***** สุภาษิต และ สำนวนไทย ***** กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี : สำนวนคำพังเพยประโยคนี้เป็นสำนวนเก่า ซึ่งอาจจะมีมาจากครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ได้เพราะปรากฏมีหลักฐานในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนเถรกวาดแก้แค้นพลายชุมพลตอนหนึ่งด้วยว่า " คนดีไม่สิ้นอยุธยา " สำนวนนี้เป็นความหมาย ี้อธิบายอยู่ในตัวแล้ว " คนดี " ก็คือคนเก่งหรือผู้มีความสามารถในทางต่อสู้และความคิดอยู่พร้อม อย่าชะล่าใจนักจักเสียที. กลิ้งครกขึ้นภูเขา : สำนวนนี้ มักจะพูดกันว่า 'เข็นครกขึ้นภูเขา ' กันส่วนมาก แต่แท้จริง ' ครก ' ต้องทำกริยา ' กลิ้ง ' ขึ้นไปจึงจะถูก กล่าวคำว่า ' เข็น ' แปลว่า เรื่องที่กำลังจะทำหรือจะทำให้สำเร็จบรรลุผลนั้น ยากลำบากแสนเข็ญมิใช่ของที่ทำได้ง่ายนักเปรียบได้กับ การกลิ้งครกขึ้นภูเขาไปสู่ยอดเขา กลืนไม่เข้าคายไม่ออก : แปลว่าหมดหนทางที่จะทำหรือไม่รู้จะทำอย่างไรดีหรือ เป็นการทำให้ตัดสินใจไม่ถูก เพราะจะไม่ทำลงไปก็ไม่ดี ทำลงไปก็ไม่ดีเป็นการยากที่จะตัดสินใจทำลงไปได้ง่าย เหมือนก้างปลาหรือเศษอาหารอะไรอย่างหนึ่ง เข้าไปติดอยู่กลางลำคอกลืนก็ไม่เข้าคายก็ไม่ออก. กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้ : สำนวนพังเพยนี้ มาจากการคั่วถั่วกับงาในกระทะเดียวกัน ถั่วเป็นของสุกช้างาสุกเร็วมัวรอไห้ถั่วสุก งาก็ไหม้เสียก่อน สำนวนนี้หมายถึงการทำอะไรสองอย่างพร้อมกันหรือทำอะไรสักอย่างที่ไม่รอบคอบ มัวคิดแต่จะได้ทางหนึ่งต้องเสียทางหนึ่งในความหมายอีกแง่ก็แปลว่าการทำอะไรมัวรีรออยู่ ไม่รีบลงมือทำเสียแต่แรกครั้นพอลงมือจะทำ ก็ไม่ทันการเสียแล้วเพราะคนอื่นเขาเอาไปทำเสียก่อน. กำขี้ดีกว่ากำตด : ความหมายว่า ได้ในสิ่งที่เห็นหรือเป็นของได้แน่ ดีกว่าคิดอยากได้ในสิ่งหรือของที่ไม่เห็นเหมือนไม่มีตัวตน การกินการอยู่ใครไม่สู้พ่อ การพายการถ่อพ่อไม่สู้ใคร : สำนวนนี้อธิบายความหมายอยู่ในตัวแล้วแสดงว่า เรื่องกินแล้วเก่งจนไม่มีใครสู้แต่ถ้าเรื่องงานแล้วยอมแพ้ ซึ่งแปลว่าขี้เกียจนั้นเอง. กินที่ลับไข่ที่แจ้ง : สำนวนนี้ มีความหมายไปในทำนองที่ว่า ทำอะไรไว้ในที่ลับแล้วอดปากไว้ไม่ได้เอามาเปิดเผย ให้คนทั้งหลายรู้เพื่อจะอวดว่าตนกล้าหรือสามารถทำอย่างนั้นได้โดยไม่กลัวใครผิดกฎหมาย อะไรทำนองนั้นหรือไม่กลัว กินน้ำใต้ศอก : หมายไปในทางที่ว่าถึงจะได้อะไรสักอย่างก็ไม่เทียมหน้าหรือไม่เสมอหน้าเขา เช่นหญิงที่ได้สามี แต่ต้องตกไปอยู่ในตำแหน่งเมียน้อย ก็เรียกว่า "กินน้ำใต้ศอกเขา" ที่มาของสำนวนนี้ คนในสมัยก่อนอธิบายว่า คนหนึ่งเอาสองมือกอบน้ำมากิน มากิน อีกคนหนึ่งรอหิวไม่ไหวเลยเอาปากเข้าไปรองน้ำที่ไหลลงมาข้อศอก ของคนกอบน้ำกินนั้นเพราะรอหิวไม่ทันใจ. กินบนเรือน ขี้รดบนหลังคา : แปลว่าคนที่เนรคุณคนเปรียบได้กับคนที่อาศัยพักพิงบ้านเขาอยู่แล้ว คิดทำมิด ีมิชอบให้เกิดขึ้นภายในบ้านนั้น ทำให้เจ้าของบ้านที่ให้อาศัยต้องเดือดร้อนคนโบราณเอาลักษณะของแมวที่ไม่ดี คือกินแล้วไม่ขี้ให้เป็นที่กลับขึ้นไปขี้บนหลังคาให้เป็นที่สกปรกเลอะเทอะเพราะคนสมัยก่อน ต้องการให้หลังคาสะอาดเพื่อรองน้ำฝนไว้กิน จึงเอาแมวชั่วนี้ มาเปรียบเทียบกับคนชั่วที่ไม่รู้จักบุญคุณคน. กินปูนร้อนท้อง : สำนวนนี้มาจากตุ๊กแก ว่ากันว่า ตุ๊กแกที่กินปูน (ปูนแดงที่กินกับหมากพลู ) มักจะทำอาการกระวนกระวาย ส่งเสียงร้องแกร็กๆ เหมือนอาการร้อนท้องหรือปวดท้อง จึงนำเอามาเปรียบกันคนที่ทำพิรุธหรือทำอะไรไว้ไม่อยากให้ใครรู้แต่เผอิญมีใคร ไปแคะได้ หรือเรียบเคียงเข้าหน่อยทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้เจตนาเจาะจงแต่ตัวเอง ก็แสดงอาการเป็นเชิงเดือดร้อนออกมาให้เขารู้ สำนวนนี้มักพูดกันว่า " ตุ๊กแกกินปูนร้อนท้อง ". กินน้ำเห็นปลิง : แปลว่า สิ่งใดที่ต้องการ ถ้าสิ่งนั้นมีสิ่งที่น่ารังเกียจ หรือไม่บริสุทธิ์ก็ทำให้รังเกียจหรือตะขิดตะขวงใจไม่อยากได้ เปรียบดังที่ว่าปลิงเป็นสัตว์น่ารังเกียจอยู่ในน้ำ เวลากินน้ำมองเห็นปลิงเข้าก็รู้สึกรังเกียจขยะแขยงไม่อยากกิน สำนวนนี้มีนักเขียนเอามาเขียนเอามาตั้งเป็นชื่อหนังสือเล่มหนึ่ง. เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน : " เบี้ย " ในสมัยก่อนเป็นพวกหอยชนิดหนึ่งเรียกว่า " เบี้ยจั่น " ใช้เป็นเงินแลกเปลี่ยนซื้อของได้ แต่มีราคาต่ำแปลตามตัวอักษรนี้ก็ว่าเก็บเบี้ยที่ตกอยู่ตามใต้ถุนร้าน หรือแผงลอยวางของขายซึ่งตกหล่นอยู่บ้าง เพราะมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนเบี้ยกับของโดยไม่เห็นว่าจะเป็นเบี้ยมีราคาต่ำ สำนวนนี้จึงแปลความหมายว่าถึงจะทำงานเล็กใหญ่ หรือค้าขายอะไรก็ตาม ก็พยายามค่อย ๆ ทำให้มีผลได้แม้เล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ยังดีกว่าปล่อยให้หลุดลอยไปเสีย. เกลียดขี้ขี้ตาม เกลียดความความถึง : สำนวนนี้ ไม่ทราบที่มาหรือมูลของสำนวนแน่ชัด แต่ก็เป็นที่รู้ ความหมายกันทั่วไปว่า หมายถึง การที่คนเราเกลียดสิ่งไหนแล้วมักจะได้สิ่งนั้นเปรียบได้กับชายที่เกลียด ผู้หญิงขี้บ่นจู้จี่แต่มักลงท้ายกลับไปได้ภรรยาขี้บ่นจู้จี่เข้าจนได. ้ เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง : สำนวนนี้มีความหมายแตกต่างกับประโยค " เกลียดขี้ขี้ตาม " เพราะแปลความหมายไปในทางที่ว่าเกลียดตัวเขาแต่อยากได้ผลประโยชน์จากเขา หรือของ ๆ เขา ตามความหมายเปรียบเทียบของสำนวนที่ว่าเช่นเกลียดปลาไหลในรูปร่างของมัน แต่เมื่อเอามาแกงมีรสหอม ก็ทำให้อดอยากกินแกงไม่ได้ถึงแม้จะไม่กินเนื้อปลาไหลเลยก็ตาม. แกว่งเท้าหาเสี้ยน : หมายถึงคนที่ชอบทำอะไรเป็นการสอดแทรกเข้าไปยุ่งกับเรื่องของผู้อื่นเข้า จนกระทั้งกลาย เป็นเรื่องกับตัวเองจนได้เสมอ เรียกว่าชอบสอดเข้าไปเกี่ยวสำนวนในปัจจุบันเปลี่ยนไปใช้เป็นว่า "แกว่งปากหาเท้า " เสียแล้ว เพื่อให้ความชัดเจนขึ้น. ไก่กินข้าวเปลือก : สำนวนคำพังเพยประโยคนี้ ถ้าพูดให้เต็มความก็ต้องพูดว่า " ตราบใดที่ไก่ยังกินข้าวเปลือกอยู่ ตราบนั้นคนเราก็ยังอดกินสินบนไม่ได " เข้าใจว่าเป็นคำพังเพยของจีน ๆ เอามาใช้เป็นภาษาของเขาก่อน แล้วไทยเราเอามาแปลเป็นภาษาไทยใช้กันอยู่มากในสมัยก่อน ๆ. ใกล้เกลือกินด่าง : หมายความว่า สิ่งที่หาได้ง่ายหรืออยู่ใกล้ไม่เอา กลับไปเอาสิ่งที่อยู่ไกลหรือหายากเปรียบได้ว่าเกลือหาง่ายกว่าด่าง ความหมายอีกทางหนึ่งหมายถึงว่าอยู่ใกล้กับของดีแท้ ๆ แต่ไม่ได้รับเพราะกลับไปคว้าเอาของที่ดี หรือมีราคาด้อยกว่าคือด่างซึ่งมีรสกร่อยหรืออ่อนเค็มกว่าเกลือ.
10 มกราคม 2551 18:57 น. - comment id 98869
ขี่ช้างจับตั๊กแตน : หมายความว่า ลงทุนเสียมากมายเพื่อทำงานเล็ก ๆ เท่านั้น เป็นทำนองว่าผลประโยชน์ที่ได้ไม่คุ้มกับที่ลงทุน หรือทำให้เป็นการใหญ่โตเลย หรือแปลความหมายสั้น ๆ " ทำงานใหญ่เกินตัว " ขี่ช้างอย่าวางของ : เป็นสำนวนเปรียบเทียบเตือนใจว่าการที่มีลูกน้อง หรือมีผู้น้อยอยู่ในความปกครอง บังคับบัญชาของเรา ก็อย่าประมาทละเลยเสีย ต้องหมั่นกวดขันกำชับ เปรียบได้กับคนขี่ช้างต้องคอยถือขอสับช้างบังคับช้างไว้อยู่ตลอดเวลา ถ้าวางของหรือไม่ใช้ขอคอยสับไว้ ช้างก็อาจพาลเกเรไม่ทำงานได้. ขี้ก้อนใหญ่ให้เด็กเห็น : สำนวนนี้หมายถึง การทำอะไรที่เป็นเรื่องไม่ดี เป็นเรื่องชั่วร้ายเลวทรามหรือการทุจริต โดยไม่มีความละอายใจให้ผู้อื่นเห็น โดยเฉพาะหมายถึงผู้ใหญ่ที่ทำให้ผู้น้อยเห็นอย่างชัดแจ้ง. เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม : แปลตามประโยคสำนวนก็ว่า เข้าเมืองตาบอดข้างเดียว ถึงแม้ตาเราไม่บอด ก็ต้องทำตาบอดข้างเดียวตามเขาไปด้วย ( ตาหลิ่ว ในที่นี้หมายถึงตาบอดข้างเดียวหรือคนตาเดียว ไม่ใช่หมายถึงทำตาหลิ่ว หรือหลิ่วตา ) หมายความว่า ที่แห่งใดเขาประพฤติตามเขาไปด้วย อย่าไปประพฤติขัดแย้งกับเขา. ขว้างงูไม่พ้นคอ : หมายความว่า มีภาระหรือมีเรื่องเดือดร้อน ทั้งของตนเองและที่เกี่ยวข้องอยู่ แต่ไม่สามารถจะแก้ไขให้รอดพ้นไปได้. ข้างนอกสุกใสข้างในเป็นโพรง : สำนวนนี่เปรียบเทียบได้สองทาง ทางหนึ่งก็หมายถึงสิ่งที่แลดูภายนอกเป็นของดีหรือของแท้ แต่แท้จริงแล้วกลับไม่ใช่ของดี หรือของแท้นัก อีกทางหนึ่งก็เปรียบได้กับสตรีที่งามแต่รูป แต่กิริยาและความประพฤติไม่ดี หรืองามเหมือนรูป ซึ่งตรงกันข้ามกับอีกสำนวนหนึ่งที่ว่า " ข้างนอกขรุขระ ข้างในต๊ะติ๊งโหน่ง " ข้างนอกขรุขระข้างในต๊ะติ๊งโหน่ง : สำนวนตรงข้ามกับ " ข้างนอกสุกใส " คือดูแต่ภายนอกไม่งาม แต่แท้จริงกลับเป็นของแท้ของงาม สตรีที่มีรูปร่างขี้ริ้วไม่งดงาม แต่กิริยามารยาทเรียบร้อย จิตใจก็ดีงาม ตรงข้ามกับรูปร่าง. ข้าวใหม่ปลามัน : คนในสมัยโบราณถือว่า " ข้าวใหม่ปลามัน " คือข้าวที่เก็บเกี่ยวในครึ่งปีหลัง เป็นข้าวที่ดีกว่าข้าวเก่า และปลาเป็นอาหารคู่กับข้าว " ปลามัน " หมายถึงปลาในฟดุน้ำลดมีมันมาก รับประทานอร่อย จึงมาผูกเป็นสำนวนพังเพยเปรียบเทียบเช่น สามีภรรยาที่เพิ่งจะแต่งงานกันใหม่ ๆ ย่อมจะอยู่ในระหว่างกำลังเสพสุขสมรสมีรสชาติ. เขียนด้วยมือลบด้วยเท้า : สำนวนนี้ เวลาพูดมักจะใช้คำตรง ๆ ว่า " เขียนด้วยมือลบด้วยตีน " เป็นความเปรียบเปรยถึง คนที่แต่แรกทำความดีจนเป็นที่เชื่อถือไว้แล้ว แต่ภายหลัง กลับทำความชั่วลบล้างความดีของตนเสียง่าย ๆ หรือเปรียบอีกทางหนึ่งถึงคนที่ออกคำสั่ง หรือให้สัญญาไว้แต่แรกอย่างหนึ่ง แล้วปุบปับกลับเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือสัญญานั้นเสีย ให้อยู่ในลักษณะตรงข้ามโดยไม่มีเหตุผล. เขียนเสือให้วัวกลัว : ตามธรรมชาติ เท่าที่รู้จักกันอยู่ว่า วัวเป็นสัตว์ที่กลัวเสืออยู่มาก แม้จะมีรูปร่างใหญ่โตกว่าเสือก็ตามแต่ และวัวมักจะเป็นเหยื่อเสือเสียส่วนมาก เขาจึงเอามาเป็นสำนวนพังเพยเปรียบเทียบถึง การที่ทำอะไรอย่างหนึ่งเพื่อให้เป็นการข่มขู่อีกฝ่ายหนึ่ง ไว้ก่อนให้กลัว เรียกว่า " เขียนเสือให้วัวกลัว ".ขมินกับปูน : สำนวนนี้หมายถึง คนที่ไม่ลงลอยกัน หรือ รสนิยมเข้ากันไม่ได้ เมื่ออยู่ใกล้กัน ก็มักเป็นปากเสียงทะเลาะวิวาทกัน เปรียบดังขมิ้นกับปูนที่กินกับหมาก.
28 ตุลาคม 2555 15:34 น. - comment id 130877
55555