พระคุณเจ้าช่วยด้วย...........

unicorn

พระคุณเจ้าช่วยด้วย...........
โดย...เพี้ยน  นักเรียนนอก
จาก...เนชั่นสุดสัปดาห์
ปีที่  18  ฉบับบที่  900  วันที่  28  สิงหาคม  2552
เรื่องสนุกสนานเริ่มต้นขึ้นเมื่อข้อความที่ส่งมาในเครื่องโทรศัพท์นั้นกลายเป็นว่า  เจริญพร อาตมาขอเชิญสัมนาวิชาการที่จังหวัดนครสวรรค์...  และนั่นคือที่มาของการเดินทางมาสัมมนาวิชาการกับ  ชายโบราณนักฉีก  ถึงวิทยาลัยสงฆ์ข้างบึงบรเพ็ดเม่อหลายวันที่แล้ว  ภายใต้หัวข  บ  ว  ร  คือ  ขั้นตอนของการพัฒนาชาติไทย
	เกิดมาผมก็เพิ่งเคยได้ยินหลัก  บ  ว  ร  นี่แหละครับ  เอาเป็นว่าขอสรุปง่ายๆว่า  หลัก  บ  ว ร  นั้น  ก็คือ  การพูดถึง บ้าน  วัด  โรงเรียน  ในฐานะสามสถาบันหลักที่จะร่วมพัฒนาชาติ  และถ้าสังคเกตดีๆ  จะพบว่า  หลักดังกล่าวนั้น  วัดเป็นศูนย์กลางของสามสถาบัน
	มาถึงตรงนี้คงจะเดาทางถูกว่า  ท่าทีของงานสัมมนานั้นย่อมออกมาในแนวที่ชวนฝันถึงสังคมอุดมคติ  ราวกับหมู่บ้านในจินตนาการของตำราเรียน  มานะ  มานี  ปิติ  ทำนองนั้นแหละครับ  นั่นคือ  การทวนหาอดีตอันรุ่งเรืองของความสงบสุขของชุมชนในอดีตที่มีวัดเป็นศูนย์กลาง  ที่ให้ที่พึ่งทางจิตใจกับบ้าน  และทำหน้าที่ของการให้การศึกษากับโรงเรียนท่ามกลางวิกฤติของสังคม  ที่มีการยกตัวอย่างอภิมหาอมตะนิรันดร์กาลอย่างปัญหาการมีเซ็กซ์ในหมู่วัยรุ่น  เป็นต้น
	ในฐานะของคนที่ร่ำเรียนและลุ่มหลงกับเมือง  ผมก็เลยอยากจะขอเสริมว่าเรื่องราวของ  บ  ว  ร  นั้น  เป็นเรื่องที่น่าสนใจ  แต่เอาเข้าจริงแล้ว  ในชุมชนที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อนกว่าหมู่บ้าน  อาทิ   ชุมชนเมืองนั้น  บางที  บ้าน  วัด  และโรงเรียน  อาจไม่สามารถทำหน้าที่อย่างเพียงพอในการกำกับดูแลจิตใจของผู้คน  แต่อาจจะต้องมีรัฐบาลท้องถิ่นและสถาบันอื่นๆอีกจำนวนหนึ่ง  
แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าวัดจะไม่สำคัญต่อสังคมอีกต่อไปนะครับ  เพียงแต่ว่าการจะเรียกร้องให้วัดนั้นมีความสำคัญในฐานะศูนย์กลางของสังคมนั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายๆแค่การโหยหาอดีตที่ย้อนไปไม่ได้  หากแต่เกิดจากการตั้งคำถามในระดับลึกซึ้งต่อความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนากับสังคมไทยในหลายๆมิติ
ประการที่หนึ่ง  เราคงต้องถามกันว่า  เราจะจัดความสัมพัน์ธระหว่างเรื่องทางโลกกับเรื่องทางธรรมได้แค่ไหน  ในความหมายที่ว่า  ปัญหาทางโลกที่เกิดขึ้นนั้นจะแก้ด้วยเรื่องทางธรรมได้ทั้งหมดไหม?  นี่คือคำถามที่ค่อนข้างเป็นรากฐานมากกว่าข้ออ้างว่าเราต้องมีธรรมะกำกับจิตใจ  หรือข้อถกเถียงทำนองว่าจิตกำหนดวัตถุ  หรือวัตถุกำหนดจิต
ประการที่สอง  ความสัมพันธ์ระหว่าพุทธศาสนากับสังคมไทยนั้น  เป็นเรื่องที่น่าสนใจ  เพราะว่าเอาเข้าจริง  พุทธศาสนานั้นที่อยู่ได้ด้วยการอ้างอิงกับโลกด้วย  ไม่ใช่แค่ภาพด้านอุดมการณ์ที่มองว่าโลกต้องอิงกับพุทธศาสนา
เรื่องนี้ไม่ใช่แค่พุทธพานิชย์  แต่หมายถึงข้อสงสัยที่ว่าการที่พุทธศาสนาไม่ได้เอาจริงเอาจังกับเรื่องทาโลกมากไปกว่าการพร่ำสอนในแบบเสรี  ในความหมายที่ว่า  ในทางหนึ่งความเจริญของพุทธศาสนาก็ต้องพึ่งพาความเจริญทางวัตถุของทางโลก  (ยุคที่จริญทางวัตถุก็คือยุคที่สร้างวัดมากที่สุดในอดีต  หรือในปัจจุบัน  จำนวนเงินที่บริจาคเข้าศาสนาก็มากที่สุด)  แต่ในอีกทางพุทธศาสนาก็มีหน้าที่พร่าสอนให้คนในโลกรู้จักยับยั้งชั่งใจ  แต่ก็ไม่สามารถที่จะจัดการอะไรกับกับทางโลกได้มากนัก
ดังนั้น  ถ้าเราจะพูดถึงหลักของการมีพุทธศาสนาเข้ามาพัวพันกับโลก  (Engaged  Buddhism)  สิ่งที่สำคัญก็คือ  พุทธศาสนาก็ต้องมีความกล้าหาญ  ต้องปฏิเสธที่จะรับทานจากคนร่ำร่วยที่กิจการไม่บริสุทธิ์  ต้องปฏิเสธรัฐบาลที่ไม่มีความชอบธรรม  รัฐบาลที่ฆ่าคน  ต้องปฏิเสธรัฐบาลที่ไม่มีความบริสุทธิ์  ที่ขัดกับหลักทางศาสนา
เหมือนกับการอภิปรายในวงสัมมนาว่า พระสงฆ์ที่จะทำอารยะขัดขึนกับฆราวาสได้ไหม  เพราะเอาข้าจริงจำนวนคนและจำนวนเงินที่เข้าสู่วัดนั้นมิได้มีน้อย  หรือจะอ้างว่าบ้านจะไม่ต้องการวัดก็ไม่ได้  แต่บ้านนั้นต้องการวัดเพื่อสิ่งที่ไม่ใช่แก่นสารสาระของธรรมเสียมากกว่า  เราจึงพบแต่การบริจาคเงิน  สังฆะทาน  ไหว้พระขอพร  มากกว่าการปฏิบัติธรรม  ในทางหนึ่ง  และก็สภาวะไม่เอาด้วยเมื่อมีการเสนอให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ  เพราะคนกลุ่มหนึ่งกลัวว่าอาจมีการเอาศิลธรรมมาเป็นกฎหมาย (ไม่นับเรื่องของข้อกังวลในเรื่องของเสรีภาพในการนับถือศาสนา)  
เรื่องประการที่สาม  ในทางหลักวิชา  การสร้างอุดมคติเรื่องของ  บ้าน  วัด  โรงเรียน  นั้น  มีลักษณะของการมองว่า  ทั้งสามสถาบันนั้นมีหน้าที่ในการกล่อมเกลาทางสังคม  (Socialization)  แต่คำถามก็คือ  ถ้าเราเอา  หน้าที่  นี้เป็นตัวตัง  เราจำต้องเป็นเอา  สถาบัน  เหล่านี้เท่านั้นมาทำหน้าที่หรือมื?  หรือเราสามารถใช้สถาบันอื่นได้  อาทิ  รัฐสวัสดิการ  สื่อมวลชน  (ประเด็นของชายโบราณชอบฉีกน่าสนใจ  เพราะว่า  ชายโบราณเสนอว่าจะมีสื่อทางศาสนาปรากฏในโทรัศน์ที่อาจผลิตโดยวัด/พระ  แต่ไม่ต้องมีพระปรากฏตัวได้ไหม  และในขณะเดียวกัน  การมีพระปรากฏตัวก็เป็นจุดเด่นเช่นกัน  เพราะใครๆก็สอนศาสนาได้  แต่คนที่สอนได้โดยสามารถปฏิบัติได้ด้วยก็เป็นหลักประกันว่าสิ่งนี้ปฏิบัติได้จริง)
อย่างไรก็ตาม  ในบางทฤษฎีนั้นจะมองว่าการกล่อมเกลาทางสังคมอาจเป็นการครอบงำ  (Socialization  as  domination)  เพื่อเอื้อให้การดำรงอยู่ของสภาวะทางสังคมปัจจุบันดำรงอยู่ต่อไปได้  และไม่ตั้งคำถามกับโครงสร้างอันลึกซึ้งที่ว่าด้วยความไม่เท่าเทียมกันในสังคม
ประเด็นท้าทายจึงอยู่ที่การสร้างสมดุลของการกล่อมเกลาทางสังคม  และ  การครอบงำ  ในความหมายของการสร้างสมดุลเรื่องของเสรีภาพและความยุติธรรมในสังคม  คำถามที่โลกสมัยเก่าไม่ค่อยพูดก็คือ  เสรีภาพมีที่ทางอย่างไร  คำถามใหญ่กว่า  บ้าน  วัด  โรงเรียน  และการพัฒนาชาติไทยนั้น  มันเกี่ยวพันกับประชาธิปไตยอย่างไร
ประการสุดท้าย  เราพบว่าในอดีตนั้นเมื่อพุทธศาสนาปะทะกับความเปลี่ยนแปลง  สิ่งที่พุทธศาสนาทำนั้นไม่ใช่การปะทะกับความเปลี่ยนแปลง  สิ่งที่พุทธศาสนาทำนั้นไม่ใช่การปฏิเสธความเปลี่ยนแปลง  แต่หมายถึงการปฏิรูปพุทธศาสนา  อาทิ  การทำให้พุทธศาสนานั้นกลายเป็นวิทยาศาสนตร์  และหมายถึงการกำหนดอาณาบริเวณของความมีเหตุผลกับความงมงาย  ซึ่งหมายถึงการพยายามสนทนากับโลกที่เปลี่ยนแปลง  หรือการพยายามทำสิ่งที่เรียกว่า  ชาวพุทธที่ทันสมัย  มากกว่าการอธิบายสรรพสิ่งในแง่ของการปะทะครอบงำ  แต่หมายถึงการพยายามแยกแยะความงมงายออกจากหลักการที่เป็นสากลที่พุทธศาสนาเป็นหนึ่งในนั้น
แต่สิ่งที่ท้าทายมากกว่านั้น  ซึ่งพุทธศาสนาไม่ค่อยได้ทำ  ก็คือ  การพัฒนาและถ่ายทอดความรู้ที่เกี่ยวพันกับทางโลกอย่างจริงจัง  โดยเฉพาะเรื่องของเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ของโลกสมัยใหม่
ซึ่งหากพิจารณาเรื่องนี้ดีๆ  จะพบว่า  การอ้างอิงว่าในสังคมสมัยใหม่นั้น  รัฐได้แยกพุทธศาสนาออกจากโรงเรียนนั้น  แม้ว่าจะเป็นความจริง  แต่ก็เป็นความจริงครึ่งเดียว  เพราะ  พุทธศาสนานั้นไม่สามารถผลิตความรู้ให้กับโลกสมัยใหม่ได้มากนัก  เมื่อเทียบกับคริสต์ศาสนาที่สามารถสร้างมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวพันกับวิทยาศาสตร์  การแพทย์  การบริหาร  และสังคมศาสตร์  มนุษยศาสตร์   อาทิ  มหาวิทยาลัยเก่าแก่ของโลก  และมหาวิทยาลัยในประเทศไทย  ซึ่งสิ่งนี้ต่างไปจากความเข้าใจที่ว่าความรู้ในโลกสมัยใหม่นั้นเป็นการปฏิเสธอิทธิพลของศาสนาอย่างสิ้นเชิง  เพราะเอาข้าจริง  นักคิดนักปรัชญา  และนักวิทยาศซาสตร์สมัยใหม่ส่วนมากมักพัฒนาความรู้โดยมีศรัทธาและพยายามแยกเรื่องของศรัทธาจากความงมงาย
เราไม่พบการพัฒนาอย่างเป็นระบบ  (ไม่ใช่ไม่มี)  ของการแพทย์  สถาปัตยกรรม  วิศวกรรม  มากนักจากพราะและวัด  ขณะที่ในสมัยโบราณ  ศาสตร์เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของบริการของวัดที่มีให้กับสังคม  แม้เราจะพบว่าวิทยาลัยสงฆ์ปัจจุบันก็พยายามจะสอนเรื่องทางโลกมากขึ้น  แต่ก็มักเน้นไปทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์  มากกว่าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สรุปก็คือ  ถ้าเราจะมีเรื่องของหลัก  บ  ว  ร  โดยมีวัดเป็นศูนย์กลาง  เราก็ต้องทำให้วัดเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง  โดยทำให้ศาสนาพุทธนั้นสามารถมีบทสนทนากับทางโลกในแง่ของการผลิตความรู้ในทางโลกได้ด้วย  (อาทิ  ข้อเสนอเรื่องเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ)  ไม่ใช่แค่การเรียกร้องอำนาจ  หรือ  อธิบายแค่ว่าศาสนาพุทธเป็นวิทยาศาตร์  และศูนย์กลางของชุมชน				
comments powered by Disqus
  • ฉางน้อย

    2 กันยายน 2552 18:37 น. - comment id 107890

    1.gif1.gif
  unicorn

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน