วิถีชีวิตเด็กชายขอบ..
ลุงแทน
ถ้า บทนิยาม "คนชายขอบ" คือ ผู้คนที่มีชีวิตอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางทั้งในทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ และสังคม วัฒนธรรมแล้ว ก็ดูเหมือนว่าความแร้นแค้นกับกลุ่มชนนี้จะเป็นของคู่กัน แต่นับเป็นความโชคดีกับการเกิดมาบนผืนแผ่นดินไทย ซึ่งสังคมของเราไม่ไร้การเกื้อกูลกัน
ล่า สุด คณะสื่อมวลชนได้ย่ำเมืองดอกบัวแดนอีสาน จ.อุบลราชธานี เรียนรู้วิถีชุมชนในหมู่บ้านที่มีพื้นที่ติดกับแนวชายแดน ไทย-ลาว ซึ่ง มูลนิธิรักษ์ไทย ได้เข้ามาสนับสนุนและช่วยเหลือการสร้างงานในชุมชน การศึกษา ตลอดจนงานด้านการเกษตรและการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น
" มูลนิธิรักษ์ไทย" เป็นองค์กรพัฒนาท้องถิ่นที่เข้าใจและรู้ซึ้งแก่นแท้ของปัญหาความยากจน ด้อยโอกาส โดยได้รับการสนับสนุนและถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานกว่า 25 ปี จาก องค์การแคร์ประเทศไทย ที่เริ่มต้นทำงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากสงครามอินโดจีน เมื่อ พ.ศ. 2522 ในค่ายผู้อพยพตามแนวชายแดนของประเทศไทยและกัมพูชา โดยการจัดหาปัจจัยจำเป็นต่อการดำรงชีพไม่ว่าจะเป็นอาหาร น้ำสะอาด และยารักษาโรค จวบจนปัจจุบันยังทำงานพัฒนาชุมชนที่ด้อยโอกาส และแก้ไขปัญหาความยากจนทั่วประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นภาคีเครือข่ายกับ "องค์การแคร์นานาชาติ" ซึ่งเป็นองค์กรสากลที่ทำงานด้านพัฒนาชุมชนและแก้ไขปัญหาความยากจน ที่มีอายุกว่า 50 ปี และมีสำนักงานอยู่ใน 80 ประเทศทั่วโลก
มา อุบลฯ คราวนี้ มูลนิธิรักษ์ไทยพาสื่อมุ่งไปที่อ.โขงเจียม อ.สิรินธร อ.บุณฑริก และอ.นาจะหลวย เน้นดูผลงานการสนับสนุนด้านการศึกษา ซึ่งมูลนิธิ ได้ดำเนิน โครงการห้องสมุดเคลื่อนที่ และ โครงการสร้างเสริมภาวะผู้นำเยาวชน โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก บริษัท แอมเวย์ ประเทศไทย จำกัด
" ไก่" ศิริพร แท้สูงเนิน เจ้าหน้าที่มูลนิธิรักษ์ไทย อธิบายว่า สภาพปัญหาของชุมชนตามแนวชายแดนเหล่านี้มีสภาพปัญหาแตกต่างจากชนบทอื่นๆ ทั่วไป อาทิ ปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ โอกาสหรือทางเลือกในอาชีพมีน้อย การอพยพครอบครัวเนื่องจากสภาพความยากจน เป็นต้น
ทาง ภูมิศาสาตร์ กลุ่มคนชายขอบต้องเคลื่อนย้ายจากภูมิลำเนาดั้งเดิมด้วยเหตุผลทางด้านต่างๆ เช่น การประกอบอาชีพ วิถีชีวิตของคนกลุ่มนี้ต้องเผชิญกับการแข่งขันเพื่อเข้าถึงทรัพยากรที่มี อยู่อย่างจำกัด ซึ่งสอดคล้องกับคำพูดของ เทิดศักดิ์ บุญรินทร์ ผ.อ.โรงเรียนห้วยทราย ซึ่งอยู่ในพื้นที่ อ.บุณฑริก กล่าวว่า "เด็กจะอพยพตามพ่อแม่ไปรับจ้างเก็บกาแฟที่ภาคใต้ในเดือนพฤศจิกายน กลับมาอีกครั้งเดือนมีนาคม คือสภาพเด็กๆ ของที่นี่"
การสนุนสนุนช่วยเหลือด้านการศึกษาให้กับ 'เด็กชายขอบ' เหล่านี้ จึงเป็นพันธกิจหลักที่มูลนิธิ ต้องดำเนินการต่อไป
โดย มูลนิธิ สนับสนุนโครงการห้องสมุดรถโมบายเคลื่อนที่ เริ่มต้นเมื่อ ปี 2546 ได้รับการช่วยเหลือด้านการเงินจากองค์การแคร์ ประเทศญี่ปุ่น มีโรงเรียนชายแดนอีสานเข้าร่วมโครงการ 20 โรงเรียน 4 อำเภอ คือ โขงเจียม สิรินธร บุณฑริก และนาจะหลวย เจ้าหน้าที่มูลนิธิรักษ์ไทยผู้ดูแลโครงการนี้ ประทีป โลห์นาราย์ เผยว่า หลักเกณฑ์การคัดเลือกคือ ดูโรงเรียนด้อยโอกาสเป็นหลัก อย่างเช่น โรงเรียนห้วยหมากใต้ ใน อ.โขงเจียม โรงเรียนตะเข็บชายแดนเหล่านี้มีแนวชายแดนติดริมแม่น้ำโขง จึงมีเด็กลาวข้ามฟากไปกลับมาเรียนหนังสือด้วย
" อ.บุญฑริก เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ ของ จ.อุบลราชธานี มีพื้นที่ติดกับแนวชายแดน ไทย-ลาว เด็กชายแดนเขาก็รักการอ่านนะ พอรถโมบายห้องสมุดขนหนังสือนิทานสวยๆ มาที่โรงเรียน เด็กก็กระตือรือร้นอยากอ่านนิทานรูปสัตว์ ด้านคุณครูจะเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วย โดยสอนการประยุกต์นิทานเหล่านี้มาเป็นละครหุ่น หรือสอนงานศิลปะวาดรูปเรื่องราวในนิทานลงบนก้อนหิน เป็นต้น" ประทีป บอก
แล้ว การอ่านนิทานอย่างเดียวอาจจะไม่ตื่นเต้นเท่ากับเรื่องราวเหล่านั้นออกมาโลด แล่นบนเวที 'ละครหุ่น' ของ โรงเรียนห้วยทราย วันนี้นำเสนอโชว์คนมาเยือนเรื่อง "เพื่อนสนิท" ชื่อเรื่องเร้าใจ! แต่ไม่ใช่เรื่องราวของไข่ย้อยกับดากานดาหรอกนะ ดารานำแสดงเรื่องนี้เป็นจระเข้กับลิง!! ฝีมือเชิดหุ่นและกำกับการแสดงโดยศิลปินน้อยแดนอีสาน "...เรื่องราวของจระเข้กับลิงคบหากันเป็น 'เพื่อนสนิท' แต่ในใจลึกๆ กลับคิดหาประโยชน์จากกันและกัน ลิงหัวแหลมคิดจะพึ่งขี่หลังจระเข้ให้ว่ายน้ำพาข้ามฝั่งไปเก็บผลไม้ฟากขะโน้น ส่วนจระเข้ก็แอบคิดว่าหัวใจลิงจะรสอร่อยไหมหนอ?!!.." ละครหุ่นเล่าเรื่องโดยใช้ตัวละครเป็นสื่อนิทานแทรกคติสอนใจ นิทานเรื่องนี้สอนว่า เพื่อนกินหายาก (จริงๆ)
ประทีป เล่าเพิ่มเติมว่า การสนับสนุนละครหุ่นเป็นโครงการสร้างเสริมภาวะผู้นำเยาวชนด้วย แล้วในส่วนห้องสมุดเคลื่อนที่ ก็จะมีกล่องหนังสือ 25 กล่องหมุนเวียนให้โรงเรียนในโครงการ เด็กๆ อาจยืมหนังสือไปอ่านที่บ้านได้ แต่ก็มีอุปสรรคเพราะเด็กยากจนเหล่านี้เขา 'ไม่มีเวลา!' เพราะต้องไปช่วยพ่อแม่ทำมาหากินด้วย
หลัง เลิกเรียนจึงได้เห็นๆ เด็กร่วมโครงการเลี้ยงปลาดุก ปลานิล หรือทำนาโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการสร้างเสริมภาวะผู้นำเยาวชน ที่มูลนิธิ เน้นย้ำว่า "วัตถุประสงค์หลักของสองโครงการคราวนี้ คือ "เน้นเยาวชนมีศักยภาพและบทบาทการส่งเสริมกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ในกุล่ม เยาวชน ชุมชน และเกิดเครือข่ายเยาวชนพัฒนาท้องถิ่นต่อไป"