***เจ้าเมืองลำพูน*** ปติตันขุนทด ***เจ้าเมืองลำพูน*** ๑. เจ้าคำฝั้น พ.ศ. ๒๓๔๘ - ๒๓๕๙ ๒. เจ้าบุญมา พ.ศ. ๒๓๕๙ - ๒๓๗๐ ๓. เจ้าน้อยอินทร์ พ.ศ. ๒๓๗๐ - ๒๓๘๑ ๔. เจ้าน้อยคำตัน พ.ศ. ๒๓๘๑ - ๒๓๘๔ ๕. เจ้าน้อยธรรมลังกา พ.ศ. ๒๓๘๔ - ๒๓๘๖ ๖. เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคุณหริภุญชัย พ.ศ. ๒๓๘๖ - ๒๔๑๔ ๗. เจ้าดาราดิเรกไพโรจน์ พ.ศ. ๒๔๑๘ - ๒๔๓๑ ๘. เจ้าเหมพินธุ์ไพจิตร พ.ศ. ๒๔๓๑ - ๒๔๓๘ ๙. เจ้าอินทยงยศ พ.ศ. ๒๔๓๘ - ๒๔๕๔ ๑๐. พลตรีเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ พ.ศ. ๒๔๕๔ - ๒๔๘๖ ***หลังจากคณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้ยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาลในปี ๒๔๗๖ เปลี่ยนฐานะเมืองเป็นจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดที่แต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทยมาปกครองแทนข้าหลวงประจำจังหวัด ผู้ตั้งกระทู้ ปติตันขุนทด (suchati2495-at-yahoo-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2010-03-14 12:12:41 IP : 125.26.103.175 1 ความเห็นที่ 1 (2977804) โหลนเจ้าน้อยกู้ เจ้าลำพูน มีอีกองค์หนึ่ง ที่ไม่ได้บันทึกไว้บนหน้าประวัติศาสตร์ คือ เจ้าน้อยกู้ เจ้าพรหมปั๋น เจ้าทรายคำ เจ้าเลาแก้ว เป็นเจ้าเชื้อสายจากลำพูน สกุลเดิม วงษ์วรรณ์ เจ้าน้อยกู้อพยบมาอยู่ที่เขต เมืองแกน ทำไร่ทำสวนอยู๋ ณ บ้านใหม่ ม.5 เป็นเวลานับร้อยปีแล้ว ลูกของท่านมีทั้งหมด 9 คน ตอนนี้เหลือ 1 คน ผู้แสดงความคิดเห็น โหลนเจ้าน้อยกู้ (pongpiwat12777-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-01-24 13:57:19 IP : 192.168.213.57,
24 พฤษภาคม 2555 16:28 น. - comment id 37843
เคยอ่านผ่าน ๆ แต่ไม่่รู้เล่มไหน ถ้าเจอจะเอามาให้พิจารณา ครับผม
19 พฤษภาคม 2555 08:31 น. - comment id 37881
เมืองแกนอยู่ที่ไหน เดี๋ยวนี้เป็นอำเภออะไรตำบลอะไร เคยทราบมาว่าลำพูนมีคนเชื้ออสายยอง จำนวนมาก ยองคือพวกไหนกันแน่
24 มกราคม 2556 14:40 น. - comment id 38883
กระทั่งปี 2463 เจ้าหลวงจักรคำฯ ได้สู่ขอเจ้ายอดเรือนจากเจ้าราชภาติกวงษ์เพื่อรับไว้เป็นชายา นำมาสู่คำถามที่มักได้ยินบ่อยๆ ว่า เจ้ายอดเรือนเป็นชายาโดยการเมืองหรือไม่? เหตุที่เจ้ายอดเรือนอายุยังน้อย ผิวพรรณดี สงบเสงี่ยม ชอบตามเจ้าปู่ไปทำบุญที่วัดไชยมงคล น่าจะเป็นที่ติดตาต้องใจเจ้าหลวงลำพูนอยู่บ้าง ผนวกกับหน้าที่การงานระหว่างเสนาสรรพากรกับเสนาคลัง หรือพระยาวังซ้าย-วังขวา ที่ต่างก็ต้องพึ่งบุญบารมีของกันและกัน ก็เป็นเรื่องที่ชวนคิดไม่น้อย เจ้ายอดเรือนจึงกลายมาเป็นชายาองค์สุดท้ายของเจ้าหลวงจักรคำฯ โดยมีอายุแตกต่างกันร่วม 30 ปี ช่วงที่เจ้ายอดเรือนมาอยู่ที่คุ้มหลวง ชายาสององค์แรก (เจ้าขานแก้ว-เจ้าแขกแก้ว) ไม่ได้อยู่ในคุ้มแล้ว เหลือแต่เจ้าหญิงส่วนบุญ ผู้เป็นเสาหลัก ท่านผู้นี้เป็นตัวอย่างของสตรีชั้นสูงหัวก้าวหน้าในยุค 70-80 ปีก่อน ที่มีความตื่นตัวด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสนใจในประชาธิปไตย ได้บุกเบิกโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดลำพูน และเปิดโรงทอผ้าที่ใต้ถุนคุ้มหลวง (หลังเก่า) ในขณะที่เจ้ายอดเรือนมีหน้าที่ดูแลด้านอาหารการกิน ภูษาอาภรณ์ให้แก่เจ้าหลวงจักรคำฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบั้นปลายชีวิตของเจ้าหลวงจักรคำฯ ได้ป่วยด้วยโรคไตเรื้อรัง เจ้ายอดเรือนเป็นผู้ปรนนิบัติอยู่เคียงข้างตลอดเวลา 5 เดือนจนถึงวินาทีสิ้นลมปราณ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 เป็นอันยุติบทบาทของเจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย
24 มกราคม 2556 14:42 น. - comment id 38884
เจ้าหลวงลำพูนองค์สุดท้ายก่อนที่จะมีการยกเลิกตำแหน่งนี้ เป็นองค์ที่ 10 มีนามเต็มว่า พลตรี มหาอำมาตย์โท เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ สมภพเมื่อ19 พฤษภาคม 2418คนลำพูนเรียกท่านย่อๆ ว่า "เจ้าหลวงจักรคำฯ"