ครรโลงเสนาะคล้าย..........คีตศิลป์ เสียงเอกโทเทียมพิณ.........ภาษพร้อง ยามวรรณยุกต์ยิน...............ย่อมยั่ว..ใจนา ผิดจากอ้างอาจต้อง............งดใช้ชื่อโคลง ครรโลงเสนาะไว้................โวหาร บุคคลาฐิษฐาน......................ที่อ้าง อติพจมาลย์............................มาอุป-..มาเอย สัญลักษณ์ ฤา ร้าง.................รื่นรู้รสโคลง ครรโลงเสนาะก้อง...............กวีตา-..พุทธเอย กาพยานุมัติ*..........................มากพร้อม อย่าศักดิ์ทว่าหา.......................คำใส่..ครบเอย โคลงที่เอ่ยอ้อมค้อม................โทษผู้ประพันธ์เขลา ครรโลงเสนาะล้วน..................หลายพันธุ์ โคลงสี่สามสองอรรถ์...............อะคร้าว อีกโคลงกระทู้ทัณ-....................ฑีพิธ-..พรรณเอย** โคลงกบเต้นดั้น***ด้าว.............ด่วนรู้ศึกษา ครรโลงเสนาะอ้อน.....................อารมณ์ รักชอบชิงชังชม...........................ฉาบไส้ อักขระอนุกรม...............................กลโซ่..สร้อยเอย เพื่อรัดรึงจิตรให้...........................ซ่านซึ้งอักษร *โคลงบทนี้บาทที่สองใช้คำที่สาม (ยา) รับสำผัส แทนที่จะใช้คำที่ห้ารับสำผัส โบราณเรียกโคลงชนิดนี้ว่า โคลงตรีพิพิธพรรณ (แปลว่า ใช้อักษรตัวที่สามรับสำผัส) **มั่วนะ 555 **ชื่อเต็มๆคือโคลงจัตวาฑัณฑี และโคลงตรีพิพิธพรรณ ***โคลงกบเต้น (มณฑกคติ) หรือเรียกอีกอย่างว่า โคลง 5 หมายเหตุ** มณฑก แปลว่า กบ คติ แปลว่า ทาง มณฑกคติ จึงแปลว่า โคลงที่มีลีลาเหมือนท่าทางของกบเต้น (แปลแบบเอาความ) ***ดั้นในที่นี้คือ โคลงดั้น โคลงดั้น มีหลายชนิดตั้งแต่โคลงสอง ดั้นโคลงสามดั้นโคลงสี่ดั้น โคลงดั้นแบ่งออกเป็น ๖ ชนิด คือ ๑ โคลงดั้น ๒ ดั้น ๒ โคลง ๓ ดั้น ๓ โคลงดั้นวิวิธมาลี ๔ โคลงดั้นบาทกุญชร ๕ โคลงดั้นตรีพิธพรรณ ๖ โคลงดั้นจัตวาทัณฑี ที่มา http://www.thaipoet.org/poemklong.html
11 พฤษภาคม 2546 20:25 น. - comment id 137413
เก่งค่ะ แล้วก็...ขอบคุณค่ะ
11 พฤษภาคม 2546 20:33 น. - comment id 137414
โคลงงามชอบตั้งแต่ท่านเขียนโคลงโลกกระจิ๊ตแล้ว มีแจมนิ โคงเคลงอ่านคล้าย เรือโคง แจวจ่าจ้ำเรือโค้ง คว่ำแล้ว เริ่มแล่นบ่ไหลโลม ลิ่วเร็ว ผิดจากแบบไม่แคล้ว ไป่แล้ เรือแล่น.ฯ ถ้าไม่เป็นการกวนใจจะมาแจมท่านอีกนิ
11 พฤษภาคม 2546 23:51 น. - comment id 137465
โคงเคลงอ่านคล้าย เรือโคง แจวจ่าจ้ำเรือโค้ง คว่ำแล้ว เริ่มแล่นบ่ไหลโลม ลิ่วเร็ว ผิดจากแบบไม่แคล้ว ไป่แล้ เรือแล่น.ฯ พายเรือแจวจ้ำไว้ คัน คลอง น้ำคล้ำ หวังไม่โดนน้ำคำ กล่าวอ้าง วาดน้ำกระจ่างขำ เปียกปอน เพื่อนเอย หมดสง่าเปื่อนหมดล้าง อวดแก้ ดั่งเดิม...ฯ มีอีกนิ
12 พฤษภาคม 2546 09:00 น. - comment id 137540
โคลง หมายถึง คำประพันธ์ที่มีบังคับเอก-โท คำว่า โคลง บางท่านว่ามาจาก โครง เพราะต้องวางโครงก่อนแต่ง บางท่านว่ามาจาก กะรง ซึ่งเป็นคำประพันธ์ทางภาคเหนือ นอกจากนี้ยังมี โคลงกลแบบ เพราะกลแบบต้องว่างคำหรือพยางค์ให้ผิดแผกออกไป จึงเหามะกับคำประพันธ์ประเภทโคลงมากที่สุด ที่มา: วิชาการแต่งคำประพันธ์ ท043 (...เพื่อพี่ตะเอ๋านะเนี่ย...ถึงยอมย่องมาโพส คิคิ)
12 พฤษภาคม 2546 09:27 น. - comment id 137546
แจมจบแล้วนิ ชอบคุณที่สุดเจ้าโคลง โคลงเคลงอ่านคล้าย เรือโคง แจวจ่าจ้ำเรือโค้ง คว่ำแล้ว เริ่มแล่นบ่ไหลโลม ลิ่วเร็ว ผิดจากแบบไม่แคล้ว ไป่แล้ เรือแล่น.ฯ พายเรือแจวจ้ำไว้ คัน คลอง น้ำคล้ำ หวังไม่โดนน้ำคำ กล่าวอ้าง วาดน้ำกระจ่างขำ เปียกปอน เพื่อนเอย หมดสง่าเปื้อนหมดล้าง อวดแก้ ดั่งเดิม...ฯ ใจดิ่งตรงนิ่งล้วน เพลิดแพร้ว เย็นที่เนาแล้ว ไป่ล้า ไม่ทำเขื่องรีบแจว ร้อนรน พายพ่อแรงพอจ้า เร่งไว้ ไม่โคง โคลงเคลงเรือล่องเรื้อย จนถึง ยามหัดไม่ดื้อดึง แม่น้อง เขียนเพียรเริ่มใจจึง จดจำ เอกโท ยลไม่งามมิท้อ จดไว้ ในบรรณ ขอบคุณงามดีของคุณกวินทรากรนิมีแรงโคลงแล้วนะ
12 พฤษภาคม 2546 11:27 น. - comment id 137572
อ่านโคลงมึงแล้ว โครงเครง เลยตู เอกเจ็ดโทสี่ บทนี้เอามาจากโองการแช่งน้ำ ใช้กลบทมอญเขมือบหาง เจดปลามันพุ่งหล้าเป็นไฟวาบจตุราบายแผ่นขว้ำชักไตรตรึงษ์เปนเผ้าแลบ่ล้ำสีลอง เจดปลามันพุ่งหล้า เปนไฟ ไฟวาบจตุราบาย แผ่นขว้ำ แผ่นขว้ำชักไตรตรึงษ์ เปนเผ้า เปนเผ้าแลบ่ล้ำ สีลอง ทำไมต้นตำรับโคลงอย่างโองการแช่งน้ำซึ่งประพันธ์ใน สมัยสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงเศรีอยุธยา เขาถึงไม่เคร่งครัดเอกโท สงสัยเล่นกลบทมากเกินไป แต่ก็ยังจัดว่าเป็นโคลงอยู่ดี
12 พฤษภาคม 2546 12:41 น. - comment id 137588
นก พี่ บ ครู่ / \ / \ / \ / \ เห็น เคียง เคย จาก ปาน / / / / คู่ กระ เวร ปี / / / / เคล้า กอง จอง เจ้า \ \ \ \ สม หนุ่ม จำ อก / / / / ปอง เหน้า พราก โอ้ ---โหยหน. กลแบบโคลงรังนกกระจาบค่ะ... ก็..หนูคนเดิมแหละนะ...
12 พฤษภาคม 2546 17:47 น. - comment id 137676
((ถอดโคลงรังนกกระจาบค่ะ)) เห็นนกเคียงคู่เคล้า.........สมปอง เคียงพี่เคยกระกอง..........หนุ่มเหน้า เคยบจากเวรจอง.............จำพราก จากครู่ปานปีเจ้า...............อกโอ้โหยหน.