31 สิงหาคม 2551 10:12 น.
nidhi
เมื่อ๒-๓วันก่อน ปรากฏเหตุการบุกเข้าสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งอ้างว่า
เพื่อดำเนินการตามหมายบังคับคดีของศาลแพ่งซึ่งมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว
เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๑
โดยสั่งให้จำเลยทั้งหกกับพวกออกจากทำเนียบรัฐบาล รื้อถอนเวทีปราศรัยรวมทั้ง
ขนย้ายสิ่งกีดขวางทั้งหมดในทำเนียบรัฐบาล กับให้จำเลยทั้งหก กับพวก
เปิดพื้นที่จรจาจรบน ถนนพิษณุโลกและถนนราชดำเนิน ทุกช่องจราจร
และต่อมาเมื่อวันที่ ๒๘สิงหาคม ๒๕๕๑ ศาลแพ่งยังได้มีคำสั่งแต่งตั้งเจ้าพนักงาน
บังคับคดี เพื่อบังคับให้เป็นไปตามที่มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าวในคดีที่
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พลตรี จำลอง ศรีเมือง,นายสนธิ ลิ้มทองกุล,
นายสมศักดิ์ โกศัยสุข,นายพิภพ ธงไชย แกนนำพันธมิตรฯ,นายสุริยะใส กตะศิลา
ผู้ประสานงานพันธมิตรฯ และนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ เป็นจำเลยที่ ๑-๖
เรื่องละเมิดและขับไล่พันธมิตรออกจากทำเนียบรัฐบาล อันเป็นเหตุให้โจทก์
ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีพร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจอีกจำนวนหนึ่งบุกเข้า
ไปรื้อถอนเวทีและสิ่งก่อสร้างของกลุ่มผู้ชุมนุมที่ด้านสะพานมัฆวานรังสรรค์ จนกระทั่งเป็นเหตุให้ผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก
นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความกลุ่มพันธมิตรจึงได้ยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดี
โดยฉุกเฉินอย่างยิ่ง เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๕.๐๐ นาฬิกา
เพื่อขอให้ศาลงดการบังคับคดีไว้ก่อนเนื่องจากทำให้เกิดความรุนแรงทั้งทาง
ร่างกายและทรัพย์สินเสียหาย
ซึ่งภายหลังเกิดเหตุ ทั้งนายกรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ตำรวจต่างก็ได้ออกมาปฏิเสธ
การกระทำต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างหนักแน่นว่า มิใช่การกระทำของฝ่ายรัฐบาล
จนกระทั่งเวลาประมาณ ๑๗.๐๐ นาฬิกา วันเดียวกัน ศาลแพ่งได้ไต่สวนคำร้อง
ของฝ่ายพันธมิตรฯ
แล้วจึงมีความเห็น ให้งดบังคับคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวที่สั่งให้พันธมิตรฯออกจาก
ทำเนียบรัฐบาล โดยให้รอไว้ก่อนจนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
เป็นประการอื่น โดยอ้างเหตุว่าเกรงจะเกิดความเสียหาย
อนึ่ง การที่ฝ่ายจำเลยอ้างว่าได้มีการอาศัยหมายบังคับคดีที่ศาลแพ่งออกตามคำสั่ง
คุ้มครองชั่วคราวไปดำเนินการด้วยวิธีการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจนเกิดเหตุ
รุนแรงขึ้นนั้น
เพื่อให้เกิดความชัดเจนในคำสั่งดังกล่าว ศาลจึงเห็นสมควรอธิบายคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว
ฉบับลงวันที่๒๗สิงหาคม๒๕๕๑ ให้คู่ความได้เข้าใจโดยชัดเจน กล่าวคือ
ตามคำสั่งที่ระบุว่า “จึงมีคำสั่งให้จำเลยทั้งหก ออกจากทำเนียบรัฐบาลและบริเวณพื้นที่
ทำเนียบฯทั้งหมด ให้จำเลยทั้งหกดำเนินการให้กลุ่มผู้ชุมนุมรื้อถอนเวทีปราศรัย รวมทั้งสิ่งกีดขวางอื่นๆออก ไปจากบริเวณดังกล่าว” นั้น การแปลความคำสั่งต้องอ่านทั้งประโยค
ต่อเนื่องกัน จึงจะได้ความว่า คำว่า ออกไปจากบริเวณดังกล่าวหมายถึงออกไปจากพื้นที่
บริเวณทำเนียบฯเท่านั้น
ในส่วนคำสั่งที่ระบุว่า “ให้จำเลยทั้ง ๖ ดำเนินการเปิดพื้นที่จราจรถนนพิษณุโลก
ถนนราชดำเนิน เพื่อให้ประชาชน คณะรัฐมนตรี โจทก์ ข้าราชการและ
ผู้ปฏิบัติงานในทำเนียบฯสามารถเข้าออกเพื่อปฏิบัติหน้าที่
ี่ได้ โดยสะดวก” นั้น เป็นคำสั่งที่ต่อเนื่องกัน
การแปลความจึงต้องอ่านข้อความในคำสั่งทั้งประโยค มิใช่นำข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง
ของประโยคมาแปลความ ดังนั้นเมื่ออ่านประโยครวมแล้วจึงมีความหมายว่า
การเปิดพื้นที่จราจรถนนพิษณุโลกและถนนราชดำเนินนั้น หมายถึงการให้เปิดพื้นที่จราจร
ของถนนดังกล่าวที่ติดกับทำเนียบฯ เพื่อให้สามารถเข้าออกเพื่อปฏิบัติหน้าที่โดยสะดวกเท่านั้น
ในส่วนของคำสั่งที่ระบุว่า “ให้คำสั่งนี้มีผลทันที” ก็หมายถึงให้คำสั่งมีผลบังคับแก่จำเลยได้ทันที
แม้จำเลยจะยังมิได้รับการแจ้งคำสั่ง(จำเลยในที่นี้ก็คือจำเลยทั้งหกคน) ส่วนการบังคับคดีจะดำเนินการได้เพียงใดย่อมต้องปฏิบัติการ
ให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โดยเคร่งครัดด้วยเช่นเดียวกัน
สำหรับการที่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวกับขอทุเลาการบังคับคด
ีของจำเลยทั้งหกไว้ก่อนเมื่อวันที่ ๒๘สิงหาคม๒๕๕๑ นั้น ศาลแพ่งพิจารณาแล้วเห็นสมควรรับคำขออุทธรณ์
คำสั่งดังกล่าวไว้พิจารณา โดยได้ส่งให้ศาลอุทธรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
แต่โดยเหตุที่จำเลยได้ยื่นคำขอทุเลาการบังคับคดีโดยฉุกเฉินอย่างยิ่ง อ้างว่าการที่โจทก์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจนำเจ้าพนักงานบังคับคดี
ไปบังคับคดีโดยรื้อถอนเวทีที่สะพานมัฆวานรังสรรค์
ก่อให้เกิดอันตรายแก่กายต่อผู้ที่มาชุมนุมจำนวนมากนั้น เป็นการมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพ่งมาตรา ๒๙๖ เบญจ เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจได้อาศัย
หมายบังคับคดีของศาล เข้าทุบตีทำร้ายร่างกายประชาชน ทำให้มีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก
ศาลแพ่งพิจารณาแล้ว เห็นว่าหากยังคงให้มีการบังคับคดีต่อไปจะเกิดความเสียหาย
จึงเห็นควรให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๒๙๒(๒)จนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งเป็นประการอื่น
และให้แจ้งคำสั่งงดการบังคับคดีดังกล่าวให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ
โดยเบื้องต้นให้แจ้งคำสั่งทางโทรสารก่อน
อ่านรายละเอียดเรื่องนี้แล้ว เห็นได้ชัดว่า
การที่ฝ่ายรัฐบาลออกมาให้ข้อมูลและอ้างคำสั่งดำเนินการตามที่เป็นข่าวก่อนหน้านี้
มาโดยตลอดนั้น เป็นการอ้างกฎหมายอย่างเข้าข้างตนเอง โดยอาศัยเหตุการณ์
ความเกี่ยวเนื่องของการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯมาเป็นข้ออ้างในการสลายการ
ชุมนุมและปล่อยปละละเลยหรือชี้นำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าดำเนินการ
โดยผิดไปจากความมุ่งหมายของคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ซึ่งเป็นเพียงมาตรการในคดีแพ่งและมีผลบังคับเฉพาะ
แก่จำเลยทั้งหกให้ปฏิบัติตามที่ศาลสั่งเท่านั้น มิได้ครอบคลุมถึงบุคคลอื่นนอกเหนือจากจำเลยทั้งหกซึ่งถือว่าเป็นบุคคล
ภายนอกคดีให้ต้องปฏิบัติตามที่ศาลแพ่งมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวด้วยไม่
เช่นเดียวกับกรณีที่กลุ่มผู้ปกครองและครูโรงเรียนราชวินิจมัธยมฟ้องคดีโดย
ขอให้ศาลแพ่งมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน นั่นก็คือมีผลบังคับเฉพาะต่อจำเลยหรือคู่ความในคดีเท่านั้น ไม่มีผลครอบคลุมถึงบุคคลอื่นที่มิใช่คู่ความในคดี
สรุปเกี่ยวกับประเด็นนี้ จึงเป็นเรื่องและมาตรการทางแพ่ง ไม่ใช่คดีอาญา
จึงไม่สามารถใช้วิธีการในส่วนคดีอาญามาบังคับใช้ตามที่ฝ่ายรัฐบาลกล่าวอ้าง
ตลอดมา
เพราะถ้าจะใช้วิธีการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดคดีอาญา ก็ต้องใช้วิธีการผ่านกระบวนการยุติธรรมซึ่งต้องคำนึงถึงสิทธิในกระบวนการ
ยุติธรรม ตาม มาตรา ๓๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งระบุไว้ว่า
“ มาตรา ๓๙ บุคคลไม่ต้องรับโทษทางอาญาเว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลา
ที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษ
ที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้
ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด
ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้”
กรณีนี้ฝ่ายรัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงต้องพิสูจน์ว่า
การบุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล เป็นการกระทำที่พอสมควรแก่เหตุ
และเป็นไปตามวิธีปฏิบัติในคดีแพ่งเรื่องการฟ้องขับไล่ผู้บุกรุก
ออกจากที่ดินของตน คือต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ไม่ใช่ไปอ้างขู่ชาวบ้านชาวเมืองว่าถ้าไม่ออกจากทำเนียบรัฐบาล ต้องถูกจำคุก
ไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับตามที่เป็นข่าว
เพราะนั่นก็คือโทษในความผิดฐานบุกรุกในส่วนคดีอาญาตามประมวลกฎหมาย
อาญา มาตรา ๓๖๕
ไม่ใช่กรณีตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฟ้องขับไล่ตามที่เป็นข่าว
เพราะที่ฟ้องเป็นเรื่องฟ้องขับไล่ในคดีแพ่ง ซึ่งต้องใช้มาตรการในทางแพ่ง
จะไปใช้มาตรการในทางอาญามิได้
แต่ไม่ว่าจะเป็นมาตรการทางแพ่งหรือทางอาญา
ก็ไม่สามารถไปบังคับแก่บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความในคดีได้เช่นเดียวกัน
และหากจะบอกว่าเป็นคดีอาญา
คดีอาญาก็มีความจำเพาะเจาะจงต้องบังคับใช้โดยเคร่งครัดแก่จำเลยในคดี
ตามพฤติการณ์ในแต่ละคดี
ไม่ใช่ใช้เปะปะครอบจักรวาลแบบเหมาเอาหมดทุกคน
ซึ่งถ้ากระทำเช่นนั้น
ฝ่ายรัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้กระทำก็ต้องรับผิดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ด้วยไม่ว่าทางแพ่งหรือทางอาญา
20 สิงหาคม 2551 08:16 น.
nidhi
ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
หมื่นศักดิ์ศรีบัดนี้ไม่มีเหลือ
ใครจะเชื่อเยื่อใยไม่มีหลง
คิดจะปดอย่างเก่าก็ต้องปลง
ยังไปหลงเลอะเลือนเปื้อนไปทั่ว
***
ก่อนคิดเงินได้เงินเพลินกันทั่ว
จึงเมามัวหลงอบายขายศักดิ์ศรี
ยึดเพื่อนตัวพวกตัวมัวอัปรีย์
ทำบัดสี ณ วันนี้มิมีกลัว
***
อันศักดิ์ศรีของมนุษย์นั้นอยู่ที่
ทำความดีหนีชั่วกลัวเสียศักดิ์
ประพฤติตนดีเสมอให้คนรัก
เพียรให้หนักรักศักดิ์ศรีมีสติ
***
ศักดิ์ศรี หมายถึง เกียรติศักดิ์
เกียรติศักดิ์ หมายถึง เกียรติ,เกียรติตามฐานะของแต่ละบุคคล
เกียรติ หมายถึง ชื่อเสียง, ความยกย่องนับถือ,ความมีหน้ามีตา ,คำเล่าลือ,คำสรรเสริญ
ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ จึงหมายถึงชื่อเสียง,ความยกย่องนับถือ,ความมีหน้ามีตา,คำเล่าลือ และคำสรรเสริญที่เพื่อนมนุษย์มีให้แก่กัน โดยจำแนกตามฐานะของแต่ละบุคคลเป็นที่ตั้ง เป็นตัวกำหนดวัดนั่นเอง
การที่จะได้รับความยกย่องสรรเสริญนับถือนั้น ต้องเป็นเพราะได้กระทำความดีจนเป็นที่เชิดชูเกียรติ ซึ่งขึ้นอยู่กับผลการกระทำของแต่ละคนว่าสมควรได้รับการยกย่องนับถือเพียงใด
การมีเกียรติยศนั้น เป็นส่วนดีของลาภ ยศ และสรรเสริญ
ซึ่งตรงกันข้ามก็ยังมีเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา
อันถือได้ว่าไม่มีอะไรแน่นอนในโลกนี้ นั่นก็คือ เป็นอนิจจัง ซึ่งหมายความว่า ไม่เที่ยง,ไม่แน่นอน,เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
นอกจากนี้ถ้อยคำดังกล่าวเจาะจงหมายถึงมนุษย์ ซึ่งก็คือผู้ที่มีใจสูง (มนุษย์ มาจากคำสนธิระหว่างคำว่า
มน สนธิกับ อุษยะ)
ฉะนั้น การมีเกียรติยศศักดิ์ศรีของมนุษย์หรือผู้ที่มีใจสูง จึงมีมาตรฐานสูงกว่าคนธรรมดาทั่วๆไปเป็นธรรมดา
ซึ่งหมายความว่า
มนุษย์ต้องมีศักดิ์ศรีที่สูงส่ง การจะมีศักดิ์ศรีที่สูงส่งก็ต้องหมั่นกระทำความดี ละเว้นการทำชั่ว
ศักดิ์ศรีของมนุษย์นั้นก็จะดำรงคงอยู่ได้ตลอดต่อๆไป แต่เมื่อใดก็ตามมนุษย์ผู้นั้นริอ่านกระทำ
ความชั่ว ความผิด ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้นั้นก็ย่อมต้องเสื่อมลงเป็นธรรมดา
อนิจจังนั้นไม่เที่ยง ย่อมมีเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดานั่นเอง
14 สิงหาคม 2551 13:09 น.
nidhi
วันสาร์ทจีนปีนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๕สิงหาคม๒๕๕๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๙
ปฏิทินจีน จะตรงกับวันที่15 เดือน7 (4กุมภาพันธ์ เวลา 19.03 น. ปีชวด)
ราศีปี โบ้วจื้อ ธาตุไฟ
ราศีในฤดู แกซิม ธาตุไม้
ราศีวัน เตงไห ธาตุดิน
ยุคดาว 8 ดาวยุคประจำปี 1 มิ่นก๊กปีที่ 97(ที่มาจากปฏิทิน ๓ ภาษา ไทย-สากล-จีน โดย อาจารย์ชัยเมษฐ์ เชี่ยวเวช)
วันสาร์ทจีน ตรงกับวันพระจีนด้วย
เทศกาลสาร์ทจีน ประกอบด้วย ๒ วัน คือวันไหว้และวันสาร์ท
วัน ไหว้ของปีนี้จึงเป็นวันพฤหัสบดีที่ ๑๔สิงหาคม๒๕๕๑ ซึ่งตามประเพณีจะมีการไหว้ผีบรรพชนและผีเร่ร่อนทั่วไป เพราะมีความเชื่อว่าเป็นวันปล่อยผีให้กลับมายังโลกมนุษย์เพื่อให้รับอาหาร และส่วนบุญก่อนจะกลับไปยมโลก
วันรุ่งขึ้นถัดไป วันศุกร์ที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๑ จึงจะเป็นวันสาร์ทจีน(15 เดือน 7)
ผล ของประเพณีนิยมดังกล่าว จึงเป็นกุศโลบายเพื่อให้ลูกหลานชาวจีนได้กลับมารวมพบปะกันกระชับความ สัมพันธ์อันดีในแต่ละครอบครัว หลังจากที่แยกย้ายกันไปทำมาหากินหรือแยกบ้านแยกครอบครัวออกไป นับเป็นลักษณะเด่นที่สุดของเทศกาลสาร์ทจีน ซึ่งเรียกกันว่า การรวมญาติ นั่นเอง
เมืองไทยของเราจัดได้ว่าเป็นเมืองที่รวบรวมความหลาก หลายเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ที่มีความแตกต่างกันมากที่สุดแต่สามารถอยู่ร่วม กันได้อย่างปกติสุขที่สุดโดยไม่ปล่อยให้ความขัดแย้งทางภาษาหรือชาติพันธุ์มา เป็นเครื่องกีดขวางความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน ซึ่งศูนย์รวมความรู้สึกร่วมกันสูงสุดก็คงไม่แคล้วจากการที่เรามีองค์พระมหา กษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาญาณประกอบด้วยทศพิธราชธรรมสูงสุดเป็นศูนย์รวมใจคนไทย ทั้งชาตินั่นเอง
สาร์ทจีนปีนี้มีสิ่งดีดีเกิดขึ้นมากมายทั้ง ในไทยและในประเทศจีน มีการจัดกีฬาโอลิมปิก ปักกิ่งเกมส์ ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
นักกีฬายกน้ำหนักหญิงของไทยได้เหรียญทองแรกของประเทศไทย
แม้จะมีภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงเกิดขึ้นทั่วไปทั้งในเมืองจีนและเมืองไทย และแม้จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการเมือง
แต่ถ้าเรายังสามารถคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ประจำชาติไทยในเรื่องของความรู้รักษ์สามัคคี มีสมานฉันท์
เรา คงจะผ่านพ้นปัญหาทุกปัญหาที่ประดังกันมาเวลานี้ได้อย่างอยู่รอดปลอดภัยและ สามารถอยู่ร่วมรวมกันเป็นหนึ่งไทยในโลกใบเดียวกันนี้ได้อย่างสันติสุขตลอดไป
2 สิงหาคม 2551 12:49 น.
nidhi
ผมได้รับฟังการแถลงของหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดินครั้งแรก รู้สึกว่าน่ารับฟัง แม้จะระลึกได้ช้าไปหน่อย แต่พอได้ฟังการแถลงของสมาชิกพรรคเพื่อแผ่นดินบางคน ที่ออกมาแถลงว่าไม่ได้รับรู้เกี่ยวกับเรื่องที่หัวหน้าพรรคได้แถลงไป ก็ บังเกิดความรู้สึกว่านี่น่าจะเป็นการออกมาปกป้องตำแหน่งทางการเมืองที่ สมาชิกพรรคบางคนอาจต้องสูญเสียไปเพราะการแถลงของหัวหน้าพรรคซึ่งมิได้รับ เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วย อดรู้สึกตำหนิสมาชิกพรรคที่ออกมาแถลงโต้แย้งการแถลงไม่ร่วมรัฐบาลของหัวหน้าพรรคไม่ได้ว่า ทำไมพรรคเพื่อแผ่นดินจึงปล่อยให้เกิดเหตุเช่นนี้ขึ้นมาได้ ทำไมไม่ตกลงกันเป็นการภายในก่อนจะแถลง
และแล้วก็เป็นที่มาของคำกล่าวอ้างบางส่วนว่าเกี่ยวเนื่องกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่
ผมจึงขอหยิบยก มาตรา ๒๙๑ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งบัญญัติไว้ในหมวด ๑๕ ว่าด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้เพื่อประกอบการวินิจฉัยของท่านผู้อ่านทั้งหลาย
มาตรา ๒๙๑ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
(๑) ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจากคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐจะเสนอมิได้
(๒) ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม และให้รัฐสภาพิจารณาเป็นสามวาระ
(๓) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
(๔) การพิจารณาในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมด้วย
การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ
(๕) เมื่อการพิจารณาวาระที่สองเสร็จสิ้นแล้ว ให้รอไว้สิบห้าวัน เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วให้รัฐสภาพิจารณาในวาระที่สามต่อไป
(๖) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สามขั้นสุดท้าย ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
(๗) เมื่อการลงมติได้เป็นไปตามที่กล่าวแล้ว ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๕๐ และมาตรา ๑๕๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
กล่าวโดยสรุป เราทั้งหลายไม่ควรจะไปหลงประเด็นว่าควรแก้ไขหรือไม่ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะหากปรากฏข้อเท็จจริงว่าสมควรแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ก็ต้องพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
นั่นก็คือ ต้องพิจารณาให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๙๑ ซึ่งบัญญัติไว้แล้วในหมวด ๑๕ ว่าด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ซึ่งบัญญัติหลักเกณฑ์และวิธีการไว้โดยกระจ่างชัดแล้วว่า
(๑) ญัตติขอแก้ไขมาจากไหน และญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ จะเสนอมิได้
(๒) ต้องให้รัฐสภาพิจารณาเป็น ๓ วาระ
(๓) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ ต้องใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย...
(๔) การพิจารณาในวาระที่ ๒ ขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน...
(๕) เมื่อพิจารณาวาระที่สองเสร็จสิ้นแล้ว ต้องรอไว้ ๑๕ วัน...
(๖) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่ ๓ ขั้นสุดท้าย ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย....
(๗) เมื่อการลงมติได้เป็นไปตามที่กล่าวแล้ว ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ...
จะเห็นได้ว่า หลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนี้ได้บัญญัติไว้โดยค่อนข้างรอบคอบเหมาะสมสมัย ไม่ให้กระทำการใดโดยปราศจากการควบคุมดูแล และไม่ให้ผู้มีอำนาจซึ่งก็คือรัฐสภาได้กระทำการโดยรวบรัดตัดตอนไม่รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนโดยรอบคอบรอบด้านก่อน
นอกเหนือจากนี้ก็คือ เมื่อกระทำการใดๆไปในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแล้ว
ปรากฏว่ามีข้อส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ก็อาจดำเนินการขอถอดถอนจากตำแหน่ง และหรือดำเนินคดีอาญาต่อผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น หรือผู้กระทำผิดนั้นๆตามกฎหมายได้ต่อไปอีก
หน้าที่ของเราทุกคนที่อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ จึงสมควรทำหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญให้สอดคล้องต้องกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในขณะนี้ต่อไปอย่างสุขุมคัมภีรภาพ
19 มิถุนายน 2551 17:32 น.
nidhi
การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินวันนี้เราคงได้รับข่าวการเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา ๑๕๘ และ ๑๕๙ กันโดยถ้วนทั่วแล้ว
การเสนอญัตติดังกล่าว มีบทบัญญัติกฎหมายระบุไว้ใน ส่วนที่ ๙ ว่าด้วยการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินว่า
“มาตรา ๑๕๘ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ญัตติดังกล่าวต้องเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปซึ่งเป็นบุคคลตามมาตรา ๑๗๑ วรรคสองด้วย และเมื่อได้มีการเสนอญัตติแล้ว จะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้ เว้นแต่จะมีการถอนญัตติหรือการลงมตินั้นไม่ได้คะแนนเสียงตามวรรคสาม
การเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของนายกรัฐมนตรีที่มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ราชการ หรือจงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย จะเสนอโดยไม่มีการยื่นคำร้องขอตามมาตรา ๒๗๑ ก่อนมิได้ และเมื่อได้มีการยื่นคำร้องขอตามมาตรา ๒๗๑ แล้ว ให้ดำเนินการต่อไปได้โดยไม่ต้องรอผลการดำเนินการตามมาตรา ๒๗๒
เมื่อการอภิปรายทั่วไปสิ้นสุดลงโดยมิใช่ด้วยมติให้ผ่านระเบียบวาระเปิดอภิปรายนั้นไป ให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ การลงมติในกรณีเช่นว่านี้มิให้กระทำในวันเดียวกับวันที่การอภิปรายสิ้นสุด มติไม่ไว้วางใจต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
ในกรณีที่มติไม่ไว้วางใจมีคะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเข้าชื่อเสนอญัตติจอเปิดอภิปรายนั้น เป็นอันหมดสิทธิที่จะเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีอีกตลอดสมัยประชุมนั้น
ในกรณีที่มติไม่ไว้วางใจมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรนำชื่อผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อตามวรรคหนึ่งกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป และมิให้นำมาตรา ๑๗๒ มาใช้บังคับ
มาตรา ๑๕๙ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในหกของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๕๘ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
รัฐมนตรีคนใดพ้นจากตำแหน่งเดิมแต่ยังคงเป็นรัฐมนตรีในตำแหน่งอื่นภายหลังจากวันที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าชื่อตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีคนนั้นยังคงต้องถูกอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจตามวรรคหนึ่งต่อไป
ให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับกับรัฐมนตรีผู้ซึ่งพ้นจากตำแหน่งเดิมไม่เกินเก้าสิบวันก่อนวันที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าชื่อตามวรรคหนึ่ง แต่ยังคงเป็นรัญมนตรีในตำแหน่งอื่นด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๒๗๑ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภา เพื่อให้วุฒิสภามีมติตามมาตรา ๒๗๔ ให้ถอดถอนบุคคลตามมาตรา ๒๗๐ ออกจากตำแหน่งได้คำร้องขอดังกล่าวต้องระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวกระทำความผิดเป็นข้อๆให้ชัดเจน... ”
การเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายดังกล่าวจึงเป็นวิธีดำเนินการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินตามวิถีทางรัฐสภาที่ดียิ่งวิธีหนึ่ง
กระนั้นก็ดีในขั้นตอนและรายละเอียดของการดำเนินการ ก็ยังจำเป็นต้องกระทำด้วยความละเอียดรอบคอบ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับผู้ที่นำวิธีการดังกล่าวไปใช้ด้วยว่า รู้จักการประสานการจัดการเรื่องนี้ได้อย่างเหมาะสมเพียงใด ประชาชนทั่วไปจึงสมตวรอย่างยิ่งที่จะได้รับรู้และเข้าใจวิธีดำเนินการดังกล่าวโดยได้รับข้อมูลรายละเอียดเรื่องราวที่เกิดขึ้นและเรื่องราวที่จะบังเกิดในอนาคตโดยแจ่มชัดปราศจากการซ่อนเร้นแอบแฝงจากผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบทั้งหลายทั้งปวง