ครั้นแต่งองค์ทรงเครื่องดุจเรื่องโขน แล้วโลดโผนดลความตามบทอ้าง เป็นพระรามย่ำป่าตามหากวาง พระบาทย่างเยือนยลสณฑ์พฤกษ์ไพร ฤาให้เป็นเช่นยักษ์มากฤทธิ์เดช วรเชษฐ์เก่งกล้าตาวาวใหญ่ อยู่ครองเมืองเดื่องฟ้าลงกาไกร เป็นเช่นใดล้วนผองให้มองเป็น ขอเป็นฉันมั่นมากอยากกล่าวบอก มิปอกลอกกลอกความตามหลีกเร้น มิกล้ำกรายทำร้ายให้ลำเค็ญ เพียงเนื้อเย็นชื่นสุขสนุกพอ จักร่ายเรียงเสียงส่งประสงค์กล่อม และถนอมเคียงเจ้าคราวที่ท้อ ครั้งสรวลสุขสนุกย้ำตามเคียงคลอ ปราศจิตฉ้อฉลแฝงแสดงกล ฯ
11 กุมภาพันธ์ 2546 17:49 น. - comment id 108533
...จะไม่ใส่ไม่ได้ในหัวโขน เมื่อเขาโยนให้ใส่...ใส่ตามเขา พอจบเรื่องเครื่องทรงคงจากเรา รีบใส่เข้าก่อนเถิดเกิดเป็นคน... ...............สวัสดีครับ.................
11 กุมภาพันธ์ 2546 17:54 น. - comment id 108534
หัวโขน เป็นเครื่องใช้สำหรับศีรษะและปิดบังส่วนหน้าที่คล้ายกับหน้ากาก แต่หัวโขนจะมีลักษณะที่แตกต่างออกไปตรงที่สร้างหุ่นจำลองรูปทรงใบหน้าและศีรษะ ทั้งหมด โดยผู้แสดงสามารถสวมครอบศรีษะจะห่อหุ้มส่วนใบหน้าและส่วนหัวมิดชิด และเจาะช่องเป็นรูกลมที่ตาของหน้ากากให้ตรงกับนัยน์ตาของผู้แสดง เพื่อให้นักแสดงมองเห็นการแสดง หัวโขน อาจแบ่งตามประเภทของหัวโขนที่ใช้สวมอย่างละ 2 จำพวก คือ ยักษ์ยอด ยักษ์โล้น และลิงยอด ลิงโล้น นอกจากนี้หัวโขนก็ยังแบ่งออกได้ตามชนิดของหัวโขนซึ่งมีลักษณะต่างๆ กัน ซึ่งจะแบ่งเป็นฝ่ายลงกา และฝ่ายพลับพลาดังนี้ ฝ่ายลงกา (ยักษ์) แบ่งออกได้ดังนี้ 1. มงกุฎยอดกระหนก เช่น พยาทูษณ์ มัยราพณ์ 8. มงกุฎยอดสามกลีบ เช่น ทัพนาสูร สวาหุ มารีศ 2. มงกุฎยอดจีบ เช่น พญาขร สัทธาสูร 9. มงกุฎยอดหางไหล เช่น ตรีเมฆ (เฉพาะตัวเดียว) 3. มงกุฎยอดหางไก่ เช่น วิรุญจำบัง บรรลัยจักร 10. มงกุฎยอดนาค เช่น มังกรกัณฐ์ (เฉพาะตัวเดียว) 4. มงกุฎยอดน้ำเต้า เช่น พิเภก ชิวหา 11. มงกุฎตามหัวหรือหน้า เช่น ทศกัณฐ์มี 10 หน้า ตรีเศียรมี 3 หน้า เป็นต้น 5. มงกุฎยอดน้ำเต้ากลม เช่น กุเวรนุราช เปาวนาสูร 12. พวกไม่มีมงกุฎ เช่น กุมภกรรณ มูลพลัม 6. มงกุฎยอดน้ำเต้าเฟื่อง เช่น บรรลัยกัลป์ วันยุวิก 13. หัวโล้น เช่น เสนายักษ์ทั่วไป 7. มงกุฎยอดกาบไผ่ เช่น รามสูร ทศคีรีวัน ทศคีรีธร 14. หัวเขนยักษ์และตัวตลกฝ่ายยักษ์
11 กุมภาพันธ์ 2546 18:01 น. - comment id 108535
หัวโขน เป็นเครื่องใช้สำหรับศีรษะและปิดบังส่วนหน้าที่คล้ายกับหน้ากาก แต่หัวโขนจะมีลักษณะที่แตกต่างออกไปตรงที่สร้างหุ่นจำลองรูปทรงใบหน้าและศีรษะ ทั้งหมด โดยผู้แสดงสามารถสวมครอบศรีษะจะห่อหุ้มส่วนใบหน้าและส่วนหัวมิดชิด และเจาะช่องเป็นรูกลมที่ตาของหน้ากากให้ตรงกับนัยน์ตาของผู้แสดง เพื่อให้นักแสดงมองเห็นการแสดง หัวโขน อาจแบ่งตามประเภทของหัวโขนที่ใช้สวมอย่างละ 2 จำพวก คือ ยักษ์ยอด ยักษ์โล้น และลิงยอด ลิงโล้น นอกจากนี้หัวโขนก็ยังแบ่งออกได้ตามชนิดของหัวโขนซึ่งมีลักษณะต่างๆ กัน ซึ่งจะแบ่งเป็นฝ่ายลงกา และฝ่ายพลับพลาดังนี้ ฝ่ายลงกา (ยักษ์) แบ่งออกได้ดังนี้ 1. มงกุฎยอดกระหนก เช่น พยาทูษณ์ มัยราพณ์ 8. มงกุฎยอดสามกลีบ เช่น ทัพนาสูร สวาหุ มารีศ 2. มงกุฎยอดจีบ เช่น พญาขร สัทธาสูร 9. มงกุฎยอดหางไหล เช่น ตรีเมฆ (เฉพาะตัวเดียว) 3. มงกุฎยอดหางไก่ เช่น วิรุญจำบัง บรรลัยจักร 10. มงกุฎยอดนาค เช่น มังกรกัณฐ์ (เฉพาะตัวเดียว) 4. มงกุฎยอดน้ำเต้า เช่น พิเภก ชิวหา 11. มงกุฎตามหัวหรือหน้า เช่น ทศกัณฐ์มี 10 หน้า ตรีเศียรมี 3 หน้า เป็นต้น 5. มงกุฎยอดน้ำเต้ากลม เช่น กุเวรนุราช เปาวนาสูร 12. พวกไม่มีมงกุฎ เช่น กุมภกรรณ มูลพลัม 6. มงกุฎยอดน้ำเต้าเฟื่อง เช่น บรรลัยกัลป์ วันยุวิก 13. หัวโล้น เช่น เสนายักษ์ทั่วไป 7. มงกุฎยอดกาบไผ่ เช่น รามสูร ทศคีรีวัน ทศคีรีธร 14. หัวเขนยักษ์และตัวตลกฝ่ายยักษ์
11 กุมภาพันธ์ 2546 21:57 น. - comment id 108548
หนุมานสิครับ เก่งกล้าหาญชาญสมร หน้าจอแปลกตาไป ทำให้งงครับ กว่าจะหาเจอ
12 กุมภาพันธ์ 2546 00:22 น. - comment id 108561
อาจารณ์ หัวโขน เดี๋ยวนี้หาดูยากนะครับ ก็ศิลปะ ไทยไทยเริ่มจะ ไม่มีคนสืบทอดแล้วน่ะซิ ส่วนหว่ออ้ายหนี่ก็ดูนะเมื่อก่อน ชอบดู แต่ในโทรทัศน์น่ะ แต่ของจริงจริงนี่ไม่เคยดูนะ ชอบดูตอน รามเกียร น่ะ สนุกดี ชอบตอนที่มี แบบต่อตัวน่ะ เอาขามาเท้าตรงเข่า ดู เท่ห์ ดีนะ
12 กุมภาพันธ์ 2546 07:09 น. - comment id 108589
ขอเป็นหนุมานนะ อิอิ ลิงลม
15 กุมภาพันธ์ 2546 14:51 น. - comment id 109086
เวียนหัวบ้างหรือเปล่า...ประมาณว่าตีลังกามากไป....คุณลม
16 กุมภาพันธ์ 2546 14:08 น. - comment id 109196
๕๕๕ ... ขำ จัง.. น่าจะเวียนหัวนะ เจ้าลม ขอบคุณค่ะ ทุกๆท่าน
20 กุมภาพันธ์ 2546 19:03 น. - comment id 109868
โขนเจ้าทั้งสนุกและน่ารัก น่าอ่านครับ
28 มิถุนายน 2547 09:35 น. - comment id 145381
:) .../|\....
9 กรกฎาคม 2550 18:47 น. - comment id 145483
มีเนื้อหามากกว่านี้ได้ปะ
5 สิงหาคม 2549 19:00 น. - comment id 146026
น่าหนุกนะครับ