ในเส้นทาง...บุญ...!

พุด

neophuket-farmer-001.jpg1184130566.jpgshow_jpg.php?w=550&h=600&img=1173694415_Sohk.jpg
รถบุญพาจิตขวัญสู่ทางทอง
ท่ามละอองหมอกหม่นบนทางฝัน
สวดมนต์เช้าภาวนาในรุ่งวัน
ดั่งเส้นทางสวรรค์งดงามในยามนึก
ป่าแล้งหากแฝงฝังสอนสัจจะ
ให้ลดละเลิกหลงในรู้สึก
จิตประภัสสรเพียงตัวรู้ในล้ำลึก
ให้ตามตรึกทุกผัสสะอย่ารอรี
อวิชชาพาดวงตาเรามืดบอด
แสงธรรมทอทอดด้วยแรงบุญกุศลศรี
ให้แลเห็นสรรพทุกข์ทุกชีวี
ตราบชีพนี้แตกดับลับลาไป
ช่างแสนสั้นวันโศกโลกแห่งชน
เพียรกมลพบทางสว่างใส
สว่างสงบสยบพันธนาตอวัฏฏ์ใจ
พบนิพพานไสวแม้นชั่วกัลป์ขวัญเฝ้ารอ....
..................!

19782_115831.JPGfield4A.jpgcard2-1.jpg				
comments powered by Disqus
  • white rose.

    14 มกราคม 2551 13:14 น. - comment id 810850

    แวะมาชื่นชมผลงานค่ะ....11.gif36.gif
    
    ภาพสวยจัง...36.gif
  • พุด

    14 มกราคม 2551 13:44 น. - comment id 810871

    551000000232902.JPEG
    
    ตลอดระยะเวลากว่า 84 พรรษา 
    ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
    เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา 
    กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ 
    
    นอกจากพระองค์จะทรงงานหนัก
    ทางด้านสาธารณสุขมาโดยตลอด 
    เพื่อสานต่อพระราชปณิธาน
    ในพระบรมราชชนก
    และพระบรมราชชนนี
    อย่างที่ได้ประจักษ์ชัด
    แก่สายตาของชาวโลกไปแล้วนั้น 
    
    พระองค์ยังมีพระกรณียกิจ
    ทางด้านศาสนาที่สำคัญอยู่หลายประการ
    โดยเฉพาะพระกรณียกิจครั้งสุดท้าย
    คือทรงเป็นประธานกิตติมศักดิ์การประดิษฐานพระไตรปิฎกฉบับสากล 
    อักษรโรมัน ฉบับแรกของโลกแก่นานาประเทศ ตามรอยพระไตรปิฎกบาฬี อักษรสยาม สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและการทำนุบำรุงวัดต่างๆ ให้อยู่เคียงคู่กับประเทศชาติ
    
    551000000232904.JPEG
    
    และน้อยคนนักที่จะรู้ว่าเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2550 นั้น สมเด็จพระพี่นางเธอฯ ได้ทรงรับวัดป่า "สิริวัฒนวิสุทธิ์" ให้เป็นวัดประจำพระองค์ ซึ่งกลายเป็นวัดแรกและวัดเดียว
    
    551000000232903.JPEG
    
    
    *ความเป็นมาของวัด
    บนพื้นที่กว่า 96 ไร่ 2 งาน 58 ตารางวา อันเป็นที่ตั้งของวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในพระองค์ ซึ่งพื้นที่แห่งนี้ตั้งอยู่ท่ามกลางความร่มรื่นเย็นสบายมีสายลมพัดโรยโชยเอื่อยๆ มาตลอดเวลา และบรรยากาศโดยรอบของวัดถูกโอบล้อมไปด้วยท้องทุ่งนาของชาวบ้าน จึงทำให้ผู้มาเยี่ยมเยือนที่วัดแห่งนี้ได้รับทั้งความสุขกายและสุขใจกลับไปทุกครั้ง
    
    551000000232914.JPEG
    
    วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ตั้งอยู่เลขที่ 99 หมู่ 2 อยู่บนเขา ณ บ้านเขาโคกแผ่น ต.ทำนบ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ ถ้าเดินทางจากกรุงเทพฯ เพื่อไปวัดแห่งนี้จะใช้เวลาเพียงแค่ 2 ชั่วโมงเศษเท่านั้น
    551000000232908.JPEG
    
    เดิมทีวัดแห่งนี้เป็นพุทธสถานที่คณะสงฆ์และคณะศิษย์ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสารเถร ป.ธ.9) อดีตเจ้าอาวาสวัดราชผาติการาม กรุงเทพมหานคร สร้างถวายแด่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ในโอกาสที่ได้เจริญชนมายุครบ 80 ปี เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2529 และอีกประการหนึ่งเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ในปี 2548
    551000000232910.JPEG
    
    สำหรับชื่อของวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์นั้นเดิมที สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เป็นผู้ประทานชื่อไว้ เพื่อถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (ม.จ. ภุชงค์ ชมภูนุช) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ส่วน สิริวัฒนวิสุทธิ์ (วิ.) เป็นพระราชทินนามที่พระราชทานชื่อสมณศักดิ์แด่พระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (พัดขวา) พระครูปลัดสัมพิพัฒนวิริยาจารย์ (สุนทร สุนฺทราโภ เปรียญ 5 ประโยค) โดยได้รับพระราชทานชื่อเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2525 ปัจจุบันได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระเทพโมลี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชผาติการาม กรุงเทพมหานคร
    551000000232903.JPEG
    
    *เจดีย์ศรีพุทธคยา พระเมตตาแห่งพระเจ้าพี่นางฯ
    
    
    โดยก่อนหน้าที่จะทรงรับวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์เป็นวัดในพระองค์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ นั้น พระองค์ทรงรับเป็นองค์ประธานในการสร้างเจดีย์ศรีพุทธคยาเฉลิมพระเกียรติฯ ในวัดแห่งนี้ เพื่อถวายแด่พระบรมราชอนุชาองค์เล็ก พ่อหลวงผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทยทุกคน
    
    551000000232912.JPEG
    
    ราชตี สิงหศิวานนท์ รองประธานโครงการจัดสร้างเจดีย์ศรีพุทธคยา เฉลิมพระเกียรติฯ เล่าว่าพระองค์ท่านได้ทรงมีพระกรุณาธิคุณวัดอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่คราวที่วัดจัดโครงการก่อสร้างเจดีย์ศรีพุทธคยาและตาลปัตร (พัดรอง) เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อเดือนธันวาคม 2549 ซึ่งในครั้งนั้นพระองค์ได้ประทานทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นจำนวน 1,146,989 บาท และทรงรับเป็นเจ้าภาพตาลปัตรพัดรองเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
    551000000232906.JPEG
    เดือนเมษายน 2550 คณะกรรมการจัดสร้างเจดีย์ฝ่ายหารายได้ ได้รับประทานพระอนุญาตจาก สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ให้จัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติ โครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่ 85 รูป เทิดพระเกียรติ สวดมหาสันติงหลวง และสาธยายพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย 84,000 พระธรรมขันธ์ ถวายเป็นพระกุศลเนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ 84 พรรษา ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2550 ระหว่างวันที่ 28 เมษายน-13 พฤษภาคม 2550 ที่วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ราชตีแจกแจง
    
    
    *วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในพระองค์
    
    หลังจากการดำเนินกิจกรรมในครั้งนั้นได้เสร็จสิ้นลงแล้ว สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ได้มีพระกรุณาธิคุณประทานพระวโรกาส ให้ประธานฝ่ายหารายได้ในการสร้างเจดีย์ศรีพุทธคยาเฉลิมพระเกียรติฯ นำคณะกรรมการทั้งฝ่ายสงฆ์และฆราวาส ตลอดจนผู้เข้าบรรพชาอุปสมบททั้ง 85 คน เข้าเฝ้าถวายพระพร และรายงานการดำเนินการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ณ วังเลอดิส
    
    
    ในครั้งนั้นเองที่พระเทพโมลี ได้ขอประทานพระอนุญาตทูลถวาย วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ เป็นวัดในพระองค์ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ก็ทรงพระกรุณารับวัดป่าแห่งนี้ เป็นวัดในพระองค์ ตามหนังสือจากกองเลขานุการในพระองค์ ซึ่งลงวันที่ 12 มิถุนายน 2550 หลังจากนั้นจึงทำให้ชื่อวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์เปลี่ยนเป็น วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งเป็นเพียงวัดแรกและวัดเดียวเท่านั้นที่เป็นวัดประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
    
    
    ปัจจุบันวัดแห่งนี้มี พระครูวิจิตรสีลาภรณ์ เป็นรักษาการเจ้าอาวาส
    
    
    *รูปลักษณ์สิ่งก่อสร้าง
    
    
    ใครที่ได้มีโอกาสขึ้นไปนมัสการพระที่วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์นี้ สิ่งที่โดดเด่นสะดุดตาแรกพบเห็นก็คือรูปลักษณ์ของวัดที่สร้างเป็นรูปเรือหลวง ที่แฝงด้วยปรัชญาแห่งธรรมะ อย่างเช่นรูปเรือถึงพาหนะที่จะช่วยขนสัตว์ที่ตกอยู่ในห้วงสังสารวัฏ (ทะเลวน) ให้พ้นจากโอฆสงสาร ส่วนองค์ประกอบรอบๆ วัดนั้นเป็นเสมือนห้วงน้ำอันหมายถึงกิเลส
    
    
    การเลือกทำเลที่ตั้งของวัดให้อยู่บนเกาะหรือภูเขา หมายถึงเป็นสถานที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง หรือท่วมทับแก่บุคคลที่มีปัญญาไม่ดี ผู้มีปัญญา มีความขยัน ไม่ประมาทตามกิเลส มีความสำรวมระวังดี ก็จะอยู่บนเรือลำนี้ได้โดยปลอดภัย
    
    
    เรือหลวงอันเป็นที่ตั้งของวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในพระองค์ฯ มีชื่อเรือว่า ราชญาณนาวาทีฆายุมงคล สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 50 พรรษา เรือหลวงลำนี้มีความกว้าง 30 เมตร ยาวประมาณ 6 ไร่เศษ สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่สร้างขึ้นล้วนแล้วแต่เป็นอนุสรณ์ให้ระลึกถึงสถาบันชาติทั้งสิ้น
    
    
    นอกจากนี้ ยังมีพระพุทธเอกนพรัตน์ ที่ได้ประดิษฐานอยู่บริเวณหัวเรือราชญาณนาวาทีฆายุมงคล สร้างขึ้นในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เป็นปีกาญจนาภิเษก ซึ่งพระเทพโมลี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชผาติการาม เจ้าคณะเขตดุสิต (ธ) กรุงเทพฯ เป็นผู้ริเริ่มสร้างวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ขึ้น ได้คิดรวบรวมพระพุทธจริยาปางต่างๆ ประจำวันของเทพนพเคราะห์ทั้ง 9 พระองค์ มีพระอาทิตย์เทพ จันทรเทพ เป็นต้น คนทั้งหลายก็นำมาเป็นนิมิตหมายแห่งเทพประจำวันเกิดของตน
    
    
    เทพแต่ละองค์ก็จะมีพระพุทธรูปปางต่างๆ ที่เคารพนับถือบูชาประจำพระองค์ มนุษย์ทั้งหลายที่ได้ถือนิมิตหมายแห่งเทพประจำวันเกิด ก็จะต้องยอมรับนับถือพระพุทธรูปที่ประกอบด้วยพุทธจริยาปางต่างๆ มาประจำตัวด้วย จึงเป็นที่มาของพระพุทธรูปประจำวันเกิดทั้ง 7 วัน โดยเพิ่มวันพุธกลางคืน คือพระราหู และพระเกตุ เข้าอีก 2 พระองค์ จึงรวมเป็น 9 องค์ เรียกว่า เทพนพเคราะห์ สำหรับมาดูแลรักษามนุษย์ให้มีความสุขความเจริญ
    
    
    และเมื่อเดินขึ้นมาบนหัวเรือก็จะพบกับศาลเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่ง เป็นศาลที่ประทับของเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ศาลนี้เป็นศาลลำดับที่ 116 จากการรวบรวมของกองทัพเรือ สร้างขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ในฐานะแห่งพระบิดาของทหารเรือไทย และเพื่อเป็นสิริมงคลแก่เรือราชญาณนาวาทีฆายุมงคล
    
    
    เมื่อเดินถัดลงมาจากบริเวณหัวเรือทุกคนก็จะพบกับลานพระธรรมจักร ที่สร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 7x3 เมตร บนลานประดิษฐานแท่นพระธรรมจักร เป็นหินทรายแกะสลักเป็นรูปกวาง และแท่นหิน 8 เหลี่ยม เป็นหินทรายแกะสลักเป็นรูปมงคลต่างๆ ตั้งไว้ด้านหน้า เป็นนิมิตหมายว่า พระพุทธเจ้าได้ประกาศพระธรรมคำสอนอันยอดเยี่ยมให้เป็นไปในโลกทั้ง 3 อันใครจะปฏิวัติปรับปรุง เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะมีความสมบูรณ์ บริบูรณ์ ยุติธรรม ในการวางแผนแนวทางไว้อย่างประเสริฐ แก่เหล่าเทพยาดา และมนุษย์ทั้งหลาย
    
    
    อุโบสถ สร้างเป็นมณฑปเรือแก้ว กว้าง 12 เมตร สูง 13 เมตร มุงและกั้นด้วยกระจกสีชาทั้งหมดเป็นศิลปะประยุกต์ไทยอินเดีย เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาททั้งคู่ เนื้อสำริด สามกษัตริย์ นอกจากนี้ยังได้หล่อรูปพระมหากัสสปเถร ยืนถวายบังคมพระพุทธบาททั้งคู่ไว้ด้านขวามือด้วย เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากเสด็จปรินิพพานแล้วได้ 7 วัน เรียกว่า วันวิสาขอัฏฐมีบูชา
    
    
    เมื่อทุกคนเดินชมวัดจนเมื่อยแล้วก็ต้องแวะมาสักการะพระประธานของวัดคือ พระพุทธรัชมงคลอุบลบพิตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ปางสมาธิ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้ถวายพระนามพระประธานองค์นี้ไว้ มีความหมายว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นมงคลผู้สร้างแห่งความเป็นพระราชา
    
    
    สถานที่อีกแห่งหนึ่งในวัดที่มีความน่าสนใจไม่น้อยและนับว่าเป็นสถานที่ใช้สำหรับให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทยได้เป็นอย่างดีคือ เจดีย์ศรีมหาราช สร้างขึ้นในปีกาญจนาภิเษก พระเทพโมลี ซึ่งขณะนั้นมีสมณศักดิ์ที่ พระราชญาณปรีชา และคณะศิษย์สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดราชผาติการาม ได้พร้อมใจกันสร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นราชสักการะปูชนียานุสรณ์แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในปี 2539 เจดีย์ศรีมหาราช มีความสูง 45 เมตร กว้าง 12 เมตร ยาว 12 เมตร เจดีย์องค์นี้มีความแตกต่างจากเจดีย์ทั่วๆไป คือ เจดีย์โดยทั่วไปมักสร้างเป็นองค์ทึบตัน และบริเวณยอดเจดีย์จะประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อสักการบูชา
    
    
    สำหรับเจดีย์ศรีมหาราช ได้ประยุกต์ให้ภายในองค์เจดีย์จัดแบ่งเป็นห้องสำคัญทางประวัติศาสตร์ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทั้งสามให้เกิดขึ้น และปลุกจิตสำนึกในเรื่องความรักชาติให้เกิดขึ้นแก่ผู้ที่ได้เข้าชมห้องประวัติศาสตร์ต่างๆ ในองค์เจดีย์นี้
    
    
    สำหรับเจดีย์ศรีมหาราช เป็นเจดีย์สูง 3 ชั้น ซึ่งแต่ละชั้นยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนาและประเทศไทยมากมาย
    
    
    เริ่มจากชั้นล่าง มีชื่อเรียกว่า วังนาคราช ใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชน
    
    
    เมื่อเดินขึ้นไปยังชั้นที่ 1 มีชื่อเรียกว่า ห้องมหาราช ซึ่งเป็นเสมือนประสาทพระเทพบิดรของประชาชนชาวไทย เพราะเป็นที่ประทับของพระบรมรูปหล่อของมหาราชทั้ง 8 พระองค์ คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช, สมเด็จพระนเรศวรมหาราช,สมเด็จพระนารายณ์มหาราช, สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, สมเด็จพระปิยมหาราช (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5), สมเด็จพระมหาเจษฎาราชเจ้า (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3) ,สมเด็จพระภัทรมหาราช (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9) รวมทั้ง พระบรมรูปหล่อของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระบรมราชชนกใน รัชกาลที่ 5
    
    
    ส่วนที่ 2 ได้จัดแบ่งเป็นห้องสำคัญทางประวัติศาสตร์ คือ ห้องพระนางจามเทวี ปฐมกษัตรีย์แห่งหริภุญไชย ผู้ตั้งมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ,ห้องสมเด็จพระนเรศวรมหาราช,ห้องสมเด็จพระศรีสุริโยทัย วีรกษัตรีย์ ผู้กล้าหาญและเสียสละได้แม้แต่ชีวิตเพื่อรักษาบ้านเมือง, พระพุทธกาญจนาภิเษก พระพุทธรูปยืนปางอธิษฐานประทับรอบพระพุทธบาท ความสูง 9 เมตร ปิดทองแท้ทั้งองค์, ห้องสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมฺรังสี) และห้องพระไตรปิฏก เป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎก
    551000000232902.JPEG
    
    
    สำหรับชั้นบนสุด มีเจดีย์ความสูง 12 เมตร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธกาญจนาภิเษก และพระพุทธรูปต่างๆ
    
    
    ด้วยพระเมตตาคุณแห่งสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอในแผ่นดินสยาม จึงทำให้วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ กลายเป็นพุทธสถานที่รวบรวมสถาบัน ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ไว้ได้อย่างแท้จริง 
     551000000232906.JPEG
  • พุดพัดชา

    14 มกราคม 2551 22:15 น. - comment id 811068

    กรรมฐานคืออะไร
    
    กรรมฐาน  เป็นคำเรียกโดยรวมในหมวดของการปฏิบัติธรรมประเภทหนึ่งในพระพุทธศาสนา หมวดกรรมฐาน ประกอบด้วย ตัวกรรมฐาน และโยคาวจร  ตัวกรรมฐาน คือ สิ่งที่ถูกเพ่ง ถูกพิจารณา ได้แก่ อารมณ์ต่าง ๆ ส่วนโยคาวจร คือ ผู้เพ่งหรือผู้พิจารณา ได้แก่ สติสัมปชัญญะและความเพียร การฝึกกรรมฐานว่าโดยธรรมาธิษฐานจึงหมายถึงการใช้สติสัมปชัญญะพิจารณาอารมณ์ ที่มากระทบ อย่างระมัดระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น เพียรหมั่นระลึกถึงกุศลและรักษากุศลนั้นอยู่มิให้เสื่อมไป   
    
    หากกล่าวถึง คำว่า กรรมฐาน เราจะเข้าใจกันว่า กรรมฐาน คือ สมาธิหรือการนั่งหลับตาท่องคำซ้ำ ๆ ซึ่งเป็นการกระทำบางอย่างที่ต่างไปจากพฤติกรรม การให้ทาน การรักษาศีล แต่สำหรับความหมาย ที่มีมาในพระบาลี ตามนัยแห่งมูลฎีกาแสดงวินิจฉัยคำ กรรมฐาน ไว้ว่า
    
    กมฺมเมว วิเสสาธิคมนสฺส ฐานนฺติ กมฺมฐาน 
    
                  แปลว่าการงานที่เป็นเหตุแห่งการบรรลุคุณวิเศษชื่อว่ากรรมฐาน 
    
    เหตุแห่งการบรรลุคุณวิเศษนั้น มิได้เกิดขึ้นเพียงเพราะนั่งหลับตาภาวนาดังกล่าว แต่มีองค์ประกอบและรายละเอียด อีกมากมาย ดังนั้น ความหมายของกรรมฐานเท่าที่เราเข้าใจ จึงยังคลุมเครือและยังต่างจากความหมายที่แท้จริงอยู่มาก การสร้างความบริสุทธิ์แห่งจิตนี้ จำเป็นจะต้องมีสิ่งที่ไม่เป็นโทษให้จิตอิงอยู่ได้ สิ่งอิงที่ว่านี้มี  ๒  ลักษณะ คือ อาจเป็นได้ทั้งสิ่งที่อยู่ภายนอกระบบร่างกายและจิตใจ หรือสิ่งที่อยู่ภายในระบบร่างกายและระบบจิตใจก็ได้ สิ่งที่อยู่นอกระบบร่างกายและจิตอาจเป็นส่วนที่สร้างขึ้นหรือมาจากภาวะแวดล้อม เช่น ดวงกสิณ ซากศพ หรืออาหารที่รับประทานอยู่ทุกวัน ส่วนสิ่งที่มาจากภายในระบบร่างกายและระบบจิตใจ ก็คือ อริยาบถต่าง ๆ และความคิด เป็นต้น ทั้งหมดเหล่านี้สามารถนำมาเป็นองค์ประกอบในการฝึกอบรมจิตที่เรียกว่ากรรมฐานได้ (ชิน วินายะ มปป : ๒) 
    
    การปฏิบัติกรรมฐาน เป็นการกระทำด้วยความตั้งใจหรือจงใจลักษณะหนึ่ง แต่เป็นไปในฝ่ายกุศลส่วนเดียว เพราะมิได้มีเหตุจูงใจจากความต้องการในกามคุณอารมณ์ การปฏิบัติกรรมฐานจึงไม่ขึ้นกับโลกธรรมและกามคุณดังกล่าว มีจุดมุ่งหมายพื้นฐาน คือ การอบรมจิตใจให้สงบจากนิวรณ์ธรรม คือ ตัณหา ความคิดมุ่งร้าย ความเกียจคร้าน ความเร่าร้อน ไม่สบายใจ และระแวงสงสัย เป็นต้น จิตที่สงบจากนิวรณ์ธรรมทั้งหลายจักเข้าถึงสภาวะแห่งปัญญาได้ไม่ยากนัก 
    
     เนื่องจากพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการปฏิบัติ (กิริยวาท) และเป็นศาสนาแห่งความเพียรหรือวิริยวาท (พระมหาบุญชิต สุดโปร่ง : ๒๕๓๖) ความเพียรในการปฏิบัตินี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่สำคัญ คือ ศรัทธา ๔ ได้แก่ ความเชื่อในเรื่องกรรมหรือการกระทำ (กมฺมสทฺธา) ในเรื่องผลของกรรม (วิปากสทฺธา) ในความเป็นเจ้าของกรรมที่ตนทำ (กมฺมสกฺตาสทฺธา) และความเชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธองค์ (ตถาคตโพธิสทฺธา) ดังนั้น  กรรม  จึงเป็นคำสำคัญในคัมภีร์พระพุทธศาสนาใช้อธิบายแนวคิดเกี่ยวกับโลกและชีวิตในเชิงพุทธ มีความหมายสัมพันธ์กับคำว่า กุศล อกุศล บุญ บาป วาสนา บารมี (พระเมธีธรรมาภรณ์, กรรม ในคำ : ร่องรอยความคิดความเชื่อไทย ๒๕๓๗ : ๑ )
    การกระทำโดยทั่วไปมี ๓ ลักษณะ โดยแบ่งตามช่องทางที่แสดงออก คือ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม มีทั้งส่วนที่เป็นกุศลและอกุศล ส่วนมากอาศัยอารมณ์ทั้ง ๕ และมีโลกธรรม ๘ เป็นอารมณ์ และเป็นเหตุจูงใจให้มีการกระทำที่เป็นกุศลหรืออกุศล เช่น บุคคลมีเจตนาคิดอยากได้ทรัพย์สมบัติของผู้อื่น (อกุศลมโนกรรม) ด้วยอำนาจความโลภ จึงแสดงพฤติกรรมของการแย่งชิง หรือไม่ก็หยิบฉวยไปโดยไม่ได้รับอนุญาต (อกุศลกายกรรม) เป็นต้นทรัพย์สมบัติของผู้อื่นซึ่งเป็นรูปธรรมจึงเป็นเหตุให้มีการกระทำต่าง ๆ ตามมา 
    
    กล่าวโดยสรุป การฝึกกรรมฐานเป็นการกระทำกุศลกรรมชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะมโนกรรม ต่างจากกรรมทั่วไป  ตรงที่เป้าหมายการกระทำเป็นไปเพื่อความสิ้นภพชาติ สิ้นทุกข์ ไม่ต้องไปเกิดในแหล่งกำเนิดใดอีก เนื่องจากจิตต้องอิงอาศัยอารมณ์จึงเกิดขึ้นได้ และธรรมชาติของจิตมีความสัดส่ายไปตามอารมณ์ ไม่อาจหยุดนิ่งเพื่อการพิจารณาแม้เพียงชั่วครู่ จึงจำเป็นต้องใช้อุบายบางอย่าง เพื่อลดความสัดส่าย โดยหาสิ่งที่ไม่เป็นโทษให้จิตอิงอยู่ อุบายที่ว่านี้คือ  ที่มาของกิจกรรมที่เรียกว่ากรรมฐาน
    
     อุบายดังกล่าวแยกออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ 
    
    ๑. อุบายสงบใจ  กล่าวคือ อาศัยวิธีการท่องถ้อยคำบางอย่างซ้ำ ๆ กัน และบังคับตนเองในลักษณะ การสร้างแนวคิด เกี่ยวกับคำนั้น สิ่งที่เราสร้างขึ้นไม่ว่าจะเป็นแนวคิด ความคิด หรือภาพพจน์ของคำ ๆ นั้น ล้วนเป็นองค์ประกอบของความสงบที่เรียกว่า    สมถกรรมฐาน
    ๒. อุบายเรื่องปัญญา อาศัยความรู้สึกตัวที่มีอยู่ รู้ถึงการสัมผัสทางทวารทั้ง ๖ รู้ถึงปรากฏการณ์ทางจิต ขณะร่างกายมีการกระทบสิ่งเร้า เฝ้าติดตามการรับรู้นี้ด้วยความตั้งใจ เมื่อมีความตั้งใจอยู่ที่ การรับ กระทบความคิดต่าง ๆ ก็จะถูกตัดออกไป จนไม่สามารถสอดแทรกเข้ามาได้ ไม่เปิดโอกาส ให้มีการก่อตัว ของแนวคิด ภาพลักษณ์หรือความคิดใด ๆ ตามมา เท่ากับเป็นการรู้เท่าทัน กระบวนการที่เกิดขึ้นโดยตรงในทันทีที่เกิดขึ้น จึงไม่เกิดการบิดผันใด ๆ ทางด้านความคิดนี้ คือ  ส่วนของกิจกรรมที่เรียกว่า วิปัสสนากรรมฐาน (ชิน วินายะ มปป : ๒ - ๗ ) 
    
     เนื่องจากกรรมฐานเป็นกุศโลบายบางอย่างที่เกิดจากความตั้งใจสร้างแนวคิดขึ้นหรือไม่ก็เป็นการตั้งใจรับความรู้สึกโดยไม่ผ่านแนวคิด อารมณ์ที่จิตอิงอยู่จึงไม่เหมือนอารมณ์ทั่วไป ที่รับรู้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน ภาพลักษณ์และความรู้สึกตัวเป็นผลมาจากความตั้งใจ ดังกล่าว และถูกจัดเป็นหมวดหมู่ของอารมณ์พิเศษที่มีหลักการและวิธีการรับรู้เป็นการเฉพาะสำหรับกรรมฐานแต่ละประเภท เช่น แนวคิดของคำหรือภาพลักษณ์ที่สร้างขึ้นจากสมถกรรมฐาน ๔๐ อย่าง หรือความรู้สึกตัวในนาม-รูปจากวิปัสสนากรรมฐาน  มีขันธ์ อายตนะ เป็นต้น อารมณ์พิเศษและวิธีการเฉพาะนี้มิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นมาได้โดยบังเอิญ หรือนึกคิดจะทำตามความนิยมที่สืบต่อกันมาก็ทำได้  แต่เป็นสิ่งที่ต้องการความเข้าใจในเหตุปัจจัยและหลักการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลตามที่ต้องการ ดังนั้น การเข้าหาอาจารย์ผู้มีความชำนาญในการใช้อุบายกรรมฐาน การรู้ถึงจริตอัธยาศัยผู้เรียน การอยู่ในสถานที่ที่ไม่พลุกพล่าน มีการเรียนการสอน และการปฏิบัติควบคู่กันไป และการอุทิศเวลาบางส่วนเพื่อศึกษาและปฏิบัติจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเจริญกรรมฐาน 
    
     ความสำคัญของกรรมฐาน
    
     ความทุกข์เป็นสิ่งที่ชีวิตไม่ต้องการ พระพุทธศาสนาแบ่งความทุกข์ไว้ ๒ อย่าง คือทุกข์ประจำและทุกข์จร ทุกข์ประจำ หมายถึง ทุกข์ที่มาพร้อมชีวิต คือ การเกิด แก่ ตาย ไม่มีใครหลีกเลี่ยงทุกข์ประจำนี้ได้ ส่วนทุกข์จรได้แก่ ความเศร้าโศก รำพัน ต้องอาลัยไม่ขาด การไม่สมความปรารถนา และการพลัดพรากจากของรัก เป็นต้น เป็นเพียงทุกข์ที่ผลัดกันเกิดขึ้นในระหว่างที่เกิดแก่และตายนั่นเอง อาจจะบรรเทาได้บางส่วนตามสมควร แต่ก็ไม่อาจทำให้ทุกข์จรนั้น หมดไปได้เช่นกัน สังคมในอดีตเคยต้องเกิด แก่ ตายอย่างไร ปัจจุบันแม้จะมีเทคโนโลยี ที่ก้าวหน้าทันสมัยอย่างไร เทคโนโลยีเหล่านั้น ก็ยังไม่อาจ แก้ปัญหาชีวิตที่ต้องแก่และต้องตายของชีวิตใครได้ 
    
     พระพุทธศาสนามิได้สอนหรือบังคับให้หนีสังคม มิได้ถ่วงความเจริญ หรือพยายามหยุดยั้งเทคโนโลยีที่กำลังก้าวกระโดดนั้น อย่างที่หลายคนเข้าใจกัน ที่จริงแล้วจะมีเทคโนโลยีหรือไม่มีก็ตาม ปัญหาก็มิได้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นจากเดิม ทั้งนี้เทคโนโลยีต่าง ๆ มีทั้งส่วนที่ให้คุณและให้โทษ ขึ้นอยู่กับผู้ที่นำไปใช้มากกว่า จุดยืนทางศาสนาอยู่ที่การเป็นสัญญาณ เตือนภัยที่จะเกิดแก่มนุษย์ ภัยนั้นมีอยู่รอบด้านโดยเฉพาะภัยทางความคิด ซึ่งมนุษย์มองไม่เห็นและไม่เชื่อว่าเป็นภัยจริง  มุมมองที่คับแคบอาจทำให้มนุษย์มอง เห็นเพียงด้านเดียว  ของความสะดวกสบายจากเทคโนโลยี แล้วกล่าวอ้างถึงความเจริญทันสมัย เพื่อสนับสนุนความคิดของตน และเลือกที่จะทำตามความคิดนั้น จนละเลยปัญหาที่จะตามมาในภายหลัง 
    
     ศาสนามีหน้าที่แสดงความจริงเกี่ยวกับโลกและชีวิต แนะนำถึงความรอบคอบ  และรอบรู้ในการดำเนินชีวิต  โดยเกิดความเดือดร้อน น้อยที่สุด รอบรู้ว่าสิ่งใดควรคิดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ ช่วยให้มนุษย์เข้าใจชีวิตและส่วนที่เป็นปัญหา มีระเบียบในเรือนใจ และการยอมรับเหตุผล ทำให้สามารถหาทางออกจากความขัดแย้งและอยู่ในสังคมที่เต็มไปด้วยปัญหาได้อย่างผู้รู้กาลเทศะ 
    
     จุดมุ่งหมายของกรรมฐาน 
    
     การฝึกกรรมฐาน  เป็นกิจกรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนา  เกิดขึ้นเพื่อเป็น พื้นฐานรับรองเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ดังกล่าว ในพระศาสนา แม้จะ มีจุดหมายสูงสุดอยู่ที่การบรรลุ คุณวิเศษ คือ มรรค ผล นิพพาน แต่ถ้าจิตใจยังพัฒนา ไม่ผ่านขั้นตอนการยอมรับ การเวียนว่ายตายเกิด  อันยาวนานของตนเอง หรือยังมีความสงสัยในเรื่องภพชาติ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันและที่จะเป็นไปในอนาคตแล้ว ขบวนการถอนรากถอนโคนกิเลสตัณหา อาสวะ และอนุสัยต่าง ๆ ในจิตใจอย่างจริงจังจะยังไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ภัยของภพชาตินั้น มาจาก ความจำเจวนเวียน ที่ชีวิตต้องอยู่กับ ความสุขบ้าง  ความทุกข์บ้าง  มีความผันแปรไปตามเหตุปัจจัย มิได้ผันแปรไปตาม ความต้องการของตนเอง   การเห็นภัยจึงมีความสำคัญทำให้ผู้เห็นภัยดังกล่าวยอมเปลี่ยนวิถีชีวิตจากที่เคยวนเวียน เป็นไปเนื่องด้วยกิเลสตัณหา   สู่วิถีชีวิตที่มีสติสัมปชัญญะดำเนินชีวิตไปตามทางมรรคได้อย่างมั่นคง 
    
     ความกลัวภัย ทำให้เราเปลี่ยนแนวความคิด เปลี่ยนความต้องการใหม่ ตรงนี้คือ จุดเริ่มของพระพุทธศาสนา การทำทาน รักษาศีล ไม่ช่วยให้เกิดความรู้สึกกลัวภัยได้   คนที่จะน้อมเข้ามาในการปฏิบัติกรรมฐานจะต้องเห็นภัยในวัฏสงสารก่อน จึงจะมองหาการปฏิบัติ แต่การปฏิบัติบางอย่างอาจทำให้เกิดความสุขมากมาย ซึ่งไม่ช่วยให้เห็นภัยของวัฏฏะ นั่นก็ไม่ตรงกับพระพุทธศาสนา  พื้นฐานความคิดเกี่ยวกับ  ภัยของวัฏสงสารจะได้จากการเรียนก่อน จากนั้นจึงน้อมเข้ามาสู่การปฏิบัติ (พระมหาณรงค์ศักดิ์ ฐิตญาโณ. สัมภาษณ์.) 
    
     การพิสูจน์การเวียนว่ายตายเกิดนั้น มิใช่เพียงการทำจิตให้สงบแล้วพาไปดูนรกสวรรค์หรือจินตนาการถึงพระนิพพาน  ว่าเป็นเมืองแก้วตามที่ได้ยินมา การยอมรับว่ามีนรกสวรรค์ดังกล่าว มีประโยชน์ในแง่ของการสร้างศรัทธา ที่จะทำความดี ละเว้นความชั่ว เพื่อความสุขของชีวิตในภพนี้และภพหน้า  แต่ไม่สามารถเปลี่ยนความเชื่อและทิฏฐิ ที่เป็นอนุสัยนอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานได้ จึงมีความปรารถนาการเกิดอยู่เสมอไป ไม่รู้สึกว่าสังสารวัฏฏ์ จะเป็นภัย ต่อชีวิตตนเองได้อย่างไร การเผชิญ กับความเกิดดับ (ตาย) อย่างซ้ำซากเฉพาะหน้า จำต้องอาศัยความเข้าใจ และการปฏิบัติบำเพ็ญเพียรทางจิตขั้นเอกอุ จึงจะยอมรับภัยของชีวิตได้    ซึ่งมีวิธีการอยู่ ๒ วิธี คือ สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน 
    
    วิธีการต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้น  ทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน เป็นอุบายในการฝึกสังเกตความเป็นไปของจิตขณะ   กระทบอารมณ์ต่าง ๆ    เป้าหมายการสังเกตอยู่ที่ความสามารถในการรับรู้เท่าทันความรู้สึกนึกคิดของตนเองก่อนที่จะ   แสดงพฤติกรรมอะไรออกไปทางกาย วาจา หากเราเข้าใจช่วงต่อของความรู้สึกนึกคิด จากความรู้สึกเก่า (วิบากวัฏ) ปรุงแต่งไปสู่ความรู้สึกใหม่ (กิเลสวัฏ)  เป็นเหตุให้เกิดการกระทำใหม่อีก (กรรมวัฏ) ว่าวิบากเป็นเพียงผลมาจากอดีตกรรม ไม่มีใครเลือกรับแต่วิบากดี   หรือย้อนกลับไปเปลี่ยนกรรมในอดีตได้  ตัววิบากเองไม่ดีและไม่ชั่วรับผลแล้วดับไป  แต่การดับไป ถูกตัวกิเลสปิดบัง และปรุงแต่งให้ดูเหมือน  ยังมีอยู่ตลอดเวลา ไม่ด้วยวิธีการสืบต่ออารมณ์อย่างรวดเร็วไม่ขาดสาย ก็ด้วยความเป็นกลุ่มของ อัตตาที่ยึดถือขึ้นมาเอง ความยึดถือและสำคัญผิดนี้ คือส่วนของการปรุงแต่งเป็นกรรมใหม่ที่พยายาม จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง  สิ่งภายนอกให้เป็นไปตามความต้องการของตน วัฏสงสารแห่งกิเลส - กรรม - วิบาก อันเป็นปมปัญหาของชีวิต  ที่เคยทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดนั้น แฝงอยู่ ณ จุดเชื่อมต่อระหว่างความรู้สึกนึกคิดในปัจจุบันนั่นเอง 
    
     หากเข้าใจจุดมุ่งหมายและสามารถปฏิบัติกรรมฐานธรรมไปตามแบบที่พระพุทธองค์วางไว้จนเกิดผลในระดับหนึ่งแล้ว ประสบการณ์ทางศาสนาดังกล่าวจะเป็นตัวกระตุ้นความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแท้จริงให้เกิดขึ้น มิใช่ศรัทธาที่เกิดขึ้นจากการ ฟังตามกันมา แต่เป็นความศรัทธาที่มั่นคงในความจริงเฉพาะหน้า  รู้จักว่าส่วนใดเป็นคุณค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนา  ส่วนใดมิใช่คุณค่า และหาโอกาสตอบแทนบุญคุณพระศาสนาด้วยความเคารพและกตัญญู 
    
    พุทธศาสนิกชนที่มีความประสงค์จะแสวงหาวิชาในด้านพระพุทธศาสนา ควรศึกษาพระไตรปิฎก อรรถกา ฎีกา จากท่านผู้รู้ที่มีวิทยฐานะโดยถูกต้องและสมบูรณ์ จึงจะได้รับความรู้นั้นตามความประสงค์ ได้เหตุผลในการปฏิบัติอย่างถูกต้อง ถ้าหากว่ามีแต่การชอบฟังในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาโดยทำนอง ปาฐกถาบ้าง ธรรมเทศนาบ้าง ธรรมสากัจฉาบ้างเช่นนี้แล้ว ความประสงค์ที่จะได้รับวิชาความรู้โดยถ่องแท้นั้น จะมีแก่ตนไม่ได้เลย เพียงแต่ทำให้จิตใจปลอดโปร่ง ผ่องใส เป็นกุศลจิตเกิดขึ้นชั่วครู่หนึ่ง ๆ พร้อมกับความรู้เล็กๆน้อยๆเท่านั้น (พระสัทธัมมโชติกะ ๒๕๑๐ : ๕๕ )
  • แสงไร้เงา

    15 มกราคม 2551 01:41 น. - comment id 811104

    11.gif

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน