สุดคลองบางกอกน้อย... พายเรือตามหาบัวลอย จนเหงื่อพี่ย้อยโซมกาย ปากพี่ตะโกนกู่ ถึงยอดชู้ เพื่อนร่วมกาย ไม่รู้ว่าเจ้าจมหาย ลอยไปแห่งใดเล่าหนา ใจพี่แทบขาดแล้ว... มือคงยังจ้ำยังแจว ตามหานางแก้วดวงตา ศพน้องเจ้าลอยล่อง อยู่ใต้ท้องสุธารา หรือว่าลอยออกนอกเจ้าพระยา จึงค้นหาไม่พบศพบัวลอย โถ เจ้าว่ายน้ำไม่เป็น ยังลงว่ายเล่น เพียงเห็นชื่นเย็นนิดหน่อย น้ำเชี่ยวยิ่งเหลือ เจ้าจึงเป็นเหยื่อ คลองบางกอกน้อย จิตใจพี่ให้เศร้าสร้อย ถึงบัวลอย แม่จอมขวัญ สุดหล้าสุดฟ้าเขียว... เธอเป็นแม่พระองค์เดียว ที่เหนี่ยวใจรักคงมั่น เจ้าสิ้นใจต่อหน้า ด้วยพี่คว้าเจ้าไม่ทัน เหมือนพี่พิฆาตเด็ดดวงชีวัน จอมขวัญนงนุช สุดบูชา ...จากกระทู้ก่อนเรื่องบทเพลง สดุดกับเพลงนี้แหละครับ ศพลอย หรือ เปลี่ยนเป็น บางกอกน้อย" หากสดับฟังจักรู้สึก โศกอาดูร ไปกับการสูญเสีย นางอันเป็นที่รัก ที่จมน้ำตาย...แต่ เพลงนี้ ประดามีคณะตลกหลายคณะ เอามาล้อเล่นเชิงตลกขบขัน กันพอสมควร เช่น.. สุดคลองบางกอกน้อย... พายเรือตามหาบัวลอย จนเหงื่อพี่ย้อยโซมกาย ..ก็มันสุดคลอง แล้ว จะพายไปต่อได้หรือ นั่น 555 โถ เจ้าว่ายน้ำไม่เป็น ยังลงว่ายเล่น เพียงเห็นชื่นเย็นนิดหน่อย น้ำเชี่ยวยิ่งเหลือ เจ้าจึงเป็นเหยื่อ คลองบางกอกน้อย จิตใจพี่ให้เศร้าสร้อย ถึงบัวลอย แม่จอมขวัญ ......................... ว่ายน้ำไม่เป็นแล้วยังจะไปเล่นน้ำที่กำลังเชี่ยวทำไม ละ น้องบัวลอย..เอ๋ย...บัวลอย เธอเป็นแม่พระองค์เดียว ที่เหนี่ยวใจรักคงมั่น เจ้าสิ้นใจต่อหน้า ด้วยพี่คว้าเจ้าไม่ทัน เหมือนพี่พิฆาตเด็ดดวงชีวัน จอมขวัญนงนุช สุดบูชา . กรรมของนางสาวบัวลอย ที่ได้แฟนแบบนี้ ขนาด เห็นจะ จะ ต่อหน้า ยังคว้าไม่ทัน ...กำ เง้อ....แฟนบัวลอย ชื่อ ย้อย เพราะ ประโยคนี้...จนเหงื่อพี่ย้อยโซมกาย.... เข้าเรื่องดีกว่าครับ..คลองบางกอกน้อย ทีอยู่ในกลางมหานคร...กรุงเทพฯ .. อ่านเจอว่า คลองนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่..สมัยอยุธยา และโดยกษัตริย์ ของกรุงศรีอยุธยา เป็นผู้ให้ขุดคลอง นี้.. อ้างอิงข้อความเหล่านี้ แม่น้ำเจ้าพระยาดั้งเดิม กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีพระอธิบายว่า ลำน้ำเจ้าพระยาเดิมตั้งแต่ปากน้ำเจ้าพระยาเดิมขึ้นมาตามแม่น้ำทุกวันนี้ จนถึงคลองบางกอกใหญ่ (หรือที่เรียกกันว่า คลองบางหลวง) ในระหว่างวัดอรุณ ฯ กับวัดกัลยาณ์ ฯ ที่วัดกัลยาณ์เองเป็นตัวแม่น้ำ ตลิ่งอยู่ที่กุฎีจีน คือศาลเจ้าเจ็กอยู่ติดข้างใต้วัดกัลยาณ์เดี๋ยวนี้ ลำแม่น้ำเดิมเข้าทางบางกอกใหญ่ไปเลี้ยวบางระมาด ตลิ่งชัน วกมาออกคลองบางกอกน้อย ขึ้นทางสามเสน (พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ภาคต้น 2505 หน้า 487) ประเด็นเกี่ยวกับแม่น้ำเจ้าพระยาสายดั้งเดิมของกรุงเทพ ฯ มีข้อความอธิบายอีกอย่างหนึ่งซึ่งบางทีอาจจะช่วยให้ชัดเจนมากยิ่งขี้น ดังนี้ อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม (รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชามนุษยวิทยาและโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร) อธิบายว่า "ตำบลบางกอก" อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใกล้อ่าวไทย เป็นบริเวณที่ลำแม่น้ำเจ้าพระยาไหลคดเป็นรูปโค้งเกือกม้า (OXBOW LAKE) กล่าวคือเมื่อแม่น้ำไหลมาจากทิศเหนือผ่านเขตจังหวัดนนทบุรี มาถึงสถานีรถไฟบางกอกน้อย ก็ไหลวกไปทางทิศตะวันตก กลายเป็นคลองบางกอกน้อย พอถึงบางระมาดก็ไหลวกลงใต้ กลายเป็นคลองบางระมาดมาถึงวัดนวลนรดิศแล้ววกมาทางตะวันออกเป็นคลองบางกอกใหญ่ เมื่อมาถึงวัดอรุณราชวรารามก็วกไหลเรื่อยลงไปทางทิศใต้จนออกทะเลที่ปากแม่น้ำ การที่ลำแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมไหลคดเคี้ยวเป็นรูปโค้งเกือกม้านั่นเอง เป็นเหตุให้สองฟากแม่น้ำคดโค้งนี้กลายเป็นที่ดอนขึ้นมา อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากแม่น้ำนำตะกอนจากที่ต่าง ๆ ทางเหนือมาทับถมทุกปีในฤดูน้ำหลาก จึงเหมาะแก่การตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัย อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม อธิบายเพิ่มเติมอีกว่าสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ชุมชนย่านบางกอกนี้มีความเจริญและพัฒนาขี้นเป็นศูนย์กลางของประเทศได้ ก็เพราะมีลำน้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อทั้งภายในภายนอกได้สะดวก ในบรรดาบ้านเมืองสำคัญ ๆ ในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18-19 ด้วยกันแล้ว จะเห็นว่าพระนครศรีอยุธยาอันเป็นราชธานีของไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 ลงมานี้ จำเป็นต้องอาศัยลำแม่น้ำเจ้าพระยานี้เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญที่สุด ดังนั้นการเดินลงเรือจากปากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อจะเข้าไปยังพระนครศรีอยุธยาจึงต้องผ่านชุมชนที่เป็นบ้านเมืองขึ้นไปเป็นระยะ ๆ เมื่อเดินทางเข้าปากแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นมาแล้ว ก็จะถึงชุมชนย่านบางกอก เป็นแหล่งพักสินค้าได้ดีที่สุด เพราะเส้นทางน้ำที่จะเดินทางต่อไปไม่สะดวกเนื่องจากลักษณะคดและโค้งของแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมดังกล่าวมาแล้วจะต้องเสียเวลาอีกมากนักเพราะฉะนั้นจึงต้องจอดพักกันที่ย่านบางกอกกันก่อน ในที่สุดย่านบางกอกก็ยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น และชุมชนก็ยิ่งขยายใหญ่มากขึ้นตามไปด้วย ความสนใจที่พระนครศรีอยุธยามีต่อ บางกอก นั้น มีหลักฐานปรากฎอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ตรงกันเกือบทุกฉบับว่า....... "ศักราช 884 ปีมะโรง จัตวาศก ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระไชยราชาธิราชเจ้านั้น ก็ได้ขุดคลองบางกอกใหญ่ตำบลหนึ่ง" (พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ 2515 หน้า 580) ข้อความในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยามีเพียงเท่านี้เอง ซึ่งดูแล้วไม่น่าจะมีสาระสำคัญใด ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วเรื่อ่งนี้มีความสำคัญต่อความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมืองในยุคดังกล่าวมาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีความสำคัญต่อฐานะความก้าวหน้าของตำบลบ้านย่านบางกอก เพราะนี่คือหลักฐานที่ระบุว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยาโปรดให้ขุดคลองลัดบางกอกใหญ่ตรงส่วนที่แคบที่สุด ที่ทุกวันนี้เรียก ปากคลองบางกอกน้อยไปถึงคลองบางกอกใหญ่ และปัจจุบันนี้กลายเป็นลำแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงตั้งแต่หน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือหน้าสถานีรถไฟในบางกอกน้อย ไปจนถึงวัดอรุณราชวราราม ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาสายดั้งเดิม ที่ย่านย่านบอกกอกก็แคบลง กลายเป็นคลองดังที่เรียกกันทุกวันนี้ว่า "คลองบางกอกน้อย" และ "คลองบางกอกใหญ่" แม่พระราชพงศาวดารจะระบุปีที่ขุดคลองลัดนี้ว่า "ศักราช 884 ปีมะโรง จัตวาศก" ซึ่งเทียบได้ตรงกับ พ.ศ.2065 แต่จะเอาแน่นอนนักก็ไม่ได้ เพราะโอกาสคลาดเคลื่อนย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ ส่วนที่แน่ ๆ คือ การขุดนี้เกิดขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระไชยราชาธิราช ที่ทรงครองราชสมบัติอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ระหว่าง พ.ศ.2077-2089 (และเป็นกษัตริย์ที่มีสนมเอกนามว่า เจ้าแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ นั่นเอง) สาเหตุที่สมเด็จพระไชยราชาธิราช โปรดให้ขุดคลองลัดบางกอกใหญ่ขึ้นนี้ อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม อธิบายต่อไปว่า ในสมัยนั้นการติดต่อกับต่างประเทศ เข่น จีน และ โปรตุเกส มีความสม่ำเสมอมากขึ้น ราชสำนักกรุงศรึอยุธยาจีงให้ความสำคัญในการอำนวยความสะดวกในเรื่องการคมนาคมเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงโปรดให้ขุดคลองลัดที่ย่านบางกอก เริ่มตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อย แล้วผ่านหน้าโรงพยาบาลศิริราชไปจนถึงคลองบางกอกใหญ่ ข้างวัดอรุณราชวราราม เมื่อกระแสน้ำมีร่องให้พุ่งตรง ซึ่งจะไหลคล่องกว่าการเลี้ยวลดคดโค้งไปตามเส้นทางเดิม กระแสน้ำจึงมีกำลังแรง สามารุทำให้คลองลัดขยายกว้างขึ้นด้วยการทำลายสองฟากตลิ่ง จนกลายเป็นลำแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นมาแทนสายเก่า ส่วนลำแม่น้ำเดิมก็แคบเข้าจงเหลือเป็นคลอง ดังที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ กล่าวกันว่า การขุดคลองลัดที่ย่านบางกอกนั้น ช่วยย่นระยะทางคมนาคมากทีเดียว เพราะแทนที่จะเสียเวลาพายเรือทั้งวันเพื่ออ้อมไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า ก็จะเหลือเพียงชั่วไปทันตั้งหม้อข้าวเดือด ผลที่ตามมาอย่างรวดเร็วก็คือ ย่านดังกล่าวกลายเป็นเกาะ และ ขยายชุมชนใหญ่ขึ้นเป็นบ้านเรือนและเรือกสวนมากมาย ในที่สุดก็กลายเป็น "เมือง" อยู่บริเวณสองฟากฝั่งคลองลัดที่กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา จากบทความนี้ จะเห็นได้ว่าพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ ทรงห่วงใยในอาณาประชาราษฎรของพระองค์ ทรงสดับตรับฟังทุกข์สุข ทรงฟังปัญหา ทรงแก้ปัญหาให้ประชาราษฎร์ของพระองค์ด้วยพระปรีชาญาณอันกว้างไกล เพื่อความผาสุกของประชาชน ในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จประไชยราชาธิราชทรงขุดคลองเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการคมนาคม จนเกิด "คลองบางกอกน้อย" ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงพระราชทานโครงการพระราชดำริเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรให้กับพสกนิกรชองพระองค์หลายโครงการด้วยกัน และโครงการขยายถนนบรมราชชนนีในเขตบางกอกน้อย ก็เป็นโครงการขยายถนนบรมราชชนนีในเขตบางกอกน้อย ก็เป็นโครงการตามพระราชดำริโครงการหนึ่งที่ทรงแนะนำเพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่เขตบางกอกน้อย นับเป็นพระมหากรุณาธุคุณแต่พสกนิกรของพระองค์อย่างล้นพ้น คลองบางกอกน้อยกับพุทธศาสนา คลองบางกอกน้อย เป็นเส้นทางร่วมในงานชักพระ วัดนางชี การชักพระวัดนางชีนั้นเมื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานยังบุษบกแล้ว ชักแห่ไปทางเรือ จากหน้าวัดนางชีไปทางคลองบางกอกน้อย ถึงวัดไก่เตี้ย เขตตลิ่งชัน ก่อนเพล เลี้ยงพระกันที่วัดไก่เตี้ย แล้วยกขบวนไปที่ปากคลองบางกอกน้อย มาตามแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าคลองบางกอกใหญ่ และวกเข้าคลองด่านกลับไปยังวัดนางชี งานนี้มีขึ้นมนวันแรม 2 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี เป็นงานประจำปี มีการละเล่นต่าง ๆ เช่น แข่งเรือ เพลงเรือ แห่ขบวนเรือบุปผชาติ เป็นต้น ขอบคุณ เวป กูเกิ้ล ฯ ที่ช่วยหา..อิอิ และ จากเวปนี้ http://203.155.220.217/bangkoknoi/travel/khalongbangkoknoi.htm http://www.dhammathan.net/radio/chaichana/bangkoknoi.wma
26 มกราคม 2553 16:24 น. - comment id 27078
ที่1
26 มกราคม 2553 16:24 น. - comment id 27079
ที่2 ด้วย วันนี้ว่างงาน
26 มกราคม 2553 16:28 น. - comment id 27080
คลองบางกอกน้อย มีประวัติมายาวนาน กษัตริย์ไทย หลายพระองค์ จะเสด็จเพื่อทำบุญและทอดกฐินทางคลองนี้ค่ะ ว่าแต่ บัวลอย แถว ตลาดพลู อร่อยนะคะ ไม่ต้องตามหาหรอกค๊า มาหาแบมจิ เดี่ยวพาไปหาบัวลอย ขอบคุณที่นำความรู้มาแบ่งปันกันอ่านค่ะ
26 มกราคม 2553 16:33 น. - comment id 27081
1 and 2 เง้อ ซุ่มแทนคุงน้องยาเหรอค๊า คุงน้อง ชอ กระ เชอ โอเคๆๆ ยอมๆๆ
26 มกราคม 2553 16:40 น. - comment id 27082
....... พี่ชายเรา เค้าว่างงาน อู้งานๆๆ ฟ้องๆๆๆๆ ฟ้องหัวหน้า
26 มกราคม 2553 18:07 น. - comment id 27086
ฟ้องเลย ด่วนๆๆ อู้ทั้งวัน ท่องเนตเป็นว่าเล่น...
26 มกราคม 2553 18:08 น. - comment id 27087
^ ^ ^ ว่าแต่คนอื่นเขา ฟ้องๆพี่เมี่ยง
26 มกราคม 2553 18:09 น. - comment id 27088
เจ๊ย ยา มาไมตอนนี้ฟระ จาน เดี๊ยะๆ ไม้เรียวเลย จิ้มผิดเลยดูจิ๊ ฮ่วย ไหนๆก็ไหนๆแระ จิ้มจานฝากไปถึงคนข้างบนแระกัน ฮ่า
26 มกราคม 2553 18:11 น. - comment id 27089
26 มกราคม 2553 18:11 น. - comment id 27090
1
26 มกราคม 2553 18:12 น. - comment id 27091
มิเสียแรง
26 มกราคม 2553 20:57 น. - comment id 27100
ดีมากครับ เอาความรู้ที่เปรียบเหมือนน้ำดีมาไล่น้ำเสียให้ค่อยๆเลื่อนลงไปพ้นเร็วๆ.... ไม่น่าเชื่อว่าแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงไหลผ่านธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์นั้นเป็นคลองขุดเพราะผ่ผานมา...500ปี...กลับใหญ่โตกว้างขวางจนแม่น้ำสายเดิมกลายเป็นคลองไปแล้ว....
26 มกราคม 2553 23:21 น. - comment id 27103
นำความรู้ สู่บ้านเรา ..เจ๊ย..บ้านกลอนตะหาก เนาะๆ ขอบคุณมากขอรับ
27 มกราคม 2553 03:08 น. - comment id 27105
แวะมาฟังเพลงค่ะ นานมากแล้วไม่ได้ฟัง คลองบางกอกน้อย สมัยก่อน ล่องเรือเที่ยว น้ำใส ชีวิตคนริมคลองเงียบสงบค่ะ พูดแล้วก็คิดถึงบ้านจังค่ะ
27 มกราคม 2553 10:24 น. - comment id 27109
ด้วยความขอบคุณทุกท่านที่เม้น และเข้ามาอ่านครับ อิอิ.... เขียนกระทู้ ใช้เวลาน้อยดีอะครับ...
27 มกราคม 2553 13:09 น. - comment id 27113
ได้ความรู้ดีคะชอบ