ประวัติ "ศรีปราชญ์"

คนกุลา

ประวัติ “ศรีปราชญ์”
ตามหลักฐานทางประวัตศาสตร์พบว่า ศรีปราชญ์ นี้เป็นเรื่องจริง โดยเป็นกวีเอกคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทย ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ( พ.ศ.๒๑๙๙-๒๒๓๑) โดยท่านเ ป็นบุตรของพระโหราธิบดี ผู้ซึ่งแต่งหนังสือเล่มแรกที่ชื่อว่า “ จินดามณี ” หนังสือเล่มนี้สมเด็จพระนารายณ์ทรงรับส่งให้แต่งขึ้นเพื่อถ่วงดุลอิทธิพลของวัฒนธรรมฝรั่งเศส ศรีปราชญ์ได้รับอิทธิพลทางด้านกวีจากบิดา ดังนั้นจึงส่อแววว่ามีปฏิภาณด้านกวีตั้งแต่ยังเด็ก  และเข้ารับราชการตั้งแต่อายุ ๑๕ ขวบ หลังแต่นั้นมาจึงกลายเป็นกวีเอกของพระนารายณ์มหาราช แต่สุดท้ายด้วยความสามารถของตน ทำให้ผู้คิดปองร้าย ใส่ร้ายศรีปราชญ์ จนถูกสั่งประหารชีวิตในที่สุด
ประวัติ
สมัยเด็ก
สันนิษฐานว่า ศรีปราชญ์ คงจะเกิดในปี พ.ศ. ๒๑๙๖  หรือ ๓ ปี ก่อนที่สมเด็จพระนารายณ์เสด็จขึ้นครองราชย์แทนสมเด็จศรีสุธรรมราชา  พระโหราธิบดี บิดาของศรีปราชญ์เข้ารับราชการในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา อันถือได้ว่าเป็นยุคสมัยที่บ้านเมืองมีแต่ความสงบสุขร่มเย็น ปราศจากการรุกรานจากศัตรูภายนอก ไม่มีศึกสงครามกับพม่า ประชาชนอยู่
ดีกินดี มีการติดต่อทำการค้ากับชาวต่างประเทศ แม้แต่ชาวตะวันตกเช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ฮอลันดาฯลฯ ก็เข้ามาทำการค้า ถึงกับมีขุนนางเป็นชาวต่างประเทศในสมัยนั้นหลายท่าน เมื่อบ้านเมืองสงบสุขร่มเย็นก็ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เกิดอารมณ์สุนทรีย์ ด้วยนิสัยดั้งเดิมของคนไทยเรานั้นมักจะเป็นประเภท   "เจ้าบทเจ้ากลอน" คือชอบร้องรำทำเพลงพูดจาคล้องจองกัน ในสมัยนี้คนส่วนใหญ่สนใจในวรรณคดี  มีบทโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน เกิดขึ้นมากมาย ถือได้ว่า "เป็นยุคทองของวรรณคดี" เลยทีเดียว
องค์สมเด็จพระนารายณ์เองก็โปรดปรานการแต่งโคลงกลอนมาก วันหนึ่งทรงแต่งโคลงสี่สุภาพขึ้นบทหนึ่ง ว่า
อันใดย้ำแก้มแม่..............หมองหมาย
ยุงเหลือบฤๅริ้นพราย.......ลอบกล้ำ
แต่แต่งได้เพียง ๒ บาท หรือสองบรรทัดเท่านั้น ก็ทรงติดขัด   แต่งต่ออย่างไรก็ไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัยจึงทรงพระราชทานแผ่นกระดานชนวนที่ทรงแต่งบทโคลงนั้น แก่พระยาโหราธิบดี ซึ่งนอกจากจะมีความสามารถในด้านการพยากรณ์แล้ว  ยังมีความรู้ความสามารถอื่น ๆ  อีกรอบด้าน โดยเฉพาะในด้านการแต่งโคลงกลอน ถือเป็นมือหนึ่งในสมัยนั้นเลยทีเดียว
เมื่อพระยาโหราธิบดีรับแผ่นกระดานชนวน       ที่มีบทโคลงที่พระองค์ทรงแต่งค้างเอาไว้แล้ว ก็พิจารณาจะแต่งต่อให้เดี๋ยวนั้น แต่ก็ไม่สามารถจะแต่งต่อได้ จึงขอพระราชทานเอาไว้แต่งต่อที่บ้าน ซึ่งพระองค์ก็ไม่ทรงขัดข้อง  พอท่านพระยาโหราธิบดีกลับไปถึงบ้าน ก็นำแผ่นกระดานชนวนนั้นไปไว้ในห้องพระด้วยเป็นของสูง แล้วก็ไปอาบน้ำชำระร่างกายให้สดชื่นเสียก่อน    จะเป็นด้วยโชคชะตาชักนำ หรืออย่างไรก็ไม่ทราบแน่ ในขณะที่ท่านกำลังทำภาระกิจส่วนตัวอยู่นั้น  เจ้า "ศรี" บุตรชายหัวแก้วหัวแหวนของท่าน  ซึ่งในขณะนั้นมีอายุเพียง
 ๗ ขวบ   ได้เข้ามาในห้องพระ  เพื่อจะเข้ามาหาผู้เป็นบิดา  เมื่อหลือบไปเห็นแผ่นกระดานชนวนที่มีโคลงกลอนแต่งเอาไว้ ๒ บาท เข้า   คงเป็นด้วยความซุกซนบวกกับความเฉลียวฉลาดของเจ้าศรี ก็เลยเอาดินสอพองเขียนโคลงอีก ๒ บาท ต่อจากองค์สมเด็จพระนารายณ์ ดังนี้
		
		
อันใดย้ำแก้มแม่.............หมองหมาย
ยุงเหลือบฤๅริ้นพราย.......ลอบกล้ำ
ผิวชนแต่จักกราย............ยังยาก
ใครจักอาจให้ช้ำ...............	ชอกเนื้อเรียมสงวน
ความหมายในบทโคลงมีดังนี้ 
คือ สมเด็จพระนารายณ์ทรงแต่งไว้ในสองบาทแรก มีความหมายว่า "มีสิ่งอันใดหนอที่ทำให้แก้มของน้องนางอันเป็นที่รักต้องหมองลงไป หรือว่าจะเป็นยุง เหลือบริ้น ผีพราย เข้ามาทำให้เป็นเช่นนี้"   ดูความหมายของบทกลอนของพระองค์แล้ว
ท่านกล่าวขึ้นมาลอย ๆ เหมือนจะรำพึงรำพันทำนองนั้น 
ที่นี้มาดูเจ้าศรีแต่งต่อบ้างมีความหมายดังนี้    " คงไม่มี ใครคนใดในแผ่นดินนี้ที่จะเข้าไปย่างกรายเข้าไปถึงตัวนางได้ง่าย ๆ หรอก  ดังนั้น คงไม่มีใครหรอกนะที่จะบังอาจไปทำให้แก้มของนวลนาง อันเป็นที่รักและหวงแหนต้องชอกช้ำไปได้"
เมื่อพระยาโหราธิบดีอาบน้ำเสร็จ ก็เข้ามาที่ห้องพระแล้วสังเกตว่ากระดานวางอยู่ต่างจากเดิม ก็เกิดอาการ "ลมแทบจับ" เพราะรู้แน่ว่าต้องเป็นฝีมือเจ้าศรีไม่ใช่ใครอื่นหนอยแน่ไอ้หมอนี่ ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง ต้องจับมาฟาดให้ก้นลายเสียให้เข็ด แต่พออ่านบทกลอนที่เจ้าศรีมันแต่งต่ออารมณ์โกรธก็พลันระงับโดยสิ้นเชิง และคิดในใจว่า ลูกเรามันแต่งดีนี่หว่า เราเองถ้าจะให้แต่งต่อและดีกว่ามันคงทำไม่ได้ เอาวะ เป็นไงก็เป็นกัน ต้องนำทูลเกล้า ฯ ถวายในวันพรุ่งนี้ 
พอวันรุ่งขึ้นหลังจากเข้าเฝ้าถวายแผ่นกระดานชนวนแด่องค์สมเด็จพระนารายณ์ แล้ว พระองค์ ทรงทอดพระเนตรเห็นบทโคลงที่แต่งต่อ ก็ทรงพอพระราชหฤทัย ตรัสชมเชยพระยาโหราธิบดีเป็นการใหญ่ พร้อมกับจะปูนบำเหน็จรางวัลให้ แต่ทว่า หากท่านพระยาโหราธิบดีแกรับพระราชทานบำเหน็จโดยไม่กราบทูลความจริงให้ทรงทราบ หากวันใดทรงทราบความจริงเข้า โทษสถานเดียวคือ "หัวขาด" ด้วย "เพ็ดทูล" พระเจ้าอยู่หัว ดังนั้น ท่านจึงกราบบังคมทูลให้ทรงทราบว่าแท้ที่จริงแล้ว
“ผู้ที่แต่งโคลงต่อจากพระองค์ มิใช่ข้าพระพุทธเจ้า แต่เป็นเจ้าศรีบุตรชายของข้าพระพุทธเจ้า ซึ่งทำไปด้วยความซุกซน ต้องขอพระราชทานอภัยโทษแก่มันด้วย ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณา”
เมื่อองค์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ทรงสดับความจริงจากพระยาโหราธิบดี แทนที่จะทรงกริ้ว กลับทรงพอพระราชหฤทัยยิ่งขึ้น ถึงกับทรงพระสรวลลั่นท้องพระโรง และตรัสกับท่านพระยาโหรา ฯว่า
“เออ ว่ะ ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น พ่อเก่งอย่างไร ดูรึ ลูกชายก็เก่งปานกัน หากเราจะขอให้เจ้านำบุตรของท่านเข้าถวายตัวเพื่อรับราชการแต่บัดนี้ เจ้าจะว่ากระไร ?” 
พระยาโหรา ฯ ได้ยินเช่นนั้น ก็ถวายบังคมยกมือขึ้นเหนือเศียร รับใส่เกล้า ฯ ใส่กระหม่อม แล้วจึงกราบบังคมทูลว่า
“ขอเดชะ พระอาญาไม่พ้นเกล้า ฯ การที่พระองค์ทรงโปรดที่จะให้เจ้าศรีบุตรชายของข้าพระพุทธเจ้า เข้าถวายตัวเพื่อรับราชการนั้น นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น แต่เนื่องจากบุตรของข้า ฯ ยังเยาว์วัยเพียง ๗ ชันษา ยังซุกซนและไม่ประสาในการที่จะรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท เอาไว้ให้เขาเจริญวัยกว่านี้สักหน่อย ค่อยว่ากันอีกที ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณา"
จะว่าไปแล้ว ท่านพระยาโหราธิบดีนั้น ท่านรู้อยู่แก่ใจของท่านดีว่า หากให้เจ้าศรีเข้ารับราชการเมื่อไร ก็เร่งเวลาให้เจ้าศรีอายุสั้นมากเท่านั้น ด้วยทราบอุปนิสัยใจคอลูกชายของท่านดีประกอบกับพื้นดวงชะตาที่ได้คำนวณเอาไว้ บ่งบอกชัดเจนว่า เจ้าศรีอายุจะสั้นด้วยต้องอาญา ดังนั้น เมื่อองค์สมเด็จพระนารายณ์ทวงถามเรื่องเจ้าศรีทีไรท่านพระยาโหรก็ต้องหา เรื่องกราบทูลผลัดผ่อนเรื่อยไป
จนกระทั่งเจ้าศรีอายุได้ ๑๕ ปี ได้ศึกษาสรรพวิทยาการต่าง ๆ จากท่านพระยาโหร ฯ ผู้เป็นพ่อจนหมดสิ้นแล้ว ท่านพระยาโหร ฯ จึงได้ถามความสมัครใจว่า อยากจะเข้าไปรับราชการในวังหรือไม่ ซึ่งเจ้าศรีนั้นก็ดีใจ และเต็มใจที่จะเข้าไปรับราชการสนองพระเดชพระคุณ ดังนั้น เมื่อพระนารายณ์ทรงทวงถามอีกครั้งหนึ่ง ท่านพระยาโหรฯ จึงไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือผลัดผ่อนได้อีกแต่ก่อนที่จะนำเจ้าศรีเข้าถวายตัว นั้น ได้ทรงขอพระราชทานคำสัญญาจากสมเด็จพระนารายณ์ ๑ ข้อ คือ
“เมื่อเจ้าศรีเข้ารับราชการแล้ว หากกาลต่อไปภายหน้า ถ้ามันกระทำความผิดใด ๆ ที่ไม่ใช่ความผิดต่อราชบัลลังก์ และมีโทษถึงตาย ก็ขอได้โปรดงดโทษตายนั้นเสียหากจะลงโทษจริง ๆ ก็ขอเพียงให้เนรเทศให้พ้นไปจากเมือง อย่าให้ต้องถึงกับประหารชีวิต”
 
ซึ่งพระองค์ก็ทรงพระราชทานสัญญานั้นโดยดี ทำให้ท่านพระยาโหร ฯ บรรเทาความวิตกกังวลไปได้มากทีเดียว
  
เมื่อเจ้าศรีเข้าถวายตัวรับราชการแล้ว   พระนารายณ์ทรงให้เจ้าศรีอยู่ในตำแหน่งมหาดเล็กรับใช้ใกล้ชิด   เมื่อเสด็จไปไหน ก็ทรงให้เจ้าศรีติดตามไปด้วยทุกหนแห่ง   ทรงโปรดปรานเจ้าศรีเป็นอย่างมากด้วยทุกครั้งที่ทรงติดขัดเรื่องโคลงกลอน ก็ได้เจ้าศรีนี่แหละช่วยถวายคำแนะนำ  จนสามารถแต่งต่อได้มีอยู่ครั้งหนึ่ง พระนารายณ์นึกสนุก และอยากจะให้ความสามารถของเจ้าศรีเป็นที่ปรากฎ   จึงได้แต่งโคลงกลอนขึ้นบทหนึ่ง แล้วให้ข้าราชบริพาร ตลอดจนนักปราชญ์ราชบัณฑิตทั้งหลายที่เข้าเฝ้า ณ ที่นั้น ช่วยกันแต่งต่อ ทำนองประกวดประชันกันปรากฎว่า ไม่มีผู้ใดแต่งโคลงกลอนได้ดีและถูกพระทัยเท่ากับของเจ้าศรี ถึงกับทรงพระราชทานพระธำมะรงค์ (แหวน) ให้และตรัสว่า "เจ้าศรี เจ้าจงเป็นศรีปราชญ์ ณ บัดนี้ เถิด" นับแต่นั้นมา คนทั่วไปจึงเรียก "ศรีปราชญ์" สืบต่อกันมาจนทุกวันนี้
ในสมัยนั้น เป็นสมัยที่ทุกคนนิยมพูดจากันด้วยโคลงกลอน ว่ากันสด ๆ  แม้กระทั่งยามเฝ้าประตูพระราชวัง ก็ยังสามารถแต่งโคลงกลอนโต้ตอบกับศรีปราชญ์ได้ดังมีบันทึกเอาไว้ เมื่อศรีปราชญ์ได้รับพระราชทานพระธำมะรงค์แล้ว ก็สวมไว้ที่นิ้ว พอผ่านประตูวัง 
ทหารยามเห็นเข้า ก็ถามว่า  " แหวนนี้ท่านได้....... แต่ใดมา "
ศรีปราชญ์ ตอบว่า "เจ้าพิภพโลกา....................... ท่านให้ "  
ยามถามต่อว่า  "ทำชอบสิ่งใดนา.......................... วานบอก" 
ศรีปราชญ์ตอบอีกว่า " เราแต่งโคลงถวายไท้........ท่านให้  รางวัล"
ดังนี้ เป็นต้น
ชื่อเสียงของ ศรีปราชญ์ ในช่วงนั้นก็โด่งดังไปทั่วราชอาณาจักร 
สาเหตุของการเนรเทศ
ตอนที่สมเด็จพระนารายณ์เดินทางไปประพาสยังป่าแก้ว  มีพระยารามเดโช โดยเสด็จ โดนลิง อุจจาระลงศีรษะพระยารามฯ บรรดาทหารต่างๆก็พากันหัวเราะ สมเด็จพระนารายณ์ ์ที่ทรงบรรทมอยู่จึงตื่นขึ้นแล้วตรัสถามอำมาตย์แต่ไม่มีใครกล้ากราบบังคมทูล เพราะกลัวจะไม่สบพระราชหฤทัยสมเด็จพระนารายณ์จึงเรียกมหาดเล็กศรีฯ มาถาม ฝ่ายเจ้าศรีรับใช้มานานจนทราบพระราชอัธยาศัยจึงกราบบังคมทูลด้วยคำคล้องจอง ว่า “พยัคฆะ ขอเดชะ วานระ ถ่ายอุจจาระ รดศีรษะ พระยารามเดโช”  สมเด็จพระนารายณ์พอพระทัยเป็นอย่างมาก แต่นั่นก็เป็นการสร้างความขุ่นเคือง ให้พระยารามเดโชเป็นอย่างมาก 
ศรีปราชญ์รับราชการใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทอยู่หลายปี จนเป็นหนุ่มฉกรรจ์ และตามวิสัยของคนหนุ่มย่อมหนีความรักไปไม่พ้น และในฝ่ายในเองก็มีหญิงสาวเป็นจำนวนมากที่รับใช้ พระบรมวงศ์ศานุวงศ์ และบางคนก็เป็นที่ต้องตาต้องใจของศรีปราชญ์ เมื่อเป็นที่ไว้วางพระทัยของสมเด็จพระนารายณ์ ศรีปราชญ์สามารถข้านอกออกในได้โดยสะดวก ด้วยนิสัยเจ้าชู้ตามอารมณ์ของกวี บวกกับความคึกคะนอง และถือตัวว่าเป็นคนโปรดของพระนารายณ์  จึงทำให้ศรีปราชญ์ต้องโทษถึงกับติดคุกหลายครั้ง ด้วยมักไปทำรุ่มร่าม แต่งโคลงเกี้ยวพาราสีบรรดาสาวใช้ในวัง  แต่พอพ้นโทษมาก็ไม่เข็ดหลาบ  มีอยู่ครั้งหนึ่งในคืนวันลอยกระทงศรีปราชญ์ได้ดื่มสุราแล้วเมา  จากนั้นก็เดินไปข้าง ๆ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ "พระสนมเอก"เพราะฤทธิ์สุรา ท้าวศรีฯ เห็นศรีปราชญ์มายืนข้างๆก็ไม่พอพระทัยจึงว่าศรีปราชญ์เป็นโคลงว่า
หะหายกระต่ายเต้น...........ชมจันทร์
มันบ่เจียมตัวมัน...............ต่ำต้อย
นกยูงหากกระสัน.............	ถึงเมฆ
มันบ่เจียมตัวน้อย.............ต่ำเตี้ยเดียรฉาน ฯ
ศรีปราชญ์ได้ยินดังนั้นก็รู้ว่าพระสนมเอกได้หาว่าตนเป็นเดียรฉานจึงย้อนไปเป็นโคลงว่า
หะหายกระต่ายเต้น..........ชมแข
สูงส่งสุดตาแล...................สู่ฟ้า
ระดูฤดีแด.......................สัตว์สู่ กันนา
อย่าว่าเราเจ้าข้า...............	อยู่พื้นดินเดียว ฯ
สนมเอกได้ฟังก็ไม่พอพระทัยจึงไปทูลฟ้องสมเด็จพระนารายณ์ฯ พระองค์จึงให้จำขังศรีปราชญ์ในคุกหลวงแต่ไม่ต้องไปทำงานเหมือนนักโทษคน อื่นๆ พระยารามเดโช ซึ่งเคยแค้นเคืองศรีปราชญ์  มาก่อน เห็นดังนั้นจึงให้ศรีปราชญ์มาทำงานเหมือนนักโทษคนอื่นๆ โดยใช้ให้ไปทำงานขุดคลอง  ทางสนมเอกฯ ได้ข่าวก็เสด็จไปที่ที่ศรีปราชญ์ขุดคลองอยู่ เมื่อพระสนมเอกได้ตรัสว่าศรีปราชญ์สมพระทัยแล้วจึงเสด็จกลับ แต่ต้องเดินสวนกลับทางที่ศรีปราชญ์กำลังขนโคลนอยู่นั้น  พวกนางรับใช้ของพระสนมเอกหมั่นไส้  จึงแกล้งขัดขาศรีปราชญ์ จนเสียหลักโคลนในมือศรีปราชญ์ จึงหกใส่พระสนมเอก  ซึ่งความผิดนี้มีโทษถึงประหาร แต่เนื่องจากพระโหราธิบดีได้เคยทูลขอกับสมเด็จพระนารายณ์ฯ ว่า หากเจ้าศรีฯทำผิดแล้วมีโทษถึงประหาร ขอพระราชทานให้ลดโทษเหลือเพียงเนรเทศ ดังนั้นสมเด็จพระนารายณ์ฯ จึงเนรเทศศรีปราชญ์ไปเมืองนครศรีธรรมราช 
 
ในระหว่างการเดินทางนั้น เชื่อกันว่า ศรีปราชญ์ได้แต่งโคลงกลอน ที่เรียกว่า "กำสรวลศรีปราชญ์" บรรยายถึงความรู้สึก ที่ต้องพลัดพรากจากบิดามารดา บ้านเรือนที่สุขสบาย องค์พระนารายณ์เจ้าชีวิต ตลอดจน นางอันเป็นที่รัก เอาไว้น่าฟังมาก ถือเป็นเพชรเม็ดงามของวรรณคดีไทยชิ้นหนึ่งในยุคปัจจุบัน  (แต่ ได้มีผู้โต้แย้ง เช่น พ. ณ ประมวลมารค หรือ หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี  ว่า”กำสรวลศรีปราชญ์”ผู้แต่งไม่น่าจะใช่ศรีปราชญ์ เพราะดูบริบทแล้วผู้แต่งน่าจะเป็น สมเด็จพระบรมราชาธิราช พระราชโอรส ในสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ มากกว่า – ซึ่งผมจะหาเวลา เรียบเรียงมาอีกครั้ง หากเวลาเอื้ออำนวย)
  
เมื่อศรีปราชญ์ได้เดินทางไปถึงเมืองนครศรีธรรมราชแล้ว ก็ได้รับการต้อนรับขับสู้อย่างดีจากเจ้าพระยานครฯ ให้อยู่รับราชการด้วยกัน  เพราะถึงอย่างไร ศรีปราชญ์นั้น     แม้จะถูกเนรเทศ แต่ก็ไม่ได้ถูกปลดจากตำแหน่งหรือลดศักดินาให้ลงไปเป็นไพร่เหมือนอย่างนักโทษทั่วไป 
การเสียชีวิต
ที่เมืองนครศรีธรรมราชนี้เองที่ศรีปราชญ์สามารถแสดงทักษะด้านกวีได้อีก เช่นกัน เพราะว่าท่านเจ้าเมืองเองก็มีใจชอบด้านกวีอยู่แล้ว และด้วยความเป็นอัจฉริยะของศรีปราชญ์นี้เองที่ทำให้ท่านเจ้าเมืองโปรดปราน เขา แต่แล้วศรีปราชญ์ไปมีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับภรรยาน้อยของท่านเจ้าเมือง เข้า ท่านเจ้าเมืองโกรธมากและหึงหวงภรรยาน้อย จึงสั่งให้นำตัวศรีปราชญ์ไปประหารชีวิต ศรีปราชญ์ประท้วงโทษประหารชีวิตแต่ท่านเจ้าเมืองไม่ฟัง ซึ่งปัจจุบันเชื่อกันว่าสถานที่ใช้ล้างดาบที่ใช้ประหารชีวิตศรีปราชญ์นั้น ตั้งอยู่ภายในโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรรมราช เรียกว่า "สระล้างดาบศรีปราชญ์และก่อนที่เพชฌฆาตจะลงดาบประหารศรีปราชญ์  ในลานประหารที่เป็นเนินดินปนทราย ศรีปราชญ์ได้ใช้หัวแม่เท้าเขียนบทโคลงสี่สุภาพเป็นบทสุดท้ายไว้กับพื้นธรณี ใจความว่า
ธรณีนี่นี้................เป็นพยาน
เราก็ศิษย์มีอาจารย์...........หนึ่งบ้าง
เราผิดท่านประหาร............เราชอบ
เราบ่ผิดท่านมล้าง..............ดาบนี้คืนสนอง ฯ
ในขณะที่ถูกประหารชีวิตนั้นศรีปราชญ์มีอายุประมาณ 30 หรือ 35 ปี  หลังจากศรีปราชญ์เสียชีวิตลง  อยู่มา วันหนึ่ง เมื่อพระนารายณ์ทรงแต่งโคลงกลอนติดขัดหาคนแต่งต่อให้ถูกพระทัยไม่ได้ ก็ทรงระลึกถึงศรีปราชญ์ จึงตรัสให้มีหนังสือ เรียกตัวกลับกรุงศรีอยุธยา และเมื่อพระองค์ทรงทราบข่าวว่า ตอนนี้ศรีปราชญ์ได้เสียชีวิตไปแล้วด้วยต้องโทษประหารจากเจ้าพระยานครศรีธรรมราช พระองค์ทรงพระพิโรธเจ้าเมืองนคร ฯ ผู้ซึ่งกระทำการโดยปราศจากการขอพระราชทานความเห็นชอบของพระองค์  ทรง ตรัสว่า "อ้ายพระยานครศรีฯ มันถือดีอย่างไร?  ที่บังอาจสั่งประหารคนในปกครองของกูโดยไม่ได้รับอนุญาต ความผิดของอ้ายศรีฯ นั้น ขนาดมันล่วงเกินกูในทำนองเดียวกัน กูยังไว้ชีวิตมันเลย    ไม่ได้การไอ้คนพรรค์นี้เอาไว้ไม่ได้ "   และยิ่งพระองค์ได้ทรงทราบถึงโคลงบทสุดท้ายของศรีปราชญ์จึงมีพระบรมราชโองการ ให้นำเอาดาบที่เจ้าพระยานคร ฯ ใช้ประหารศรีปราชญ์แล้วนั้น  นำมาประหารชีวิตเจ้าพระยานคร ฯ ให้ตายตกไปตามกัน สมดังคำที่ศรีปราชญ์เขียนไว้เป็นโคลงบทสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิตว่า “ ดาบนี้คืนสนอง ”
หลังจากที่ผมได้มีการ เรียบเรียงประวัติ สุนทร “ภู่” ในโอกาส วันสุนทร “ภู่”  เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ที่ผ่านมา คุณ ราชิการได้แนะนำให้ผมเรียบเรียง ประวิติ กวีสำคัญๆ ท่านอื่นๆอีก ผมเห็นว่าเป็นข้อแนะนำ ที่ดี จึงได้ พยายามรวบรวมและเรียบเรียง ประวัติ ของ ศรีปราชญ์ ในครั้งนี้ ขอขอบคุณ คุณราชิกา ที่ได้ให้คำแนะนำในครั้ง นี้ ด้วย ครับ 
คน กุลา
เรียบเรียง
อ้างอิง
•	http://www.lokwannakadi.com/neo/shlumnum.php?ID=23
•	http://th.wikipedia.org/wiki
•	http://www.skn.ac.th/skl/project/nitan482/nu18.htm				
comments powered by Disqus
  • กิ่งโศก

    4 กรกฎาคม 2554 11:37 น. - comment id 33917

    ขอบคุณ คุณลุงกุลา เป็นอย่างมากครับสำหรับ ข้อมูล
  • กลั่นแก้ว

    3 กรกฎาคม 2554 20:17 น. - comment id 33992

    สวัสดีค่ะคุณคนกุลา29.gif1.gif
    ได้ความรู้เรื่องประวัติศรีปราชญ์จากที่นี่เลยนะค่ะ
    อ่านเพลินเลยค่ะเอาประวัตศาสตร์มาเล่าอีกนะค่ะชอบจังเลยค่ะ
    46.gif46.gif46.gif1.gif1.gif1.gif
  • แก้วประภัสสร

    3 กรกฎาคม 2554 20:38 น. - comment id 33993

    ขอบคุณที่นำสาระดีๆมาให้ทุกคนอ่าน
    และได้ศึกษาเสมอๆค่ะคุณลุง
    รักษาสุขภาพนะคะ
    29.gif29.gif36.gif16.gif
  • สุญญะกาศ

    3 กรกฎาคม 2554 21:54 น. - comment id 34001

    วาสนาได้อ่านข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ได้อย่างเห็นภาพ และใจจดจ่อเลยครับ
      กราบขอบคุณมากๆ  จากดวงใจจริง
      ขอสุขภาพท่านแข็งแรงนะครับ
    
    29.gif36.gif36.gif16.gif16.gif
  • คน กุลา

    9 กรกฎาคม 2554 12:19 น. - comment id 34041

    สวัสดีค่ะคุณคนกุลา
    ได้ความรู้เรื่องประวัติศรีปราชญ์จากที่นี่เลยนะค่ะ
    อ่านเพลินเลยค่ะเอาประวัตศาสตร์มาเล่าอีกนะค่ะชอบจังเลยค่ะ
    
    กลั่นแก้ว
    
    ..............................
    
    ยินดี ที่เป็นประโยชน์ ครับ
    แล้วจะค่อยทะยอยเขียนมาอีกหากมีเวลา ครับ
    
    36.gif36.gif36.gif36.gif
  • คน กุลา

    9 กรกฎาคม 2554 12:21 น. - comment id 34042

    ขอบคุณที่นำสาระดีๆมาให้ทุกคนอ่าน
    และได้ศึกษาเสมอๆค่ะคุณลุง
    รักษาสุขภาพนะคะ
    แก้วประภัสสร
    
    .............................
    
    ด้วยความยินดี ครับ 
    
    ขอบคุณ ครับ
    
    หลานแบม
    
    36.gif36.gif36.gif
  • ณ สำหรับคำอวยพร ครับ

    9 กรกฎาคม 2554 12:22 น. - comment id 34044

    วาสนาได้อ่านข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ได้อย่างเห็นภาพ และใจจดจ่อเลยครับ
      กราบขอบคุณมากๆ  จากดวงใจจริง
      ขอสุขภาพท่านแข็งแรงนะครับ
    
    # สุญญะกาศ
    
    ..........................
    
    ด้วยความยินดี ครับ 
    
    ขอบคุ
  • คน กุลา

    9 กรกฎาคม 2554 12:23 น. - comment id 34045

    วาสนาได้อ่านข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ได้อย่างเห็นภาพ และใจจดจ่อเลยครับ
      กราบขอบคุณมากๆ  จากดวงใจจริง
      ขอสุขภาพท่านแข็งแรงนะครับ
    
    # สุญญะกาศ
    
    ..........................
    
    ด้วยความยินดี ครับ
    
    ขอบคุณ สำหรับคำอวยพร ครับ
    
    1.gif1.gif1.gif
  • คน กุลา

    9 กรกฎาคม 2554 12:26 น. - comment id 34046

    ขอบคุณ คุณลุงกุลา เป็นอย่างมากครับสำหรับ ข้อมูล
    กิ่งโศก
    
    ..............................
    
    ด้วยความยินดี ครับ 
    
    สบายดีนะครับ หลาน กิ่งโศก
    
    1.gif1.gif1.gif
  • อริสา

    4 กันยายน 2554 22:01 น. - comment id 34600

    สวัสดีค่ะ คุณลุงกุลา หนูได้อ่านแล้วมันดีมากเลยค่ะ
    รักษาสุขภาพด้วยนะค่ะ10.gif12.gif
  • จีน่า ชลบุรี

    10 มกราคม 2555 13:29 น. - comment id 36831

    ได้ความรู้มาก ๆ เลยค่ะ ขอบคุณนะคะที่นำประวัติท่านศรีปราชญ์มาลงให้อ่าน
  • น้องเบญ

    1 ตุลาคม 2555 11:37 น. - comment id 37103

    เป็นเรื่องที่ทุกคนควรรู้เช่กัน   6.gif
  • 0881686313

    2 ตุลาคม 2555 21:14 น. - comment id 37104

    โอ่่ท่านศรัยอดกวี ศรีเมืองปราชญ่้๊๋็์
  • ด.ญ.ศศินา มะ ลิเผือก

    20 กรกฎาคม 2555 08:24 น. - comment id 37253

    16.gif16.gif31.gif
  • papaanan

    31 กรกฎาคม 2555 22:44 น. - comment id 37301

    ขอบคุณครับ คุณศักดิ์ดา
    ที่เข้าไปให้ความกระจ่างใน gotoknow 29.gif
  • b บางเดือ

    10 สิงหาคม 2555 20:13 น. - comment id 37330

    ขอบคุณมากครับที่ให้ความรู้แก่ทุกคน
  • คนชอบศรีปราชญ์

    4 กรกฎาคม 2555 11:25 น. - comment id 37422

    ชอบมากครับ เป็นความรู้สำหรับการศึกษา
  • inlovevery_@hotmail.com

    10 กรกฎาคม 2555 22:19 น. - comment id 37475

    ขอหนังการ์ตูนเรืองศรีปราชญ์หน่อยคัฟ
  • tanaporn

    12 กรกฎาคม 2555 18:49 น. - comment id 37478

    น่าค้นหามากค้า....1.gif1.gif31.gif31.gif30.gif29.gif36.gif38.gif38.gif57.gif48.gif33.gif59.gif
  • กิ่งเด็กไตรภูมิ

    24 พฤษภาคม 2555 16:12 น. - comment id 37842

    ยังงงยู่ว่าทำไม่เด็กกัลยาณีถึงได้จมน้ำตายเดือนละคนสองคนละคะ16.gif47.gif47.gif
  • พนักงานราชการ สระแกว

    29 พฤษภาคม 2555 22:54 น. - comment id 38028

    ผมกำลังอ่านหนังสือสอบบรรจุเลยคับ
    พอดีมีคำกล่าวว่า ศรีปราชญ์แต่งหนังสือจินดามณี
    เลยหาประวัติ ศรีปราชณื ประดับความรู้ 
    
    ขอบคุณมากครับ
  • นักเลงกลอน

    13 ตุลาคม 2555 01:24 น. - comment id 38201

    ขอแสดงความคิดห็น ต่อท่านคนกุลา ตามที่ข้าพเจ้าได้ทราบมานั้น ศรีปราชญ์เป็นเรื่องนวนิยายของคนในสมัยท่านครูสุนทรภู่ โดยตัวละครศรีปราชญ์นั้น ก็มีเค้าโครงมาจากชีวิตจริงของท่านเอง ยิ่งตอนศรีปราชญ์ถูกเนรเทศนั้นยิ่งเหมือนชีวประวัติท่านตอนสิ้นไร้แทบไม่มีแผ่นดินจะอยู่ ถูกผิดอย่างไร ช่วยแจ้งเพื่อควมกระจ่างด้วยนะขอรับ
  • ปรมาภรณ์

    14 พฤศจิกายน 2555 10:24 น. - comment id 38458

    สนุกมากเเลค่ะ1.gif
  • peiw

    21 พฤศจิกายน 2555 15:40 น. - comment id 38472

    ผมชอบมาก จาก ส ป ป ลาว
  • ครู อมรรัตน์

    18 ธันวาคม 2555 13:04 น. - comment id 38567

    ขอบคุณมากคะที่นำสิ่งดีๆมาแบ่งปันเพื่อนๆ
  • นายมหา บ้านหลังเขา ฯ

    8 มกราคม 2556 10:29 น. - comment id 38791

    เรียบเรียงได้สั้น ๆ ง่าย ๆ แต่เข้าใจได้ลึกซึ้งดีมาก ๆ เลยครับผม อนุโมทนาใน ปุญญปัญญา เป็นอย่างยิ่งครับผม
  • สมพร โมสิกะ สงขลา

    25 มีนาคม 2556 17:55 น. - comment id 42432

    ประวัติสรีปราชญ์เป็นเสมือนปรัชญาคำสอนให้รู้จักผิดชอบชั่วดีในการกระทำให้ข้อคิดได้ดีมากว่าเมื่อมีอำนาจอย่าได้เหลิงกับอำนาจ...อยากให้นำบท(กำสรวลศรีปราชญ์)มาลงให้ด้วยเคยได้ยินแต่ชื่ออยากรู้ว่าโคลงกลอนจริงๆจะไพเราะขนาดใหน

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน