7 กุมภาพันธ์ 2556 09:46 น.
แทนคุณแทนไท
การป้องกัน โดยชอบด้วยกฎหมาย
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 บัญญัติว่า "ผู้ใดต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่น ให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด"
หลักเกณฑ์ของการ ป้องกันตัว โดยชอบ ด้วยกฎหมาย
1. มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย นั่นคือ
- ภยันตรายที่เกิดขึ้นนั้นผู้กระทำไม่มีอำนาจตามกฎหมายจะทำได้ หากผู้ก่อภัยนั้นมีอำนาจทำได้โดยชอบ ท่านก็ไม่มีสิทธิจะป้องกัน เช่น พ่อมีสิทธิว่ากล่าว/ลงโทษลูก ไม่ถือเป็นภยันตรายตามข้อ 1.
- แม้จะมีภยันตรายแล้วก็ตาม แต่ผู้ที่อ้างป้องกันได้ จะต้องไม่มีส่วนผิดในการก่อให้เกิดภยันตรายดังกล่าวขึ้นด้วย เช่น ไม่เป็นผู้ก่อภัยขึ้นในตอนแรก ไม่เป็นผู้ที่สมัครใจเข้าวิวาทกัน ไม่เป็นผู้ที่ยินยอมให้ผู้อื่นกระทำต่อตนโดยสมัครใจ และ ไม่เป้นผู้ที่ไปยั่วให้คนอื่นเข้าโกรธก่อน
2. ภยันตรายนั้น ใกล้จะถึง แม้ท่านจะมีภยันตรายอันละเมิดต่อกฎหมายเกิดขึ้น
ตามข้อ ๑ แล้วก็ตาม ก็อย่าเพิ่งนอนใจว่าท่านจะมีสิทธิป้องกันได้ กล่าวคือท่านจะมีสิทธิ ป้องกันตัว ได้ต่อเมื่อภยันตรายนั้น เป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง คือภัยที่เกิดขึ้นกระชั้นชิดถึงขนาดที่ไม่มีหนทางอื่นที่จะขจัดปัดเป่าภัยนั้นได้ นอกจากการป้องกันตัวเอง
3. ผู้กระทำจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตน ให้พ้นจากภยันตรายนั้น
4. การกระทำ ป้องกันตัว ตามสมควรแก่เหตุ ก็คือ แม้กฎหมายจะให้สิทธิแก่ประชา ชนผู้ประสบอันตรายป้องกันตนเองได้ แต่ก็ไม่ได้ให้เสียจนหาขอบเขตไม่ได้ จนกลายเป็นการป้อง กันผสมกับความโกรธแค้น บันดาลโทสะ หรือสะใจ เช่น เมื่อมีผู้ร้ายถือมีดจะทำร้ายท่าน ท่านได้ตอบโต้จนผู้ร้ายไม่สามารถจะถือมีด หรือไม่สามารถจะแทงท่านได้อีกแล้ว ถือว่าภยันตรายได้ผ่านพ้นไปแล้ว ถ้าท่านซ้ำเติมอีก จะถือว่าเกินกว่าเหตุ
หรือจะอธิบายแยกได้ดังนี้ก็ได้..........
อธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นว่า
1. ต้องมีภัยอันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายที่ละเมิดต่อกฏหมาย
2. และเป็นภัยอันตรายที่ใกล้จะถึงตัว โดยภัยนั้นยังมีอยู่ไม่สิ้นสุดไป
3. ผู้ป้องกันจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือผู้อื่นให้พ้นภัย
4. และการกระทำป้องกันนั้นต้องพอสมควรแก่เหตุ จึงทำให้ผู้ป้องกัน
ไม่มีความผิด
ยกตัวอย่าง เช่น
กรณีเป็นภัยอันตรายซึ่งเกิดจาการประทุษร้ายที่ละเมิดต่อกฏหมาย
>> เราเป็นเจ้าของบ้าน มีสิทธิป้องกันไม่ให้ใครเข้ามารุกรานทำร้าย
แม้ว่าจะมีทางหนีได้ แต่ไม่มีความจำเป็นที่เจ้าของบ้านต้องหนีผู้ทำผิด
กฏหมาย ถ้าผู้ร้ายถืออาวุธจะเข้ามาทำร้ายเราถึงบ้าน เราสามารถกระทำ
ป้องกันชีวิตเราพอสมควรแก่เหตุได้
กรณีต้องเป็นภัยอันตรายที่ใกล้จะถึงตัว โดยภัยนั้ยังมีอยู่ ไม่สิ้นสุดไป
>> เราเป็นหญิง ถูกชายลากเข้าไปป่าข้างทางเพื่อข่มขืนและขู่ว่าจะฆ่า
เราจึงใช้มีดแทงหนึ่งทีแล้ววิ่งหนีออกมา ฝ่ายผู้ร้ายจะพยายามแย่งมีดจากเรา
ทำให้เราแทงผู้ร้ายอีกหลายครั้งจนเป็นหตุถึงตาย เช่นนี้ถือว่าภัยยังไม่หมดไป
เมื่อเป็นหญิงอยู่ในภาวะเช่นนั้น จะเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
กรณีผู้ป้องกันจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือผู้อื่นให้พ้นภัย
>> มีคนบุกรุกเข้ามาฉุดคร่าลูกสาวของเราถึงในบ้าน และกำลังพาออกจาก
บ้านไป การที่เรายิงผู้ร้ายนั้นเป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของลูกสาวให้
พ้นจากภัยอันตรายดังกล่าว โดยเราไม่มีทางเลือกอื่นที่จะป้องกันได้ การยิง
ผู้ร้ายจึงเป็นการป้องกันที่ชอบด้วยกฏหมาย
กรณีเป็นการกระทำป้องกันที่พอสมควรแก่เหตุ
>> หากภัยที่มีมาอาจทำให้ถึงตาย ก็สามารถตอบโต้ถึงตายได้ โดยไม่ต้อง
คำนึงว่าจะใช้อาวุธหรือวิธีการอย่างไร แต่ถ้าภัยที่มีมาถึงเราเป็นเหตุไม่ร้ายแรง
การที่เราป้องกันถึงขนาดทำให้ผู้ร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บสาหัส ย่อมเป็นการ
กระทำที่เกินสมควรแก่เหตุ เป็นความผิดที่ต้องรับโทษ เพียงแต่ศาลอาจ
ลงโทษน้อยกว่าที่กฏหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้
เหตุที่อ้างป้องกันโดยชอบด้วยกฏหมายไม่ได้
1. ถ้าภัยอันตรายที่เราอ้างว่าใกล้จะถึงตัวได้ผ่านพ้นไปแล้ว เราจะอ้างป้องกัน
ไม่ได้ เช่น เราเห็นคนกำลังปีนรั้วเข้าบ้าน เราจึงร้องเอะอะขึ้น คนนั้นจึงรีบปีน
หนีไป แต่เรายังใช้ปืนยิงเขาถึงตาย อย่างนี้จะอ้างว่ายิงเขาตายเป็นการกระทำ
เพื่อป้องกันไม่ได้
2. เราเป็นผู้ก่อเหตุขึ้นก่อนหรือเป็นผู้ที่ท้าทายผู้อื่นก่อน เช่น เราเป็นฝ่ายก่อเหตุ
ด่าเขาก่อน เมื่อเขาจะเข้ามาทำร้าย เราจึงทำร้ายเขานั้น จะอ้างว่าป้องกันตัวไม่ได้
3. เราเป็นผู้สมัครใจเข้าต่อสู้ วิวาทกัน ที่ไม่ใช่การโต้เถียงกัน แต่ทั้งคู่กระทำโดย
ใช้กำลังเข้าชกต่อยหรือตบตีกัน ย่อมถือว่าสมัครใจทะเลาะวิวาท อ้างเหตุป้องกัน
ตัวไม่ได้
ตัวอย่างการป้องกันที่เกินสมควรแก่เหตุ เช่น เด็กเข้ามาลักทรัพย์สินในบ้าน
เราโดยไม่มีอาวุธ ขณะเด็กโผล่ขึ้นมาจากที่ซ่อนตัวใต้แคร่อันเป็นที่จำกัด เราอาจ
ใช้วิธีอื่นในการสกัดจับเด็กหรือเรียกคนอื่นมาช่วยกันจับ แต่เราถึงขั้นใช้อาวุธปืนยิง
จนเด็กเสียชีวิตหรือบาดเจ็บสาหัส ย่อมเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ