๖. หรือบางทีอาจจะกำหนดพุทโธก็ได้ หายใจเข้ากำหนดว่า พุท หายใจออกกำหนดว่า โธ อย่างนี้ก็ได้ ไม่ขัดแย้งกันเลย เพราะการนับอย่างนี้เป็นเพียงอุบายที่จะทำให้จิตหยุดคิดปรุงแต่งเท่านั้น ๗. แต่ในการฝึกแรกๆนั้น ท่านจะยังนับหรือกำหนดไม่ได้อย่างสม่ำเสมอ หรืออย่างตลอดรอดฝั่ง เพราะมันมักจะมีความคิดต่างๆแทรกเข้ามาในจิต ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ช่างมัน ให้เข้าใจว่า ฝึกแรกๆมันก็เป็นอย่างนี้เอง แต่ให้ท่านตั้งนาฬิกาเอาไว้ตามเวลาที่พอใจว่าจะทำสมาธินานเท่าไหร่ เริ่มแรกอาจจะทำสัก ๑๕ นาที อย่างนี้ก็ได้ และให้เฝ้านับหรือกำหนดอยู่จนครบเวลาที่ตั้งไว้ จิตมันจะมีความคิดมากหรือน้อย ก็ช่างมัน ให้พยายามกำหนดนับตามวิธีการที่กล่าวมาแล้วจนครบเวลา ไม่นานนัก จิตมันก็จะหยุดคิดและสงบได้เองของมัน ๘. การฝึกสมาธินี้ให้พยายามทำทุกวันๆละ๒-๓ครั้ง แรกๆให้ทำครั้งละ๑๕นาที แล้วจึงค่อยเพิ่มมากขึ้นๆ จนถึงครั้งละ๑ชั่วโมง หรือกว่านั้นตามที่ปรารถนา ๙. ครั้นกำหนดจิตด้วยการนับอย่างนั้นจนมีประสบการณ์พอสมควรแล้ว ท่านก็จะรู้สึกว่า จิตนั้นสะอาด สงบเย็น ผ่องใส ไม่หงุดหงิด ไม่หลับไหล ไม่วิตกกังวลกับสิ่งใด นั่นแหละคือสัญญลักษณ์ที่แสดงว่า สมาธิกำลังเกิดขึ้นในจิต ๑๐. เมื่อจิตสงบเย็น ไม่หงุดหงิดเช่นนั้นแล้ว อย่าหยุดนิ่งเฉยเสีย ให้ท่านเริ่มน้อมจิตเพื่อพิจารณาเรื่องราวต่างๆต่อไป ถ้ามีปัญหาชีวิตหรือปัญหาใดๆ ที่กำลังทำให้ท่านเป็นทุกข์กลัดกลุ้มอยู่ ก็จงน้อมจิตเข้าไปคิดนึกพิจารณาปัญหา ด้วยความสุขุมรอบคอบ ด้วยความมีสติ
20 พฤษภาคม 2553 20:38 น. - comment id 117063
สาธุครับ
22 พฤษภาคม 2553 14:04 น. - comment id 117075
ดีจังครับ หายทุกข์ได้ชั่วคราว
31 มกราคม 2554 12:28 น. - comment id 122005
ดีครับผมเองก้อสั่งทำมาแจกเหมือนกันนะครับแจกให้กับเพื่อนๆในที่ทำงานและลูกค้าที่มาที่ร้านให้กับคนที่สนใจที่จะศึกษาหาความรู้ให้กับตนเองเกี่ยวกับการดำรงค์ชีวีตอย่างไรให้มีความสุขความเจริญในเบื้องหน้าเพื่อการหลุดพ้นจากการเวียนตายเวียนเกิด