เชียงแสน ปติตันขุนทด เชียงแสนเป็นเมืองโบราณ ผังเมืองเป็นรูปสี่เหลื่ยมด้านไม่เท่า ด้านตะวันออกจรดแม่น้ำโขงด้านเหนือมีแนวกำแพงเมืองยาว ๙๕๐ เมตร ด้านตะวันตกมีแนวกำแพงเมืองยาว ๒๔๕๐ เมตรด้านใต้ มีแนวกำแพงเมืองยาว ๘๕๐ เมตร ตามตำนานเมืองสุวรรณโคมคำ ตำนานสิงหนวัติกุมาร และตำนานเมืองหิรัญนครเงินยางกล่าวว่า พญาแสนภู ทรงสร้างเมืองเชียงแสน มีกำแพงเมืองสี่ด้าน มีประตูเมือง ๑๑ ประตู กำแพงเมืองด้านทิศตะวันออก ซึ่งถูกแม่น้ำโขงกัดเซาะพังทหลายลง มีประตูเมือง ๖ ประตูคือ ประตูรั้วปีก ๑ ประตูท่าอ้อย ๑ ประตูท่าสุกัม ๑ ประตูท่าหลวง ๑ ประตูท่าเสาดิน ๑ ประตูท่าคาว ๑ ด้านทิศเหนือ ประตูยางเทิง ๑ ด้านทิศตะวันตก ประตูหนองมุด ๑ ด้านทิศตะวันใต้ ประตูเชียงแสน ๑ ประตูดินขอ๑ ประตู....๑ ประตู....๑ จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่า พญาแสนภู ทรงสถาปนาามืองเชียงแสนทับเมืองเก่าหรือเวียงเก่า อาจเป็นเมืองหิรัญนครเงินยาง ในพ.ศ.๑๘๗๑ เพื่อใช้เป็นเมืองหน้าด่านป้องกันข้าศึกที่จะมาทาางเหนือ และเพื่อควบคุมบ้านเมืองล้านนาตอนบน สมัยนี้ เชียงแสนเป็นศูนย์กลางการเมืองและการปกครอง และศูนย์กลางการเผยแพร่พระพุทธศาสนาของล้านนา ตั้งแต่่ พ.ศ. ๒๑๐๑ เป็นต้นมา ล้านนาตกอยู่ใต้อำนาจของม่าน หรือพม่า พม่ายกเมืองเชียงแสนขึ้นเป็นมณฑลหนึ่งของพม่ามีเมืองที่อยู่ใต้การปกครอง คือ เชียงราย แพร่ น่านลำปาง ฝาง เป็นต้น พม่ายกเมีองเชียงแสนเทียบเท่าเมืองเชียงใหม่ เพราะสมัยนั้นเชียงแสนเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าระหว่างประเทศ คือ ระหว่าง จีน ล้านนา และไทย ในสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พ.ศ.๒๓๔๗ ทรงโปรดเกล้าให้กรมหลวงเทพหริรักษ์พระยายมราาช และพระยากาวิละ ยกทัพไปชิงเอาเมืองเชียงแสนจากพม่าสงครามเมืองเชียงแสน ๒๓๔๖ สมัยนั้น เชียงแสน ล้านนาฝ่ายเหนือ อยู่ใต้อำนาจพม่าทางกรุงเทพวิเคราะห์ว่า......"........แล้งนี้ เห็นทีอ้ายพม่าจะยกมามั่นคง จะไว้ใจราชการมิได้ ให้พระเจ้าเมืองเชียงใหม่พญาอุปราช พญาหัวเมืองแก้ว แสนท้าวลาวมีชื่อ จัดแจงกองทัพเสบียงอาหารแลตกแต่งบ้านเมืองไว้ให้มั่นคง ถ้าอ้ายพม่าาาาาาไม่ยกมาก จะให้ยกไปตีเอาเมืองเชียงแสน เชียงราย เชียงรุ่ง หัวเมืองลาวทั้งปวงให้สิ้น ให้เมืองเชียงใหม่ เมืองลครยกไปทางเมืองสาด เมืองปุ ใหส้กองทัพเมืองแพร่ เมืองน่าน ยกขึ้นไปทางพะเยาให้กองทัพเมืองหล่มสัก เมืองหลวงพระบาง ยกกองทัพเรือ ไปบรรจบกันตีเอาเมืองเชียงแสน ให้พระเจ้าเชียงใหม่พญาอุปราช พญาหัวเมืองแก้ว ราชวัง พญาแสนท้าวลาวมีชื่อทั้งปวง จัดแจงกองทัพเสบียงอาหารไว้ให้พร้อม กำหนดจะได้ยกมาเมื่อใดจะมีศุภอักษรขึ้นไปครั้งหลัง......"ในปี พ.ศ.๒๓๔๖ กองทัพผสมของคนไทย จากไทยกรุงเทพฯ ไทยเวียงจันทร์และไทยล้านนา จำนวน ๒๐๐๐๐ คน โดยมีกรมหลวงเทพหริรักษ์เป็นแม่ทัพใหญ่ก็ยกกองทัพเข้าตีเมืองเชียงแสนในเดือนมีนาคม ๒๓๔๖เชียงแสนขณะนั้น มีกองทัพของพม่าประจำการอยู่ เขาเกณฑ์ทหารจากเมืองเชียงรายเทิง เชียงของ ตลอดจนหัวเมืองในอาณัติให้มาป้องกันเมืองสงครามครั้งนี้ ตำนานเมืองเชียงแสนกล่าวว่า ทางเมืองเชียงแสนป้องกันเมืองอย่างหนาแน่น เข้มแข็ง กองทัพที่ทำการรบรุนแรงคือ กองทัพลาว ที่บุกเข้าโจมตีเมืองหลายครั้ง จนทำให้ฝ่ายเชียงแสนเสียแม่ทัพไปหลายคนคือ พญาเชียงราย พญาเทิงพญาเชียงของ ทางฝ่ายลาวก็เสียแม่ทัพคือ พญาตับเหล็กกองทัพสยามล้อมเมืองเชียงแสนอยู่จนถึงเดือน พฤษภาคม ไม่สามารถหักเอาเมืองได้พอเข้าฤดูฝน บรรดาทหารชาวลาว ชาวกรุงเทพฯ เกิดผิดน้ำ เจ็บป่วยล้มตาย และเริ่มขาดเสบียงอาหารกรมหลวงหริรักษ์แม่ทัพใหญ่ จึงทรงให้ถอยทัพกลับลงมา ในเวลาที่ถอยทัพกลับลงมานั้น พญษพยาก อันเป็นเจ้าเมืองในอาณัติของเมืองเชียงแสนก็นำครัวเรือนเข้ามาสวามิภักดิ์ต่อกองทัพพระเจ้ากาวิละเมื่อเสร็จศึกคราวนี้ชาวเชียงแสนเห็นว่า ทางกรุงอังวะมิได้ให้การสนับสนุนในการศึกอย่างเต็มกำลัง บรรดาเจ้าเมืองที่มาช่วยในการศึกจึงคิดปลดแอกจากอำนาจของพม่าสงครามเมืองเชียงแสนครั้งสุดท้าย ปี พ.ศ. ๒๓๔๗หลังจากสงครามใหญ่ที่บุกโจมตีเมืองเชียงแสนในปี พ.ศ. ๒๓๔๖ ผ่านพ้นไปบรรดาเจ้าเมืองสำคัญทั้งหลายที่เป็นลูกเมืองเชียงแสน ก็เอาใจออกห่างจากพม่า มี เจ้าเมืองเลนเจ้าอกชาวเชียงของ และเจ้าชาวเทิง ได้คบคิดกันจะปลดแอกจากพม่า พญาเมืองเลนใช้ให้คนลอบไปแจ้งข่าวให้ทางเชียงใหม่ทราบ และขอกองทัพเมืองเชียงใหม่ น่านยกเข้ามาโจมตีเมืองเชียงแสนในเดือนมีนาคม ๒๓๔๗เจ้ากาวิละได้เกณฑ์กองทัพเชียงใหม่ ๑๕๐๐ คน มีเจ้าอุปราชธรรมลังกาเป็นแม่ทัพทัพเมืองลำปาง ๑๐๐๐ คน ทัพเมืองแพร่ ๕๐๐ คน และทัพเมืองน่าน ๑๐๐๐ คนมีเจ้าอัตถะวรปัญโญ เป็นนายทัพ รวมไพร่พล ๔๐๐๐ คน ยกมาบรรจบกันที่ท่าข้าวเปลือกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๔๗ แล้วเคลื่อนทัพเข้าประชิดเมืองเชียงแสนในปลายเดือนพฤษภาคมทันทีพญานาขวาหน่อคำ เมียวหวุ่นแห่งเมืองเชียงแสน ป้องกันเมืองโดยเกณฑ์คนมาจากเมืองยู้ เมืองหลวย เมืองยอง เมืองวะ และเชียงแชงมาตั้งรับอยู่นอกเมือง ภายใต้บัญชาของ "โป่ชุก" แม่ทัพชาวพม่าตำนานเมืองเชียงแสนกล่าวว่า "เมื่อนั้น เจ้าอก อันเป็ฯชาติเชื้อเมืองเชียงของนั้น เป็นไฟในก็ตามลูกน้องแทงม่านอันรักษาประตูเสี้ยงแล้ว ก็ไขประตูดินของเอาเศิกเข้าเวียง เดือน ๙(มิถุนายน)กองทัพเชียงใหม่ ลำปาง น่าน แพร่ ก็กรูเข้าประตูดินขอ ฆ่าฟันทหารพม่า "โป่ชุก"แม่ทัพพม่าพร้อมกับปลัดกองทัพพม่า ตายในที่รบ พญานาขวาหน่อคำ เมียวหวุ่นแห่งเมืองเชียงแสนหลบหนีไปอยู่แถว ๆ บ้านแซว และถูกจับได้ในเวลาต่อมา กองทัพพม่าที่ตั้งอยู่ในเมืองเชียงแสนถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง สภาพเมืองเชียงแสน ชาวเมืองแตกตื่นปะทะปะปนหนีข้ามน้ำแอบแฝงอยู่ป่าอยู่เถื่อนก็มี กองทัพจับได้และยอมสวามิภักดิ์ก็มากได้เชลยและช้างม้าทรัพย์สิ่งของจำนวนมากชาวเชียงแสน เชียงของ เทิง ที่อยู่ในเชียงแสนถูกจับเป็นเชลยเป็นจำนวนมากถึง ๒๓๐๐๐คน เชลยเหล่านี้ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงโปรดพระราชทานให้ไปตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ น่าน และบางส่วนให้อยู่ที่เสาไห้สระบุรี และที่ราชบุรีศึกครั้งนี้ กองทัพล้านนาได้บุกเข้ายึดเมืองทางประตูดินขอ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองประตูดินขอมีความหมายอย่างมาก เพราะเป็นประตูที่เปิดทางเข้าไปสู่ชัยชนะของชาวล้านนาทำให้ชาวล้านนาสามารถขับไล่พม่าที่มีอำนาจครอบงำล้านนาได้อย่างสิ้นเชิง และนับจากปีพ.ศ. ๒๓๔๗ เป็นต้นมา พม่าก็ไม่สามมารถแผ่อำนาจเข้ามาในดินแดนของล้านนาได้อีกเลยตำนานเมืองเชียงแสนกล่าวไว้ว่า "เพิ่นได้ตัวเจ้าโมยหงวน(เจ้าเมือง) นาขวา ลูกเมียไพร่ไทยทั้งมวล (แล้วพา) ลงไปเชียงใหม่ ลคอร แพร่ น่าน นับเสี้ยงยังค้างแต่ *ดินกับน้ำ* แล"ถึงแม้ล้านนาจะขจัดอิทธิพลของพม่าได้อย่างเด็ดขาด แต่ก็ต้องทิ้งบ้านเมืองที่เคยรุ่งเรืองทางเหนือเกือบทั้งหมด กลายเป็นดินแดนที่เหลือเพียง *ดินกับน้ำ* และ *บ้านห่างเมืองร้าง*การสถาปนาเมืองเชียงราย พ.ศ. ๒๓๘๖นับเป็นเวลานานเกือบ ๔๐ ปี ตั้งแต่พม่าถูกขับออกจากเมืองเชียงแสน แต่สภาพเมืองเชียงแสนหลังสงครามกลายเป็นเมืองร้าง เชียงรายด้วย เช่นกัน และเมืองอื่นอื่น ๆก็มีสภาพทำนองเดียวกัน คือ เป็นป่ารก อุกตัน เป(็นป่าช้างทางเสือ หมี เป็นที่อาศัยของสัตว์ป่าทั้งหลาย แต่หัวเมืองร้างต่าง ๆ ก็เริ่มมีผู้คนอพยพออกไปตั้งเป็นหัวเมืองขึ้นใหม่อีก ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๘๐ ๒๓๘๖ มีเมืองงาว เมืองพะเยา เมืองเวียงป่าเป้าเมืองพาน เมืองเชียงราย เมืองเชียงขวาง และเมืองแม่สวย ระหว่าง พ.ศ.๒๓๘๑ - ๒๓๙๔ มีผู้คนอพยพจากลำปาง แพร่ น่าน มาอยู่เทิงพระเจ้าเชียงใหม่มโหตรประเทศ พระเจ้าเชียงใหม่องค์ที่ ๕ จึงมีบัญชาให้ฟื้นฟูเมืองเชียงรายขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๖ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็๋จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดเกล้าให้ เจ้าอินทวิไชยเจ้าเมืองลำพูน ไปฟื้นฟูเมืองเชียงแสน ปัจจุบันมีชาวเมืองเชียงแสนไปอยู่ที่อำเภอเสาไห้จังหวัดสระบุรี เมืองเชียงแสนถูกยุบเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลพายัพ และถูกยุบเป็นกิ่งอำเภอแกสนหลวงและในปี่ พ.ศ. ๒๕๐๐ จึงถูกยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย******************************บดินทร์ กินาวงศ์ และคณะ ประวัติศาสตร์เมืองเชียงราย - เชียงแสน เชียงใหม่มิ่งเมือง ๒๕๕๒
25 พฤษภาคม 2555 10:29 น. - comment id 37844
ผมอัปเดทไว้ในเว็ป ohozaa.com
18 พฤษภาคม 2555 11:17 น. - comment id 37862
ขอบคุณนะคะ อ่านแล้วคิดถึงบ้านเลย ลักษณะของกำแพงเมืองยังคงอยู่ และได้เห็นถึงความอดทน ของบรรพบุรุษที่ช่วยกันสร้างกำแพงเมืองเพื่อปกป้องเมืองเอาไว้ด้วยหยาดเหงื่อ และสองมือ ของแต่ะท่าน ไม่มีเครื่องทุ่นแรงอย่างสมัยนี้... รำลึกถึงพระคุณท่านเสมอค่ะ จาก ลูกหลานคนเชียงแสน