***** ก่อนจะถึง ชม.บรรยาย ขอแปว๊บมาแป๊ปนึง ***** เรื่องเล่าจากแนวรบชายแดนใต้ วิถีราชการใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดย รุ่ง แก้วแดง ประธานมูลนิธิ-สุขแก้ว แก้วแดง ในการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รัฐบาลและประชาชนได้ตั้งความหวังไว้กับการทำงานของทุกส่วนราชการ พื้นที่นี้จึงมีตำแหน่งใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมากมาย งบประมาณก็ทุ่มเทลงไปอย่างมหาศาล แต่ปัญหาความรุนแรงก็ยังเกิดขึ้นเป็นประจำไม่ได้ลดน้อยลงแต่ประการใด เป็นปัญหาข้องใจของคนทั้งประเทศในปัจจุบันว่า ข้าราชการกำลังทำอะไรกันอยู่ จากการที่ได้เข้ามาสัมผัสและทำงานร่วมกับข้าราชการ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่าความล้มเหลวของการแก้ปัญหาความไม่สงบน่าจะอยู่ที่แนวคิดและวิธีการทำ งานของราชการทั้งในส่วนกลางและในส่วนพื้นที่ 3 จังหวัด เป็นปัญหาเสียเอง คือ 1.การจัดประชุมสัมมนาของหน่วยราชการส่วนกลาง นิยมจัดประชุมสัมมนาที่กรุงเทพฯเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ห่างไกล ส่วนกลางจึงใช้วิธีเชิญข้าราชการในพื้นที่ไปประชุมที่ศูนย์ราชการของประเทศ ทำให้ข้าราชการในพื้นที่ไม่มีเวลาทำงาน ไม่มีเวลาออกไปปฏิบัติงานในพื้นที่ และมักใช้เป็นข้ออ้างว่า ไปราชการที่กรุงเทพฯ ถ้าใครไปติดต่อราชการน้อยครั้งที่จะพบผู้บริหารระดับหัวหน้า เมื่อถามว่าหัวหน้าไปไหนก็จะได้รับคำตอบอย่างเดียวกันว่า ไปราชการ บางคนไปราชการจนกระทั่งเดือนหนึ่งมาทำงานในพื้นที่เพียง 2-3 วัน หลายคนมาดำรงตำแหน่งในนามอย่างเดียวแต่ตัวจริงไม่ได้มาทำงาน ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ในสำนักงานนั้นเมื่อหัวหน้าไม่อยู่ก็ไม่มีใครควบคุม ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานต่ำมาก และไม่เน้นการให้บริการประชาชน นอกจากนี้ หน่วยราชการส่วนกลางยังเรียกไปประชุมและสัมมนาที่ หาดใหญ่ หรือ สงขลา เป็นประจำ เพราะคนจากส่วนกลางไม่กล้าลงมาประชุมสัมมนาที่ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส แม้แต่ ก.พ.ร.ที่มาประเมินผลงานของผู้ว่าราชการจังหวัด ก็ยังเรียกผู้ว่าฯไปชี้แจงที่หาดใหญ่ โดยไม่ดูสภาพจริงในพื้นที่ จึงขอเสนอว่าการประชุมข้าราชการ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ควรให้มีบ่อยเกินไป เพราะเป็นการรบกวนการทำงานของข้าราชการในพื้นที่และทำให้ประสิทธิภาพของข้า ราชการตกต่ำลงไปอีก แต่ควรจะรวมประเด็นเอาไว้และผู้บริหารระดับสูงทุกแขนง ระดับกระทรวง ระดับกรม มาประชุมในพื้นที่พร้อมๆ กันจะมีประสิทธิภาพมากกว่า 2.การจัดประชุมสัมมนาของหน่วยราชการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นิยมไปจัดประชุมสัมมนาที่หาดใหญ่ สงขลา และจังหวัดอื่นๆ เป็นจำนวนมากเป็นเหตุให้โรงแรมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เกือบจะเป็นโรงแรมร้าง ไม่ค่อยมีคนไปใช้บริการทั้งๆ ที่กำหนดราคาไว้ถูกมากแล้ว ดังนั้น ในการประชุมสัมมนาของมูลนิธิ-สุขแก้ว แก้วแดง ทุกครั้งเราจึงเลือกจัดที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เพื่อช่วยเศรษฐกิจในพื้นที่ให้มีเงินหมุนเวียน ซื้อข้าวของและอาหารการกินจากคนในพื้นที่ และเราก็สามารถดำเนินงานได้โดยไม่มีปัญหาและอุปสรรคแต่อย่างใด จึงขอเสนอว่า ครม.ควรมีมติให้หน่วยราชการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้ง ศอ.บต. ช่วยจัดประชุมสัมมนาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของพื้นที่ ดีกว่าไปรณรงค์ให้คนนอกพื้นที่มาท่องเที่ยวอย่างเดียว ซึ่งเป็นไปได้ยาก ข้าราชการทุกท่านได้เงินเดือนมาจากภาษีอากรของคน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยเหมือนกัน ขอร้องว่าอย่าซ้ำเติมคนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ทุกข์หนักไปกว่านี้อีกเลย 3.การเดินทางไปศึกษาดูงาน ที่น่าเศร้าอีกเรื่องหนึ่งก็คือ งบประมาณจำนวนมหาศาลที่รัฐจัดให้นั้น หลายหน่วยงานนำไปใช้เพื่อการทัศนศึกษาและดูงานเป็นจำนวนมาก โดยในการจัดทัศนศึกษาและดูงานนั้นไม่ค่อยเน้นการวางแผน ไม่มีวัตถุประสงค์เรื่องการส่งเสริมมิตรภาพเพื่อให้คนเป็นเพื่อนกันและอยู่ ร่วมกันอย่างสันติสุข ส่วนใหญ่จะมอบให้บริษัททัวร์เป็นผู้จัดโปรแกรมให้ ซึ่งบริษัททัวร์ก็ต้องการรายได้และผลกำไรจึงนิยมจัดเดินทางไปที่ไกลๆ และเน้นกิจกรรมการท่องเที่ยวเป็นหลัก ทำให้เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณจำนวนมากโดยไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร คงไม่กล่าวเกินความจริงที่จะบอกว่า การทัศนศึกษาของมูลนิธิ-สุขแก้ว แก้วแดง เน้นเชิงคุณภาพ มีการวางแผนเดินทางเฉพาะเท่าที่จำเป็น ไปดูงานใกล้ๆ แต่จุดเน้นก็คือ การให้คนต่างศาสนา วัฒนธรรม ได้มาพูดคุยกัน ปรึกษาหารือเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ฟื้นฟูความสัมพันธ์และความเป็นเพื่อนที่เคยมีในอดีตให้กลับมาเหมือนเดิม จึงเป็นการลงทุนน้อยแต่ได้ผลมาก เราเรียกผู้เข้าร่วมโครงการว่าเป็น ผู้นำชุมชน ซึ่งกลายมาเป็นผู้ช่วยกันสร้างสันติสุขในพื้นที่อยู่ในปัจจุบัน มูลนิธิ-สุขแก้ว แก้วแดง จึงขอเสนอว่า รัฐควรสร้างศูนย์การเรียนรู้ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มากๆ เพื่อเป็นสถานที่ให้เยาวชนและประชาชนได้มีโอกาสมาพบปะเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยน ความรู้ โดยไม่ต้องเดินทางไกลทุกครั้ง เพื่อไปดูงานที่อื่นๆ แต่นำกลับมาใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้เพราะสภาพภูมิประเทศอาชีพ และวัฒนธรรมแตกต่างกัน หากรัฐบาลใช้งบประมาณจำนวนหลายพันล้านนี้ให้ข้าราชการและพี่น้องประชาชนได้ เรียนรู้ร่วมกันตามยุทธศาสตร์พระราชทาน เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา เพื่อให้คนในพื้นที่เป็นเพื่อนกันเหมือนในอดีต ก็สามารถที่จะทำได้ปีละหลายแสนคน การสร้างสันติสุขเพื่อการอยู่ร่วมกันซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของชาติที่จะแก้ ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็จะเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายนิดเดียว และทำได้ในยุคสมัยที่พวกเรายังดูแลบ้านเมืองนี้อยู่
7 มีนาคม 2552 09:50 น. - comment id 104273
http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act05140451&day=2008-04-14§ionid=0130 เนื้อหา การ ละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน เนื่องจากในความคิดของตำรวจ ทหาร และข้าราชการที่ลงไปปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นพวกเขาคือเจ้านาย สามารถทำอะไรกับคนในท้องถิ่นก็ได้ จึงมักจะเกิดกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยคนของรัฐ เช่น การอุ้มฆ่าหะยีสุหรง โต๊ะมีนา เป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่นำไปสู่ความรุนแรงหลายครั้งและเป็นบาดแผลทางใจของคนชาย แดนใต้ตลอดมา หลังวันที่ 4 มกราคม 2547 การละเมิดสิทธิมนุษยชนมีความถี่สูงมากขึ้น โดยเฉพาะการหายตัวไปของทนายสมชาย นีละไพจิตร รวมทั้งคนอีกเป็นจำนวนมากถึงกว่า 300 คนในรอบ 4 ปี ทำให้ประเทศไทยถูกจับตามองว่าเป็นประเทศที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่ สุดแห่งหนึ่งของโลก องค์การ Human Right Watch ได้เข้ามาศึกษาติดตามข้อมูลเชิงลึกจากคนในพื้นที่ และเขียนบทความเกี่ยวกับการถูกอุ้มฆ่าไว้ในรายงานประจำเดือนมีนาคม ปี 2550 ภายใต้หัวข้อชื่อ "It Was Like Suddenly My Son No Longer Existed" ซึ่งได้รายงานเรื่องคนที่หายไปจากจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เป็นกรณีศึกษารายบุคคล โดยระบุชื่อคนหาย ครอบครัว พ่อแม่ ภรรยาของผู้สูญหาย และเหตุการณ์ก่อนสูญหายโดยละเอียด น่าแปลกที่ทาง ราชการไม่ได้ให้ความสำคัญและความสนใจเรื่องการสูญหายของคน แต่รายงานฉบับนี้ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ไปทั่วโลก ได้รับการยอมรับว่าน่าเชื่อถือและสอดรับกับเหตุการณ์ล่าสุด คือ การซ้อมโต๊ะครูที่จังหวัดสงขลา การซ้อมนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และการเสียชีวิตอย่างมีเลศนัยของโต๊ะอิหม่ามที่จังหวัดนราธิวาส การ ซ้อม การทำร้าย และการอุ้มฆ่าเช่นนี้ ถ้ามองในมุมมองราชการส่วนกลาง จะรู้สึกว่าเป็นเรื่องปกติที่ทางราชการคือทหารและตำรวจสามารถจะทำได้ เพื่อหาข่าวจากผู้อยู่ในข่ายต้องสงสัย แต่ในความเป็นจริงนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และพุทธศักราช 2550 ได้กำหนดเรื่องสิทธิมนุษยชนไว้หลายประเด็น โดย เฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศไทยได้เข้าร่วมลงนามในอนุสัญญาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนขององค์การสห ประชาชาติไว้ทุกฉบับ ฉบับสุดท้ายคือ อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามมิให้มีการซ้อมและการทำร้าย ซึ่งมีข้อห้ามคนของรัฐไม่ให้ละเมิดรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ข่าวคราวเรื่องการถูกซ้อมและการหายตัวของ คนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นไม่เป็นผลดีต่อฝ่ายบ้านเมืองแต่อย่างใด หากทหารตำรวจเข้าใจความสัมพันธ์และระบบการสื่อสารแบบปากต่อปากของพี่น้อง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะไม่สงสัยว่าข่าวการทำร้ายคนในชุมชนหนึ่งสามารถแพร่กระจายไปยังชุมชนอื่นๆ ในเวลาที่รวดเร็วได้อย่างไร โดยเฉพาะชาวไทยมุสลิมนั้น จะเชื่อถือข้อมูลที่ได้จากคนของเขาเองมากกว่า ดัง นั้น เมื่อเกิดกรณีการซ้อมและทำร้ายคนในพื้นที่เพียง 1 คน ชาวบ้านจะรับรู้กันเป็นแสนคน ก่อให้เกิดความรู้สึกเกลียดชังข้าราชการทหาร ตำรวจ และพลเรือนอย่างรุนแรง ทำลายความเชื่อมั่นและศรัทธาที่มีต่อรัฐบาล และเป็นอุปสรรคต่อการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มากยิ่งขึ้น ความ จริงข้าราชการระดับสูงทั้งทหารและตำรวจเข้าใจถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น ดี แต่ก็ดูเหมือนไม่สามารถควบคุมดูแลให้ข้าราชการชั้นผู้น้อยเข้าใจถึงผลเสีย ของการซ้อมได้ บางครั้งคนที่ชอบใช้การซ้อมกลับได้รับการเลื่อนขั้นและเลื่อนตำแหน่งด้วยซ้ำ เรื่อง การซ้อมและการทำร้ายประชาชนในพื้นที่นั้น เป็นประเด็นที่รัฐบาลควรจะต้องทบทวนโดยด่วน และจะต้องเน้นการหาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาใช้แทนการซ้อมที่เป็นอยู่ใน ปัจจุบัน มิฉะนั้นแทนที่จะเป็นการดับไฟ ก็จะเป็นการเอาน้ำมันไปราดกองไฟ ทำให้ไฟลุกมากขึ้น "สิทธิมนุษยชน" เป็นเรื่องต้องห้ามที่เจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะในกลุ่มของข้าราชการทหาร ตำรวจ และพลเรือน ไม่สนับสนุนให้นำมาใช้ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ มูลนิธิสุข-แก้ว แก้วแดง มีความเชื่อว่าการที่จะแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ได้นั้น ชาวบ้านจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิมนุษยชน เพื่อจะได้รู้จักป้องกันสิทธิของตนเองและสามารถชี้แจงเมื่อถูกละเมิดได้ ดัง นั้น วิทยาลัยสันติสุขซึ่งอยู่ภายใต้มูลนิธิจึงได้จัดการเสวนาเรื่องสิทธิมนุษยชน กับสันติสุขใน 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส หลายครั้ง จนกระทั่งคนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจและคุ้นเคยกับคำว่า "สิทธิมนุษยชน" และเห็นว่าไม่ได้เป็นคำที่น่ากลัวแต่อย่างใด ปัจจุบัน มูลนิธิได้ก้าวไปสู่การจัดการศึกษาให้กับนักศึกษา กศน. ซึ่งเป็นกลุ่มเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ ให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนมากขึ้น เพื่อจะได้รู้จักป้องกันสิทธิของตนเอง ขณะเดียวกัน ข้าราชการทหาร ตำรวจ และพลเรือนก็ควรจะเรียนรู้และเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนด้วย เพื่อจะได้ไม่ไปละเมิดสิทธิของประชาชน และ รูปแบบการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนที่ดีที่สุดสำหรับผู้เรียนที่เป็นวัยผู้ใหญ่ ก็คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างข้าราชการทหาร ตำรวจ และประชาชนในพื้นที่ โดยจัดเป็นกลุ่มเล็กๆ เรียนรู้ไปด้วยกัน มีความเป็นเพื่อนกัน ซึ่งจะทำให้เกิดความ "เข้าใจ เข้าถึง และไม่ละเมิดสิทธิของประชาชน" จะได้ลดปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ขณะนี้ มูลนิธิสุข-แก้ว แก้วแดง ขอเชิญชวนหน่วยงาน ทหาร ตำรวจ และพลเรือนที่สนใจมาร่วมกันเรียนรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนกับพวกเราในโครงการ "สิทธิมนุษยชนเพื่อสันติสุขใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้" เราหวังว่า การเรียนรู้ร่วมกันจะนำไปสู่ความเข้าใจระหว่างกัน เลิกเถิดการซ้อม การทำร้าย และการอุ้มฆ่า ไม่ได้เป็นผลดีต่อการสร้างสันติสุข ท่านอาจจะซ้อมประชาชนเพื่อรีดเค้นหาข่าวมา 1 ข่าว แต่เราต้องเสียมวลชนไปเป็นแสนคน การ ทำร้ายประชาชนเช่นนี้จะไม่นำไปสู่ชัยชนะในสงครามได้เลย และจะส่งผลกระทบให้คนบริสุทธิ์ต้องถูกทำร้ายไปด้วย การเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ต่างหากที่จะนำไปสู่สันติสุข ถึงแม้คนเราจะมีอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน แต่การเคารพซึ่งกันและกันก็ทำให้เราอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขได้
7 มีนาคม 2552 21:37 น. - comment id 104276
ขอบคุณค่ะลุงแทน แป๊บนึงของลุงแทนมีค่ามากมายค่ะ เคยติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับ 3 จังหวัดชายแดนใต้แล้วมีความรู้สึกถึงระบบการบริหารและนโยบายที่ทำให้คนในพื้นที่รับไม่ได้ โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับที่ดินทำกิน เอาล่ะสิ ไปล่ะค่ะ ลุงแทนแป๊บหนูก็ชะแว๊ปละกัน อิอิ