วอนสายลมช่วยพัดหวนหาข้า วอนสายลมช่วยพัดพาหาอีกหน วอนสายลมช่วยพัดหาใครอีกคน วอนสายลมพาคนรักให้หวนคืน ........................ สายลมหนาวฝากเจ้าบอกเธอว่า ข้าคนนี้ห่วงหาละเมอฝัน ใจข้านี้พร่ำเพ้อทุกคืนวัน ใจข้านี้มิอาจผันไปรักใคร ......................... เพราะหัวใจดวงนี้เคยช้ำหนัก เพราะคนรักเคยร้างลามิปราศรัย เพราะข้ามั่นรักจริงมิปันใจ แต่เหตุใดคนที่รักมักหมางเมิน ........................ หรือโลกนี้ความจริงใจหาใช่แน่ หรือโลกนี้มีเพียงแต่ความอาสัญ หรือโลกนี้มีแต่เอาเปรียบกัน หรือโลกนี้ความตั้งมั่นไม่มีจริง ....................... บัดนี้ข้ารู้ซึ้งถึงความรัก หากรักปักดวงใจมิเกิดผล ต่อนี้ไปมิรักใครให้มั่นคง จะมิหลงรักใครให้เปลืองใจ ...................... ใครไม่โดนร้างรักไม่รู้หรอก ข้าจึงมาเขียนกลอนบอกอย่าสงสัย ข้ามาบอกคนรักจริงไม่ปันใจ หาใช่ง่าย......เหมือนปอกกล้วยเข้าปากกิน
10 ตุลาคม 2551 10:02 น. - comment id 903673
ขออนุญาตนำแนวคิดหลักการ..ของกลอนสุภาพมาลงให้ลองสอบทานดูครับ.. กลอนสุภาพพึงจำมีกำหนด กลอนหนึ่งบทสี่วรรคกรองอักษร วรรคละแปดพยางค์นับศัพท์สุนทร อาจยิ่งหย่อนเจ็ดหรือเก้าเข้าหลักการ ห้าแห่งคำคล้องจองต้องสัมผัส สลับจัดรับรองส่งประสงค์สมาน เสียงสูงต่ำต้องเรียงเยี่ยงโบราณ เป็นกลอนกานท์ครบครันฉันท์นี้เอย ฐะปะนีย์ นาครทรรพ ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ประพันธ์ คณะของกลอนสุภาพ หนึ่งบทมี ๔ วรรค วรรคละ ๘- ๙ พยางค์ ๘ พยางค์ไพเราะที่สุดสัมผัสบังคับของ กลอนสุภาพเป็นสัมผัสสระตามแผนผัง สัมผัสระหว่างวรรค พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับพยางค์ที่ ๓ หรือ ๕ ในวรรคที่ ๒ พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๓ และสัมผัสกับพยางค์ที่ ๓ หรือ ๕ ในวรรคที่ ๔ สัมผัสระหว่างบท พยางค์สุดท้ายของบทต้น สัมผัสกับพยางค์สุดท้าย ของวรรคที่ ๒ของบทถัดไป สัมผัสใน กลอนสุภาพจะมีความไพเราะยิ่งขึ้นไปนอกเหนือ จากการสัมผัสตามสัมผัสบังคับแล้ว ยังต้องมี สัมผัสในที่เป็นสัมผัสสระและสัมผัสอักษร ตัวอย่างสัมผัสบังคับ ดอกสร้อยฟ้าเลื้อยเลาะเกาะไม้ใหญ่ ม่วงไสวกระจายคล้ายรัศมี ยามลมโชยโปรยกลิ่นแสนยินดี คือมาลีงดงามนามสร้อยฟ้า สร้อยมาลีในป่าน่าเพาะเลี้ยง ไว้คู่เคียงข้างบ้านม่านพฤกษา ส่งกลิ่นหอมพร้อมกันเดือนธันวาฯ สร้อยมาลีหลากค่าน่านิยม ตัวอย่างสัมผัสใน สร้อยอินทนิลถิ่นอยู่คู่เคียงป่า ดอกสีฟ้าเข้มอ่อนอ้อนออกช่อ เป็นระย้าเรียงย้อยห้อยเคลียคลอ ดุ จจะล้อโลมดินถิ่นแอบเคียง อิน-นิล-ถิ่น / อยู่-คู่ เป็นสัมผัสสระ คู่-เคียง เป็นสัมผัสอักษร ย้อย-ห้อย / ดิน-ถิ่นเป็นสัมผัสสระ อ่อน -อ้อน-ออก เป็นสัมผัสอักษร ย้า -ย้อย /เคลีย-คลอ เป็นสัมผัสอักษร ล้อ-โลม เป็นสัมผัสอักษร แวะมาเยี่ยมครับ..
10 ตุลาคม 2551 11:01 น. - comment id 903706
ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ที่กรุณาให้คำแนะนำ จะนำข้อผิดพลาดไปปรับปรุง ขออภัยในความผิดพลาดทุกประการ
10 ตุลาคม 2551 16:24 น. - comment id 903772
คุณดินสอเขียว.. สมัยก่อนตอนอรุณสุขเริ่มเขียนก็มี ท้งอาจารย์และรุ่นพี่คอยให้คำแนะนำ ในช่วงแห่งการเริ่มต้นนั้น..ความผิดพลาด เป็นเรื่องปกติที่ต้องมี..ครับ.. อาจารย์ในรุ่นก่อนท่านจะเน้นให้ ลองเขียนโดยเข้มงวดเรื่องฉันทลักษณ์ อันเป็นเหมือนข้อกำหนดหลักของงานเขียน พอเริ่มชำนาญ..ก็จะคุ้นไปโดยปริยาย.. สำหรับกลอนที่ไม่เน้นฉันทลักษณ์นั้น.. ถ้าหากความ..หรือเนื้อหา..หนักแน่น ก็มีการยอมรับกันในปัจจุบันบ้างว่า..ใช้ได้ ซึ่งในยุคเริ่มเขียนนี้..พี่ว่าเน้น..ฉันทลักษณ์ ไว้ก่อนครับ.. ให้กำลังใจนะครับ..ข้อผิดพลาดแก้ได้เสมอ..เนาะ.. อันนี้เป็นผังหกลอนสุภาพ..คัดมาให้ตรวจทานดูนะครับ..
10 ตุลาคม 2551 16:27 น. - comment id 903775
คุณดินสอเขียว.. สมัยก่อนตอนอรุณสุขเริ่มเขียนก็มี ท้งอาจารย์และรุ่นพี่คอยให้คำแนะนำ ในช่วงแห่งการเริ่มต้นนั้น..ความผิดพลาด เป็นเรื่องปกติที่ต้องมี..ครับ.. อาจารย์ในรุ่นก่อนท่านจะเน้นให้ ลองเขียนโดยเข้มงวดเรื่องฉันทลักษณ์ อันเป็นเหมือนข้อกำหนดหลักของงานเขียน พอเริ่มชำนาญ..ก็จะคุ้นไปโดยปริยาย.. สำหรับกลอนที่ไม่เน้นฉันทลักษณ์นั้น.. ถ้าหากความ..หรือเนื้อหา..หนักแน่น ก็มีการยอมรับกันในปัจจุบันบ้างว่า..ใช้ได้ ซึ่งในยุคเริ่มเขียนนี้..พี่ว่าเน้น..ฉันทลักษณ์ ไว้ก่อนครับ.. ให้กำลังใจนะครับ..ข้อผิดพลาดแก้ได้เสมอ..เนาะ..
11 ตุลาคม 2551 07:48 น. - comment id 903884
ขอขอบพระคุณอีกครั้งขอรับ ที่ท่านให้ความกรุณา
11 ตุลาคม 2551 10:39 น. - comment id 903902
ขอเป็นศิษย์ท่านอาจารย์อรุณสุขด้วยนะขอรับ