อยากเขียนหนังสือ...แต่ไม่รู้จะตั้งชื่อเรื่องอะไรดี?

วา

อยากให้ช่วยแนะนำด้วยค่ะ  อยากจะเขียนหนังสือแต่ยังไม่มีชื่อเรื่อง
เราชอบเขียนเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ไปพบเจอมาจริงๆในชีวิต
สำหรับคนที่ชอบเขียนหนังสือช่วยแนะนำได้ไหมค่ะว่า...
เราควรจะเริ่มต้นอย่างไร.....ในการเขียน
สำหรับคนที่พึ่งเริ่มหัดเขียนหนังสือเล่มแรก...
แล้วจะดึงดูดให้คนสนใจได้อย่างไร....
ช่วยแนะนำด้วยนะค่ะ........จะขอบคุณอย่างมาก....				
comments powered by Disqus
  • ..สายลมทะเล..

    5 กันยายน 2548 13:54 น. - comment id 11829

    No comment, I\'m a new coming also.
    But try my friend.
  • MR.tong

    21 ธันวาคม 2549 21:40 น. - comment id 16220

    อยากเขียนหนังสือ /แปลหนังสือ ทำไงดี? 
    เป็นคำถามที่เกิดกับหลายๆ คนที่อยากเป็นนักเขียนหรือผู้ที่ต้องการเผยแพร่ความรู้ของตนเองให้ผู้อื่น ผมขอแบ่งเป็น 2 แนวทาง คือหนังสือเขียนเองกับหนังสือแปล ดังนี้นะครับ
    1. หนังสือที่คุณเขียนขึ้นเอง
     เริ่มต้นคุณต้องรู้ก่อนว่า คุณจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับอะไร ใครเป็นผู้อ่าน จะมีความหนาของหนังสือกี่หน้า จะนำเสนอแบบไหน มีหนังสือแนวเดียวกันที่พิมพ์ออกเผยแพร่บ้างแล้วหรือยัง ถ้ามี ก็ดูว่าถ้าเราเขียนเพิ่มไปอีก 1 เล่ม จะเกิดประโยชน์ต่อผู้อ่านเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่ ของเรามีจุดเด่นกว่าเล่มอื่นอย่างไร พิจารณาถึงความซ้ำซ้อนในตลาดหนังสือด้วย
    บางครั้งการมองโดยตัวเราเองอาจจะเห็นแค่มุมเดียวว่าหนังสือแนวนี้น่าจะเขียนออกมาเผยแพร่ แต่มุมมองของสำนักพิมพ์ อาจจะมีมากกว่าที่เราทราบ ดังนั้นควรติดต่อไปยังสำนักพิมพ์ที่ผลิตหนังสือในลักษณะแนวเดียวกับหนังสือที่เราจะเขียน ว่าสนใจผลงานของเราหรือไม่ สอบถามพูดคุยกันในเบื้องต้นก่อน จะได้จับทิศทางในการทำงานได้
    
    หมายเหตุ ถ้าพิจารณาถึงแนวหนังสือที่ซีเอ็ดฯ จัดพิมพ์แล้ว อาจจะเห็นว่าเป็นหนังสือแนววิชาการ คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยี /อุตสาหกรรม และความรู้ทั่วๆ ไป ซึ่งเราเปิดกว้างในการรับต้นฉบับของหนังสือหลายๆ แนวทาง ดังนั้นหากไม่มั่นใจว่าทางซีเอ็ดฯ จะสนใจหรือไม่ ก็ขอให้คุณลองสอบถามเข้ามาก่อนได้
    
     ต่อไปก็ตีกรอบเนื้อหาที่จะเขียนออกมาเป็นคอนเท็นต์หรือสารบัญของหนังสือว่า จะมีเรื่องอะไรบ้าง แบ่งเป็นหัวข้อๆ เลย แต่ละหัวข้อจะมีกี่หน้า ให้กำหนดไว้คร่าวๆ ก่อน เพื่อจะสามารถควบคุมความหนาของหนังสือทั้งเล่มได้
     ก่อนที่จะไปขั้นถัดไป ขอย้ำในเรื่องการติดต่อเข้าไปยังสำนักพิมพ์ที่คุณสนใจอยากจะเสนองานให้เค้าพิมพ์ เพื่อความมั่นใจว่า ทางสำนักพิมพ์นั้นจะพิมพ์หนังสือให้คุณ ไม่อย่างนั้น หากคุณเขียนไปจนเสร็จ อาจจะไม่มีสำนักพิมพ์ใดพิมพ์หนังสือให้คุณก็ได้ อีกอย่าง คุณอาจจะได้คุยกับบรรณาธิการในขั้นต้นก่อนว่า เนื้อหาหรือเรื่องที่คุณจะเขียนตรงตามที่เค้าต้องการจริงๆ รวมทั้งค่าตอบแทนในการเขียนเป็นอย่างไรด้วย สำหรับกรณีของสำนักพิมพ์ซีเอ็ดฯ ให้คุณเมล์มาสอบถามได้เลยที่ somphoch@se-ed.com ซึ่งเป็นบรรณาธิการหนังสือกลุ่มคอมพิวเตอร์ หรือหากคุณต้องการติดต่อเขียนหนังสือแนวอื่น ให้เมล์ไปยังบรรณาธิการที่รับผิดชอบโดยตรง ดังนี้ 
    หนังสือแนววิชาการ ช่างไฟฟ้า ช่างยนต์ อุตสาหกรรม บริหารจัดการ ให้เมล์มาสอบถามได้ก่อนที่ sarida@se-ed.com
    หนังสือแนวเสริมทักษะความรู้ทั่วไป เมล์มาคุยกันก่อนที่ kanit@se-ed.com 
    
     หลังจากที่คุยกับทางสำนักพิมพ์เรียบร้อยแล้วว่าจะนำเสนอแบบใด เขียนเนื้อหา ครอบคลุมถึงตรงไหน คุณก็เริ่มรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่จะเขียนได้เลย
    
     จากนั้นก็เริ่มลุยเขียน โดยวางแผนกำหนดระยะเวลาให้แน่นอน จะได้ควบคุมตัวเองให้ทำงานได้สำเร็จ สำหรับหลักการเขียนงาน คุณต้องสะกดคำไทย คำอังกฤษ ให้ต้องถูกต้องตรงตามมาตรฐานของราชบัณฑิตสถาน ซึ่งคุณควรมีพจนานุกรมไว้ข้างกายสัก 1 เล่ม ก็จะเป็นการดี ส่วนคำทับศัพท์บางคำที่ไม่มีคำแปล ให้สอบถามทางสำนักพิมพ์ก่อนว่าสะกดอย่างไร จะได้สะกดได้ถูกต้องตั้งแต่แรก
     ทยอยส่งไปให้บรรณาธิการเค้าอ่านก่อนบ้างก็จะดี เผื่อมีอะไรทักท้วง จะได้ทราบในเบื้องต้นก่อน 
    
     จัดเตรียมรูปประกอบของเนื้อหาให้พร้อม 
    
     เมื่อเขียนต้นฉบับเสร็จ ก็นำส่งเข้าสำนักพิมพ์ได้เลย 
     สำหรับที่ซีเอ็ดฯ การส่งต้นฉบับ จะต้องเป็นไฟล์เอกสารของไมโครซอฟต์เวิร์ด และรูปภาพประกอบก็เป็นไฟล์กราฟิกนามสกุล (*.TIF) แยกเป็นรูปๆ ไปด้วย เพื่อสะดวกในการจัดรูปเล่ม
     สำหรับผู้ที่เขียนเป็นต้นฉบับเสร็จไว้แล้ว และต้องการจะนำมาเสนอให้ทาง "ซีเอ็ดฯ" พิจารณาจัดพิมพ์และจัดจำหน่าย ก็สามารถเสนองานเข้ามาได้เช่นเดียวกันครับ ตามอีเมล์ที่แจ้งไว้ดังข้างต้นแล้ว
    ข้อสำคัญ ทั้งเนื้อหา รูปประกอบ และสิ่งต่างๆ ที่อยู่ภายในเล่ม ต้องเป็นงานที่คุณสร้างขึ้นมาเองทั้งหมด หมายถึงต้องเขียนขึ้นจากความคิดของคุณเอง ไม่ได้ลอกมาจากที่อื่นใด หากจะต้องมีการอ้างอิงจากที่อื่นบ้าง ก็ต้องระบุให้ชัดเจนว่านำมาจากที่ใด ทางที่ดีควรทำการขออนุญาตเจ้าของข้อมูลนั้นให้เรียบร้อยเสียก่อน มิเช่นนั้นก็จะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น แหล่งข้อมูลที่คุณต้องระวังในการละเมิดนั้น มีอยู่หลายที่ ได้แก่ หนังสือ วารสาร เอกสารอบรม แผ่นปลิว แผ่นพับ เอกสารอื่นใด รวมทั้งเว็บไซต์ทั้งหลายด้วย ทั้งนี้ไม่เฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นภาษาไทยเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นภาษาใดๆ ก็ห้ามลอกมาเขียนโดยเด็ดขาด 
     
    2. หนังสือที่แปลจากหนังสือต่างประเทศ
    ในการแปลหนังสือต่างประเทศ ให้คุณเริ่มต้นดังนี้
     หากคุณได้พบหนังสือต่างประเทศที่มีเนื้อหาดี น่านำมาแปลเผยแพร่ให้คนไทยได้อ่าน ก็ให้ติดต่อไปที่สำนักพิมพ์ก่อน ถ้าเป็นที่ซีเอ็ดฯ ก็ติดต่อมาได้ที่บรรณาธิการที่รับผิดชอบหนังสือแนวนั้นๆ ดังข้อมูลข้างต้น โดยให้ข้อมูลประกอบการเสนอแปลหนังสือ ว่าหนังสือเล่มนี้ดีอย่างไร ผู้อ่านคือใคร และอ่านแล้วจะได้ประโยชน์อย่างไร มีกลุ่มผู้ใช้หนังสือมากน้อยเพียงใด ฯลฯ
    
     ทางสำนักพิมพ์จะเป็นผู้ติดต่อขอลิขสิทธิ์จากสำนักพิมพ์ต่างประเทศเอง
    
     อย่าเพิ่งแปลงานจนกว่าจะได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
    
     เมื่อลิขสิทธิ์ผ่าน ก็ลงมือแปลได้เลย โดยการแปลให้คุณตกลงกับทางสำนักพิมพ์ในเรื่องเงื่อนไขการแปลก่อนล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นวิธีการแปล การใช้สำนวน การปรับประยุกต์ข้อมูลให้เข้ากับบ้านเรา (ประเทศไทย) และเงื่อนไขค่าตอบแทน
    
     การแปลให้คุณแปลแบบที่เรียบเรียงขึ้นเป็นภาษาที่อ่านได้เข้าใจง่ายๆ ไม่ควรแปลเป็นคำต่อคำ หรือประโยคต่อประโยค ซึ่งจะทำให้เนื้อหากระท่อนกระแท่น อ่านติดๆ ขัดๆ
    
     การแปลที่ดี หากมีข้อมูลอื่นๆ ที่จะเป็นประโยชน์เพิ่มเติมและเกี่ยวข้องกับคนไทย ก็น่าจะนำมาพิจารณาเติมเข้าไปได้บ้าง เพื่อให้เกิดประโยชน์กับคนอ่านมากที่สุด แต่ทั้งนี้ก็ต้องได้รับการอนุญาตจากสำนักพิมพ์เจ้าของลิขสิทธิ์ด้วย
    
     การส่งงาน ก็เหมือนกับกรณีหนังสือเขียนขึ้นเอง โดยให้ส่งเป็นไฟล์ไมโครซอฟต์เวิร์ด ส่วนรูปภาพประกอบก็สามารถใช้จากเจ้าของลิขสิทธิ์ต่างประเทศได้ หรือจะปรับปรุงรูปภาพใหม่ให้ดีขึ้น ก็จัดทำมาให้เรียบร้อยด้วย
    ทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อมูลขั้นต้นของการติดต่อเขียนหนังสือเท่านั้น หากท่านใดต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็สามารถติดต่อเข้ามายัง บริษัทซีเอ็ดฯ ได้ดังนี้
    ที่อยู่ปัจจุบัน
    บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
    บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
    เลขที่ 46/87-90 อาคารเนชั่นทาวเวอร์ ชั้น 20 ถนนบางนา-ตราด กม.ที่ 4.5 
    แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 
    โทร. (02) 325-1111, 751-5888
     
    อย่างไรก็ตาม การติดต่อทางอีเมล์จะสะดวกที่สุดครับ
    1.gif1.gif1.gif
    ส่วนชื่อเรื่องก็มีให้ 2 ชื่อเรื่องนะครับ
    1.ก็แค่อยากบอก
    2.บอกเล่าจากอดีตสู่อนาคต
    แต่ในความเป็นจริงแล้ว ชื่อเรื่องน่ะ ควรเขียนไว้หลังสุดนะครับ เพราะว่าถ้าเขียนไว้ก่อนอาจจะผิดเพี้ยนจากเนื้อเรื่องได้นะครับ1.gif1.gif1.gif

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน