ดาวเคราะห์ดวงที่ 10 แห่งสุริยะจักรวาล ระบบสุริยะ(solar system)มีดาวเคราะห์ 9 ดวง โคจรหรือหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นวงๆเว้นระยะวงห่างต่างๆกัน ปี2546 (คศ2003)นักดาราศาสตร์ที่สถาบันเทคโนโลยีแคริฟอร์เนีย (California Institute of Technology)เรียกย่อๆว่า(CalTech-แคลเทค) ค้นพบเทหวัตถุหนึ่งมีคุณสมบัติพิเศษกว่าวัตถุอื่นๆในไคเปอร์เบลท์ วัตถุนี้มีหลายสิ่งดูคล้ายดาวพลูโตคือบริเวณพื้นผิวประกอบด้วยก๊าซมีเทน เป็นส่วนใหญ่และเย็นเป็นน้ำแข็งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2700 กิโลเมตรซึ่งเป็นคุณสมบัติของดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง และดาวเคราะห์ดวงนี้ถูกตั้งชื่อว่า 2003ub313 อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 14500 ล้านกิโลเมตร และจะโคจรเป็นรูปวงรีคอนข้างกว้างมากๆ โดยหมุนรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบเท่ากับประมาณ 248 ปีโลก(หนึ่งปีพลูโต) และหมุนรอบตัวเอง(หนึ่งวันพลูโตจะเท่ากับ 7 วันโลก) หนึ่งปีดาวเคราะห์ 2003ub313 จะเท่ากับประมาณ 560 ปีโลก ต่อไปนี้ตำราดาราศาสตร์คงต้องเปลี่ยนใหม่ จากดาวนพเคราะห์เปลี่ยนเป็นดาวทศเคราะห์ การดูดวงดาวที่เอาชีวิตไปผูกพัน จะทำอย่างไรดี. http:;//www.gps.caltech.edu-mbrown/planetlila/
10 กันยายน 2548 15:05 น. - comment id 11902
ตามตำราโหราศาสตร์ไทยของเราใช้คำนวณการโคจรของดวงดาวทั้ง 10 ดวง ได้แก่ อาทิตย์ , จันทร์ , อังคาร , พุธ , พฤหัสบดี , ศุกร์ , เสาร์ , มฤตยู ( ยูเรนัส ) , เกตุ ( ๙ ) และการค้นพบล่าสุดเมือเกือบ 200 ปีที่ผ่านมาคือ ราหู ( ( ๘ ) คือจุดสกัดระหว่างโลก ( เงา ) กับดาวดวงอื่น ๆ ) สำหรับโหราศาสตร์ไทยมีการถือกำเนิดมาเป็นพันปี และได้มีการพัฒนาเป็นโหราศาสตร์ยูเรเนี่ยน ( สากล ) โดยเพิ่มดาวเนปจูน และ พลูโต เข้าไป อย่างไรก็ตามโหราจารย์ทางไทยยอมรับแต่ได้แต่ไม่ได้ยึดเป็นหลักมากนัก ด้วยเหตุผลที่ว่า ดาวที่เพิ่มเข้ามา อยู่ไกลจากวงโคจรของระบบสุริยจักรวาล ดังนั้น จึงมีผลต่อชาตาชีวิตมนุษย์น้อยมาก เปรียบได้กับระยะห่างของแม่เหล็กกับเหล็ก ยิ่งใกล้ยิ่งดึงดูด ดึงห่างก็ดึงดูดน้อย ถ้าห่างมาก ๆ ก็แถบจะไม่มีอิทธิพลใด ๆ เลย