ความรู้สึกนึกคิดจิตมนุษย์ เป็นหนึ่งจุดสำคัญดำเนินชีพ เหมือนถนนหนทางกรอบกลีบ กำหนดจีบมุ่งหมายไปทิศใด ทิฐิความเห็นจึงสำคัญยิ่ง คอยเป็นสิ่งตัดสินทิศทางใฝ่ กำกับแผนครรลองของจิตใจ ให้เป็นไปตามจิตทิฐิวาง จะกล่าวในที่นี้ทิฐิสอง เห็นถูกต้องตามธรรมดำเนินอย่าง เรียกสัมมาทิฐิวิธีทาง เห็นชอบอ้างแน่นหนักในหลักธรรม สองมิจฉาทิฐิเห็นผิดมรรค ปฏิเสธหลักเหตุผลอย่างถลำ สิ่งเกิดขึ้นเห็นว่าหาใช่กรรม ไร้เหตุนำประกอบขอบข่ายแนว หากวางหลักทิฐิไว้ไม่ดี เหมือนหลงทางวิธีที่เสียแล้ว จะไปถึงเป้าหมายอาจสิ้นแวว ไม่ใช่แนวทางสามารถให้ไปถึง .
29 พฤษภาคม 2550 11:06 น. - comment id 702965
ทิฐิ (อ่านว่า ทิดถิ) แปลว่า ความเห็น ความคิดเห็น มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า ทัศนะ ในวงวัดนิยมเขียนจามรูปศัพท์เดิมว่า ทิฏฐิ ทิฐิ ใช้กับความเห็นของทั้งฝ่ายดีและฝ่ายไม่ดี ที่ใช้กับฝ่ายดี เช่น สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) ที่ใช้กับฝ่ายไม่ดีเช่น มิจฉาทิฐิ (ความเห็นผิด) สัสสตทิฐิ (ความเห็นว่าเยง) อุจเฉททิฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) เป็นต้น ทิฐิ ในคำไทยส่วนใหญ่ใช้ในความหมายว่าความอวดดื้อถือดี ความดื้อรั้น ความตะแบงทั้งที่รู้ว่าผิดแต่ไม่ยอมรับและไม่ยอมแก้ไข เช่นที่ใช้ว่า "เขามีทิฐิมาก ไม่ยอมลงใคร" ทิฐิมานะของเขาทำให้เขาเข้ากับใครไม่ได้เลยในที่ทำงาน" [แก้] อ้างอิง พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
29 พฤษภาคม 2550 11:10 น. - comment id 702966
ทิฏฐิ คือ ความเป็นเป็นคตำกลางๆเพื่อประกอบกับคำอื่น เช่น 1. สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาอันเป็นชอบหรือความเห็นถูก 2. มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดไปจากความเป็นจริง แยกศัพท์ออกได้เป็น สอง ศัพท์ คือ มิจฉา แปลว่า วิปริต และทิฏฐิ แปลว่า ความเห็น เมื่อรวมกันแล้วเป็นมิจฉาทิฏฐิ แปลว่าความเห็นที่วิปริต หมายถึง ความเห็นที่ผิดแผกไปจากความเป็นจริงหรือ ธรรมชาติใดย่อมมีความเห็นที่วิปริตผิดไปจากความเป็นจริง ธรรมชาตินั้น ชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐินี้พระพุทธองค์ได้แสดงไว้อย่างกว้างขวาง เช่น สักกายทิฏฐิ ความเห็นผิดยึดมั่นในขันธ์ 5 ว่าเป็นเรา เป็นต้น มิจฉาทิฏฐิ 62 ประการแสดงไว้ใน พรหมชาลสูตร และ นิตยมิจฉาทิฏฐิ แสดงไว้ในสามัญผลสูตร สำหรับมิจฉาทิฏฐิในที่นี้มุ่งหมายเอา นิตยมิจฉาทิฏฐิ 3 ประการ อันเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหยาบ ที่ให้สำเร็จเป็นอกุศลกรรมบถได้ ส่วนมิจฉาทิฏฐิอย่างอื่น เป็นเพียงทิฏฐิสามัญเท่านั้น นิตยมิจฉาทิฏฐิ 3 ประการ คือ 1. นัตถิกทิฏฐิ คือมีควาเห็นว่า ทำไรก็ตาม ผลที่พึงได้รับนั้นย่อมไม่มี ความเห็นผิดชนิดนี้ จัดเป็นอุจเฉททิฏฐิด้วย คือเห็นว่า สัตว์ทั้งหลายตายไปแล้วก็สูญไป ไม่มีการเกิดอีกในสามัญผลสูตร แสดงความเห็นผิดที่เป็นนัตถิกทิฏฐินี้ว่า ได้มาจากความเห็นผิด 10 อย่างคือ (พระพุทธองค์ตรัสดังนี้) ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย มีอยู่ สมณพราหมณ์ บางพวกมีวาทะอย่างนี้มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า 1. การทำบุญไม่มีผล 2. การบูชาต่างไม่มีผล 3. การต้อนรับเชื้อเชิญ หรือการเคารพนับถือไม่มีผล 4. ผลหรือวิบากของการทำดีทำชั่วไม่มีผล 5. ชาตินี้ไม่มี 6. ชาติหน้าไม่มี 7. บุญคุณของมารดาไม่มี่ 8. บุญคุณของบิดาไม่มี 9. สัตว์ดลกที่ผุดเกิดและเติบโตทันที โดยไม่มีพ่อแม่ได้แก่สัตว์นรก, เปรต, เทวดา, พรหมนั้นไม่มี 10. สมณพราหมณ์ที่รู้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเอง และสอนให้ผู้อื่นที่ถึงพร้อมด้วยสามัคคี ปฏิบัติตามโดยชอบไม่มี ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นอันหวังได้ว่า จะต้องเบื่อหน่ายในกุศลธรรมสาม คือ กายสุจริต วจีสุจริจ และมโนสุจริต และจะยึดถือปฏิบัติอยู่แต่ในอกุศลธรรมสาม คือ การทุจริต วจีทุจริต และ มโนทุจริต ข้อนั้นเพราะเหตุใด ก็เพราะสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นไม่เห็นโทษไม่เห็นความต่ำทราม ไม่เห็นความเศ่ร้าหมอง ของอกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เห็นอานิสงส์ในการออกจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เห็นคุณค่าแห่งความบริสุทธิ์ของกุศลธรรมทั้งหลาย ก็ปรโลกมีอยู่แท้ๆเขากลับมีความเห็นว่า ปรโลกไม่มี ฉะนั้นความเห็นของเขา จึงจัดเป็นมิฉาทิฏฐิ ก็ปรโลกมีอยู่แท้ๆเขากลับคิดเห็นว่าปรโลกไม่มีฉะนั้นความคิดของเขาเป็นมิจฉาทิฏฐิสังกัปปะ ก็ปรโลกมีอยู่แท้ๆเขากลับพูดว่าปรโลกไม่มี ฉะนั้คำพูดของเขาจึงจัดเป็นมิจฉาวาจา อนึ่ง พระอรหันต์ทั้งหลายย่อมรู้ยู่แก่ใจว่า ปรโลกมีอยู่ ฉะนั้นผู้ที่ถือว่าปรโลกไม่มีจึงได้ชื่อว่า เป็นปฏิปักษ์ต่อพระอรหันต์ทั้งหลายอีกด้วย ในเมื่อตัวเองเชื่อถือเช่นนั้น และสอนให้คนอื่นเชื่อตาม ย่อมได้ชื่อว่า เป็นผู้ประกาศอสัทธรรม และด้วยอสัทธรรมที่ตัวเองประกาศออกไปเช่นนั้นย่อมจะเป็นเหตุให้ยกตนข่มคนอื่นอีกด้วย ย่อมละศีลได้ง่าย และประพฤติอยู่แต่ในทางทุศีล ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย เพราะอาศัยมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ย่อมก่อให้เกิดอกุศลธรรมไม่น้อยทีเดียว อนึ่ง ในเรื่องปรโลกนี้ ท่านคฤหบดีทั้งหลาย สำหรับคนที่ฉลาด เขาย่อมคิดอย่างนี้ว่าถ้าหากปรโลกไม่มีคนที่ทำบาปไว้ ก็นับว่าปลอดภัยไป แต่ถ้าหากปรโลกมีจริงคนที่ทำบาปตายไปแล้ว ก็จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือแม้จะไม่พูดถึงเรื่องปรโลก แต่คนที่มีความเห็นผิด และเป็นผู้เป็นผู้ทุศีลก็ย่อมถูกวิญญูชนติเตียนในโลกนี้เอง เพราะฉะนั้น คนที่มีความเห็นผิดจึงต้องประสบผลร้ายถึง 2 ทางคือ ถูกติเตียนในโลกนี้ และเมื่อตายไปแล้วก็จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต และนรกอีกด้วย 2. อเหตุกทิฏฐิ คือ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ (จะชั่วดีมีสุข ทุกข์มีโชคอับโชค เกิดเพราะความบังเอิญ) หมายถึงความเห็นที่ว่าสัตว์ทั้หลาย ที่ได้รับความลำบาก หรือความสบายก็ตามไม่ได้อาศัยเหตุใดๆให้เกิดขึ้นเลย แต่เป็นไปเองทั้งนั้น ในสามัญผลสูตรแสดงไว้ดังนี้ ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย มีอยู่ สมณพราหมณ์บางพวกมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า เหตุปัจจัยแห่งความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายไม่มี สัตว์ทั้งหลางไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ก็บริสุทธิ์ได้เอง กำลัง ความเพียร เรี่ยวแรง ความบากบั่น เพื่อความเศร้าหมอง หรือเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย่ เหล่านี้ไม่มีประโยชน์ เพราะสัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วก็ดีที่กำลังจะเกิดก็ดีสิ่งที่มีชีวิตทั้งปวงก็ดี ทั้งหมดนี้ไม่มีอำนาจไม่มีกำลังไม่มีความเพียรในอันที่จะช่วยตัวเองให้เศร้าหมอง หรือบริสุทธิ์ แต่ทั้งหมดย่อมแปรเปลี่ยนไปตามโชคดีโชคร้าย และตามสิ่งแวดล้อมที่ตัวเองไปเกิดอยู่ เสวยสุข เสวยทุกข์อย่างไรในฐานะต่างๆก็เพราะโชคดี โชคร้าย และสภาพของสิ่งแวดล้อม ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นอันหวังได้ว่า จะต้องเบื่อหน่ายในกุศลธรรมสามคือ กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต และจะยึดถือปฏิบัติอยู่แต่ในอกุศลธรรมสาม เพราะอาศัยมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ย่อมก่อให้เกิดอกุศลธรรมไม่น้อยทีเดียว ฯลฯ ในสามัญผลสูตรอรรถกถา แสดงไว้ว่า ผู้ที่เห็นว่า ความสุข-ความทุข์ของสัตว์ทั้งหลายนั้น ไม่เกี่ยวเนื่องมาจากเหตุก็เท่ากับว่าเป็นการปฏิเสธทั้งเหตุและผลพร้อมกันไปด้วย 3. อกิริยทิฏฐิ คือความเห็นว่า การกระทำไม่สำคัญ หมายถึงความเห็นที่ว่าการกระทำต่างๆของสัตว์ทั้งหลายนั้น ไม่เป็นบาป หรือเป็นบุญแต่ประการใด แสดงไว้ในสามัญผลสูตรดังนี้ ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย มีอยู่สมณพราหมณ์บางพวกมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่าทำเองก็ดีให้คนอื่นทำก็ดีตัดเองก็ให้คนอื่นตัดก็ดี เผาเองก็ดี ให้คนอื่นเผาก็ดี ทำให้เศร้าโศกเองก็ดี สั่งให้คนอื่นเศร้าโศกก็ดี ทำให้ลำบากเองก็ดี สั่งให้คนอื่นทำให้ลำบากก็ดีทำให้ดิ้นรนเองก็ดีสั่งให้คนอื่นทำให้ดิ้นรนก็ดี ฆ่าสัตว์เองก็ดี สั่งให้คนอื่นฆ่าก็ดี ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ให้ก็ดีตัดช่องย่องเบาก็ดี ขึ้นปล้นก็ดี แอบซุ่มอยู่ข้างทางก็ดี ประพฤติผิดในภรรยาคนอื่นก็ดีพูดเท็จก็ดี ผู้ที่กระทำดังกล่าวมานี้ ไม่เชื่อว่ากระทำบาป แม้หากว่าคนใดพึงฆ่าสัตว์ทั้งหลายบนพื้นปฐพีนี้ด้วยจักรอันคมกริบ จนกระทั่งทั่วแผ่นดินนี้เป็นสานแห่งเนื้อ บาปเพราะเหตุที่ฆ่าสัตว์ถึงปานนี้ไม่มี การมาของบาปไม่มี หรือแม้หากว่า จะพึงไปสู่ฝั่งทางทิศใต้ของแม่น้ำคงคา ฆ่าเองก็ดีหรือให้คนอื่ฆ่าก็ดี ตัดเองก็ดีให้คนอื่นตัดก็ดีเผาเองก็ดีให้คนอื่นเผาก็ดี บาปเพราะเหตุที่ทำเช่นนี้ไม่มีการมาของบาปไม่มีหรือแม้หากว่าจะพึงไปสู่ฝั่งทางทิศเหนือของแม่น้ำคงคา ให้ทางเองก็ดีสั่งให้คนอื่นทางก็ดี บูชาเองก็ดีสอนให้คนอื่นบูชาก็ดีบุญเพราะเหตุที่ทำเช่นนี้ไม่มี การมาของบุญย่อมไม่มีเพราะการให้ทานการข่มใจการสำรวมการพูดคำสัจ ดูก่อนพฤหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะอย่างนี้มีความเห็นอย่างนี้สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นอันหวังได้ว่า จะต้องเบื่อหน่ายในกุศลธรรม ไม่นิยมยินดีในการที่จะทำให้ กาย วาจา ใจ อยู่ในความสุจริต จะยึดถือและปฏิบัติอยู่แต่ในทาง กาย ทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ข้อนั้นเพราะเหตุใดก็เพราะเขาไม่เห็นทาไม่เห็นความต่ำทรามไม่เห็นความเศร้าหมอง ของอกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เห็นอานิสงส์ในการออกจากอกุศลธรรม ไม่เห็นคุณค่าแห่งความบริสุทธิ์ ก็กรรมมีอยู่แท้ๆ เขากลับมีความเห็นว่ากรรมไม่มี ฉะนั้น ความเห็นของเขาจึงจตัดเป็นมิจฉาทิฏฐิ ความคิดที่ว่ากรรมไม่มี จัดเป็นมิจฉาสังกัปปะ คำพูดที่ว่ากรรมไม่มี ก็จัดเป็นมิจฉาวาจา อนึ่ง! พระอรหันต์ทั้งหลาย ย่อมกล่าวว่ากรรมมีอยู่ ผู้ที่กล่าวว่ากรรมไม่มี จึงได้ชื่อว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อพระอรหันต์ทั้งหลายไมเมื่อตัวเองเชื่อถือเช่นนั้นแล้วสอนให้คนอื่นเชื่อตาม ย่อมได้ชื่อว่า เป็นผู้ประกาศอสัทธรรมและด้วยอสัทธรรมที่ตัวเองประกาศออกไปเช่นนั้น ย่อมจะเป็นเหตุให้ยกตนข่มคนอื่นอีกด้วย ย่อมละศีลได้ง่ายและประพฤติอยู่แต่ในทางทุศีล ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย เพราะอาศัยมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ย่อมก่อให้เกิดอกุศลธรรมไม่น้อยทีเดียว ในสามัญผลสุตรอรรถกถาแสดงไว้ว่า เมื่อปฏิเสธการกระทำบาป-การกระทำบุญที่เป็นตัวเหตุแล้ว ก็เท่ากับปฏิเสธผลของการกระทำบาป-บุญนั้นด้วย ความเห็นว่าเที่ยง คือ ความเห็นว่าอัตตาและโลก เป็นสิ่งเที่ยงแท้ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป เช่นเห็นว่าคนและสัตว์ตายไปแล้ว ร่างกายเท่านั้นที่ทรุดโทรมไปส่วนดวงชีพหรือเจตภูตหรือมนัส เป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำดนิดอื่นสืบไป เป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่งตรงข้ามกับอุจเฉททิฏฐิ ข้อมูล http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=96&page=2
29 พฤษภาคม 2550 11:17 น. - comment id 702968
กราบนมัสการเวลาฉันเพลค่ะพระคุณเจ้า
29 พฤษภาคม 2550 11:53 น. - comment id 702974
สลัดยาก มีอยู่ในใจประจำเลยเชียวค่ะ
29 พฤษภาคม 2550 12:17 น. - comment id 702988
โอ โอ้ อัสสุ แต่งกลอนแนวนี้ด้วยฤ เรามาอ่านจนจบแล้วนะ ร้อยกรองคือร้อยกรอง ไม่ใช่ร้อยแก้วที่มีสัมผัสนะ เจ้าอัสสุ ม่านหม่นระคนมัคคะสลัว วิถิทั่วก็ทอดวาย อัพภันตรภาพภยสยาย ดลธาตุธาตรี วาบแล่นก็แสนเคราะหวิบาก ขณะมากประมวลมี หวั่นไหวกระไรบทกลี ระบุชี้บ่พึงชม ฉาบแดนประดังอัคนิเชื้อ ทุษเถือระทวยทม ทาบทอพนออุตรินิยม มุหบ่มบ่ขาดหาย เห็นดังพลังทิฐิมิชอบ ทุระบอบสิเบียฬกาย ศาสน์ทัศน์ตระบัดวิบัติผาย ทุขสายก็บรรสาน สั่งสมอุดม ณมิจฉา มหึมาทุราการ หลักยึดประพฤติหัตปหาร อภิธรรมบ่นำตน หรือไรกระไรพิภพนี้ มิจะมีวิมลดล ด้วยเหตุนิเสธปุถุชน สละมรรคในมาน
29 พฤษภาคม 2550 12:29 น. - comment id 703002
ใกล้ถึงวันวิสาขบูชาแล้ว ชาวพุทธก็จะมีโอกาสได้ทบทวน นำหลักธรรม มาใช้ในการดำเนินชีวิต
29 พฤษภาคม 2550 13:19 น. - comment id 703055
สาธุเด้อ อี่พออี่แม พีน่องป้องปาย ผู่ข่าสิขอล่าไป่บวชจั๊กคร่าว สั่นแหล่ว
29 พฤษภาคม 2550 13:39 น. - comment id 703071
ดีจ้า อัสสุ........ กลอนเข้ากะเหตุการณ์จังใกล้วันวิสาขบูชาแล้วด้วยดิเนอะ...... พี่ก้ออ่านหนังสือธรรมะเหมือนกันแต่ก็ไม่ได้อ่านที่มันเข้าใจยากอ่ะนะ ส่วนใหญ่เป็นธรรมะประยุกต์ซะมากกว่า.......หยิบมาใช้ให้เหมาะกับชีวิตเราก็จะดี
29 พฤษภาคม 2550 13:49 น. - comment id 703074
29 พฤษภาคม 2550 13:55 น. - comment id 703078
สาธุ อนุโมทนาวันทามิค่ะ
29 พฤษภาคม 2550 14:12 น. - comment id 703091
แม้หลิวกับเอกนี้ไปบวชมา ไม่ยอมบอกกันบ้างเลยนะเนี่ย พอกลับมามีคำดีๆมาแต่งกลอน ให้อ่านดีจริงๆนะค่ะ ซำบายดีนะค่ะ
29 พฤษภาคม 2550 15:52 น. - comment id 703141
พี่ป..................... ค่ำแล้ววววววววววววววพี่ เวียนเทียนไหนหรอ ใกล้วันวิสาข์ .................................................................... พี่เพียงพลิ้ว........... สลัดออกจากครับ แล้วก็มันอยู่ในจิตใจทุกคนครับ .................................................................... ห้วงคำนึง................ ก็นายบอกว่าเราแต่งน้ำเน่า รักๆ ใคร่ๆ เราก็เลยเปลี่ยนแนวบ้าง และอีกอย่างมันใกล้วันวิสาข์ด้วย ก็เป็นชาวพุทธอีกด้วย ก็เลยแต่งลองดู ..................ร้อยกรองคือร้อยกรอง ..................ไม่ใช่ร้อยแก้วมีสัมผัส เราก็คิดๆ นะว่าจะมีคนคิดอย่างนี้ เรายากให้มันอ่านง่ายอ่ะ แต่งแบบเรียบๆ ๆ เหมือนบทความมีสัมผัสเลยเน๊าะ .................................................................... พี่ก่องกิก............. ใช่แล้วครับ จะถึงวันวิสาข์แล้ว หลายวันก่อนมีโอกาสไปเดิน สนามหลวง เพราะที่สนามหลวงมีงาน ส่งเสริมสัปดาห์พระพุทธศาสนา มีหนังสือลดราคาเยอะ ก็เลยไปเดินดู .................................................................... พี่มอมแมม.............. ลาไปบวชเข้าพรรษาบ้ออ้ายยยย แล้วผู้อยู่นำสิหวงเขาบ่ สิบ่หาเลี้ยงเขาส่ำบ้ .................................................................... พี่เจน.................. ที่จริงไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือธรรมะนะ มันเข้าใจ แต่ชอบอ่านนวนิยาย แล้วบางบทมันมีศัพท์ทางพุทธศาสนา ซึ่งเราไม่รุ้จักเลยไปหาข้อมูล ก็เลยเข้าใจ รู้เพราะอ่านนวนิยาย อิอิ .................................................................... silver.................... ขอบคุณที่เข้ามนะครับ เห็นประจำเลย .................................................................... พี่เฌอ.................. ยิ้มแป้นเลยพี่เฌอ อิอิ เห็นไปถึงลิ้นไก่ เอ้ย ฟันใสเลย .................................................................... ดอกบัว.................. ไม่รู้กับเอกนะ แต่อัสสุไม่ได้กลับไปบวชอะไรที่ไหนหรอก อยู่ตามปกตินี่ล่ะ ใกล้วันวิสาข์เลยแต่งเข้ากับ บรรยาย เอ่อ อัสสุไปวัดพระแก้วล่ะ วันเสาร์ที่ผ่านมา คนเยอะมาก .................................................................... ขอบคุณครับ
29 พฤษภาคม 2550 17:25 น. - comment id 703202
แวะมา ให้อัสสุจ้า.....
30 พฤษภาคม 2550 08:11 น. - comment id 703388
พี่ก็คนนึงค่ะ...ที่ทิฐิแรงสลัดไม่ได้สักที...เฮ้อออ...
5 มิถุนายน 2550 01:28 น. - comment id 705477
สวัสดีจ๊ะ อัสสุ วันนี้ได้อ่านกลอนดี เปิดเทอมใหม่ ต้องเตรียมงานเยอะ ไม่มีเวลาแต่กลอนเลย แต่โชคดีที่มีคนแต่งกลอนดี ๆ ให้อ่านแทน แล้วสอบเสร็จรึยังจ๊ะ ผลสอบเยี่ยมเหมือนกลอนไหม