เพลง
สุชาดา โมรา
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ดนตรี เพลง และการขับร้องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในหมู่มนุษย์ตามธรรมชาติในเมื่อมนุษย์ต้องการแสดงออกถึงความร่าเริงยินดีหรือแสดงความในใจอื่นๆ และด้วยเหตุที่มนุษย์มีแนวคิด ในการดัดแปลงและประดิษฐ์คิดค้นจึงทำให้ดนตรี เพลง มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป แม้ใน ชนชาติเดียวกันก็ยังสามารถแยกประเภทของดนตรี เพลงได้ เป็นกลุ่มย่อย ๆ อีกตามสภาพสังคมเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต ขนบธรรมเนียมของแต่ละกลุ่ม
ภาษาถิ่น เป็นภาษาที่ผู้ใช้พูดติดต่อสื่อสาร ตามท้องถิ่นต่าง ๆ สื่อความหมายเข้าใจกัน ในท้องถิ่นนั้น ๆ กาญจนา คูวัฒนะศิริ (2528) กล่าวว่า
ภาษาถิ่น (dialect) หมายถึง ภาษาที่ใช้พูดแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นต่าง ๆ ที่ผู้พูดภาษานั้น ๆ อาศัยอยู่ หรือ ภาษาที่พูดในหมู่ชนชั้นหนึ่งโดยเฉพาะ นอกจากนั้นยังหมายถึงภาษาที่ใช้พูดกันในวงการอาชีพหนึ่ง ๆ ก็ได้
เพลงลูกทุ่งใช้คำเฉพาะถิ่นเพื่อให้ได้อารมณ์เพลงยิ่งขึ้นและแม้ผุ้ไม่เข้าใจภาษาถิ่นนั้น ก็อาจเดาความหมายจากข้อความที่แวดล้อมได้เป็นที่น่าสังเกตว่าภาษาถิ่นในเพลงลูกทุ่ง มักเป็นภาษาอีสาน
วิไลลักษณ์ กิ่งคำ (2544) ได้กล่าวถึงภาษาถิ่นอีสานไว้ว่า
ภาษาถิ่นอีสาน คือ ภาษาที่ใช้พูดกันในจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย เช่น ชัยภูมิ อุบลราชธานี อุดรธานี ร้อยเอ็ด เป็นต้น
เมื่อกล่าวถึงเพลงลูกทุ่งที่ใช้ภาษถิ่นอีสาน ก็จะต้องพูดถึงนักร้องลูกทุ่งสาวคนหนึ่ง ที่ชื่อ ศิริพร อำไพพงษ์
เนื่องจากเพลงลูกทุ่งนำเอาทำนองเพลงพื้นบ้านถิ่นต่าง ๆ มาใส่ไว้ ดังนั้นเพื่อความสมจริงในเนื้อร้องและอารมณ์เพลงจึงต้องนำคำและสำเนียงมาใส่ไว้ด้วย ซึ่งผู้ฟังฟังแล้วก็สามารถจะรู้ทันที ว่าเป็นเพลงถิ่นไหน
เพลงลูกทุ่งใช้คำเฉพาะถิ่นเพื่อให้ได้อารมณ์เพลงยิ่งขึ้นและแม้ผู้ไม่เข้าใจภาษาถิ่นั้นก็อาจเดาความหมายจากข้อความที่แวดล้อมได้ เป็นที่น่าสังเกตว่าภาษาถิ่นในเพลงลุกทุ่งมักเป็นภาษาถิ่นอีสาน
วิไลลักษณ์ กิ่งคำ (2544) ได้กล่าวถึงภาษาถิ่นอีสานไว้ว่า
ภาษาถิ่นอีสาน คือ ภาษาที่ใช้พูดกันในจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เช่น ชัยภูมิ อุบลราชธานี อุดรธานี ร้อยเอ็ด เป็นต้น
เมื่อกล่าว เพลงลูกทุ่งที่ใช้ภาษถิ่นอีสาน ก็จะต้องพูดถึงนักร้องลูกทุ่งหมดลำสาวชาวอีสานคนหนึ่งที่ชื่อ ศิริพร อำไพพงษ์ ที่ครองความเป็นขวัญใจชาวอีสานและมีผลงานเพลงออกมาอย่างสม่ำเสมอ
เมื่อกล่าวถึงเพลงลูกทุ่งที่ร้องเพลงเกี่ยวกับภาษาถิ่นอีสาน ก็จะต้องพูดถึงนักร้องลูกทุ่งหมอลำชาวอีสาน คนหนึ่งที่ได้รับฉายาแหบมาหาเสน่ห์ นั้นก็คือ ศิริพร อำไพพงษ์ ที่ครองความเป็นขวัญใจชาวอีสานและมีผลงานเพลงออกมาอย่าสม่ำเสมอ
บทเพลงของศิริพร มีภาษาอีสานที่ปรากฏในเนื้อเพลงอยู่จำนวนมาก ซึ่งเนื้อเพลงก็มักจะกล่าวถึงความรักของหนุ่มสาวในแง่ของความสมหวัง ผิดหวัง การเป็นกำลังใจให้กันและกันความเป็นคนไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคและกล่าวถึงชีวิตในชนบท
คำถามวิจัย
- ภาษาถิ่นอีสานที่ปรากฏในงานเพลงของศิริพร อำไพพงษ์ เป็นอย่างไร
วัตถุประสงค์ของานวิจัย
- เพื่อศึกษาภาษาถิ่นอีสานที่ปรากฏในงานเพลงของศิริพร อำไพพงษ์ เป็นอย่างไร
ขอบเขตการวิจัย
ข้อมูลที่นำมาศึกษาได้แก่ เนื้อเพลงของศิริพร อำไพพงษ์ ที่มีภาษาถิ่นอีสานปรากฏ อยู่จำนวน 30 เพลง ได้แก่
1. เพื่อแม่แพ้บ่ได้
2. สาละวันสงสารใจ
3. ความจนวัดใจ
4. สาวอีเลคโทน
5. เพื่อแท้คือน้ำตา
6. ส่งอ้ายด้วยฝ้ายขาว
7. กุญแจล็อกใจ
8. เดือนหงายเสียดายรัก
9. รักเกิดบนรถผ้าป่า
10. เบอร์โทรขี้ตั๊ว
11. แพ้ใจคนดี
12. ศิลปินดอกหญ้า
13. ตอบแม่บ่ได้
14. อาถรรพ์เพื่อเจ้าสาว
15. สาวนาสัญญาแม่
16. น้องรับบ่อได้
17. ผู้บ่าวลืมบ้าน
18. ดอกจานถามใจ
19. แม่พิมพ์บ้านไพร
20. ติดต่อให้ด้วย
21. อกหัดเพราะฮักอ้าย
22. ก่องข้าวน้อยคอยอ้าย
23. อยากอยู่เงียบ ๆ สองคน
24. ศิลปินเพลงเดียว
25. ห้ามใจช่วยกัน
26. เพียงเราฮักกัน
27. ตัวหวายอายผู้บ่าว
28. เปิดใจเจ้าสาว
29. ดูงานวันแต่ง
30. หนาวใจในงานทุ่ง
นิยามคำศัพท์
ภาษาถิ่น หมายถึง ภาษาที่ใช้พูดติดต่อสื่อสารตามท้องถิ่นต่าง ๆ สื่อความหมายเข้าใจกันในท้องถิ่นนั้นๆซึ่งแต่ละถิ่นอาจพูดแตกต่างกันไปจากภาษาไทยมาตรฐาน ทั้งในด้านเสียง คำและการเรียงคำบ้าง แต่ความหมายคงเดิม
ภาษาถิ่นอีสาน หมายถึง ภาษาที่ใช้พูดกันในจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย
ประโยชน์
ทำให้ทราบถึงภาษาอีสานที่ปรากฏในผลงานเพลงของศิริพร อำไพพงษ์
วิธีการดำเนินการวิจัย
1. รวบรวมเนื้อเพลงทั้ง 3 อัลบั้ม ของศิริพร อำไพพงษ์
2. ศึกษาค้นคว้าเอกสารและหนังสืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3. ศึกษาเนื้อเพลงแล้วนำมาวิเคราะห์ภาษาอีสานที่ปรากฏในเนื้อเพลง