29 ธันวาคม 2550 17:50 น.
nidhi
ธนบัตรเที่ยวไทย(การเดินทางของคุณธนบัตร)
ภาค ๑ คุณธนบัตร ๕๐๐ บาท
บทนำ
ธนบัตรเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ถ้าเปรียบธนบัตรเป็นคน ธนบัตรก็มีทั้งผู้หญิงและผู้ชาย แต่คุณสมบัติจำเพาะก็คือ ธนบัตรเป็นเงิน ซึ่งหมายความว่าสามารถเอาไปใช้ชำระหนี้ตามกฎหมายได้ จึงไม่สำคัญว่าธนบัตรจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย ฉะนั้น ผู้เขียนจะขอเรียกธนบัตรเป็นกลางๆว่า คุณธนบัตร
คุณธนบัตรถือกำเนิดมาในโลกได้นานนับหลายศตวรรษแล้ว โดยเกิดมาไล่เลี่ยกับการที่คนโบราณคิดค้นวิธีทำกระดาษจากต้นปาปิรุสได้ ก่อนหน้าที่จะใช้กระดาษมาทำธนบัตร เงินตราที่ใช้แพร่หลายก็มักจะทำจากวัสดุธรรมชาติทั่วๆไป เช่น เปลือกหอยและโลหะต่างๆ การทำธนบัตรก็มีวิวัฒนาการมากมายแตกต่างกันไป คุณธนบัตรของเรามีกำเนิดในประเทศไทยเมื่อครั้งยังเป็นประเทศสยาม ต้นกำเนิดก็เกิดในดินแดนฝรั่งซึ่งเป็นผู้นำอารยธรรมในสมัยนั้น จนกระทั่งถึงยุคของธนบัตรไทยปัจจุบันก็ยังเพิ่งตั้งโรงพิมพ์ธนบัตรเองได้เมื่อไม่กี่สิบปีมานี้เอง เพราะก่อนหน้านี้ ประเทศไทยยังต้องจ้างบริษัทฝรั่งในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นผู้พิมพ์ธนบัตรให้ ซึ่งผู้เขียนจักไม่กล่าวรายละเอียดในที่นี้แต่ประการใด หากผู้อ่านท่านใดสนใจ ก็สามารถดูรายละเอียดจากธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ ซึ่งก็มีพิพิธภัณฑ์ธนบัตรไทยโดยเฉพาะสำหรับผู้สนใจอยู่แล้ว
คุณธนบัตรเป็นรุ่นหลานรุ่นเหลนของธนบัตรไทยในยุคแรกๆ ซึ่งปัจจุบันได้ล้มหายตายจากไปเกือบหมดแล้ว ยังคงหลงเหลืออยู่บ้างน้อยนิดที่อยู่ในมือนักสะสมทั้งชาวไทยและต่างชาติ กับหลงเหลืออยู่ตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆทั่วโลก คุณธนบัตรยุคล่าสุดในปัจจุบัน ไม่มีราคาต่ำกว่าฉบับละ ๑๐ บาท (สิบบาท) ต่างจากสมัยแรกๆซึ่งมีราคา ๑ บาทและ ต่ำกว่า ๑ บาทด้วย ปัจจุบันมีธนบัตรใช้แพร่หลายในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าเครื่องอุปโภคและบริโภค ในราคาฉบับละ ๑๐ บาท,๒๐ บาท,๕๐ บาท,๑๐๐ บาท,๕๐๐ บาท และ ๑,๐๐๐ บาท นอกเหนือจากราคาดังกล่าว ส่วนใหญ่จะเป็นธนบัตรที่จัดพิมพ์ขึ้นในโอกาสพิเศษต่างๆ โดยจะมีข้อความและรูปภาพแตกต่างกันไป แต่ที่ปรากฏเสมอก็คือข้อความว่า "ธนบัตรเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย" และที่เห็นเด่นชัดในธนบัตรรุ่นปัจจุบันก็คือ แถบสีเงินสะท้อนแสง ซึ่งพิมพ์พาดคาดอยู่ด้านซ้ายของธนบัตรด้านหน้าซึ่งมีไว้เพื่อป้องกันการปลอมแปลงธนบัตร แถบเงินดังกล่าวและภาพพระบรมฉายาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อนำไปส่องในแสงไฟจากหลอดไฟพิเศษก็จะปรากฏเห็นเด่นชัดเรืองรองแวววาวสวยงามจับตา
คุณธนบัตรตามเนื้อเรื่องของเราที่ผู้เขียนจะนำเสนอในตอนต่อไป เป็นธนบัตรราคาฉบับละ ๕๐๐ บาท(ห้าร้อยบาท) เพราะผู้เขียนต้องการจำกัดวงแพร่หลายการเดินทางของคุณธนบัตรให้แคบลงมาพอที่จะเกาะติดไปตามแต่ละสถานการณ์ได้ง่ายขึ้น
บทที่ ๑ กำเนิดคุณธนบัตร
ฉันรู้ตัวก็พบว่าตัวเองกำลังนอนอยู่ในห้องมั่นคงของธนาคารชาติ(ธนาคารแห่งประเทศไทย) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว รอบตัวฉันล้วนแล้วแต่เป็นธนบัตรฉบับราคา ๕๐๐ บาทเป็นกองพะเนิน นอกนั้นก็เป็นฉบับละ ๒๐ บาท,๕๐ บาท,๑๐๐ บาทและ ๑,๐๐๐ บาท เรียงรายเป็นกองสูงลดหลั่นกันไป แต่ไม่เห็นธนบัตร ๑๐ บาท เพราะเดี๋ยวนี้เขาเอาหรียญกษาปณ์ชนิดราคา ๑๐ บาทออกมาใช้แทนในตลาดได้ระยะหนึ่งแล้ว ฉะนั้นจึงไม่มีการพิมพ์ธนบัตรราคาฉบับละ ๑๐ บาทเพิ่มเติมสำหรับใช้หมุนเวียนในตลาดอีกต่อไป จุดหมายปลายทางของธนบัตรฉบับราคา ๑๐ บาท จึงขึ้นอยู่กับชะตากรรมของตัวเองว่าไปตกอยู่กับใคร ในลักษณะไหน กล่าวคือ
๑.อาจชำรุดฉีกขาดหรือถูกทำลายให้ได้รับความเสียหายจนไม่สามารถใช้การได้อีกต่อไป
เช่น ถูกไฟไหม้เป็นเถ้าถ่าน ถูกน้ำหรือความเปียกชิ้นหรือเชื้อราทำลายจนเปื่อยยุ่ยใช้การไม่ได้
๒.ชำรุดฉีกขาดในสภาพที่สามารถซ่อมแซมได้ จะได้รับการซ่อมแซมไว้ใช้งานต่อ
๓.ชำรุดฉีกขาดไม่สามารถซ่อมแซมให้ใช้การได้เช่นธนบัตรทั่วไป แต่ยังมีมูลค่าราคาธนบัตรคงเหลือเต็มราคาหรือครึ่งราคา ก็สามารถนำไปแลกธนบัตรฉบับใหม่ตามมูลค่าราคาที่คงเหลือได้จากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือคลังจังหวัด ซึ่งได้แก่การที่เขาเรียกกันว่าเก็บเข้าคลังนั่นแหละ
๔.นักสะสมหรือพิพิธภัณฑ์ต่างๆนำไปเก็บสะสมไว้
๕.คนที่ได้รับธนบัตรดังกล่าวไปไว้ในครอบครอง เก็บรักษาเอาไว้
๖.ธนบัตรสภาพเก่าจากการใช้งานจนชำรุดเปื่อยยุ่ยจะถูกเก็บเข้าคลังเพื่อรอการทำลายฯลฯ
ฉันเองก็เช่นเดียวกัน อาจตกไปอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ได้เสมอไม่วันใดก็วันหนึ่ง ซึ่งก็เป็นไปตามวิถีแห่งธรรมชาติของสรรพสิ่งทั้งหลายคือ มีเกิดก็มีดับ ฉันเองจึงต้องเตรียมตัวเตรียมใจไว้เสียแต่เนิ่นๆ ว่าอาจต้องเจอะต้องเจอทั้งคำพูดและการกระทำต่างๆนานา อาทิ อาจจะถูกเรียกว่า ไอ้ห้าร้อย..ละลาย อาจถูกหยิบไปลงเลขยันต์แล้วเอาไปตั้งไว้บนหิ้งบูชา อาจถูกเก็บใส่ถังฝังดินเก็บเอาไว้เป็นขุมทรัพย์ หรืออาจถูกฝังในถังส้วมพร้อมเจ้าของที่ถูกฆาตกรรม รวมทั้งอาจเป็นอีกหลายสิ่งหลายอย่าง เพราะอนิจจัง สังขารนั้นไม่เที่ยง แต่ที่ฉันฝันอยากจะเป็นในวาระสุดท้ายก็คือ อยากเป็นของชำร่วยที่ผลิตโดยธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเล็งเห็นว่าการทำลายธนบัตรชำรุดต่างๆด้วยวิธีเผาไฟตามวิธีการอย่างดั้งเดิมนั้น ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร จึงใช้วิธีย่อยสลายเป็นชิ้นเล็กๆแล้วบีบอัดเป็นก้อนวัสดุสำหรับนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกหลายอย่างในรูปแบบต่างๆกัน เช่น ทำเป็นที่ทับกระดาษ ทำเฟอร์นิเจอร์ตุ๊กตา เป็นต้น
นี่ก็เป็นความใฝ่ฝันอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นความฝันอันสูงสุดของฉันก็ว่าได้
บทที่ ๒ คุณธนบัตร ๕๐๐ บาท
ดังที่บอกแล้วว่าฉันเป็นธนบัตร ๕๐๐ บาท รูปลักษณะของฉันเป็นอย่างไรนั้น เชื่อว่าคนบางคนยังไม่เคยเห็น หรืออาจจะเคยเห็นมาบ้างแล้ว แต่ไม่เคยมีโอกาสได้ครอบครองเป็นเจ้าของฉันมาก่อนเลย นี่จะเป็นเพราะความยากจนด้อยโอกาสหรือเป็นเพราะเหตุใดนั้น ฉันไม่บังอาจขอวิจารณ์แต่อย่างใด กระนั้น
ก็ดี ฉันใคร่ขอถือโอกาสนี้บรรยายภาพลักษณ์ของฉันเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้รู้จักฉันได้ดีขึ้นดังต่อไปนี้
ด้านหน้าของฉันจะมีพระบรมฉายาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในชุดฉลองพระองค์เต็มยศ คอปกตั้งกลัดสัญลักษณ์พระคทาไขว้ สวมฉลองพระเนตร(แว่นตา)
พื้นธนบัตรเป็นสีออกม่วง ที่ชาวบ้านทั่วไปเขาเรียกธนบัตรชนิดราคานี้มาแต่ดั้งเดิมว่าแบงก์ม่วง และเนื่องจากธนบัตรสมัยก่อนจะมีรูปช้างเผือกสัญลักษณ์คู่เมืองไทยอยู่ด้วย เขาจึงมักจะเรียกกันอย่างรู้กันทั่วว่า ธนบัตรแต่ละฉบับ ก็คือ ๑ เชือก และกำหนดชนิดของธนบัตรตามสี เช่นธนบัตร ๕๐๐ บาท เรียก ช้างม่วง ธนบัตร ๑๐๐ บาท เรียกช้างแดง ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ ฉันจะเล่าให้ฟังในโอกาสต่อไป
มาว่าเรื่องรูปลักษณ์ของฉันที่ปรากฏในปัจจุบันต่อดีกว่า มุมซ้ายบนของฉันด้านหน้าธนบัตรจะเป็นตราครุฑขนาด ๑ ซม. มีแถบสีเงินแวววาวพิมพ์ตราสัญลักษณ์พระราชลัญจกร ภปร พิมพ์คาดทับปีกครุฑลงมาสุดด้านล่าง และมีตัวเลขไทย ๕๐๐ มุมบนด้านขวามือเป็นอักษรอาระบิก 500 พิมพ์หมึกเขียวด้วยวิธีการพิเศษ ซึ่งต้องใช้วิธีเอียงธนบัตรส่องดูจะเห็นเป็นสีเขียวและเมื่อเอียงออกไปอีกมุมหนึ่งจะเห็นเป็นสีม่วงเข้มเกือบดำสลับสีกัน นอกจากนี้ยังมีเทคนิคการพิมพ์เลขอาระบิก 500 ตัวจิ๋วจำนวนมากติดต่อกัน ลงบนตัวเลขไทย ๕๐๐ บนพื้นที่ช่องว่างของพื้นที่ตัวเลขแต่ละหลักไว้ด้วย ซึ่งต้องใช้วิธีส่องกล้องหรือใช้เลนส์ขยายดูจึงจะเห็นได้ชัด กับมีเลขหมวดอักษรไทยและตัวเลขไทยพิมพ์ไว้ที่มุมบนด้านซ้ายถัดจากเลขบอกชนิดราคาธนบัตร ส่วนมุมขวาด้านล่างเป็นเลขอาระบิกและอักษรอังกฤษระบุเลขและหมวดหมู่ธนบัตร กับสิ่งที่ขาดไม่ได้ คือคำว่า รัฐบาลไทย พร้อมลายเซ็นประจำตำแหน่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และคำว่า "ธนบัตรเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย" กับอักษรระบุราคา ห้าร้อยบาท แล้วยังรวมถึงตราพระราชลัญจกรประจำรัชกาล (ตราภปร ) ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงลวดลายรูปแบบอย่างอื่นของธนบัตรด้วย คิดแล้วก็น่าฉงนมากว่าเขาสามารถบรรจุรายละเอียดตั้งเยอะแยะเหล่านี้ลงไปบนกระดาษแผ่นเล็กๆอย่างธนบัตรได้อย่างไรถึงขนาดนี้
สำหรับด้านหลังธนบัตร นอกจากมีตัวเลขไทยและอาระบิกบ่งบอกชนิดราคาธนบัตรแล้ว ที่มองเห็นเด่นเป็นสง่าก็คือ ภาพพระบรมฉายาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่๓) ประทับนั่งบนพระเก้าอี้ พระหัตถ์ซ้ายกุมพระแสงดาบ ด้านซ้ายของพระบรมฉายาทิสลักษณ์เป็นรูปโลหะปราสาท ที่วัดราชนัดดาวรวิหารที่อยู่ตรงข้ามป้อมมหากาฬ ถนนราชดำเนิน (เดิมสถานที่บริเวณนี้เป็นที่ตั้งของโรงภาพยนตร์เฉลิมไทย แต่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างให้เห็นมองเด่นเป็นสง่าเวลาที่เรารับแขกบ้านต่างเมืองกัน ก็จะมีพิธีมอบกุญแจเมือง ก็บริเวณนี้แหละ เดี๋ยวนี้จุดตรงข้ามป้อมมหากาฬดังกล่าวซึ่งมองไปแล้วเห็นโลหะปราสาท วัดราชนัดดาฯที่ด้านหลังนี้เขาเรียกว่า ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์)
ส่วนด้านขวาตอนมุมบน เป็นตราครุฑ ถัดตรงลงมาเป็นรูปเรือสำเภาแล่นใบกลางคลื่นทะเลสวย กับถัดลงมาเป็นพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า พ.ศ๒๓๓๐-๒๓๙๔ ว่า
การงานสิ่งใดของเขาที่ดี
ควรจะเรียนร่ำเอาไว้ก็เอาอย่างเขา
แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว
เมื่อกล่าวถึงภาพรวมที่ปรากฏบนด้านหลังธนบัตร ๕๐๐ บาท จะเห็นได้ว่าเป็นการรำลึกถึงพระบารมีของรัชกาลที่ ๓ ซึ่งทรงโปรดเกล้าฯสนับสนุนการค้าต่างประเทศ ซึ่งสมัยนั้นใช้เรือสำเภาแต่งสินค้าออกไปค้าขาย ขากลับก็จะเอาเครื่องลายคราม อับเฉา ปูนปั้นต่างๆ และสินค้าเครื่องเทศ กับสินค้าเครื่องประดับจำพวกหินหยก ต่างๆเข้ามาเมืองไทยด้วย จึงนับเป็นพระราชกฤษฎานุภาพประการหนึ่งของในหลวงพระองค์นี้
สำหรับท่านที่ไม่เคยเห็นเรือสำเภาว่าหน้าตาเป็นอย่างไร ก็สามารถไปชมดูได้ที่วัดยานนาวา ที่เขตยานนาวา เพราะมีการจำลองเรือสำเภาสร้างเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดู
บรรดาที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดนี้ นับว่าน่าจะเป็นการบรรยายภาพลักษณ์ของฉันที่ปรากฏบนธนบัตร๕๐๐ บาทได้อย่างเพียงพอตามสมควรแล้ว หากจะพิศดูรายละเอียดเพิ่มเติมมากกว่านี้ก็คงจะต้องเอาธนบัตร๕๐๐ มาดูก็จะเห็นรายละเอียดพิสดารที่ยังมิได้กล่าวอีกมาก เมื่อทราบความเป็นมาของภาพสัญลักษณ์ต่างๆที่ปรากฏบนแผ่นธนบัตรแล้ว น่าภูมิใจที่เราเกิดมาเป็นคนไทยอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลมหาราช
บทที่ ๓ คุณธนบัตร ๕๐๐ บาท เริ่มเดินทาง
วันนี้เป็นวันแรกที่ฉันถูกปลุกให้ตื่นจากการหลับใหลอันยาวนานภายในห้องมั่นคงของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไปเบิกตัวฉันเพื่อส่งมอบให้พนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารแห่งนี้เป็นธนาคารเก่าแก่อันดับหนึ่งของเมืองไทย เดิมมีชื่อว่า แบงก์สยามกัมมาจลน์ ความจริงแล้วธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ก็คือ ธุรกิจในอันที่จะมุ่งแสวงหาผลกำไรให้องค์กรของตน เหมือนกับบริษัทที่ประกอบกิจการค้าโดยทั่วไปนั่นเอง เพียงแต่มีกฎหมายรับรองให้สามารถใช้ชื่อประกอบการค้าได้โดยไม่จำเป็นต้องระบุคำว่า บริษัท ไว้หน้าชื่อกิจการของตน ฉะนั้น ไม่ใช่สิ่งน่าแปลกใจอย่างใดเลย เมื่ออยู่มาวันหนึ่งในอดีตที่เพิ่งผ่านพ้น ธนาคารหลายแห่งของเมืองไทยต้องประสบกับภาวะขาดทุนจนต้องปิดกิจการไปในที่สุด และในทุกวันนี้ก็ปรากฏว่ามีธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆทั้งของไทยเองและต่างชาติ ผุดขึ้นมาใหม่ราวกับดอกเห็ด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอุปนิสัยของคนเมืองกรุงที่นิยมของแปลกใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคสมัยของการต่อสู้แย่งชิงผลประโยชน์ในรูปเงินพลาสติกหรือเงินตราอิเล็กทรอนิกส์ ที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากในสังคมไทยยุคที่เรียกกันว่า โลกาภิวัตน์ เพราะถ้าจะมองกันให้ละเอียดแล้ว ก็คงจะสามารถจำแนกบุคคลเหล่านี้ได้เป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ได้ประโยชน์ และกลุ่มผู้สูญเสียผลประโยชน์ รวมถึงกลุ่มผลประโยชน์อื่นที่มีอยู่ดาดดื่นในเมืองไทยด้วย แต่นี่ก็ไม่ใช่กิจธุระของฉันที่จะบังอาจเข้าไปยุ่งเกี่ยววิพากษ์วิจารณ์ด้วย ภารกิจเฉพาะหน้าที่สำคัญอย่างแรกและเป็นอย่างเดียวกับเหตุผลที่คนเขาสร้างฉันขึ้นมา ก็คือ เพื่อให้เป็นเงินตราซึ่งสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย หน้าที่ของฉันตอนนี้ก็คือ ติดตามไปกับพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์เพื่อปฏิบัติภารกิจของฉันให้ได้รับประโยชน์สูงสุด ฉันจึงติดตามไปในรถขนเงินของธนาคารดังกล่าว ซึ่งได้นำฉันไปยังสำนักงานใหญ่ของธนาคารที่ตั้งอยู่ที่เอส.ซี.บี.ปาร์ค สี่แยกรัชวิภา ถนนวิภาวดีรังสิต คราวนี้ฉันจะได้ออกไปปฏิบัติงานภาคสนามจริงๆกับเขาเสียที
คืนแรกฉันนอนค้างในห้องมหาสมบัติของธนาคาร เพื่อรอให้พนักงานของธนาคารเบิกไปปฏิบัติภารกิจด้านการเงินอันเป็นความสามารถเฉพาะทางที่วิเศษสุดเพียงอย่างเดียวของฉัน คืนนั้นฉันรู้สึกกระสับกระส่ายกระวนกระวายอยากรู้จนแทบจะนอนไม่หลับว่า พรุ่งนี้หรือเปล่าหนอที่เขาจะให้ฉันออกไปทำงาน ฉันจะได้ไปกับใคร เมื่อไหร่ ที่ไหน ภารกิจของฉันจะสำเร็จไหม จะพบอุปสรรคอย่างใดหรือไม่ การปฏิบัติภารกิจการงานของฉันจะทำให้ใครเดือดร้อนหรือเปล่า จะนำมาซึ่งความยินดีปลาบปลื้มในความสำเร็จสมหวัง หรือนำมาซึ่งความเศร้าโศกเสียใจจากการพลัดพรากสูญเสียหรือไม่ ฉันจะเป็นเครื่องมือของคนดีหรือคนชั่วหรือเปล่า เหล่านี้ทั้งหลายฉันก็ได้แต่คิดและเป็นห่วงวิตกกังวลไปต่างๆนานา แต่เมื่อถึงเวลานั้นเข้าจริงๆแล้ว ฉันคงไม่อาจปฏิเสธภารกิจเหล่านั้นได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีงามหรือเรื่องเลวร้ายชั่วช้าก็ตาม เพราะฉันถูกสร้างขึ้นมาให้ทำหน้าที่นี้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีสิทธิปฏิเสธ ยินดีหรือไม่ยินดีที่จะกระทำภารกิจ ฉันไม่มีทางเลือกจริงๆ
บทที่ ๔ ถูกส่งไปอยู่ในตู้เอทีเอ็ม
สายวันนี้พนักงานธนาคารไทยพาณิชย์สำนักงานใหญ่ ได้มาขอเบิกธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐ บาท ๕๐๐ บาท และ ๑,๐๐๐ บาท เพื่อไปเติมเงินตามตู้เอททีเอ็มที่ส่งสัญญาณแจ้งให้ทราบว่าเงินที่บรรจุไว้ในกล่องเหล็กภายในตู้มีไม่เพียงพอให้เบิกหรือร่อยหรอลงไปมากแล้ว พนักงานผู้ที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบจึงต้องรีบดำเนินการขอเบิกกล่องที่บรรจุเงินธนบัตรทั้ง ๓ ชนิดราคานี้ไปบรรจุไว้ตามตู้เอทีเอ็มดังกล่าวต่อไป
ตู้เอทีเอ็มที่ว่านี้บางคนอาจสงสัยว่ามันคืออะไร เพราะบางคนเดินผ่านมันทุกวันแต่ไม่รู้ไม่สนใจว่ามันคืออะไร มีเอาไว้ทำไม บางคนอาจจะทราบว่ามันคืออะไร แต่ใช้ไม่เป็น ไม่เคยใช้ ไม่รู้จักวิธีใช้ รวมถึงคนบางคนยังกลัวไม่กล้าใช้ก็ยังมี
ตู้เอทีเอ็มก็คือตู้บรรจุเงินสำหรับให้ลูกค้าธนาคารที่มีบัญชีเงินฝากหรือมีสัญญากู้ยืมเงินผ่านบัตรเครดิตสามารถถอนเงินตามวงเงินที่ได้รับอนุญาตผ่านระบบคอมพิวเตอร์และเครื่องมือสื่อสารได้ด้วยตนเองตลอดระยะเวลาที่กำหนดกันไว้จากตู้เบิกถอนเงินอัตโนมัติได้โดยไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่ธนาคารไปดูแลควบคุมและให้บริการดังกล่าว
เอทีเอ็ม เป็นคำย่อมาจากภาษาอังกฤษว่า Automatic Teller Machine หมายถึงเครื่องเบิกถอนหรือฝากเงินอัตโนมัติ หรือหากจะแปลตรงๆก็หมายถึงเครื่องมือที่เอาไว้ใช้บอกสั่งให้ทำการตามที่ต้องการ เหมือนกับการที่เราไปดำเนินการด้วยตนเองในธนาคาร เช่นการเบิกถอนหรือฝากเงิน โอนเงิน ชำระค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น
สำหรับธนบัตรที่บรรจุไว้ในตู้เอทีเอ็ม จะมีเพียง ๓ ชนิดราคาเท่านั้น คือชนิดราคา ๑๐๐ บาท ๕๐๐ บาท และ ๑,๐๐๐ บาท ไม่มีธนบัตรชนิดราคาอื่น และไม่มีเหรียญกษาปณ์ทุกชนิดราคา เพราะปัญหาเกี่ยวกับการทำกล่องภาฃนะบรรจุ และปัญหาทางด้านเทคนิคบางประการ
โดยปกติ การถอนเงินหรือฝากเงินผ่านตู้เอทีเอ็มจึงระบุขั้นต่ำไว้ว่าต้องไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ บาท และต้องไม่มีเศษต่ำกว่า ๑๐๐ บาท ส่วนการโอนเงินระหว่างบัญชีหรือการชำระค่า
สาธารณูปโภคด้วยวิธีตัดเงินจากบัญชีนั้นสามารถกระทำได้แม้เป็นเศษสตางค์
ตู้เอทีเอ็มที่เจ้าหน้าที่ธนาคารพาฉันไปบรรจุอยู่ที่ด้านหน้าศูนย์การค้าห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่างามวงศ์วาน ซึ่งมีธนาคารไทยพาณิชย์สาขาย่อยตั้งอยู่บนชั้น ๒ ของอาคารดังกล่าวด้วย
หากท่านผู้อ่านสังเกตดู จะพบว่าปัจจุบันธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆมักจะไปเปิดดำเนินการให้บริการอยู่ภายในห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้าใหญ่ๆกันทั้งนั้น
โดยที่สามารถเปิดทำการตามวันเวลาที่ห้างเปิดทำการ ต่างจากธนาคารรูปแบบเดิมๆซึ่งเปิดทำการเฉพาะในระหว่างวันจันทร์ถึงวันศุกร์เหมือนสถานที่ราชการและปิดทำการในวันเสาร์อาทิตย์กับวันหยุดนักขัตฤกษ์ แต่ธนาคารแบบใหม่นี้มิได้เป็นเช่นแต่ก่อนอีกแล้ว เพราะภาวะการแข่งขันด้านธุรกิจการค้าบีบรัดให้ต้องปรับปรุงบริการเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจแต่ละอย่าง สำหรับที่อยู่ใหม่ของฉันที่ห้างพันธุ์ทิพย์ พลาซ่างามวงศ์วาน นั้น เดิมเป็นที่ตั้งของห้างบางลำภูสรรพสินค้า สาขางามวงศ์วาน แต่ได้ขายกิจการให้ห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่า ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ย่านถนนเพชรบุรี ประตูน้ำ ที่รู้จักกันในฐานะแหล่งรวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองไทย
เมื่อห้างพันธุ์ทิพย์ซื้อกิจการมาได้แล้ว ก็ปรับปรุงก่อสร้างเพิ่มเติมใหม่เพื่อแข่งขันกับห้างสรรพสินค้าที่มีอยู่เดิม เช่น ห้างเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ห้างเทสโก้โลตัส เป็นต้น
นอกจากนี้ยังปรากฏด้วยว่าบริเวณที่ฉันไปอยู่นั้น ตั้งอยู่ใกล้ทางด่วนพิเศษ ช่องทางลงงามวงศ์วาน อยู่ใกล้ซอยวัดบัวขวัญ อยู่ในละแวกใกล้เคียงกระทรวงสาธารณสุขและศาลากลางจังหวัดนนทบุรี ส่วนอีกด้านหนึ่งก็อยู่ใกล้เคียงสถานศึกษาของเอกชนและของรัฐหลายแห่ง
ใกล้เคียงห้างพันธุ์ทิพย์ สาขางามวงศ์วาน เป็นที่ตั้งของสถานศึกษาเอกชนในอดีตคือ โรงเรียนกรุงเทพเทคนิคนนท์ ซึ่งบัดนี้ได้ขายกิจการให้กลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ ภายใต้ชื่อบริษัทศึกษาภิวัฒน์ซึ่งดำเนินธุรกิจระบบทวิภาคี ตั้งโรงเรียนขึ้นใหม่ชื่อว่า โรงเรียนปัญญาภิวัฒน์ เทคโนธุรกิจ โดยมีสถานปฏิบัติงานรองรับคือ ร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น
นี่จึงนับเป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างมาก สมกับคำที่ว่า "สรรพสิ่งล้วนเปลี่ยนแปลง"
สำหรับคืนวันนี้ ฉันคงนอนไม่หลับ หรืออาจจะหลับๆตื่นๆ เพราะตู้เอทีเอ็มที่ฉันมาอยู่ตั้งอยู่ด้านหน้าของห้างสรรพสินค้าและอยู่ติดกับที่หยุดรถโดยสารประจำทางด้วย
จึงเป็นสถานที่ซึ่งผู้คนพลุกพล่านตลอดทั้งวันทั้งคืน
บทที่ ๕ ธนาคารไทยพาณิชย์
สายวันนี้พนักงานธนาคารไทยพาณิชย์สำนักงานใหญ่ ได้มาขอเบิกธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐ บาท ๕๐๐ บาท และ ๑,๐๐๐ บาท เพื่อไปเติมเงินตามตู้เอททีเอ็มที่ส่งสัญญาณแจ้งให้ทราบว่าเงินที่บรรจุไว้ในกล่องเหล็กภายในตู้มีไม่เพียงพอให้เบิกหรือร่อยหรองลงไปมากแล้ว
พนักงานผู้ที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบจึงต้องรีบดำเนินการขอเบิกกล่องที่บรรจุเงินธนบัตรทั้ง ๓ ชนิดราคานี้ไปบรรจุไว้ตามตู้เอทีเอ็มดังกล่าวต่อไป
ตู้เอทีเอ็มที่ว่านี้บางคนอาจสงสัยว่ามันคืออะไร เพราะบางคนเดินผ่านมันทุกวันแต่ไม่รู้ไม่สนใจว่ามันคืออะไร มีเอาไว้ทำไม บางคนอาจจะทราบว่ามันคืออะไร แต่ใช้ไม่เป็น ไม่เคยใช้ ไม่รู้จักวิธีใช้ รวมถึงคนบางคนยังกลัวไม่กล้าใช้ก็ยังมี
ตู้เอทีเอ็มก็คือตู้บรรจุเงินสำหรับให้ลูกค้าธนาคารที่มีบัญชีเงินฝากหรือมีสัญญากู้ยืมเงินผ่านบัตรเครดิตสามารถถอนเงินตามวงเงินที่ได้รับอนุญาตผ่านระบบคอมพิวเตอร์และเครื่องมือสื่อสารได้ด้วยตนเองตลอดระยะเวลาที่กำหนดกันไว้จากตู้เบิกถอนเงินอัตโนมัติได้โดยไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่ธนาคารไปดูแลควบคุมและให้บริการดังกล่าว
เอทีเอ็ม เป็นคำย่อมาจากภาษาอังกฤษว่า Automatic Teller Machine หมายถึงเครื่องเบิกถอนหรือฝากเงินอัตโนมัติ หรือหากจะแปลตรงๆก็หมายถึงเครื่องมือที่เอาไว้ใช้บอกสั่งให้ทำการตามที่ต้องการ เหมือนกับการที่เราไปดำเนินการด้วยตนเองในธนาคาร เช่นการเบิกถอนหรือฝากเงิน โอนเงิน ชำระค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น
สำหรับธนบัตรที่บรรจุไว้ในตู้เอทีเอ็ม จะมีเพียง ๓ ชนิดราคาเท่านั้น คือชนิดราคา ๑๐๐ บาท ๕๐๐ บาท และ ๑,๐๐๐ บาท ไม่มีธนบัตรชนิดราคาอื่น และไม่มีเหรียญกษาปณ์ทุกชนิดราคา เพราะปัญหาเกี่ยวกับการทำกล่องภาฃนะบรรจุ และปัญหาทางด้านเทคนิคบางประการ
โดยปกติ การถอนเงินหรือฝากเงินผ่านตู้เอทีเอ็มจึงระบุขั้นต่ำไว้ว่าต้องไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ บาท และต้องไม่มีเศษต่ำกว่า ๑๐๐ บาท ส่วนการโอนเงินระหว่างบัญชีหรือการชำระค่าสาธารูปโภคด้วยวิธีตัดเงินจากบัญชีนั้นสามารถระบุได้แม้เป็นเศษสตางค์
ตู้เอทีเอ็มที่เจ้าหน้าที่ธนาคารพาฉันไปบรรจุอยู่ที่ด้านหน้าศูนย์การค้าห้างพันธุ์ทิพย์ สาขางามวงศ์วาน ซึ่งมีธนาคารไทยพาณิชย์สาขาย่อยตั้งอยู่บนชั้น ๒ ของอาคารดังกล่าวด้วย
หากท่านผู้อ่านสังเกตดู จะพบว่าปัจจุบันธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆมักจะไปเปิดดำเนินการให้บริการอยู่ภายในห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้าใหญ่ๆกันทั้งนั้น
โดยที่สามารถเปิดทำการตามวันเวลาที่ห้างเปิดทำการ ต่างจากธนาคารรูปแบบเดิมๆซึ่งเปิดทำการเฉพาะในระหว่างวันจันทร์ถึงวันศุกร์เหมือนสถานที่ราชการและปิดทำการในวันเสาร์อาทิตย์กับวันหยุดนักขัตฤกษ์
แต่ธนาคารแบบใหม่นี้มิได้เป็นเช่นแต่ก่อนอีกแล้ว เพราะภาวะการแข่งขันด้านธุรกิจการค้าบีบรัดให้ต้องปรับปรุงบริการเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจแต่ละอย่าง
สำหรับที่อยู่ใหม่ของฉันที่ห้างพันธุ์ทิพย์ สาขางามวงศ์วาน นั้น เดิมเป็นที่ตั้งของห้างบางลำภูสรรพสินค้า สาขางามวงศ์วาน แต่ได้ขายกิจการให้ห้างพันธุ์ทิพย์ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ย่านถนนเพชรบุรี ประตูน้ำ ที่รู้จักกันในฐานะแหล่งรวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองไทย
เมื่อห้างพันธุ์ทิพย์ซื้อกิจการมาได้แล้ว ก็ปรับปรุงก่อสร้างเพิ่มเติมใหม่เพื่อแข่งขันกับห้างสรรพสินค้าที่มีอยู่เดิม เช่น ห้างเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ห้างเทสโก้โลตัส เป็นต้น
นอกจากนี้ยังปรากฏด้วยว่าบริเวณที่ฉันไปอยู่นั้น ตั้งอยู่ใกล้ทางด่วนพิเศษ ช่องทางลงงามวงศ์วาน อยู่ใกล้ซอยวัดบัวขวัญ อยู่ในละแวกใกล้เคียงกระทรวงสาธารณสุขและศาลากลางจังหวัดนนทบุรี
ส่วนอีกด้านหนึ่งก็อยู่ใกล้เคียงสถานศึกษาของเอกชนและของรัฐหลายแห่ง
ใกล้เคียงห้างพันธุ์ทิพย์ สาขางามวงศ์วาน เป็นที่ตั้งของสถานศึกษาเอกชนในอดีตคือ โรงเรียนกรุงเทพเทคนิคนนท์ ซึ่งบัดนี้ได้ขายกิจการให้กลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ ภายใต้ชื่อบริษัทศึกษาภิวัฒน์ซึ่งดำเนินธุรกิจระบบทวิภาคี ตั้งโรงเรียนขึ้นใหม่ชื่อว่า โรงเรียนปัญญาภิวัฒน์ เทคโนธุรกิจ โดยมีสถานปฏิบัติงานรองรับคือ ร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น
นี่จึงนับเป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างมาก สมกับคำที่ว่า "สรรพสิ่งล้วนเปลี่ยนแปลง"
สำหรับคืนวันนี้ ฉันคงนอนไม่หลับ หรืออาจจะหลับๆตื่นๆ เพราะตู้เอทีเอ็มที่ฉันมาอยู่ตั้งอยู่ด้านหน้าของห้างสรรพสินค้าและอยู่ติดกับที่หยุดรถโดยสารประจำทางด้วย
จึงเป็นสถานที่ซึ่งผู้คนพลุกพล่านตลอดทั้งวันทั้งคืน
ใกล้จะค่ำแล้ว จากจุดที่ฉันอยู่ฉันมองเห็นผู้คนเดินกันพลุกพล่านตั้งแต่เช้าทั้งหญิงชายและเด็กหนุ่มสาว
นักเรียนนักศึกษารวมถึงคนที่ประกอบอาชีพการงานต่างๆ ธรรมดาที่ฉันจะได้เจอะเจอก็คงเพียงการปฏิบัติภารกิจประจำวันทั่วไป คือพวกที่ผ่านมาหรือแวะมาใช้บริการที่ห้างพันธุ์ทิพย์งามวงศ์วานก็คงจะได้แก่บรรดาพวกผู้คน
ที่แวะมาซื้อสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภค แวะรับประทานอาหารหรือนัดพบ เพราะศูนย์การค้าทั้งหลายมักจะเป็นที่รวมของร้านค้า ธนาคาร ศูนย์อาหาร ร้านขายของเบ็ดเตล็ด เพื่อเป็นการประหยัดเวลาตามหลักของ one stop service นั่นเอง แต่วันนี้ที่ดูว่าคนพลุกพล่านมากผิดปกติก็เพราะเป็นวันที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัยกรณียุบพรรค
ตั้งแต่ตอนสายประมาณ ๐๙.๑๕ นาฬิกา ฉันได้ยินการอ่านคำวินิจฉัยกรณีของพรรคประชาธืปัตย์ซึ่งใช้เวลา ๔ ชั่วโมงเศษในการอ่านคำวินิจฉัย ผลคือยกคำร้องขอให้ยุบพรรคดังกล่าวเพราะยังรับฟังข้อเท็จจริงได้ไม่เพียงพอที่จะเชื่อว่าพรรคได้กระทำความผิดตามที่ถูกร้อง
ต่อมาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็ได้อ่านคำวินิจฉัยกรณีของพรรคไทยรักไทย ซึ่งกว่าจะอ่านคำวินิจฉัยจบลงก็เป็นเวลาประมาณ ๒๓ นาฬิกาเศษ ซึ่งเป็นเวลาที่ห้างปิดทำการไปแล้ว
ถึงกระนั้นฉันก็ไม่ได้รับการกระทบกระเทือนจากการปิดทำการของห้างแต่อย่างใด เพราะฉันถูกนำไปบรรจุไว้อยู่ในตู้เอทีเอ็มที่ด้านหน้าห้างซึ่งอยู่ติดด้านหลังป้ายหยุดรถโดยสารประจำทาง
ฉะนั้นผู้คนจึงเดินผ่านไปมาพลุกพล่านตลอดทั้งกลางวันและกลางคืนรวมถึงผู้ที่เจาะจงมาใช้บริการเบิกถอนเงินตามตู้เอทีเอ็มที่มีอยู่เรียงรายนับสิบตู้
และแล้วเวลาที่อ่านคำวินิจฉัยเสร็จก็มาถึง ตุลาการวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย และตัดสิทธิทางการเมืองของกรรมการผู้บริหารพรรคจำนวน ๑๑๑ คนเป็นเวลา ๕ ปี รวมทั้งพรรคเล็กอีก ๒ พรรคที่เกี่ยวข้อง ฉะนั้นการวินิจฉัยวันนี้จึงเป็นผลให้มีการยุบพรรคจำนวน ๔ พรรคด้วยกัน ซึ่งถือเป็นคดีประวัติศาสตร์
ผลการยุบพรรคก่อให้เกิดปัญหาโต้แย้งว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ถูกยุบด้วย กับวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่น่าจะมีผลย้อนหลังไปใช้บังคับ
บรรดาข้อโต้แย้งคัดค้านเหล่านี้ฉันได้แต่รับฟัง เพราะเป็นความเห็นในทางกฎหมาย ซึ่งมีได้หลายความเห็น แต่หลักการที่ฉันเคยได้ยินมาก็คือ ความยุติธรรมได้แก่ความเป็นธรรมอันยุติแล้วในแต่ละเรื่องแต่ละคดี ซึ่งขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานต่างๆตลอดจนข้อเท็จจริงที่ได้รับและวินิจฉัยในแต่ละเรื่องว่าควรจะเป็นอย่างไร
ผลของคดีที่เกิดขึ้นจึงมีทั้งสองด้านเสมอ คือที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่หลักการเฃ่นนี้เป็นหลักการที่อารยชนยอมรับกันทั่วโลกแล้วว่าน่าจะเป็นวิธีที่เหมาะสมแก่ยุคสมัยและเหตุการณ์ของสังคมแต่ละแห่งแล้ว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกก็ได้มีพระราชดำรัสในเรื่องดังกล่าวไว้ตอนที่ตุลาการศาลปกครองเข้าเฝ้า
จึงนับว่าน่าจะเป็นวิธีการที่สังคมต้องยอมรับ เพราะเรามีสิทธิไม่เห็นด้วย แต่ขอให้ไม่เห็นด้วยในใจ การแสดงออกที่ปรากฎย่อมเป็นสิทธิของคนเราที่จะวิพากษ์วิจารณ์ แต่ด้องตั้งอยู่บนฐานแห่งเหตุผลเพียงพอด้วย บ้านเมืองจึงจะไม่วุ่นวายไร้ระเบียบ
บทที่ ๖ ห้างพันธุ์ทิพย์พลาซางามวงศ์วาน
การดำรงอยู่ของฉันที่ห้างพันธุ์ทิพย์คงต้องจบลงในวันนี้แล้ว เพราะมีวัยรุ่นผู้หญิงคนหนึ่งมาเบิกเงินที่ตู้เอทืเอ็ม เธอคนนี้หน้าตาอิดโรยเหมือนนอนไม่เต็มอิ่ม เบ้าตาลึกดูหมองคล้ำ รูปร่างผอมเกร็ง ใส่เสื้อสายเดี่ยวสวมกางเกงขาสั้นรัดรูป ผมกระเซิงเหมือนเพิ่งตื่นนอน เธอมาพร้อมวัยรุ่นชายอีกคนหนึ่งซึ่งเดินโอบกอดเธอมาตลอดทางอย่างเปิดเผยแสดงออกถึงความเป็นเจ้าของเธออย่างเต็มที่
ฉันมารู้ทีหลังว่าเขาเป็นคู่รักกัน พ่อแม่อยู่ต่างจังหวัดทั้งคู่ ฝ่ายหญิงมาอยู่กับฝ่ายชายที่หอพักแห่งหนึ่งในละแวกนั้น
วันนี้ที่มาเบิกเงินก็เพราะเพิ่งได้รับเงินจากทางบ้าน จึงต้องรีบมาเบิกเพื่อเอาไปชำระหน้ค่าของกินของใช้ต่างๆที่หอพักซึ่งค้างชำระเอาไว้ กับเก็บไว้ใช้จ่ายอีกส่วนหนึ่งด้วย มิฉะนั้น ต่อไปจะติดค้างชำระไว้ก่อนไม่ได้อีก
ชีวิตของวัยรุ่นที่เข้ามาอยู่ในเมืองหลวงมักจะอยู่ในสภาพชักหน้าไม่ค่อยจะถึงหลังบ่อยๆอย่างนี้แหละ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าไม่รู้จักควบคุมดูแลเรื่องการใช้จ่ายให้ดีๆแล้วละก็ มักจะประสบปัญหาเงินไม่พอใช้หรือเงินขาดมืออยู่บ่อยๆ ยิ่งอยู่ในวัยที่คบเพื่อนต่างเพศหรือคบเพื่อนที่ชอบเที่ยวรักสนุกด้วยแล้ว ค่าใช้จ่ายต่างๆก็ย่อมต้องสูงกว่าปกติอย่างมาก
วัยรุ่นสมัยนี้กับสมัยก่อนไม่ค่อยจะแตกต่างกันเลย คือเป็นวัยที่มักจะใจร้อน ทำอะไรประเภทหุนหันพลันแล่น ใจเร็วด่วนได้ ไม่ค่อยจะคิดอะไรให้รอบคอบก่อนที่จะลงมือทำงานทำการอะไรสักอย่าง แต่วัยรุ่นก็เป็นวัยสดใสน่าอิจฉาสำหรับผู้ที่พ้นวัยดังกล่าวมาแล้ว ถ้าย้อนเวลาได้ก็คงต้องมีคนอยากย้อนกลับไปเป็นวัยรุ่นอีกอย่างแน่นอน วัยรุ่นได้เปรียบตรงที่ว่าอยู่ในวัยที่ร่างกายแข็งแรงกระฉับกระเฉงทำอะไรได้อย่างไม่รู้เหนื่อย แต่วัยชราก็ยังเป็นผู้มีประสบการณ์สูง ทำการสิ่งใดก็รอบคอบกว่า เหมือนที่ว่าขิงแก่ย่อมเผ็ดกว่า
ชีวิตการเดินทางของฉันในวันนี้จึงต้องระเห็จจากตู้เอทีเอ็มไปอยู่ในลิ้นฃักเก็บเงินของร้านค้าในหอพัก ซึ่งเจ้าของก็เป็นคนเดียวกันกับเจ้าของหอพักแห่งนี้นั่นเอง คื คุณลิ้นจี่ หรือที่เขาเรียกกันว่าป้าอ้วน เพราะความที่แกมีรูปร่างอ้วนท้วนสมบูรณ์นั่นเอง ป้าอ้วนปากร้ายแต่ใจดี ค่อนข้างอารีอารอบ เป็นคนมัธยัสถ์อดออแต่ก็ไม่ตระหนี่ถี่เหนียวแต่อย่างใด คำที่มักจะเขียนตัวโตๆติดไว้ว่า " จ่ายสด งดเชื่อ เบื่อทวง" จึงไม่มีปรากฏในร้านค้าของป้าอ้วน ตรงกันข้าม ป้าอ้วนเป็นนักการค้าผู้ชาญฉลาด ยอมให้ลูกหอผัดผ่อนชำระเงินค่าเช่าและค่าซื้อสินค้นต่างๆในร้านค้าประจำหอพักอย่างไม่เกรงกลังว่าจะถูกโกงแต่อย่างใด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะแกมีบารมีประจำตัวพอสมควร และเป็นคนที่มีอัธยาศัยไมตรีอย่างดีเลิศนั่นเอง จึงไม่เคยปรากฏว่าแกเคยถูกชักดาบมาก่อนเลย
ป้าอ้วนมีลูกฃายคนเดียว เป็นหมอชนบทประจำอยู่โรงพยาบาลสิบเตียง(โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฯ)ที่อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น ฐานะการเงินของแกก็อยู่ในฐานะมีอันจะกิน ไม่ใช่แค่พอมีพอกิน ถือเป็นพวกมั่งมี ไม่ใช่มีมั่ง อดมั่งอย่างบางคน
แต่ป้าอ้วนก็เข้าใจหัวอกคนทั่วไปเป็นอย่างดีโดยเฉพาะลูกหอทั้งหลายของแก
เพราะป้าอ้วนเป็นถึงลูกสาวคนเดียวของเจ้าของโรงสีข้าวขนาดใหญ่สมัยก่อนที่สองคลอง จังหวัดฉะเชิงเทรา แต่งงานอยู่กินกับกรรมกรโรงสี พ่อของหมอชนบท ซึ่งเสียชีวิตไปก่อนหน้านี้หลายปีแล้ว อาศัยว่าสามีป้าอ้วนเป็นคนขยันขันแข็ง ทำงานชนิดหนักก็เอา เบาก็สู้ ฉะนั้นชั่วระยะเวลาไม่กี่ปีที่อยู่ด้วยกัน แกจึงสามารถเปิดร้านขายของเบ็ดเตล็ดต่างๆ แล้วจึงได้ย้ายรกรากมาปักหลักฐานทำมาหากินในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้เงินที่เก็บหอมรอมริบมาสร้างหอพักและร้านค้าแห่งนี้ไว้เก็บกินแบบน้ำซึมบ่อทราย ไม่ร่ำรวยทันทีทันใด แต่ก็มีใช้จ่ายไม่เดือดร้อน จนเดี๋ยวนี้แกก็เลยเหมือนคนประเภทผ้าขี้ริ้วห่อทอง ฉันคงต้องศึกษาเอาไว้แล้วละ.
ธนบัตรเที่ยวไทย(การเดินทางของคุณธนบัตร) บทที่ ๗ nidhi
ฉันเป็นชาวหออยู่กับป้าอ้วนได้เพียงวันเดียว ก็มีอันต้องระเห็จไปอยู่ในกระเป๋าคุณหมอชนบทลูกชายป้าอ้วนซึ่งกลับบ้านมาเยี่ยมแม่ตามกิจวัตรที่เคยทำเดือนละครั้ง
คราวนี้คุณหมอชนบทพกเงินที่ป้าอ้วนยัดเยียดให้ลูกชายนำกลับไปใช้จ่ายที่ต่างจังหวัด เพราะถึงแม้คุณหมอชนบทจะเป็นแพทย์ในโรงพยาบาล แต่ก็เป็นเพียงโรงพยาบาลขนาดเล็กของทางราฃการ จึงได้รับเงินเดือนเพียงเล็กน้อย ไม่อาจเทียบรายได้กับแพทย์ตามโรงพยาบาลเอกชนได้ และถึงแม้ตุณหมอชนบทจะเปิดคลินิกด้วย รายได้ก็ยังไม่มีมากมายอะไรนัก เพราะประชาชนตามชนบทยังยากไร้อยู่อีกมาก การหวังร่ำรวยจากการทำงานโรงพยาบาลและคลินิกที่ตั้งอยู่ในชนบทจึงเป็นเรื่องหวังไม่ได้และไม่ควรหวัง
คุณหมอชนบทเป็นคนรูปร่างสันทัด ผิวคล้ำสองสี ใส่แว่นตากรอบทอง ท่าทางใจดี เปี่ยมอัธยาศัยอย่างเดียวกับป้าอ้วนผู้เป็นแม่
วันที่คุณหมอชนบทเดินทางกลับไปปฏิบัติราชการ คุณหมอนั่งรถบขส.ปรับอากาศเดินทางกลับจังหวัดขอนแก่น เพราะสะดวกสบายปลอดภัยกว่าการขับรถเอง ทั้งนี้รถยนต์ที่คุณหมอชนบทใช้อยู่เป็นเพียงรถยนต์กลางเก่ากลางใหม่ขนาดเล็กไม่เหมาะสำหรับเดินทางไกลหรือข้ามจังหวัด
เมื่อกลับถึงบ้านบ้านพักในบริเวณโรงพยาบาล คุณหมอชนบทก็อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้าเข้านอนพักผ่อนก่อนจะไปทำงานตามภารกิจปกติประจำวัน โดยตื่นนอนตั้งแต่เวลาประมาณ ๐๔.๓๐ นาฬิกา ออกกำลังกายด้วยการเดินแกมวิ่งรอบโรงพยาบาล บางวันก็วิ่งไปที่ตลาดเช้าเพื่อซื้อปาท่องโก็กับกาแฟด้วย เสร็จแล้วจึงกลับมาเปลี่ยนเครื่องแต่งกายเตรียมตัวไปเดินตรวจเยี่ยมไข้หรือคนไข้ อย่างที่หมอเรียกกันว่า ไปราวน์คนไข ประมาณ ๓๐ นาที แล้วจึงกลับไปปฏิบัติภารกิจประจำวันในการตรวจรักษาคนไข้ทั่วไปที่มาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล
คนไช้ที่มาขอรับการรักษาส่วนใหญ่จะเป็นคนไข้แผนกอายุรกรรมทั่วไป ส่วนที่ต้องผ่าตัดหรือศัลยกรรมจะมีน้อยกว่า แต่บางทีถ้าเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์แล้ว ความโกลาหลย่อมบังเกิดอย่างแน่นอน
ตกเย็นเวลาประมาณ ๑๗.๓๐นาฬิกา คุณหมอชนบทจึงเดินทางไปยังคลินิกซึ่งร่วมทุนกับเพื่อนหมออีกสองคน กับมีพยาบาลอีกหนึ่งคนและผู้ช่วย ช่วยกันดูแลในการตรวจรักษา
อนึ่ง ตลอดระยะเวลา ๒๔ชั่วโมง ถ้ามีการติดตามตัวโดยด่วน คุณหมอชนบทก็ยังต้องไปปฏิบัติภารกิจในทันที ไม่ว่าจะเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน
คืนนี้เป็นกำหนดเวลาจ่ายเงินให้คุณพยาบาลและผู้ช่วยที่คลินิก ฉันจึงต้องย้ายจากกระเป๋าคุณหมอไปอยู่ในกระปี๋คุณพยาบาลด้วยเหตุฉะนี้แล (อนุโลมจากกระเป๋ารถเมล์และกระปี๋รถเมล์สมัยก่อน)
ธนบัตรเที่ยวไทย(การเดินทางของคุณธนบัตร) บทที่ ๘ nidhi
คุณพยาบาลประจำโรงพยาบาลหนองแวงเป็นหญิงสาวที่ไม่ถึงกับสวยอะไรนัก แต่ก็เป็นคนที่มีมนุษย์สัมพันธ์และมีอัธยาศัยไมตรีที่ดีเยี่ยม สังเกตได้จากทั้งคนไข้ที่ไปโรงพยาบาลและไปที่คลินิกว่า ต่างก็มีหน้าตายิ้มแย้มโอภาปราศัยเวลาที่พบหน้ากัน คุณพยาบาลคนนี้เรียนจบวิชาการพยาบาลจากศิริราชพยาบาล เมื่อไปทำงานที่หนองแวงแล้วจึงเรียนต่อจนจบการศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และกำลังเรียนต่อเป็นมหาบัณฑิตชั้นปริญญาโทที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) ฉันยังได้ยินจากพวกพยาบาลและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลว่า คุณพยาบาลได้หมั้นหมายไว้กับคุณหมอชนบทเมื่อเดือนก่อน และมีโครงการจะแต่งงานกันในราวต้นปีหน้าที่จะถึงนี้ โดยคุณหมอชนบทได้รับการทาบทามให้ไปทำงานที่โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ย่านถนนประชาชื่น ในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนคุณพยาบาลก็เตรียมตัวไปรับตำแหน่งใหม่ที่กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขประมาณต้นปีหน้าเช่นเดียวกัน ฉันกลายเป็นเงินบริจาคทำบุญให้แก่มูลนิธิสมเด็จย่า ซึ่งเป็นเหตุให้ฉันถูกนำฝากเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ จำกัด และต่อมาก็ถูกเบิกไปเก็บไว้เป็นเงินทุนสำรองหมุนเวียนของสำนักงานจังหวัด ซึ่งจักได้กล่าวในตอนต่อไป สำหรับตอนนี้เพื่อเป็นเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆ ฉันจึงใคร่ขอถือโอกาสแนะนำจังหวัดขอนแก่นโดยสรุป ดังนี้
ขอนแก่น เป็นศูนย์กลางของภาคอีสานทั้งในด้านภูมิศาสตร์หรือสภาพที่ตั้ง รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการศึกษาและเทคโนโลยีของภาคตะวันออกเฉียงเหนือนี้ด้วย โดยเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นดินแดนแห่งประวัติศาสตร์อารยธรรมและธรรมชาติที่สำคัญระดับโลกแห่งหนึ่งก็ว่าได้ ขอนแก่น เดิมเรียกว่าขามแก่น ดังจะเห็นได้จากการที่มีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ระบุไว้
คำขวัญประจำจังหวัดขอนแก่นมีว่า “ พระธาตุขามแก่น เสียงแคนดอกคูณ ศูนย์รวมผ้าไหม ร่วมใจผูกเสี่ยว เที่ยวขามแก่นนครใหญ่ ไดโนเสาร์ลือก้อง เหรียญทองโอลิมปิก”
สถานที่น่าสนใจในอำเภอเมือง ที่ค่อนข้างสะดุดตา เป็นธรรมชาติ ดูร่มรื่น น่าจะเป็นบึงแก่นนคร ซึ่งเป็นบึงขนาดใหญ่มีเนื้อที่ถึง ๖๐๓ ไร่ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลกลางเมืองขอนแก่น และเป็นที่ประดิษฐานอนุสาวรีย์ “เจ้าเพี้ยเมืองแพน” ผู้ก่อตั้งเมืองขอนแก่น มีพระธาตุขามแก่นที่อำเภอน้ำพอง ที่อำเภออุบลรัตน์ ก็มีเขื่อนอุบลรัตน์ ที่เดิมเรียกกันว่าเขื่อนน้ำพอง แต่ในเอกสารของการท่องเที่ยวระบุว่าเดิมเรียก เขื่อนพองหนีบ ส่วนที่ดังกึกก้องไปทั่วโลกเห็นจะได้แก่ พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง และอุทยานแห่งชาติภูเวียง โดยที่ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ มีการสำรวจแหล่งแร่ยูเรเนียมที่อุทยานแห่งชาติภูเวียง แล้วค้นพบซากกระดูกหัวเข่าข้างซ้ายของไดโนเสาร์ จึงขุดค้นต่อไปจนพบฟอสซิลไดโนเสาร์พันธุ์กินพืช ซึ่งไม่เคยพบที่ใดมาก่อน จึงอัญเชิญพระนามของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯมาตั้งชื่อไดโนเสาร์พันธุ์นี้เป็นการเฉลิมพระเกียรติว่า “ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่ ” (Phuwianggosaurus Sirindhornae) และในหลุมเดียวกันนี้ยังค้นพบฟันของไดโนเสาร์ประเภทกินเนื้ออีกมากกว่า ๑๐ ซี่ ซึ่งหนึ่งในกลุ่มฟันที่พบนี้มีลักษณะแตกต่างออกไปเป็นพิเศษ และพบว่าเป็นฟันของไดโนเสาร์กินเนื้อที่ไม่ทราบชื่อมาก่อนเลยเช่นเดียวกัน จึงตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบ คือ นายวราวุธ สุธีธร ว่า “ไซแอม โมซอรัส สุธีธรนี่” (Siamosaurus Suteethorne) นอกจากนี้ยังพบฟอสซิลของ “ไซแอมโมไทรันนัส อีสานเอ็นซิส” (Siamotyrannus Isanensis) ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่าไดโนเสาร์จำพวกไทรันโนซอร์มีต้นกำเนิดในทวีปเอเชีย เพราะฟอสซิลที่ค้นพบมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึง ๑๒๐-๑๓๐ ล้านปี นอกจากนี้ที่อำเภอภูเวียง ยังเป็นที่ตั้งหมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทยอีกด้วย ส่วนอำเภอที่ชื่อกระฉ่อนทางโทรทัศน์ทั่วประเทศในขณะนี้ก็คืออำเภอชุมแพ นั่นเอง
สำหรับที่อำเภอมัญจาคีครี ก็ยังเป็นแหล่งกล้วยไม้ป่าธรรมชาติที่มีชื่อสียง คือ ช้างกระ และเป็นที่ตั้ง หมู่บ้านเต่า ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า เต่าเพ็ก เป็นเต่าบก อาศัยอยูตามใต้ถุนบ้านและตามถนนหนทางในหมู่บ้าน เป็นเต่าทีมีกระดองสีเหลืองแก่ปนน้ำตาล มีอยู่เป็นจำนวนมากในหมู่บ้านดังกล่าว
สถานที่สำคัญอีกแห่ง คือ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัดขอนแก่น ที่อำเภอบ้านไผ่
ท้ายบทการเดินทางฉบับนี้ จึงขอย้อนกลับไปนอนรอการเดินทางต่อไปที่สำนักงานจังหวัดขอนแก่น
ธนบัตรเที่ยวไทย(การเดินทางของคุณธนบัตร) บทที่ ๙
ฉันไปอยู่ที่จังหวัดขอนแก่นได้ ๓ วันแล้ว แต่ยังไม่ได้เห็นศาลหลักเมืองของจังหวัดนี้เลย คราวนี้สบโอกาสเพราะต้องไปประจำการเป็นเงินกองทุนหมุนเวียนอยู่ที่สำนักงานจังหวัดซึ่งอยู่ในบริเวณอาคารศาลากลางจังหวัดขอนแก่นที่ถนนกลางเมือง มีถนนศูนย์ราชการขนานปิดด้านทิศเหนือทางไปจังหวัดอุดรธานี และมีถนนหน้าศูนย์ราชการขนานปิดด้านทิศใต้ซึ่งอยู่คู่ขนานกับถนนประชาสโมสรที่เป็นที่ตั้งสถานีขนส่งจังหวัดกับเป็นเส้นทางไปสนามบินด้านถนนมะลิวัลย์ ทางไปอำเภอชุมแพนั่นเอง
ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์หลักเมือง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพสักการะของชาวขอนแก่นเป็นอย่างยิ่ง และมีความเกี่ยวพันกับอำเภอชุมแพอย่างลึกซึ้ง เพราะท่านเจ้าคุณปู่พระราชสารธรรมมุนีกับหลวงธุรนัยพินิจ อดีตพ่อเมืองขอนแก่นได้นำหลักศิลาจารึกที่ขุดพบในโบราณสถานท้องที่อำเภอชุมแพมาประกอบพิธีทางศาสนาและตั้งเป็นศาลหลักเมืองตั้งแต่วันที่ ๒๐ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ เป็นต้นมา
จังหวัดขอนแก่นมีอาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดอุดรธานีและเลย ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดนครราชสีมาและบุรีรัมย์ ทิศตะวันออก คิดต่อกับจังหวัดกาฬสินธุ์และมหาสารคาม ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดเพชรบูรณ์และชัยภูมิ
เป้าหมายการพัฒนาจังหวัดขอนแก่นบ่งบอกว่าต้องการทำให้เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงสู่อินโดจืน แล้วเป้าหมายของเราแต่ละคนคืออะไร
ที่จังหวัดขอนแก่นมีอำเภอหนึ่งชื่อเหมือนคุณหมอของเรา นั่นคืออำเภอชนบท ที่อำเภอนี้มีการแสดงผ้าไหมมัดหมี่ที่แพงที่สุดในโลกด้วย โดยจัดแสดงที่ศาลาไหมไทย หรือ
อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา มหาราชินี ตั้งอยู่บริเวณวิทยาลัยการอาชีพขอนแก่น ซึ่งเป็นศูนย์สืบสานพระราชปณิธานงานศิลปาชีพด้านผ้าไหมของภาคอีสาน รวมทั้งเป็นศูนย์อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอีสาน
เทศกาลงานประเพณีที่สำคัญๆของคนขอนแก่น ได้แก่ เทศกาลดอกคูณเสียงแคนและถนนข้าวเหนียว เทศกาลไหว้พระธาตุขามแก่น งานเทศกาลไหม ประเพณีผูกเสี่ยวและงานกาชาด
สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก ได้แก่ผ้าไหมมัดหมี่ อำเภอชนบท ผ้าฝ้ายมัดหมี่บ้านเมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่ ผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติ
ที่จัดว่าเป็นเอกลักษณ์ของเมืองไทยในชนบทต่างๆที่ยังหลงเหลืออยู่ก็คือ สามล้อถีบหรือสามล้อปั่น อย่างรถจักรยาน สมกับที่เรียกว่าเป็นอาชีพที่หากินด้วยลำแข้งของตัวเองอย่างหนึ่งนั่นเอง
ที่จังหวัดขอนแก่นยังมีหอเกียรติยศรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อยู่ที่ค่ายเปรมติณสูลานนท์อีกด้วย แต่ไม่ได้อยู่ที่อำเภอเมืองหรอกนะ เพราะค่ายทหารดังกล่าวตั้งอยู่ที่อำเภอน้ำพอง
สถานที่อีกแห่งหนึ่งซึ่งไม่อาจละเว้นที่จะกล่าวถึงได้เลย และน่าจะเป็นสถานที่แห่งแรกๆของนักท่องเที่ยวทั้งหลายที่จะต้องไปติดต่อขอรายละเอียดต่างๆ นั่นก็คือสำนักงานท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และจำเพาะอย่างยิ่งว่าที่จังหวัดขอนแก่นเป็นที่ตั้งสำนักงาน ททท.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต๓ อยู่ที่ ๑๕/๕ ถนนประชาสโมสร อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ๔๐๐๐๐. โทร. ๐๔๓-๒๔๔๔๙๘-๙ โทรสาร ๐๔๓-๒๔๔๔๙๗ E-mail : tatkhkn@tat.or.th พื้นที่รับผิดชอบ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ (อาจเปลี่ยนแปลงพื้นที่รับผิดชอบได้) ฉะนั้น สถานที่แห่งแรกที่เราควรจะไปติดต่อขอรายละเอียดเกี่ยวกับพื้นที่ซึ่งจะเข้าไปท่องเที่ยวหรือว่าทำธุระก็คือสถานที่ของการท่องเที่ยวหรือศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยวของแต่ละจังหวัด ซึ่งจะช่วยในการท่องเที่ยวหรือติดต่อธุระได้อย่างมากทีเดียว เพราะเด็ยวนี้มีข้อมูลหลากหลายรูปแบบทั้งในรูปแบบหนังสือ แผ่นพับและซีดีข้อมูล อย่างน้อยที่สุดก็มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายต้อนรับซึ่งสามารถให้คำแนะนำต่างๆได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลท่องเที่ยวหรือข้อมูลด้านอื่นของจังหวัดนั้นๆ และที่สะดวกสบายอย่างยิ่งตลอด ๒๔ ชั่วโมง สำหรับท่านที่ใช้อินเตอร์เนต คือ สามารถเข้าไปที่เวปต์ไซต์การท่องเที่ยวหรือเวบไซต์ของจังหวีดเพื่อค้นหารายละเอียดเบื้องต้นก่อนเข้าไปสัมผัสสภาพความเป็นจริงก่อนล่วงหน้าก็ได้ด้วย
ฉันคงมีเวลาอยู่ที่จังหวัดขอนแก่นต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง เพราะหน้าที่ใหม่ของฉันในขณะนี้ก็คือ เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายในเหตุฉุกเฉินของจังหวัด ซึ่งคาดว่าคงจะยังไม่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน เพราะไม่มีวี่แววว่าจะเกิดอุทกภัยหรือภัยธรรมชาติร้ายแรงอย่างใด แต่ก็อย่างที่ว่าไม่มีอะไรแน่นอน อุบัติเหตุ อุบัติภัยย่อมเกิดได้ตลอดเวลา การเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ต่างๆด้วยความไม่ประมาท จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนควรกระทำ สำหรับค่ำวันนี้ฉันคงนอนในห้องนิรภัยของจังหวัดไปพลางก่อน
ธนบัตรเที่ยวไทย(การเดินทางของคุณธนบัตร) บทที่ ๑๐
คุณธนบัตรเดินทางจากกรุงเทพมหานครมาถึงจังหวัดขอนแก่นซึ่งเป็นศูนย์กลางของภาคอีสานแล้วโดยสวัสดิภาพ จนกระทั่งมาอยู่ที่ศาลากลางจังหวัดขอนแก่นในบัดนี้แล้ว เช้านี้เป็นเช้าวันเสาร์ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ แต่บนศาลากลางจังหวัดขอนแก่นก็ไม่ได้เงียบเหงาแต่ประการใด เพราะข้าราชการและเจ้าหน้าที่ต่างๆยังคงขะมักเขม้นทำการงานตามหน้าที่ของตนตามปกติ ยกเว้นเสียแต่ว่าไม่ได้แต่งกายชุดเครื่องแบบข้าราชการเหมือนวันทำงานปกติเท่านั้น เพราะช่วงเวลานี้ของทุกปีจะเป็นช่วงปลายปีงบประมาณซึ่งจะสิ้นสุดลงในวันที่ ๓๐ กันยายนของแต่ละปี ฉะนั้นหน่วยงานต่างๆจึงเร่งรีบปิดงบประมาณเพื่อเตรียมการสำหรับงบประมาณในปีต่อๆไปซึ่งต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาก่อน
ฉันได้ไปอยู่ในส่วนของสำนักงานจังหวัด โดยอยู่ในความดูแลของปลัดจังหวัดซึ่งทำหน้าที่ไม่ต่างจากอักษรเลข(เลขานุการ)ของผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัดเป็นชายวัยกลางคนอายุประมาณ ๓๕ ปี ชื่อปลัดบัญชา ยังเป็นคนโสด ฉะนั้นการประสานราชการกับหน่วยราชการจังหวัดอื่น ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงมักจะมอบหมายให้ปลัดบัญชาเป็นผู้ไปติดต่อประสานงาน ซึ่งก็ได้รับคำชมเชยมาตลอด
ในตอนสายของวันเสาร์ดังกล่าว ผู้ว่าราชการจังหวัดได้มอบหมายให้ปลัดบัญชาไปประสานราชการที่จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยได้ลงนามคำสั่งอนุญาตให้ปลัดบัญชาไปราชการที่จังหวัดเพชรบูรณ์มีกำหนด ๕ วัน นับตั้งแต่วันเสาร์ เวลา ๐๙.๐๐ น.เป็นต้นไป
ปลัดบัญชาเดินทางไปที่ศาลากลางจังหวัดเพื่อพบผู้ว่าฯก่อนออกเดินทาง หลังจากนั้นปลัดบัญชาจึงออกเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวไปตามเส้นทางไปอำเภอชุมแพ โดยแวะรับประทานอาหารกลางวันที่อุทยานแห่งชาติน้ำพอง ที่อำเภอหนองเรือ แล้วเดินทางต่อไปที่อำเภอชุมแพ ผ่านอำเภอภูผาม่าน และเดินทางถึงจังหวัดเพชรบูรณ์เวลาประมาณ ๑๗.๐๐น. (ระยะทางห่างจากจังหวัดขอนแก่นประมาณ ๒๔๐ กิโลเมตร) เข้าพักที่เพชรโฮเต็ล ถนนพระพุทธบาท ตำบลในเมือง ซึ่งมีห้องพักประมาณ ๑๙ ห้อง ราคาค่าที่พักคืนละ ๑๒๓-๑๙๔ บาท เมื่อเข้าพักแล้ว ปลัดบัญชาก็อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า แล้วนัดพบคุณหมอหล่มสัก เพื่อนนักเรียนรุ่นเดียวกันซึ่งขณะนี้เป็นแพทย์ทางอายุรกรรมประจำอยู่ที่โรงพยาบาลเพชรรัคน์ โดยคุณหมอหล่มสักนัดเลี้ยงอาหารและพูดคุยกันที่ทัมมารินทร์ คอฟฟี่ช็อฟ ในโรงแรมบูรพาซึ่งอยู่ใกล้โรงพยาบาล
เมื่อถึงเวลา ๑๙.๐๐น. ปลัดบัญชาไปถึงห้องอาหารทัมมารินทร์ ก็พบคุณหมอหล่มสัก กับเพื่อนอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นอัยการจังหวัดเพชรบูรณ์รออยู่ก่อนแล้ว จึงได้พูดคุยและรับประทานอาหารด้วยกันจนถึงเวลาประมาณ ๒๑.๐๐น. จึงได้แยกย้ายกันกลับที่พัก รุ่งขึ้นวันอาทิตย์ก็นัดพบกันเวลา ๐๖.๐๐ น.ที่โรงแรมเพชรโฮเต็ล โดยคุณหมอหล่มสักกับอัยการวิรัช จะมารับไปตระเวณชมเมืองเพชรบูรณ์ ตลอดทั้งวัน เพื่อวันจันทร์ ปลัดบัญชาจะได้ไปติดต่อราชการที่ศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์ต่อไป
ระหว่างที่พักอยู่ที่เพชรโฮเต็ล ปลัดบัญชาก็ได้รับหนังสือแนะนำท่องเที่ยวเพชรบูรณ์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จึงได้สรุปความรู้เกี่ยวกับจังหวัดเพชรบูรณ์ว่า
จังหวัดเพชรบูรณ์ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย เป็นจังหวัดที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นสวิสเซอร์แลนด์เมืองไทย แวดล้อมด้วยป่าเขาเขียวขจี ดินแดนมะขามหวานและลูกเสาวรสลือฃื่อ รวมทั้งเป็นต้นกำเนิดไก่ย่างวิเชียรบุรีที่ขายกันเกร่อในกรุงเทพฯด้วย
คำขวัญประจำจังหวัด คือ “เมืองมะขามหวาน อุทยานน้ำหนาว ศรีเทพเมืองเก่า เขาค้ออนุสรณ์ นครพ่อขุนผาเมือง”
แม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านคือแม่น้ำป่าสัก ชื่อเดิมของเพชรบูรณ์ คือ พีชปุระ หรือเพชรบุร ซึ่งแปลว่าเมืองแห่งพืชพันธุ์ธัญญาหารอันอุดมสมบูรณ์
อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดเลย ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดลพบุรี ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดชัยภูมิและขอนแก่น ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร และนครสวรรค์
บทที่ ๑๑ ธนบัตรเที่ยวไทย (การเดินทางของคุณธนบัตร)
คุณธนบัตรเดินทางถึงจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเปรียบเหมือนสวิสเซอร์แลนด์เมืองไทยพร้อมปลัดบัญชา โดยเข้าพักที่โรงแรมเพชรโฮเต็ล
รุ่งขึ้นปลัดบัญชาตื่นแต่เช้าเวลาประมาณ ๐๕.๐๐น. แวะรับประทานอาหารเช้าที่ตลาดเสร็จแล้วเดินกลับโรงแรมที่พัก เวลาประมาณ ๐๖.๐๐ นฬ คุณหมอหล่มสักกับอัยการวิรัชก็เอารถมารับไปเที่ยวชมเมือง โดยแวะศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเพชรบูรณ์ซึ่งอยู่ที่ถนนหลักเมือง ใจกลางเมืองเพชรบูรณ์ เสาหลักเมืองที่นี่เป็นเสาหินที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนำมาจากเมืองศรีเทพ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๗ เมืองศรีเทพเป็นเมืองโบราณแบบทวารวดีและขอม คาดว่ามีอายุตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ ลงมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ จึงจัดเป็นเสาหลักเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย เยื้องตรงข้ามเสาหลักเมืองจะมองเห็นมะขามยักษ์สีทองผลไม้สัญลักษณ์ของจังหวัดเพชรบูรณ์ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเมืองมะขามหวาน ตั้งอยู่ดูสวยงาม ระหว่างเส้นทางดังกล่าวก็แวะนมัสการพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชรที่วัดมหาธาตุ วัดพระแก้วในเมืองเดิม และวัดไตรภูมิที่ถนนเพชรรัตน์ ซึ่งในส่วนของวัดไตรภูมิยังเป็นที่มาของประเพณีอุ้มพระพุทธรูปดำน้ำเพื่อความเป็นศิริมงคลของเมืองเพชรบูรณ์ด้วย จากนั้นเราก็เดินทางไปอุทยานแห่งชาติตาดหมอกซึ่งตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบูรณ์ไปทางตะวันออกเพียง ๓๗กิโลเมตร มีอาณาเขตทั้งสิ้นประมาณ ๒๙๐ตารางกิโลเมตร ผืนป่าอุดมสมบูรณ์ประกอบด้วยเทิอกเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของลำน้ำป่าสักและลำน้ำชีและเป็นพิ้นที่ป่ากันชนให้กับผืนป่าสามแห่งคือ อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว และเขครักษาพันธุ์สัตว์ป่าตะเบาะ-ห้วยใหญ่ อุทยานแห่งชาติตาดหมอกเป็นอุทยานฯลำดับที่ ๘๗ของประเทศไทย โดยได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติตั้งแต่ปีพุทธศักราช๒๕๔๑ ภายในอุทยานมีทัศนียภาพที่สวยงามมาก มีน้ำตกขนาดใหญ่ถึงสองแห่งคือ น้ำตกตาดหมอกและน้ำตกสองนางและยังมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติไปน้ำตกตาดหมอกและน้ำตกสองนางเป็นระยะทาง ๒ กิโลเมตร ให้นักท่องเที่ยวได้เดินชมธรรมชาติและศึกษาพันธุ์ไม้ต่างๆได้ด้วย
ณ อุทยานแห่งชาติตาดหมอกคุณหมอหล่มสักได้ไปจองสถานที่พักไว้ก่อนแล้ว ฉะนั้นการเดินทางในวันนี้จึงได้รับความสะดวกสบายอย่างมาก เพราะเมื่อเดินทางถึงอุทยานแห่งชาติตาดหมอก เราก็เดินทางเข้าที่พักเพื่อเก็บสัมภาระแล้วจึงไปเดินเส้นทางชมธรรมชาติเพื่อไปชมน้ำตกตาดหมอกและน้ำตกสองนางต่อไป
ระหว่างเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ เราได้พบพรรณไม้ต่างๆทั้งไม้ใหญ่ ไม้จำพวกมอส เฟิร์น ไลเคน และยังพบรอยเท้าสัตว์ชนิดต่างๆเข่น เก้ง หมาป่า และยังมีนก ผีเสื้อและนกเงือกให้ได้พบเห็นตลอดเส้นทางด้วย ในส่วนของน้ำตกตาดหมอก อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯตามเส้นทางเดินเท้า ๑.๘กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ชั้นเดียวไหลลงมาจากหน้าผาสูงประมาณ ๗๕๐ เมตร สำหรับน้ำตกสองนางมีความสูงทั้งหมด ๑๒ ชั้น แต่ละชั้นมีความสูงระหว่าง ๕-๑๐๐ เมตร เราเดินชมเส้นทางและน้ำตกในแบบ ผอ. หรือผู้สูงอายุเสร็จเรียบร้อยก็เป็นเวลาบ่ายแก่ๆ จึงกลับเข้าที่พักเพื่อทำกิจส่วนตัว เสร็จแล้วเตรียมรับประทานอาหารค่ำ แล้วจึงเสวนากันต่อด้วยเรื่องสัพเพเหระและเข้านอนเพื่อเตรียมตัวเดินทางไปอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงในวันรุ่งขึ้นต่อไป
เช้าวันรุ่งขึ้น เมื่อรับประทานอาหารเช้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราเดินทางไปอำเภอหล่มสัก แวะสักการะอนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง ตั้งอยู่ยริเวณสี่แยกหล่มสัก เป็นพระรูปโลหะในอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาทรงดาบปักลงดิน พระหัต์ซ้ายชี้ลงพื้น พ่อขุนผาเมืองนี้เองที่เป็นพระสหายขุนบางกลางหาวหรือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์กษัตริย์ครองกรุงสุโขทัยผู้ทรงร่วมสถาปนาราชอาณาจักรสุโขทัย
ในอำเภอหล่มสักมีสถานที่ซึ่งน่าไปเที่ยวชม เช่น ถ้ำฤาษีสมบัติ,หลักเมืองหล่มเก่า,อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง(หนองแม่นา)วนอุทยานน้ำตกธารทิพย์, อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า และอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว แต่เนื่องจากความกว้างใหญ่ไพศาลของอุทยานแต่ละแห่งประจวบกับเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด เราจึงละเว้นไม่แวะไปที่อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง โดยจะไปพักที่อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า และอุทยานแห่งชาติน้ำหนาวในวันนี้และวันถัดไป
ที่อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง(หนองแม่นา) มีชื่อเสียงมากด้านกิจกรรมดูนก เพราะมีทุ่งหญ้าที่เป็นพื้นที่โล่งกว้างใหญ่ มีสนและไม้ดอกขึ้นสลับอยู่สวยงาม สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯได้แก่ สะพานแขวน,แก่งวังน้ำเย็น,ทุ่งแสลงหลวง,ทุ่งนางพญา,ทุ่งโนนสน,และเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติทุ่งนา ผกค.
วนอุทยานน้ำตกธารทิพย์ มีพื้นที่อยู่ในท้องที่ตำบลบุ่งน้ำเต้า และตำบลบุ่งคล้า ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเขาโปลกหล่นและป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาป่าก่อวังชมภู เป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำป่าสัก สถานที่น่าสนใจประกอบด้วย ศูนย์นิทรรศการ,แก่งน้ำวิ่ง,แก่งมะเดื่อ,ตาดชมพู่,แก่งผาเอียง,น้ำตกธารทิพย์ และวังน้ำริน
จุดที่เราจะไปพักวันนี้คืออุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ซึ่งตั้งอยู่บนรอยต่อของสามจังหวัด คืออำเภอหล่มศักดิ์ จังหวัดเพชรบูรณ์, อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก มีเนื้อที่ประมาณ ๑๙๑,๘๗๕ ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมี่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม๒๕๒๗ เป็นพื้นที่ที่มีธรรมชาติแปลกตาและสวยงาม ทั้งยังเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ เป็นยุทธภูมิสำคัญในอดีตที่เกิดจากความขัดแย้งของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.)
ในบทหน้าเราจะกล่าวถึงรายละเอียดการไปเที่ยวชมอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้าและอุทยานแห่งชาติน้ำหนาวโดยละเอียดต่อไป
ธนบัตรเที่ยวไทย(การเดินทางของคุณธนบัตร) บทที่ ๑๒ nidhi
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า และอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว
หลังจากเข้าพักที่บ้านพักในอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้าแล้ว เราก็เดินทางไปเที่ยวชมปผหล่งท่องเที่ยวต่างๆในอุทยานฯ ซึ่งมีทั้งด้านประวัติศาสตร์และธรรมชาติ เนื่องจากภูหินร่องกล้าเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์เป็นยุทธภูมิสำคัญในอดีตครั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยขยายอำนาจ และยังมีลักษณะภูมิอากาศคล้ายกับภูเขาสูงของจังหวัดเลยเช่นภูกระดึงและภูเรือ อากาศหนาวเย็นเกือบตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูหนาว อุณหภูมิจะต่ำประมาณ ๔ องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ ๑๘-๒๕องศาเซลเซียส
แหล่งท่องเที่ยวด้านประวัติศาสตร์ประกอบด้วย พิพิธภัณฑ์การสู้รบ,โรงเรียนการเมืองการทหาร,กังหันน้ำ,สำนักอำนาจรัฐ,โรงพยาบาลรัฐ,ลานอเนกประสงค์,สุสาน ทปท.,ที่หลบภัยทางอากาศ และหมู่บ้านมวลชน
แหล่งท่องเที่ยวด้านธรรมชาติ ได้แก่ ลานหินแตก,ลานหินปุ่ม,ผาชูธง,น้ำตกร่มเกล้า-น้ำตกภราดร,น้ำตกศรีพัชรินทร์,น้ำตกหมันแดง,น้ำตกผาลาด,น้ำตกตาดฟ้า,และธารพายุ
กล่าวโดยสรุป ภูหินร่องกล้าเป็นเขตอุทยานแห่งชาติซึ่งรวมความสำคัญของแหล่งประวัติศาสตร์สมัยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยกำลังขยายอำนาจทำสงครามแย่งชิงประชาชน ในขณะเดียวกับสถานที่ส่วนหนึ่งก็เป็นแหล่งสะสมกำลังและฐานที่มั่นของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยด้วย เมื่อทางราชการสามารถควบคุมสถานการณ์แยกสลายทำลายฐานที่มั่นดังกล่าวได้แล้ว สำรวจดูสภาพภูมิประเทศเป็นแหล่งเหมาะสมสำหรับการอนุรักษ์ผืนดินและธรรมชาติ จึงประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ ๒๖กรกฎาคม๒๕๒๗ เป็นต้นมา
เมื่อเราลงจากภูหินร่องกล้าเข้าบ้านพักก็เป็นเวลาแดดร่มลมตกแล้ว ปลัดบัญชากับคณะได้เข้าพบพูดคุยปรึกษากับหัวหน้าอุทยานฯเกี่ยวกับเรื่องทั่วๆไปเพื่อนำเอาความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับปรุงในส่วนราชการจังหวัดขอนแก่นในโอกาสต่อไป
รุ่งขึ้นเช้าเราจึงออกเดินทางจากอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้าไปยังอุทยานแห่งชาตินน้ำหนาว ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่สุดอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบูรณ์ อุทยานฯน้ำหนาวได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ ๔พฤษภาคม ๒๕๑๕ โดยมีพื้นที่ครอบคลุมป่ารอยต่อสองจังหวัด คือ อำเภอเมืองและอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ และอำเภอคอนสาน จังหวัดชัยภูมิ มีเนื้อที่รวม ๖๐๓,๗๕๐ ไร่ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน อากาศจะหนาวเย็นที่สุดในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม อุณหภูมิประมาณ ๒-๕องศาเซลเซียส เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของแม่น้ำหลายสาย เช่น แม่น้ำป่าสัก,แม่น้ำพอง และแม่น้ำเลย มีสัตว์ป่าชุกชุมรวมทั้งนกชนิดต่างๆ ตามเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติบนเขาสูงผ่านจุดชมวิวริมหน้าผาสวยงาม อาทิ ผากลางโหล่น ผาล้อม ผากอง และน้ำตกอีกหลายแห่ง
สถานที่น่าสนใจในเขตอุทยานฯน้ำหนาว ได้แก่ น้ำตกตาดพรานบา,ถ้ำผาหงษ์,จุดชมวิวภูค้อ,สวนสนภูกุ่มข้าว,น้ำตกซำผักคาว,ถ้ำใหญ่น้ำหนาว(ภูน้ำริน),น้ำตกเหวทราย,น้ำผุด,ป่าเปลี่ยนสีและภูผาจิต(ภูด่านอีป้อง)
เราแวะเข้าที่พักฯแล้วเดินชมป่าจนถึงเวลาเย็น จึงกลับที่พัก รับประทานอาหารเย็นพร้อมหัวหน้าอุทยานฯ ปรึกษาเรื่องทั่วๆไปเพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในงานราชการที่รออยู่
รุ่งเช้าคณะของเราที่ประกอบด้วยปลัดบัญชา คุณหมอหล่มสักและอัยการวิรัช จึงเดินทางกลับจังหวัดเพชรบูรณ์ พบผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์และคณะเพื่อปรึกษาหารือข้อราชการต่างตามที่ได้รับมอบหมายแล้วจึงเดินทางกลับจังหวัดขอนแก่น
ธนบัตรเที่ยวไทย(การเดินทางของคุณธนบัตร) บทที่ ๑๓ nidhi
ระหว่างเดินทางกลับจังหวัดขอนแก่น ปลัดบัญชากับคณะเดินทางไปยังจังหวัดชัยภูมิซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกันเพื่อแวะเยี่ยมอัยการสิทธิผล เพื่อนรุ่นเดียวกันซึ่งขณะนี้เป็นอัยการจังหวัดชัยภูมิ
ชัยภูมิ เมืองผู้กล้า พญาแล เป็นคำขวัญปัจจุบัน เดิมชัยภูมิมีคำขวัญประจำจังหวัดว่า “เมืองโบราณ บ้านนักสู้ ภูเสียดฟ้า ป่าช้างหลาย ทุ่งไพร่รก น้ำตกใส ผ้าไหมดี สตรีงาม แดนธรรมแดนทอง”
ตราสัญลักษณ์เมืองชัยภูมิ เป็นรูปธงสามชาย หมายถึง ธงแห่งชัยชนะสงคราม เดิมเมืองชัยภูมิขึ้นกับเมืองนครราชสีมา ในรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปรากฏว่ากลายเป็นเมืองร้าง และมีชาวเวียงจันทน์อพยพเข้าไปอยู่ จึงตั้งเป็นเมืองใหม่ในเวลาต่อมา เรียกว่าจังหวัดชัยภูมิ ตั้งอยู่บนสันขอบที่ราบสูงอีสาน มีพื้นที่ติดต่อกับภาคกลางและภาคเหนือ เป็นดินแดนแห่งทุ่งดอกกระเจียวอันงดงามและสายน้ำตกชุ่มฉ่ำในฤดูฝน เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ป่ามากที่สุดจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน มีเทือกเขาสำคัญได้แก่ ภูพังเหย,ภูแลนคา และภูพญาฝ่อ อันเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำชี
ด้านประวัติศาสตร์ ชัยภูมิมีอารยธรรมซ้อนทับกันหลายสมัยตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยขอม จนถึงอิทธิพลลาวล้านช้าง มีการค้นพบโบราณสถาน โบราณวัตถุมากมายในหลายพื้นที่ของจังหวัด ต่อมาปรากฏชื่อเป็นเมืองหน้าด่านสมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายหลังจึงร้างไป และมาปรากฏชื่ออีกครั้งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีชาวเวียงจันทน์เข้ามาสร้างบ้านแปงเมือง มีผู้นำชื่อ แล ซึ่งต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองคนแรกของชัยภูมิ
สถานที่น่าสนใจในอำเภอเมืองชัยภูมิ ได้แก่ อนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล(แล) ,ศาลเจ้าพ่อพญาแล,อุทยานแห่งชาติตาดโดน,วัดพระพุทธบาทภูแฝด,วัดสระหงษ์,วัดศิลาอาสน์ ภูพระ, ปรางค์กู่,ใบเสมาบ้านกุดโง้ง,อุทยานแห่งชาติภูแลนคา
สำหรับอำเภอคอนสาร ยังเป็นที่ตั้งเขื่อนน้ำพรมหรือที่เรารู้จักกันทั่วไปว่าเขื่อนจุฬาภรณ์ลักษณะเขื่อนเป็นเขื่อนหินถม แกนกลางเป็นดินเหนียวบดอัดทับแน่นด้วยหินและกรวดเป็นลักษณะเขื่อนเอนกประสงค์ในความดูแลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)โดยใช้ประโยชน์ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าและอำนวยประโยชน์ด้านชลประทาน ช่วยระบายน้ำเพื่อการเพาะปลูกในฤดูแล้งในพื้นที่การเกษตร นอกจากนี้ในอ่งเก็บน้ำของเขื่อนจุฬาภรณ์ยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดที่สำคัญของประเทศไทยด้วย
ภายในเขื่อนจุฬาภรณ์มีสถานที่ท่องเที่ยวได้แก่ พระพุทธสิริสัคคราชจำลอง(หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์),สวนเขื่อนจุฬาภรณ์,พืชโบราณ ๓๒๕ล้านปี,ศาลาชมวิวหลุบควน,และสนามริมน้ำข้างพระตำหนัก
นอกจากนี้ในเขตอำเภอคอนสาร ยังเป็นที่ตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวและสถานีวิจัยเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าภูเขียวให้ผู้สนใจเข้าชมทุกวันด้วย
เทศกาลงานประเพณีของชาวจังหวัดชัยภูมิ ได้แก่ งานฉลองอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพระยาแลระหว่างวันที่ ๑๒-๒๐ มกราคมของทุกปี,งานประเพณีบวงสรวงเจ้าพ่อพระยาแล ในวันจันทร์แรกของเดือนพฤษภาคมทุกปี, งานแห่เทียนเข้าพรรษาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘, ประเพณีรำผีฟ้า ปีละ ๒ ครั้งของทุกปีในวันขึ้น ๑๓-๑๕ ค่ำเดือน ๕ และวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๓ ณ บริเวณเขาภูพระ, งานบุญเดือนสี่ ในวันขึ้น๑-๓ ค่ำ เดือน ๕ และงานวันดอกกระเจียวบานที่จัดขึ้นปลายเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ณ อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม อำเภอเทพสถิต
เนื่องจากเป็นช่วงเวลานอกฤดูกาลท่องเที่ยว และปลัดบัญชาต้องเดินทางกลับจังหวัดขอนแก่นเพื่อปฏิบัติราชการ ฉะนั้นเมื่อแวะหาอัยการสิทธิผลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ปลัดบัญชาก็เดินทางกลับจังหวัดขอนแก่นเพื่อปฏิบัติภารกิจที่รับผิดชอบต่อไป
ธนบัตรเที่ยวไทย(การเดินทางของคุณธนบัตร) บทที่ ๑๔ nidhi
ปลัดบัญชาเดินทางกลับไปรายงานตัวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นพร้อมทั้งส่งรายงานการเดินทางเพื่อทำเรื่องเบิกจ่ายจากคลังจังหวัดเสร็จแล้ว ตอนบ่ายก็มีประชุมหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัด มีการเสนอโครงการ “ส่งเสริมเที่ยวเมืองไทยสืบสานวัฒนธรรมไทย” ซึ่งปลัดบัญชาเป็นกรรมการและเลขานุการ โดยที่ประชุมมอบหมายให้ปลัดบัญชาไปศึกษาและผลักดันโครงการให้มีประสิทธิผลสูงสุด
สองวันถัดมา ปลัดบัญชาจึงนำร่องโครงการด้วยการเดินทางไปสัมมนาที่จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดกาฬสินธุ์เป็นจุดแรกของโครงการ
จังหวัดมหาสารคาม อยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดขอนแก่น เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความสงบ และเป็นศูนย์กลางทางด้านการศึกษาของภูมิภาคนี้ที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่งด้วย จึงได้ชื่อว่าเป็น”ตักศิลาแห่งภาคอีสาน” ตามที่ปรากฏคำขวัญประจำจังหวัดว่า “พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักศิลานคร”
จังหวัดมหาสารคามอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ ๔๗๕ กิโลเมตร มีเนื่อที่ประมาณ ๕,๒๙๑ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๑ อำเภอ และ ๒ กิ่งอำเภอ คืออำเภอเมืองมหาสารคาม กันทรวิชัย โกสุมพิสัย วาปีปทุม บรบือ พยัคฆภูมิพิสัย นาเชือก เชียงยืน นาดูน แกดำ และยางสีสุราช กับกิ่งอำเภอกุดรัง และชื่นชม
อาณาเขตทิศเหนือติดกับจังหวัดกาฬสินธุ์ ทิศใต้ติดกับจังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์ ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดร้อยเอ็ด ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดขอนแก่น
สถานที่น่าสนใจในอำเภอเมือง ประกอบด้วยศูนย์ศิลปวัฒนธรรมอีสาน พิพธภัณฑ์วัดมหาชัย แก่งเลิงจาน หมู่บ้านปั้นหม้อ กู่มหาธาตุ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง และอุทยานมัจฉาโขงกุดหวาย
อำเภอนาดูน ประกอบด้วย กู่สันตรัตน์ พระธาตุนาดูน และสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช
อำเภอนาเชือก ประกอบด้วย เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพันซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหายากและปูทูลกระหม่อมหรือปูแป้ง ซึ่งเป็นปูน้ำจืดที่สวยที่สุดในโลก ตัวขนาดใหญ่กว่าปูนา ลำตัวมีหลายสี เช่น ม่วง ส้ม เหลือง และขาว พบเฉพาะที่ป่าดูนลำพันแห่งนี้เท่านั้น
อำเภอกันทรวิชัย ประกอบด้วย พระพุทธรูปยืนมงคลที่ตำบลคันธารราษฎร์ และพระพุทธมิ่งเมือง ที่วัดสุวรรณาวาส ตำบลโคกพระ
อำเภอโกสุมพิสัย ประกอบด้วยหมู่บ้านหัตถกรรมบ้านหนองเขื่อนช้าง บ้านแพง วนอุทยานโกสัมพี และบึงบอน
เทศกาลงานประเพณี ได้แก่ งานแห่เทียนเข้าพรรษา งานบุญบั้งไฟ งานบุญเบิกฟ้าและกาชาด งานนมัสการพระธาตุนาดูน งานออนซอนกลองยาวชาววาปีของดีพื้นเมือง งานบุญพาข้าวลิง และงานประเพณีแข่งเรือยาว ลอยกระทงและล่องเรือไฟ
ปลัดบัญชาเดินทางมาสัมมนาที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อสัมมนาเกี่ยวกับวัฒนธรรมอีสาน ณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน และแวะชมศูนย์ศิลปวัฒนธรรมอีสานในบริเวณสถาบันราชภัฏมหาสารคาม ด้วย จากนั้นก็เดินทางไปจังหวัดกาฬสินธุ์เพื่อพบกับปลัดขุนแห่งเมืองสหัสขันธ์ตามที่นัดหมายไว้
ปลัดบัญชาเดินทางถึงอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ พักแรมที่โรงแรมริมปาว ถนนกุดยางสามัคคี ซึ่งปลัดขุนได้ไปรออำนวยความสะดวกให้แล้ว และนัดหมายพร้อมกันที่โรงแรมริมปาว เวลา ๐๖.๐๐ น. เพื่อนำชมเมืองกาฬสินธุ์ต่อไป
ธนบัตรเที่ยวไทย(การเดินทางของคุณธนบัตร) บทที่ ๑๕ nidhi
คามรอยไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว
รุ่งเช้าเวลาประมาณ ๐๕.๐๐ น. ปลัดบัญชาก็ลงไปเดินเล่นที่ตลาดเช้าเสร็จแล้วกลับมารอปลัดขุนที่ห้องโถงโรงแรมริมปาว ระหว่างที่นั่งรอก็อ่านหนังสือแนะนำจังหวัดกาฬสินธุ์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้รับความรู้เกี่ยวกับจังหวัดกาฬสินธุ์ ว่า กาฬสินธุ์เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์จังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน จากหลักฐานทางโบราณคดีบ่งบอกว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชนเผ่าละว้าซึ่งมีความเจริญทางด้านอารยธรรมประมาณ ๑,๖๐๐ ปี จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เริ่มตั้งเป็นเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๓๖ โดยท้าวโสมพะมิตรได้อพยพหลบภัยมาจากดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงพร้อมไพร่พล และมาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำปาว เรียกว่า “บ้านแก่งสำโรง” แล้วได้นำเครื่องบรรณาการเข้าถวายสวามิภักดิ์ต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ต่อมาได้รับพระกรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯยกฐานะบ้านแก่งสำโรง ขึ้นเป็นเมือง และพระราชทานนามว่า เมืองกาฬสินธุ์ หรือ เมืองน้ำดำ ทั้งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ท้าวโสมพะมิตร เป็น พระยาชัยสุนทร ครองเมืองกาฬสินธุ์เป็นคนแรก
กาฬสินธุ์อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ๕๑๙ กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด ๗,๐๕๕.๐๗ ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศตอนบนเป็นภูเขาตามแนวเทือกเขาภูพาน ตอนกลางเป็นเนินเขาสลับป่าโปร่ง แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๔ อำเภอ ๔ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ยางตลาด กมลาไสย สหัสขันธ์ สมเด็จ กุฉินารายณ์ ท่าคันโท เขาวง ห้วยเม็ก คำม่วง หนองกุงศรี นามน ห้วยผึ้ง และร่องคำ กับกิ่งอำเภอสามชัย นาคู ดอนจาน และฆ้องชัย
อาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดอุดรธานีและสกลนคร ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ดและมหาสารคาม ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดสกลนครและมุกดาหาร ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดมหาสารคาม,ขอนแก่นและอุดรธานี
เดิมจังหวัดกาฬสินธุ์มีคำขวัญประจำจังหวัดว่า “เที่ยวเมืองกาฬสินธุ์ ถิ่นโบราณมากมี แซ่บอีหลีเนื้อเค็ม น้ำเต็มเขื่อนดินยาว สาวสวยภูไท ผ้าไหมแพรวา ฮือฮาโปงลาง” แต่ปัจจุบันเปลี่ยนคำขวัญใหม่เป็น “เมืองฟ้าแดดสงยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไทย ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี”
สัญลักษณ์ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ปรากฏในตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดเป็นรูปบึงใหญ่ ติณชาติและพยับเมฆฝนบ่งบอกสัญลักษณ์ของความชุ่มชื่นและอุดมสมบูรณ์ของภูมิภาคนี้ ทิวเขาตรงสุดขอบฟ้าคือแนวกั้นเขตแดนกับจังหวัดใกล้เคียง น้ำในบึงเป็นสีดำเพื่อให้ตรงกับชื่อของจังหวัด กาฬสินธุ์ตั้งเป็นเมืองเมื่อ พ.ศ.๒๓๓๗ เพราะชาวเมืองเวียงจันทน์อพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่มากที่ ดงสงเปลือย ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ ซึ่งสีน้ำในขณะนั้นขุ่นข้น จังหวัดกาฬสินธุ์แยกออกมาจากจังหวัดมหาสารคาม เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๙๐
สถานที่น่าสนใจในอำเภอเมืองได้แก่ อนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทร(ท้าวโสมพะมิตร) วัดกลางวัดศรีบุญเรือง(วัดเหนือ) พิพิธภัณฑ์ของดีจังหวัดกาฬสินธุ์ พุทธสถานภูปอ และบ้านพ่อครูเปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปืนแห่งชาติ ปีพุทธศักราช ๒๕๒๙ สาขา
ศิลปะการแสดงด้านดนตรีพื้นเมือง
อำเภอกมลาไสย ได้แก่ เมืองฟ้าแดดสงยาง พระธาตุยาคูหรือพระธาตุใหญ่ และวัดโพธิ์ชัยเสมารามหรือวัดบ้านก้อม
อำเภอยางตลาด ได้แก่ เขื่อนลำปาว และสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าลำปาว(สวนสะออน)
อำเภอท่าคันโท ได้แก่ วนอุทยานภูพระซึ่งเดิมเป็นป่าภูพระอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดงมูล มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจได้แก่ ผาเสวย ถ้ำเสียมสับ ถ้ำพระรอด ผาหินแยก และถ้ำพระ
อำเภอสหัสขันธ์ ได้แก่พิพิธภัณฑ์แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว พุทธสถานภูสิงห์ วัดพุทธนิมิต(ภูค่ว) และแหลมโนนวิเศษ
อำเภอคำม่วง ได้แก่ กลุ่มทอผ้าไหมแพรวาบ้านโพน
อำเภอสมเด็จ ได้แก่ผาเสวย
อำเภอเขาวง ได้แก่ น้ำตกผานางคอย และน้ำตกตาดทอง
อำเภอกุฉินารายณ์ ได้แก่ ศูนย์หัตถกรรมผู้ไทยหนองห้าง และหมู่บ้านวัฒนธรรมผู้ไทยโคกโก่ง
กิ่งอำเภอนาคู ได้แก่ วนอุทยานภูแฝก (แหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์)
ตามที่เกริ่นนำไว้ว่าตามรอยไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว มีความเกี่ยวข้องอยู่ ๒ แห่ง คือ แห่งแรกพิพิธภัณฑ์แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว ที่อำเภอสหัสขันธ์ อยู่บริเวณเชิงเขาภูกุ้มข้าว วัดป่าสักกะวัน โดยเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๓ พระครูวิจิตรสหัสคุณ เจ้าอาวาสวัดป่าสักกะวันได้พบกระดูกชิ้นใหญ่ในบริเวณวัด แต่ยังไม่ทราบว่าเป็นฟอสซิลกระดูกไดโนเสาร์ และได้นำกระดูกที่พบเก็บรักษาไว้ที่วัด ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๒๑ นักธรณีวิทยาและคณะจากกรมทรัพยากรธรณีได้เดินทางมาสำรวจธรณีวิทยาบริเวณนั้นพบกระดูกดังกล่าว จึงแจ้งให้ทราบว่าเป็นซากฟอสซิลกระดูกไดโนเสาร์ หลังจากนั้นอีกสองปี คณะสำรวจธรณีวิทยาไทย-ฝรั่งเศส จึงศึกษาพบว่าเป็นส่วนกระดูกขาหน้าของไดโนเสาร์ซอโรพอด จนกระทั่งปีพุทธศักราช ๒๕๓๗ จึงมีการสำรวจขุดค้นและอนุรักษ์อย่างเป็นระบบ พบซากไดโนเสาร์จำนวนมากในชั้นหินเสาร์ขัวยุคครีเตเซียสตอนต้น อายุประมาณ ๑๓๐ ล้านปี พบกระดูกไดโนเสาร์ชนิดกินพืชจำนวนมากกว่า ๗๐๐ ชิ้น สันนิษฐานว่าเป็นชิ้นส่วนกระดูกไดโนเสาร์ประมาณ ๗ ตัว และในพิพิธภัณฑ์ยังมีซากปลาโบราณพันธุ์ใหม่ของโลกในสภาพสมบูรณ์ เป็นปลาน้ำจืดมีชื่อว่า “เลปิโดเทส” ยาวประมาณ ๓๐-๖๐เซนติเมตร อยู่ในยุคมีโซโซอิคหรือ ๖๕ ล้านปีที่แล้วด้วย
แห่งที่สองเป็นเพียงรอยเท้าไดโนเสาร์ประเภทเทอร์โรพอด ๗ รอย จัดอยู่ในกลุ่มคาร์โนซอร์ชนิดกินเนื้อ อายุประมาณ ๑๔๐ ล้านปี ปัจจุบันเห็นชัดเจนเพียง ๔ รอย พบที่หมู่ ๖ บ้านน้ำคำ ตำบลภูแล่นช้าง ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๙
สรุปกิจกรรมที่ปลัดบัญชาไปร่วมทัศนากับปลัดขุนในเมืองกาฬสินธุ์ คือ ตระเวณ แหล่งท่องเที่ยวต่างๆและไปสนทนากับพ่อครูเปลื้อง ศิลปินแห่งชาติ เกี่ยวกับโปงลางซึ่งเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมือง และได้รับรู้ว่าพ่อครูกำลังสร้างสรรค์ดนตรีพื้นเมืองใหม่ๆขึ้นมาอีก เช่น หมากกะโหล่ง ซึ่งใช้กระดิ่งแขวนคอวัวร้อยเข้าด้วยกัน
ธนบัตรเที่ยวไทย(การเดินทางของคุณธนบัตร) บทที่ ๑๖ nidhi
บทที่ ๑๖ แดนกำเนิดอุดรซันไฌน์
เมื่อปลัดบัญชากลับถึงจังหวัดขอนแก่นและทำรายงานการเดินทางเสร็จแล้ว ปลัดบัญชาก็เดินทางไปราชการที่จังหวัดอุดรธานี หนองบัวลำภูและจังหวัดเลยในวันต่อมา โดยขับรถขึ้นทางเหนือไปที่จังหวัดอุดรธานีระยะทาง ประมาณ๑๑๕ กิโลเมตร
คำขวัญประจำจังหวัดอุดรธานี มีว่า” น้ำตกจากสันภูพาน อุทยานแห่งธรรมะ อารยธรรมห้าพันปี ธานีผ้าหมี่-ขิต แดนเนรมิตรหนองประจักษ์ เลิศลักษณ์กล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์”
ตราประจำจังหวัดอุดรธานีเป็นรูปท้าวเวสสุวัณซึ่งเป็นพญายักษ์ยืนถือกระบองเฝ้าปกปักรักษาเมือง ตามความเชื่อแต่โบราณว่าทิศต่างๆมีเทพเจ้าคุ้มครองรักษา ทิศอุดร(ทิศเหนือ)มีท้าวเวสสุวัณ,ทิศบูรพา(ตะวันออก)มีพระอินทร์,ทิศทักษิณ(ทิศใต้)มีพระยม และทิศประจิมหรือปัจฉิม(ทิศตะวันตก)มีพระวรุณหรือพระพิรุณเป็นเทพยเจ้าปกป้องดูแล
อุดรธานีเดิมชื่อบ้านหมากแข้ง เพราะมีต้นมะเขือพวงใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ ๔๐ เซนติเมตร ต่อมาจึงได้ตั้งเป็นเมืองอุดรธานี ในปีพุทธศักราช ๒๔๕๐ อุดรธานีเป็นจังหวัดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคม และการท่องเที่ยวทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะภาพของการเป็นดินแดนแห่งวัดป่า ประตูสู่ประเทศลาว ดินแดนอินโดจีน และยังเป็นดินแดนที่มีอารยธรรมเก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและมีหัตถกรรมผ้าขิตที่มีชื่อเสียงอีกด้วย
จังหวัดอุดรธานีมีเนื้อที่ประมาณ ๑๑,๗๓๐ กิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๘อำเภอ ๒ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองอุดรธานี หนองวัวซอ หนองหาน บ้านผือ บ้านดุง กุมภวาปี โนนสะอาด เพ๊ญ น้ำโสม กุดจับ ศรีธาตุ วังสามหมอ ทุ่งฝน สร้างคอม ไชยวาน หนองแสง นายูง พิบูลย์รักษ์ กิ่งอำเภอกู่แก้ว และกิ่งอำเภอประจักษ์ศิลปาคม
อาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดหนองคาย ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดขอนแก่นและกาฬสินธุ์ ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดสกลนคร ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดเลยและหนองบัวลำภู
สถานที่น่าสนใจ อำเภอเมือง ได้แก่ อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม พระราชโอรสในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ปกครองมณฑลฝ่ายเหนือเรียกว่ามณฑลอุดร และก่อตั้งเมืองอุดรขึ้นเมื่อร.ศ.๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖) สวนสาธารณะหนองประจักษ์ศิลปาคม (เดิมเรียกหนองนาเกลือ) วัดโพธิสมภรณ์ พิพธภัณฑ์เมืองอุดรธานี วัดมัชฌิมาวาส ศาลเจ้าปู่-ย่า สวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์ วัดป่าบ้านตาด วัดทิพยรัฐนิมิตร หมู่บ้านนาข่า และอ่างเก็บน้ำห้วยหลวง
อำเภอบ้านผือ ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท พระพุทธบาทบัวบาน และวัดป่าบ้านค้อ
อำเภอน้ำโสม ได้แก่อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม
อำเภอหนองหาน ได้แก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง
อำเภอบ้านดุง ได้แก่ คำชะโนด ตั้งอยู่ที่วัดศิริสุทโธ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านนับถือและเชื่อกันว่าเป็นปากเมืองบาดาลที่พระยานาคอาศัย
อำเภอกุมภวาปี ได้แก่พระธาตุดอนแก้วหรือพระมหาธาตุเจดีย์ อยู่ที่หมู่ ๕ บ้านดอนแก้วประดิษฐานอยู่กลางวัดมหาธาตุเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงเหลี่ยมคล้ายพระธาตุพนม
อำเภอหนองแสง ได้แก่วนอุทยานน้ำตกธารงาม และภูฝอยลม
อำเภอวังสามหมอ ได้แก่วนอุทยานวังสามหมอ
อำเภอกุดจับ ได้แก่ ถ้ำสิงห์ บนเทือกเขาภูพาน
เทศกาลงานประเพณีของจังหวัดอุดรธานี ที่สำคัญ ได้แก่งานนมัสการพระพุทธบาทบัวบก จัดในวันขึ้น ๑๓-๑๕ ค่ำ เดือน ๓ และงานทุ่งศรีเมืองอุดรธานีผ้าหมี่-ขิตจัดประมาณเดือนธันวาคมของทุกปี
ปลัดบัญชาเดินทางไปถึงจังหวัดอุดรธานีตั้งแต่เช้า จึงแวะไปรับประทานอาหารเช้าขึ้นชื่อของเมืองอุดร คือ ไข่กระทะเสร็จแล้วเข้าพักที่เจริญโฮเต็ล จากนั้นก็ไปพบปลัดสุนทรซึ่งพาพบผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี แล้วไปนมัสการหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ที่วัดป่าบ้านตาด เสร็จแล้วไปกราบไหว้ศาลเจ้าปู่-ย่า ไปสักการะศาลหลักเมือง เสร็จแล้วไปชมสวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์ และสาวน้อยอุดรเริงระบำ แล้วจึงรับประทานอาหารพื้นบ้านอีสานในตัวเมือง ต่อด้วยการไปชมหมู่บ้านนาข่า ดูการทอผ้าขิต ชมหนองประจักษ์ยามเย็ม แล้วกลับที่พักที่เจริญโฮเด็ลพักผ่อนเพื่อเตรียมเดินทางไปจังหวัดหนองบัวลำภูและเลยต่อไป
ธนบัตรเที่ยวไทย(การเดินทางของคุณธนบัตร Xบทที่ ๑๗ nidhi
บทที่ ๑๗ ไปหนองบัวลำภูและจังหวัดเลย
เช้าวันนี้เวลา ๐๗.๐๐ น. ปลัดบัญชาเดินทางออกจากเจริญโฮเต็ลมุ่งหน้ามาที่จังหวัดหนองบัวลำภูตามทางหลวงหมายเลข ๒๑๐ หนองบัวลำภูเป็นเมืองโบราณที่มีประวัติยาวนานไม่น้อยกว่า ๙๐๐ ปี เดิมเป็นดินแดนที่ขึ้นต่อกรุงศรีสัตตนาคนหุต(เวียงจันทน์) มีชื่อว่า “เมืองหนองบัวลุ่มภู นครเขื่อนขันธ์ กาบแก้วบัวบาน” หนองบัวลำภูเป็นจังหวัดลำดับที่ ๗๖ ได้รับแต่งตั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๖ โดยแยกมาจากจังหวัดอุดรธานี มีพื้นที่ ๓,๘๕๙.๐๘๖ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น ๖ อำเภอ คือ อำเภอเมืองหนองบัวลำภู โนนสัง ศรีบุญเรือง นากลาง สุวรรณคูหา และนาวัง อาณาเขตทิศเหนือและทิศตะวันออกอยู่ติดกับจังหวัดอุดรธานี ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดเลย ทิศใต้ติดกับจังหวัดขอนแก่น คำขวัญประจำจังหวัด คือ “ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อุทยานแห่งชาติภูเก้าภูพานคำ แผ่นดินธรรมหลวงปู่ขาว เด่นสกาวถ้ำเอราวัณ นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน”
สถานที่น่าสนใจ อำเภอเมือง ได้แก่ วัดถ้ำกลองเพล พระอนุสาวรีย์และศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วนอุทยานน้ำตกเฒ่าโต้ ศาลหลักเมืองพระวอ พระตา ศูนย์หัตถกรรมปั้นหม้อบ้านโค้งสวรรค์ ศูนย์พัฒนาอาชีพวัดสว่างศิลา หนองบัว และสุสานหอย ๑๕๐ ล้านปี อำเภอโนนสัง ได้แก่อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ และแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์บ้านกุดคอเมยและบ้านกุดกวางสร้อย อำเภอนากลาง ได้แก่ ถ้ำเอราวัณ บนหลักกิโลเมตรที่ ๑๓ ห่างจากตัวเมืองหนองบัวลำภูประมาณ ๔๕ กิโลเมตร มีทางแยกขวามือเข้าไปอีก ๒ กิโลเมตร อำเภอสุวรรณคูหา ได้แก่ถ้ำสุวรรณคูหา และแหล่งโบราณคดีภูผายา
เทศกาลและงานประเพณีที่สำคัญได้แก่
-งานนเรศวรมหาราช กาชาดหนองบัวลำภู จัดขึ้นในวันที่ ๒๕ มกราคม-๓ กุมภาพันธ์ บริเวณสนามนเรศวรมหาราช อำเภอเมือง
-งานประเพณีบุญข้าวจี่ จัดในวันขึ้น ๑๓-๑๕ ค่ำ เดือน ๓ บริเวณวัดถ้ำสุวรรณคูหา
-ประเพณีขึ้นเขาไหว้พระถ้ำเอราวัณ จัดในวันที่ ๑๒-๑๕ เมษายน บริเวณหาดโนนยาว อำเภอโนนสัง
-งานบวงสรวงศาลเจ้าปู่หลุบและพระวอพระตา จัดในวันพุธและพฤหัสบดีแรกของเดือน ๖ (ประมาณเดือนพฤษภาคม)
-งานประเพณีบุญบั้งไฟอำเภอศรีบุญเรือง จัดในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖
-งานมหกรรมกล้วยหอมแฟร์ จัดในวันที่ ๒๕-๒๗ กรกฎาคม ที่อำเภอนาวัง
-งานเทศกาลเที่ยวหอยหิน กินลำไย จัดในวันที่ ๘-๑๕ สิงหาคคม บริเวณร้านค้าชุมชนบ้านห้วยเดื่อ อำเภอเมือง
-งานเทศกาลน้ำตกเฒ่าโต้ จัดในวันที่ ๑๔-๑๕ กันยายน บริเวณอุทยานน้ำตกเฒ่าโต้
ปลัดบัญชาแวะชมพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารของหลวงปู่ขาว อนาลโย ที่วัดถ้ำกลองเพล และสักการะพระอนุสาวรีย์และศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสร็จเรียบร้อย ก็ออกเดินทางไปจังหวัดเลยในบ่ายวันนั้น
เมืองเลยเดิมเป็นหมู่บ้านเล็กๆ เพิ่งตั้งเป็นเมืองในรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีพงศาวดารเล่าว่า พระชัยเชษฐาแห่งกรุงศรีสัตตนาคนหุต กับพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ได้ให้สัตยาบันกันตรงที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของอำเภอด่านซ้ายในปัจจุบันเกี่ยวกับการปักปันเขตแดนระหว่างกันในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และได้ร่วมกันสร้างพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นองค์หนึ่ง คือ พระธาตุศรีสองรัก เพื่อเป็นสักขีพยานในการนั้นในบริเวณที่ลำน้ำอู้ไหลมาบรรจบกับลำน้ำหมัน ฉะนั้นในเวลาต่อมาเมื่อสร้างเมืองเลยและยกฐานะเป็นจังหวัดแล้ว จึงปรากฏตราประจำจังหวัดเลยเป็นรูปพระธาตุศรีสองรัก
จังหวัดเลยเป็นเมืองท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่โอบล้อมด้วยภูเขาสลับซับซ้อนท่ามกลางสายหมอกปกคลุมเหนือยอดภู อุดมไปด้วยพืชพรรณป่าไม้นานาชนิดที่รู้จักกันดีคือ ภูกระดึง ภูหลวงและภูเรือ เลยจึงเป็นเมืองแห่งขุนเขา ที่มีอากาศเย็นสบายมีทัศนียภาพที่งดงามและมีประเพณีวัฒนธรรมที่แตกต่างจากถิ่นอื่น เช่น การละเล่นผีตาโขน
เลยอยู่ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ ๕๒๐ กิโลเมตร ไม่ใช่มาถึงเสียที เพราะจะเลยไปอยู่เรื่อย มีอาณาเขตทิศเหนือติดกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศใต้ติดกับจังหวัดขอนแก่น ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดหนองคายและหนองบัวลำภู ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดพิษณุโลก
จังหวัดเลยแบ่งการปกครองเป็น ๑๒ อำเภอ ๒ กิ่งอำเภอ คืออำเภอเมืองเลย วังสะพุง ปากชม เชียงคาน ท่าลี่ ภูเรือ ด่านซ้าย ภูกระดึง นาแห้ว นาด้วง ภูหลวง ผาขาว กิ่งอำเภอเอราวัณ และหนองหิน
คำขวัญประจำจังหวัดเลยมีว่า “เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม ดอกไม้งามสามฤดู”
สถานที่น่าสนใจในอำเภอเมือง ได้แก่ ศาลเจ้าพ่อกุดป่องและศาลหลักเมือง สวนสาธารณะกุดป่อง สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติฯป่าเลิงใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเลย วัดถ้ำผาปู่ วนอุทยานภูผาล้อม และอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำหมานตอนบนและห้วยกระทิง
อำเภอเชียงคาน ได้แก่ วัดศรีคุณเมือง วัดท่าแขกแก่งคุดคู้ พระพุทธบาทภูควายเงิน พระใหญ่ภูคกงิ้ว(พระพุทธนวมินทรมงคลลีลาทวินคราภิรักษ์) และหมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำ
อำเภอนาด้วง ได้แก่ถ้ำผายาและอ่างเก็บน้ำห้วยลิ้นควาย
อำเภอวังสะพุง ได้แก่ศูนย์ศิลป์สิรินธร พระเจดีย์วัดป่าสัมมานุสรณ์ และเสมาหินทรายที่บ้านปากแบ่งและบ้านนาหลัก
อำเภอภูหลวง ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง
กิ่งอำเภอเอราวัณ ได้แก่โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ ผานาง-ผาเกิ้ง
กิ่งอำเภอหนองหิน ได้แก่ ถ้ำโพธิสัตว์หรือกุ้ยหลินเมืองเลย สวนหินผางามหรือคุนหมิงเมืองไทย น้ำตกสวนห้อมหรือน้ำตกสันติธารา และน้ำตกเพียงดินหรือน้ำตกวิสุทธารา
อำเภอภูกระดึง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
อำเภอภูเรือ ได้แก่อุทยานแห่งชาติภูเรือและน้ำตกปลาบ่าหรือน้ำตกตาดสาน
อำเภอด่านซ้าย ได้แก่ พระธาตุศรีสองรักวัดเนรมิตรวิปัสสนา และน้ำตกแก่งสองคอน
อำเภอนาแห้ว ได้แก่วัดโพธิ์ชัย และอุทยานแห่งชาตินาแห้ว
อำเภอท่าลี่ ได้แก่พระธาตุสัจจะ
เทศกาลและงานประเพณีของจังหวัดเลย ได้แก่
-งานดอกฝ้ายบาน มะขามหวานเมืองเลย จัดที่บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดเลยในช่วงเทศกาลตรุษจีน ประมาณวันที่ ๑-๙กุมภาพันธ์ของทุกปี
-งานประเพณีสงกรานต์ไทย-ลาว ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๕เมษายน
-งานประเพณีบุญบั้งไฟล้าน ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ประมาณเดือนพฤษภาคม
-งานนม้สการพระธาตุศรีสองรัก ในวันเพ็ญเดือน ๖
-งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ในวันเสาร์-อาทิตย์ หลังวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖
-งานประเพณีออกพรรษาอำเภอเชียงคาน ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑
-งานแสดงไม้ดอกเมืองหนาว อำเภอภูเรือ ประมาณวันที่ ๒๘ธันวาคม-๑มกราคม
นอกจากนี้จังหวัดเลยยังมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เช่น ฟาร์มไก่งวงเมืองเลยสถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ สวนองุ่นภูเรือวโนทยาน หรือชาโต้ เดอ เลย ตลาดไม้ดอกเมืองหนาวบ้านหนองบง คำนวนเนิร์สเซอร์รี่ ไร่สัณยา สวนส้มสยามภูเรือ และบริษัท ที เอส เอ จำกัด ที่บ้านกกโพธิ์ ซึ่งผลิตไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักต่างๆเพื่อเพาะเมล็ดสำหรับจำหน่าย
ปลัดบัญชาเดินทางจากจังหวัดหนองบัวลำภูและแวะชมสถานที่ต่างๆตามรายทางมาตลอดแล้วเข้าพักแรมคืนที่ ภูตำ ในสถาบันราชภัฏเลย โดยกำหนดการเดินทางท่องเที่ยเมืองเลยจำนวน ๒ วัน ๑ คืน ในวันพรุ่งนี้และวันมะรืนนี้ โดยใช้เส้นทางกิ่งอำเภอหนองหิน-อำเภอด่านซ้าย-ภูเรือ คือ
วันแรก ออกเดินทางไปกิ่งอำเภอหนองหิน ชมสวนหินผางามหรือคุนหมิงเมืองไทย ออกเดินทางไปอ่างเก็บน้ำห้วยกระทิง ล่องแพรับประทานอาหารกลางวัน เดินทางไปอำเภอด่านซ้าย ชมพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านผีตาโขน ที่วัดโพนชัย ไปนมัสการพระพุทธชินราชจำลองที่วัดเนรมิตรวิปัสสนา เสร็จแล้วไปนมัสการพระธาตุศรีสองรัก แล้วจึงเดินทางเข้าที่พักที่อุทยานแห่งชาติภูเรือ
วันที่สอง ไปสัมผัสทะเลหมอกและธรรมชาติยามเช้าบนภูเรือ รับประทานอาหารเช้าแล้วไปเดินป่าศึกษาธรรมชาติของป่าเขา ลานหินและน้ำตก รับประทานอาหารกลางวันแล้วเดินทางไปศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตเลย๒ จังหวัดเลย(สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเริอ) ไปชมแปลงทดลองการปลูกไม้ดอกไม้ประดับและพืชผักผลไม้เมืองหนาว เช่นกุหลาบ ลิลลี่ ออกเดินทางไปไร่องุ่นและโรงงานไวน์ชาโต เดอ เลย ชมไร่องุ่นและกรรมวิธีผลิตไวน์ชาโต เดอ เลย บรั่นดี น้ำองุ่นสด
เสร็จแล้วเดินทางกลับที่พักในสถาบันราชภัฎเลย เพื่อพักผ่อนเตรียมเดินทางกลับจังหวัดขอนแก่น
บทที่ ๑๘ ประตูสู่อีสาน
ปลัดบัญชาเดินทางกลับจากจังหวัดเลยได้เพียงสัปดาห์เดียวก็ต้องเตรียมตัวเดินทางไปประชุมสัมมนาที่โรงแรมสีมาธานี จังหวัดนครราชสีมาเป็นเวลา ๑๐ วัน เนื่องจากจังหวัดนครราชสีมาได้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดการประชุมผู้บริหารระดับกลางในเขตจังหวัดติดต่อกับจังหวัดนครราชสีมาอันได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ,ขอนแก่น,นครนายก,ปราจีนบุรี,สระแก้ว,บุรีรัมย์,สระบุรีและลพบุรี เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวของจังหวัดที่เกี่ยวข้องให้เป็นสากลยิ่งขึ้น โดยขณะเดียวกันก็เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นไว้ด้วย การประชุมร่วมกันของผู้บริหารระดับกลางในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องจึงเป็นการระดมสมองเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวในจังหวัดของตนเองได้เป็นอย่างดีที่สุด
เหตุผลที่จังหวัดนครราชสีมาจัดประชุมสัมมนาที่โรงแรมสีมาธานี ก็เพราะตั้งอยู่ริมถนนมิตรภาพซึ่งเป็นเส้นทางสายหลักของการเดินทางระหว่างจังหวัด มีห้องพักไม่น้อยกว่า ๒๖๕ ห้อง และมีห้องประชุมที่จุคนได้มากถึง ๑,๕๐๐ คน นอกจากนี้ยังเป็นโรงแรมที่ใช้ชื่อเมืองโบราณคือเมืองเสมา เป็นชื่อจัดตั้งด้วย
กล่าวกันว่าที่เรียกกันว่าจังหวัดนครราชสีมานั้นเพราะนำชื่อเมืองเก่า ๒ เมือง คือ เมืองโคราชและเมืองเสมา รวมกันเรียกเป็นนครราชสีมา นั่นเอง
การประชุมสัมมนาวันแรกเปิดโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นผู้ทำพิธีเปิดการอบรมสัมมนา และพิธีปิดการอบรมในวันสุดท้ายของการประชุมสัมมนาจะดำเนินการโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งตลอดระยะเวลาการประชุมสัมมนาดังกล่าวจะเป็นการจำแนกรายละเอียดหัวข้อการประชุมเป็นของแต่ละจังหวัดเป็นแต่ละวันไป กล่าวคือวันแรกเป็นพิธีเปิดการอบรมแล้วเริ่มที่จังหวัดนครราชสีมาในวันรุ่งขึ้นเป็นลำดับแรก วันต่อๆไปก็จะเป็นจังหวัดชัยภูมิ,ขอนแก่น,นครนายก,ปราจีนบุรีและสระแก้ว,บุรีรัมย์,สระบุรีและลพบุรี ตามลำดับ แล้วจึงสรุปการสัมมนาและปิดการอบรมในวันสุดท้ายของการประชุมสัมมนา
ปลัดบัญชาเดินทางถึงโรงแรมสีมาธานีก่อนวันประชุมสัมมนาหนึ่งวันโดยพักที่บ้านพักของปลัดวิเชียรซึ่งเป็นเพื่อนรุ่นน้องที่บ้านพักจังหวัดนครราชสีมา ไม่ลืมแวะสักการะอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี หรือย่าโมแห่งเมืองโคราชก่อนเป็นอันดับแรก อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีเปฌนอนุสรณ์แด่วีรกรรมอันกล้าหาญของวีรสตรีไทยหรือย่าโม ซึ่งเป็นที่เรียกกันติดปากโดยทั่วไป สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๗ ตั้งอยู่กลางเมือง อนุสาวรีย์หล่อด้วยทองแดงรมดำ สูง ๑.๘๕ เมตร หนัก ๓๒๕ กิโลกรัม แต่งกายด้วยเครื่องยศพระราชทาน ในท่ายืน มือขวากุมดาบ ปลายดาบจรดพื้น มือซ้ายท้าวสะเอวหันหน้าไปทางทิศตะวันตกซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนฐานไพที(ที่รอง,แท่น,เวที,ขอบชายคา คือที่สุดชายคาชั้นบนต่อกับชายคาชั้นล่าง :ฐานบัวคว่ำบัวหงายที่พระเจดีย์) สี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองซึ่งบรรจุอัฐิของท่าน
ท้าวสุรนารีมีนามเดิมว่าคุณหญิงโม เป็นภรรยาปลัดเมืองนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๙ เจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ยกทัพยึดเมืองโคราช คุณหญิงโมได้รวบรวมชาวบ้านเข้าสู้รบต่อต้านกองทัพเจ้าอนุวงศ์ได้เป็นผลสำเร็จ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๓) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาคุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารี ซึ่งประชาชนพร้อมใจกันจัดงานเฉลิมฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารีขึ้นระหว่างวันที่ ๒๓มีนาคม ถึงวันที่ ๓ เมษายนเป็นประจำทุกปีเพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณงามความดีของท่าน
นครราชสีมา หรือที่เรียกว่า “โคราช” เปรียบเสมือนประตูสู่ภาคอีสาน(ตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นเมืองใหญ่บนดินแดนที่ราบสูงโคราช แบ่งการปกครองออกเป็น ๒๖ อำเภอ ได้แก่อำเภอเมืองนครราชสีมา,ปากช่อง,สีคิ้ว,สูงเนิน,ขามทะเลสอ,ด่านขุนทด,โนนไทย,โนนสูง,ขามสะแกแสง,พิมาย,คง,โนนแดง,ประทาย,ชุมพวง,บัวใหญ่,แก้งสนามนาง,บ้านเหลื่อม,จักราช,ห้วยแถลง,ปักธงฃัย,โชคชัย,ครบุรี,เสิงสาง,หนองบุนนาก,วังน้ำเขียว และเฉลิมพระเกียรติ กับอีก ๖ กิ่งอำเภอ คือ กิ่งอำเภอเมืองยาง,เทพารักษ์,ลำทะเมนชัย,พระทองคำ,บัวลายและสีดา โดยมีอาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดชัยภูมิและขอนแก่น ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดนครนายก,ปราจีนบุรีและสระแก้ว ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์ ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดชัยภูมิ,สระบุรีและลพบุรี โดยเฉพาะจังหวัดชัยภูมิจะมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดนครราชสีมาทั้งด้านทิศเหนือและตะวันตก
โคราชในวันนี้ต่างจากโคราชสมัยปีพ.ศ.๒๕๒๑ ซึ่งปลัดบัญชาเคยอาศัยเป็นอย่างมาก เพราะสมัยนั้นยังไม่มีเครื่องบินพาณิชย์ของการบินไทย คงมีเพียงสนามบินของกองทัพอากาศ ซึ่งรวมถึงค่ายเฟรนด์ชิปของอเมริกาที่มาขอพักอาศัยเช่นเดียวกับสนามบินอู่ตะเภาที่อำเภอสัตหีบ แต่โคราชทุกวันนี้เจริญไปมากทางวัตถุ กระนั้นก็ดีโคราชยังคงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมและโบราณสถานเลื่องชื่อหลายแห่งซึ่งจะได้พูดถึงในคราวต่อไป
บทที่ ๑๙ เปิดการประชุมสัมมนา
เช้าวันเปิดการประชุมสัมมนา ปลัดบัญชาตื่นแต่เช้าแวะไปที่ตลาดสดเทศบาล๑ เพื่อรับประทานอาหารเช้าเสร็จแล้วจึงกลับบ้านพักเพื่ออาบน้ำและแต่งตัวเตรียมเดินทางไปที่โรงแรมสีมาธานีซึ่งอยู่ริมถนนมิตรภาพด้านทางไปอำเภอสูงเนิน เพื่อลงทะเบียนเข้าพักและสัมมนาตามโครงการฯซึ่งจัดให้ผู้เข้าประชุมสัมมนาพักที่โรงแรมเดียวกันทั้งหมดเพื่อความสะดวกในการประกอบกิจกรรมร่วมกันตลอดระยะเวลาการสัมมนารวมสิบวันเต็ม
เวลา ๑๐.๐๐ น. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวเปิดการประชุมสัมมนา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมากล่าวรายงานเหตุผลและที่มาของโครงการเสร็จแล้ว ผู้อำนวยการสำนักงาน ททท.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต ๑ ซึ่งมีพื้นที่รับผิดชอบ ๔ จังหวัด คือ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และชัยภูมิ กล่าวบรรยายถึงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในแต่ละจังหวัดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นว่า ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นภาครัฐบาลหรือเอกชน ทั้งยังต้องช่วยกันปลุกจิตสำนึก ปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนไทยมีความรักธรรมชาติและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม กับช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติกับศิลปวัฒนธรรมไทยให้คงอยู่ยั่งยืนตลอดไป
จากนั้นช่วงบ่ายเป็นการนำคณะผู้เข้าอบรมสัมมนาเยี่ยมชมศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาที่ถนนสุรนารายณ์
โดยก่อนเดินทางไปชมและดูงานก็แวะไปสักการะอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีเพื่อเป็นสวัสดิมงคลด้วย เมื่อเสร็จสรรพธรรมเนียมปฏิบัติแล้วคณะก็เดินทางไปที่มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา โดยได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นเปี่ยมไมตรีจิต ได้แวะชมเรือนโคราชกับเรือนไม้สองชั้นซึ่งเป็นที่รวบรวมจัดเก็บข้อมูล สิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ รวมทั้งวัตถุโบราณที่แสดงถึงชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวโคราชและชาวอีสานทั่วไปในอดีต
เสร็จแล้วจึงเดินทางกลับที่พักที่โรงแรมสีมาธานีเพื่อเริ่มกิจกรรมการสัมมนาในวันต่อๆไป
บทที่ ๒๐ วันที่สองของการประชุมสัมมนา
ช่วงเสร็จการสัมมนาวันแรก ภายหลังกลับจากการไปดูงานที่ศูนย์วัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ปลัดบัญชากับคณะรับประทานอาหารเย็นที่โรงแรมจัดให้ที่ห้องดิอิมเพอเรอ หลังจากนั้นถ้าผู้ใดประสงค์ไปใช้บริการเป็นส่วนตัวก็สามารถใช้บริการได้หลายจุดเช่นที่ ในเรือนคอฟฟี่เฮ้าส์,
ดิเอเทรียม และพลับพลาตะวัน ถ้าจะไปนั่งฟังเพลงร้องเพลงแบบคาราโอเกะก็ต้องไปที่ห้องมิวสิคเฮ้าส์และคาราโอเกะ ส่วนผู้ที่ต้องการออกกำลังกายก็สามารถใช้บริการสีมาฟิตเนสคลับที่เปิดบริการตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐-๒๑.๐๐ น. ส่วนผู้ที่ต้องการผ่อนคลายเส้นสายที่ยึดตึงเมื่อยล้า ก็ต้องใช้บริการที่ห้อง คลายเส้น นวดแผนโบราณซึ่งเปิดบริการช่วงเที่ยงถึงบ่ายโมงทุกวัน
ค่าพักแรมปกติของโรงแรมสีมาธานี มีตั้งแต่ราคาคืนละ ๑,๔๐๐-๑๑,๐๐๐ บาท โดยจำแนกประเภทห้องดังต่อไปนี้ Superior,Deluxe,Premiere Deluxe,Legacy,Premiere Legacy,Premiere Suite,Premiere Senior Suite,Premiere Executive และ Premiere Royal Suite โดยมีเว็ปไซต์ www.simathani.com ส่วน Email สำหรับติดต่อไม่ได้บอกเอาไว้
เนื่องจากนครราชสีมาเป็นเหมือนประตูสู่อีสาน ฉะนั้นการเที่ยวกลางคืนสำหรับพวกที่เรียกกันว่าคนกลางคืนนั้นจึงมีอยู่ดาดดื่นทั่วไปเหมือนกรุงเทพ เชียงใหม่และอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งธนบัตรเที่ยวไทยจะไม่ไปเกี่ยวข้องด้วย ปล่อยให้คนที่มีวงจรวนเวียนกับเรื่องพวกนี้ทำต่อไปตามลำพังดีกว่า
รุ่งขึ้นปลัดบัญชาตื่นเวลาประมาณ ๐๕.๐๐ น. เหมือนที่เคยปฏิบัติเป็นนิสัยตั้งแต่ยังเรียนอยู่มหาวิทยาลัยแล้ว ซึ่งปลัดบัญชาเวลานี้เรียนจบขั้นปริญญาโทเป็นมหาบัณฑิตคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหงตั้งแต่ปีที่แล้ว คณะรัฐศาสตร์นี่ก็มีตำนานเกี่ยวกับสิงห์มาตั้งนานแล้ว โดยเฉพาะคนในวงการปกครอง สมัยก่อนมีแค่สิงห์แดง(ธรรมศาสตร์)และสิงห์ดำ(จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย) พอเปิดมหาวิทยาลัยรามคำแหงก็มีพวกสิงห์ทอง และต่อจากนั้นก็ไม่รู้ว่ามีสิงห์อะไรอีก แต่ขออย่างเดียวว่าอย่าไปเป็นพวกเสือสิงห์กระทิงแรดกับเขาก็แล้วกัน
วันที่สองของการสัมมนาเป็นเรื่องของจังหวัดนครราชสีมาโดยเฉพาะ โดยมีองค์กรท่องเที่ยวและผู้ทำงานเกี่ยวข้องเป็นผู้บรรยายและพาดูงานในแต่ละจังหวัดควบคู่กันไปในคราวเดียวกันในลักษณะสัญจรสัมมนา ซึ่งคณะผู้จัดการสัมมนาได้พาผู้เข้าประชุมอบรมสัมมนาตระเวนเที่ยวชมทั้ง ๙ จังหวัดเป็นแต่ละวันไป คล้ายๆกับทัวร์เก้าวัดนั่นแหละ เพียงแต่เมื่อแต่ละจังหวัดเป็นผู้นำชมในเวลาจำกัดก็ยังสามารถเลือกเฟ้นสถานที่รายทางต่างๆสำหรับทัวร์สัมมนาสัญจรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมกันนี้ผู้จัดก็ได้ประสานราชการขอสิ่งพิมพ์ ซีดี วีดีทัศน์ทั้งหลายของแต่ละจังหวัดมอบให้ผู้เข้าประชุมอบรมสัมมนาทุกคนด้วย ซึ่งเป็นการประหยัดเวลาเที่ยว ๙ จังหวัด มาไว้ในที่เดียวกัน ณ บรรยากาศการประชุมอบรมสัมมนาเพียงสิบวัน และยังมีการติดตามความเคลื่อนไหวตลอดจนประสานการติดต่อระหว่างกันอย่างต่อเนื่องตลอดไปด้วย
สำหรับในส่วนของจังหวัดนครราชสีมาได้กล่าวแล้วตอนต้นในบทที่ ๑๘ ว่าเป็นประตูสู่อีสาน มีคำขวัญประจำจังหวัดว่า “เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน “ ฉะนั้นการนำชมของทัวร์สัมมนาสัญจร จึงอิงคำขวัญประจำจังหวัดเป็นหลัก คือ ในส่วนของคำว่า เมืองหญิงกล้า ได้แก่ท้าวสุรนารหรือคุณหญิงโมหรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่าย่าโม ผ้าไหมดี คือที่อำเภอปักธงชัย ซึ่งยังมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร อาทิ ไร่องุ่นรัตนธงชัย และโครงการสวนปู่ย่าน่าอยู่ ที่บ้านสวนหอม ตำบลตูม ที่มีลักษณะไร่นาสวนผสมแบบเก่า ปลูกพืชเล่นระดับสูง กลาง ต่ำ บนพื้นที่ ๒๑ ไร่ของนายเทวา เลิศพรหมราช ที่ได้รับรางวัลด้านการพัฒนาดีเด่นด้วย หมี่โคราช ได้แก่หมี่พิมาย ที่ไทรงาม หรือบางที่ก็ได้ยินหมี่เมืองปัก ซึ่งก็คือหมี่โคราชอย่างหนึ่ง มีลักษณะเด่นคือเส้นเหนียวนุ่มไม่แพ้ก๋วยเตี๋ยวเส้นจันท์ ปราสาทหิน ที่เลื่องชื่อคือปราสาทหินพิมาย ที่อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย นอกจากนี้ที่จังหวัดนครราชสีมายังมี ปรางค์สีดา,ปราสาทนางรำ,และปราสาทหินพนมวัน อีกด้วย ดินด่านเกวียน ด่านเกวียนเป็นตำบลอยู่ในอำเภอโชคชัย อยู่ห่างจากตัวเมืองเพียง ๑๕ กิโลเมตร ตามทางหลวงสาย ๒๒๔ (นครราชสีมา-โชคชัย) ในสมัยโบราณตำบลนี้เป็นที่พักกองเกวียนที่ค้าขายระหว่างโคราช-เขมร มีแม่น้ำมูลไหลผ่าน ชาวบ้านใช้ดินริมฝั่งแม่น้ำมาปั้นภาชนะใช้สอย และได้ทำสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน ปัจจุบันด่านเกวียนมีชื่อเสียงมากในฐานะเป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาได้สวยงาม มีรูปแบบแปลกตาหลากหลายสวยงาม แต่ยังคงลักษณะดั้งเดิมของกรรมวิธีในการปั้นและใช้ดินดำสัมฤทธิ์ที่มีเอกลักษณ์ของสีแบบดินเผาด่านเกวียนไว้อย่างไม่แปรเปลี่ยน ในส่วนของดินด่านเกวียนที่ใช้ปั้นนั้น ปลัดบัญชาเคยไปแวะชมและพูดคุยกับเจ้าของเตาเผาหลายแห่งที่บ้านด่านเกวียนเมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๒ ได้ทราบว่าดินเดิมแทบจะไม่มีแล้ว ต้องเอาดินที่อื่นมาผสมแร่ธาตุต่างๆที่จะให้สีออกมาตามที่ต้องการ เพียงแต่กรรมวิธีการปั้นต่างๆและรูปแบบเท่านั้นที่ยังคงเอกลักษณ์พิเศษของดินเผาด่านเกวียนไว้อย่างไม่แปรเปลี่ยน
นครราชสีมาเป็นจังหวัดใหญ่ ฉะนั้นคุณธนบัตรจึงขอสรุปสถานที่น่าสนใจทั้งหมดโดยย่อ คือ
อำเภอเมือง ได้แก่ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี,ประตูชุมพล,ศาลหลักเมือง,ศาลเจ้าพ่อช้างเผือก,ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา,พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์,วัดศาลาลอย,วัดศาลาทอง,อนุสรณ์สถานนางสาวบุญเหลือ,ปราสาทพนมวัน,สวนสัตว์นครราชสีมา และพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน(ศูนย์วิจัยเพื่อการศึกษา ค้นคว้า อนุรักษ์ไม้กลายเป็นหิน) กับตลาดกลางไม้ดอกไม้ประดับโคกกรวด
อำเภอปากช่อง ได้แก่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ลแก่งลำตะคอง,วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม,ตลาดผลไม้กลางดง,ศูนย์สารสนเทศลิปตพัลลภและศูนย์การสุนัขทหาร กับแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอันได้แก่สวนองุ่นบ้านไร่แม่กระต่ายน้อย,ฟาร์มโชคชัย,ศูนย์วิจัยข้าวโพดข้าวฟ่างแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,ไร่องุ่นสุพัตรา,ไร่องุ่นปากช่อง,สวนดอกไม้เมืองพร และทองสมบูรณ์คลับ
อำเภอสีคิ้ว ได้แก่เขื่อนลำตะคอง,โรงไฟฟ้าพลังน้ำลำตะคองแบบสูบกลับ,แหล่งหินตัดสีคิ้ว และวัดเขาจันทน์งาม
อำเภอสูงเนิน ได้แก่โบราณสถานเมืองเสมา,วัดธรรมจักรเสมาราม และเมืองโบราณที่ตำบลโคราชหรือเมืองโคราชเก่า
อำเภอด่านขุนทด ได้แก่วัดบ้านไร่ ที่หลวงพ่อคูณ จำพรรษา
อำเภอปักธงชัย ได้แก่วัดหน้าพระธาตุ(วัดตะคุ) และเขื่อนลำพระเพลิง กับไร่องุ่นรัตนธงชัยและโครงการสวนปู่ย่าน่าอยู่
อำเภอวังน้ำเขียว ได้แก่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช,น้ำตกห้วยใหญ่และโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ(เขาแผงม้า) กับซุ้มไม้งาม,ผักสลัดเมืองหนาวปลอดสารพิษบ้านสุขสมบูรณ์,สวนผลไม้ปลอดสารพิษบ้านศาลเจ้าพ่อและสวนหน้าวัวคุณสุชาดา
อำเภอโชคชัย ได้แก่หมู่บ้านทำเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน และปราสาทพะโค กับสวนมะนาวด่านเกวียน
อำเภอเสิงสาง ได้แก่หาดชมตะวัน
อำเภอโนนสูง ได้แก่ แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาทและโฮมสเตย์บ้านปราสาท กับผลิตภัณฑ์จากกกจันทบูรบ้านปราสาทใต้
อำเภอพิมาย ได้แก่อนุสรณ์สถานวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์,พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย,อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย และไทรงาม กับแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปสุกรบ้านน้อยสามัคคีและไร่องุ่นเพชรพิมาย
อำเภอประทาย ได้แก่ปราสาทนางรำ
อำเภอบัวใหญ่ ได้แก่ปรางค์กู่
กิ่งอำเภอสีดาได้แก่ปรางค์สีดา
อำเภอขามทะเลสอ ได้แก่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลขามทะเลสอ
อำเภอขามสะแกแสง ได้แก่กลุ่มอาชีพการเกษตรผสมผสานบ้านหนุก
อำเภอห้วยแถลง หมู่บ้านปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านหลุ่งประดู่สามัคคี
สรุปการเดินทางสัมมนาสัญจรจังหวัดนครราชสีมาด้วยการเดินทางกลับที่พักที่โรงแรมสีมาธานี ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาจัดงานเลี้ยงต้อนรับที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา แล้วจึงแยกย้ายกันไปตามอัธยาศัยจนกว่าจะพบกันในวันที่สามของการประชุมสัมมนาซึ่งเป็นเรื่องของจังหวัดชัยภูมิ
ธนบัตรเที่ยวไทย บทที่ ๒๑ วันที่สามของการประชุมสัมมนาสัญจร
เช้าวันนี้เวลา ๐๖.๓๐ น. คณะสัมมนาสัญจรก็เตรียมพร้อมออกเดินทางไปจังหวัดชัยภูมิเป็นจังหวัดที่สองของการสัมมนาสัญจร
จังหวัดชัยภูมิตั้งอยู่บนสันขอบที่ราบสูงอีสาน มีพื้นที่ติดต่อกับภาคกลางและภาคเหนือเป็นดินแดนแห่งทุ่งดอกกระเจียวที่งดงาม เป็นจังหวัดที่ยังคงเหลือพื้นที่ซึ่งเป็นป่ามากที่สุดจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีเทือกเขาสำคัญที่เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำชี ได้แก่ ภูพังเหย,ภูแลนคา และภูพญาฝ่อ
ด้านประวัติศาสตร์ ชัยภูมิมีอารยธรรมหลากหลายสมัยซ้อนทับกันตั้งแต่สมัยทวารวดี,สมัยขอม,สมัยลาวล้านช้าง,สมัยกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และโดยเหตุที่ผู้นำสร้างบ้านแปงเมือง คือพญาแล (ขุนภักดีชุมพล) มีความชอบไม่ยอมส่งส่วยเป็นเมืองขึ้นต่อเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองคนแรกของชัยภูมิ และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาภักดีชุมพล หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่าเจ้าพ่อพระยาแล(พญาแล)
ชัยภูมิมีเนื้อที่ประมาณ ๑๒,๗๗๘,๒๘๗ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็น ๑๕ อำเภอ ๑ กิ่งอำเภอ คืออำเภอเมืองชัยภูมิ,บ้านเขว้า,คอนสวรรค์,เกษตรสมบูรณ์,หนองบัวแดง,จัตุรัส,ภูเขียว,บำเหน็จณรงค์,บ้านแท่น,แก้งคร้อ,คอนสาร,เทพสถิต,หนองบัวระเหว,ภักดีชุมพล และเนินสง่า กับกิ่งอำเภอซับใหญ่
ในบทที่ ๑๓ เราเคยได้กล่าวถึงจังหวัดชัยภูมิมาบ้างแล้วเพราะปลัดบัญชามีเพื่อนเป็นอัยการจังหวัดชัยภูมิคืออัยการสิทธิผล ฉะนั้นในบทนี้จึงขอสรุปสถานที่น่าสนใจในจังหวัดชัยภูมิมาบอกให้ทราบอีกครั้งคือ
อำเภอเมือง ได้แก่อนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล(แล) ,ศาลเจ้าพ่อพระยาแล,อุทยานแห่งชาติตาดโตน,วัดพระพุทธบาทภูแฝด,วัดสระหงษ์,วัดศิลาอาสน์ ภูพระ,ปรางค์กู่,ใบเสมาบ้านกุดโง้งและอุทยานแห่งชาติภูแลนคาซึ่งในส่วนของอุทยานแห่งนี้ครอบคลุมพื้นที่ ๔ อำเภอคืออำเภอเมือง,บ้านเขว้า,หนองบัวแดงและเกษตรสมบูรณ์มีสถานที่ท่องเที่ยวตามเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติหลายแห่ง อาทิ ป่าหินงามจันทร์แดง,ภูคี,ภูเกษตร,ทุ่งดอกกระเจียวบริเวณป่าหินงามทุ่งโขลงช้างมอหินขาว,จุดชมวิวลานหินร่องกล้า,จุดชมวิวป่าหินปราสาทผาแพ,ประตูโขลง,ผากล้วยไม้,ถ้ำพระและถ้ำเกลือ,น้ำตกตาดโตนน้อยและเขาขาดกับแม่น้ำชี นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ซึ่งมีก้อนหินแปลกๆอีกหลายแห่ง ได้แก่ป่าหินงามปราสาท,ป่าหินงามหงษ์ฟ้าและแนวหน้าผาซึ่งเป็นจุดชมวิวที่สวยงามอีกหลายจุด
อำเภอหนองบัวแดง ได้แก่ ผาเกิ้ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภูแลนคาเป็นหน้าผาสูงริมทางคล้ายพระจันทร์เสี้ยวยื่นออกมา คำว่าผาเกิ้งในภาษาอีสานหมายถึงพระจันทร์ บนผาเกิ้งมีวัดผาเกิ้งหรือวัดชัยภูมิพิทักษ์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปชัยภูมิพิทักษ์ ปางประทับยืนองค์ใหญ่สูง ๑๔ เมตร และมีจุดชมวิวบนผาเกิ้งมองเห็นทัศนียภาพธรรมชาติและทิวทัศน์ริมฝั่งแม่น้ำชี
อำเภอบ้านเขว้า ได้แก่บ้านเขว้าแหล่งทอผ้าไหมมีชื่อเสียงของจังหวัดชัยภูมิ และกู่แดง โบราณสถานสมัยขอมที่วัดกุดยาง ตำบลตลาดแร้งมีทับหลังสลักภาพพระกฤษณะประลองกำลังกับช้าง
อำเภอหนองบัวระเหว ได้แก่อุทยานแห่งชาติไทรทอง ครอบคลุมป่าบนเขาพังเหยในอำเภอหนองบัวระเหว,เทพสถิต,ภักดีชุมพลและหนองบัวแดง มีน้ำตกไทรทอง,น้ำตกชวนชม,ทุ่งบัวสวรรค์หรือทุ่งดอกกระเจียวผาพ่อเมืองและจุดชมทิวทัศน์ผาหำหด
อำเภอภักดีชุมพล ได้แก่ ถ้ำแก้วและจุดชมทิวทัศน์เขาพังเหย
อำเภอคอนสวรรค์ ได้แก่บึงแวง และพระพุทธรูปใหญ่สมัยทวารวดีที่วัดคอนสวรรค์เป็นพระพุทธรูปหินแกะสลักปางประทับยืนสร้างด้วยศิลาแลง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองนครกาหลงในอดีตสมัยขอมเรืองอำนาจ
อำเภอภูเขียว ได้แก่ศูนย์รวมไม้ดัดบ้านแข้,พระธาตุหนองสามหมื่น และแหล่งทอผ้าขิตบ้านโนนเสลา
อำเภอคอนสาร ได้แก่เขื่อนจุฬาภรณ์หรือเขื่อนน้ำพรม ซึ่งมีสถานที่ท่องเที่ยวได้แก่ พระพุทธสิริสัคคราชจำลอง(หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์),สวนเขื่อนจุฬาภรณ์,พืชโบราณ ๓๒๕ล้านปีเป็นพืชตระกูลหญ้า มี ๒ สายพันธุ์ คือ สนสามร้อยยอด และสนหางม้าหรือหญ้าถอดปล้อง,ศาลาชมวิวหลุบควนและสนามริมน้ำข้างพระตำหนัก ,เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว และ สถานีวิจัยเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าภูเขียว
อำเภอเทพสถิต ได้แก่อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม มีจุดท่องเที่ยว คือ ลานหินงาม,ทุ่งดอกกระเจียวผาสุดแผ่นดิน,น้ำตกเทพพนา,น้ำตกเทพประทานและพระพุทธบาทเขายายหอม
เทศกาลงานประเพณี ได้แก่ งานฉลองอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพระยาแล,งานประเพณีบวงสรวงเจ้าพ่อพระยาแล,งานแห่เทียนเข้าพรรษา,ประเพณีรำผีฟ้า,งานบุญเดือนสี่และงานวันดอกกระเจียวบาน
คณะสัมมนาสัญจรเดินทางถึงจังหวัดชัยภูมิ ก็กระทำกิจกรรมที่กระทำเป็นประจำสม่ำเสมอคือ แวะสักการะอนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพลหรือเจ้าพ่อพระยาแล ปูชนียบุคคลของจังหวัดชัยภูมิ เสร็จแล้วจึงรับฟังบรรยายสรุปพร้อมกับนำเที่ยวจังหวัดชัยภูมิ จบภารกิจแล้วจึงเดินทางกลับที่พักที่โรงแรมสีมาธานีจังหวัดนครราชสีมา เตรียมเดินทางไปจังหวัดขอนแก่นในวันรุ่งขึ้น
บทที่ ๒๒ วันที่สี่ของการสัมมนาสัญจร
วันนี้ปลัดบัญชาเดินทางไปสัมมนาสัญจรที่จังหวัดขอนแก่นพร้อมกับคณะ จึงได้ทราบคำขวัญประจำจังหวัดที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นเป็น“ พระธาตุขามแกน เสียงแคนดอกคูน ศูนยรวม
ผาไหม รวมใจผูกเสี่ยว เที่ยวขอนแกนนครใหญ ไดโนเสารสิรินธรเน สุดเท เหรียญทองมวยโอลิมปก”
นอกจากนี้ปลัดบัญชายังได้รับทราบแผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สคช.),กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา(กก.) และองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(อพท.) ซึ่งมียุทธศาสตร์ ๓๕๓ คือ
ยุทธศาสตร์ของสคช.
๑.ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว
๒.ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ
๓.ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ของ กก.
๑.ยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพบุคลากร ธุรกิจท่องเที่ยวและระบบโลจิสติกส์
๒.ยุทธศาสตร์ส่งเสริมให้ อพท. ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวที่ชุมชนมีส่วนร่วม เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมท่องเที่ยว
๓.ยุทธศาสตร์การพัฒนาสินค้าท่องเที่ยวให้มีความหลากหลายโดยอาศัยการสร้างนวัตกรรมและมูลค่าเพิ่ม
๔.ยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการตลาดและศักยภาพในการแข่งขัน
๕.ยุทธศาสตร์การพัฒนากลไกการจัดการการท่องเที่ยวของประเทศ
ยุทธศาสตร์ของ อพท.
๑.ยุทธศาสตร์ส่งเสริมชุมชนด้านการท่องเที่ยว
๒.ยุทธศาสตร์ประสานการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนให้มีมาตรฐานคุณภาพ
๓.ยุทธศาสตร์จัดการบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรการท่องเที่ยวให้มีดุลยภาพเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน
ที่กล่าวแล้วข้างต้นก็คือยุทธศาสตร์ระดับประเทศของหน่วยงานการท่องเที่ยวของทางราชการ ซึ่งจะให้ได้ผลดีเลิศในทางปฏิบัติได้ก็ต่อเมื่อได้รับความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านทุกระดับในอันที่จะประสานความร่วมมือให้แปรเปลี่ยนเป็นผลลัพท์ที่สัมผัสได้ในความเป็นจริง ไม่ใช่เพียงมีผลแค่ตัวอักษรในโครงการเพียงอย่างเดียว
ปลัดบัญชาในฐานะผู้เป็นเจ้าของพื้นที่เสนอให้คณะไปดูเกี่ยวกับวัด เพราะในแถบดินแดนอีสานตั้งแต่โบราณกาลจวบจนปัจจุบันสมัย ศูนย์รวมจิตใจของคนไทยในดินแดนดังกล่าวและเกือบทั้งหมดทุกจังหวัดจะเริ่มที่วัด ไม่ว่าจะในด้านการศึกษา การศาสนาหรือศูนย์รวมทางจิตใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในชนบท ฉะนั้นแม้ในปัจจุบันวัดมีบทบาทน้อยลง แต่ก็ยังคงเหลือร่องรอยอารยธรรมและวัฒนธรรมท้องถิ่นไว้ให้ศึกษาอยู่อีกมาก วัดที่คณะไปชมได้แก่
วัดไชยศรี ตั้งอยู่ที่บ้านสวี อำเภอเมือง มีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือนายทอง ทิพย์ชา ศิลปินชาวมหาสารคาม และโบสถ์ที่ปฏิสังขรณ์ใหม่จากแบบเดิมที่เป็นหลังคาแบบอีสาน มาเป็นแบบรัตนโกสินทร์
วัดสระบัวแก้ว ตั้งอยู่ที่บ้านวังคูณ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตผู้คน สวรรค์ นรก นิทานพื้นบ้านและชาดก
วัดหนองแวงเมืองเก่า ตั้งอยู่ริมบึงแก่นนคร มีพระเจดีย์เก้าชั้นบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากประเทศอินเดีย คือพระมหาธาตุแก่นนคร
วัดอุดมคงคาคีรีเขต ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านโคก อำเภอมัญจาคีรี ปัจจุบันมีอนุสรณ์สถานที่บรรจุอัฐิและรูปเหมือนหลวงปู่ผาง เกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัด
นอกจากนี้ที่วัดป่ามัญจคิรี ยังมีกล้วยไม้ป่าพันธุ์ช้างกระ ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติหลายพันต้นขึ้นอยู่ในบริเวณวัดด้วย
วัดเจติยภูมิ ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง เป็นที่ประดิษบานพระธาตุขามแก่น ปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดขอนแก่น ซึ่งนามพระธาตุขามแก่นได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของที่มาของชื่อเมืองขอนแก่นในปัจจุบันด้วย
ตลอดระยะเวลาการเดินทาง คณะสัมมนาสัญจรได้แวะชมสถานที่สำคัญต่างๆ ที่เป็นทางผ่านตลอดเส้นทางด้วยจนกระทั่งเวลาประมาณ ๑๗.๐๐ น. คณะจึงเดินทางกลับไปพักแรมที่โรงแรมสีมาธานี จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งปรากฏว่าระยะนี้ใกล้การจัดการแข่งขันซีเกมส์ครั้งที่ ๒๔ และอาเซียนพาราเกมส์ครั้งที่ ๔ ซึ่งจังหวัดนครราชสีมาเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ในวันที่ ๖-๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ และวันที่ ๑๗-๒๗มกราคม ๒๕๕๑ ฉะนั้นจึงมีการเตรียมการของจังหวัดอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่โรงแรมสีมาธานีถึงกับใช้งบกว่า ๔๐ ล้านบาทปรับปรุงห้องพัก ห้องประชุม ห้องอาหาร เปลี่ยนเครื่องปรับอากาศและเครื่องซักรีดของโรงแรมใหม่ ทาสีตัวอาคารโรงแรมใหม่ทั้งหมด พร้อมติดตั้งระบบอินเตอร์เนททุกห้องพักกับติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยให้มากยิ่งขึ้น ถือว่าเป็นการปรับปรุงครั้งใหญ่ในรอบ ๑๕ ปี
การปรับปรุงเช่นเดียวกันนี้มีเกือบทุกวงการในจังหวัดนครราชสีมา ฉะนั้นการจัดการสัมมนาสัญจรครั้งนี้ขึ้นมา จึงเป็นการเตรียมความพร้อมด้านหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา คณะผู้เข้าร่วมการสัมมนา จึงได้รับข้อมูลและประโยชน์ด้านต่างๆจากการสัมมนาครั้งนี้เป็นอย่างดียิ่ง และยังเป็นการระดมสมองผู้ที่อยู่ในพื้นที่ภาคอีสานได้เป็นอย่างดีที่สุด
บทที่ ๒๓ ไปเมืองนายร้อยห้อยกระบี่
คงเพราะแต่ก่อนบ้านเมืองทำนาเราปลูกข้าวกันทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ในภาคกลางของประเทศ จังหวัดนครนายกก็เช่นเดียวกัน ทำนาปลูกข้าวกันเป็นล่ำเป็นสัน คนจึงเรียกกันว่า บ้านนา เมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยาดินแดนเมืองนครนายกยังเป็นป่ารกชัฏเป็นที่ดอน ทำนาหรือเพาะปลูกอะไรไม่ค่อยได้ผลและมีไข้ป่าชุกชุม ผู้คนจึงอพยพไปอยู่ที่อื่นกันหมดทำให้กลายเป็นเมืองร้าง พระมหากษัตริ์ทรงทราบถึงความเดือดร้อนดังกล่าว จึงโปรดเกล้าฯให้ยกเลิกภาษีนาในพื้นที่นี้เพื่อจูงใจให้ชาวเมืองกลับไปอยู่ที่เดิม ทำให้มีผู้อพยพไปอยู่กันมากขึ้นจนกลายเป็นชุมชนใหญ่เรียกกันติดปากว่า เมืองนายก เพราะได้ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีนานั่นเอง
นครนายกเป็นเมืองโบราณตั้งแต่ครั้งสมัยทวารวดี ดังปรากฏหลักฐานคือ แนวกำแพง เนินดินและสันคูเมืองที่ตำบลดงละคร และยังปรากฏหลักฐานในสมัยกรุงศรีอยุธยาว่าเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศตะวันออกในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ครั้นถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕ ทรงจัดลักษณะการปกครองเป็นมณฑล โดยให้นครนายกอยู่ในเขตมณฑลปราจีนบุรี จนกระทั่ง พ.ศ.๒๔๔๕ ทรงเลิกธรรมเนียมการมีเจ้าครองเมือง ให้มีตำอหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดขึ้นแทน และในช่วง พ.ศ.๒๔๘๐-๒๔๘๙ ได้โอนนครนายกไปรวมกับจังหวัดปราจีนบุรีและสระบุรี หลังจากนั้นจึงแยกไปเป็นจังหวัดนครนายก
จังหวัดนครนายกจึงมีคำขวัญประจำจังหวัดที่สอดคล้องความเป็นธรรมชาติที่ยังหลงเหลืออยู่ค่อนข้างมากว่า “เมืองในฝันที่ใกล้กรุง ภูเขางาม น้ำตกสวย รวยธรรมชาติ ปราศจากมลพิษ”
ในปัจจุบันจังหวัดนครนายกเป็นที่รู้จักกันในฐานะที่เป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า(จปร.) ที่เขาชะโงก ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทรงอนุเคราะห์เป็นพระอาจารย์สอนศิลปวิทยาการให้เหล่านักเรียนโรงเรียนนายร้อยอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด
นอกจากนี้ในเขตอำเภอเมืองนครนายกยังเป็นที่ตั้งของเขื่อนขุนด่านปราการชล เขื่อนคอนกรีตบดอัดที่ใหญ่ที่สุดในโลก และศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ(พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติมีชีวิต)ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นหนึ่งในอีกหลายโครงการในโครงการเปิดทองหลังพระ-ท่องเที่ยวสืบสานโครงการพระราชดำริ” ด้วย
สำหรับตราประจำจังหวัดนครนายกที่เป็นรูปช้างชูณวงข้าวอยู่ใกล้กองฟางแวดล้อมป่านั้น รวงข้าวและกองฟาง หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร ที่เป็นรูปช้างเพราะสมัยก่อนมีช้างมากมายในบริเวณนี้
เมืองนครนายกยังเป็นตำนานของเมืองที่เป็นที่ตั้งของสถาบันวิชาการทางทหาร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า(จปร.) ซึ่งเป็นแหล่งผลิตบุคลากรนายทหารสัญญาบัตรของกองทัพบกไทยด้วย ตำนานนายร้อยห้อยกระบี่จึงเกิดก่อขึ้นมาให้เราทั้งหลายได้รู้เห็นกันมาตลอด
วันนี้เป็นวันที่ห้าของการสัมมนาสัญจร โดยคณะสัมมนาสัญจรออกเดินทางจากที่พักที่จังหวัดนครราชสีมามุ่งสู่จังหวัดนครนายกโดยมีจุดหมายปลายทางที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า(จปร.) ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลพรหมณี ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๑๔ กิโลเมตร บริเวณโรงเรียนติดกับเขาชะโงก มีพื้นที่ประมาณ ๑๙,๒๙๐ ไร่ เป็นสถานศึกษาของผู้ที่จะรับราชการเป็นนายทหารสัญญาบัตรชองกองทัพไทย มีสถานที่น่าสนใจได้แก่ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้ทรงพระราชทานกำเนิดโรงเรียนนายร้อย จปร. ประดิษฐานอยู่หน้ากองบัญชาการของโรงเรียน ในชุดฉลองพระองค์เครื่องแบบจอมทัพไทยแห่งกองทัพบกเต็มยศ ประทับเหนือพระราชอาสน์ ,ศาลาวงกลม(ศาลาลม), อาคารพิพิธภัณฑ์โรงเรียนนายร้อย จปร. ๑๐๐ ปี,ศาลเจ้าพ่อขุนด่าน และพระพุทธฉาย
อำเภอเมืองนครนายก นอกเหนือจากโรงเรียนนายร้อย จปร. แล้ว ยังมีสถานที่น่าสนใจได้แก่
ศาลหลักเมือง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในศาลาจตุรมุขภายในสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ ๙, หลวงพ่อเศียรนคร ที่วัดบุญนาครักขิตาราม(วัดต่ำ), วัดใหม่ทักขิณาราม, วัดพราหมณี และอนุสรณ์สถานกองพลทหารญี่ปุ่นที่ ๓๗ ซึ่งในโบสถ์มีพระพุทธรูปปากแดง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ทรงเครื่องดอกพิกุล พระโอษฐ์แดง ที่ชาวลาวอพยพได้อัญเชิญมาเมื่อสมัยเวียงจันทน์แตก, รอยพระพุทธบาทจำลองเขานางบวช, เมืองโบราณดงละคร, อ่างเก็บน้ำห้วยปรือ, อ่างเก็บน้ำทรายทอง,น้ำตกลานรักหรือน้ำตกตาดหินกอง,น้ำตกสาริกา,อุทยานวังตะไคร้,น้ำตกนางรอง
อำเภอบ้านนา ได้แก่น้ำตกกะอาง อำเภอปากพลี ได้แก่พิพิธภัณฑ์พิ้นบ้านไทยพวนวัดฝั่งคลอง,น้ำตกวังม่วง,วัดป่าศรีถาวรนิมิต,อ่างเก็บน้ำวังบอน และน้ำตกเหวนรก อำเภอองครักษ์ ได้แก่ศาลเจ้าพ่อองครักษ์
ส่วนเทศกาลงานประเพณีของจังหวัดนครนายก ได้แก่ งานวันมะปรางหวานและของดีนครนายก,งานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับองครักษ์,งานนครนายกมรดกธรรมชาติ,งานประเพณีสารทไทยและแข่งเรือยาวประเพณี และงานประเพณีตักบาตรเทโวโรหนะ
สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก ได้แก่ผลิตผลและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากแหล่งธรรมชาติแทบทั้งสิ้น ได้แก่ มะปราง,ดอกดาหลา,ผลิตภัณฑ์หินอ่อน,ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่,ไม้กวาด,พรมทอจากเศษผ้า,ขนมเปี๊ยะ,กล้วยฉาบ,มันฉาบ,เผือกฉาบ,ผลไม้แช่อิ่ม,ผ้าทอมือพื้นเมือง และไข่เค็มสูตรใบเตยหอม
สิ่งที่กำลังเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวไทยและต่างประเทศอีกอย่างหนึ่งก็คือ การท่องเที่ยวเชิงเกษตรหรือเชิงธรรมชาตินั่นเอง ซึ่งที่จังหวัดนครนายกก็มีหลายแห่งด้วยกัน เช่น ศูนย์ไม้ดอกไม้ประดับตลอดแนวคลอง ๑๕ และบริเวณใกล้เคียงริมเส้นทางสายรังสิต-นครนายก ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์พืชทั้งไม้ดอกไม้ประดับต่างๆที่จัดว่าเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย, กลุ่มส้ม โอไอพีเอ็ม ,สวนละอองฟ้า,สวนวังทิพย์,สวนสมบุญการเกษตร,สวนศรียา,ล่องแก่งในลำน้ำนครนายก,จักรยานเสือภูเขา และท่องไพรเขาใหญ่-นครนายก เที่ยวเมืองไทย ไม่ไปไม่รู้ สำหรับท่านที่สนใจชมภาพสวยๆของธรรมชาติเขื่อนคลองท่าด่าน สามารถชมดูรายละเอียดได้จากนิตยสาร อนุสาร อสท.ฉบับประจำเดือนธันวาคม ๒๕๔๘ หรือเข้าไปชมที่เวปต์ไซต์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยตามที่อยู่ข้างต้นได้ตลอดเวลา
ท้ายสุดของบทนี้คุณธนบัตรอยากจะฝากบอกนักท่องเที่ยวว่า ถ้าต้องการความสะดวกสบายเที่ยวไทยได้ทั่วอย่างสนุกมีสาระได้ประโยชน์เต็มที่แล้ว ก่อนการเดินทางควรเตรียมการต่างๆให้พร้อมไม่ว่าจะเป็นสัมภาระต่างๆ รายละเอียดสถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก ซึ่งสามารถรับข้อมูลท่องเที่ยวทางโทรสาร ๒๔ชั่วโมง ที่ โทร. ๑๖๗๒ หรือติดต่อศูนย์บริการข่าวสารการท่องเที่ยวสำนักงานใหญ่ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่(เปิดทุกวัน ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐น.),ททท.ถนนราชดำเนินนอก,สำนักงาน ททท.เขตประจำภาคต่างๆทั่วประเทศ และที่ WWW.tourismthailand.org E-mail : info@tat.or.th
เสร็จภารกิจจากจังหวัดนครนายกแล้ว คณะสันาสัญจรก็เดินทางกลับโรงแรมสีมาธานีที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อพักผ่อนตามอัธยาศัย เตรียมเดินทางไปจังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้วในวันรุ่งขึ้น
บทที่ ๒๔ สัมมนาสัญจรวันที่หก เที่ยวมณฑลปราจิณ
บรรยากาศการสัมมนาเริ่มเต็มไปด้วยอัธยาศัยไมตรี เป็นไปอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัยเพราะย่างเข้าวันที่หกของการสัมมนาแล้ว วันนี้คณะสัมมนาสัญจรจะเดินทางไปที่จังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้ว
เดิมปราจีนบุรีเป็นจังหวัดชายแดนติดประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย(Democratic Kampuchea) แต่เมื่อสระแก้วแยกตัวไปเป็นจังหวัดสระแก้วแล้ว จังหวัดสระแก้วจึงอยู่ติดกับชายแดนเขมรมากกว่า ปราจีนบุรีเคยเป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งต่สมัยทวารวดี ต่อเนื่องมาถึงสมัยลพบุรี พบหลักฐานซากเมืองโบราณที่เรียกว่า “เมืองศรีมโหสถ” และชุมชนโบราณอายุร่วมสมัยเดียวกัน โดยพบซากโบราณสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมศาสนกิจ และโบราณวัตถุ ได้แก่พระพุทธรูป เทวรูป เครื่องปั้นดินเผา เครื่องสำริด ซึ่งเป็นเครื่องมือเครื่องใช้กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ต่อมาศูนย์กลางความเจริญได้ย้ายมาตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำบางประกงดังเช่นในปัจจุบัน สมัยกรุงศรีอยุธยา เรียกว่า “เมืองปราจีน” ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็ยังเรียกว่า เมืองปราจิณ หรือมณฑลปราจิณ จนกระทั่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกเลิกมณฑลปราจิณ และเปลี่ยนจากเมืองเป็นจังหวัด เรียกชื่อใหม่ว่า จังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดปราจีนบุรี แบ่งการปกครองเป็น ๗ อำเภอ คือ อำเภอเมืองปราจีนบุรี บ้านสร้าง ประจันตคาม ศรีมโหสถ ศรีมหาโพธิ กบินทร์บุรี และนาดี มีอาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดนครราชสีมา ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดสระแก้ว ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดนครนายก
คำขวัญประจำจังหวัดปราจีนบุรี มีว่า “ศรีมหาโพธิ์คู่บ้าน ไผ่ตงหวานคู่เมือง ผลไม้ลือเลื่อง เขตเมืองทวาราวดี”
สำหรับตราประจำจังหวัดปราจีนบุรีเป็นรูปต้นพระศรีมหาโพธิ์พุทธคยา ซึ่งชาวเมืองเชื่อกันว่าเมื่อราวปี พ.ศ. ๕๐๐ สมณทูตจากอินเดียที่เข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในดินแดนแถบนี้ ได้นำต้นพระศรีมหาโพธิ์พุทธคยาที่เป็นพันธุ์จากต้นโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับบำเพญธรรมจนสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เข้ามาปลูกไว้ที่ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมหาโพธิ์ ราษฎรทั้งใกล้และไกลพากันมาเคารพกราบไหว้บูชาและจัดงานนมัสการตลอดมามิได้ขาด และอันเนื่องมาจากการที่สมัยก่อนที่ยังมิได้แยกสระแก้วออกมาเป็นจังหวัด ปราจีนบุรีมีอาณาเขตติดต่อประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย ฉะนั้นคำขวัญเดิมของจังหวัดจึงมีว่า “สร้างปราการให้แกร่งกล้า พัฒนาให้ก้าวไกล”
สำหรับสถานที่น่าสนใจในจังหวัดปราจีนบุรี มีดังนี้
อำเภอเมืองปราจีนบุรี ได้แก่ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประดิษฐานอยู่ ณ สี่แยกเนินหอม ตำบลบ้านพระ เป็นพระบรมรูปในท่าประทับยืน , พิพิธภัณฑ์พระครูอุทัยธรรมธารี(เส็ง สุขิโต), กองพลทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์, พิพิธภัณฑ์อยู่สุขสุวรรณ์, วัดแก้วพิจิตร, ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดปราจีนบุรี, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติปราจีนบุรี, ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร, โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศณ, วัดสง่างาม,วัดโบสถ์ ภายในวัดมีพระพุทธรูป ๓ องค์ คือ พระพุทธรูปปางลีลา พระนามว่า “พระสิริมงคลนิมิต”, พระพุทธรูปปางประทับนั่งห้อยพระบาท พระนามว่า “พระสรรพสิทธินาวา” และพระพุทธรูปปางประทับนอน พระนามว่า “พระมหาชินไสยาสน์”, สวนพันธุ์ไผ่,น้ำตกเหวนรก,น้ำตกธารรัตนา, อ่างเก็บน้ำจักรพงษ์(เนินพิศวง หรือเนินมหัศจรรย์) และน้ำตกเขาอีโต้
อำเภอบ้านสร้าง ได้แก่ค้างคาวแม่ไก่วัดบางกระเบา
อำเภอศรีมโหสถ ได้แก่ ต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ,หลวงพ่อทวารวดี ปัจจุบันเก็บไว้ที่วิหารหน้าที่ว่าการอำเภอศรีมโหสถ เป็นพระพุทธรูปประทับยืนปางประทานธรรมสร้างจากหินทรายสีเขียว อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔ ,กลุ่มโบราณสถานสระมรกต, โบราณสถานเมืองศรีมโหสถ
อำเภอศรีมหาโพธิ ได้แก่อนุสาวรีย์ลายพระหัตถ์ ร.๕ ,หลุมเมือง,โบราณสถานพานหิน
อำเภอประจันตคาม ได้แก่น้ำตกธารทิพย์,น้ำตกส้มป่อย, น้ำตกตะคร้อ และน้ำตกสลัดได
อำเภอกบินทร์บุรี ได้แก่อุทยานกบินทร์เฉลิมราชย์ และพิพิธภัณฑ์เหมืองทองคำ บ้านบ่อทอง
อำเภอนาดี ได้แก่ อุทยานแห่งชาติทับลาน ,แก่งหินเพิง,สวนนงนุชแคมป์ปิ้ง รีสอร์ท
กิจกรรมน่าสนใจอื่นๆ ได้แก่ การเดินป่า และล่องแก่งหินเพิง ซึ่งมีบริษัทตัวแทนหลายแห่งให้เลือกตามใจชอบ หรือท่องเที่ยวเชิงเกษตร ขี่จักรยานเที่ยวชมสวนผลไม้
เทศกาลงานประเพณี ได้แก่ งานมาฆปูรมีศรีปราจีน, งานแห่บั้งไฟ, งานวันเกษตรและของดีเมืองปราจีน, งานสัปดาห์ล่องแก่งหินเพิง, งานแข่งเรือยาวประเพณี และงานลอยกระทง
สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
ผลิตภัณฑ์จากใบลาน,ถ่านไม้ไผ่,ผลไม้และผลผลิตการเกษตร,ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเจ้าพระยาอภัยภูเบศร,เฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่,ไม้กวาดดอกหญ้า,หัตถกรรมจักสานจากไม้ไผ่ และผ้าไหมไทย
บทต่อไปจะกล่าวถึงจังหวัดสระแก้วซึ่งเป็นจังหวัดที่แยกออกไปจากจังหวัดปราจีนบุรี
บทที่ ๒๕ มุ่งสู่ชายแดนเขมร
ชายแดนเมืองบูรพา ป่างามตาน้ำตกสวย มากด้วยอารยธรรมโบราณ ย่านการค้าไทย-เขมร
สระแก้ว เป็นจังหวัดชายแดนด้านตะวันออกติดต่อกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย เป็นจังหวัดลำดับที่ ๗๔ ของประเทศไทย โดยแยกออกจากจังหวัดปราจีนบุรีตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๓๖ ซึ่งจะครบกำหนด ๑๔ ปีในวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ ที่จะมาถึง มีหลักฐานแสดงว่าสระแก้วเคยเป็นชุมชนสำคัญที่มีความเจริญรุ่งเรืองในยุคเจนละ-ทวารวดี พบหลักฐานบันทึกศักราชที่เก่าแก่ที่สุดเป็นจารึกอักษรปัลลวะ สร้างขึ้นราวปีพุทธศักราช ๑๑๘๐
สุดชายแดนอรัญประเทศจังหวัดสระแก้ว เป็นประตูเชื่อมต่อการคมนาคมและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศไทยและกัมพูฃา โดยมีตลาดสินค้าราคาถูกและสินค้ามือสองจากนานาประเทศเพื่อนบ้าน ที่รู้จักกันดีในชื่อ ตลาดโรงเกลือ หรือตลาดชายแดนบ้านคลองลึก
สระแก้ว แบ่งการปกครองออกเป็น ๗ อำเภอ ๒ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง,วัฒนานคร,อรัญประเทศ,ตาพระยา,เขาฉกรรจ์,วังน้ำเย็น และตลองหาด กับกิ่งอำเภอโคกสูงและวังสมบูรณ์
การเดินทางไปจังหวัดสระแก้ว สามารถเดินทางโดยรถยนต์,รถโดยสารประจำทางและรถไ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.transport.co.th www’tat.or.th www.railway.co.th
สถานที่น่าสนใจ
อำเภอเมือง ได้แก่สระแก้ว สระขวัญ,ศาลหลักเมือง,อุทยานแห่งชาติปางสีดา,อ่งเก็บน้ำท่ากระบาก และน้ำตกท่ากระบาก
อำเภอเขาฉกรรจ์ ได้แก่ สวนรุกขชาติเขาฉกรรจ์,เขาฉกรรจฺ,วัดถ้ำเขาฉกรรจ์ และอ่างเก็บน้ำเขาสามสิบ
อำเภอวังน้ำเย็น ได้แก่หมู่บ้านหัตถกรรมจักสานล้อมเซรามิก,น้ำตกเขาตะกรุบ,โรงพยาบาลวังน้ำเย็น(โรงพยาบาลต้นแบบทางด้านการบำรุงบำบัดสุขภาพด้วยสมุนไพร)
กิ่งอำเภอวังสมบูรณ์ ได้แก่ สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น และน้ำตกเขาสิบห้าชั้น
อำเภอคลองหาด ได้แก่ สวนน้ำสาธารณะเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
อำเภอวัฒนานคร ได้แก่ สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าช่องกล่ำบน,เขื่อนพระปรง,พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และหลวงพ่อทองวัดสระแก้ว(พระนักพัฒนาและแพทย์แผนโบราณ),วัดนครธรรมและปราสาทบ้านน้อย
อำเภออรัญประเทศ ได้แก่ พระสยามเทวาธิราชจำลอง หน้าสภ.อ.อรัญประเทศ,วัดอนุบรรพต(เขาน้อย),โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช,ปราสาทเขาน้อยสีชมพู,ปราสาทเมืองไผ่,ตลาดโรงเกลือหรือตลาดชายแดนบ้านคลองลึก และประตูชัยอรัญประเทศ
กิ่งอำเภอโคกสูง ได้แก่ปราสาทสด๊กก๊อกธม(โบราณสถานตามลัทธิศาสนาฮินดู)
อำเภอตาพระยา ได้แก่ ละลุ(แพะเมืองผีแห่งใหม่),ปราสาทเขาโล้น,อุทยานแห่งชาติตาพระยา และอ่างเก็บน้ำห้วยยาง
เทศกาลงานประเพณี ได้แก่ งานสืบสานวัฒนธรรมเบื้องบูรพาและงานกาชาดจังหวัดสระแก้ว,งานวันสถาปนาจังหวัดสระแก้ว และงานวันก่อแก้วบานเบื้องบูรพา
สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก ได้แก่ ข้าวหลาม,แคนตาลูป,ผ้าไหมบ้านหันทราย,เครื่องจักสาน,จักสานล้อมเซรามิก,ผลิตภัณฑ์ไม้,ชิงช้าโยก และที่แปลกคือ ไวน์อีโก่ย ซึ่งเป็นไวน์องุ่นสมุนไพรไทย (อีโก่ย คือองุ่นป่าเมืองไทย ซึ่งจะรับประทานได้ก็ต่อเมื่อผลแก่จัดเป็นสีน้ำตาลเข้ม รสชาติจะออกเปรี้ยวจัด มีวิตามินซีสูง)
เนื่องจากคณะสัมมนาสัญจรเป็นคณะข้าราชการระดับผู้บริหารระดับกลาง ฉะนั้นในการเดินทางไปจังหวัดสระแก้วในครั้งนี้จึงเจาะจงไปที่ตลาดชายแดนบ้านคลองลึก และเดินทางต่อเนื่องข้ามเขตแดนไปชมเมืองเขมรและชมปราสามนครวัด-นครธม แล้วไปกระชับสัมพันธ์ไทย-เขมร ตามคำเชิญของผู้ว่าราชการจังหวัดบันเตียนเมียนเจรยและจังหวัดเสียมราฐ โดยการประสานติดต่อของสถานทูตราชอาณาจักรกัมพูชาประเทศไทย ซึ่งได้รับการเลี้ยงต้อนรับในบรรยากาศอบอุ่นมิตรไมตรีเยี่ยงบ้านพี่เมืองน้อง
บทที่ ๒๖ ไปเมืองปราสาทหินถิ่นภูเขาไฟ
กลับจากเขมร คณะสัมมนาสัญจรก็ย้อนดูตัวเอง เพราะไปดูหนังดูละครมาแล้ว โดยเดินทางไปยังจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งชื่อบอกว่าเป็นเมืองแห่งความริ่นรมย์ โดยบุรีรัมย์มีคำขวัญประจำจังหวัดว่า
“เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม”
บุรีรัมย์เป็นเมืองแห่งปราสาทหิน ดินแดนแห่งอารยธรรมของขอมโบราณ มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับการอยู่อาศัยของมนุษย์ในดินแดนแห่งนี้มาตั้งแต่ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงสมัยทวารวดี พบปราสาทขอมน้อยใหญ่กว่า ๖๐ แห่งที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในครั้งอดีตกาล และยังพบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญคือ เตาเผาภาชนะดินเผาสมัยขอมซึ่งมีอายุประมาณพุทธษตวรรษที่ ๑๕-๑๘ อีกด้วย
การเดินทางไปจังหวัดบุรีรัมย์นอกจากเส้นทางรถยนต์ รถโดยสารประจำทาง และรถไฟแล้ว ยังสามารถเดินทางด้วยเครื่องบิน ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thaiairways.com
สถานที่น่าสนใจ
อำเภอเมือง ได้แก่ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์จักรี วนอุทยานเขากระโดง อ่างเก็บน้ำกระโดง อ่างเก็บน้ำห้วยตลาด และสวนนกบุรีรัมย์
อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ได้แก่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง และปราสาทหินพนมรุ้ง(พนมรุ้ง หรือ วนฺรุง เป็นภาษาเขมรแปลว่าภูเขาใหญ่ เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ครั้นปีพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ แห่งราชอาณาจักรขอม ได้หันมานับถือศาสนาพุทธ ลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา
ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ อันโด่งดังซึ่งแอ๊ด คาราบาวนำมาร้องเป็นเพลงว่า “เอาไมเคิล แจ๊กสันคืนไป เอาพระนารายณ์คืนมา” ก็มีที่มาจากทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์แห่งปราสาทหินพนมรุ้ง ซึ่งถูกลักลอบนำไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์ในประเทศสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งได้กลับคืนถิ่นเดิมในที่สุดจนถึงทุกวันนี้
นอกจากนี้ ห่างจากปราสาทหินพนมรุ้งไปอีกประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ยังเป็นที่ตั้งวัดเขาอังคารซึ่งอยู่บนเขาอังคารซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว ภายในวัดเคยมีการค้นพบโบราณสถานเก่าแก่และใบเสมาหินทรายสมัยทวารวดีหลายชิ้น ปัจจุบันเป็นวัดที่สวยงามใหญ่โตแห่งหนึ่งของบุรีรัมย์ มีการก่อสร้างโบสถ์ ศาลาและอาคารต่างๆเลียนแบบสถาปัตยกรรมสมัยต่างๆหลายรูปแบบ ภายในโบสถ์ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวพุทธชาดกเป็นภาษาอังกฤษด้วย
อำเภอนางรอง ได้แก่อ่างเก็บน้ำทุ่งแหลม
อำเภอประโคนชัย ได้แก่ปราสาทหินเมืองต่ำ มีลักษณะของศิลปะขอมแบบบาปวนซึ่งมีอายุราวพุทธศักราช ๑๕๐๘-๑๕๕๕ ปะปนอยู่ด้วย ภาพสลักส่วนใหญ่เป็นภาพเทพในศาสนาฮินดู จึงสันนิษฐานว่าปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๗ เพื่อใช้เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู, เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน(แหล่งดูนกน้ำช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน)
อำเภอบ้านกรวด ได้แก่แหล่งหินตัดซึ่งเป็นแหล่งหินทรายที่คนสมัยขอมตัดหินเอาไปสร้างปราสาทต่างๆในเขตอีสานใต้(อีสานใต้ประกอบด้วยจังหวัดนครราชสีมา,สุรินทร์,บุรีรัมย์,ศรีสะเกษและอุบลราชธานี) , แหล่งเตาโบราณ(เตาสวายและเตานายเจียน) เครื่องปั้นดินเผาที่ขุดพบสามารถชมได้ที่ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ หรือที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
อำเภอปะคำ ได้แก่ปราสาทวัดโคกงิ้ว เป็นโบราณสถานสมัยขอม ด้านหลังเป็นอโรคยาศาล หรือโรงพยาบาลสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗
อำเภอโนนดินแดง ได้แก่อนุสาวรีย์เราสู้, เขื่อนลำนางรอง และปราสาทหนองหงส์
อำเภอสตึก ได้แก่พระพุทธรูปใหญ่(พระพุทธรูปปฏิมาสันตยาภิรมย์สตึกอุดมราษฎรนิมิตมนิน) เป็นพระยืนขนาดใหญ่อยู่ริมแม่น้ำมูล
อำเภอพุทไธสงได้แก่พระเจ้าใหญ่วัดหงษ์ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ปางมารวิชัย ศิลปะลาว
อำเภอนาโพธิ์ ได้แก่หมู่บ้านทอผ้าไหมอำเภอนาโพธิ์
อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ ได้แก่กู่สวนแตง (โบราณสถานแบบขอม) ประกอบด้วยปรางค์อิฐ ๓ องค์
เทศกาลงานประเพณี
ได้แก่งานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง, ประเพณีแข่งเรือยาวจังหวัดบุรีรัมย์ ที่อำเภอสตึก,งานมหกรรมว่าวอีสานบุรีรัมย์ที่สนามกีฬาอำเภอห้วยราช ในวันเสาร์-อาทิตย์แรกของเดือนธันวาคมของทุกปี, งานนมัสการพระเจ้าใหญ่วัดหงษ์(วัดศีรษะแรต) ที่อำเภอพุทไธสง, งานนมัสการพระพุทธบาทจำลองที่เขากระโดง
สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
ได้แก่ ผ้าไหมผ้าฝ้ายนาโพธิ์, หินทรายแกะสลัก,เครื่องจักสาน,ปลาจ่อมอำเภอประโคนชัย, ขาหมูอำเภอนางรอง, กุนเชียงและไก่ย่างอำเภอลำปลายมาศ, หัวผักกาดหวานอบน้ำผึ้งอำเภอกระสัง, กุ้งอำเภอสตึก และกระยาสารทอำเภอประโคนชัย
จากที่กล่าวแล้ว บุรีรัมย์เป็นเมืองแห่งปราสาทหิน เพราะพบปราสาทหินเก่าแก่ยุคขอมเรืองอำนาจจำนวนมากมายหลายแห่ง เป็นถิ่นภูเขาไฟในอดีตที่เขาอังคารซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว เป็นดินแดนที่ร่ำรวยวัฒนธรรมที่วิวัฒนาการมาถึงปัจจุบันสมัย เป็นแหล่งโบราณสถานและโบราณวัตถุสำคัญสืบเนื่องมาหลายยุคหลายสมัย เป็นแหล่งผลิตผ้าไหมผ้าฝ้ายที่งดงามที่อำเภอนาโพธิ์ เป็นแหล่งหินทรายแกะสลักที่มีชื่อเสียง และเป็นแหล่งกำเนิดตำนานทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่ลือเลื่องไปทั่วโลก
คณะสัมมนาสัญจรเดินทางไปถึงจังหวัดบุรีรัมย์ ก็เจาะจงไปขุดคุ้ยหาบรรยากาศมลังเมลืองสมัยโบราณที่เขาพนมรุ้ง แล้วจบลงที่การเที่ยวชมประเพณีแข่งเรือยาวที่อำเภอสตึก ซึ่งจัดในวันเสาร์-อาทิตย์แรกของเดือนพฤศจิกายนของทุกปีพอดี เสร็จการเดินทางก็กลับโรงแรมสีมาธานี จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเตรียมเดินทางไปจังหวัดสระบุรีในวันรุ่งขึ้น
บทที่ ๒๗ ไปเมืองทหารม้า
เสร็จจากการไปเยือนเมืองปราสาทหินถิ่นภูเขาไฟแล้ว คณะสัมมนาสัญจรก็ได้เวลาเดินทางไปเยือนเมืองทหารม้าที่จังหวัดสระบุรีเป็นจังหวัดรองสุดท้ายของโครงการ
สระบุรีเป็นเมืองที่ตั้งขึ้นเมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๒๐๙๒ ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้แบ่งพื้นที่เขตเมืองลพบุรีกับเมืองนครนายกบางส่วนมารวมกันตั้งเป็นเมืองสระบุรี โดยมีพระราชประสงค์ให้เป็นศูนย์ระดมพลเมืองในยามที่มีศึกสงคราม ที่ได้ชื่อว่า สระบุรี สันนิษฐานว่าทำเลที่ตั้งมีบึงอยู่ใกล้ คือบึงหนองโง้ง เมื่อตั้งเป็นเมืองจึงเอาคำว่า “สระ” มารวมกับ “บุรี” จึงกลายเป็นเมืองสระบุรี
สระบุรีแบ่งการปกครองเป็น ๑๓ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง,หนองแซง,เสาไห้,บ้านหมอ,พระพุทธบาท,หนองโดน,แก่งคอย,มวกเหล็ก, วังม่วง,วิหารแดง,หนองแค,ดอนพุด และเฉลิมพระเกียรติ มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ ๓,๕๗๖ ตารางกิโลเมตร และเนื่องมาจากการเป็นเมืองชุมทางอยู่ใกล้กรุงเทพฯ และเป็นศูนย์รวมใจพุทธศาสนิกชน กับเป็นฐานผลิตอุตสาหกรรมที่สำคัญ ฉะนั้นคำขวัญประจำจังหวัดจึงค่อนข้างจะยืดยาวเป็นพิเศษว่า
“พระพุทธบาทสูงค่า เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ฐานผลิตอุตสาหกรรม เกษตรนำล้ำแหล่งท่องเที่ยว หนึ่งเดียวกะหรี่ปั๊บนมดี ประเพณีตักบาตรดอกไม้งาม เหลืองอร่ามทุ่งทานตะวัน ลือลั่นเมืองชุมทาง”
ซึ่งในความเห็นของคุณธนบัตร การบัญญัติคำขวัญยืดยาวมากๆไม่น่าสนใจเท่ากับการเลือกใช้ถ้อยคำกระทัดรัดได้ใจความ กระนั้นก็ดีคุณธนบัตรไม่บังอาจไปวิจารณ์เพิ่มเติมอีก เพราะนี่อาจเป็นการมองต่างมุม ต่างความคิดเห็น แต่มีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกัน เพียงแตกต่างวิธีการ แต่ก็ได้รับผลสุดท้ายอย่างเดียวกัน
สถานที่น่าสนใจ
อำเภอเมืองสระบุรี ได้แก่อุทยานแห่งชาติพระพุทธฉาย วัดพระพุทธฉาย ฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์ พระพุทธนิรโรกันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ
อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ได้แก่สวนพฤกษศาสตร์ภาคกลาง(พุแค) และถ้ำศรีวิไล
อำเภอเสาไห้ ได้แก่ เสาร้องไห้ในศาลนางตะเคียนทองที่วัดสูง, พระพุทธรูปทองคำที่วัดพระเยาว์, วัดเขาแก้ว
วรวิหาร , วัดพระเยาว์ บ้านเขาแก้ว เบญจสุทธิคงคา(น้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ได้จากแม่น้ำ ๕ สาย คือแม่น้ำเจ้าพระยา(จาก
จังหวัดอ่างทอง) แม่น้ำเพชรบุรี(จากจังหวัดเพชรบุรี) แม่น้ำราชบุรี(จากจังหวัดสมุทรสาคร) แม่น้ำบางปะกง(จากจังหวัดนครนายก) และแม่น้ำป่าสัก(จากจังหวัดสระบุรี) ที่ไหลผ่านบริเวณอำเภอเสาไห้ ใช้เป็นน้ำในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา โดยผ่านการทำพิธีพุทธาภิเษกที่วัดพระพุทธบาท ก่อนจะนำไปใช้ในพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก รวมถึงพิธีศักดิ์สิทธิ์ต่างๆในพระราชวัง , วัดสมุหประดิษฐาราม, วัดจันทบุรี และศูนย์การเรียนรู้ทอผ้าตำบลบ้านต้นตาล
อำเภอบ้านหมอ ได้แก่ถนนพระเจ้าทรงธรรม หรือถนนฝรั่งส่องกล้อง และทะเลบ้านหมอ
อำเภอพระพุทธบาท ได้แก่สำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก, วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร, พิพิธภณฑสถานแห่งชาติพระพุทธบาท(วิหารหลวง), บ่อพรานล้างเนื้อ,พระตำหนักธารเกษม,ถ้ำเทพนิมิตธารทองแดง, ถ้ำนารายณ์ หรือถ้ำเขาวง,ตำหนักสระยอ และพระตำหนักท้ายพิกุล พระราชวังโบราณ
อำเภอแก่งคอย ได้แก่ถ้ำพระธาตุเจริญธรรมหรือถ้ำบ่อปลา, ผาเสด็จ,ถ้ำพระโพธิสัตว์,เขาพระพุทธบาทน้อย,พระบวรราชวังสีทา,ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า, องค์การศาสนาเซไคคิวเซเคียวประจำประเทศไทย และการล่องแม่น้ำป่าสัก
อำเภอมวกเหล็ก ได้แก่น้ำตกเหวน้อย ,สวนรุกขชาติมวกเหล็ก และน้ำตกมวกเหล็ก, อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย,น้ำตกซับเหว,ถ้ำดาวเขาแก้ว และองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)
อำเภอวังม่วงได้แก่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์,อุโมงค์ต้นไม้และทุ่งทานตะวัน
อำเภอวิหารแดง ได้แก่เจดีย์พระคุณแม่
อำเภอหนองแค ได้แก่สวนนกธรรมชาติตำบลไผ่ต่ำ
นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่ทหาร ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ทหารม้า,การขี่ม้าเพื่อการท่องเที่ยว,รถถังโบราณ,สนามยิงปืนค่ายอดิศร,กิจกรรีมทางทหารต่างๆ,สวนสุขภาพเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ,ศูนย์กีฬากอล์ฟ,สระว่ายน้ำและยิมเนเซียม
เทศกาลงานประเพณี
ได้แก่งานโคนมแห่งชาติ,งานนมัสการรอยพระพุทธบาท,ประเพณีกำฟ้า,ประเพณีสงกรานต์สรงน้ำเสานางตะเคียนวัดสูง, ประเพณีตักบาตรดอกไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดอกเข้าพรรษาซึ่งเป็นดอกไม้สีขาวมีเฉพาะทางขึ้นเขาที่จังหวัดสระบุรีเพียงแห่งเดียวเท่านั้น และการแข่งเรือยาวประเพณีลุ่มน้ำป่าสัก
สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
ได้แก่ผลิตภัณฑ์อาหารและนม,ผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง, องุ่นไร้เมล็ดอำเภอมวกเหล็ก, ผักหวานป่า, กุนเชียงสมุนไพรเสริมไอโอดีน,หมูสวรรค์,หมูทุบ,หมูพะโล้,กระยาสารท,จักสานผักตบชวา,ผลิตภัณฑ์หินอ่อน,แชมพู,ครีมนวดผม,ครีมล้างหน้าสมุนไพร,เห็ดฟาง,น้ำปลาตราปลาสร้อย,มะม่วงหนองแซง,ดอกไม้ประดิษฐ์จากก้านกล้วย, เนื้อตากแห้ง,กะหรี่ปั๊บ,เซรามิกแก้วถักขึ้นรูปอำเภอหนองแค,นม อสค. อำเภอมวกเหล็ก,ข้าวซ้อมมืออำเภอเฉลิมพระเกีบรติ,ส้มเขียวหวานอำเภอวิหารแดง,ข้าวเสาไห้อำเภอเสาไห้,ไวน์ส้ม ตำบลหนองโรง อำเภอหนองแค
ส่วนกิจกรรมน่าสนใจประจำแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ได้แก่ การปีนหน้าผา-โรยตัว ที่วัดพระฉาย, เที่ยวถ้ำลุมพินีสวนหิน และพายเรือคายัคบริเวณน้ำตกเจ็ดสาวน้อย
กิจกรรมการท่องเที่ยวเมืองทหารม้า นอกจากการไหว้พระใกล้กรุงแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นการท่องเที่ยวเชิงเกษตรหรือเชิงนิเวศ ได้แก่การเที่ยวถ้ำ ปีนหน้าผา พายเรือ ชมทุ่งทานตะวัน เที่ยวน้ำตก แล้วคณะสัมมนาสัญจรก็ต้องรีบกลับที่พักที่จังหวัดนครราชสีมา ก่อนจะไปเที่ยวชมเมืองทหารบกที่จังหวัดลพบุรีเป็นลำดับสุดท้ายของโครงการ
บทที่ ๒๘ เยือนแผ่นดินพระนารายณ์และเมืองทหารบกในอดีต
ปลัดบัญชาเคยไปเที่ยวเมืองลพบุรีเมื่อ ๓๐ กว่าปีมาแล้ว สัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าเป็นเมืองลพบุรีในสมัยนั้นมีเพียงลิงที่ศาลพระกาฬกับพระปรางค์สามยอดเท่านั้น เมื่อปลัดบัญชาเดินทางพร้อมคณะสัมมนาสัญจรมาที่เมืองลพบุรีอีกครั้งในวันนี้มีหลายสิ่งหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไป จากการที่ลพบุรีเป็นเมืองแห่งความหลากหลายและต่อเนื่องทางวัฒนธรรมที่ยาวนานกว่า ๓,๐๐๐ ปีนี่เอง ลพบุรีในปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ จึงเป็นศูนย์รวมของวัฒนธรรมสมัยเก่าและสมัยใหม่รวมอยู่ด้วยกันอย่างผสมกลมกลืน เป็นเมืองที่ยังคงอุดมไปด้วยหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ซึ่งได้แก่
๑.การขุดพบโครงกระดูกมนุษย์พร้อมภาชนะดินเผา อายุระหว่าง ๓,๕๐๐-๔,๕๐๐ ปี ที่แหง่งโบราณคดีบ้านท่าแค
๒.การขุดพบโตรงกระดูกมนุษย์ยุคหินใหม่ อายุระหว่าง ๒,๗๐๐-๓,๔๐๐ ปี ที่บ้านโคกเจริญ
๓.การขุดพบโตรงกระดูกมนุษย์ยุคสำริดอายุระหว่าง ๒,๓๐๐-๒,๗๐๐ ปีที่ศูนย์การทหารปืนใหญ่
๔.ชุมชนธบราณสมัยทวารวดีซึ่งเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมในดินแดนแห่งนี้มากว่าหนึ่งพันปีมาแล้ว ที่เมืองโบราณซับจำปา อำเภอท่าหลวง และเมืองโบราณดงมะรุม อำเภอโคกสำโรง
๕.การพบเหรียญเงินลายดุนรูปสัญลักษณ์ต่างๆตามคตินิยมอินเดียที่บ้านหลุมข้าว อำเภอโคกสำโรง
๖.พระปรางค์สามยอด,ศาลพระกาฬและปรางค์แขก ซึ่งเป็นศิลปกรรมของลพบุรีที่มีรูปร่างคล้ายคลึงศิลปะขอมหรือเขมร ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๘
๗.หลักฐานพงศาวดารระบุว่าลพบุรีเป็นศูนย์กลางด้านศิลปวิทยาการในสมัยกรุงสุโขทัย โดยระบุว่าพ่อขุนรามคำแหงเคยเสด็จมาศึกษาเล่าเรียนที่เขาสมอคอนในปีพุทธศักราช ๑๗๘๘ และพ่อขุนงำเมืองราชโอรสเมืองพะเยาเคยเสด็จมาศึกษาที่เขาสมอคอนเช่นกันในปีพุทธศักราช ๑๗๙๗
๘.หลักฐานจากพงศาวดารระบุว่าสมเด็จพระราเมศวรได้ทรงครองเมืองลพบุรีซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของอยุธยาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อปีพุทธศักราช ๑๘๙๓และเมื่อทรงสละราชสมบัติให้แก่ลูกหลวงพะงั่ว ก็เสด็จกลับมาครองเมืองลพบุรีตามเดิม รวมเวลาที่ครองเมืองลพบุรีเป็นเวลา ๓๘ ปี
๙.ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชวังขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับในปีพุทธศักราช ๒๒๐๙ เพราะเกรงภัยที่เกิดจากการล่าอาณานิคมขยายดินแดนของพวกเรือกำปั่นยุโรป และเสด็จมาประทับที่เมืองลพบุรีนาน ๘-๙ เดือน ณ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ซึ่งแบ่งพื้นที่เป็น ๓ เขต คือเขตพระราชฐานชั้นนอก ชั้นกลางและชั้นใน
เขตพระราชฐานชั้นนอก มี ๕ หลัง คือ
๑.อ่างเก็บน้ำหรือถังเก็บน้ำประปา เป็นที่กักเก็บน้ำใช้ภายในพระราชวัง ก่อด้วยอิฐฉาบปูนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผนังอิฐหนาเป็นพิเศษ เก็บน้ำที่ไหลจากอ่างซับเหล็กตามท่อดินเผามายังพระราชวัง เป็นฝีมือการก่อสร้างของวิศวกรชาวฝรั่งเศสและบาทหลวงชาวอิตาลี
๒.สิบสองท้องพระคลัง หรือพระคลังศุภรัตน์ สันนิษฐานว่าเป็นพระคลังเก็บสินค้าหรือสิ่งของเพื่อใช้ในราชการ และที่จะพระราชทานให้แก่ผู้ทำความดีความชอบ เช่นเสื้อผ้า ผ้าแพรพรรณ ดาบ ไม้ฝาง งาช้าง ดีบุก พริกไทยฯลฯ เป็นตึกแบบยุโรป ประตูหน้าต่างและช่องระบายลมใต้หลังคาเป็นรูปโค้งแหลม
๓.ตึกเลี้ยงรับรองแขกเมือง เป็นสถานที่เลี้ยงต้อนรับคณะทูตชาวต่างประเทศ ซึ่งในปี พ.ศ.๒๒๒๘ ได้ทรงพระราชทานเลี้ยงต้อนรับคณะราชทูตเชอร์วาเลีย เดอ โชมองต์ จากประเทศฝรั่งเศส
๔.ตึกพระเจ้าเหา สันนิษฐานว่าเป็นหอพระ ชื่อพระเจ้าเหา น่าจะหมายถึงพระพุทธรูปเก่าแก่ภายในตึกนี้ ซึ่ง ณ ตึกพระเจ้าเหานี่เองเป็นสถานที่ซึ่งสมเด็จพระเพทราชาทรงประกาศยึดอำนาจจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเมื่อปีพุทธศักราช ๒๒๓๑
๕.โรงช้างหลวง
เขตพระราชฐานชั้นกลาง มี ๒ หลัง คือ
พระที่นั่งจันทรพิศาล และพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท ส่วนหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ เพิ่งจะสร้างขึ้น
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสำหรับเป็นที่ประทับ โดยทรงโปร ดเกล้าฯให้บูรณะเมืองลพบุรีในปีพุทธศักราช ๒๔๐๖ และสร้างหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎขึ้นเป็นที่ประทับภายในพระราชวังของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปัจจุบันจัดแสดงเป็นห้องเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและศิลปะโบราณวัตถุสมัยต่างๆ
เขตพระราชฐานชั้นใน มีเพียงหลังเดียวคือพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งพระองค์นี้เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๒๓๑
ลพบุรีจึงเป็นเสมือนราชธานีแห่งที่ ๒ รองจากกรุงศรีอยุธยา
ลพบุรีเดิมเรียกว่า “ลวปุระ” หรือ “ละโว้”เป็นดินแดนทางภาคกลางที่เจริญรุ่งเรืองอย่างมากในสมัยทวารวดี จวบจนสมัยลพบุรี แล้วเข้าสู่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยล่าสุดระหว่างปี พ.ศ.๒๓๙๔-๒๔๑๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๔)ทรงโปรดเกล้าฯให้บูรณะเมืองลพบุรีและสร้างหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎขึ้นในพระราชวังของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พร้อมกับหมู่ตึกพระประเทียบ แล้วพระราชทานนามว่า “พระนารายณ์ราชนิเวศน์” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า วังนารายณ์ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎเป็นศาลากลางจังหวัดลพบุรี เมื่อย้ายศาลากลางจังหวัดลพบุรีไปตั้งใหม่ที่อื่นแล้ว จึงจัดตั้งเป็น ลพบุรีพิพิธภัณฑสถาน เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๖๗ และประกาศเป็น “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์” ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๔
นี่อาจเป็นสาเหตุประการหนึ่งที่หน้าศาลากลางจังหวัดลพบุรีหลังใหม่ในปัจจุบันมีพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(พระปิยะมหาราช) ประทับยืนเป็นสง่าที่ลานหน้าศาลากลางจังหวัดลพบุรี พร้อมกับที่มีพระบรมราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตั้งประดิษฐานอยู่กลางวงเวียนพระนารายณ์ซึ่งถือว่าเป็นเขตเมืองใหม่ ห่างจากเขตเมืองเก่าซึ่งเป็นที่ตั้งศาลพระกาฬและพระปรางค์สามยอด
ในเขตเมืองเก่าจึงเป็นที่ตั้งโบราณสถานและสถานที่ต่างๆซึ่งยังประกอบกิจกรรมต่างๆได้อย่างสะดวกสบายอยู่ อาทิ สถานีรถไฟ สถานีขนส่ง สถานที่ราชการและสถานประกอบการต่างๆ รวมถึงที่ตั้งของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานภาคกลางเขต ๗ ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนรอบพระธาตุ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรีด้วย
คำขวัญประจำจังหวัดลพบุรีมีว่า “วังนารายณ์คู่บ้าน ศาลพระกาฬคู่เมือง ปรางค์สามยอดลือเลื่อง เมืองแห่งดินสอพอง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เกริกก้อง แผ่นดินทองสมเด็จพระนารายณ์”
จบบทความตอนนี้ ณ ดินแดนพระนารายณ์ เพื่อกลับโรงแรมที่พักที่จังหวัดนครราชสีมา และเตรียมสรุปการสัมมนากับทำพิธีปิดการอบรมสัมมนาในบทต่อไป
บทที่ ๒๙ สัมมนาวันสุดท้าย
ในที่สุดการสัมมนาสัญจรก็ดำเนินมาถึงวันสุดท้าย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเดินทางมาปิดการอบรม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมากล่าวรายงานและสรุปการสัมมนากับผลที่คาดว่าจะได้รับว่าอย่างน้อยที่สุดก็เป็นการพัฒนาบุคลากรท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและเป็นการขยายแนวร่วมผู้ปฏิบัติงานตามโครงการให้ขยายวงมากยิ่งขึ้น และหวังว่าผู้เข้าร่วมสัมมนาจะนำความรู้ความเข้าใจกับประสบการณ์ใหม่ๆที่ได้รับไปใช้ปรับปรุงยกระดับการทำงานในพื้นที่รับผิดชอบของตนได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุด และอวยพรให้ผู้เข้าร่วมอบรมสัมมนาทุกคนมีความเจริญก้าวหน้าในชีวิตและการทำงานสืบไป โดยขอให้ทุกคนอย่าละเลยนิ่งเฉยและให้หมั่นศึกษาเพิ่มเติมหาความรู้ต่างๆเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่หยุดนิ่งปล่อยเวลาให้ล่วงพ้นไปโดยเปล่าประโยชน์ ให้ทำตัวเสมือนเป็นต้นไม้แข็งแรงที่กำลังเจริญเติบโตงอกงามอยู่ คือถ้ายังงอกงามอยู่เขาก็เรียกว่าต้นไม้ แต่ถ้าหยุดงอกงามเมื่อใดก็จะกลับกลายเป็นเพียงไม้ที่รอวันเวลาผุพัง
ในการอบรมสัมมนาครั้งนี้ผู้เข้ารับการอบรมสัมมนาต่างก็ได้รับวุฒิบัตรและทำเนียบรุ่นเพื่อสะดวกในการติดต่อขยายผลตามโครงการอย่างต่อเนื่องได้ผลดีต่อๆไป จากนั้นปลัดบัญชาก็ได้ร่วมหารือกับคณะผู้เข้าร่วมอบรมเพื่อกำหนดการติดต่อพบปะสังสันทน์ครั้งต่อไปทุกๆ ๓ เดือน ซึ่งครั้งแรกจะนัดพบกันในวันเสาร์ที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๑ สำหรับสถานที่นัดพบจะได้แจ้งเวียนให้ทราบต่อไป
คืนวันสุดท้ายของการสัมมนาหลังจากมีพิธีปิดการอบรมแล้ว ในค่ำวันนั้นคณะผู้จัดการสัมมนาก็ได้จัดเลี้ยงอำลาที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ พาส่องสัตว์(ใช้ไฟฉายส่องดูสัตว์ที่ออกหากินเวลากลางคืน) จากนั้นก็แยกย้ายกันกลับภูมิลำเนาซึ่งก็คือจังหวัดที่ส่งอบรมนั่นเอง
กลับจากการสัมมนาคราวนี้ปลัดบัญชาต้องเตรียมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งกำลังจะจัดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๐
นับแต่นี้ต่อไปบทบาทคุณธนบัตรก็มีแต่จะเพิ่มมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ คุณธนบัตร ๕๐๐ บาท จึงขอยุติบทบาทเอาไว้ก่อนเพียงเท่านี้ บทต่อไปท่านจะได้พบกับบทบาทของคุณธนบัตรฉบับราคา ๑๐๐ บาท ซึ่งจะเริ่มบทบาทณ กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย เป็นอันดับแรก