รอดได้เมื่อภัยมา....

คีตากะ

02231_002.jpgวิธีรอดได้เมื่อภัยมา
(Natural Disaster Servival Guide)
เตรียมพร้อม
ภัยธรรมชาติมักจะมาโดยไม่ทันให้เราตั้งตัว การเตรียมพร้อมรับมือจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เราควรเริ่มดำเนินการทันทีโดยไม่จำเป็นต้องรอให้เห็นสัญญาณอันตรายก่อน อย่าประมาทกับพลังของธรรมชาติ และนี่คือข้อแนะนำการเตรียมความพร้อมเบื้องต้นก่อนภัยมา
เตรียมใจ
สิ่งสำคัญที่สุดที่เราต้องเตรียมเป็นอย่างแรก คือ “เตรียมใจ” ไม่ใช่เป็นการเตรียมตัวตาย แต่เป็นการเตรียมพร้อมสำหรับความไม่ตื่นตระหนกตกใจจนเกินไปเมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
    โดยเฉพาะรู้จัก “การฝึกสติ” ให้เป็นนิสัยประจำตัว จะช่วยในการควบคุมอารมณ์ เพื่อให้การตัดสินใจและแก้ไขปัญหาตรงหน้าได้อย่างละเอียดรอบคอบขึ้น ซึ่งไม่เพียงจะส่งผลแค่ตัวเราเท่านั้น ยังส่งผลถึงคนในครอบครัวและคนอื่นๆ ที่อยู่รอบข้างด้วย
เตรียมสมาชิกในบ้าน
๑ หมั่นติดตามข้อมูลข่าวสารและสนใจฟังประกาศเตือนจากเจ้าหน้าที่รัฐ
๒ เรียนรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะเกิดภัยพิบัติในท้องถิ่นของตนเอง เช่นในกรณีของดินถล่ม เนื่องจากดินถล่มมักจะเกิดซ้ำในที่เดิม โดยขอข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น
๓ รู้จักสภาพพื้นที่รอบๆ บ้าน โดยอาจสังเกตด้วยตนเอง หรือขอข้อมูลจากศูนย์วิจัยหรือสำนักงานในท้องถิ่น
๔ ถ้าชุมชนมีความเตรียมพร้อม ต้องเรียนรู้กฎความปลอดภัยของชุมชน เรียนรู้ป้ายหรือสัญลักษณ์เตือนภัย ตลอดจนเส้นทางที่ใช้ในการอพยพ และที่ตั้งของศูนย์หลบภัยในชุมชน
๕ ซักซ้อมกับคนในครอบครัว ให้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับแผนการอพยพหนีภัย ควรฝึกซ้อมแผนอพยพในชุมชนจนเคยชินและสามารถหลบหนีได้แม้ในเวลากลางคืน หรือเวลาที่อากาศแปรปรวน
๖ ศึกษาวิธีการปฐมพยาบาลขั้นต้น ตลอดจนฝึกใช้เครื่องมือที่จำเป็น เช่น อุปกรณ์ดับเพลิง
๗ ในกรณีที่อาจเกิดเหตุแผ่นดินไหว ให้ฝึกสมาชิกในครอบครัวให้รู้จักการ “หมอบ” “ป้อง” และ “เกาะ” คือหมอบหลบใต้โต๊ะหรือเก้าอี้ที่มั่นคง ใช้แขนปกป้องศีรษะและคอ และเกาะยึดโต๊ะเก้าอี้ให้มั่นคง
๘ ซักซ้อมทำความเข้าใจกับสมาชิกในบ้านให้ทราบตำแหน่งวาล์วปิดน้ำ วาล์วปิดแก๊ส สะพานไฟฟ้า รวมทั้งแนะนำวิธีปิดด้วย
๙ เรียนรู้อุปกรณ์ในบ้านทุกชนิดที่อาจเป็นอันตรายได้เมื่อเกิดน้ำท่วม ปิดวงจรกระแสไฟฟ้าเมื่อเกิดน้ำท่วม เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจร และก่อนอพยพออกจากบ้านให้ปิดแก๊สและน้ำประปาในบ้านด้วย
๑๐ ติดเบอร์โทรศัพท์สำหรับกรณีฉุกเฉินไว้ที่โทรศัพท์ทุกเครื่อง รวมทั้งศึกษาวิธีการติดต่อกับหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือได้ในกรณีเกิดภัยพิบัติ เช่น หน่วยงานกาชาดในท้องถิ่น บันทึกเบอร์โทร.ที่สำคัญไว้ในโทรศัพท์มือถือ เพราะเมื่อเกิดเหตุอาจมีเพียงโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานได้(ดูเบอร์โทร.ฉุกเฉินด้านท้าย)
๑๑ เตรียมเส้นทางหนีภัยอย่างน้อยสองทางที่เชื่อมต่อกับเพื่อนบ้าน เพราะหากพลัดหลงกับสมาชิกในครอบครัวจะได้หลบหนีไปพร้อมกัน
๑๒ หากอยู่ในบริเวณเสี่ยงภัยสึนามิ ให้เตรียมเส้นทางหลบหนี ทั้งจากโรงเรียนหรือที่ทำงาน เลือกที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล ๑๐๐ ฟุต (ประมาณ ๓๐ เมตร) หรือห่างไกลชายทะเล ๒ ไมล์(ประมาณ ๓.๒ กิโลเมตร) และสามารถไปถึงได้ภายใน ๑๕ นาที
๑๓ ตระเตรียมสิ่งของจำเป็นให้พร้อมสำหรับการอพยพได้ตลอดเวลา
๑๔ พูดคุยทำความเข้าใจกับคนในครอบครัวเพื่อให้รู้วิธีปฏิบัติตัวและลดความวิตกกังวล นอกจากจะเตรียมเรื่องสิ่งของจำเป็นแล้วก็ควรเตรียมจิตใจด้วย หากตัดสินใจจะอยู่ต่อในบ้าน การติดอยู่ในบ้านอาจเป็นเรื่องเลวร้ายสำหรับเด็กๆ ได้ ดังนั้นหากมีเวลาพ่อแม่ควรจัดให้มีการฝึกซ้อมคล้ายกับการเข้าค่าย โดยเป็นการใช้ชีวิตที่ปราศจากเครื่องอำนวยความสะดวกเป็นเวลา ๑ วัน เพื่อเตรียมตัวเด็กๆ ให้พร้อมรับมือเมื่อเกิดวิกฤต
เตรียมบ้านเรือน
๑ ตรวจดูสิ่งต่างๆ ภายนอกบ้านได้แก่ ตรงบริเวณชานระเบียงหรือรั้ว หากจับโยกแล้วยังเคลื่อนได้ ให้พยายามยึดส่วนนั้นให้มั่นคงขึ้น หรือไม่ก็ถอดออกไปเลย ตลอดจนซ่อมแซมหลังคาและรางระบายน้ำให้แข็งแรง
๒ ควรเสริมโครงสร้างบ้านให้มั่นคงเพื่อต้านทานแผ่นดินไหว
๓ รถที่ไม่ได้จอดในโรงรถให้จอดบริเวณที่อยู่ใต้ลม เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกพัดพามาโดนตัวบ้านหากเกิดพายุรุนแรง
๔ ยึดอุปกรณ์ที่อยู่นอกบ้าน เช่น โต๊ะเก้าอี้ในส่วน เครื่องเล่นของเด็กๆ ให้มั่นคง ป้องกันพายุพัดพา
๕ หากมีประกาศเรื่องลูกเห็บตกให้คลุมยานพาหนะที่อยู่นอกบ้านด้วยผ้าหนาๆ 
๖ ควรตัดเล็มกิ่งไม้ และตัดกิ่งไม้ตายที่อยู่ใกล้บริเวณบ้านออก
๗ ตรวจดูสายไฟที่เชื่อมต่อเข้ามาในตัวบ้าน หากพบว่าไม่มั่นคงให้รีบซ่อมแซม
๘ ยึดชั้นวางของหรืออุปกรณ์ห้อยแขวนภายในบ้านให้มั่นคง ย้ายของน้ำหนักมากมาวางไว้ในที่ต่ำ
๙ รูปแขวนหรือกระจกควรอยู่ห่างจากเตียงนอนและโซฟา หากมีสิ่งเหล่านั้นแขวนอยู่ใกล้ๆ ให้ปลดลง
๑๐ ตรวจดูว่าอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักมาก หรือท่อน้ำยึดติดกับโครงของผนังบ้านหรือส่วนที่แข็งแรงของบ้านเป็นอย่างดีแล้วและยึดเครื่องเรือนหรือของใช้ชิ้นหนักให้ติดกับพื้นหรือผนังบ้าน
๑๑ เตรียมที่ปลอดภัยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ เพราะศูนย์หลบภัยอาจไม่รับเลี้ยงสัตว์
๑๒ เตรียมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในภาวะฉุกเฉินไว้ในที่ที่ทุกคนในบ้านรู้และหยิบฉวยได้ เช่น ไฟฉาย ยา กระเป๋ายังชีพ เครื่องดับเพลิง เป็นต้น ฯลฯ เตรียมถ่านหรือแบตเตอรี่สำรองไว้สำหรับไฟฉาย มือถือและวิทยุเสมอ
๑๓ เมื่อทราบว่าบ้านอยู่ในเขตที่อาจเกิดดินถล่มได้ ให้ติดต่อบริษัทที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการเคลื่อนของดินเพื่อขอคำปรึกษาในการแก้ไขปรับปรุงบ้านให้พร้อมรับสถานการณ์ อย่าแก้ไขต่อเติมบ้านเองโดยไม่มีความรู้
๑๔ ติดตั้งท่อก๊าซและท่อประปาที่มีความยืดหยุ่นสูง หลีกเลี่ยงการก่อสร้างที่พักอาศัยใกล้จุดที่มีความเสี่ยงจะเกิดสึนามิ
๑๕ หากอาศัยใกล้ชายหาด ควรปลูกสร้างเขื่อน ต้นไม้ หรือวัสดุที่ช่วยลดแรงปะทะของคลื่น
๑๖ หากประเมินแล้วว่าบ้านไม่มั่นคงพอ ใช้หลบภัยไม่ได้ และต้องอพยพไปที่อื่น ให้แจ้งคนรู้จักให้ทราบด้วยว่าเราจะอพยพไปที่ใด
เตรียมสิ่งจำเป็น
ในกรณีที่ไม่จำเป็นต้องอพยพไปไหน ควรเตรียมสิ่งต่างๆ ไว้ในบ้าน ดังนี้
๑ น้ำ (๑ แกลลอนต่อคนต่อวัน) อาหารกระป๋อง อาหารแห้งและที่เปิดกระป๋อง เตรียมไว้ให้พอสำหรับสองสัปดาห์
๒ ยารักษาโรค อุปกรณ์ และคู่มือปฐมพยาบาล
๓ วิทยุใส่ถ่าน ไฟฉายพร้อมถ่านสำรอง ไฟแช็กจำนวนหนึ่ง
๔ เสื้อผ้าสะอาด รองเท้าหุ้มส้น หรือรองเท้ายาง
๕ ถุงนอนและผ้าห่มสำรอง
๖ ไอโอดีนเม็ด และคลอรีนแบบใช้ในบ้านแบบไม่มีกลิ่นสำหรับทำน้ำให้สะอาด
๗ นม อาหารเด็ก ผ้าอ้อมสำเร็จรูป และอุปกรณ์อื่นๆ สำหรับเด็ก
๘ กระดาษชำระหรือผ้าทำความสะอาดแบบใช้แล้วทิ้ง (หรือผ้าเช็ดทำความสะอาดของเด็ก)
๙ ของใช้อนามัยส่วนตัว เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผ้าอนามัย ฯลฯ
๑๐ อุปกรณ์ทำความสะอาด ผงซักฟอก ไม้กวาด ไม้ถูพื้น
๑๑ เติมน้ำมันรถไว้ให้พร้อม เตรียมอุปกรณ์ฉุกเฉินติดรถ เช่น อาหาร พลุสัญญาณ สายต่อพ่วง แผนที่ อุปกรณ์ช่าง ชุดปฐมพยาบาล เครื่องดับเพลิง
๑๒ อุปกรณ์ใช้ครั้งเดียวทิ้ง จำพวกชาม ช้อน ถ้วยกระดาษ พร้อมถุงพลาสติกใส่ขยะ
๑๓ ภาชนะเก็บความเย็น
๑๔ เติมเชื้อเพลิงเต็มถังไว้ใช้ในบ้าน
๑๕ เตาไฟฟ้าปิกนิค ตะเกียงและเชื้อเพลิงสำหรับเติม ไม่ควรใช้เทียนเพราะหากเทียนล้มจะทำให้เกิดอัคคีภัยได้
๑๖ เครื่องดับเพลิงชนิด ABC (เป็นเครื่องดับเพลิงอเนกประสงค์ใช้ดับเพลิงได้ทุกชนิด)
๑๗ อุปกรณ์ช่าง เช่น ค้อน ตะปู เชือก เลื่อย ผ้าใบกันน้ำ ฯลฯ
๑๘ จัดเตรียมกระเป๋ายังชีพไว้ใกล้ตัวกรณีฉุกเฉินที่ต้องอพยพ เช่น น้ำท่วม การปลดปล่อยก๊าซมีเทนหรือก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟส์จากมหาสมุทร
กระเป๋ายังชีพ
ควรประกอบด้วยสิ่งที่จำเป็นดังนี้
๑ อาหารแห้ง น้ำ พร้อมภาชนะใส่ และอุปกรณ์ทำครัวขนาดพกพา
๒ ผ้าห่ม ถุงนอน และเต้นนอน
๓ เสื้อผ้าหนาสัก ๒-๓ ชุด
๔ ไฟฉายพร้อมถ่านสำรอง
๕ รองเท้าหุ้มส้นป้องกันเท้าบาดเจ็บ
๖ ยารักษาโรคและอุปกรณ์ปฐมพยาบาล
๗ ไฟแช็ก ตะเกียง มีดผ่าฟืนหรือมีดอเนกประสงค์
๘ ของใช้ส่วนตัว เช่น ยาสีฟัน แปรงสีฟัน สบู่ กระดาษชำระ ขัน ยากันยุง ฯลฯ
๙ นกหวีด แผนที่ เข็มทิศ หรือพลุสัญญาณ
๑๐ สำเนาเอกสารประจำตัว รูปถ่ายของตัวเองและบุคคลในครอบครัว เก็บไว้ในถุงกันน้ำ
อพยพหรืออยู่ต่อ....
การตัดสินใจว่าจะอพยพหรืออยู่ต่อนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เพราะภัยพิบัติที่เกิดในบ้านเรามีทั้งภัยที่ร้ายแรงจนอาจต้องอพยพไปอยู่ในศูนย์หลบภัยหรือที่หลบภัยที่เหมาะสม และแบบที่ไม่ร้ายแรงซึ่งเราพอจะอยู่ต่อไปในบ้านได้ เช่น น้ำท่วมแบบไม่รุนแรงแต่ก็อาจจะกินเวลานานถึงสัปดาห์ จึงต้องพูดคุยซักซ้อมกับคนในครอบครัวให้ดีไม่ว่าจะตัดสินใจอพยพหรืออยู่ต่อ และต้องคุยแต่เนิ่นๆ เพราะอาจไม่มีเวลามากพอให้คิดหาหนทางเมื่อใกล้จะเกิดเหตุ เมื่อพูดคุยกันอย่างจริงจัง เราจะพบว่ามีปัญหามากมายที่จะต้องแก้ไขเมื่อเกิดเหตุขึ้นจริงๆ ดังนั้นจงตัดสินใจให้เร็ว อย่าชะล่าใจหรือปล่อยให้เหตุการณ์จวนตัว
ข้อควรพิจารณาว่าจะอพยพคนในครอบครัวไปอยู่ในที่ปลอดภัย หรือตัดสินใจอยู่ในบ้านต่อไป ดูได้จากปัจจัยต่อไปนี้
๑ คุณอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุธรรมชาติชนิดใด (พายุ น้ำท่วม ดินถล่ม แผ่นดินไหว ก๊าซรั่ว  เขื่อนแตก สึนามิ ภูเขาไฟระเบิด การปล่อยก๊าซมีเทน ฯลฯ)
๒ โครงสร้างของบ้านสามารถต้านทานความแรงของพายุได้หรือไม่
๓ ส่วนที่เปิดได้ เช่น หน้าต่าง ประตูเลื่อน บานเกล็ดสามารถกันลมฝนได้หรือไม่
๔ มีสมาชิกในครอบครัวคนใดบ้างที่ต้องการการรักษาพยาบาลที่ไม่สามารถจัดการกันเองได้หรือไม่
๕ ในบ้านมีปัจจัยหรือที่หลบภัย เช่น อาหารและน้ำ มากพอจะประทังชีวิตให้อยู่รอดได้จนกว่าภัยธรรมชาตินั้นจะผ่านพ้นไปหรือไม่
หากต้องอพยพ ต้องทราบก่อนว่า
๑ คุณจะไปหลบภัยที่ไหน มีเส้นทางใดบ้างที่จะไปถึงได้ ต้องใช้เวลามากเท่าใด เพราะระหว่างการซักซ้อมกับความจริงมักต่างกันมาก การขับรถ ๑๕ นาที อาจกลายเป็น ๔ ชั่วโมงได้เมื่อเกิดวิกฤติขึ้นจริงเนื่องจากรถติด(เพราะต่างคนก็ต่างรีบไป)
๒ เตรียมอาหารและสิ่งของที่จำเป็นไว้พอสำหรับ ๓ วัน(ยกเว้นภัยพิบัติการปล่อยก๊าซมีเทน)
๓ จะนำสัตว์สัตว์เลี้ยงไปไว้ที่ใด
ข้อปฏิบัติตัวหากจะทำการอพยพ
๑ สนใจฟังประกาศเตือนจากเจ้าหน้าที่รัฐ
๒ ปิดแก๊ส ปิดวาล์วน้ำประปา สับสะพานไฟฟ้า และระวังอย่าให้ตัวเปียกระหว่างปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า
๓ ล็อกบ้าน และอย่าลืมนำอุปกรณ์ยังชีพพร้อมเอกสารและรูปถ่ายไปด้วย
๔ หากคุณออกจากบ้านไปก่อนมีการออกประกาศเตือน ควรแจ้งให้เพื่อนบ้าน หรือเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นทราบด้วยว่าคุณจะไปที่ไหน
๕ เติมน้ำมันให้เต็มถังอยู่เสมอพร้อมสำรองบางส่วนเท่าที่จำเป็น(เพราะเวลาฉุกเฉินอาจไม่มีปั๊มไหนเติมได้) เก็บเงินสดไว้บ้างเผื่อจำเป็นฉุกเฉิน และเก็บบัตรประจำตัวหรือทะเบียนบ้านไว้กับตัวในกรณีขออนุญาตเจ้าหน้าที่รัฐกลับเข้ามาในบ้านอีกครั้งหลังภัยพิบัติสงบลง
หากตัดสินใจจะอยู่ในบ้านต่อไป ต้องพิจารณาก่อนว่า
๑ มีเครื่องป้องกันบริเวณหน้าต่างประตูหรือไม่
๒ ใช้เวลามากเท่าใดในการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันนั้นๆ
๓ มีปัญหาน้ำซึมเข้าบ้านหรือไม่
๔ จะจัดการช่วยเหลือทางการแพทย์ให้สมาชิกในครอบครัวได้อย่างไร
๕ ต้องเก็บอาหารหรือปัจจัยอะไรบ้างไว้ในบ้าน(ดูหัวข้อสิ่งของที่ต้องจัดเตรียมไว้ในบ้าน)
๖ มีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์อื่นใดบ้างหลังพายุสงบ
๗ จะจัดเก็บเอกสารสำคัญไว้ที่ใด
๘ ควรบอกให้ญาติพี่น้องที่อยู่ไกลทราบว่าเราตัดสินใจจะอยู่บ้านต่อไปหรือไม่
๙ เตรียมพร้อมที่จะอยู่ในบ้านโดยไม่มีน้ำไฟหรือสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ ได้ถึง ๒ สัปดาห์หรือไม่
การรับมือ
วิธีปฏิบัติเมื่อต้องเผชิญหน้ากับภัยพิบัติต่างๆ มีดังนี้
พายุ
๑ ติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง
๒ ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด และปิดแก๊ส
๓ อยู่ในบ้าน ปิดหน้าต่าง ย้ายไปอยู่ในที่ปลอดภัยและมั่นคงที่สุดของบ้าน เช่น ห้องน้ำ ห้องใต้ดิน
๔ หากพายุพัดเข้ามาในบ้านได้ ให้หาอุปกรณ์ในบ้านกำบังตัวเช่น โต๊ะ เตียง ฟูกที่นอน ผ้าห่ม ผ้าใบกันน้ำ
๕ เตรียมพร้อมรับพายุรอบสองเมื่อ “ตาพายุ” ผ่านไป
๖ หากขับรถอยู่ขณะเกิดพายุ ให้หาที่ปลอดภัยเพื่อจอดรถและควรห่างไกลจากสายไฟ ต้นไม้ แม่น้ำ
น้ำท่วม
๑ สับวงจรจ่ายไฟฟ้าในบ้านลง
๒ น้ำเป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้าได้ เพราะฉะนั้นให้อยู่ห่างจากสายไฟ อย่าเดินผ่าน หรืออยู่ใกล้สายไฟหรือสัมผัสวงจรไฟฟ้าเมื่อมือเปียก หรือยืนอยู่บนที่เปียกหรือชื้นแฉะ
๓ อาจมีสัตว์ป่าหลุดจากป่า หรือมีสัตว์เลี้ยงที่พลัดจากบ้านในช่วงน้ำท่วม พยายามหลีกเลี่ยงสัตว์เหล่านี้ หรืออย่าพยายามต้อนจับสัตว์เอง หากมีความจำเป็นต้องทำ ให้แจ้งหน่วยงานควบคุมสัตว์ที่อยู่ใกล้ที่สุด
๔ หากถูกสัตว์ใดก็ตามกัด ให้รีบพบแพทย์โดยด่วน และหากถูกงูกัด ต้องระบุให้ได้ว่าเป็นงูชนิดใด เพราะหากเป็นงูพิษจะต้องใช้เซรุ่มต้านพิษงูที่ถูกต้อง
๕ ป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด โดยใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว หรือทายากันยุง
แผ่นดินไหว
๑ หากอยู่ในห้อง ให้หาจุดปลอดภัยภายในห้องเช่น โต๊ะ เก้าอี้ที่มั่นคงซึ่งอยู่ในด้านที่ไม่มีสิ่งของหล่นใส่ได้ เช่น ใกล้เสาหรือคาน และให้อยู่ห่างจากประตู หน้าต่าง ระเบียง ชั้นหนังสือ หรือเครื่องเรือนขนาดใหญ่
๒ หมอบหลบที่พื้นใต้โต๊ะ หรือใต้เก้าอี้ที่แข็งแรง (สำหรับวิธีการอื่นๆ ที่น่ารู้ : ดูสามเหลี่ยมชีวิต)
๓ อยู่ในบ้านหรืออาคารจนกว่าแผ่นดินไหวจะหยุด เพราะอาจเกิดการบาดเจ็บจากสิ่งของหล่นใส่ได้หากวิ่งออกจากจุดเกิดเหตุในทันที
๔ หากอยู่ด้านนอกอาคารให้หมอบลงกับพื้นในที่โล่งกว้าง ห่างจากอาคาร ต้นไม้ และสายไฟฟ้า
๕ หากอยู่ในรถให้ชะลอรถ หาที่ปลอดภัยแล้วจอดรอจนกว่าแผ่นดินไหวจะหยุด ห้ามหยุดใต้สะพาน ทางด่วน หรือเสาไฟฟ้าแรงสูง
๖ อย่าใช้ไฟ หรือสิ่งที่ก่อให้เกิดประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วระหว่างเกิดแผ่นดินไหว ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาด
๗ หากอยู่บริเวณชายหาด ให้อยู่ห่างจากชายฝั่งเพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง และหากได้รับรายงานว่าจะมีคลื่นขนาดใหญ่ซึ่งเกิดจากแผ่นดินไหวซัดเข้าหาฝั่งบริเวณท่าเรือที่มีเรือจอดอยู่ให้นำเรือที่จอดออกทะเลทันที เพราะคลื่นที่อยู่ห่างจากฝั่งจะมีขนาดเล็กกว่าคลื่นที่อยู่ใกล้ฝั่ง
หมายเหตุ : สามเหลี่ยมชีวิต
“สามเหลี่ยมชีวิต” เป็นวิธีป้องกันตัวอีกวิธีหนึ่งเมื่อเกิดแผ่นดินไหวขณะอยู่ในอาคารที่น่าสนใจ ได้รับการทดลองแล้วโดยผู้มีประสบการณ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติแผ่นดินไหวและอาคารถล่มว่าสามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิตได้ หากปฏิบัติตามอย่างมีสติ 
    หลักการของ “สามเหลี่ยนมชีวิต” คือ บริเวณที่ปลอดภัยสำหรับการป้องกันตัวจากสิ่งของหรือชิ้นส่วนอาคารหล่นใส่ ไม่ใช่บริเวณข้างใต้สิ่งกำบัง (โต๊ะ เตียง เก้าอี้ ฯลฯ) เพราะสิ่งกำบังนั่นเองอาจยุบตัวลงทับตัวเราเมื่อถูกน้ำหนักมหาศาลของตัวอาคารถล่มทับ แต่บริเวณที่ปลอดภัย คือ บริเวณรอบๆ สิ่งกำบัง ซึ่งเมื่อสิ่งของหรือซากอาคารถล่มใส่จะเหลือพื้นที่เล็กๆ ลักษณะเป็นสามเหลี่ยมให้เราสามารถแทรกตัวและรอดชีวิตได้
    ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำว่า หากเราอยู่ในอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว แทนที่จะหลบใต้สิ่งกำบัง ให้หมอบลงข้างๆ แทน เช่น ข้างขาโต๊ะ หรือขาเตียง เพราะเมื่ออาคารถล่มลงสิ่งกำบังนั้นจะช่วยค้ำยันชิ้นส่วนอาคารที่หล่นลงมาไม่ให้ทับตัวเราได้
ดินถล่ม
๑ ตื่นตัวพร้อมรับสถานการณ์อยู่เสมอ การตายเพราะดินถล่มมักเกิดขึ้นเวลานอนหลับ
๒ ติดตามข่าวสารจากวิทยุหรือโทรทัศน์เมื่อเกิดฝนตกหนัก
๓ หากอยู่ในพื้นที่ที่สงสัยว่าจะเกิดดินถล่ม ให้รีบอพยพออก แต่จำไว้ว่าหากเดินทางตอนเกิดพายุมักจะมีอันตราย ถ้ายังอยู่ในบ้านให้หลบขึ้นบริเวณชั้นสอง
๔ ตั้งใจฟังเสียงที่เป็นสัญญาณว่ากำลังเกิดดินถล่ม เช่น เสียง ต้นไม้หัก เสียงก้อนหินหล่นกระทบกัน
๕ หากอยู่ใกล้บริเวณที่เป็นช่องทางน้ำไหล หรือลำธารให้ระวังการเปลี่ยนแปลงการไหลของน้ำอย่างฉับพลัน หรือการเปลี่ยนแปลงจากน้ำใสเป็นน้ำโคลนขุ่นข้น
๖ ขับรถด้วยความระมัดระวัง เพราะถนนอาจขาด เต็มไปด้วยโคลนตม หรือก้อนหินที่ถล่มลงมา
๗ ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐ หากตกอยู่ในอันตราย
๘ คอยดูการไหลของน้ำผิวดินที่อยู่ใกล้บริเวณบ้าน
๙ วิธีที่ดีที่สุดคือหลบให้พ้นจากเส้นทางที่ดินถล่ม ไปอยู่ในบริเวณที่ปลอดภัย
๑๐ หากหลบไม่พ้นให้ขดตัวเป็นลูกบอล ท่านี้ช่วยป้องกันร่างกายได้ดีที่สุด
สึนามิ
๑ เมื่อได้รับประกาศเตือนอย่างเป็นทางการให้หลบหนีทันที เพราะเจ้าหน้าที่จะออกประกาศเตือนได้ก็ต่อเมื่อได้รับการยืนยันแล้วว่าจะเกิดสึนามิจริง จึงอาจเหลือเวลาหลบหนีไม่มาก
๒ สังเกตดูความเปลี่ยนแปลงในทะเลอย่างใกล้ชิด หากน้ำทะเลลดระดับมากผิดปกติหลังเกิดแผ่นดินไหว สันนิษฐานได้ว่าอาจเกิดสึนามิตามมา ให้อพยพคนและสัตว์เลี้ยงออกจากบริเวณชายฝั่งไปอยู่ที่สูง
๓ หากเกิดแผ่นดินไหวเมื่อคุณอยู่บริเวณชายหาดพอดี ให้ทำการ “หมอบ” “ป้อง” และ “เกาะ” คือหมอบลงกับพื้น ใช้แขนปกป้องศีรษะและคอ และหาที่เกาะยึดที่มั่นคง เพราะสิ่งสำคัญคือต้องปกป้องตัวเองจากการเกิดแผ่นดินไหวก่อน
๓ เมื่อแผ่นดินไหวสงบ ให้เตือนภัยทุกคนในบริเวณนั้นและหลบหนีขึ้นที่สูงทันที เพราะสึนามิอาจเกิดตามมาในเวลาไม่กี่นาที
๔ หากหากอยู่ที่ท่าเรือให้นำเรือออกจากฝั่งไปกลางทะเล  เพราะคลื่นที่อยู่ห่างจากฝั่งจะมีขนาดเล็กกว่าคลื่นใกล้ชายฝั่ง
๕ รออยู่ในบริเวณที่ปลอดภัยสักระยะหนึ่งก่อน อย่าเพิ่งกลับไปที่ชายฝั่งโดยทันที เพราะอาจมีระลอกคลื่นเกิดซ้ำ
อัคคีภัย
กรณีเกิดไฟป่า
๑ ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่เมื่อได้รับคำเตือนว่าเกิดไฟป่าและติดตามข่าวสารอยู่เสมอ
๒ นำรถเข้าจอดในโรงรถ หันหน้ารถออกในทางที่จัดไว้ให้เป็นเส้นทางหนีไฟ ปิดประตูหน้าต่าง เสียบกุญแจรถไว้ในช่องสตาร์ต
๓ รวมสัตว์เลี้ยงไว้ในบริเวณเดียวกัน และวางแผนอพยพสัตว์เลี้ยงในกรณีที่จำเป็น
เมื่อได้รับคำแนะนำให้อพยพ ต้องดำเนินการโดยทันที ดังนี้
๑ สวมเสื้อผ้าที่ช่วยป้องกันร่างกาย เช่น รองเท้าหุ้มข้อ เสื้อที่อบอุ่น กางเกงขายาว เสื้อแขนยาว และผ้าเช็ดหน้าสำหรับปิดปากจมูก
๒ นำกระเป๋ายังชีพที่เตรียมไว้ไปด้วย
๓ ล็อกบ้าน และบอกเพื่อนบ้านเอาไว้ในกรณีที่คุณจะอพยพออกไป
๔ เดินทางไปตามเส้นทางหนีไฟ คอนระวังดูการเปลี่ยนแปลงของความเร็วในการลุกลามและทิศทางของไฟและควัน
หากพอมีเวลา ให้ทำตามขั้นตอนนี้เพื่อป้องกันบ้านของคุณ
๑ ปิดหน้าต่าง ช่องระบายลม ประตู บานเกล็ด หรือม่านบังหน้าต่าง และม่านประดับ ถอดม่านที่มีน้ำหนักเบาออกไป
๒ เคลื่อนย้ายเครื่องเรือนที่ติดไฟง่ายไปไว้กลางบ้าน ให้ห่างจากหน้าต่างหรือประตูกระจกบานเลื่อน
๓ เปิดไฟทุกห้องเพื่อให้คนภายนอกหาบ้านของคุณพบหากเกิดควันไฟหนาทึบ
๔ ต่อสายยางกับหัวก๊อกนอกบ้าน
๕ วางสายฉีดสปริงเกลอร์บนหลังคาและที่ใกล้กับถังเชื้อเพลิง เปิดน้ำให้หลังคาเปียก
๖ ฉีดน้ำใส่ต้นไม้บริเวณรอบบ้านในระยะสิบห้าฟุตให้ชุ่ม
๗ นำอุปกรณ์ช่วยดับเพลิงมาวางไว้ด้วยกัน
กรณีเกิดเพลิงไหม้บ้านหรืออาคาร
หลังเกิดเหตุภัยพิบัติ เช่น แผ่นดินไหว หรือสึนามิที่ก่อความเสียหายให้ตัวอาคารและบ้านเรือน อาจเกิดอัคคีภัยตามมาได้ เนื่องจากการรั่วไหลของเชื้อเพลิงตามจุดต่างๆ หากเกิดเหตุขึ้นให้ตั้งสติ และปฏิบัติตามขั้นตอนนี้เพื่อความปลอดภัย
๑ สกัดจุดเกิดเหตุ ปิดประตูหน้าต่างห้องที่เกิดเพลิงไหม้ให้สนิทที่สุดเพื่อป้องกันการลุกลามของเพลิง แต่ต้องแน่ใจว่าไม่มีใครติดอยู่ข้างใน แล้วรีบวิ่งหนีออกมา
๒ แจ้งเหตุส่งสัญญาณ เปิดสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ หากไม่มีอุปกรณ์แจ้งเหตุฉุกเฉิน ให้ช่วยกันตะโกนดังๆ หลายๆ ครั้งว่า “ไฟไหม้” จากนั้นรีบโทรศัพท์เรียกหน่วยดับเพลิงทันที
๓ อย่าลนลานหาทางหนี ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ให้มองทางหนีไฟไว้อย่างน้อย ๒ ทาง พร้อมสังเกตอุปกรณ์ช่วยชีวิตและอุปกรณ์หนีไฟไว้ด้วยว่าอยู่ตรงไหนและใช้อย่างไร อย่าใช้ลิฟต์และบันไดเลื่อนขณะเกิดไฟไหม้ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้จะหยุดการทำงานเนื่องจากไม่มีกระแสไฟฟ้า ให้ใช้บันไดหนีไฟเท่านั้น
๔ จะให้ดีต้องตรวจสอบ หากอยู่ในอาคารที่มีเพลิงไหม้ก่อนจะเปิดประตูให้นั่งชันเขาให้มั่นคงหลังประตู ใช้หลังมือแตะที่ลูกปิดประตู ถ้ามีความร้อนสูงแสดงว่ามีเพลิงไหม้อยู่บริเวณใกล้ๆ อย่าเปิดประตูโดยเด็ดขาด แต่หากลูกบิดไม่ร้อน ให้ค่อยๆ บิดออกช้าๆ โดยใช้ไหล่คอยหนุนประตูไว้
๕ คลานหมอบใต้ควัน หากต้องฝ่าควันไฟ ให้ใช้ผ้าหรือผ้าห่มชุบน้ำชุ่มๆ ปิดจมูกไว้ แล้วคลานต่ำๆ และหนีไปยังทางออกฉุกเฉิน เพราะอากาศที่พอหายใจได้จะอยู่ด้านล่างเหนือพื้นห้องไม่เกิน ๑ ฟุต และควรเตรียมหน้ากากหนีไฟฉุกเฉิน หรืออาจใช้ถุงพลาสติกใสขนาดใหญ่ตักอากาศบริสุทธิ์ แล้วคลุมศีรษะหนีฝ่าควันออกมา เพราะการคลานต่ำจะไม่สามารถทำได้จากชั้นบนลงชั้นล่างที่มีควัน
๖ อย่าหวั่นเมื่อติดกับ หากติดอยู่ในวงล้อมของไฟ ให้โทรศัพท์แจ้งหน่วยดับเพลิงว่าท่านอยู่ที่ตำแหน่งใดของเพลิงไหม้แล้วหาทางช่วยเหลือตัวเองโดยปิดประตูให้สนิท หาผ้าหนาๆ ชุบน้ำอุดตามช่องที่ควันเข้าได้ เช่น ใต้ประตูหรือช่องลมต่างๆ ปิดพัดลมและเครื่องปรับอากาศ แล้วเปิดหน้าต่างส่งสัญญาณด้วยการโบกผ้า และตะโกนขอความช่วยเหลือ
๗ ดับไฟไหม้ตัว หากมีไฟลามติดตัวหรือเสื้อผ้า อย่าวิ่ง! เพราะไฟจะลุกลามเร็วขึ้น ให้หยุด ทรุดกาย แล้วกลิ้งกับพื้นเพื่อดับไฟ พร้อมเอามือปิดหน้า
๘ รวมตัว ณ จุดหมาย เมื่อหนีจากที่เกิดเหตุได้แล้ว ให้ไปรวมพลยังจุดนัดพบหรือสถานที่ที่ใกล้จุดเกิดเหตุ เพื่อตรวจสอบจำนวนคนและหาผู้ที่ยังติดค้างอยู่
วิธีการใช้ถังดับเพลิง
“ดึง-ปลด-กด-ส่าย”
๑ ดึง หมายถึง ดึงสลักล็อกออก
๒ ปลด หมายถึง ปลดสายฉีด ชี้ปลายไปที่ฐานไฟ วิธีการจับสายฉีด ใช้มือข้างไม่ถนัดุจับให้หัวแม่มือชี้ระนาบไปทิศทางเดียวกับปลายสาย ปลายหัวแม่มือห่างจากปลายสายประมาณ ๑-๒ ซ.ม. นิ้วทั้งสี่กำสายให้แน่น
๓ กด หมายถึงกดคานเพื่อปล่อยน้ำยาจากถัง วิธีการยกถังและกดคาน ให้ใช้นิ้วชี้ นิ้วนาง นิ้วกลาง นิ้วก้อย เรียงชิดติดกันสอดคานล่าง (ส่วนมือจับตัวล่าง)ใช้ฝ่ามือด้านหัวแม่มือวางระนาบบนคานบน (ส่วนมือจับตัวบน) หัวแม่มือชี้ตรงไปกับคาน ใช้แรงจากต้นหัวแม่มือกดคานทั้งสองเข้าหากัน
๔ ส่าย หมายถึง ส่ายสายฉีดไปมาให้น้ำยาดับเพลิงกระจายทั่วฐานไฟ
เยียวยา
วิธีปฏิบัติหลังเกิดภัยพิบัติแยกตามประเภทของภัยพิบัติ ดังนี้
พายุ
๑ ติดตามข่าวสารต่อไป
๒ อย่าออกไปข้างนอกจนกว่าจะได้รับการยืนยันจากเจ้าหน้าที่พยากรณ์อากาศว่าปลอดภัยแล้ว เพราะอาจมีพายุอีกลูกพัดผ่านมาในเส้นทางเดียวกัน
๓ หากคุณอพยพออกไปแล้ว อย่ากลับเข้าบ้านจนกว่าจะได้รับการยืนยันว่าปลอดภัย และเมื่อจะกลับบ้านให้ใช้เส้นทางที่ได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ และเดินทางอย่างมีสติ
๔ อย่าใช้โทรศัพท์โดยไม่จำเป็น โทร.เบอร์ฉุกเฉินเฉพาะเมื่อได้รับบาดเจ็บร้ายแรงหรือต้องการความช่วยเหลือเท่านั้น
๕ ระวังสายไฟฟ้าที่ขาด ซากต้นไม้ อาคารชำรุด เศษซากปรักหักพัง หลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีน้ำท่วม
๖ อย่าเปิดไฟจนกว่าจะแน่ใจได้ว่าปลอดภัยและอย่าเปิดไฟหากตัวเปียกน้ำ
๗ อย่าออกเดินเพ่นพ่าน หลีกเลี่ยงการใช้ถนนเพื่อหน่วยฉุกเฉินจะได้ใช้เดินทางไปให้ความช่วยเหลือได้สะดวก
๘ ติดต่อบริษัทประกันเพื่อขอคำแนะนำสำหรับความเสียหาย(กรณีทำประกันไว้)
น้ำท่วม
๑ ล้างมือด้วยสบู่และน้ำที่ต้มหรือฆ่าเชื้อเสมอเมื่อจะปรุงอาหาร รับประทานอาหาร และหลังจากเข้าห้องน้ำ หรือหลังจากสัมผัสกับน้ำที่ท่วมและน้ำโสโครก
๒ ช่วยกันทำความสะอาดชุมชนเมื่อเหตุการณ์น้ำท่วมผ่านไป
๓ คอยฟังประกาศเรื่องความปลอดภัยของน้ำประปาแถวบ้าน แหล่งน้ำสาธาณะที่ถูกน้ำท่วมจะต้องมีการทดสอบและฆ่าเชื้อหลังเหตุน้ำท่วม หากตรวจพบอะไรน่าสงสัยให้รีบแจ้งหน่วยงานสาธารณสุขในท้องถิ่น
๔ น้ำดื่มที่ปลอดภัย คือน้ำบรรจุขวด น้ำต้มหรือผ่านกระบวนการแล้ว ซึ่งหน่วยงานด้านสาธารณสุขในท้องถิ่นสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีทำความสะอาดน้ำแก่คุณได้
แผ่นดินไหว
๑ ตรวจดูตัวเองและคนข้างเคียงว่าบาดเจ็บหรือไม่ และทำการปฐมพยาบาล
๒ หลังแผ่นดินไหวสงบให้ออกจากอาคารทันที เพราะอาจเกิดแผ่นดินไหวซ้ำได้
๓ เมื่อจะออกจากอาคาร ให้ตั้งสติ อย่าแตกตื่น และอย่าไปออกันที่ทางออก
๔ หากออกจากอาคารไม่ได้ ให้หลบอยู่ใต้โต๊ะ หรืออยู่ชิดกับโครงสร้างอาคารที่แข็งแรง เช่น เสา
๕ ตรวจดูว่ามีแก็สรั่วไหลหรือไม่ด้วยการดมกลิ่นเท่านั้น และปิดวาล์วน้ำ วาล์วแก๊ส และสะพานไฟฟ้า
๖ คอยติดตามข่าวการเกิดภัยพิบัติอย่างใกล้ชิด เตรียมพร้อมสำหรับการอพยพออกนอกพื้นที่ประสบเหตุ
๗ ใช้โทรศัพท์เท่าที่จำเป็นและโทร.เข้าเบอร์ฉุกเฉินเฉพาะเมื่อต้องการความช่วยเหลือเท่านั้น
๘ สวมรองเท้าหุ้มส้นที่มีพื้นรองเท้าหนาเพื่อป้องกันเศษกระจกบาด และสวมเสื้อผ้าหนาๆ 
ดินถล่ม
๑ อยู่ให้ห่างจากบริเวณที่เกิดเหตุดินถล่ม เพราะอาจเกิดเหตุซ้ำได้
๒ ตรวจดูว่ามีใครติดอยู่ในบริเวณดินถล่มหรือไม่ แล้วแจ้งให้ผู้ช่วยเหลือทราบ โดยไม่พยายามเข้าไปในพื้นที่ด้วยตัวเอง
๓ ติดตามฟังข่าวสารอย่างต่อเนื่อง
๔ ให้ระมัดระวังว่าจะเกิดน้ำท่วมซ้ำ เพราะน้ำท่วมมักมาพร้อมกับดินถล่ม
๕ ตรวจตราดูว่ามีสาธารณูปโภคจุดใดบ้างที่เกิดความเสียหาย แล้วแจ้งให้เจ้าหน้าที่มาซ่อมแซม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายตามมา เช่น ความเสียหายที่มีต่อเสาไฟฟ้า ท่อประปา ฯลฯ
๖ รีบทำการปลูกพืชคลุมหน้าดินหลังเกิดเหตุ เนื่องจากหน้าดินที่ไม่มีสิ่งปกคลุมอาจก่อให้เกิดอันตรายเมื่อมีเหตุน้ำท่วมฉับพลันได้
สึนามิ
๑ ติดตามข่าวสารภัยพิบัติอย่างต่อเนื่อง
๒ ทำการปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บ ให้ความช่วยเหลือเด็ก คนชรา และผู้ที่ติดอยู่ตามสถานที่ต่างๆ 
๓ โทร.เบอร์ฉุกเฉินเมื่อจำเป็นถึงแก่ชีวิตเท่านั้น เพื่อให้สายฉุกเฉินว่างสำหรับเปิดรับสายที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน
๔ หลีกเลี่ยงสายไฟที่ขาด รวมทั้งตึกและสะพาน เพราะสิ่งก่อสร้างที่ไม่มั่นคงจะเป็นอันตรายได้ในกรณีเกิดอาฟเตอร์ช็อก
๕ อยู่ห่างจากอาคารที่มีน้ำท่วมอยู่รอบๆ เพราะคลื่นสึนามิอาจทำลายโครงสร้างพื้นฐานของอาคารทำให้พื้นแตก หรือกำแพงภายในอาจเกิดการถล่มได้
๖ จะกลับบ้านได้ก็ต่อเมื่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องแจ้งว่าปลอดภัยแล้ว เพราะการเดินทางเข้าออกบริเวณที่มีความเสียหายนอกจากจะเป็นอันตรายต่อตัวเองแล้ว ยังอาจไปขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ที่กำลังให้ความช่วยเหลืออยู่ก็ได้
๗ เมื่อกลับเข้าบ้านให้สวมรองเท้าหุ้มข้อเพื่อป้องกันเท้าบาดเจ็บ ใช้ไฟฉายตรวจสอบความเสียหายแทนเทียนหรือตะเกียงที่อาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ หากมีแก๊สรั่ว
๘ ตรวจดูกำแพง พื้น ประตู หน้าต่าง บันได และเพดานว่ามีแนวโน้มจะพังทลายลงมาหรือไม่
๙ ตรวจดูฐานรากของบ้านว่าได้รับความเสียหายหรือไม่ เพื่อประเมินว่าปลอดภัยพอจะกลับเข้ามาอยู่อาศัยได้
๑๐ ตรวจดูว่าเกิดความเสียหายกับระบบน้ำ ไฟ แก๊สในบ้านหรือไม่ หากมีให้รีบปิดวาล์วน้ำ วาล์วถังแก๊ส หรือสับสะพานไฟ หากต้องการใช้น้ำในบ้านต้องให้แน่ใจว่าระบบท่อน้ำไม่ได้เสียหายหรือปนเปื้อน ทางที่ดีควรใช้น้ำที่ต้มแล้ว
๑๑ ระวังสัตว์ป่า หรือสัตว์เลื้อยคลานที่มากับน้ำ ซึ่งอาจซ่อนตัวอยู่ตามเศษซากสิ่งของในบ้าน
๑๒ ทำความสะอาดบ้านและเปิดประตูหน้าต่างเพื่อให้บ้านแห้งเร็วขึ้น
๑๓ ทิ้งอาหารที่สัมผัสกับน้ำไป เพราะอาจมีการบนเปื้อน
การเตรียมพร้อมรับมือกับการปล่อยก๊าซมีเทนและไฮโดรเจนซัลไฟด์
    ภาวะโลกร้อนที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ กำลังส่งสัญญาณบางอย่าง ให้มวลมนุษย์เตรียมพร้อมรับกับจุดวิกฤตขั้นร้ายแรงที่คาดว่าจะเกิดขึ้น แม้นักวิทยาศาสตร์ไม่อาจระบุวันเวลาได้ชัดเจนมากนักของภัยพิบัติในครั้งนี้ แต่เราในฐานะมนุษย์ไม่ควรประมาทและต้องมีการเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ใดๆ ที่อาจเกิดขึ้น ภาวะโลกร้อนอาจก่อให้เกิดน้ำท่วม ภัยแล้ง พายุ ดินถล่ม คลื่นความร้อน ไฟป่า หิมะตกหนัก สภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนไปแบบสุดขั้วจนถึงจุดวิกฤตที่เรียกกันว่าสถานการณ์ “วันโลกาวินาศ” นั่นคือการปลดปล่อยก๊าซมีเทนและไฮโดเจนซัลไฟด์จากท้องมหาสมุทรปริมาณมหาศาล จากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า “การสูญพันธุ์” ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิตในโลก ๕ ครั้งทีผ่านมาส่วนใหญ่มาจากการปล่อยก๊าซมีเทนและไฮโรเจนซัลไฟด์ที่สะสมอยู่ตามธรรมชาติอย่างฉับพลัน โดยแหล่งกักเก็บขนาดใหญ่ของมันคือมหาสมุทรนั่นเอง
    ภาวะโลกร้อนที่เตลิดจนไม่สามารถควบคุมได้นี้ไม่เคยเกิดขึ้นในช่วงของเผ่าพันธุ์มนุษย์ แต่มีหลักฐานว่ามันเป็นสาเหตุของการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์เมื่อครั้งบรรพกาล ปัจจุบันยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในวงกว้างของจุดวิกฤตินี้ นักพยากรณ์หลายสำนักคาดการณ์ว่ามันอาจจะเกิดขึ้นในตอนสิ้นปี ค.ศ. ๒๐๑๒ หรือต้นปี ๒๐๑๓ ที่จะถึง นั่นหมายความว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มสูงขึ้น ๕-๖ องศาเซลเซียสภายในระยะเวลาดังกล่าว ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดที่คาดการณ์ไว้ในแบบจำลองของ IPCC ด้วย ดังนั้นเราควรเตรียมพร้อมรับมือล่วงหน้าดังนี้
๑ เตรียมจิตใจด้วยการฝึกสติ
๒ เตรียมร่างกายด้วยการฝึกฝนการเป็นมนุษย์กินอากาศหรืออยู่ด้วยพลังปราณ เพราะเมื่อเกิดการปลดปล่อยก๊าซมีเทนและก๊าซไฮโดรเจซัลไฟส์อย่างฉับพลัน(ก๊าซพิษที่รุนแรงพอๆ กับไซยาไนด์กลิ่นคล้ายไข่เน่า ไม่สามารถสัมผัสและหากสูดดมเข้าไปอาจถึงขั้นเสียชีวิต)จากมหาสมุทรสู่ชั้นบรรยกาศ มันจะทำลายสิ่งมีชีวิตทั้งหมดทั้งบนบกและในทะเล ส่วนสิ่งมีชีวิตที่รอดมาก็จะเกิดการผ่าเหล่าทางดีเอ็นเอจากการที่มันไปทำลายชั้นโอโซนจนรังสีอัลตราไวโอเล็ตผ่านมาได้มากกว่าปกติ พืชเกือบทั้งหมดจะสูญพันธุ์จากอุณหภูมิที่สูงสุดขั้ว ทำให้มนุษย์หรือสัตว์ที่รอดมาได้จะขาดแคลนอาหารและน้ำดื่มที่สะอาดในการบริโภค ขณะที่การเพาะปลูกก็ไม่สามารถทำได้(บนพื้นดินอาศัยอยู่ไม่ได้) กอปรกับก๊าซมีเทนที่เข้มข้นมากจะเข้ามาแทนที่ออกซิเจนที่มนุษย์และสัตว์ใช้ในการหายใจทำให้เกิดภาวะ ”ขาดออกซิเจน” อากาศเป็นพิษเนื่องจากก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์และขาดออกซิเจนจากก๊าซมีเทนปริมาณมหาศาลที่เข้ามาแทนที่ ทำให้อากาศบนโลก ณ เวลานั้นเป็นอันตรายอย่างมากไม่สามารถใช้ในการหายใจหรือดำรงชีพได้สำหรับมนุษย์อีกต่อไป
๓ เตรียมสถานที่หลบภัย เนื่องจากอากาศเป็นพิษที่ลอยอยู่เหนือพื้นดินประมาณ ๑ ฟุต สถานที่ปลอดภัยที่สุดจึงเป็นบริเวณใต้ดิน ควรทำการขุดหลุมหรือสร้างที่หลบภัยโดยเริ่มจากระดับความลึกตั้งแต่ ๓-๖ เมตรจากพื้นผิวดินลงไปสร้างเป็นห้องสำหรับอยู่อาศัยชั่วคราว มีรูระบายอากาศเล็กๆ และเครื่องกรองอากาศ รวมทั้งสามารถป้องกันอากาศที่เป็นพิษจากด้านบนมิให้ซึมเข้ามาได้ สิ่งที่พึงสังวรณ์อีกข้อคือเมื่อภาวะโลกร้อนถึงขั้นวิกฤตอาจทำให้โลกสูญเสียธารน้ำแข็งทั้งขั้วโลกเหนือและใต้ไปเหมือนเมื่อครั้งในอดีต คำนวณได้ว่าระดับน้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้นเกือบ ๑๐๐ เมตร ดังนั้นจุดที่จะขุดสร้างที่หลบภัยต้องอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล ๑๐๐ เมตรขึ้นไป(สามารถตรวจสอบได้จากแผนที่ทางภูมิศาสตร์) หรือควรห่างจากชายฝั่งทะเลไม่ต่ำกว่า ๒๐๐ ไมล์ (๓๒๐ กิโลเมตร) นอกจากนั้นอาจใช้ถ้ำตามธรรมชาติที่มีทำเลเหมาะสมตรงตามเงื่อนไขข้างต้นได้เช่นกัน พร้อมกับจัดเตรียมสิ่งที่จำเป็นในการยังชีพทุกอย่างสำหรับเวลาประมาณ ๑๐-๑๒ ปี (จะต้องทำการสำรวจล่วงหน้า)
๔ เตรียมถุงยังชีพให้พร้อมอยู่ตลอดเวลาตามข้อมูลเบื้องต้นที่กล่าวไปแล้วโดยคุณจะต้องใช้เวลาอยู่ในที่หลบภัยยาวนานประมาณ ๑๐-๑๒ ปี เท่ากับช่วงวงจรชีวิตของก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศ เนื่องจากก๊าซมีเทนจะถูกออกซิไดซ์กลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำภายในระยะเวลานี้ คุณจึงสามารถออกมาจากสถานที่หลบภัยได้และใช้ชีวิตได้ตามปกติ
๕ ติดตามข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับภาวะโลกร้อนอย่างใกล้ชิด เนื่องจากก๊าซมีเทนและไฮโดเจนซัลไฟด์สะสมอยู่ในทะเลเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นควรติดตามข้อมูลทางทะเลเป็นหลัก เช่น ภาวะความเป็นกรดของน้ำทะเล การฟอกขาวของปะการัง การตายของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากทางทะเล การระเบิดของก๊าซมีเทน อุณหภูมิของน้ำทะเล หรือประกาศจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๖  กรณีสถานที่หลบภัยอยู่ไกลจากบ้านต้องมีการเดินทางควรศึกษาเส้นทางหลายๆ สายเพื่อไปถึงจุดนั้นได้ทันท่วงที ควรเลือกเส้นทางที่ไม่ใช่ทางสายหลักเพื่อเวลาฉุกเฉินจะไม่ต้องเสียเวลาเพราะรถติดจนไม่สามารถหนีภัยพิบัติได้ทัน
๗ ควรเตรียมหน้ากากป้องกันมลพิษทางอากาศ เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ถุงมือ รองเท้าหุ้มส้น เพื่อไม่ให้ร่างกายสัมผัสกับก๊าซพิษในเวลาฉุกเฉิน
๘ ถ้าเป็นไปได้ควรซื้ออุปกรณ์วัดการรั่วของก๊าซมีเทนและศึกษาข้อมูลอันตรายและการป้องกันก๊าซมีเทนและก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์เพิ่มเติม รวมทั้งการอาศัยอยู่ภายในใต้ดินอย่างปลอดภัยในภาวะที่อากาศเป็นพิษ
๙ สำหรับจุดวิกฤตของการเริ่มต้นภัยพิบัติจากภาวะโลกร้อน ท่านอนุตราจารย์ชิงไห่ได้เผยแพร่เอาไว้หน้าแรก ด้านขวามือบน ซึ่งหมายถึงเวลานับถอยหลัง(Count down) ให้กับผู้ที่มีความศรัทธาใช้ในการอ้างอิงหรือตัดสินใจที่ www.SupremeMasterTV.com(เวลาที่มีการปลดปล่อยก๊าซจากมหาสมุทรหรือวันโลกาวินาศ)
๑๐ หากคุณไม่สามารถอยู่ได้โดยพลังปราณ คุณต้องสามารถสร้างพลังงานใช้เองได้และเก็บกักตุนอาหารหรือน้ำจำนวนมากหรือใช้การเพาะปลูกภายในใต้ดินได้(เป็นเรื่องยาก)เพื่อใช้เป็นอาหารในการดำรงชีพตลอดนับ ๑๐ ปี คุณอาจต้องเสาะหาแหล่งน้ำใต้ดินและประยุกต์การเพาะปลูกโดยไม่มีการสังเคราะห์แสง ยกเว้นคุณสามารถสร้างดวงอาทิตย์หรือแหล่งพลังงานเทียมขึ้นมาได้ หรือคุณสามารถแยกออกซิเจนจากแหล่งน้ำใต้ดินเพื่อใช้ในการหายใจ ฯลฯ
Emergency Line
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ                 1860,0-2589-2497 ต่อ 24
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพ    199, 0-2354-6858
ตำรวจนครบาล/แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย          191, 0-2246-1338-42
ศูนย์ดับเพลิงศรีอยุธยา                    199
กองบังคับการตำรวจทางหลวง                1193
ศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว                 1155
เหตุฉุกเฉิน อาชญากรรม กองปราบปราม      1195
ศูนย์ส่งกลับและรถพยาบาลโรงพยาบาลตำรวจ    1691, 0-2255-1133-6
ศูนย์แจ้งอุบัติภัย กองทัพเรือ                 1696
แจ้งเหตุทางน้ำ กองบัญชาการตำรวจ           1196
แจ้งเหตุด่วนทางน้ำ ศูนย์ปลอดภัยทางน้ำ            1199
แจ้งเหตุฉุกเฉิน อุบัติภัยสารเคมี กรมควบคุมมลพิษ    1650
ศูนย์ประสานงานฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง               0-2226-4444
สายด่วนแจ้งเหตุสาธารณภัย (ปภ.)                 1784
ศูนย์ร้องทุกข์กรุงเทพมหานคร                    1555
หน่วยกู้ภัย
ศูนย์นเรนทร กระทรวงสาธารณสุข              1669
หน่วยแพทย์กู้ชีวิต วชิรพยาบาล                1554
ศูนย์กู้ภัยโยธิน                        0-2901-6232 กด 0
มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง                        0-2226-4444
มูลนิธิร่วมกตัญญู                       0-2751-0951-3
ศูนย์หัวเฉียวพิทักษ์ชีพโรงพยาบาลหัวเฉียว        0-2223-1774
ศูนย์กู้ชีพนเรนทร โรงพยาบาลราชวิถี            0-2248-2222
ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม                        1356
ศูนย์ค้นหาและช่วยชีวิตกองทัพอากาศ            0-2534-4267, 0-2534-1911
แจ้งเหตุรายการวิทยุ
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน                
FM 92.50 MHz                        1677
สถานีวิทยุ สวพ.91                      1644
สถานีวิทยุ จส.100                      1137
สอบถามข้อมูล
ลมฟ้าอากาศ
สำนักพยากรณ์อากาศ                         0-2399-4012-3,
กรมอุตุนิยมวิทยา กทม. (ตลอด 24 ชั่วโมง)        0-2398-9830
ศูนย์บริการข่าวอากาศ
กรมอุตุนิยมวิทยา                       1182, 0-2399-4566
ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ
อ.เมือง จ.เชียงใหม่                     0-5327-7919
ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อ.เมือง จ.อุบลราชธานี                    0-4524-4189, 0-4524-4108
ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก
อ.เมือง จ.สงขลา                        0-7431-1760, 0-7431-4715
ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันตก
สนามบิน จ.ภูเก็ต                       0-7632-7191
สถานีวิทยุแห่งประเทศไทย                AM 891 kHz,
                            AM 819 kHz , FM 92.5 MHz
                            และ FM 93.5 MHz
แผ่นดินไหวและสึนามิ
สำนักแผ่นดินไหว                    0-2399-4547, 0-2399-0965
กรมอุตุนิยมวิทยา กทม.                    www.tmd.go.th
เว็บไซต์        
ดิน-โคลนถล่ม                        0-2202-3610, 0-2202-3611
ศูนย์ธรณีพิบัติภัย                www.dmr.go.th/geohazard/landslide/
				
comments powered by Disqus
  • แจ้นเอง

    11 กุมภาพันธ์ 2554 09:29 น. - comment id 122339

    36.gif
    
    ขอบคุณที่แบ่งปันค่ะ
    
    31.gif
  • ทางแสงดาว

    11 กุมภาพันธ์ 2554 10:46 น. - comment id 122343

    .....รับทราบ

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน