น่าเอ๋ย น่ารัก อยากรู้จัก ชื่อเสียง เรียงนามสวย น่าโลมลูบ ละเลียดไล้ ให้ระรวย ใครรู้ช่วย บอกหน่อย จะคอยชม สีสรรสด งดงามตา สง่าใส อวบเหลือใจ ใคร่เคล้าคลึง คนึงขนม กอดกระหวัด รัดก้าน ต้านสายลม รอวันชม ชื่นยาม ปีกงามเอย ฯ หนอนผีเสื้อกะทกรก แอบถ่ายจากหลังบ้านก่อนเดินทางไกล กลับมาก็หายไป... เข้าใจว่าคงแปลงกายไปแล้วเรียบร้อย ไปช่วยให้โลกสวยด้วยปีกเธอ *^___^*
11 กุมภาพันธ์ 2546 15:27 น. - comment id 108512
น่ารักจิงๆ ด้วยค่ะ สีสวยจัง .......... แน่นอนหละ ที่หายไปจากบ้านอาจารย์ เมื่อเช้าเห็นแว้บๆ แถวๆ เนี้ยะ ตอนนี้ไปไหนแล้วไม่รู้เหมือนกัน ......... ถ้าเจออีก...จะบอกให้เค้ากลับไปเยี่ยมนะคะ ......heee.........heeeeeeee........
11 กุมภาพันธ์ 2546 16:03 น. - comment id 108515
ชื่นชมในเสน่ห์แห่งภาพถ่ายและอารมย์กลอนที่ไพเราะค่ะ รอวันฉันปีกงาม.....ธรรมชาติน่ารักเหลือเกินค่ะ..........อาจารย์ของลูกศิษย์มีความสามารถในการถ่ายทอดบทกลอนและภาพที่สื่อความหมายได้ดีค่ะ
11 กุมภาพันธ์ 2546 17:01 น. - comment id 108523
หนอนผีเสื้อ หลังจากที่ผีเสื้อตัวเมียวางไข่แล้ว 2-3 วัน ก็เริ่มปรากฏตัวหนอนเล็กๆ ขึ้นภายในไข่ ประมาณ 5-10 วันนับจากที่เริ่มวางไข่ ตัวหนอนที่อยู่ภายในก็โตเต็มที่ มันจะใช้ปากเจาะเปลือกไข่ให้แตกและดันตัวออกมา จากนั้นจึงเริ่มกินเปลือกไข่ของตัวเองเป็นอาหารมื้อแรกทันทีที่โผล่ออกมาดูโลก ไม่มีคำยืยยันแน่ชัดว่าเพราะเหตุใดหนอนผีเสื้อจึงต้องกินเปลือกไข่ตัวเอง นักวิทยาศาสตร์บางท่านสันนิฐานว่า เปลือกไข่อาจมีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของหนอนผีเสื้อ หรืออาจเป็นการทำลายหลักฐาน และร่องรอยที่จะทำใหศัตรูรู้ถึงแหล่งอาศัยของมัน เหมือนกับพ่อแม่ของนกบางชนิดคาบเปลือกไข่ของลูกไปทิ้งที่อื่น หลังจากที่ตัวหนอนกัดกินเปลือกไข่จนหมดก็จะเริ่มกินใบพืชเป็นอาหารต่อไป หนอนลอกคราบ หนอนเติบโตโดยการลอกคราบประมาณ 4-5 ครั้ง ขณะที่ผีเสื้อกลางวันลอกคราบครั้งสุดท้าย ผนังชั้นในเมื่อสัมผัสกับอากาศภายนอกจะแข็งตัว กลายเป็นเปลือกแข็งหุ้มตัวมันไว้เป็นดักแด้ ส่วนหนอนผีเสื้อกลางคืนนั้น เมื่อมันลอกคราบจนเติบโตเต็มที่แล้วจะขับใยเหนียวๆ ออกมาทางรู spinneret เพื่อทำเป็นรังไหมหุ้มตัวใช้เวลาในการสร้างรังไหมหุ้มตัวประมาณ 12-13 ชั่วโมง แล้วจึงเข้าสู่ระยะดักแด้ต่อไป ตัวแก้วตัวบุ้ง หนอนผีเสื้อมีชื่อเรียกอีกหลายอย่าง เช่น ตัวแก้วหรือหนอนแก้ว ตัวเขียวหวาน ตัวบุ้ง ตัวร่าน หนอนผีเสื้อกลางคืนบางชนิดมีขนที่มีพิษรุนแรง เมื่อสัมผัสกับผิวหนังทำให้เกิดผื่นคัน หรือเกิดอาการแสบได้มีรูปร่างหลายแบบ ในภาพเป็นหนอนผีเสื้อกลางวันวงค์ผีเสื้อขาหน้าพู่ หนอนกินเพลี้ย หนอนผีเสื้อบางชนิดไม่กินใบพืชเป็นอาหาร เช่น หนอนผีเสื้อดักแด้หัวลิง(Spalgis epeus) กินพวกเพลี้ยเกล็ด หนอนผีเสื้อหนอนกินเพลี้ย(Miletus chinensis)กินเพลี้ยอ่อน หนอนของผีเสื้อมอท(Liphyra brassolis)อาศัยอยู่ในรังของมดแดงกินตัวอ่อนของมดแดง หนอนผีเสื้อพวกนี้จึงช่วยกำจัดศัตรูพืชบางส่วนให้เกษตรกรได้อย่างดี หนอนศัตรูพืช ตัวหนอนของผีเสื้อที่สร้างความเสียหายให้แก่พืชไร่มีหลายชนิดด้วยกัน เช่น หนอนผีเสื้อหนอนบังใบกินชมพู่เป็นอาหาร หนอนผีเสื้อชอนใบชอบกินใบละมุด หนอนผีเสื้อหนอนกอชอบเจาะต้นข้าวโพด หนอนผีเสื้อหนอนมะนาวชอบกัดกินใบส้มชนิดต่างๆ หนอนผีเสื้อหนอนคืบชอบกัดกินใบเงาะ เป็นต้น วิธีต่อสู้ศัตรู รูปร่างของหนอนผีเสื้อแตกต่างไปตามวงค์ของผีเสื้อ ระยะที่เป็นตัวหนอน เป็นระยะที่ค่อนข้างเสี่ยงต่อการถูกนกและสัตว์อื่น ๆ จับกิน หนอนผีเสื้อบางชนิดจึงพรางตัวให้กลมกลืนกับใบไม้ที่เกาะอยู่ บางชนิดมีต่อมกลิ่น(osmeterium) อยู่ด้านหลังของส่วนหัว สามรถปล่อยกลิ่นฉุนรุนแรง ทำให้ศัตรูไม่กล้าเข้าใกล้ บางชนิดก็สามารถขยายส่วนหน้าของลำตัวให้พองโตได้เพื่อข่มขู่ศัตรู
12 กุมภาพันธ์ 2546 07:10 น. - comment id 108591
..น่ารัก..มากค่ะ... จริงดิค่ะ.. ..รอวัน..ฉันปีกสวย.. บทกวี..ที่ทรงคุณค่า.. ให้ความรู้สึก..ที่ดี.. กะเรน..นะค่ะ.. ..รอวัน.... ...... ที่แกร่ง.. เพื่อบิน... สู่ฟ้า... กว้าง... ประสบการณ์... ที่พบ.. คือสิ่ง..ที่มีค่า....
13 กุมภาพันธ์ 2546 10:13 น. - comment id 108727
รวมพลคนชอบหนอน ขอบคุณครับ *^___^*
17 กุมภาพันธ์ 2546 13:15 น. - comment id 109402
อารมณ์ประมาณว่า...สักวันเถอะฉันจะดังเปรี้ยงๆ อย่างนี้หรือเปล่า....
22 ตุลาคม 2547 15:46 น. - comment id 145796
อืม...ช่างเปรียบนะพี่