ตอนยังเด็กๆ พ่อแม่พาไปงานศพ มีพระมาสวด มีหมู่ญาติผู้ตายมาต้อนรับ มีคนเยอะแยะเต็มไปหมด พบปะพูดคุยกัน พ่อแม่พาไปไหว้เขาจนทั่ว แล้วก็ไปวิ่งเล่นนอกศาลา... ตอนเป็นวัยรุ่น ไปงานศพกับพ่อแม่ มีพระมาสวด มีหมู่ญาติผู้ตายมาต้อนรับ มีคนเยอะแยะเต็มไปหมด พบปะพูดคุยกัน ตามพ่อแม่ไปไหว้ทักทายทุกคน แล้วก็แอบไปนั่งอยู่ท้ายศาลา... ตอนเริ่มทำงานใหม่ๆ พาพ่อแม่ไปงานศพ มีพระมาสวด มีหมู่ญาติผู้ตายมาต้อนรับ มีคนเยอะแยะเต็มไปหมด พบปะพูดคุยกัน ไปไหว้ทักทายคนรู้จักทุกคน กลับมานั่งฟังพระสวดในศาลา... ตอนมีครอบครัวมีลูกมีหลาน พาครอบครัวลูกหลานไปงานศพ มีพระมาสวด มีหมู่ญาติผู้ตายมาต้อนรับ มีคนเยอะแยะเต็มไปหมด พบปะพูดคุยกัน มีคนมาไหว้หลายคน นั่งฟังสวดอยู่ด้านหน้าศพ... ท่ามกลางเสียงพระสวด... ภาพต่างๆตั้งแต่เด็กจนโตผุดขึ้นมาในห้วงแห่งความคิด... ภาพเหตุการณ์ต่างๆ ของผู้ที่ตายไปผุดขึ้นมาในห้วงแห่งความคิด... ไปงานศพมานาน แต่เพิ่งจะได้คิด... จากวิ่งเล่นนอกศาลา... มานั่งอยู่ท้ายศาลา... ขยับมานั่งกลางศาลา... วันนี้นั่งอยู่แถวหน้าสุด...ใกล้ศพผู้ตาย อีกไม่นานคงเป็นเราที่ไปนอนอยู่ตรงนั้น... ..ในท่ามกลางเสียงพระสวดวันนั้น เราอยากจะให้มีภาพของเราผุดในห้วงความคิดผู้มาร่วมงานเช่นไร ให้เขานึกถึงเราด้วยรอยยิ้มอย่างมีความสุข หรือตรงข้ามกัน หากวันนี้เราดำเนินชีวิตเป็น ผู้ให้ จะมีแต่รอยยิ้มและความสุขปรากฏบนดวงหน้าผู้มาร่วมงานในวันนั้น ผู้ให้ ที่ให้ทาน ทั้งทรัพย์สินเงินทอง สิ่งของ ฯลฯ เลิศที่สุดของการให้ทาน คือ การให้ธรรมทาน ผู้ให้ ที่ให้วาจาคำพูดที่ดีงามไพเราะอ่อนหวาน เลิศที่สุดของคำพูดที่ดีงาม คือ การแสดงธรรม ผู้ให้ ที่ทำตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น เลิศที่สุดของการทำตนให้เป็นประโยชน์ คือ การชวนผู้อื่นให้ได้ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ผู้ให้ ที่ให้ด้วยความเสมอกัน เลิศที่สุดของการให้ที่เสมอกัน คือ ฝึกฝนตนเองและการประคับประคอง ให้ผู้อื่นมีธรรมเสมอกับเรา เวลาเหลืออีกไม่มากแล้วนะครับ... วันนี้คุณเริ่มเป็น ผู้ให้ แล้วรึยังครับ?
22 กุมภาพันธ์ 2550 11:07 น. - comment id 16903
พี่ไรไก่ อัสสุกลัวคนตาย ตอนตัวเองตายจะเป็นไงไม่รู้ดิ จะน่ากลัวไม่นะ คิดแล้วเสียว
22 กุมภาพันธ์ 2550 11:13 น. - comment id 16904
ตอนเป็นเด้กๆไม่ค่อยไปกับพ่อแม่ค่ะ เพราะกลัว แต่โตขึ้นมาก็ไปค่ะ
22 กุมภาพันธ์ 2550 12:50 น. - comment id 16917
กระต่ายเห็นจนชินตาค่ะ ด้วยงาน คิดถึงพี่ไรไก่น่ะค่ะ
22 กุมภาพันธ์ 2550 16:19 น. - comment id 16921
เห็นเขาว่า ที่ไปงานศพกันน่ะ เพราะเห็นแก่เจ้าภาพที่มีชีวิตอยู่น่ะค่ะ เพราะคนตายจะไปรู้เหรอว่าเราไปหรือไม่ไป
25 กุมภาพันธ์ 2550 09:12 น. - comment id 16970
เกิดแก่เจ็บตาย...เป็นเรื่องของธรรมชาติ...เราคงฝืนไม่ได้แน่นอนครับ...เพียงแต่วันนี้เรายังมีชีวิตอยู่ก็ทำให้ดีที่สุดน่าจะเพียงพอ...แต่ถ้าจะให้ดีก็อย่างที่คุณพูดแหละครับ...ธรรมทาน...ประเสริฐจริงๆๆครับ...
26 กุมภาพันธ์ 2550 11:50 น. - comment id 16991
จากไปแล้ว จากไปแล้วถึงชีวัน หลั่งน้ำตา หลั่งน้ำตา ไม่มีวัน ..(กลับมาได้อีก ความสุข ของวันเก่าที่ เราได้ อยู่ ด้วยกัน) กระไรหนอถึงเราจะได้พบกันอีก... (อีกกี่ภพกี่ชาติจะได้มาพบกันอีก)....... >>>คงจะอยู่แต่ในความทรงจำเท่านั้น.....--ขอจงสร้างความทรงจำที่ดีให้เหลือไว้....
27 กุมภาพันธ์ 2550 10:16 น. - comment id 17004
ผมให้ความสำคัญกับงานศพมากกว่างานแต่งหรืองานรื่นเริงอื่นๆครับ...มักจะไม่พลาดเลยสักครั้งถ้าไม่จำเป็นจริงๆ..เพราะผมถือว่าคนเราตายได้ครั้งเดียวแต่แต่งงานหรือทำอย่างอื่นๆอันเป็นการมงคลได้หลายๆครั้ง..การไปงานศพถือเป็นการไปเพื่อไว้อาลัย..ไปแสดงความจริงใจกับเขา..ทั้งญาติและผู้ตายซึ่งเราไม่สามารถสื่อสารกับเขาได้แล้ว..ว่าเรารู้สึกอาลัยในการจากไปของเขา...แต่ผมมักไม่ไปงานแต่ง..ถ้าไม่สนิทกันจริงๆครับ..ฝากซองไปเฉยๆ..
27 กุมภาพันธ์ 2550 12:20 น. - comment id 17007
สาธุ.....ผมเองเห็นว่างานศพเป็นงานที่สำคัญมาก เพราะสิ่งสุดท้ายที่จะได้ทำสิ่งดี ๆ ให้แก่ผู้ตายเป็นครั้งสุดท้าย บางคนเห็นจริงดังว่า ก็พูดติดตลกว่า "ก็เพราะงานนี้มีกันครั้งเดียวน่ะสิ" ฟังแล้วก็นึกขำอยู่บ้าง แต่ก็เห็นด้วย เพราะสังคมไทยก็ยังมีสำนวนที่แสดงถึงความสำคัญของงานศพอีก คือ อย่าได้มาเผาผี หรืออย่ามาเผาผีจี่กระดูกกัน แล้วแต่ว่าแต่ละพื้นที่จะใช้แตกต่างกันอย่างไร สำหรับวันนี้ได้อานความคิดเกี่ยวกับงานศพ ในแง่ของสัจธรรมแล้ว ก็ทำให้อิ่มเอมใจ เลยต้องกล่าวอนุโมทนาว่า ....สาธุ