วรรณกรรมเพลงลูกทุ่ง

สุชาดา โมรา

เพลงลูกทุ่ง  หมายถึง  เพลงที่แสดงออกถึงชีวิตชนบทโดยนักร้องนักดนตรีที่เรียกตัวเองว่า ลูกทุ่ง   เพลงลูกทุ่งกำเนิกขึ้นมาเพราะการแสวงหาความอบอุ่นใจของชาวชนบทที่เข้ามาประกอบอาชีพในเมืองหลวงเพื่อให้คลายความคิดถึงบ้านจึงมีลักษณะต่าง ๆ ที่แสดงความเป็นชนบทเพลง  ลูกทุ่งมีลักษณะตัวบางประการที่น่าสนใจ คือ การสร้างเนื้อร้องในลักษณะที่ทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ขัน  การแทรกบทเจรจาและเสียงหัวเราะ  การแต่งเนื้อร้องที่ทันเหตุการณ์ เป็นต้น
	ปัจจุบันมีผู้สนในวิเคราะห์วรรณกรรมเพลงลูกทุ่งเป็นจำนวนมาก  ลักขณา   สุขสุวรรณ  เป็นผู้หนึ่งที่สนใจและได้ทำปริญญานิพนธ์  เรื่อง  การวิเคราะห์วรรณกรรมเพลงลูกทุ่ง  เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต  วิชาเอกภาษาไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร , 2521
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
	๑.  เพื่อศึกษาเพลงลูกทุ่งในแง่การใช้ภาษาในฐานะที่เป็นเพลงซึ่งเข้าถึงประชาชนอย่างกว้างขวาง
	๒.  เพื่อศึกษาเพลงลูกทุ่งว่าเกี่ยวข้องกับสังคมและวัฒนธรรมไทย
	๓.  เพื่อศึกษาคุณค่าทางจริยธรรมที่แฝงไว้ในเพลงลูกทุ่ง
๔.  เพื่อชี้ให้เห็นคุณค่าขอ
๕.  เพื่อชี้ให้เห็นคุณค่าของเพลงลูกทุ่ง
วิธีดำเนินการวิจัย
	ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
	๑.  รวบรวมเนื้อเพลงลูกทุ่งร่วมสมัยจากหนังสือเพลงลูกทุ่ง  แถบบันทึกเสียงและแผ่นเสียง
	๒.  รวบรวมสถิติการจำหน่ายแผ่นเสียง  แถบบันทึกเสียงและแผ่นเสียงตลอดจนการจัดอันดับเพลงตามสถิติตามสถานีวิทยุต่าง ๆ 
	๓.  ศึกษาสภาพของสังคมไทย  เอกลักษณ์และค่านิยมของสังคมไทย
	๔.  ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะ  วรรณกรรมและสังคม
	๕.  ศึกษาสภาพสังคมไทย  เอกลักษณ์และค่านิยมของสังคมไทย
	๖.  วิเคราะห์ลักษณะการใช้ภาษาในเพลงลูกทุ่งและสาเหตุทำให้เพลงลูกทุ่งแพร่หลายในหมู่ผู้ฟัง
	๗.  วิเคราะห์สภาพของสังคม  วัฒนธรรม  เอกลักษณ์  ค่านิยมของคนไทยที่ปรากฏในเพลงลูกทุ่งตามหลักวิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา
	๘.  เรียบเรียงข้อมูลที่ได้วิเคราะห์  สรุป  อภิปราย  และเสนอผลการศึกษาแบบพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย
	ผู้วิจัยได้วิเคราะห์วรรณกรรมเพลงลูกทุ่ง เรื่อง เพลงลูกทุ่งกับการใช้ภาษา  การใช้คำสำนวนเพลงลูกทุ่งกับสังคม  อิทธิพลของสังคมที่มีต่อเพลงลูกทุ่ง และอิทธิพลของเพลงลูกทุ่ง      ต่อสังคมซึ่งขอนำมากล่างดังต่อไปนี้
	๑.  การใช้คำ
	การใช้คำในเพลงลุกทุ่งมีหลายลักษณะและปะปนกันอยู่ในแต่ละเพลงคือ
		๑.๑  ใช้คำง่าย  เพลงลูกทุ่งส่วนมากใช้คำง่าย ๆ พื้น ๆ แบบที่ใช้พูดจากันโดยทั่วไปบางทีก็ใช้คำไทยแท้  ซึ่งมีลักษณะเป็นพื้นบ้านทั่ว ๆ ไป  ชาวบ้านไม่นิยมพูดศัพท์ยากเพราะเสียเวลาในการตีความ เพลงลุกทุ่งได้เสียดสีด้วยเพลงเซ้า ๆ อย่าเว้าหลาย  ซึ่งแพร่หลายมากในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๑๒ - ๒๕๑๓  เช่น  เพลง (เซ้า เซ้า)  อย่าเว้าหลาย  ของสัมฤทธิ์  สีเผือก
			..บ่เคยได้เว้าว่ากินข้างเหนียวเป็น  เรื่องบ่มีช่างพูดให้เป็น  บ่เห็นกับตาบ่น่าเล่าลือ  ภาษาไทยบ่ยากกล้วยนักเพียรจนมีชื่อ หมู แปลว่ากระบือ สุกร  นั้นหรือแปลว่า  ควาย 
		เพราะแทนที่จะพูดด้วยคำธรรมดาว่า  หมู  หรือ  ความ  กลับใช้คำที่ชาวชนบท    ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันจึงก่อให้เกิดช่องว่างทางภาษาขึ้น
		๑.๒ ใช้คำแสดงความรู้สึกได้อย่าสะใจ มีทั้งในลักษณะของคำวิเศษณ์  และคำเปรียบเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกให้แก่ผู้ฟังอย่างเต็มที่ เช่น เพลงหน้าด้านหน้าทน ของจิ๋ว  พิจิตร
			 มีผัวแล้วพี่ก็ยังรัก  ถึงอกจะหักรักษาไม่หาย  จะคอยทูนหัวจนผัวเธอตาย  บอกอย่างไม่อาย  หน้าด้านหน้าทน
		๑.๓  ใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติและเสียงอุทาน  เพื่อให้ความรู้สึกที่สมจริงและได้อารมณ์เพลง  เช่น  เพลงถามทำไมไม่พูด  ชลธี    ธารทอง
			 เห็นทรามวัยพี่ก็รักได้แต่นึก  นึกนึกไปใจมันเต้น  ตั๊กตั๊ก 
		๑.๔  การซ้ำคำ  โดยปกติแล้วเรามักจะซ้ำคำเพื่อให้ความหมายกว้างออกไปและ    ถ้าเปลี่ยนระดับเสียงด้วยจะเป็นการย้ำความรู้สึกมากขึ้น ในเพลงลูกทุ่งมักย้ำคำเพื่อเน้นความรู้สึก  ให้เด่นชัดขึ้น  และเพลงลูกทุ่งส่วนใหญ่จะเน้นความหมายของคำด้วยการซ้ำคำมากที่สุด  ดังเพลงร้อนยิ่งกว่าไฟของราเชนทร์  เรืองเนตร  ดังนี้
			  แสนร้าวรอน  ร้าวรอน  ร้าวรอน  รักร้อนใจ  ร้อนใจ  ร้อนใจ
			รำร้อนกว่าไฟ  เฝ้าสุดอาลัยรำพันไหนบอกว่ารักไม่โกหก
			บอกกล่าวว่านกก็ต้องตามนั้น  กลับมาแปรผันให้เราช้ำใจ
		๑.๕  การเล่นคำ  การเล่นคำในเพลงลูกทุ่งมีทั้งเล่นสัมผัสด้วยเสียงและการเล่นคำด้วยความหมาย  ซึ่งการเล่นสัมผัสมีทั้งสัมผัสสระและอักษร  ดังเช่น  เพลงน้ำตาร่วงเผาะ             ของไพบูลย์  บุตรขัน
			  น้ำตาร่วงเผาะ  หัวอกเดาะ  ถูกรักกัด  ถูกรักแทงเอาชัดชัด
			อมตรมอึดอัด  มันกลัดจนกลุ้ม
		ส่วนการเล่นความหมายจะใช้คำที่ออกเสียงเหมือนกันมาเล่นความหมายที่ต่างกันให้ผุ้ฟังสนใจ  ดังเพลงแก่งคอย ของ ป.ชื่อประโยชน์
 แก่งคอย  หัวใจพี่คอยน้องอยู่เกาะแงเก่าที่เราสมสู่  ยังคอยน้องอยู่         ทุกวัน
		๑.๖  การใช้คำวิเศษณ์ที่ทำให้ภาพชัดเจน  มีลักษณะแปลกแต่น่าสนใจ คือการ     ให้คำมาประกอบหรือขยายคำจะแสดงลักษณะของคำที่ต้องการอย่างชัดเจน  คำที่นำมาประกอบ     ก็ง่าย ๆ เช่น  ที่ใช้ในภาษาพูดทั่วไป  ดังเพลง  ก็คือกันนั่นแหละ  ของ  สันต์    ศิลป์ประสิทธิ์
			 เมียผมดำมิดหมี  ยิ้มแต่ละทีเห็นฟันขาวชัด ๆ   
			หุ่นเมียผมเหมือนไม้เสียบผี
		๑.๗  การใช้คำไพเราะ  เพลงลูกทุ่งจำนวนไม่น้อยมีการใช้คำไพเราะในลักษณะของ กวีโวหาร  คือมีการเลือกใช้คำที่เพริศพริ้ง  มีสัมผัสซึ่งตามปกติแล้วในเนื้อร้องของเพลงประเภทต่าง ๆ ก็มีการส่งสัมผัสอยู่แล้วแม้แต่ในเพลงพื้นเมือง  เช่น  เพลงโคราช  ดังเนื้อร้อง        บทหนึ่งว่า
			  พี่ตามหานาง		เหมือนดังกวางหาหนอง
			พี่ตามหาน้อง		เหมือนดังพรานหาเนื้อ
			โอ้แม่คานน้อยหาบหนัก	ไม่รู้จะหักลงเมื่อ  เอ๋ยไร 
			ซึ่งอาจมีคำสัมผัสมากหรือน้อยแล้วแต่ต้องการ
		๑.๘  การใช้คำที่ให้นัยประหวัด  การใช้คำที่ให้นัยประหวัดหมายถึง  การกล่าว    ถึงสิ่งใดหรือความรู้สึกใดที่ทำให้ผุ้ฟังนึกไปถึงประสบการณ์เดิมของตนเองในเรื่องนั้น  หรือนึกถึงสิ่งที่กล่าวขึ้นนั้นอย่างเข้าใจถึงความหมายที่แฝงอยู่  การใช้คำที่ให้นัยประหวัดในเพลงลูกทุ่งมี 2 แบบ คือ			๑.  ให้ความหมายที่ดี  ส่วนมากใช้ในการกล่างถึงผู้หญิง  ดังเพลง ลานเทสะเทือน  ของวัฒนา  พรอนันต์
			 เขียวเอยขาวเอยแล่นเลยทุกลำ  ไม่มีโฉมงาม
			สาวแก้มนวลทีสุดคะนึง
			๒.  ให้ความหมายสองแง่  ซึ่งมักจะออกไผในทางหยาบ  ดังเพลงบ๊ะจริงนะ  ของรุ่งทิพย์  ธารทอง
			เห็นบั้นท้ายผมแทบจะนอนหงายผึ่ง
			หน้าบ้านคุณคงเป็นหนึ่งมิมีใครกล้ามาเอาชนะ
			หน้าผากผึ่งดังหน้ากลองใครเห็นต้องเหลียวมอง
		๑.๙.  การใช้คำภาษาถิ่น  เนื่องจากเพลงลูกทุ่งนำเอาทำนองเพลงพื้นบ้านถิ่นต่าง ๆ มาใส่ไว้  ดังนั้นเพื่อความสมจริงในเนื้อร้องและอารมณ์เพลงจึงต้องนำคำและสำเนียงมาใส่ไว้ด้วยซึ่งผู้ฟังฟังแลวก็สามารถจะรู้ได้ทันทีว่าเป็นเพลงถิ่นไทย  เช่น
	ภาคเหนือ	ได้แก่  คนึงและลำแม่ปิง  ใต้ฟ้าเจียงอาย  สาวเหนือก็มีหัวใจ     
		คนใต้ใจซื่อ
	อีสาน	ได้แก่  สาระวันรำวง  ฮักสาวลำชี  นักร้องพเนจร  ตามน้องกลับสารคาม
	ใต้		ได้แก่  หวังเหวิด  เมียตัวอย่าง  โนห์ราหาย
	กลาง		ได้แก่  เพลงแหล่ต่าง ๆ รูปหล่อถมไป  แม่ครัวตัวอย่าง  หนุ่มสุพรรณ    ฝันเพ้อ
	๒.  สำนวน  
	เพลงลุกทุ่งมีสำนวนต่าง ๆ ที่น่าสนใจ  เช่นเดียวกับวรรณกรรมอื่น ๆ  และมีลักษณะเฉพาะตัวบางประการแฝงอยู่ด้วย  สำนวนที่เพลงลูกทุ่งใช้คือ
		๒.๑  การเปรียบเทียบ  การเปรียบเทียบให้ผุ้ฟังเกิดภาพในเพลงลูกทุ่ง  มีหลายลักษณะด้วยกันคือ
			๒.๑.๑  อุปมา  คือการเปรียบเทียบลักษระภายนอกหรือเปรียบเทียบโดยตรงเพื่อให้ทราบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง  สิ่งที่เพลงลูกทุ่งนิยมนำมาเปรียบเทียบ คือ
			ธรรมชาติ  เนื่องจากเพลงลูกทุ่งมักจะชอบกล่างถึงชีวิตชนทจึงนิยมนำเอาธรรมชาติมาอุปมา  โดยเฉพาะการอุปมาเกี่ยวกับ น้ำ มีมากมาย  เช่น  เพลงขันหมากเศรษฐี       ของ  ชลธี    ธารทอง
				น้ำนองเจิ่งสองตลิ่งเหมือนใจผู้หญิงหลายใจ  ไหลมาไหลไป  
				ไหลขึ้นไหลลง  คนรวยเหมือนเทวดา
			สัตว์  การอุปมาเกี่ยวกับสัตว์ในเพลงลุกทุ่งมีไม่มากนัก มักจะอุปมากับ  นก  ปลาไหล  เช่น  เพลงรับรักพี่เสีย  ของไพบูลย์  บุตรขัน
				
 ชีวิตของพี่มันเหมือนนก	โผผินบินผกมันเรื่อยมา
				อาชีพของพี่เป็นคนกล่อมโลก	ขึ้นอยู่กับโชควาสนา
			สิ่งไม่มีชีวิต  การนำสิ่งไม่มีชีวิตมาอุปมานั้นมีหลายประเภท  เช่น  เพลงหัวใจกร่อน  ของสุชาติ  เทียบทอง
				หัวใจฉันกร่อนร้าวรอนเหมือนดังข้าวเกรียบ
				เธอย่ำเธอเหยียบ  ย่ำเหยียดฉันลงคอได้
			๒.๑.๒  อุปลักษณ์  คือการเปรียบเทียบโดยนัยด้วยการนำลักษณะเด่นของสิ่งนั้นหรือนำชื่อมากล่าวและมักจะกล่าวถึงผู้หญิงด้วยการเรียกชื่อสิ่งนั้น ๆ เช่น  เพลงโฉมพรูเชียงใหม่  ของ  สามศร  ณ  เมืองศรี
				เอื้องพรเวียงเหนือ  ช่างสุขเหลือเมื่อได้มาเชียงใหม่
				เจอคนงามอ้ายวาบหวามทรวงใน  วิมานเมืองใต้ลืมหลง
		การใช้บุคคลาอธิฐาน  เพลงลูกทุ่งมีการใส่อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดและกิริยาอาการเช่น  มนุษย์  ให้กับสิ่งอื่น ๆ ด้วย เช่น  เพลงเสียงขลุ่ยบ้านนา  ของเกษม  สุวรรณมานะ
				หวิวไผ่ครางเคล้าลมอ่อนโอน  ต้นตาลเดี่ยวสุดฝืนยืนต้น
				ดังคนสูญสิ้นความหวัง  ขลุ่ยบรรเลงเจ้ารับฟังเพลงพี่บ้าง
		การใช้คำแสลง  คำแสลงที่พบในเพลงลูกทุ่งมีทั้งเป็นการสร้างคำแสลงของเพลงลูกทุ่งเองและการนำคำแสลงร่วมสมัยมาใส่ไว้ในเพลงเพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้ฟังอีกด้วย      ซึ่งคำแสลงที่ใช้อาจจะแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม  คือ
		ความหมายค่อนข้างหยาบ  ซึ่งมักจะก่อไปในทางเพศสัมพันธ์เป็นส่วนมาก เช่น เพลงฉันยากห่าเมีย  ของสมบัติ  เพชรสานนา
			โอ้แม่ถั่วดำนำทำงามหน้าละซี  ทำพี่คราวนี้พี่ทนบ่ได้
			พี่บ่อยู่อยากรู้ครึ่งปีน้องอยู่ทางนี้ไปทีท้องกับใคร
		เพลงความหมายกลาง ๆ คำแสลงลักษณะนี้พบมากในเพลงลุกทุ่ง  จนอาจจะกล่าวได้ว่าเพลงลูกทุ่งส่วนหนึ่งทำหน้าที่บันทึกคำแสลงในแต่ละช่วงไว้  เช่น  เพลงเขมือบ  ของ  ณรงค์  ชมสมบูรณ์
				ถ้อยคำรำพันเธอเสกสรรดุลน้ำตาลเคลือบ
				ถ้าเผลเธอเป็นเขมือบ  จนฉันเกือบช้ำใจตาย
		การสร้างสำนวนใหม่  ซึ่งสำนวนนี้มีลักษณะเป็นคำพูดติดปากในกลุ่มผู้ฟังเพลงลูกทุ่งทั่ว ๆ ไป วิธีการใช้คำเหล่านี้ก็แล้วแต่สถานการณ์  ซึ่งบางครั้งก็ไม่ได้ใช้ในกรณีเดียวกับเพลงลุกทุ่งเพลงนั้น  เช่น  เพลงชู้รายวัน   ของ  ฉลอง  ภู่สว่าง
				
เมียจ๋าไม่น่าเลยนี่  ผัวก็มีนอนกอดด้วยกัน
				ชาวบ้านพุดกันกรอกหู  พอผัวไม่อยู่ก็แอบมีผัวรายวัน
				เจ็บช้ำเขาทำจนแสบ  เหมือนโดนหมัดแย็บเสียจนหน้าสั่น
				เจ็ดวันไกลหูไกลตาชื่นใจไหมแก้วตาเปลี่ยนหน้ามาทุกวัน
การใช้คำภาษาของเพลงลูกทุ่งในลักษระดังกล่าวจึงสรุปได้ว่ามีการใช้ภาษาแตกต่างกัน     ซึ่งขึ้นอยู่กับอารมณ์ของเพลงลูกทุ่งว่าควรจะใช้คำชนิดใด  ด้วยเหตุนี้เพลงลูกทุ่งซึ่งมีลักษณะจริงใจจากการใช้คำง่าย ๆ พื้น ๆ และการเปรียบเทียบย่างเข้าทีด้วยการนำสิ่งที่คนทั่ว ๆ ไปเข้าใจมาเปรียบกับสิ่งที่ตนเองต้องการแสดงโดยไม่อ้อมค้อม  ประกอบกับการแสดงอารมณ์สนุกอย่างง่าย ๆ แบบไทย จึงเป็นเพลงที่เข้าถึงผู้ฟังได้ง่ายทั้งผู้ฟังที่ฟังอย่างตั้งใจและไม่ตั้งใจ				
comments powered by Disqus
  • เก่ง

    31 พฤษภาคม 2550 01:07 น. - comment id 96392

    ผมพบบทความนี้ขณะที่กำลังค้นหาคำว่า "รุ่งทิพย์ ธารทอง" ครับ ผมต้องการรวบรวมข้อมูลและผลงานของรุ่งทิพย์ ธารทองให้มากที่สุเท่าที่จะทำได้ จึงอยากรบกวนสอบถามว่าผมจะค้นหาข้อมูลได้จากที่ไหนบ้างครับ อย่างเพลงบ๊ะจริงนะ ก็เคยได้ยินแต่ชื่อครับ ยังไม่เคยฟัง รบกวนช่วยอนุเคราะห์ข้อมูลด้วยครับ
    takeng53@hotmail.com
  • game

    22 มิถุนายน 2555 13:14 น. - comment id 129628

    55.gif55.gif
  • fds

    22 มิถุนายน 2555 13:17 น. - comment id 129629

    7.gif55.gif24.gif26.gif50.gif

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน