***พุทธชินราชรุ่งฟ้า สองแคว งามตื่นตาโลมแล ร่างเกลี้ยง ชมพักตร์ผ่องดังแข ไขส่อง โอษฐ์อิ่มเอวองค์เพี้ยง ท่านท้าวจอมพรหม ***ทรัพย์อุดมเฟื่องฟุ้ง ประชา จิตอิ่มทานภาวนา ค่ำเช้า พิษณุโลกพัฒนา นานเนื่อง เมืองเก่าปุราณเค้า แต่ครั้งอยุธยา ***ธรรมราชาพรั่งพร้อม เสนา ครองคู่กษัตริย์กัลยา คู่อ้อม นเรศวร์สุพรรณกัลยา ลูกราช สุขอยู่สองแควพร้อม ไพร่ฟ้าราษฎร ***พิษณุโลกแต่นี้ เมืองอมร เรืองรุ่งทรัพย์สินจร จ่ายใช้ เพียรดีเหล่านิกร กิจก่อ สัตย์ซื่อกินสุขไส้ เนื่องด้วยกรรมดี ***การศึกษาแจ่มห้อง นานปี เสริมส่งเกียรติศักดิ์ศรี สี่ชั้น ปริญญาเอกโทตรี งามเปี่ยม ปฐมต่อมัธยมนั้น ผ่านแล้วมาตรฐาน ***อุทธยานมิ่งไม้ มรดก ชนทั่วไทยรวมปก แผ่ป้อง ชุมสัตว์ป่าวิหค เนืองแน่น เต็มทั่วสองแควห้อง เที่ยได้ตลอดปี
16 ตุลาคม 2552 18:48 น. - comment id 1052288
กลับไปตอบเมนท์โคลงสิงห์บุรีหน่อยนะคะ
16 ตุลาคม 2552 18:58 น. - comment id 1052303
เยี่ยมมากๆๆครับ
16 ตุลาคม 2552 19:17 น. - comment id 1052321
ผมอยุ่พิษณุโลกครับ แต่ไม่ใช่ คนที่นี่ เลอยากลองทดสอบ เคลง หน่อยครับ เอก 7 โท 4 ผมไม่รู้ วิธีการแต่งครับ ว่าต้องวางยังไง ที่สำคัญ เสียงผมไม่ได้อยู่แล้วครับ *พุทธชินราชงานเลิศ เลอค่า งามเปรียบเทียบดารา เรืองรุ่ง สองแควฝั่งชลธา ธานี สุโขทัยครั้งแควคุ้ง เมืองอก แตกเฮย คำว่า เลิศ คงผิดเสียงแล้วล่ะครับ ส่วนอื่นๆ ผมไม่รู้เลยจริงๆ ว่ายังไง
16 ตุลาคม 2552 20:42 น. - comment id 1052338
เมืองอกแบะแบ่งข้าง......ลำคลอง แควแม่น้อยใหญ่นอง....แน่นเชื้อ เส้นสายน่านน้ำกรอง......กอดจิต รวมเฮย กุมหล่อก่อเลี้ยงเกื้อ......เกิดท้องตำนานฯ ขอบคุณมากครับ..ผมคนพิษณุโลกครับ
17 ตุลาคม 2552 09:18 น. - comment id 1052467
คุณกวีน้อยเจ้าสำราญที่รัก ผมแต่งแก้เกี่ยวกับพระพุทธชินราชสองสามครั้ง ก็ยังไม่สะใจผม เพราะพระพุทธชินราชงามเกินพรรณากว่าที่ผมแต่งไว้ ผมไปแวะนมัสการเกือบสิบคตรั้ง อิ่มตา อิ่มใจ อิ่มชม เวลแต่งโคลง ผมก็นึกว่าจะใช้สํพท์ที่แตกต่างจากศัพท์ธรรมดา คือบาลี และสันสกฤต ภาษาพวกนี้ไม่มีรูป เอก โท มีแต่เสียง จึงต้องหาเสียงให้ตรงกับบังคับเอก และโท มันก็ยากขึ้นไปอีก ต้องไล่เสียง และอ่านเอื้นทำนองเสนาะในใจ ผมก็พยายาม แต่ก็ไม่สำเร็จ จึงลงมาใช้ศัพทธรรมดาในการแต่งชมพระพุทธชินราช การแต่โคลง ยากตรงบังคับเอก โท ถ้าใช้เอก โท เกินกำหนด เรียนในห้อง ครูก็ให้คะแนนไม่ผ่าน คือ 4-5 คะแนน ถ้าได้เอก โท ถูกต้อง เนื้อหาไม่เป็นเหตุผล ไม่รับ ไม่สอดคล้องกัน ก็ได้ 6-7 ถ้าสมบูรณ์หนอย ดูดดี ดูได้ ก็ได้ 8-9 การใช้คำน้อย ให้กินความลึกและกว้าง เป็นเสน่ห์ของโคลง ต้องกร่อนคำ ตัดคำ แผลงคำ แต่ผู้อ่านพอเดาความหมายได้เราจึงทำ และเรื่องการอ่านโคลง ผู้ที่อ่านก็ต้องมีพื้นฐานในการอ่านด้วย คือผู้มีการศึกษาดี ในสมัยอุธยาคือพวกราชสำนัก พวกข้าราชบริพาร ชาวบ้านธรรมดาเข้าไม่ถึง ชาวบ้านก็หันไปเล่นเพลงเรือ อะไรอื่นอีก คุณก็ลองฝึกไปครับ เราไม่ต้องคิดว่ายาก เดินทางหมื่นลี้ เดินทีละก้าว เดี่ยวก็จะเกิดการเรรียนรู้ด้วยตนเองครับ
17 ตุลาคม 2552 20:46 น. - comment id 1052617
เข้ามาอ่านโคลงเพราะๆ ค่ะ ไม่เคยไปสักทีพิษณุโลก แต่คิดว่าคงน่าเที่ยวอีกเมืองหนึ่งค่ะ
17 ตุลาคม 2552 20:48 น. - comment id 1052618
มาอ่านโคลงแถมได้รับความรู้ อีกดีจังค่ะ กะแต่งแข่งกับการร้องเพลงชาติเลยใช่ไหมค่ะเนื่ย อิ อิ
19 ตุลาคม 2552 08:55 น. - comment id 1053236
ขอขอบคุณที่แต่งโคลงพิษณุโลกค่ะ