ในการฟังบรรยายของนักวิชาการหรือผู้มีความรู้ความเชียวชาญแต่ละท่านจะสังเกตได้ว่าทุกคนล้วนมีเอกลักษณ์ที่เฉพาะตัวจะเรียกว่าความสามารถพิเศษก็ว่าได้ ในเอกลักษณ์ ของพระธรรมราชานุวัตรนั้น ในบรรยายทุกครั้งผู้เขียนจะชอบฟังและเก็บรายละเอียดเพราะหลวงพ่อบรรยายน่าฟัง ไม่น่าเบื่อ และยังสอดแทรกประวัติศาสตร์หรือแม้แต่เรื่องเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ที่หลายคนมองข้ามไป หลวงพ่อจะให้ข้อคิดเสมอ ท่านมีความจำเป็นเลิศทีเดียวไม่นั่งอ่านเอกสาร ตามที่ใครหลายๆคนชอบทำ แต่สำหรับพระธรรมราชานุวัตรแล้วท่านสามารถบรรยายเรื่องราวให้เห็นภาพชัดเจนและยังสอดแทรกเรื่องราวของประวัติศาสตร์พร้อมยกตัวอย่างมาประกอบการบรรยาย สร้างบรรยากาศเป็นกันเอง สนุกสนานไม่น่าเบื่อ ซึ่งทำให้ข้าพเจ้าเพลิดเพลินและชอบเก็บเอามาเขียนทุกครั้งไป ในการเขียนงานแต่ละชิ้นสิ่งที่จะสร้างความรู้สึกของผู้ฟังเกิดให้เกิดประทับใจและจดจำเรื่องราวอย่างๆจนอยากจะเขียนได้นั้น ต้องมาจากสิ่งที่เราสนใจและมีความสุขจนอยากจะถ่ายทอดความสุขและบรรยากาศให้อีกหลายๆคนได้รับรู้ย่อมหมายความว่า ผู้ถ่ายทอด มีเทคนิค ใช้จิตวิทยา รวมทั้งทักษะความสามารถเฉพาะตัวที่หมั่นค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเสมอ ก่อนการบรรยายได้มีการมอบของที่เป็นประโยชน์ให้ห้องเรียนมจร.วัดพระแก้ว ซึ่งผู้ประสานงานครั้งนี้คือ พระมหาบุญเหลือเป็นตัวจักรสำคัญในการติดต่อและประสานงาน ในการมอบของอะไรที่ให้และเป็นประโยชน์กับทางห้องเรียนหลวงพ่อท่านกล่าวว่า การได้รับสิ่งของเหล่านี้ล้วนก่อประโยชน์ทั้งทางด้านการศึกษาและศาสนกิจ และ โลกเรานี้เปรียบเหมือนบ้านหลังใหญ่ ทวีปยุโรปเปรียบเหมือนห้องรับแขก เปรียบทวีปอเมริกาเหมือน ห้องทำงานเพราะคนมีความกระตือรือร้น ทวีปแอฟริกา เหมือนโรงครัว มีการพูดถึงเรื่องอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่จะขาดแคลน ผู้คนก็ขะมุกขะมอม เหมือนคนทำครัว ทวีปเอเชียเหมือนห้องพระ ศาสนาทุกศาสนาล้วนเกิดที่นี่ ในการมอบของวันนี้มีนาฬิกามามอบให้ไว้ติดในแต่ละห้องเรียน หลวงพ่อบอกว่า การมอบนาฬิกาเขาถือ ห้ามให้เป็นของขวัญวันเกิดเพราะอีกไม่กี่นาทีก็ตาย แต่มหาลัยไม่มีวันเกิดวันตาย ยินดีรับ เรียกเสียงหัวเราะได้ทั้งห้องประชุมทีเดียว ก่อนจะเข้าการบรรยายเรื่องการปกครองคณะสงฆ์ไทยจากอดีตถึงปัจจุบันซึ่งหลวงพ่อเคยบรรยายในที่ประชุมสงฆ์มาแล้วในการบรรยายครั้งนี้ มีเอกสารประกอบการบรรยายในหัวข้อนี้ให้บุคคลที่สนใจอ่านประกอบตามไปด้วย พระธรรมราชานุวัตร เจ้าคณะภาคหก จังหวัดเชียงราย ให้ข้อคิดไว้ว่า สำหรับพระนิสิตนั้นต้องผ่านทั้งทางโลกและทางธรรมให้แตกฉาน กล่าวคือ ทางพระก็แตกฉาน ทางมารก็รู้จัก จะพิทักษ์พระพุทธศาสนาได้ถ้าเข้าใจทั้งทางโลกและทางธรรม สำหรับการปกครองคณะสงฆ์ คือ พระธรรมและ วินัย หลวงพ่อผู้เข้าฟังบรรยายอ่าน พระพุทธพจน์ที่ว่า .โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม วินโย จเทสิโต ปญฺญตโต โส โว มมจฺเจเยน สตฺถา ดูกร อานนท์ ธรรมและวินัยอันใด แล ที่เราแสดงแล้วแก่ท่านทั้งหลาย โดยการล่วงไปแห่งเรา ธรรมและวินัยนั้นย่อมเป็นศาสดาของท่านทั้งหลาย การปกครองคณะสงฆ์ไทยนั้นแก่นแท้คือ การปกครองตามพระธรรมวินัยคือยึดพระธรรมวินัยเป็นธรรมนูญการปกครอง ในสมัยรัชกาลที่5พระองค์ทรงถวายอำนาจรัฐช่วยคณะสงฆ์จัดระบบการปกครองขึ้นเป็นครั้งแรก ด้วยพระราชบัณญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์รัตนโกสินทร์ศก121(พ.ศ.2345)ต่อมาในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดลได้ทรงตราพระราชบัญญัติสงฆ์พ.ศ.2505 พุทธศักราช2484ยกเลิกฉบับแรก เพื่อจัดระบบการปกครองคณะสงฆ์ใหม่ให้มีรูปแบบคล้ายกับการปกครองราชอาณาจักรต่อมายกเลิกพระราชบัญญัติสงฆ์ฉบับนี้และใช้ฉบับปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505ดังนั้นยุคต้นรัตนโกสินทร์จึงมีการปกครองแบบพุทธจักรและอาณาจักร ในรูปแบบและระเบียบการปกครองคณะสงฆ์อธิบายได้ดังนี้ สกลมหาสังฆปริณายก คือ ตำแหน่งพระประมุขสงฆ์ไทยและสงฆ์อื่น ตำแหน่งพระประมุขสงฆ์ไทยคือสมเด็จพระสังฆราชเป็นประมุขสงฆ์เรียกว่า หัวหน้ามีทั้งสายธรรมยุติและมหานิกาย สงฆ์อื่นคือ จีนนิกาย อนันตนิกาย สมเด็จพระสงฆราช ในตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายกเทียบได้เท่ากับสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตามมาตรา5-6แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484และทรงอยู่ในฐานะปูชนียะและครุฎฐานะอันสูงสุดดุจยอดพระเจดีย์ ผู้ใดหมิ่นประมาทดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายมิได้(ม.44ทวิ) มหาเถรสมาคมคือองค์กรปกครองคณะสงฆ์สูงสุดคณะสงฆ์และสามเณรต้องอยู่ภายใต้การปกครองของมหาเถรสมาคมซึ่งมีสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานกรรมการประกอบด้วย ประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง กรรมการโดยแต่งตั้ง ประธานกรรมการมหาเถรสมาคมเท่ากับตำแหน่งผู้นำสงฆ์ในพ.ร.บ.คณะสงฆ์ปีพ.ศ.2484รวม4ตำแหน่งคิอ ประธานสังฆสภา สังฆนายก ประธานคณะวินัยธรและประธานก.ส.พ. มหาเถรสมาคมมี อธิบดีกรมการศาสนา เป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง กรมศาสนาทำหน้าที่สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม หมายเหตุ ที่ระบุไว้ว่า กรมศาสนาให้เปลี่ยนเป็น สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ระเบียบการปกครองคณะสงฆ์แบ่งออกเป็น2ส่วนคือ ส่วนหลักได้แก่ แบบแผนกำหนดหน่วยงานเขตปกครอง หรือผู้รับมอบงานหรือคณะผู้รับมอบงานและส่วนย่อยไ ด้แก่ แบบแผนกำหนดอำนาจหน้าที่ การควบคุมบังคับบัญชาการประสานงาน ผู้รักษาการแทน และวิธีปฎิบัติอื่นๆ ซึ่งในระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ในที่นี้จะพูดถึงเฉพาะส่วนหลักคือการได้แก่ กิจการที่คณะสงฆ์จะต้องทำหรือถือว่าเป็นธุระหน้าที่เพราะเป็นการคณะสงฆ์และการพระศาสนามี 6 ฝ่ายคือ การเพื่อความเรียบร้อย การศาสนศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแพร่พระพุทธศาสนา การสารณณูปการ การสารณสงเคราะห์ในรูปแบบการปกครองคณะสงฆ์ของพระธรรมราชานุวัตรมีทั้งหมด6 ระดับ11ตำแหน่ง คือ1. วัด(เ1.จ้าอาวาส 2.รองเจ้าอาวาสและ3.ผู้ช่วยเจ้าอาวาส)2.ตำบล(4.เจ้าคณะตำบล5.รองเจ้าคณะตำบล)3.อำ เภอ(6.เจ้าคณะอำเภอ7.รองเจ้าคณะอำเภอ)4.จังหวัด(8.เจ้าคณะจังหวัด 9.รองเจ้าคณะจังหวัด)5.ภาค(10.เจ้าคณะภาค11.รองเจ้าคณะภาค)11.การ(ส่วนภูมิภาค) สำหรับปกต้องมีพรหมวิหารคือ ธรรมประจำใจของผู้ประเสริฐหรือผู้มีจิตใจยิ่งใหญ่กว้างขวางดุจพรมมีสี่ประการคือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา หลักสำหรับครองต้องมีสังควัตถุคือ ธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจคนมีสี่ประการคือ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตา สรุปหลักการปกครองการปกครองคณะสงฆ์และการพระศาสนาพระธรรมราชานุวัตรให้หลักไว้ว่าต้องมีความรักความเมตตาช่วยเหลือผู้อื่นได้พ้นทุกข์ ยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นมีความสุข และมีใจเป็นกลาง เที่ยงตรง ยุติธรรมที่รวมกันเรียกว่า พรหมวิหารสี่และต้องมีสังควัตถุสี่คือทานได้แก่ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ ช่วยเหลือ แบ่งปัน ปิยวาจาได้แก่ การกล่าวคำพูดไพเราะน่าฟัง อัตถจริยา ได้แก่ ทำประโยชน์ให้แก่เขาช่วยแก้ปัญหาและส่งเสริมด้านจริยธรรม สมานัตตา เอาตัวเข้าสมานคือ ทำตัวให้เข้ากับเค้าได้วางตนเสมอต้นเสมอปลายไม่เอาเปรียบร่วมทุกข์ร่วมสุขช่วยกันแก้ปัญหา ในส่วนของการปกครองถือว่าเป็นยาขมหม้อใหญ่ที่ต้องศึกษาให้แตกฉาน ถ้าเราศึกษาเราจะเข้าใจได้ว่าเรื่องใดจะเห็นว่าส่วนมากเกี่ยวโยงกับอดีตแบบทั้งสิ้นเปลี่ยนเพียงกาลเวลา สถานที่ และบุคคลเพราะไม่ว่าเหตุการณ์บ้านเมืองต้องอาศัยพระพุทธศาสนาโอบอุ้มแบ่งปันซึ่งกันและกันเช่น ตำนานสมเด็จพระนเรศวร หรือแม้แต่พระเจ้าตากสินก็ตาม จึงเห็นได้ว่าตำแหน่งไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ขอเพียงตั้งใจสิ่งต่างๆก็จะบรรลุผล งานด้านการปกครองจึงต้องติดตามข่าวเสมอและต้องรู้จักปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม ในส่วนของเกร็ดความรู้ที่สอดแทรกระหว่างการบรรยายผู้เขียนขอนำเสนอแบ่งเป็น2ตอนคือ ส่วนที่1.เกร็ดความรู้ทางประวิติศาสตร์ระหว่างบรรยาย ส่วนที่2.คำคมหรือข้อคิด สาระน่ารู้ระหว่างบรรยาย ( โปรดติดตามตอนตไป) กระต่ายเงาจันทร์
20 กันยายน 2554 23:36 น. - comment id 126513
การปกครองพระ ปัจจุบันใช้แต่วินัยสงฆ์ ผิดแค่จับสึก ไม่มีกฏหมายทางโลกเข้ามาบังคับใช้ จึงทำให้ไม่มีพระองค์ไหนกลัวเกรง การที่ไม่เอากฏหมายทางโลกมาบังคับเท่าที่ทราบเพิ่งเลิกไปในรัชการที่ 6 น่าจะนำกลับมาใช้ใหม่ ใครปราชิก ตืดคุกด้วย ใครโกงเงินวัดติดคุกด้วย ใครสะสมเงินทองมีปัญชีฝากเป็นล้าน ๆ ยึดเข้าหลวง เพราะพระไม่ต้องสะสมสมบัติ ใครจะเป็นพระต้องไม่โลภ ให้เลิกอาชีพพระหรือพระอาชีพที่หารายได้เข้าพกเข้าห่อ ถึงจะปกครองกันได้
24 กันยายน 2554 09:29 น. - comment id 126543
ฤกษ์(ไม่ได้ล๊อกอิน) วิจารณ์ได้น่าคิดมากๆ สนับสนุนครับ
29 กันยายน 2554 15:55 น. - comment id 126635
ขอบคุณที่แวะมาคะ