 168625
^_^ ^__^ ^___^ ^____^ ^_____^ ^______^
18 กันยายน 2546 10:12 น. - comment id 168754
ฟา.....:)
15 พฤศจิกายน 2553 20:02 น. - comment id 230194
ช่างน่าฟังน่าดูเป็นยิ่งนัก กลอนหลายวรรคยลเเล้วระรื่นหู ชาญฉลาดเปรียบโกวิทน่ะท่านครู ชี้ให้ผู้โง่เขลาได้เข้าใจ ตัวข้านี้มือใหม่มาหัดเเต่ง ท่านก็ช่วยชี้เเจ้งเเถลงไข ข้านี้จนปัญญาเเต่งต่อไป วรรคสุดท้ายขอกล่าวว่าสวํสดี
2 พฤศจิกายน 2553 17:07 น. - comment id 230722
ขอบคุณที่สอนให้รู้จักเรื่องกลอนมากขึ้นกว่าเดิมและขอให้แต่งอย่างนี้อีกเรื่อยไป