นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ถือกฎเกณฑ์เป็นหลักพิทักษ์สิทธิ ถือความคิดเป็นรองของกฎหมาย ความสัมพันธ์คือสามไม่คร้ามคลาย สิ่งสุดท้ายความรู้สึกของตัวตน มีกฎหลักเอาไว้อยู่ในมือ คอยยึดถือจับไว้ไม่ให้หล่น มีสัญญาจะทำเพื่อประชาชน คอยช่วยคนเดือดร้อนวอนเมตตา เราเรียนรู้เรียนหลักพิทักษ์ชาติ จากคนขลาดฉลาดชั่วตัวบาปหนา เราจะคอยอยู่ข้างมวลประชา เพราะว่ามวลประชายังคอยอยู่ข้างเรา จะยึดมั่นตามเจตนารมณ์ จะสะสมความรู้เพื่อสู้เขา จะยึดหลักมั่นคงให้ตรงเท่า ตราบที่เรายังอยู่มิรู้วาย จะปกป้องมวลประชาที่เดือดร้อน จะสั่งสอนคนคดด้วยกฎหมาย จะยืนหยัดต่อสู้จนกูตาย จะไว้ลายนิติศาสตร์ให้ชาติชู
19 พฤษภาคม 2546 18:07 น. - comment id 139438
.................................. :D
19 พฤษภาคม 2546 18:49 น. - comment id 139461
อิอิ
19 พฤษภาคม 2546 19:04 น. - comment id 139462
เราเรียนรู้เรียนหลักพิทักษ์ชาติ จากคนขลาดฉลาดชั่วตัวบาปหนา อ้าว
19 พฤษภาคม 2546 21:40 น. - comment id 139494
.....คนเก่งอยู่นี่เอง
19 พฤษภาคม 2546 22:07 น. - comment id 139504
หึหึ
19 พฤษภาคม 2546 22:53 น. - comment id 139510
ม่ายผิดหรอก พิทักษ์ชาติจากคนชั่ว อิอิ --------------------------------------------------------------------- พี่อ้อมอะ เค้าเขิลนะ อิอิ ---------------------------------------------------------------------- หัวเราะรายหว่า
20 พฤษภาคม 2546 14:50 น. - comment id 139608
เจ้าลม อย่าเรียนตามตำราอย่างเดียว มีสมองด้วย มาตรตราแรกเจ้าก็ต้องคิดแล้ว ตาสีตาสาไม่รู้หนังสือ บังคับให้รู้กฏหมาย เจ้าคิดยังไง ถ้าไม่ยุติธรรมแก้ไขไม่ได้ก็ อย่าไปเรียนมันเลย
20 พฤษภาคม 2546 18:15 น. - comment id 139643
เราเรียนรู้เรียนหลักพิทักษ์ชาติ จากคนขลาดฉลาดชั่วตัวบาปหนา คืองี้ กลอนบทนี้แต่งกำกวม ทำให้คนอ่านตีความได้สอง นัยยะ นัยยะแรก เราเรียนรู้เรียนหลักพิทักษ์ชาติ จากคนขลาดฉลาดชั่วตัวบาปหนา แปลตามความเข้าใจคือ เราเรียนสรรพวิทยา อันเกี่ยวด้วยการปกป้องประเทศชาติ จากคน ขลาดฉลาดชั่วตัวบาปหนา นัยยะสอง เราเรียนเราเรียนสรรพวิทยา อันเกี่ยวด้วยการปกป้องประเทศชาติเพื่อให้รอดพ้นจาก ขลาดฉลาดชั่วตัวบาปหนา คำที่เป็น คำที่ทำให้เกิดสอง นัยยะ ก็คือ คำว่า จาก เอ จากนี่มันเป็น บุพบท หรือเป็น สันธาน ก็จำไม่ได้ แต่ที่รู้ๆ มันทำให้ความหมายกำกวม ลองตีความดีๆ ว่ามั้ย ตีความไปแล้วความหมายผิดกันลิบลับ ก็ไม่รู้ว่า คนอื่น อ่านแล้วจะตีความยังงัย แต่ผมอ่านแล้วเกิดคำถาม ว่าผู้แต่งต้องการสื่ออะไร 555 เอหรือว่า เป็นเจตนาของผู้แต่งที่ต้องการให้มัน กำกวม อย่างนี้ กระมัง
20 พฤษภาคม 2546 18:21 น. - comment id 139646
แนะนำให้ อ่านหลักภาษา ในหัวข้อ วจีวิพากษ์ กับ วากยสัมพันธ์ ของพระยาอุปกิตศิลปสาร เพื่อสนับสนุนแนวความคิดดังกล่าวข้างบน