"สัมผัสซ้ำ-ซ้อน"

คนกุลา

สัมผัสซ้ำ-ซ้อน
ผมเองตั้งแต่เขียนกลอนมา ก็เคยได้ยินเรื่องสัมผัส ซ้ำ สัมผัสซ้อน แต่ก็ไม่ได้ค้นคว้าจริง จังนัก จนกระทั่ง ท่านพี่แก้วประเสริฐ  ติงเรื่องนี้ ขึ้น  ด้วยความอยากรู้จึงไปลองหาอ่าน ค้นคว้าเรื่อง สัมผัสซ้ำ สัมผัสซ้อน ตามสำนวน ของ ครูไท และ ม้าก้านกล้วย ซึ่งคิดว่า อาจจะมีประโยชน์ เลยเอามาขยายความไว้ที่นี่ หากท่านใดสนใจ และ มีบางแง่มุม ก็ลองแลกเปลี่ยนกันดูเผื่อ เป็นการเรียนรู้ร่วมกัน ต่อไปนะครับ 
สัมผัสซ้ำ
ครู ไท ท่านว่าไว้อย่างนี้ นะครับ
สัมผัสซ้ำ คือการเอาคำที่อ่านออกเสียงเหมือนกันมารับสัมผัสกัน ไม่ว่าคำนั้น จะมี หรือไม่มีความหมายต่างกันหรือไม่ก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น
รักของน้อง จริงใจ ไร้นัยแฝง
ไม่เคยแสร้ง หลอกลวง คอยห่วงหา
แม้พี่มี ไมตรีจิต คิดเมตตา 
ส่งสายตา มาด้วย ช่วยเจือจาน
จะเห็นได้ว่า คำว่า "เมตตา" ไม่ได้มีความหมายเดียวกับ "สายตา" เลย แต่เมื่อออกเสียงเหมือนกัน จับเอามาสัมผัสกัน จึงถือเป็นสัมผัสซ้ำ เป็นการผิดกติกา ที่ดูเหมือนเป็นกติกาสากลของนักกลอนไปแล้ว
ทำนองเดียวกับคำว่า ตา ในตัวอย่างที่ยกมาข้างต้น คำอื่น ๆ อาทิเช่น ใย (แมงมุม) กับ ไย (เหตุไฉน) , นัย (ตา) กับ ใน (ข้างใน) , กัลป์ กับ กัน, พรรณ กับ พันธุ์ และคำอื่น ๆที่ออกเสียงเหมือนกันแม้จะต่างความหมายก็ตาม
สำหรับ ม้าก้านกล้วย ท่านก็ว่า โดยยกจาก บทกลอน กาฝาก แบบนี้ ครับ
....มาแพร่พันธุ์ชันช่อบนกอก้าน 
หาอาหารจากน้ำเลี้ยงลำเลียงหลั่ง 
แซกไซร้ซอนชอนไชในต้นดั่ง 
แฝงฝากฝังเร้นเช่น(2) เป็นพุ่มพวย
....ต้นตั้งตาแสวงหาเผื่ออาหาร 
เพราะต้องการอยู่รอดไว้ใร้ใด(1) ช่วย
เพิ่มภาระให้แล้วยังใร้ ไม่อำนวย
อ่อนระทวยทอดร่างลงกลางดิน 
 กฎ สัมผัสซ้ำ คำว่า ไว้ และ ไร้ ใด ไม่สามารถส่งสัมผัสใน ทั้งหลัก ทั้งรอง พร้อมกันได้ (หากท่อนส่งมีสองคำ แล้วส่งมาโดยมีคำรับ 1 คำ ใช้ได้ เช่น คำว่า เร้นเช่น มาสัมผัสกับคำว่า เป็น พุ่มพวย) 
สัมผัสซ้อน คืออะไร ตัวอย่างนี้คงอธิบายได้ดี (สำนวนของครูไท ตอนเมาขี้ตา)
สมน้ำหน้า ตัวเอง อยากเร่งสอน
แม้ครึ่งค่อน ค่ำคืน ตื่นค้นคว้า
คอมฯเตรื่องเก่า บุโรทั่ง พังคาตา
เดี๋ยวก็ขึ้น จอฟ้า น่าเหนื่อยใจ
ประกาศแจ้ง ศิษย์รัก ให้รับรู้
ใช่แอบอู้ ถ่วงเวลา ก็หาไม่
เครื่องมันรวน ไม่ควรเร่ง ต้องเกรงใจ
ถ้าถึงขั้น ซื้อใหม่ ตังค์ไม่มี !
โปรดสังเกตคำว่า "ใจ" ในท้ายบทแรก ที่ส่งสัมผัสไว้ แล้วมารับด้วยคำว่า "ไม่" ในท้ายวรรคสอง แล้วก็ยังเอาคำว่า "ใจ" มารับสัมผัสที่คำท้ายวรรคสามของบทที่สองอีก
"บางสำนัก" ขอย้ำนะครับว่า บางสำนักเท่านั้น ที่ถือเอาการกระทำดังกล่าวเป็นข้อห้าม ถือเป็นสัมผัสซ้อน กล่าวคือ คำว่า "ไม่" ที่อยู่ตรงกลาง รับสัมผัสกับคำว่า "ใจ" ถึงสองแห่ง อย่างนี้เขาเรียกว่าสัมผัสซ้อน ถ้าเขียนเป็นแผนภูมิ จะได้ดังนี้ ใจ -- ไม่ -- ใจ ดังนี้ถือเป็นต้องห้าม แต่ก็มีบ้างบางสำนัก อนุโลมให้ใช้ได้ เพราะถือว่าไม่สัมผัสซ้ำ
และ "บางสำนัก" อีกนั่นแหละ ไปไกลถึงห้ามสัมผัสคำนั้นอีกในทุกวรรคของกลอนบทนั้นเลยด้วย เช่นจากตัวอย่าง ถ้าแก้วรรคที่สามและสี่เป็นดังนี้
..........................
เครื่องมันรวน ไม่ควรเร่ง เกรงมีภัย
จึงจนใจ ซื้อไม่ไหว เพราะมันแพง
ขนาดย้าย ใจ ลงมาไว้วรรคสุดท้ายของบทที่สองแล้ว ท่านก็ยังว่าไม่ได้อยู่ดี อะไรจะเคร่งครัดถนัดห้ามกันขนาดนั้นหนอ พ่อเจ้าประคุณเอ๋ย ห้าม ๆ กันเข้าไป ( ครูไท ท่านว่าไว้ อย่าง นั้น)
ส่วนม้าก้านกล้วย ท่านว่า อย่างนี้ ครับ
....จนไม้โศกสิ้นร่างลงกลางป่า(1) 
ด้วยหนักเหลือภา(2) ระจึงสูญสิ้น 
ไม่อาจหา(3) อาหารพอต่อชีวิน
เพราะกาฝากฝากกากินจนสิ้นใจ 
 
.ม้าก้านกล้วย ว่า กฎ สัมผัสซ้อน ในวรรครอง จะไม่ให้ใช้สัมผัสนอกวรรค เหมือนวรรครับ ( คำว่าป่า ที่จะมาสัมผัสกับคำว่า ภา แต่ไม่สัมผัส กลับลงมาสัมผัสกับคำว่า หา) (ม้าก้านกล้วย : กลอนกาฝาก)
ดังนั้น หากพอจะจับใจความได้ ว่า วัตถุประสงค์ ที่บรรดาสำนัก กลอน ต่างๆ ท่าน ห้ามสัมผัส ซ้ำ สัมผัสซ้อน เพราะจะทำให้ กลอนขาดความไพเราะ เป็น สำคัญ 
โดยสามารถ สรุป กรณี สัมผัส ซ้ำ  ใจความได้ดังนี้ 
1.	สัมผัสนอก ภายในบทเดียวกัน เป็นคำซ้ำ กัน ไม่ว่าจะมีความหมายต่างกัน หรือเหมือนกัน ก็ตาม
  บัวบังใบใยบานสีหวานล้ำ (1)
งามเลิศล้ำ (2)ย้ำใจหาไหนเหมือน (3)
งามแสนสุดผุดราวพราวพร่างเตือน
งามเสมือน (4) เยือนแดนแคว้นวิมาน (5)
จากตัวอย่าง ข้าง บน (1) กับ (2) และ (3) กับ (4) ถือเป็นการ สัมผัส ซ้ำ
2.	การสัมผัสระหว่างวรรค 
 
เมื่อคราไกลแก้วตาจวนลาล่วง
ราวจากดวงหทัยหมายบรรสาน
ฤๅได้เยือนผืนแผ่นแดนพิมาน (6)
หวังนงคราญชื่นชมภิรมย์ปอง
กรณีนี้ เป็น สองความเห็น บางความเห็นว่า สัมผัส (5) จาก ข้อ 1 กับ (6) ในข้อ 2 นั้นห้ามใช้  เพราะว่าเป็น สัมผัส ซ้อน บางสำนักไม่ห้าม แต่ส่วนตัวผม คิดว่า มันไม่ค่อย ไพเราะ เลย ไม่ทำ ส่วนท่านอื่น ก็แล้วแต่จะพิจารณาดู นะครับ
3.	การสัมผัส ใน ที่ คำหนึ่ง ส่ง สอง สัมผัส เช่น
  เมื่อได้พบสบตา (7)มาลา (8)หนี
ลืมจำปีที่เคยเชยเพียงสอง
ชื่นชมดวงดารา (9) ครา (10)เคียงครอง
สร้างครรลองสุขศรีทุกวี่วัน
กรณี สัมผัส ใน (7) กับ (8) นั้น เป็น สัมผัส ซ้ำ 
ส่วนกรณี  ท่อนส่ง สองคำ ส่ง ไปสู ท่อนรับ หนึ่ง คำ (9) กับ (10) นั้นใช้ได้
4.	สัมผัส อีก ชนิดหนึ่ง ที่เข้าข่าย สัมผัส ซ้อน คือ
  การนำเอา สัมผัสนอก ไปรับ รอง เช่น
	ด้วยได้หวังไว้ว่าคราคราวใหม่ (11)
เก็บดวงใจ (12)ใครหนาคราสุขสันต์
เพ็ญยองใย (13)ในนภาคราพบกัน
คงมุ่งมั่นจิตตรึงส่งถึงกัน
จาก ท้าย วรรคสดับ ที่ 11 ส่งไป สู่สัมผัสบังคับ ที่ 12 ในวรรค รับ ส่วนสัมผัส ที่ 13 ในวรรค รอง เป็นสัมผัส ที่เกินมา ถือเป็น สัมผัส ซ้ำ
สัมผัส เรื่อง การเขียน กลอน เรื่องสัมผัส ซ้ำ สัมผัส ซ้อน ผมถือว่า สำคัญ และน่าสนใจ ที่จะส่งผลให้กลอน ไพเราะ หรือ ลดความ ไพเราะลง แต่ อันไหน เป็น สัมผัส ซ้ำ อันไหน เป็น สัมผัส ซ้อน นั้น อาจจะทำให้ สับสน พอสมควร เอาเป็นว่า สำหรับ ผม ขอทำความเข้าใจ รวมๆ ว่า สัมผัสซ้ำซ้อน น่าจะเข้าใจง่ายกว่า รวมทั้งสะดวก
ในการนำไปปฎิบัติ ในเวลา เขียนกลอนนะครับ
คนกุล
ต้นเหมันต์				
comments powered by Disqus
  • คนกุลา

    24 พฤศจิกายน 2552 11:58 น. - comment id 26107

    ขอบคุณ ครับ คุณกิติกานต์ ผมตั้งใจจะเขียน
    อีกหลายเรื่องที่เกี่ยวกับกลอน รวมทั้ง เรื่อง สัมผัสเลือน และการชิงสัมผัส นี้ ด้วยนะครับ
    หากว่าเวลา เอื้ออำนวย แต่ก็ทำไปด้วยความสนใจ ใคร่รู้ส่วนตัวเป็นสำคัญ นะครับ
    
    36.gif1.gif36.gif
  • คนกุลา

    24 พฤศจิกายน 2552 12:00 น. - comment id 26114

    ดีแล้ว หละ ครับ ปราง ผมเองก็พยายามไปหาอ่านด้วยความสนใจ และเห็นว่ามีประโยชน์ เลยนำมาถ่ายทอด ต่อ นะครับ  
    
    36.gif1.gif36.gif
  • ราชิกา

    23 พฤศจิกายน 2552 20:36 น. - comment id 26126

    ....สัมผัสซ้ำ-ซ้อน"...เป็นเรื่องที่สำคัญเรื่องหนึ่ง..ในการเขียนงาน..ประพันธ์..ที่จะให้เกิดความไพเราะ..และสวยงาม.....หากหลีกเลี่ยงได้..ก็ควรหลีกเลี่ยง..แต่หลีกเลี่ยงไม่ได้..ก็คงไม่ผิดมาก..เพียงแต่..บทประพันธ์นั้น...อาจจะไม่ไพเราะ..เท่าที่ควร...
    
    ราชิกา..คิดว่า..อยู่ที่ดุลยพินิจ...และความละเอียดอ่อน...ของนักกลอนแต่ละท่าน..ที่จะรังสรรค์ผลงาน...ให้สังคมได้รับทราบ...แนวคิดและหลักการของแต่ละคน..อาจแตกต่างกัน..แต่คงความถูกต้องของฉันทลักษณ์ไว้....
    
    ขอบคุณ..คุณคนกุลา..ที่นำความรู้นี้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ราวมกันค่ะ......
    
    36.gif16.gif36.gif
  • กิตติกานต์

    23 พฤศจิกายน 2552 21:01 น. - comment id 26127

    เข้ามาอ่านทบทวนความรู้ค่ะ
    บางทีก็หลงลืมใช้บ้างค่ะ
    
    
    นอกจากนี้แล้ว
    กิตติกานต์เคยถูกติงเรื่อง
    สัมผัสเลือน และ การชิงสัมผัสด้วยนะคะ
    
    >>> สัมสัมเลือน ซึ่งเป็นจังหวะตกของเสียงอ่าน  ๓/๒/๓  หรือ ๓ /๓/๓  
    
    
    ...พักเถิดหนาดวงใจให้หายล้า
    ค่อยฟันฝ่าโลกกว้างทางฝันใฝ่
    มหานทีลึกล้ำหากข้ามไป
    อาจจมได้/หากไม่/ระวังตน
    
    ในบทนี้ วรรคส่ง 
    ที่คำว่า" ไม่" จะนับว่าทำให้สัมผัสเลือน
    เพราะเป็นจังหวะตกของเสียงอ่าน
    ๓/๒/๓ ค่ะ
    
    >>>การชิงสัมผัส เช่น
    
    ...บนถนนสายนี้คลุกคลีฝุ่น
    แต่เคยคุ้นชินชามาแต่หลัง
    ทั้งรักโลภ โกรธหลงปนชิงชัง
    ระไวระวังยังพลั้งพลาดแทบขาดใจ
    
    ในบทนี้  สังเกตที่วรรครับ คำสุดท้าย "หลัง"
    ต้องสัมผัสกับ "ชัง"
    แต่ก่อนจะถึงคำรับสัมผัสที่ ชัง
    ก่อนชัง ในวรรคเดียวกัน
    มีคำที่ใช้สระเดียวกัน คือคำว่า "ทั้ง"
    ทั้ง   จึงเป็นการชิงสัมผัสค่ะ
    
    
    ทั้งสัมผัสเลือน และ การชิง สัมผัส นั้น
    กิตติกานต์ถูกติง ในการไปเข้าค่ายวรรณศิลป์ ที่โคราช กับ สโมสรชมรมเทพศรีกวีศิลป์ค่ะ   ก็หลายปีแล้ว
    ได้ความรู้มามากเลย
    
    
    สโมสรชมรมเทพศรีกวีศิลป์ จะเดินสายอยู่บ่อยๆ
    หากมีโอกาส ลองไปพบปะเข้าค่ายนี้นะคะ
    สนุกมากๆค่ะ
    
    ขอบคุณค่ะ
    
    
    
    
    
    36.gif11.gif
  • ปรางทิพย์

    24 พฤศจิกายน 2552 01:20 น. - comment id 26131

    ปรางอ่านกลับไปมา สามรอบค่ะ
    เพราะสไตล์การเขียนกลอนของปรางเอง
    เป็นไปตามครูท่านฯ  คือสัมผัสนอกใน
    ซึ่งในจุดนี้ปรางถือว่ายากมาก ในการหาคำ
    ให้มาสัมผัส ครูท่านฯ จะสั่งสอนให้นึกถึง
    ความหมาย และความจริงเป็นหลักด้วย
    
    คุณคนกุลา ช่วยชี้แนะแบบนี้ ทำให้เพิ่มจุด
    ที่จะต้องระวังมากขึ้น  ถือว่าให้ความรู้ต่อยอดค่ะ
    ต่อไปปรางจะระวังให้มากขึ้นค่ะ
    
    และเพื่อน ๆ ที่ให้ความเห็น ปรางอ่านของทุกท่าน
    ถือว่าเป็นแหล่งความรู้ค่ะ
    29.gif29.gif36.gif36.gif36.gif
  • เสมอจุก

    23 พฤศจิกายน 2552 18:36 น. - comment id 26132

    ใช่แล้วครับ เห็นจะจริงอย่างที่พี่กุลาว่า งานเขียนบทกวีสั้นๆของนักเขียนมีชื่อสมัยนี้ก็พยายามเลี่ยงคำซ้ำคำซ้อนกัน มีให้เห็นบ้างแต่น้อยและอยู่ห่างๆอย่างที่พี่ว่านั่นแหละครับ แต่หากหาคำลงไม่ได้จริงๆก็ใช้ได้ เพราะถือว่ายังอยู่ในฉันทลักษณ์ นะครับ
      
    ด้วยความเคารพ
  • อัลมิตรา

    23 พฤศจิกายน 2552 19:46 น. - comment id 26133

    รักของน้อง จริงใจ ไร้นัยแฝง
    ไม่เคยแสร้ง หลอกลวง คอยห่วงหา
    แม้พี่มี ไมตรีจิต คิดเมตตา 
    ส่งสายตา มาด้วย ช่วยเจือจาน
    
    
    สัมผัสซ้ำซะที่ไหนกัน  เมตตา กับ สายตา
    มันเป็นคนละคำกันเน้อ ... 
    
    ยืนยัน นั่งยัน นอนยัน .. ไม่ซ้ำแน่นอน
  • คนกุลา

    23 พฤศจิกายน 2552 20:05 น. - comment id 26134

    ก็ถือเป็นอีกความเห็นหนึ่งที่น่าสนใจและรับฟัง ครับ คุณอิม 
    ดีครับช่วยกันแลกเปลี่ยน ผมเองก็เพิ่งสนใจเรื่องนี้ อยากฟังหลายๆความเห็นเช่นกัน ครับ 
    
    36.gif1.gif36.gif
  • คนกุลา

    23 พฤศจิกายน 2552 18:28 น. - comment id 26135

    ขอบคุณ ครับ คุณเสมอจุก
    
    จากการที่พยามไปหาอ่าน และประสบการณ์ใน
    การแต่ง กลอนแปดทั่วไปและกลอนนิราศ
    ผมพบบางแง่มุม ดังนี้ ครับ
    
    กวีสมัยก่อน เช่นท่านสุนทรภู่ และท่านอื่นๆนิยมแต่งกลอนนิราศ
    
    กลอนนิราศ นั้น การแต่งร้อยทำนองกลอนกันไปค่อนข้างยาว ผมเคยแต่งนิราศเชียงราย ตอนแรก ยาว หนึ่งร้อยสามสิบกว่าบท จึงยากมาก
    ที่จะเลี่ยงสัมผัสซ้ำ หากเลี่ยงมากไป ก็จะไม่ได้ความหมาย
    
    แต่กวียุคหลังๆ เขียนกลอนไม่ยาวนัก ประมาณ แปดบท ถึง สิบกว่าบท ทำให้สามารถ หลีกเลี่ยงการสัมผัสซ้ำซ้อน ได้ง่ายขึ้น  
    
    สำหรับผม เห็นว่า ต้องอยู่ที่ประเภทของกลอน
    ดังที่ว่ามา นะครับ ถ้าเป็นกลอนธรรมดา ผมค่อนข้างเห็นว่า ควรหลีกเลี่ยงสัมผัสซ้ำ-ซ้อน อยู่
    นะครับ
    
    แต่หากเขียนกลอนนิราศ คงต้องอนุโลมตามสมควร แต่ที่ผมพยายามทำ คือให้อยู่ห่างกัน ครับ (นิราศเชียงราย)
    
    ขอบคุณ และทำให้ได้ข้อคิดเพิ่มเติม มากเลยครับ
    
    ยินดีเป็นอย่างยิ่ง นะครับ ที่นำมาแลกเปลี่ยนกัน 
    
    1.gif
  • กิ่งโศก

    23 พฤศจิกายน 2552 13:01 น. - comment id 26182

    ขอบคุณ คุณคนกุลามากครับ ได้เกร็ดความรูเพิ่มดีจัง
  • เทียนหยด

    23 พฤศจิกายน 2552 13:13 น. - comment id 26183

    แวะมาเพิ่มเติมความรู้ด้วยคนนะคะ 
    ขอบคุณมากๆค่ะ29.gif29.gif29.gif
  • อนงค์นาง

    23 พฤศจิกายน 2552 14:37 น. - comment id 26188

    ขอบคุณมากค่ะอ้ายคนกุลา ได้รับความรู้มากมายเชียวค่ะ
    
    36.gif36.gif29.gif
  • แก้วประภัสสร

    23 พฤศจิกายน 2552 15:04 น. - comment id 26189

    แบมสงสัยค่ะคุณลุง
    สระ ไอ กับ สระ ใอ
    คนละสระ แต่ออกเสียงเหมือนกัน
    
    อันนี้อนุโลมได้ หรือ จริงๆแล้ว ไม่ถูกต้องค่ะ
    36.gif36.gif
  • คนกุลา

    23 พฤศจิกายน 2552 16:19 น. - comment id 26190

    ขอบคุณ คุณคนกุลามากครับ ได้เกร็ดความรูเพิ่มดีจัง 
    กิ่งโศก  
    
    """"""""""""""""""""
    ช่วยๆกัน เพิ่มเติม เรียนรู้ ซึ่งกันและกัน นะครับ
  • คนกุลา

    23 พฤศจิกายน 2552 16:20 น. - comment id 26191

    แวะมาเพิ่มเติมความรู้ด้วยคนนะคะ 
    ขอบคุณมากๆค่ะ 
    เทียนหยด 
    
    """""""""""""""""""""""""
    ถือว่าแลกเปลี่ยน ความรู้ กันนะครับ
    
     
     
    36.gif1.gif36.gif
  • คนกุลา

    23 พฤศจิกายน 2552 16:22 น. - comment id 26192

    ขอบคุณมากค่ะอ้ายคนกุลา ได้รับความรู้มากมายเชียวค่ะ
    
     
    อนงค์นาง 
    
    """"""""""""""""""""
    ด้วยความยินดี ครับ น้องนาง ครับ
    
    36.gif1.gif36.gif
  • คนกุลา

    23 พฤศจิกายน 2552 16:59 น. - comment id 26194

    แบมสงสัยค่ะคุณลุง
    สระ ไอ กับ สระ ใอ
    คนละสระ แต่ออกเสียงเหมือนกัน
    
    อันนี้อนุโลมได้ หรือ จริงๆแล้ว ไม่ถูกต้องค่ะ
     
    แก้วประภัสสร 
    
    
    ......................
    
    ผมเห็นว่ามีการใช้กันอยู่ทั่วไป ในการส่งและรับสัมผัส เช่น
    
    ใน ดนตรีแห่งอารมณ์ ของเนารัตน์ พงษ์ไพบูลย์
    
    ในความฝันวันหนึ่งซึ่งสดใส
    แสงรักไล้โลมหล้าเมื่อฟ้าสาง
    หอมประทิ่นทิพย์เร้ามาเบาบาง
    โลกสว่างราวสวรรค์พรรณราย
    
    คือ ใส สัมผัส กับ ไล้ 
    
    หรือ
    
    ในกลอนลา ของ วาณิช จรุงกิจอนันต์
    
    หวั่นว่าห่วงเสน่หาลับลาหาย 
    มั่นใจหมายกลับมาเห็นเพ็ญดวงหน้า 
    นี่มิใช่คำมั่นแห่งสัญญา 
    แต่ทว่า เป็นคำฝากจากหัวใจ
    
    รักแค่เพียงคำพูดพิสูจน์ยาก 
    แต่เมื่อจากคงพิสูจน์คำพูดได้ 
    ใจของเราเราย่อมรู้อยู่ที่ใคร 
    กับคนใกล้หรือคนไกลใจคงรู้
    
    ในที่นี้ วาณิช ใช้ ใจ สัมผัส กับ ได้ และ ใคร  
    
    ดังนั้น หาก นำเอา คำสระใอ มา สัมผัส ซ้ำกับคำ ที่ใช้ สระ ไอ ก็ถือเป็น สัมผัสซ้ำ หรือ สัมผัส ซ้อนเช่นกัน ครับ เช่น
    
     
    เพราะต้องการอยู่รอดไว้(1)ใร้ใด(2) ช่วย
    
    ท่อนส่ง ด้วยไว้  ท่อนรับ ด้วย ไร้ ใด ก็ถือเป็นสัมผัส ซ้ำเช่นกัน ครับ
    
    สบายดี นะครับ
    
    
    36.gif1.gif36.gif
  • เสมอจุก

    23 พฤศจิกายน 2552 17:10 น. - comment id 26196

    เรียนคุณคนกุลา
    ท่านสุนทรภู่ใช้คำซ้อนในการแต่งกลอนเป็นเรื่องปรกติครับ ยกตัวอย่างนิดหน่อยในนิราศเมืองแกลงดังนี้ครับ
    
    เกเลเอ๋ยเคยข้ามคงคาลัย	
    ช่วยคุ้มภัยปากอ่าวเถิดเจ้านาย
    พอพ้นบ้านลานแลดูปากช่อง	เห็นทิวท้องสมุทรไทน่าใจหาย
    แลทะเลเลี่ยนลาดล้วนหาดทราย
    ทั้งสามนายจัดแจงโจงกระเบน
    
    ....................................................................
    
    
    กำดัดแดดแผดร้อนทุกขุมขน
    ไม่มีต้นพฤกษาจะอาศัย
    ล้วนละแวกแฝกคาป่ารำไร	
    จนสุดไร่เลียบริมทะเลมา
    ตะวันคล้อยหน่อยหนึ่งถึงบางพระ
    ดูระยะบ้านนั้นก็แน่นหนา
    พอพบเรือนเพื่อนชายชื่อนายมา
    เขาโอภาต้อนรับให้หลับนอนฯ
    
    .............................................................................
    
    
    ดูกาบหอยรอบคลื่นกระเด็นสาด
    ก็เกลื่อนกลาดกลางทรายประพรายสี
    เป็นหลายอย่างลางลูกก็เรียวรี
    โอ้เช่นนี้แม่มาด้วยจะดีใจ
    จะเชยชมก้มเก็บไปกลางหาด
    เห็นประหลาดก็จะถามตามสงสัย
    พี่ไม่รู้ก็จะชวนสำรวลไป	
    ถึงเหนื่อยใจจะค่อยเบาบรรเทาคลาย
    
    ...........................................................................
    
    หยุดประทับดับดวงพระสุริย์แสง
    ยิ่งโรยแรงร้อนรนนั้นล้นเหลือ
    จะเคี้ยวข้าวตละคำเอาน้ำเจือ
    พอกลั้วเกลี้อกล้ำกลืนค่อยชื่นใจ
    ทั้งล้าเลื่อยเหนื่อยอ่อนนอนสนิท
    จนอาทิตย์แย้มเยี่ยมเหลี่ยมไศล
    อนสะอื้นตื่นตายังอาลัย
    รำจวนใจจรจากศาลามา
    
    .............................................................................................................................
    
    
    เดินพินิจเหมือนคิดสมบัติบ้า
    จะใคร่หาต้นไม้เข้าไปถวาย
    นี่เหน็ดเหนื่อยเลื่อยล้าบรรดาตายแสนเสียดายดูเดินจนเกินไป
    ถึงท้องธารศาลเจ้าริมเขาขวาง
    พอได้ทางลงมหาชลาไหล
    เข้าถามเจ๊กลูกจ้างตามทางไป
    เป็นจีนใหม่อ้อแอ้ไม่แน่นอน
    
    .....................................................................................................................
    
    ถึงที่โขดต้องกระโดดขึ้นบนแง่
    ก่นเอาแม่จีนใหม่นั้นใจหาย
    บอกว่าใกล้ไกลมาบรรดาตาย
    ทั้งแค้นนายแสงนำไม่จำทาง
    ทำซมเซอะเคอะคะมาปะเขา
    แต่โดยเมากัญชาจนตาขวาง
    แกไขหูสู้นิ่งไปตามทาง
    ถึงพื้นล่างแลลาดล้วนหาดทราย
    
    ..............................................................................................................................
    
    ถึงโตรกตรวยห้วยพระยูนจะหยุดร้อน
    เห็นแรดนอนอยู่ในดงให้สงสัย
    เรียกกันดูด้วยไม่รู้ว่าสัตว์ใด
    เห็นหน้าใหญ่อย่างจระเข้ตะคุกตัว
    มันเห็นหน้าทำตากระปริบนิ่ง
    เห็นหลายสิ่งคอคางทั้งหางหัว
    รู้ว่าแรดกินหนามให้คร้ามกลัว
    ขยับตัววิ่งพัลวันไปฯ
    
    
    .............................................................................................................................
    
    เห็นลิงค่างบ่างชะนีวะหวีดโหวย
    กระหึมโหยห้อยไม้น่าใจหาย
    เสียงผัวผัวตัวเมียเที่ยวโยนกาย
    เห็นคนอายแอบอิงกับกิ่งยาง
    โอ้ชะนีเวทนาเที่ยวหาผัว	
    เหมือนตัวพี่จากน้องให้หมองหมาง
    ชะนีเพรียกเรียกชายอยู่ปลายยาง
    พี่เรียกนางนุชน้องอยู่ในใจ
    
    ................................................................................................................
    ยกตัวอย่างมาให้พอศึกษากันนะครับ  ส่วนคำซ้ำเช่น  ภางค์-พลาง  หรือ สุทธิ์-สุด  อย่างนี้ก็พอมีบ้างแต่น้อยมากครับ
  • คนกุลา

    24 พฤศจิกายน 2552 12:20 น. - comment id 26197

    ใช่ครับ คุณ ตุ้ม การเขียนกลอน พื้นฐานอยู่ที่หลักการเบื้องต้น หรือ ฉันทลักษณ์ เบื้องต้น
    ซึ่งผมกำลังว่าจะไปหาอ่านเพื่อเป็นความรู้ และถ้ามีเวลา ก็จะเรียบเรียงมาลงให้อ่านเพื่อทบทวน ความรู้สำหรับมือเก่า หากเป็นนักกลอนใหม่ๆ ก็จะได้ใช้เป็นแหล่งค้นคว้า อีกแห่งหนึ่ง
    
    ส่วนข้อกำหนด สัมผัสปลีกย่อย ออกไป ก็คงหวังจะให้ กลอนเป็นที่ประทับใจ หากทำไปโดยไม่รู้ อาจทำให้กลอนขาดความไพเราะ แต่บรรดามือเก่า และใช้อย่างตั้งใจ ก็จะกลายเป็นลูกเล่น
    ที่มีเสน่ห์ ไปเสียอีก ครับ
    
    อากาศ หนาวแล้ว ดูแลตัวเอง รักษาความอบอุ่นของร่างกายให้เพียงพอ นะครับ เป็นห่วงสุขภาพ ครับ
    
    แสนคำนึง
    
    1.gif36.gif16.gif36.gif
  • กวีน้อยเจ้ากัลปังงงฮาาาา

    28 พฤศจิกายน 2552 18:22 น. - comment id 26260

    3. การสัมผัส ใน ที่ คำหนึ่ง ส่ง สอง สัมผัส เช่น
    
      เมื่อได้พบสบตา (7)มาลา (8)หนี
    ลืมจำปีที่เคยเชยเพียงสอง
    ชื่นชมดวงดารา (9) ครา (10)เคียงครอง
    สร้างครรลองสุขศรีทุกวี่วัน
    
    กรณี สัมผัส ใน (7) กับ (8) นั้น เป็น สัมผัส ซ้ำ
    ส่วนกรณี  ท่อนส่ง สองคำ ส่ง ไปสู ท่อนรับ หนึ่ง คำ (9) กับ (10) นั้นใช้ได้
    
    7 กะ 8 สัมผัสซ้ำ ยังไงครับ  ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไร
    
    ถ้าพอมีเวลา ตอบ ช่วยตอบผมอีกที นะครับ
    
    อ่านแล้วเพลิน และรุ้ว่า ผมผิดเยอะมาก
    
    ด้วยเคารพรัก  ท่านอาจารย์  คุณน้า คนกุลา ที่แสนใจดี ต่อผมเสมอ
  • คนกุลา

    1 ธันวาคม 2552 15:54 น. - comment id 26289

    กวีน้อย ครับ การเขียนมีสัมผัสซ้ำขซ้อนไม่ถือว่าผิดฉันทลักษณ์ หรอก ครับ เพียงทำให้กลอนไม่ไพเราะเท่านั้นเอง  เพราะทำให้กลอนเสียจังหวะ แต่หากคุมจังหวะให้ดี และรู้จักใช้คำก็ใช้ได้ 
    
    ส่วนที่ถามมา 
    
    เมื่อได้พบสบตา (7)มาลา (8)หนี
    ลืมจำปีที่เคยเชยเพียงสอง
    ชื่นชมดวงดารา (9) ครา (10)เคียงครอง
    สร้างครรลองสุขศรีทุกวี่วัน
    
    กรณี สัมผัส ใน (7) กับ (8) นั้น เป็น สัมผัส ซ้ำ
    
    เพราะในท่อนส่ง ตา หนึ่งคำ สัมผัสกับ มา  และ ลา สองคำ ทำให้กลอนเสียจังหวะไม่ไพเราะ  
    
    ควรเป็น 
    
    เมื่อได้พบสบ(ตา)มาหน่ายหนี หรือ
    เมื่อได้พบสบ(ตา)แล้ว(ลา)หนี   
    
    แบบนี้ดีกว่า นะครับ
    ส่วนกรณี  ท่อนส่ง สองคำ ส่ง ไปสู่ ท่อนรับ หนึ่ง คำ (9) กับ (10) นั้นใช้ได้
    
    ท่อนส่งว่า  
    
    ชื่นชมดวง   (ดา)(รา)  (มา)เคียงครอง  
    
    แบบนี้ท่านว่า ใช้ได้ เพราะ กลอนไม่เสียจังหวะ นะครับ
    
    ด้วยมิตรไมตรี ครับ
    
    
    1.gif16.gif
  • 89

    19 ธันวาคม 2552 17:24 น. - comment id 26494

    ลองอ่านดู 
    คำทำนายชาวจีน ห้ามแอบดูก่อนนะ ตรงมาก 
    > > มันเป็นเกมที่มัหัศจรรย์ ทำตามที่คำสั่งบอก แต่ห้ามโกงนะ ! 
    > > 
    > > คำทำนายของชาวจีน ใช้เวลาประมาณ 3 นาที ลองทำแล้ว คุณจะนึกสนุก 
    > > คำอธิฐานของคนที่ส่งเมลล์นี้มาให้คุณจะเป็นจริงภายใน 10 
    นาทีหลังจากคุณอ่านเมลล์นี้ 
    > > แต่ห้ามโกง! 
    > > 
    > > ห้ามอ่านเฉลย คุณแค่ทำตามที่บอก มันคุ้มค่าที่จะลองทำ 
    > > 
    > > อย่างแรก เอาปากกา กับ กระดาษมาเป็นอุปกรณ์ 
    > > 
    > > เวลาที่คุณเลือกชื่อคน คุณต้องมั่นใจว่าเขาเป็นคนรู้จัก 
    > > เลื่อนลงมาทีละข้อ ห้ามอ่านก่อน ! 
    > > ไม่งั้นจะหมดสนุก 
    > > 
    > > ข้อแรก . . . . 
    > > อย่าลืม ! ไล่ลงมาทีละข้อนะ 
    > > 
    > > 
    > > 
    > > 1. เขียนหมายเลขทั้งหมด 11 ข้อ ตามแนวตั้ง 
    > > 
    > > 
    > > 
    > > 
    > > 2. จากนั้นเขียนเลข 2 ตัวที่ต้องการ ไปในช่องข้อ 1 กับ 2 
    > > 
    > > 
    > > 
    > > 
    > > 
    > > 3. ในช่องเลข 3 และ 7 เขียนชื่อคน 2 
    คนที่เป็นเพศตรงข้ามกับคุณ 
    > > 
    > > 
    > > ห้ามดูเฉลย ไม่งั้นจะออกมาไม่ตรง 
    > > 
    > > 
    > > 
    > > 
    > > 4. เขียนชื่อใครก็ได้ที่เป็นเพื่อน หรือ 
    คนในครอบครัวของคุณ ในช่องเลข 4, 5 และ 6 
    > > 
    > > 
    > > 
    > > 
    > > ห้ามโกง !!!!! ไม่งั้นคุณจะเสียใจที่ทำไป 
    > > 
    > > 
    > > 
    > > 
    > > 5. เขียนชื่อเพลงลงในข้อ 8, 9, 10 และ 11 
    > > 
    > > 
    > > 
    > > 
    > > 
    > > 
    > > 6. สุดท้ายยยยยยยยยยยย..................... อธิฐานซะ 
    > > 
    > > 
    > > 
    > > 
    > > 
    > > 
    > > 
    > > 
    > > และนี่คือคำเฉลยของเกมนี้............... 
    > > 
    > > 
    > > 
    > > 
    > > 
    > > 
    > > 
    > > 
    > > 
    > > 1. ตัวเลขที่คุณเขียนใน 2 ช่องแรก คือ 
    จำนวนคนที่คุณต้องบอกต่อเกี่ยวกับเกมนี้ 
    > > 
    > > 2. ชื่อของคนในช่องที่ 3 เป็นชื่อของคนที่คุณรัก 
    > > 
    > > 3. ชื่อของคนในช่องที่ 7 เป็นคนที่คุณแอบชอบแต่แสดงออกไม่ได้ 
    > > 
    > > 4. บุคคลในช่องที่ 4 เป็นคนที่คุณห่วงใยมากที่สุด 
    > > 
    > > 5. บุคคลในช่องที่ 5 เป็นคนที่รูใจคุณมากที่สุด 
    > > 
    > > 6.ชื่อบุคคลที่คุณลงไว้ในช่องที่ 6 เป็นคนที่นำโชคมาให้คุณ 
    > > 
    > > 7. เพลงในหมายเลข 8 เป็นเพลงที่เข้ากับคนในหมายเลข 3 ได้ดี 
    > > 
    > > 8. เพลงในข้อที่ 9 เป็ฯเพลงที่เหมือนกับคนในข้อที่ 7 
    > > 
    > > 9. เพลงในข้อที่ 10 เป็นเพลงที่บอกตัวคุณได้ดีที่สุด 
    > > 
    > > 10. เพลงในข้อที่ 11 เป็นเพลงที่แสดงต่อความคิดของคุณกับชีวิตของคุณ 
    > > 
    > > ตอนนี้ !ส่งให้กับบุคคลตามจำนวนที่บอกไว้ด้านบน 
    > > แล้วคำอธิฐานของคุณก็จะเป็นจริง แต่ถ้าไม่ทำมัน 
    > > มันจะตรงกันข้ามนะ !!!!
  • อ้อน 101

    25 ธันวาคม 2553 18:31 น. - comment id 32691

    ไม่เห็นจะรู้เรื่องเลยซักนิ   47.gif47.gif    ทำไปได้
  • สุนทรวิทย์

    13 ตุลาคม 2554 16:40 น. - comment id 34922

    ข้อห้ามมีมากกว่าที่คิดแต่คงต้องพยายามปฏิบัติตาม ส่วนจะได้ดีหรือไม่นั้นบอกลำบากครับขอบคุณเป็นอย่างยิ่งที่ให้ความรู้เป็นวิทยาทานกับทุกคนนะครับ29.gif36.gif16.gif

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน