บทสนทนาจากหน้าเว็บเพจ จดหมายถึงอธิการบดีในเว็บไซด์ประจำสถาบัน WWW.MSU.AC.TH เป็นคำพูดตัดพ้อจากศิษย์ถึงอาจารย์,คำพูดที่ออกจากใจของคนในองค์กรถึงผู้บริหารระดับสูง,คำพูดระหว่างคนอายุรุ่นราวคราวลูกมีต่อคนรุ่นราวคราวพ่อ,คำพูดจากคนประสบปัญหาถึงคนที่สามารถแก้ไขปัญหาได้และคำเรียกร้องจากคนที่อยากให้มีคนชี้แจ้ง ซึ่งเป็นปัญหาค้างคาใจนิสิตตาดำๆที่ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สถาบันอุดมศึกษาแห่งนี้ กำเนิดมาจากวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคามซึ่งตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2511 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะขยายชั้นสูงไปสู่ภูมิภาคต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม เมื่อปี พุทธศักราช 2517 และได้แยกตัวเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ ภายใต้ชื่อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2537 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้มีการประกาศ เล่มที่ 111 ตอนที่ 54 ก นับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ แห่งที่ 22 ของประเทศไทย ในภาคอิสานมีมหาวิทยาลัยของรัฐประจำภูมิภาค 3 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งเมื่อเทียบกับพื้นที่และขนาดประชากรดูจะไม่สมดุลกันเท่าไรนัก มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นมหาวิทยาลัยหนึ่ง ที่พึ่งได้แยกตัวเป็นเอกเทศจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมาในไม่นานนี้เอง ความที่เป็นมหาวิทยาลัยน้องใหม่หลายสิ่งหลายอย่างดูจะไม่พร้อมสรรพอย่างมหาวิทยาลัยใกล้เคียงกัน ทั้งในด้านอาคารสถานที่ อุปกรณ์เทคโนโลยีทางการศึกษาหรือแม้กระทั่งสิ่งอำนวยความสะดวกของครูอาจารย์และนิสิต หอพัก ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาระหว่างนิสิตกับผู้บริหารของมหาวิทยาลัย หอพักที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้อ้างว่าเป็นของมหาวิทยาลัยโดยเงินงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้คือ หอกันทรวิชัย(ชาย)และหอวาปี(หญิง) ส่วนหอพักพยัคฆภูมิพิสัย โกสุมพิสัย นาดูน ชื่นชม ยางสีสุราช บรบือและกุดรัง จัดสร้างด้วยเงินที่มหาวิทยาลัยทำสัญญากับเอกชนให้สร้างหอพัก โดยทางมหาวิทยาลัยชำระผ่อนส่งในระยะเวลา 20 ปี ทางผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้บอกกับนิสิตว่า ทางมหาวิทยาลัยต้องเก็บค่าหอแพงด้วยเหตุผลที่งบประมาณสร้างหอพักไม่ใช่เงินของรัฐแต่เป็นเงินของเอกชน จึงต้องเก็บในจำนวนที่ใกล้เคียงกับหอนอก รอบมหาวิทยาลัยแต่ก็ไม่แพงเทียบเท่า เช่น หอพักหอนอกมหาวิทยาลัย(ที่ไม่ใช่คำว่า หอเอกชน เพราะหอในมหาวิทยาลัยก็เป็นเงินของเอกชน) เก็บค่าเช่ารายเดือน 1500 บาท หอพักในมหาวิทยาลัยจะเก็บในอัตรา 1000-1200 บาท เป็นราคาห้องธรรมดาไม่นับร่วมหอที่ติดเครื่องปรับอากาศที่ค่าเช่ารายเดือนจะสูงกว่านี้อีกหลายเท่าตัว ในช่วงปลายปีการศึกษา 2544มีการติดประกาศในหอพักต่างๆ เรื่องข้อเปรียบเทียบระหว่างหอในมหาวิทยาลัยกับหอนอกมหาวิทยาลัย และชี้จุดดีจุดด้อยเชิงความคุ้มค่ากับการอยู่อาศัย เพราะตั้งแต่ต้นปีการศึกษา2544มีนิสิตประสงค์จะย้ายออกไปอยู่หอนอกเป็นจำนวนมาก เพราะความหมายคำ หอใน กับ หอนอก เริ่มไม่แตกต่างกัน! เหตุการณ์ตามมา รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิตในตอนนั้น คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธัญญา สังขพันธานนท์ ออกมาประกาศว่า นิสิตคนใดต้องการจะออกไปอยู่หอนอกในปีการศึกษา2544 ต้องนำผู้ปกครองมารับทราบด้วย ถึงแม้จะทราบดีว่าการให้ผู้ปกครองของนิสิตรอนแรมเดินทางมาจากต่างจังหวัด เสียเวลาหาเงินทองเพื่อส่งลูกเรียน มาเพียงเพื่อบอกให้ทราบว่า ลูกของคุณอยากออกจากหอในไปออกหอนอก จากสอบถามผู้ปกครองหลายท่าน บางท่านต้องการให้ลูกของตนไปอยู่หอนอกมากกว่าเพราะสวัสดิการบริการในมหาวิทยาลัยยังไม่ดีพอ บางคนขอให้ลูกเอนทรานซ์ใหม่เพื่อเลือกมหาวิทยาลัยที่ดีและพร้อมกว่านี้ เพื่อโอกาสที่ดีกว่าในการเลือกสิ่งดีๆให้กับลูกของตน หอพักพยัคฆภูมิพิสัย โกสุมพิสัย นาดูน ชื่นชม ยางสีสุราช บรบือและกุดรัง สร้างเสร็จในเวลาใกล้เคียงกัน แต่น้ำท่าไม่ค่อยสะดวกนัก จึงเกิดปัญหาตาม เดี๋ยวน้ำไม่ไหลบ้าง น้ำไหลน้อยและเบาๆจนหายไปในที่สุดหรือแม้จะไหลแรงแต่น้ำก็ดำ มีแต่ขี้ดินเศษหินอยู่เป็น เหตุการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งบันทอนสุขภาพจิตใจการอาศัยของนิสิตเสมอมา แต่ก็ไม่อาจจะทำอะไรได้ต้องทนรับสภาพแบบนี้ไปเรื่อย แค่ได้หวังว่าสักวันทุกสิ่งทุกอย่างจะดีขึ้น เหมือนคำพูดของท่านอธิการบดี รศ.ดร.ภาวิช ทองโรจน์ กล่าวรับขวัญนิสิตใหม่ปีการศึกษา2544ไว้ตอนหนึ่งว่า ผมจะพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งนี้ให้ดีขึ้นและดียิ่ง ยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ แต่จะขึ้นค่าหอพักตามที่คุณ กา เรียนถามอธิการบดีหรือเปล่าไม่รู้ ถ้าถามนิสิตที่อยู่หอพักในขณะว่า ทำไมไม่ไปอยู่หอนอกหล่ะ ถ้าลำบากนัก เสียงตอบคงเป็นเสียงเดียวกัน คือ เรายังไม่รู้จักที่นี้ดีพอ ปีแรกก็ควรจะอยู่หอในเพื่อเรียนรู้ระบบการเรียนของมหาวิทยาลัย เรียนรู้สังคมรอบๆมหาวิทยาลัยว่าเป็นเช่นไร เพื่อจะอยู่รอดในระยะเวลา 4 ปี การพักอาศัยหอพักเริ่มมีปัญหารุนแรงขึ้นเรื่อยๆเมื่อปลายปีการศึกษา2544 ผู้บริหารมหาวิทยาลัยประกาศให้หอหอกันทรวิชัย(ชาย)และหอวาปี(หญิง)จากค่าเช่าต่อ2400 บาท เปลี่ยนมาเป็น 4000 บาท เทียบเท่า หอพักอื่น โดยทางผู้บริหารมหาวิทยาลัย ให้เหตุผลว่า เพื่อไม่ให้ลำบากในการจัดเก็บการบำรุงรักษาหอพัก และให้เป็นอันหนึ่งเดียวตามแนวทางเดียวกันทั้งหมด ความรู้สึกเหมือนคนโดนไล่ให้จนตรอก แกนนำกลุ่มนิสิตปี 3 ที่อาศัยอยู่ ร่วมกลุ่มกัน ประท้วงเรียกร้องสิทธิของตน เพราะทางผู้บริหารเคยบอกแล้วว่าหอพักทั้งสองหลังนี้เป็นของรัฐไม่ใช่เอกชน เกิดข้อถกเถียงโต้แย้งกัน แต่ถึงที่สุดนิสิตเหล่านี้ต้องยอมรับชะตากรรม โดยผู้บริหารยืนยันหนักแน่นว่าถ้าใครไม่อยู่ให้ย้ายออกไป หากใครจะอยู่ต้องยอมรับกติกานี้ นิสิตที่ร่วมประท้วงส่วนใหญ่ย้ายตัวเองออกไปอยู่หอนอกเพราะรับสภาพแบบนี้ไม่ไหว ได้แต่สงสารรุ่นที่ต้องแบกรับภาระที่ไม่เป็นธรรมโดยเจตนา เพราะไม่มีทางเลือกให้เลือกเดินมากนัก การที่มหาวิทยาลัยมีอำนาจเต็มที่ในการบริหารตนเองถือเป็นอิสระที่สามารถพัฒนาวิชาการ เพื่อสนองพัฒนาผู้เรียนและพัฒนาประเทศชาติด้วยเป็นสิ่งดี แต่การมีอำนาจอิสระเต็มที่กลับแสวงหาผลประโยชน์ให้เพื่อนพ้องของตน เหยียบย้ำตำราที่เคยเขียนสอนนิสิตให้พัฒนาชาติ ช่วยเหลือประชาชน ก็ผิดกับปรัชญาที่ท่องกันทั้งสถาบัน "ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน"
16 ธันวาคม 2545 12:10 น. - comment id 67130
เท่าที่อ่านดูก็น่าเห็นใจ นิสิตเหมือนกันนะ ค่าเทอมก็แพงอยู่แล้ว ยังต้องมาเสียค่าที่พักที่นับวันก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่เผอิญเปิ้ลไม่ได้อยู่หอในซะด้วยสิ เลยไม่ค่อย ได้รู้เรื่องราวข้างใน อยู่หอนอกราคาไม่แพงมากนัก และที่สำคัญสบายใจด้วยละ ยังไงก็สู้ต่อไปเนอะนิติและเพื่อน ๆ ร่วม สถาบันเดียวกัน
2 มกราคม 2546 15:09 น. - comment id 67213
เราเองเรียนที่นี่มา 4 ปีนะ แต่ไม่เคยได้สัมผัสชีวิตหอในเลยว่าเป็นยังไง ค่าเทอมก็แพงอย่างที่บอก แล้วยังจะต้องจ่ายค่าหอพักแพงอีก มันก็ย่ำแย่เรานิสิตตาดำๆ เพราะว่าฐานะการเงินแต่ละคนไม่เหมือนกัน เราก้ไม่ณุ้ว่าทางมหาลัยบังคับให้น้องๆอยู่หอในกันรึเปล่า แล้วเมื่อไหร่ที่เลิกบังคับนะ ระบบม.เรามันผูกขาดมากเกินไป สังเกตอาคารสถานที่ต่างๆผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด พัฒนาอาคาร แต่ไม่พัฒนาคน มันจะมีประโยชน์อะไรนะ เงินที่เอามาสร้างมันซับซ้อนเกินกว่าที่เราจะรู้ได้ว่ามันผ่านใครบ้าง ต้องเอาอะไรไปแลกมาบ้าง เดี๋ยวนี้ประเทศไทยจะไม่มีแผ่นดินอยู่แล้วล่ะ เพราะว่าการขายชาติไง