30 ตุลาคม 2548 13:49 น.
HCL
คือความดี ความงาม ความหมดจด
คือคำหยาด เกียรติยศ อันสะอ้าน
คือค่านิยม อุดมคติ ปณิธาน
คือหลักการ สำหรับ กำกับใจ
คือกฏ กติกา แห่งอาชีพ
คือแสง ดวงประทีบ สว่างใส
คือวิธี นิติธรรม เรืองรำไร
ประพฤติเถิด ประพฤติใน จรรยาบรรณ
17 ตุลาคม 2548 20:09 น.
HCL
ภาพที่นำมาแสดง เป็นภาพของจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) หรือจมื่นไวยวรนารถ ในรัชกาลที่ ๕ ( ผมหารูปท่านสมัยหนุ่ม ๆ ไม่เจอครับ เจอแต่สมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งจอมพลแล้ว แต่จากหนังสือมีกล่าวไว้หลายที่ว่า สมัยเมื่อท่านเป็นหนุ่มนั้น เป็นหนุ่มรูปหล่อ คารมคมคาย และมีเสน่ห์เป็นที่ต้องตาต้องใจของหญิงสาวในวงสังคมมากทีเดียว)
อย่าพิกลจริตให้ผิดผัน
เคร่าครองชีวันไว้ดีกว่า
ยังกำดัดสันทัดยุพานพา
ทั้งสักรวาก็ดีปรีชาชาญ
แล้วแหลมหลักในลักษณกลเลศ
รู้จบไตรเพททหารหาญ
คนรู้มากมักได้ยากทรมาน
สดับสารนึกน่าจะปรานี ฯลฯ
พระราชนิพนธ์นั้นยังทรงเตือนว่า
จะเสียตัวก็เพราะกลั้นรักรส
เป็นเบื้องบทเร้าราคราคี
พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาพระราชนิพนธ์พระราชทานเตือนสติ ต่อ จมื่นไวยวรนารถบุตรชายใหญ่ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ ซึ่งเป็นพระญาติสนิทในสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงพระเมตตาห่วงใยจมื่นไวยวรนารถ ของพระองค์มาก เพราะในระยะนั้น ท่านกำลังเป็นหนุ่มคะนองว่ากันว่ารูปงามมีฝีปากสักวาคมคายเป็น สมาชิก ผู้หนึ่งของสโมสรสักวาที่แพคุณพุ่ม (บุษบาท่าเรือ) พวกมิชชันนารี กล่าวถึงท่านว่า ท่าทางคัมขำ เฉียบแหลมพูดจาไพเราะ
เมื่อเกิดเรื่องพระสุริยภักดิ์ (คุณชายสนิท บุตรชายใหญ่สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย) กับเจ้าจอมอิ่ม เป็นเหตุให้พระสุริยภักดีต้องพระราชอาญาประหาร อายุพระสุริยภักดีแก่กว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เพียง ๔ ปี (พระสุริยภักดีต้องโทษประหาร อายุเพียง ๒๗ ปี)
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ จึงทรงพระกรุณารงพระราชนิพนธ์พระราชทานเตือนสติจมื่นไวยวรนารถด้วยบทพระราชนิพนธ์ที่ได้นำมาให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกันตามข้างต้น