ในความคิดของนักปรัชญาการเมืองอิตาเลี่ยน นิโก๊ โหละ มาคิอา เว้ หลิ (Niccolo Machiavelli) อาจได้รับการมองว่าเป็นปรัชญาการเมืองแบบทางโลก(secularization)ที่สมบูรณ์.และมีความโดดเด่นทางแนวความคิดคือ แยกคุณธรรมจริยธรรมออกจากการบริหาร ในงานเขียนที่ชื่อ The Prince : เจ้าผู้ปกครอง ,แปลเป็นภาษาไทยโดย ศ.ดร. สมบัติ จันทรวงศ์ Machiavelli เป็นนักการฑูตและนักบริหารที่มีประสบการณ์เขาได้อธิบายว่า การต่อสู้กันด้วยอำนาจนั้น มันได้รับการชักนำขึ้นมาอย่างไรในสมัยเรอเนสซองค์ของอิตาลี, จากการบรรยายถึงเรื่องนี้ทำให้เขาได้รับชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันไปทั่ว.งานเขียนในช่วงปลดเกษียณหลังจากการถูกถอดถอนทางการเมือง, ในเรื่อง The Prince เขาได้กล่าวว่า ผู้ปกครองจะต้องรวมความเข้มแข็งของ "ราชสีห์" เข้ากับความหลักแหลม(ฉลาดแกมโกง)ของ "วฤก" เอาไว้ด้วยกัน: เขาจะต้องระมัดระวังตัว ไหวตัว ไร้ความเมตตา และมีความพร้อมทันที ฆ่าหรือขจัดปรปักษ์ หรือทำให้ศัตรูเป็นอัมพาตโดยปราศจากการเตือนให้รู้ล่วงหน้า. และเมื่อเขากระทำการอันใดที่เป็นอันตรายมันก็จะต้องเป็นไปพร้อมกันทั้งหมด. สำหรับมนุษย์แล้ว ควรจะได้รับการปฏิบัติด้วยดีหรือไม่ก็บดขยี้ เพราะพวกเขาสามารถที่จะแก้แค้นและนำอันตรายมาถึงตัวท่านได้เป็นขบวน แต่ถ้าเอาจริงเอาจังพวกเขาจะไม่สามารถทำเช่นนั้นได้. ยิ่งไปกว่านั้น เจ้าชายหรือนักปกครองที่มีความลังเลใจ ผู้ซึ่งดำเนินรอยตามหนทางที่เป็นกลาง โดยทั่วไปแล้ว จะประสบกับความพินาศ. เขาแนะนำว่า มันจะเป็นการดีที่สุดที่จะลงจากอำนาจในช่วงเวลาที่เหมาะสมตอนที่เป็นฝ่ายชนะ และนครต่างๆที่พ่ายแพ้ควรที่จะถูกปกครองโดยตรงโดยทรราชเอง ด้วยการพำนักอยู่ที่นั่นหรือไม่ก็ทำลายมันเสีย. นอกจากนั้น บรรดาเจ้าชาย(นักปกครอง)ไม่เหมือนกับคนที่สันโดษทั่วไป ไม่ต้องรักษาศรัทธาใดๆไว้: นับแต่ที่การเมืองต่างๆได้สะท้อนถึงกฎหมายที่สับสนยุ่งเหยิงและรกรุงรัง รัฐก็คือกฎหมายของตัวมันเอง, และการปกครองที่มีศีลธรรมธรรมดาไม่จำต้องใช้มันแต่อย่างใด Machiavelli ยังได้กล่าวต่อไปอีกว่า การเป็นที่รักนั้นดีกว่าการเป็นที่หวาดกลัวหรือว่ากลับกัน เราอาจตอบว่าเราย่อมปรารถนาจะเป็นทั้งอันหนึ่งและอีกอันหนึ่ง แต่เนื่องจากยากที่จะผสมคุณสมบัตินี้เข้าด้วยกัน ถ้าอันใดอันหนึ่งในสองอันนี้จะต้องขาดไป การเป็นที่หวาดกลัวจึงเป็นการปลอดภัยมากกว่าเป็นที่รัก เพราะเราสามารถจะพูดสิ่งนี้โดยทั่วไปเกี่ยวกับมนุษย์ได้ว่า พวกเขาอกตัญญู เปลี่ยนใจง่าย เป็นพวกมือถือสากปากถือศีล และพวกอำพราง พวกหลีกเลี่ยงอันตราย ผู้รักผลได้ และในขณะที่ท่านทำดีต่อพวกเขา พวกเขาก็จะเป็นของท่านเต็มตัว อุทิศโลหิต สิ่งของต่างๆ ชีวิตและบุตรชายแก่ท่าน อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เมื่อความจำเป็นนั้นอยู่ห่างไกลออกไป แต่เมื่อความจำเป็นเข้ามาใกล้ท่าน เมื่อนั้นพวกเขาก็จะเป็นกบฏ และเจ้าผู้ปกครองที่วางรากฐานบนถ้อยคำของพวกนั้นอย่างเต็มตัว หากพบว่าตนเองขาดการเตรียมการอย่างอื่นๆเมื่อใด ก็จะถูกทำลาย เพราะมิตรสหายที่เราได้มาด้วยการซื้อหาและมิใช่ด้วยความยิ่งใหญ่และความสูงส่งของจิตใจนั้น เราสมควรจะได้พวกเขา แต่เราไม่ได้พวกเขาเลย เมื่อเวลามาถึงก็ไม่อาจใช้พวกเขาได้ และมนุษย์มีความระมัดระวังในการทำให้คนที่ทำให้ตนเป็นที่รักต้องขุ่นเคือง น้อยกว่าคนที่ทำให้ตนเป็นที่หวาดกลัว เพราะความรักนั้นคงรักษาไว้ได้ด้วยสายโซ่แห่งภาระผูกพัน ซึ่งเนื่องจากความชั่วร้ายของมนุษย์จึงถูกตัดขาดได้ทุกโอกาส เพื่อผลประโยชน์ของตน แต่ความกลัวนั้นคงรักษาไว้ได้โดยความหวาดกลัวการลงโทษ ซึ่งไม่เคยจากท่านไปเลย ยกตัวอย่างเช่นเจ้าผู้ปกครอง (ผู้ชาย) จะต้องมีหน้าที่ รั ก ษ า ค ว า ม เ ป็ น รั ฐ ไว้ (ในที่นี้หมายถึงความเป็นสามีภรรยา) ถ้าจะต้องให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างการทำให้แฟน ก ลั ว กับการทำให้แฟน ช อ บ เพื่อที่จะรักษาเธอไว้ ในสภาวการณ์เช่นนี้ เจ้าผู้ปกครอง ย่ อ ม ต้ อ ง เ ลื อ ก ใ ห้ เ ธ อ ก ลั ว เพราะความกลัวจะทำให้เธอไม่กล้าไปไหนโดยไม่บอกไม่กล่าวเพราะเธอรู้ว่าแฟนเธอดุ แต่ถ้า เลือก ทำ ใ ห้ รั ก เพื่อที่จะรักษาเธอไว้ ธรรมชาติมนุษย์ไม่มีความซื่อสัตย์ ถ้าคุณรักเธอเกินไปตามใจเธอทุกอย่างเธออาจเห็นว่าคุณใจอ่อน และคุณอาจรักษาเธอไว้ไม่ได้ สิ่งที่Machiavelli กล่าวถือว่าถูกในส่วนหนึ่ง เพราะการที่องค์อธิปัตย์จะทำให้ประชาชนจงรักภักดีได้นั้นถ้าไม่ด้วยการทำให้รักก็ด้วยการทำให้กลัว การทำให้รักนั้นย่อมไม่ใช่ความรักในความหมายแบบโรแมนติก หากแต่เป็นความรักในแบบมิตร(Mitra) ในความหมายแบบ Indo-Iranian หรือไมตรี หรือ เพื่อน ( Friend ) ในความหมายแบบละติน ซึ่งล้วนแล้วแต่หมายถึง สัญญา (contract) ของขวัญ ( Gift ) หรืออื่นๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความหมายในเชิงของการแลกเปลี่ยน ( Exchange) ผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน เป็นมิตรกันในลักษณะของพันธมิตรคือเป็นมิตรกันด้วยพันธะของการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ ซึ่งความสัมพันธ์ในรูปแบบนี้สามารถพังทลายลงได้อย่างง่ายดายหากมีผลประโยชน์อื่นที่สามารถสนองความต้องการได้ดีกว่า และความจงรักภักดีนั้นก็จะหมดไปในทันที ซึ่งความจงรักภักดีที่เกิดจากความกลัวนั้นต่างออกไป องค์อธิปัตย์สามารถทำให้ประชาชนจงรักภักดีได้ด้วยความกลัวการถูกลงโทษ และการลงโทษนั้นก็คือความโหดร้ายทารุณนั่นเอง ความโหดร้ายทารุณหากใช้อย่างดีก็จะส่งผลให้เกิดความจงรักภักดีได้อย่างคงทน แต่หากความโหดร้ายทารุณนั้นใช้อย่างเกินพอดี(หรืออย่างเลว)เมื่อใด เมื่อนั้นความกลัวก็จะกลับกลายไปเป็นความเกลียดชัง และเมื่อนั้นความจงรักภักดีก็จะสูญสลายตามไปด้วย จุดที่Machiavelli มิได้กล่าวไว้โดยตรงก็คือ การรวมคุณสมบัติทั้งสองคือความรักและความกลัวเข้าด้วยกันนั้นแม้จะยากแต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ สิ่งที่องค์อธิปัตย์พึงกระทำก็คือ สร้างความจงรักภักดีโดยใช้ความรักควบคู่ไปกับความกลัว เป็นทั้ง Mitra และ Varuna มิเช่นนั้นหากจะสร้างความจงรักภักดีด้วยความหวาดกลัว ก็ควรจะทำให้ตนเป็นที่หวาดกลัวในแบบที่แม้ไม่ได้ความรักมา แต่ก็ไม่เป็นที่เกลียดชัง ซึ่งการทำให้หวาดกลัวแต่ไม่เป็นที่เกลียดชังนี้ก็สามารถทำได้โดยใช้ความโหดร้ายทารุณด้วยความสุขุมรอบคอบ กล่าวคือใช้ความโหดร้ายทารุณอย่างดีนั่นเอง ซึ่งการใช้ความโหดร้ายทารุณอย่างดีนั้นก็ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าคือความทารุณโหดร้ายที่กระทำอย่างฉับพลัน เหมาะกับความจำเป็นที่ต้องทำให้ตนเองมั่นคง และหลังจากนั้นแล้วก็ไม่ดำเนินต่อไปแต่เปลี่ยนไปให้ประโยชน์อันยิ่งใหญ่สูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้แก่ผู้อยู่ใต้ปกครอง ลักษณะของการใช้ความทารุณโหดร้ายอย่างดีนั้นหากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วก็จะพบว่าลักษณะดังกล่าว คือลักษณะของกฎหมายนั่นเอง สรุป คุณธรรมจริยธรรม บางคราวก็ต้องแยกออกจากการบริหารประเทศ เช่นกรณีเกิดสงครามการสู้รบเข่นฆ่า ในภาวะสงครามย่อมไร้ซึ่งศีลธรรมจริยธรรม เมื่อมีคนเอามีดมาจ่อคอเรา เราจะเลือกยกมือไหว้ ถอย หรือ สู้ หากยกมือไหว้แล้วเขายังจะฆ่า ก็ต้องหนี หากหนีไม่ได้ก็ต้องสู้ และเมื่อคิดจะสู้ก็ต้องเกิดการสูญเสีย ผู้ที่มี จริยธรรมและศีลธรรมในใจก็ย่อมไม่ต้องการให้เกิดการสูญเสีย แต่ความเป็นจริงของธรรมชาติผู้เข้มแข็งเท่านั้นจึงจะเป็นผู้อยู่รอด ในภาวะความเป็นความตายอยู่ใกล้กันชนิดเส้นยาแดงผ่าแปด น้อยคนนักที่ยังจะมีคุณธรรมและจริยธรรม (จะมีก็แต่มหาตมคานธี ที่ต่อสู้แบบ อหิงสา แต่สุดท้ายก็ตายเพราะโดนยิง) ฉันใดก็ฉันนั้น ในภาวะสงครามหากต้องการรักษาศีลธรรมจริยธรรมไว้ ก็จำต้องสู้รบเข่นฆ่า (เพราะหลีกเลี่ยงไม่ได้ การต่อสู้แบบอหิงสา ถึงไม่เข่นฆ่าแต่ก็ถือเป็นการต่อสู้ทางชนชั้นรูปแบบหนึ่ง) และเมื่อการสู้รบเข่นฆ่าจบสิ้นลง ความสงบจักมาเยือน ศีลธรรมจริยธรรม จักกลับมาอีกครั้ง ยกตัวอย่างเช่น การทำสงครามกับยาเสพย์ติดที่จำต้องรักษาความสงบด้วยการยอมสละศีลธรรมจริยธรรมในการปกครองเพื่อรักษาความสงบส่วนรวมไว้ นี่คือความจำเป็นและไม่จำเป็นของคำว่า ศีลธรรมจริยธรรมทางการปกครอง ซึ่งควรและไม่ควรแยกออกจากการเมืองการปกครอง ในภาวะปัจจุบัน สงครามที่ว่าคือสงครามเศรษฐกิจ จะเอาแต่คำว่าศีลธรรมจริยธรรมมาใช้ในสงครามเศรษฐกิจไม่ได้หรือใช้ได้แต่น้อย ฉะนั้นในภาวะสงครามเศรษฐกิจผู้นำควรเป็นได้ทั้ง วฤก (หมาป่า,สุนัขจิ้งจอก) และราชสีห์ (สิงห์โต) และทำให้ประชาชนรักและกลัว ถ้าพูดเป็นแบบไทยๆก็คือรู้จักใช้ทั้งพระเดชและพระคุณ เลิกพูดเสียทีครับ คำที่ว่าผู้นำต้องมีจริยธรรม มัน เป็นอุดมคติเกินไป เหมือน กับเราพยามแสวงหา "สวนดอกท้อ" ที่ กวีจีน เถาหยวนหมิง แต่งไว้ ถ้าฝรั่งก็ต้อง ยูโทเปีย (Utopia) แปลเป็นไทยว่าสังคมนิยมเพ้อเจ้อ ของท่านเซอร์โทมัส มอร์ (SIR THOMAS MORE)
5 มีนาคม 2549 00:09 น. - comment id 13303
..เรนชอบเหตุผลของคุณจัง..คุณกวินทรากร.. .. ..จริงๆแล้ว Machiaellian View เป็นส่วนหนึ่งในวิชา ปรัชญาการเมือง ( Political Philosophy) ซึ่งนักรัฐศาสตร์ทุกคนต้องเรียน แต่บางคนอาจจะแกล้งลืม เพราะไปหลงแต่มายาคติเอ้ยอุดมคติที่ว่า .. ..ผู้นำต้องเป็นแต่ราชสีห์ ... นี่ล่ะครับที่ผมว่าผู้นำควรมีสีเทา คือไม่เป็นทั้งสีขาวและสีดำแต่ผสมๆกัน.. ... ..
4 มีนาคม 2549 12:22 น. - comment id 13316
เอ่อ ตอนนี้ ค.ศ. 2006 ไม่มีข้าศึกที่ไหนอ่ะ อีกอย่างต้องดูเป้าหมายของเขาอ่ะ ว่าทำไมทำไม ทำเพื่อตัวเอง กะทำเพื่อประชาชนมันต่างกันนิ ละศีลธรรมข้าศัตรู เพื่อรักษาแผ่นดินให้รอด กะละศีลธรรมเพื่อโกงกิน มันคนละเรื่องนา เห็นด้วยกะคุณทัดหทัยอะ แมวขโมยกะแมวจับหนูมันคนละตัวกันเน้อ
3 มีนาคม 2549 17:32 น. - comment id 13354
การยุบสภาใช้หลัก พิชัยสงครามซุนวู หัวข้อที่ว่า อยู่ที่ตายจึ่งฟื้น อยู่ที่ม้วยจึ่งรอดและหัวข้อที่ว่า การรบนั้นต้องรวดเร็วประหนึ่งพายุ ยามจะช้าก็ต้องช้าประหนึ่งไม้ลู่ ยามตั้งมั่นก็ให้เสมือนหนึ่งภูผา ยามรุกรบก็ให้เสมือนหนึ่งเพลิงผลาญ การใช้โนโยบาย หว่านเงินให้รากหญ้า ก็คือความเร่าร่อนของนโยบายที่ใช้ได้ผลเป็นอย่างดีในสงครามการหาเสียง และหัวข้อที่ว่าจริงแสร้งว่าเท็จ เท็จแสร้งว่าจริง นายกบอกว่ายังงัยก็ไม่ยุบสภา สุดท้ายก็ยุบแบบปัจจุบันทันด่วน นี่คื่อกโลบายที่ว่า จริงแสร้งว่าเท็จ และหลักซุนวูบอกไว้ว่าการรบที่ดีต้องไม่ยืดเยื้อ เพราะการยืดเยื้อนั้นหมายถึงความสูยเสียๆทั้งกำลังรี้พล กำลังเงิน เศรษฐกิจเสีย เพราะประชาชนต้องแบกรับภาระการผลิตในยามสงครามเป็นต้น สิ่งเหล่านี้ ขงเบ้งได้พิสูจน์แล้วให้เห็นถึงการนำหลักของซุนวูไปใช้ในการรับมือกับโจโฉ และประวัติสามก๊กก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ไม่ว่าจะเป็น โจโฉ ซุนกวน และเล่าปี่ก็ไม่สามารถรวมแผ่นดินจีนเป็นปึกแผ่นได้ คนที่รวมจีนในสมัยนั้นได้ก็คือยุคลูกและหลานของสุมาอี้ ทว่าสุมาอี้ คือแม่ทัยพคนสำคัญของโจโฉ หุหุห นั่นหมายถึงว่า การยึดถือคุณธรรมมากเกินไปทำให้การริหารงานบ้านเมืองไม่ประสบผล บ่อยครั้งที่ขงเบ้งเตือนเล่าปี่ให้ ละทิ้งคุณธรรมเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบ แต่เล่าปี่ก็ไม่ยอม บุคคลิกนี้แตกต่างกับโจโฉอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู นี่ล่ะครับที่ผมว่าผู้นำควรมีสีเทา คือไม่เป็นทั้งสีขาวและสีดำแต่ผสมๆกัน
2 มีนาคม 2549 22:25 น. - comment id 13400
ทฤษฏี ฝรั่งเมื่อ หลายร้อยปีที่แล้ว ใช้กับบ้านเมืองไทยสมัยปัจจุบันได้ทุกเรื่อง จริงหรือ? อันนี้ผมก็ไม่ทราบ แต่ตำราพิชัยสงคราม หรือ ยุทธวิธี แบบสามก๊ก ยังใช้ได้อยู่นะ ไม่งั้นนายกไม่ยุบสภาหรอก
28 กุมภาพันธ์ 2549 20:35 น. - comment id 13620
หลักของผู้นำผู้ปกครอง คือ หลักธรรมภิบาล ถ้าขาดตรงนี้ต่อให้เก่งแค่ไหนผมว่ามันไม่มีประโยชน์เลย ------------------------ ในสถานการณ์เช่นนี้เราไม่ได้เผชิญทั้ง สงคราม และ สงครามเศรษฐกิจรุนแรงขนาดนั้น แต่ผู้นำขาดจริยธรรมต่อแผ่นดินเกิดของตน
28 กุมภาพันธ์ 2549 21:09 น. - comment id 13621
**.. คุณธรรม มาจาก คุณ+น่ะ+ทำ แปลว่า คุณนั่นแหละเป็นคนทำ ผมไม่ทำ ยุติธรรม มาจาก ยุติ + ธรรม แปลว่า ยุติแล้วซึ่งธรรมะ อิอิ มาขำๆครับ ขออภัยด้วย
28 กุมภาพันธ์ 2549 23:58 น. - comment id 13624
ฉะนั้นในภาวะสงครามเศรษฐกิจผู้นำควรเป็นได้ทั้ง วฤก (หมาป่า,สุนัขจิ้งจอก) และราชสีห์ (สิงห์โต) และทำให้ประชาชนรักและกลัว ถ้าพูดเป็นแบบไทยๆก็คือรู้จักใช้ทั้งพระเดชและพระคุณ เลิกพูดเสียทีครับ คำที่ว่าผู้นำต้องมีจริยธรรม มัน เป็นอุดมคติเกินไป เหมือน กับเราพยามแสวงหา \"สวนดอกท้อ\" ที่ กวีจีน เถาหยวนหมิง แต่งไว้ ถ้าฝรั่งก็ต้อง ยูโทเปีย (Utopia) แปลเป็นไทยว่าสังคมนิยมเพ้อเจ้อ ของท่านเซอร์โทมัส มอร์ (SIR THOMAS MORE) ......................... .. เรนชอบที่พี่ๆเข้ามาแสดงความคิดเห็นแบบนี้จัง.. ความคิดเห็นที่แตกต่าง.. เรนว่าไม่มีผิดและไม่มีถูกนะคะ .. มีเพียง...ความจริงเท่านั้น.. และเรนก็อยากอ่านแนวคิดที่หลากหลายของพี่ๆตรงนี้ด้วยดิคะ.. .. ... เรนขอบคุณ คุณกวินทรากรที่ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมานะคะ .. เก๊าะเพราะมันเป็นคำถามเรนอยากรู้.. และมันเก๊าะติดในหัวสมองของเรน..จนแกะไม่ออกด้วยดิคะ.. ... .... .. ..
1 มีนาคม 2549 11:18 น. - comment id 13630
ขออนุญาตเห็นต่าง โดยจะขอเจาะประเด็นหลักที่ว่า \"ผู้นำจำเป็นต้องมีจริยธรรมหรือไม่\" เป็นเรื่องที่น่าคิด ที่ได้พยายามนำแนวความคิดของนักปราชญ์ในอดีตมาวิเคราะห์ และเทียบเคียงกันเรื่องปัจจุบัน แต่ตัวผู้เขียนขอออกตัวว่าไม่ค่อยเห็นด้วยกับ Machiaellian View สักเท่าไร ด้วย: ประการที่ 1 ) Machiavelli มองภาวะผู้นำในบริบทเมื่อหลายศตวรรษก่อน ทั้งนี้ ในเวลานั้น มีความไม่สงบอย่างมากในกิจการระหว่างประเทศ (รัฐ หรือนครรัฐสมัยนั้น เมื่อยังไม่มีการเกิด Nation State หรือแบ่งเป็นประเทสชัดเจนขึ้น คือก่อนสนธิสัญญา Wesphalia) บริบททางการเมืองระหว่างรัฐดังกล่าว จึงทำให้ Machiavelli เสนอแนวความคิดของ \"ผู้ปกครอง\" ว่าควรจะเป็นเช่นนั้น คือรักษาความสงบภายในประเทศให้ได้ โดยยึดอำนาจที่ประชาชนให้ เอามาใช้ สร้าง \"พระเดชพระคุณ\" อย่างไรก็ดี ความคิดนี้เห็นจะขัดกับหัวใจประชาธิปไตยที่ไทยเราได้ยึดถือขณะนี้ (และบังเอิญว่า ในสมัย Machivelli ยังไม่เห็นความสำคัญ) นั่นคือการมีส่วนร่วมของประชาชน การได้อำนาจไปนั้น ไม่ใช่ว่าผุ้นำจะสามารถอ้างอำนาจนั้นไปใช้ในทางฉ้อฉลได้ อนึ่ง Machiavelli \"คง\"มีสมมติฐานในใจว่า ผู้นำที่ได้อำนาจมานั้นจะเป็นคนดี จึงต้องใช้อำนาจมาปรามพวกที่ไม่จะทำร้าย ดังนั้นเรื่องจริยธรรม(คือการโกงกิน) ผู้เขียนคิดว่า Machiavelli ไม่ได้มีเจตนาจะให้\"ผู้ปกครอง\"ใช้อำนาจมาโกงกิน แต่เป็นหนึงในหลักปกครองคนให้อยู่ด้วยกันไม่แตกแยกกันเท่านั้น 2) \"เพื่อรักษาความสงบส่วนรวมไว้ นี่คือความจำเป็นและไม่จำเป็นของคำว่า ศีลธรรมจริยธรรมทางการปกครอง ซึ่งควรและไม่ควรแยกออกจากการเมืองการปกครอง\" ผู้เขียนคิดว่าไม่สอดคล้องกับประเด็นทางการเมืองในปัจจุบัน เพราะ: 2.1) ประเด็นในปัจจุบันคือจริยธรรมในแง่ที่ว่า ไม่โกงกินและทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว แต่ ความตั้งใจของผู้ให้ความคิดเห็นประโยคนั้น น่าจะเพื่อบอกว่า ความสงบภายในเมือง (อันเกิดจากกบฎ ชนกลุ่มน้อย เป็นต้น) ทำให้ผู้ปกครอง\"ไม่\" ต้องมีจริยธรรมในแง่ที่ว่า อย่าสงสาร ต้องปราบพวกคนละฝ่ายไป ฯลฯ ผุ้เขียนจึงเห็นว่าเป็นคนละประเด็นกัน 2.2) ถ้าสมมติว่า ประเด็นจริยธรรมข้างต้นไม่ต่างกันจริง (ทั้งๆ ที่ผู้เขียนเห็นว่าต่าง) แล้วถามต่อไปว่า ยังจะต้องมีจริยธรรมหรือไม่ ผู้เขียนก็ยังเห็นว่า \"จำเป็น\" (ออกตัวตั้งแต่ต้นแล้วว่าไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของ Machivelli) เพราะหากเราคิดเอาเสียแล้วว่า จริยธรรมไม่จำเป็น ก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะเรียกร้องให้คนเคารพกฏหมาย (ซึ่งเป็นหลักที่ทำให้คนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข) เพราะผู้ปกครองอยู่เหนือกฏหมาย สำมะหาอะไรกับคน\"ตัวเล็ก\" กว่า เช่นนี้ มันก็คงเกิดกลียุค อนึ่ง ผู้เขียนคิดว่า ที่ว่า \"จริยธรรมไม่จำเป็น\" นั้นคือในกรณี สงครามเสียมากกว่า (ซึ่งตัวสงครามเอง ก็ยังไม่อาจตรวจสอบได้ว่า สมควรที่จะมีหรือเปล่า) อย่างไรก็ดี ตัวอย่างที่ว่า รักษาคนส่วนมากในการทำสงครามต้านยาเสพติดนั้น ฟังดูแล้วน่าจะเป็นเหตุเป็นผลก็จริง แต่อย่าลืมว่า การฆ่า (วิสามัญฯ และอื่นๆ) นั้นไม่เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม ไม่มีการตรวจสอบว่าเขาผิดแน่หรือไม่ จึงเห็นว่า ตรงนี้แทนที่จะทำตามที่อ้างว่ารักษาคนส่วนใหญ่ แต่กลับไปละเมิดสิทธิของคนส่วนน้อย? โดยสรุป (คำอาจไม่สละสลวยหรือฟังดูจูงใจให้คิดตามนัก) ผู้เขียนคิดว่า Machiavelli มองเพียงด้านเดียวคือ ประโยชน์ของผู้นำ โดยอ้างว่าจะทำให้สังคมอยู่อย่างเป้นสุข แต่ความจริงแล้ว สถานการณ์ปัจจุบันเป็นสุขจริงหรือ นั่นเพราะคนเรายังไม่เห็นผลที่จะตามมา (ความจริงเราได้เห็นแล้ว จากการที่ผุ้นำหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากการทำ FTA กับจีน โดยแลกกับความเดือนร้อนของเกษตรกรไทย) ประโยชน์ของผู้นำดังกล่าว จึงไม่เป็นไปตามเป้าประสงค์ของนักคิดชาวอิตาลีคนนี้นัก เพราะนักคิดท่านนั้นหมายจะให้ผู้ปกครอง ใช้เป็นเพียงกรอบในการปกครองให้มีความสุข ไม่ใช่ใช้อำนาจข่มคนให้กลัวเอาอำนาจไปโกงเป็นของตัวเอง ผู้เขียนจึงยังเห็นว่า จริยธรรมยังต้องคู่ไปกับการปกครอง เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว คนที่เดือนร้อนที่สุดคือประชาชน ไม่มีมีโอกาสให้ใช้ หัวใจของประชาธิปไตยคือ \"การตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ\" ดังที่เราจะเห็นได้จากประวัติศาสตร์มากมายที่ว่า Absolute power corrupt absolutely ผู้มีอำนาจอย่างล้นหลามก็โกงกันกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน จริงๆ ขอได้รับเคารพในความคิดเห็น ------------------------ ปล.ในประเด็นที่ว่า สิทธิประชาชนในการเลือกตั้งจะได้อำนาจคืนจริงหรือไม่ แล้วอำนาจของประชาชนที่แสดงออกมานั้น สะท้อนความเป็นจริงมากแค่ไหน โปรดดู http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act01010349&day=2006/03/01 ปล.ที่ 2 เห็นด้วยกับคุณมือ ไหม้พาย
1 มีนาคม 2549 21:04 น. - comment id 13634
Absolute power corrupt absolutely เป็นคำพูดของ ลอร์ด แอคตัน (Lord Acton(1834-1902) ก็ถือว่าเป็นความคิดที่เก่าเหมือนกันนะครับ อิๆ ศ.ดร.จิรโชคิ(บรรพต) วีรสย (วีรสัย) แปลเป็นไทยว่า \"อำนาจมากล้น ฉ้อฉลมากล้ำ\" จริงๆแล้ว Machiaellian View เป็นส่วนหนึ่งในวิชา ปรัชญาการเมือง ( Political Philosophy) ซึ่งนักรัฐศาสตร์ทุกคนต้องเรียน แต่บางคนอาจจะแกล้งลืม เพราะไปหลงแต่มายาคติทเอ้ยอุดมคติที่ว่า ผู้นำต้องเป็นแต่ราชสีห์ ยังงัยความคิดของ Machiavelli ก็เป็น อกาลิโก (ไม่เก่าไปตามกาล) ฝรั่งและไทยคิดเหมือนกันในเรื่องการปกครองก็คือ ฝรั่งถือสัญลักษณ์ แส้และถุงเงิน ไทยถือเรื่อง พระเดชพระคุณ การปกครองประเทศ นั้นต้องปกครองได้ทั้งคนดีและคนชั่ว ฉะนั้นผู้นำต้องชั่วและดีผสมกัน ถ้าเป็นสีก็คือสีเท่า แมวไม่ว่าจะสีอะไรถ้าจับหนูเก่ง ก็ถือว่าใช้ได้ไม่ใช่หรือครับ
2 มีนาคม 2549 10:04 น. - comment id 13643
นายเต๋าเอ๊ยยยยยยยยย แมวที่จับหนูเก่ง กับแมวที่จ้องขโมยปลาย่างของคนเลี้ยง มันไม่เหมือนกันนะ
6 มีนาคม 2549 15:54 น. - comment id 13656
ขอบคุณที่เข้ามาอ่านนะครับ
7 มีนาคม 2549 11:57 น. - comment id 13665
e-commerce system ทำง*า/นที่บ้าน.... \"สร้างร/*า*ยได้ 17,000 - 70,000 บาท ได้จ*ริงๆๆ เพียงมีเ/ว/ล*าว่/า+ง 3 - 4 ช*ม./วั/น\" Click ---->http://shurl.net/sE
4 กรกฎาคม 2549 20:22 น. - comment id 14809
ข้าพเจ้ายังอยากเห็นสังคมในฝัน คนในอุดมคติ...แม้เรารู้ว่า Superman ไม่มีตัวตนแต่เราก็ไม่ปฏิเสธว่าเรายังศรัทธาความดีงามของมนุษย์ ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นปุถุชน นะแต่ในความเป็นจริง ทุกสิ่งยากที่จะสมบูรณ์พร้อมข้าพเจ้าก็เข้าใจในข้อจำกัดของคนเรา