นาร์กีส....นากรรม...!

พุด

250px-Low_pressure_system_over_Iceland.jshwedagon.jpg247648515_IMG_0027.jpg
วิปโยคโลกสะเทือนเกินกล่าวคำ
พม่ารินร่ำสังเวยเศร้าหนาวเหน็บขวัญ
ลมสั่งสอนมวลมนุษย์โศกจาบัลย์
ทุกชีวันรอมลายหายวับไป
เพราะทำลายวัฏฏดำรงคงพึ่งพา
ดินน้ำฟ้าผสานสมานสมัย
กี่ครั้งคราจึ่งสำนึกเล่าเจ้าดวงใจ
สายเกินไปจนวันนี้ที่ฟ้าครวญ
น้ำท่วมโลกแลไปไม่เห็นฝั่ง
ชโลมหลั่งทะเลน้ำตาเกินไห้หวน
สังเวยกรรมธรรมชาติสอนบทเรียนให้ทบทวน
หากมากมวลมนุษย์มิหยุดคิด
ใต้ร่มรัตน์ฉัตรเพชรแผ่นดินสุวรรณภูมิพุทธิ์
พบพิสุทธิ์ธรรมะอันศักดิ์สิทธิ์
ได้น้อมนำธรรมชาติเพื่อนชีวิต
มาสถิตเป็นมิ่งขวัญนิรันดร.....

1545.jpg1643.jpg550000007613401ax7.jpgโรคระบาดซ้ำพม่า ยูเอ็นขู่-ช้าตายเพิ่ม [10 พ.ค. 51 - 04:35]
ความคืบหน้าความพยายามช่วยเหลือเหยื่อผู้ประสบภัยจากพายุไซโคลน นาร์กีส บริเวณสามเหลี่ยมลุ่ม แม่น้ำอิระวดีในพม่า สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน เมื่อวันที่ 9 พ.ค.ว่า แม้เวลาจะล่วงเลยมาถึง 7 วันแล้ว แต่ รัฐบาลเผด็จการทหารพม่ายังไม่อนุญาตให้ทีมงานกู้ภัยและบรรเทาทุกข์จากนานาชาติ เข้าสู่พม่า โดยกระทรวงต่างประเทศพม่าแถลงว่าพม่าต้องการความช่วยเหลือจากต่างชาติเฉพาะที่เป็นเงินสดและเครื่องบรรเทาทุกข์ อาทิ เวชภัณฑ์ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า และที่พักอาศัยชั่วคราวเท่านั้น แต่ยังไม่พร้อมรับทีมกู้ภัย ค้นหา และรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากต่างชาติ โดยพม่าจะใช้บุคลากรและทรัพยากรของตนเองแจกจ่ายความช่วยเหลือ แก่ผู้ประสบภัยเองอย่างดีที่สุด 
พร้อมกันนี้ หนังสือพิมพ์เมียนมาร์ อาห์ลิน กระบอก เสียงของทางการพม่า ยืนยันว่ารัฐบาลพม่าได้เนรเทศทีมกู้ภัยและสื่อมวลชนของกาตาร์ออกนอกประเทศแล้ว หลัง จากทีมกู้ภัยชุดนี้เดินทางเข้าสู่พม่าพร้อมเครื่องบินของกาตาร์ ซึ่งเป็น 1 ในเครื่องบินลำเลียงเครื่องบรรเทาทุกข์ ของนานาชาติ 12 ลำที่เดินทางถึงกรุงย่างกุ้งเมื่อวันที่ 8 พ.ค.นอกจากนี้ สถานทูตพม่าในกรุงเทพฯ ยังแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ยูเอ็นและบริษัทนำเที่ยวว่าจะหยุดการออกวีซ่าจนถึงวันจันทร์หรืออังคารที่ 12-13 พ.ค. เพราะสถานทูตพม่าปิดทำการในวันพืชมงคล ซึ่งเป็นวันหยุดราชการของไทย รวมกับวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ อีก ดังนั้น ชาวต่างชาติ ที่ต้องการเข้าไปช่วยเหลือต้องรอการออกวีซ่าอีก 3-4 วัน โดยหน่วยงานด้านมนุษยธรรมของยูเอ็นเผยว่า มีเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ฉุกเฉินของยูเอ็นและองค์กรอื่นๆ ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง 30-40 คน เข้าคิวรอวีซ่าจากพม่าอยู่ 
 ทั้งนี้ นายพอล ริสลีย์ โฆษกของโครงการอาหารโลกแห่งสหประชาชาติ (WFP) กล่าวว่า ความล่าช้าในการออกวีซ่าของพม่าเช่นนี้เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์การบรรเทาทุกข์ยุคใหม่ เจ้าหน้าที่ WFP ได้ยื่นขอวีซ่าเข้าพม่าตามสถานทูตพม่าในประเทศต่างๆ ทั่วโลกแล้ว 10 คน รวมทั้งในประเทศไทย 6 คน แต่ยังไม่ได้รับการอนุมัติเพราะติดวันหยุดดังกล่าว ขณะที่ นางโนลีน เฮเซอร์ รองเลขาธิการยูเอ็นประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ก็ออกมาเตือนว่า เวลาที่จะระดมความช่วยเหลือที่จำเป็น เพื่อเข้าไปช่วยผู้รอดชีวิตจากไซโคลนนาร์กีสในพม่าใกล้หมดลงแล้ว ถ้าคนเหล่านี้ไม่ได้รับความช่วยเหลือเร่งด่วน จะมีผู้เสียชีวิตอีกมากมายจากโรคระบาดและขาดแคลนน้ำกับอาหาร ซึ่งตรงกับที่เจ้าหน้าที่กองทุนเพื่อ เด็กแห่งสหประชาชาติ หรือยูนิเซฟ และองค์การอนามัยโลก (WHO) ออกมาเปิดเผยว่ามีรายงานว่าเกิดโรคมาลาเรีย และท้องร่วงระบาดในพื้นที่ภัยพิบัติแล้ว โดยจากการประเมินเด็กๆ ราวร้อยละ 20 ในพื้นที่ที่ถูกไซโคลนถล่ม หนักที่สุด ล้มป่วยด้วยโรคท้องร่วง เพราะเต็มไปด้วยน้ำสกปรก มีศพเกลื่อนกลาด ชาวบ้านแทบไม่มีอาหารและน้ำดื่มที่สะอาด ส่วนยอดผู้ป่วยด้วยโรคมาลาเรียยังไม่อาจ ระบุได้แน่ชัด แต่มีการส่งมุ้งกันยุงเข้าสู่เขตภัยพิบัติแล้ว 10,000 หลัง ผู้เชี่ยวชาญด้านการบรรเทาทุกข์ ยังระบุว่ายอดผู้เสียชีวิตจะพุ่งขึ้นอีกมากถ้าความช่วยเหลือเข้าไปไม่ทันกาล เพราะนอกจากโรคระบาดทั้งอหิวาต์ ท้องร่วง โรคบิด ไข้รากสาด แล้ว ผู้คนในเขตภัยพิบัติที่ไร้ที่อยู่ อาศัยยังต้องเผชิญกับแสงแดดแผดเผา จนน้ำในร่างกายอาจแห้งเหือดและผจญอันตรายจากงูพิษที่มีอยู่ชุกชุมด้วย กระนั้น รัฐบาลพม่าระบุยอดผู้เสียชีวิตจากไซโคลนนาร์กีสอย่างเป็นทางการ ยังอยู่ที่เกือบ 23,000 คน สูญหายอีกกว่า 42,000 คน แต่สหรัฐฯ ประเมินว่ายอดผู้เสียชีวิตอาจถึง 100,000 คน และสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ระบุว่าพม่าราว 1.5 ล้านคน ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง จากไซโคลนนาร์กีส
ด้านสำนักข่าวเอพีก็รายงานสภาพในหลายพื้นที่ที่โดนพายุถล่ม ยังมีซากศพขึ้นอืดส่งกลิ่นเน่าเหม็นจำนวนมากลอยตามแม่น้ำลำคลองในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี แต่มีข่าวดีในข่าวร้าย เมื่อนางโอห์น เตย์ ชาวเมืองคอว์ ฮมู ห่างนครย่างกุ้งราว 100 กม. ซึ่งสามีเสียชีวิตเพราะไซโคลน ได้ให้กำเนิดทารกเพศหญิง หลังเธอพร้อมลูกชายวัย 8 ขวบ รอดตายจากภัยพิบัติมาได้ไม่ กี่ชั่วโมง
เอพีรายงานอีกว่า ในขณะที่พม่ายังเตะถ่วงการเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทำให้มีผู้ไม่พอใจพม่าก่อหวอดประท้วงที่หน้าสถานทูตพม่า ในกรุงแคนเบอร์รา เมืองหลวงของออสเตรเลีย และขว้างปาขวดน้ำใส่รถของเจ้าหน้าที่ทูตพม่า ทำให้เกิดการปะทะกับตำรวจ ผู้ประท้วงถูกจับกุม 3 คน ทั้งนี้ นายเควิน รัดด์ นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ได้กล่าวประณามรัฐบาลทหารว่าใจแคบ ที่ไม่ยอมให้หน่วยบรรเทาทุกข์นานาชาติเข้าไปช่วยเหลือชาวพม่าที่กำลังเดือดร้อนแสนสาหัส ขณะที่สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า สมาชิกคณะมนตรีความมั่นคง องค์การ สหประชาชาติ หรือยูเอ็น กำลังแตกแยกกันเองว่าจะรับมือกับวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมในพม่าอย่างไร โดยสมาชิกที่เป็นชาติตะวันตก รวมทั้งสหรัฐฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส เรียกร้องให้คณะมนตรีฯ ใช้มาตรการกดดันพม่าอย่างรุนแรง เพื่อให้หน่วยบรรเทาทุกข์นานาชาติเข้าสู่พม่าได้ แต่อีกฝ่าย นำโดยจีน รัสเซีย อินโดนีเซีย คัดค้านและเตือนว่าอย่าทำให้เรื่องนี้เป็นเรื่องการเมือง
 
ทั้งนี้ ยูเอ็นเปิดเผยถึงความช่วยเหลือจากนานาชาติทั่วโลกว่า จนถึงขณะนี้น่าจะมีมูลค่ากว่า 62 ล้านดอลลาร์ แต่ในขณะที่หน่วยบรรเทาทุกข์จากหลายประเทศกำลังรอการอนุญาตเข้าประเทศจากพม่าอยู่นั้น ก็มีข่าวไม่สู้ดีออกมาว่ามีข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาว่า ขณะนี้พายุอีกลูกหนึ่งมีทิศทางมุ่งหน้าสู่พม่า อาจทำให้เกิดฝนตกหนักใน 7 วันข้างหน้า ซึ่งจะยิ่งทำให้ปฏิบัติการบรรเทาทุกข์ยากลำบากยิ่งขึ้น เพราะแม้แต่ขบวนรถลำเลียงเครื่องบรรเทาทุกข์จากชายแดน อ.แม่สอด จ.ตาก ของไทย ไปกรุงย่างกุ้ง ยังต้องใช้เวลาถึง 6-10 วัน เพราะสภาพถนนที่ย่ำแย่และเสียหายอย่างหนักจากฤทธิ์ไซโคลนนาร์กีส 
 อย่างไรก็ตาม แม้ชาวพม่าจะเสียชีวิตมากมายและคนนับล้านกำลังเผชิญความทุกข์ยากแสนสาหัส รัฐบาลทหารพม่ายังยืนยันจัดการลงประชามติในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในวันที่ 10 พ.ค.นี้ ตามกำหนดในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ ยกเว้น 47 เมืองบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี รวมทั้งกรุงย่างกุ้งกับเขตชานเมืองที่ได้รับผลกระทบจากไซโคลนอย่างหนัก ซึ่งการลงประชามติถูกเลื่อนออกไป 2 สัปดาห์ เป็นวันที่ 24 พ.ค. โดยสื่อทุกแขนงของทางการพม่า ยังโหมรณรงค์ให้ ประชาชนรับร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยชักจูงว่าถ้าใครรักชาติก็ให้ออกไปลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ท่ามกลางความพยายามจากหลายฝ่ายที่เรียกร้อง
ให้รัฐบาลพม่าเลื่อนการลงประชามติออกไป ทั้งพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ฝ่ายค้านของพม่า ภายใต้การนำของนางอองซาน ซูจี และนายบัน กีมูน เลขาธิการยูเอ็น ก็วิงวอนให้รัฐบาลพม่ามุ่งช่วยเหลือเหยื่อภัยพิบัติและพักเรื่องการลงประชามติไว้ก่อน รวมถึงกลุ่มพลเมืองภิวัฒน์และเครือข่ายรณรงค์ ประชาธิปไตยในพม่า ที่มาชุมนุมอยู่บริเวณสถานทูตสหภาพพม่าประจำประเทศไทย เมื่อช่วงสายวันที่ 9 พ.ค. เรียกร้องให้ประชาคมโลก และประชาชนในพม่าคัดค้านการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ 2551 ที่จะมีการจัดลงประชามติรับร่างในวันที่ 10 พ.ค.นี้ รวมถึงเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าเลื่อนการลงประชามติออกไป นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้พม่าเปิดรับความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากนานาประเทศ และขอให้รัฐบาลไทยตั้งกลุ่มช่วยเหลือและบำบัดชาวพม่า เพื่อเป็นศูนย์กลางในการช่วยเหลือประชาชนชาวพม่าด้วย จากนั้นมีการจุดไฟเผาร่างรัฐธรรมนูญพม่าเพื่อแสดงจุดยืนในการไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ก่อนสลายการชุมนุม
 ส่วนกรณีที่หลายชาติตะวันตกขอให้ไทยเป็นผู้ประสานงาน เพื่อขอให้พม่าอนุญาตเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยไซโคลนนั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  หลังจากตลอดช่วงเช้าวันที่ 9 พ.ค. ยังไม่มีความชัดเจนจากนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ว่าจะเดินทางไปประสานกับผู้นำพม่าด้วยตัวเองหรือไม่ โดย พล.ต.ท. วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายสมัครได้มอบหมายให้นายบรรณสาร บุนนาค เอกอัครราชทูตไทยประจำนครย่างกุ้ง สหภาพพม่า และ พล.ท.นิพัทธ์ ทองเล็ก เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ไปพบกับ พล.อ.เต็ง เส่ง นายกฯพม่า เพื่อประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยจะเดินทางในวันที่ 10 พ.ค.นี้ และจะเดินทางกลับประเทศไทยในช่วงเย็น จากนั้นจะเข้ารายงานท่าทีของพม่าต่อนายกฯ เพื่อให้นายกฯตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนั้น
แต่ต่อมาในเวลา 14.00 น. นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ก็ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ภายหลังทาง การพม่าออกแถลงการณ์จะดำเนินการให้ความช่วยเหลือชาวพม่าผู้ประสบภัยพิบัติจากพายุนาร์กีสเอง โดยไม่พร้อมที่จะให้นานาชาติเข้าไปดำเนินการช่วยเหลือว่า จากเดิมตนได้รับการประสานงานมาว่าทางพม่าพร้อมที่จะรับเรา โดยให้ตนเดินทางไปพม่าในวันอาทิตย์ที่ 11 พ.ค. แต่เมื่อได้ทราบว่าทางการพม่าออกแถลงการณ์ในลักษณะว่าต้องการให้ต่างชาติส่งของเข้าไปให้ แล้วทางการพม่าจะดำเนินการดูแลการช่วยเหลือเอง ก็คิดว่าไม่จำเป็นต้องเดินทางไปพูดจาด้วยตัวเองแล้ว 
 นายสมัครกล่าวอีกว่า ดังนั้น เมื่อเวลา 13.30 น. ได้สั่งการให้ทางกระทรวงการต่างประเทศส่งหนังสือ
จากนายกรัฐมนตรีของไทยไปถึง พล.อ.เต็ง เส่ง นายกรัฐมนตรีพม่า โดยส่งโทรสารไปยังสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำนครย่างกุ้ง แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และแจ้งถึงการส่งความช่วยเหลือจากรัฐบาลที่ส่งไปแล้ว และที่กำลังจะดำเนินการตามไปอีก รวมทั้งได้แจ้งสิ่งที่ตนอยากจะพูดไปด้วยว่า ตามที่เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ได้มาเข้าพบและแจ้งขอให้ทางไทยช่วยประสานงาน เนื่องจากบัดนี้มีหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ที่ประสงค์จะให้ความช่วยเหลือแก่ชาวพม่าที่ประสบภัยพิบัติ ภายใต้ความร่วมมือในโครงการ World Food Program ซึ่งมีสหรัฐฯเป็นผู้สนับสนุน มาปักหลักเตรียมความพร้อมให้การช่วยเหลืออยู่ที่กรุงเทพฯ ซึ่งเขาถือเป็นงานใหญ่ที่ต้องการจะเข้าไปช่วยเหลือให้ประชาชนชาวพม่าถึง 6 แสนคน ได้มีอาหารบริโภคได้ยาวนานติดต่อกันถึง 6 เดือน แต่ยังติดขัดปัญหาเรื่องวีซ่า และการต้องนำยานพาหนะขนส่งสิ่งของช่วยเหลือเข้าไปในพม่า
 ด้าน น.อ.มณฑล สัชฌุกร รองโฆษกกองทัพอากาศ เปิดเผยว่า ในวันที่ 10 พ.ค. กองทัพอากาศได้จัดเครื่องบิน ซี-130 จำนวน 2 ลำ ในการลำเลียงสิ่งของพระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสิ่งของพระราชทานของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า พัชรกิติยาภา โดยลำแรกเป็นสิ่งของจากสภากาชาดไทย ประกอบด้วย เครื่องปั่นไฟฟ้า เครื่องกรองน้ำ ยาเม็ดทำความสะอาดน้ำ เต็นท์ เครื่องดื่มพร้อมดื่มสำหรับเด็ก และถุงธารน้ำใจ ส่วนอีกลำเป็นสิ่งของจากมูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภา) ยามยาก ประกอบด้วย ถุงยังชีพ จำนวน 400 ถุง และนมผงสำหรับเด็กอีก 5,000 ถุง
ในวันเดียวกัน นายศุภฤกษ์ ตันศรีรัตนวงศ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวถึงสภาพอากาศของประเทศไทยว่า ช่วงนี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมภาคใต้ ทั้งฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองกระจายเป็นบริเวณกว้างและมีฝนตกหนัก โดยเฉพาะจังหวัดภูเก็ต สตูล ระนอง พังงา ไปจนถึงวันที่ 13 พ.ค. ส่วนคลื่นในทะเลอันดามันสูง ประมาณ 2 เมตร และอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือด้วย นอกจากนี้ ยังมีพายุโซนร้อน รามสูร ที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันออกของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ขณะนี้มีกำลังแรงขึ้น เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 100 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนที่ไปทางตอนล่างของประเทศญี่ปุ่น ห่างจากเกาะโอกินาวา 2,000 กิโลเมตร แต่พายุดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อไทย
ต่อมาสำนักข่าวต่างประเทศรายงานในช่วงค่ำว่า นายพอล ริสลีย์ โฆษกองค์การอาหารโลกแห่งสหประชาชาติ (WFP) ได้แถลงจากกรุงเทพฯ ว่า หลังจากที่สภากาชาดสากลและสภาเสี้ยววงเดือนแดงได้ส่งเครื่องบรรเทาทุกข์ เข้าสู่พม่าตั้งแต่คืนวันที่ 8 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยเครื่องบินเช่าเหมาลำบรรทุกวัสดุอุปกรณ์สร้างที่พักชั่วคราวหนัก 5 ตัน เดินทางถึงนครย่างกุ้งแล้ว และเครื่องบินลำที่ 2 บรรทุกเครื่องบรรเทาทุกข์ 8 ตัน ออกจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ผ่านกรุงเทพฯ ถึงย่างกุ้งในช่วงเย็นวันที่ 9 พ.ค. แต่ปรากฏว่า เครื่องบรรเทาทุกข์ประเภทอาหารและวัสดุอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยกลับถูกรัฐบาลทหารยึดไว้ทั้งหมด รวมทั้งขนมปังกรอบ 38 ตัน ดังนั้น WFP จึงไม่มีทางเลือก ต้องระงับการส่งเครื่องบรรเทาทุกข์เข้าสู่พม่าในงวดต่อไปไว้ก่อน จนกว่าเรื่องนี้จะได้รับการแก้ไข ขณะนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเครื่องบรรเทาทุกข์ถูกยึดเพราะเหตุใด แต่ขนมปังกรอบซึ่งเพียงพอแจกจ่ายให้ผู้หิวโหยถึง 95,000 คน กลับถูกยึดไว้ที่สนามบินย่างกุ้ง แทนที่จะรีบส่งไปให้ผู้ประสบภัย
ด้านนายอ่อง ฮตู เลขาธิการสภาทนายความพม่าพลัดถิ่น ซึ่งมีที่มั่นในประเทศไทย เรียกร้องให้เหล่าผู้
บริจาคอย่าส่งความช่วยเหลือทั้งเงินและเครื่องบรรเทาทุกข์ ให้แก่รัฐบาลทหารพม่าโดยตรง เพราะอาจมีการยักยอกยึดเอาไว้เอง ประเทศต่างๆควรเพิ่มแรงกดดันรัฐบาลทหาร พม่าด้วยการพยายามส่งความช่วยเหลือถึงผู้ประสบภัย พิบัติโดยตรง และเรียกร้องให้รัฐบาลทหารพม่า ฝ่ายค้านพม่า และนานาชาติ ร่วมกันจัดตั้งคณะผู้สังเกตการณ์ ขึ้นมาสอดส่องดูแลการแจกจ่ายความช่วยเหลือ ขณะที่ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ได้เขียนจดหมายถึง รมว.ต่างประเทศและ รมว.สวัสดิการสังคมของพม่า เรียกร้องให้พม่ารับหน่วยกู้ภัยและบรรเทาทุกข์จากต่างชาติโดยเร็ว และว่าหน่วยกู้ภัยจากชาติสมาชิกอาเซียนพร้อมจะเข้าสู่พม่าได้ทันที ส่วนนายแบร์นาร์ด คุชเนอร์ รมว.ต่างประเทศฝรั่งเศส เผยว่า ฝรั่งเศสได้ส่งเรือบรรทุกความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม หนัก 1,500 ตัน มุ่งหน้าสู่พม่า คาดว่าจะเดินทางถึงในวันที่ 15 พ.ค.นี้
 ในช่วงค่ำ สำนักพระราชวังแจ้งว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ   พระราชทานถุงยังชีพจำนวน 2,000 ถุง ผ่านทางมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยไซโคลนนาร์กีสในพม่า โดยทางกองทัพอากาศจะจัดการลำเลียงสิ่งของพระราชทานไปทางเครื่องบิน ซี-130 ในวันที่ 11 พ.ค.นี้ เวลา 07.00 น.

aung_san_suu_kyi.jpg3447786819.jpg				
comments powered by Disqus
  • ฝากฝัน

    10 พฤษภาคม 2551 08:54 น. - comment id 848232

    2.gif2.gif2.gif
    ดั่งผีซ้ำกรรมซัดวิบัติสูญ
    แสนอาดูรชาวพม่าล่มสลาย
    พายุโหมโถมถั่งดั่งผีพราย
    เสกมนต์ร้ายร่ายมายาฆ่าผู้คน
    
    ด้วยการเมืองปกครองดั่งผองทาส
    แพร่ระบาดความทุกข์ทุกแห่งหน
    หลายชนเผ่าลำบากล้วนยากจน
    ต้องจำทนอยู่ไปใต้ควันปืน
    
    เมื่อความจนปนพายุยิ่งดุเดือด
    ละเลงเลือดล้มตายไร้ทางขืน
    หยาดน้ำตาบ่าไหลไม่อาจกลืน
    สุดแข็งขืนโชคชะตาพม่าชน
    
    เคยเดินเล่นเห็นทุกข์ในร่างกุ้ง
    เมืองคนยุ่งยุบยับล้วนสับสน
    แทบทุกตรอกซอกซอยมีคนจน
    เหล่านายพลขุนศึกกลับร่ำรวย
    
    อิอิ..ลืมไป..ว่ามาเม้นส์...โทษครับเผลอไปหน่อย
  • ปราณรวี

    10 พฤษภาคม 2551 09:13 น. - comment id 848235

    ดูภาพข่าวจากทีวี อ่านข่าวปัญหาของรัฐบาล
    ต่อความช่วยเลหือจากต่างประเทศแล้ว
    หดหู่บอกไม่ถูกค่ะพี่พุด
    
    เวลานี้ประชาชนต้องการความช่วยเหลือ
    เร่งด่วน แต่เหมือนความเป็นอัตตาของ
    ผู้หลักผู้ใหญ่จะมากกว่าความเห็นใจประชสชน
    ตาดำๆ น่ะค่ะ
    
    ช่วงนี้ข่าวว่าจะมีพายุเกิดขึ้นซ้ำอีกด้วยค่ะ
    อาจโดนกระหน่ำซ้ำที่เดิมด้วย  ตอนนี้เวียดนาม
    ก็เตรียมตัวรับใต้ฝุ่นลูกใหม่เหมือนกัน ไม่รู้
    จะเกิดอะไรขึ้นอีก
    
    หรือธรรมชาติจะเริ่มลงโทษมนุษยชาติ
    แล้วคะ?    53.gif
  • พ*ภาพวาด

    10 พฤษภาคม 2551 12:44 น. - comment id 848278

    46.gif46.gif46.gif
    สวัสดีค่ะ
    หนูไม่เข้าใจเนื้อหานิดหน่อยนะค่ะ
    แต่เพราะจังค่ะพี่
    แต่งเก่งจังค่ะ
    ขอบคุณนะค่ะที่ไปให้กำลังใจ46.gif
    พลอย/เจี๊ยะ36.gif37.gif
  • ผู้หญิงไร้เงา

    10 พฤษภาคม 2551 13:30 น. - comment id 848305

    ขอให้วิญญาณของผู้ที่ตายในภัยธรรมชาติครั้งนี้  จงไปสู่สุขคติด้วยเทอญ
    
    ส่วนการกระทำของรัฐบาลพม่า  คิดว่าคงไม่มีใครพอใจด้วยกันทั้งสิ้น
    
    เพราะความเสียหายครั้งนี้  เท่าที่เห็น  ร้ายแรงกว่าสึนามิเสียอีก  
    
    เศร้าจังค่ะ
  • ดอกบัว

    10 พฤษภาคม 2551 13:45 น. - comment id 848315

    ขอให้วิญญาณประชาชนช่าวพม่า
    จงไปสู่สุคติด้วยเถิด
    
    ดูข่าวแล้วน่ากลัวมากค่ะพี่พุด
    36.gif46.gif
  • เฮาชาวดอย

    10 พฤษภาคม 2551 19:59 น. - comment id 848388

    หยุดแกร่งแย่งชิงดีวันนี้เถิด
    รอวันเกิดสันติสุขอยู่ทุกผู้
    นากิสสอนสั่งไว้ให้รับรู้
    ว่าอำนาจกอบกู้วาตภัย
    59.gif59.gif59.gif
  • อัลมิตรา

    10 พฤษภาคม 2551 20:41 น. - comment id 848395

    ช่วงที่พายุบุกพม่า เป็นช่วงที่อัลมิตราไปทางตะวันออกของไทย
    ไม่เจอฝนสักเท่าไหร่ค่ะ อากาศไม่ร้อนมาก ฟ้าครั้ม
    ยังคิดเคยว่า ฝนไปตกที่ไหนหนอ
    
    พอกลับมาถึง กทม. ถึงได้มารู้ข่าว
    เป็นเรื่องเศร้าคะ คนตายกันเยอะเลย
  • ..

    10 พฤษภาคม 2551 22:19 น. - comment id 848422

    16.gif

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน