พอจดจำความได้แต่ภายหลัง ก็เมื่อครั้งเป็นเด็กน้อยแม่คอยป้อน กล้วยออกจากปากแม่อิ่มแน่นอน ละเอียดอ่อนอกอุ่นอิ่มบุญครอง พ่อปลูกกล้วย พี่ปลูกกล้วยด้วยกิจชอบ เป็นรั้วรอบร่มเย็นเป็นสุขผอง แม่ลอกกาบเอาหยวกแกงแบ่งเรือนรอง พับใบตองห่อขนมเหมาะสมงาม แต่วันนี้ที่เมืองหลวงเปลี่ยนช่วงยุค ใครกล้าป้อนกล้วยสุก เดี๋ยวถูกหยาม แต่ละคนสั่งจานด่วนล้วนทำตาม ส่งทุกยาม เพียงโทร.สั่งดั่งเนรมิต ทางเท้าไม่ร่มเย็นไม่เห็นกล้วย เต็มป้ายสวยโฆษณาประกาศิต ป้อนสมองเสพสมัยไปอีกนิด ป้อนชีวิตชาวเมืองหลวงภาพลวงตา โอ้ ! ภาพแม่ ป้อนจากปากสู่ปากลูก รักพันผูก รักหนักแน่นยิ่งแผ่นผา กล้วยร่มเย็นเป็นภาพงามความเป็นมา ป้อนคุณค่าของชีวิต จิตใจงาม
30 ตุลาคม 2550 20:39 น. - comment id 779981
อ่านแล้วอิ่มใจครับนึกถึงแม่และบรรยากาศเก่าๆสมัยอยู่เรือนไท
31 ตุลาคม 2550 08:36 น. - comment id 780140
อรุณสวัสดิ์ คุณ ทิดแก้ว เช่นเดียวกันครับ กระผมก็คิดถึงแม่ ปีนี้แม่ของผมอายุ 86 ปี และนับว่าเป็น ปีที่ท่านคงปลื้มใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากท่านเป็นเจ้าภาพทอดกฐิน ซึ่งร่วมกับท่านเอกอัครราชทูตธวัธชัย ทวีศรี ทอดถวายที่วัดบ้านเกิดของผม คือ วัดศิลามงคล บ้านท่าวังผา อ.ท่าวังผา จ.น่าน วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน 2550 เวลา 9.19 น. ทั้งนี้ ผมไม่ได้เรี่ยไรผู้ใด นะครับ เพียงแต่เชิญชวนชาวบ้านกลอน ยกมืออนุโมทนา บุญก็สำเร็จเป็น ปัตตานุโมทนามัย ร่วมกันแล้วครับ
31 ตุลาคม 2550 10:18 น. - comment id 780182
งดงาม เห็นภาพ อดีต ปัจจุบัน...การเชื่อมโยงยุคสมัย...งดงามด้วยจังหวะ ความจริงที่คุณหรือใคร ควรเห็นด้วยอย่างยิ่ง...
31 ตุลาคม 2550 11:10 น. - comment id 780209
อ่านแล้วซาบซึ้งใจมากๆค่ะ.. ถ้าว่างอย่าลืมแวะมาที่ชมรมคนรักพ่อแก่บ้างนะคะ "www.maameu.com "
31 ตุลาคม 2550 11:25 น. - comment id 780214
อนุโมทนาด้วยนะคะ ปีนี้ได้ร่วมทำบุญกฐินหลายงานเลยค่ะ
31 ตุลาคม 2550 12:12 น. - comment id 780225
ขอบคุณครับ คุณ เพียงพลิ้ว ที่อนุโมทนาบุญ คุณ กุหลาบขาว...ผมเข้าไปชมเว็บพ่อแก่ แล้วครับ
31 ตุลาคม 2550 12:13 น. - comment id 780227
ขอบคุณ คุณ เอื้องอังกูร ที่กรุณาชื่นชมผลงาน
31 ตุลาคม 2550 13:23 น. - comment id 780287
นั่นสิคะ...ภาพเหล่านี้ไม่เห็นนานแล้ว...เห็นแต่แม่วิ่งตามป้อนข้าวลูก...ในขณะที่ลูก ก็วิ่งเล่นไป....
31 ตุลาคม 2550 17:14 น. - comment id 780489
สมัยนี้เขาไม่ใช้กล้วยแล้วค่ะ เห็นเขาป้อนกันด้วยซีลีแลกซ์อ่ะค่ะ ทั้งที่กล้วยมีคุณค่าอาหารเกือบครบถ้วนเลยนะ ทุกวันนี้เฌอก็โตมาได้เพราะกล้วยค่ะ เพราะอยู่เมืองลิง อิอิ
31 ตุลาคม 2550 17:25 น. - comment id 780498
สวัสดียามเย็น คุณ โคลอน คุณ เฌอมาลย์ ผมขอขอบคุณที่ช่วยกันรำลึกถึงกล้วย อนึ่ง ทราบข่าวการประกวดบทกลอนแล้วหรือยัง ถ้าไม่ทราบคลิกไปดูหมวดกระทู้ นะครับ แล้วเรามาช่วยกันสอนเด็ก ๆ เขียนกลอน ให้ได้รางวัล ซึ่งเงินหมื่นบาทมีคุณค่ามาก สำหรับเด็กนักเรียนต่างจังหวัด ผมอยาก ถ่ายทอดความรู้ให้พวกเขาด้วยความจริงใจ ให้สมกับที่ผมเคยได้รับรางวัลพระราชทาน มาแล้วมากมาย อีกทั้งผมก็เป็นเด็กบ้านนอก มาก่อน จึงรู้รสชาติของความยากลำบากของเด็กบ้านนอก ดังนั้นจึงอยากช่วยเหลือพวกเขาเหล่านั้น โดยไม่ให้ผิดจรรยาบรรณของผมด้วย นะครับ
31 ตุลาคม 2550 17:48 น. - comment id 780523
แวะไปอ่านกระทู้มาแล้ว แค่ว่าคนรอบข้างเฌอ ไม่มีใครเรียนอยู่ ม.1 - ม.6 เลยค่ะ และการใช้คำราชาศัพท์มันยากสำหรับเฌอซะจริงๆ จึงยากจะแนะนำใครอ่ะค่ะ
31 ตุลาคม 2550 18:08 น. - comment id 780537
คุณเฌอมาลย์ครับ ผมคิดว่าสำหรับนักเรียน ถ้าจะเขียนกลอน ไม่ต้องคำนึงถึงราชาศัพท์มากนัก แต่ให้เขียนออกมาจากหัวใจ และให้ระวังเรื่อง ฉันทลักษณ์ก็พอแล้ว ซึ่งบางครั้งผมเขียน ก็ไม่ใช้ราชาศัพท์ ตัวอย่างเช่น "เหงื่อแห่งงานล้านล้านหยดรดรินหยาด หกสิบล้านแห่งราษฎร์ชาติอาศัย ดินน้ำฟ้าป่าพลิกฟื้น ชื่นกายใจ พระผู้ให้ชาติสังคม สุขร่มเย็น" ข้อสังเกตคือ ผมใช้คำว่าเหงื่อแห่งงาน แทนคำว่าพระเสโท ซึ่งทำให้คนอ่าน เข้าถึงและซาบซึ้งกว่าคำว่าพระเสโท ดังนั้น จึงไม่เป็นปัญหาสำหรับการเขียน นอกเสียจากว่า ถ้ามีคุณหญิงท่านหนึ่งซึ่งเถรตรงจนเกินไป มาตัดสิน แต่ถ้าให้คุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เป็นผู้ตัดสิน ผมคิดว่าท่านอนุโลมคำราชา ศัพท์ อยู่แล้ว
31 ตุลาคม 2550 20:53 น. - comment id 780612
ขอบคุณค่ะ สำหรับคำแนะนำและข้อคิด.. สังเกตุงานกลอนที่เขียนเกี่ยวกับในหลวง เฌอ ก็เข้าไปอ่านนะคะ แต่ไม่ค่อยตอบกลัวพูดผิดพูดถูกอ่ะค่ะ และคนคอมเม้นท์ส่วนมากจะเหมือนลอกกันคือ ขอจงทรงพระเจริญ.. เพราะการสื่อภาษานี่ยากเหมือนกันค่ะ แต่สื่อใจเหมือนกันหมดค่ะ คือ " เรารักในหลวง "