ชีวิตชาวนา

ราชิกา

อย่าดูหมิ่น  ชาวนา  ดั่งตาสี
เพิงพักที่  คือผืนนา  และป่าเขา
ในท่ามกลาง  ธรรมชาติ  ถิ่นเคยเนา
แดดแผดเผา  เราทนได้  ไม่อุทธรณ์
เหงื่อรินหยด  หลั่งลงรด  แผ่นดินไทย
ด้วยดวงใจ  อันยิ่งไหญ่  ดุจสิงขร
แม้นเหนื่อยหนัก  มากเพียงใด  ไม่อาทร
เพิงพักนอน  มีเพียงควาย  ที่เคียงกัน
เรามีสุข  อยู่ท่ามกลาง  ธรรมชาติ
ดั่งภาพวาด  เนรมิต  แห่งความฝัน
ไม่สดสวย  ด้วยแพรผ้า  อาภรณ์พรรณ
กระแจะจันทร์  น้ำหอมปรุง  ฟุ้งราคา
หอมเพียงกลิ่น  โคลนสาบควาย  เคล้ากายเจ้า
ยังคอยเฝ้า  ด้วยจริงใจ  ห่วงใยหนา
คุณค่าคน  นั้นสูงล้น  กว่าเงินตรา
เราชาวนา  ขอบูชา  ค่าความดี......ฯ				
comments powered by Disqus
  • พิราบสีขาว

    5 เมษายน 2546 13:20 น. - comment id 122465

    ข้าวทุกจานอาหารทุกอย่างอย่ากินทิ้งขว้าง
    ชาวนาเหนื่อยากลำบากหนักหนา
    สงสารบรรดาเด็กตาดำๆ
    เคยถ่องอยู่สมัยฝึกทหาร  สำนึกคุณค่าแห่งข้าวและคุณแห่งชาวนาที่ปลูกข้าวให้เรานำข้าวมาเลี้ยงชีพเห็นด้วยจริงๆ
    
  • ลำน้ำน่าน

    5 เมษายน 2546 13:22 น. - comment id 122466

    น้ำตาจะเอ่อทุกครั้งที่ได้อ่านบทกวี
    ที่พรรณาถึงชีวิตชาวนา ไม่รู้ที่มาที่ไป
    ว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น...
    แต่รู้ว่า รักและชื่นชมในธรรมชาติ
    ที่คุณพรรณามาทั้งหมดทั้งปวงนะครับ
    เขียนแนวนี้มาอ่านบ่อยๆ นะครับ
    
  • น้ำ

    5 เมษายน 2546 14:36 น. - comment id 122483

    การทำนา
    เพื่อนคู่ใจนอกจากมีรถเต่า
     แลมีเจ้าควายเหล็กหัวใจเหล็ก 
     สูบน้ำเข้าเสร็จ  รถไถใช้ผานเดินตาม  
    แลคาดให้ดินเสมอน้ำระดับเดียวกัน
    กระบุงข้าวงอกหว่านทั่วนา พาสุขใจ
    ใช้ชีวะวิธีนิเวศดินทรัพย์สินปัญญาไท
    ได้ข้าวมาเต็มทุ่งทองนาหอมดินหญ้า
    มีรถเกี่ยวมาอาสา สบายไปเรา
    ตอนขายได้เฮฮา
    ฉลองเย็นอุรา
    ดักปลามาแกง
    ดักหนูนามาย่าง
    สวนเสเฮอาหมู่เรา
    ลูกชาวนา
    นินิ
    
    
  • น้ำ

    5 เมษายน 2546 14:54 น. - comment id 122498

    เหนื่อยนักพักใจ ในเนา
    หายใจเข้าออกผ่อนผันผ่านกาลยาว
    ราวทุ่งทองข้าวท้องเต็มลออตา
    จัดข้าวปลาย่างหอมยวนใจ
    ไครเหงื่อเพื่อไหลอาบฉาบทา
    แกร้งผิวกำพร้ากร่านลมชม
    หม่ไอรวีมิร้อนรนดลกลอนกานต์
    ขานเพลงทุ่งรวงทองของชรินนันทนาคร
    ร้องเพลงทั้งวันนิ
    
    พ่อผมก็ทำนา  แลผมก็อาสา
    เลยดลกลอนจากใจ
    ครั้งหนึ่งผ่าน
    วานยังจำจาร
    ขานเพลงขับ
    ควายเหล็กเราเก่าดีนิ
  • นายดอกไม้

    5 เมษายน 2546 16:57 น. - comment id 122533

    ป๋ม ก็ลูกชาวนาเหมือนกับแหละจ้า
  • ราชิกา

    5 เมษายน 2546 19:04 น. - comment id 122570

    **....คุณพิราบสีขาว...คุณค่าของชาวนามีมากมาย..หากไม่มีเขา...พวกเราคงไม่มีข้าวทานจนถึงบัดนี้ค่ะ...
    
    **....คุณลำน้ำน่าน...ราชิกาเองก็ชอบชีวิตชนบท...สุมทุมพุ่มไม้...ป่าเขาลำเนาไพร...และชีวิตชาวนา...หากมีเวลา..ก็จะพยายามเขียนค่ะ
    (ยังไม่แน่ใจว่าจะว่างมั้ย)
    
    **...คุณน้ำ...เข้าใจชีวิตชาวนาได้ดีจัง..สงสัยจะเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนแน่ๆเลย...หากผิดพลาดต้องขออภัย..มาณ.ที่นี้ด้วยค่ะ..
    
    
    **...นายดอกไม้...นี่ก็ลูกชาวนาตัวจริงอีกแล้ว..
    แต่เราเป็นลูกทหารนะ.....เอาเป็นว่า..เราทุกคนยกย่องชาวนาด้วยกันนะคะ..OK...
    
    
    
  • ใจปลายทาง

    5 เมษายน 2546 21:28 น. - comment id 122651

    อ้อมก็ลูก ชาวนาค่ะ  เกี่ยวข้าวเป็นน่ะ ขอบอก
    
    แต่งได้ประทับใจ ชาวนา ขอเก็บไว้น่ะค่ะ
  • ฤกษ์ ชัยพฤกษ์

    6 เมษายน 2546 00:05 น. - comment id 122787

    ลูกชาวนาตัวจริง หรือตัวปลอม ดูง่ายมาก
    ให้ถอนกล้าก็รู้แล้ว ตัวปลอมฟาดหน้าแข้งไม่เป็นร๊อก
  • ***กฤษณะ***

    6 เมษายน 2546 08:17 น. - comment id 122882

    ^J^     ......................
    
    เปิบข้าวทุกคำ....นึกถึงชาวนา....ฯ
    
    
    
  • ราชิกา

    6 เมษายน 2546 14:05 น. - comment id 122957

    **...คุณใจปลายทาง...ไม่บอกไม่รู้นะเนี่ย..ราชิกาชื่นชมชาวนามากเช่นกันค่ะ...
    
    **...คุณฤกษ์  ชัยพฤกษ์..  สงสัยจัง!!!..แล้วคุณฤกษ์..เป็นตัวจริงหรือตัวปลอมล่ะคะ...
    
    
    
  • ราชิกา

    6 เมษายน 2546 14:14 น. - comment id 122961

    ***...คุณกฤษณะ..
    
    ราชิกา..คิดเช่นเดียวกับพี่โอมค่ะ...ถ้าไม่มีเขา..เราคงไม่มีข้าวกินจนถึงบัดนี้...คุณค่าของคน...อยู่ที่ผลของการกระทำ...ที่มอบให้ผู้อื่นด้วยความจริงใจ..และบริสุทธิ์ใจ...รักชีวิตในชนบทค่ะ...
    
    
  • คนรักทุ่งนา

    25 มิถุนายน 2551 14:55 น. - comment id 146231

    เฮ้อ อยู่กรุงเทพฯ แล้วคิดถึงบ้าน  อยากกลับไปอยู่บ้านนอกจัง  ฝนตกที่ไรเป็นต้องคิดถึงตลอด ทำให้หวนคิดไปถึงตอนสมัยๆ เด็ก เมื่อ  15  20 ปีก่อน  
    	สมัยนั้นผมยังจำได้ดี ตอนที่ผมยังเป็นเด็ก  บ้านผมอยู่ที่ อ.กระสัง จ.บรีรัมย์  หมู่บ้านผมต้องเรียกว่าบ้านนอกสุดๆ ไม่มีถนนคอนกรีต เข้าถึงหมู่บ้าน ทางไปนา เป็นทางเกวียนที่คนสมัยแต่ก่อนทำไว้เวลาเข้าป่า  แม่เคยเล่าให้ผมฟังว่า หมู่บ้านผมแต่ก่อนนั้นเป็นป่า มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากมาย ตั้งแต่ช้าง เสือ หมูป่า หมาป่า สัตว์เยอะแยะไปหมด แล้วต่อมาได้มีคนไปตัดไม้ ถางป่า เพื่อทำที่อยู่ แม่ยังเล่าให้ฟังอีกว่า ในตอนนั้นคนที่เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย ต้องเอาหนามไม่ไผ่มาล้อมรอบ คอกเพื่อไม่ให้เสือมันมาเอาวัวไปกินได้  แต่พอเวลาผ่านไปป่าก็เริ่มถูกรุกราน มีการถ่างป่าตัดไม้ เพื่อทำเป็นพื้นที่ สำหรับปลูกข้าวและทำไร่ทำสวน สัตว์ป่าทั้งหลายพากันหนีไปอยู่ชายแดนหมด ผมยังเสียดายเลยที่เกิดไม่ทันยุคนั้น  และยังรู้สึกเสียดายป่าไม้ มาก 	
    	ผมเกิดมาทันในยุคที่ป่ากลายเป็นทุ่งนาแล้ว แต่ก็ยังสมบูรณ์ แถวบ้านจะมีป่า ที่หลงเหลือขนาดน่าจะสองพันไร่ขึ้น  ในป่าที่เหลือที่ผมเกิดมาทัน ในป่าหลงเหลือ กระต่ายป่าและพวกกระรอก นาค และก็ผักต่างๆ ที่อยุ่ในป่า รวมถึงเห็ด ให้เราได้เห็นอยู่  แต่ปัจจุบันหายากมาก  
    	ตอนเด็กครอบครัวผมค่อนข้างจะยากจน ครอบครัวผมมีอาชีพทำนา  สมัยนั้นแถวบ้านยังใช้ควายในการไถ่นา  และใช้เกวียนในการขนของ  ทางไปนาแถวบ้านก็จะเป็นทางเกวียน ผมขับเกวียนเป็นตั้งแต่ยังเด็ก และไถ่นาเป็นตั้งแต่ ป.4   ผมรู้สึกชอบมากและคิดว่าตัวเองโชคดีมากที่ได้เกิดมาตรงจุดนี้  ถึงไม่รวย ไม่มีบ้านใหญ่โต แต่ก็มีความสุขมาก  ตอนนั้นหมู่บ้านผมทุกครอบครัวจะมีอาชีพทำนา ทุกบ้านเรือนจะเลี้ยงควายไว้ทุกคน เพื่อใช้ในการไถ่นา   ชีวิตอยู่กันอย่างเรียบง่าย  พอถึงเดือน 6  ฝนก็เริ่มตก ทุ่งนาก็จะเริ่มมีน้ำ ชาวนา ก็จะเริ่มที่จะลงมือทำนากัน ครอบครัวผมก็เหมือนกับคนอื่น พอถึงฤดูฝนเราก็ลงมือทำนากัน ทุกวันจันทร์-ศุกร์ก่อนไปโรงเรียน
    ผมจะตื่นแต่เช้าเพื่อไปช่วยพ่อ ไถ่นา  แล้วก็กลับมาแต่งตัวไปโรงเรียน พอเลิกเรียนผมจะแวะไปที่ทุ่งนาเพื่อไปช่วยพ่อแม่ไถ่นา และก็ไล่ควายกลับบ้าน(ลืมบอกไป ที่บ้านผมจะไถ่นาวันละสองครั้ง คือตอนเช้าจะไถ่ถึงประมาณ 9 โมงเช้า และก็เลิกไถ่ เอาควายให้กินหญ้า พอตกประมาณ บ่าย 4โมงก็จะเริ่มไถ่จนถึง 6 เย็น ผมก็จะให้ควายกินหญ้าอีกสักหน่อยแล้วไล่กลับบ้าน) ทำแบบนี้ประจำทุกวันจนเราดำน้ำกันเสร็จ พอดำนาเสร็จเป็นช่วงที่ผมชอบมาก มันเป็นช่วงที่สุดยอดเลย ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว พอเสร็จจากการดำนา เราก็จะไปใส่เบ็ดกัน ซึ่งปลามีเต็มทุ่ง  พอกลับมาจากโรงเรียนผมก็รีบกลับบ้าน เพื่อที่จะไปขุดใส้เดือนเอามาทำเหยื่อ ไปใส่เบ็ดที่ทุ่งนา
    ก็จะทำแบบนี้ประจำ จนเข้าช่วงปลายฝนต้นหนาว หรือประมาณต้นเดือนตุลาคม ข้าวก็จะเริ่มออกร่วง ลมน้ำก็จะเริ่มเข้ามา บรรยากาศดีมากๆ ในช่วงนี้เราก็จะมีวิธีการหาปลาแบบใหม่ คือจะไม่ใส่เบ็ดแล้ว แต่จะใช้วิธีการทำหลุมบนคันนา แล้วทำทางขึ้นให้ปลา จากนั้นเราก็จะเอาโคลน ที่ไปงมมาจากสระน้ำมาทาตรงทางขึ้นมาที่หลุม
    (อาจจะสงสัยว่าทำไหมปลาจึงขึ้นมาที่หลุมที่เราทำไว้  ตอนแรกผมก็งง แต่ผมถามพ่อก็ได้คำตอบว่า ในช่วงนี้ปลามันรู้ว่าน้ำเริ่มจะลด มันจะต้องขึ้นจากนาเพื่อหาทางกลับเข้าหนองน้ำใหญ่  จึงต้องไปงมเอาขี้โคลนจาหหนองน้ำมาทา ให้ปลามันได้กลิ่นแล้วมันก็จะขึ้นมาที่เราทำกับดักไว้นั้นเอง)  พอเข้าสู่ช่วงปลายตุลา ข้าวในนาเริ่มจะเป็นสีทอง เป็นสัญลักษณ์บอกว่าฤดูเก็บเกี่ยว มาถึงแล้ว  ชาวนาเริ่มเตรียมที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิต ในสมัยนั้น เราเกี่ยวข้าวด้วยมือกันครับ ช่วงนี้จะไม่ร้อนมากเพราะเป็นฤดูหนาวแล้ว ในความรู้สึกผมในฤดูนี้มันหนาวมาก เพราะแต่ก่อนเราไม่มีผ้าห่มหนาๆ เหมือนทุกวันนี้ บางวันตอนเช้าๆ ต้องตืนแต่ตี 4 มานั่งผิงไฟกัน ที่บ้านผมปลูกมัน ก็จะนั่งผิงไฟไป เผามันกินไปด้วย มีความสุขดี   
    	เมื่อฤดูเก็บเกี่ยวหมดลง พวกเราก็จะทำว่าวเล่นกันครับ เสาร์อาทิตย์ไม่ได้ไปโรงเรียนผมก็จะไล่ควายไปเลี้ยงที่ทุ่งนา เอาข้าวสารไปหุ่งกินที่ทุ่งนา มีน้ำพริกที่แม่ตำให้ และก็จะเข้าป่าไปหาผักมากินกับน้ำพริก ส่วนกับข้าวจะหาปลาตามสระน้ำที่ทุ่งนา หรืไม่ก็กิ้งกา นก ปู กบ เขียด หนู หอย  หาได้ตามทุ่งนา และในป่า และจะใช้ชีวิตแบบนี้ทุกๆปีวนเวียนตามฤดูกาล คิดถึงช่วงชีวิตตอนนั้นทีไร อยากกลับไปบ้านทุกครั้ง อยากมีชีวิตแบบนั้น
    ชีวิตที่พอมี พอกิน อยูอย่างมีความสุข หรือที่นิยิมเรียกกันปัจจุบันนี้ ว่า เศรษฐกิจพอเพียง

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน