10 มกราคม 2554 19:22 น.
แก้วประเสริฐ
ป่าหิมพานต์
ถัดจากเขาสุทัสสนะ หรือติดเขาสุทัสสนะ จะเป็นป่าหิมพานต์ ซึ่งป่าหิมพานต์ เป็นรอยต่อแห่งมิติ ส่วนหนึ่งของป่าหิมพานต์เป็นแดนทิพย์ ส่วนหนึ่งเป็นแดนมนุษย์ และส่วนหนึ่งเป็นแดนรอยต่อระหว่างโลกทิพย์กับโลกมนุษย์
ในป่าหิมพานต์ จึงมีพืชพันธุ์แปลกๆ มากมาย สัตว์พันธุ์แปลกๆ มากมาย ทั้งสัตว์กึ่งเทพ สัตว์กายสิทธิ์ ก็อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ นี่เอง
ป่าหิมพานต์ ความจริงเป็นภูเขา เรียกว่าภูเขาหิมพานต์ หรือ หิมวันตบรรพต เมื่อมองลักษณะรูปร่างแล้ว เรียกภูเขาหิมพานต์ แต่เมื่อมองในลักษณะมีต้นไม้มากแล้ว ก็คือป่าหิมพานต์
เขาหิมพานต์ ยังประกอบด้วยยอดเขาย่อยๆ อีกมากมาย
เขาหิมพานต์ มีสระสำคัญๆ อยู่ ๗ สระ คือ
๑. สระอโนดาต
๒. สระกรรณมุณฑะ
๓. สระรถการะ
๔. สระฉัททันต์
๕. สระกุณาละ
๖. สระมันทากินี
๗. สระสีหปปาตะ
สระอโนดาต เป็นสระที่ได้ยินชื่อบ่อยที่สุด ธารน้ำทั้งหลาย ย่อมไหลลงมาที่สระอโนดาต พื้นสระอโนดาต เป็นแผ่นหินกายสิทธิ์ ชื่อมโนศิลา บริเวณที่เป็นดิน ก็เป็นดินกายสิทธิ์ชื่อหรดาล (ใช้ถูตัวได้ดี) น้ำใสแจ๋วสะอาด ท่าอาบน้ำ มีมากมาย เป็นที่สรงสนานแห่งพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ทั้งหลาย รวมถึงเหล่าผู้วิเศษผู้มีฤทธิ์ทั้งหลาย เช่น ฤๅษี วิทยาธร ยักษ์ นาค เทวดา เป็นต้น
รอบสระอโนดาต มียอดเขารายรอบอยู่ ๕ ยอดเขาได้แก่
ยอดเขาสุทัสสนะ (สุทัสสนกูฏ)
ยอดเขาจิตตะ (จิตรกูฎ )
ยอดเขากาฬะ (กาฬกูฎ)
ยอดเขาคันธมาทน์ (คันธมาทนกูฏ)
ยอดเขาไกรลาส (ไกรลาสกูฏ)
ยอดเขาสุทัสสนะ เป็นทองคำ รูปทรงโค้งตามแนวสระอโนดาต และปลายยอดเขา มีสัณฐานโค้งงุ้มดังปากกา โอบปิดด้านบนสระอโนดาตไว้ ไม่ให้โดนแสงอาทิตย์ แสงจันทร์ตรงๆ
ยอดเขาจิตตะ เป็นรัตนะ รูปทรงคล้ายยอดเขาสุทัสสนะ
ยอดเขากาฬะ เป็นแร่พลวง หินแห่งยอดเขาสีนีล รูปทรงคล้ายยอดเขาสุทัสสนะ
ยอดเขาคันธมาทน์ รูปทรงคล้ายยอดเขาสุทัสสนะ ด้านบนยอดเขา เป็นพื้นราบเรียบ (เหมือนภูกระดึง) อุดมไปด้วยไม้หอมนานาพันธุ์ ทั้งไม้รากหอม ไม้แก่นหอม ไม้กระพี้หอม ไม้เปลือกหอม ไม้สะเก็ดหอม ไม้รสหอม ไม้ใบหอม ไม้ดอกหอม ไม้ผลหอม ไม้ลำต้นหอม ทั้งยังอุดมไปด้วย ไม้อันเป็นโอสถนานาประการ ในวันอุโบสถ(วันพระ) ข้างแรม ยอดเขานี้จะเรืองแสงเหมือนถ่านไฟคุ ข้างขึ้น แสงยิ่งเปล่งรัศมีโชติช่วงกว่าเดิม... ภายในเขาคันธมาทน์ มีถ้ำบนยอดเขาชื่อว่าถ้ำนันทมูล เป็นที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ประกอบไปด้วยถ้ำทอง ถ้ำแก้ว และถ้ำเงิน
ยอดเขาไกรลาส เป็นภูเขาเงิน รูปทรงคล้ายยอดเขาสุทัสสนะ วิมานฉิมพลีแห่งพญาครุฑ ก็อยู่ที่เขาไกรลาสนี้
ยอดเขาทั้ง๕ ตั้งตระหง่านรายล้อมสระอโนดาตไว้ และมีเทวดารวมถึงนาค เป็นผู้ดูแลรักษา ธารน้ำทั้งหลาย จากเขาหิมพานต์ ทุกสารทิศ จะไหลมาผ่านยอดเขา๕ลูกนี้ (ลูกใดลูกหนึ่ง) จากนั้น ก็จะไหลรวมลงสู่สระอโนดาต
(เหตุที่ได้ชื่อว่าอโนดาต ก็เพราะ มีเงื้อมผาโค้งงุ้มดังปากกา โอบบังแสงไว้ด้านบน ทำให้แสงอาทิตย์และแสงจันทร์ ไม่สามารถส่องผ่านไปโดนน้ำตรงๆ ได้ แสงเพียงลอดเข้าด้านข้าง ในแนวเหนือใต้ ตรงระหว่างรอยต่อยอดเขากับยอดเขา เท่านั้น สระนี้ จึงได้ชื่อว่า “อโนดาต”...แปลว่า ไม่ถูกแสงส่องให้ร้อน..)
จากสระอโนดาต... จะมีปากทางให้น้ำไหลระบายออกอยู่สี่แห่ง ทิศละแห่ง คือ
สีหมุข... ปากแม่น้ำแดนราชสีห์ (เป็นถิ่นที่ราชสีห์อาศัยอยู่มาก)
หัตถีมุข... ปากแม่น้ำแดนช้าง (เป็นถิ่นที่ช้างอาศัยอยู่มาก)
อัสสมุข... ปากแม่น้ำแดนม้า (เป็นถิ่นที่ม้าอาศัยอยู่มาก)
อุสภมุข... ปากแม่น้ำแดนโคอุสภะ (เป็นถิ่นที่โคอาศัยอยู่มาก)
เกิดเป็นแม่น้ำใหญ่สี่สาย ไหลล่อเลี้ยงรอบนอกของเขาหิมพานต์ ก่อนลงสู่มหาสมุทร...
ด้านทิศตะวันออก จากสระอโนดาต เลี้ยวขวาสระอโนดาตสามเลี้ยว ไม่ข้องแวะกับแม่น้ำอีกสามสาย ไหลผ่านถิ่นอมนุษย์ทางภูเขาหิมพานต์ ด้านทิศตะวันออก ลงสู่มหาสมุทร
ด้านทิศตะวันตก จากสระอโนดาต เลี้ยวขวาสระอโนดาตสามเลี้ยว ไม่ข้องแวะกับแม่น้ำอีกสามสาย ไหลผ่านถิ่นอมนุษย์ทางภูเขาหิมพานต์ ด้านทิศตะวันตก ลงสู่มหาสมุทร
ด้านทิศเหนือ จากสระอโนดาต เลี้ยวขวาสระอโนดาตสามเลี้ยว ไม่ข้องแวะกับแม่น้ำอีกสามสาย ไหลผ่านถิ่นอมนุษย์ทางภูเขาหิมพานต์ ด้านทิศเหนือ ลงสู่มหาสมุทร
(ที่แม่น้ำทุกสาย ไหลวนรอบสระอโนดาตเหมือนกัน แต่ไม่ข้องแวะกัน เพราะ ไหลลอดอุโมงค์หิน ไหลลอดภูเขา ออกไป)
ด้านทิศใต้ จากสระอโนดาต เลี้ยวขวาสระอโนดาตสามเลี้ยว แล้วไหลตรงไปทางใต้ประมาณ ๖๐ โยชน์ โผล่ออกมาใต้แผ่นหิน ตรงบริเวณหน้าผา กลายเป็นน้ำตกสูงใหญ่ยิ่ง ความสูงสายน้ำตกประมาณ ๖๐ โยชน์ สายน้ำตกอันรุนแรงนั้น ตกกระทบแผ่นหินเบื้องล่าง จนหินแตกกระจายออก ในที่สุดกลายเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ รองรับสายน้ำตกนั้น แอ่งน้ำนี้มีชื่อเรียกว่า “ติยัคคฬา” เมื่อน้ำมากขึ้น ได้พังทำลายหินอันโอบล้อมอยู่ออกไปได้ทางหนึ่ง เจาะกระแทกหินที่ไม่แข็ง เป็นอุโมงค์ ไหลไป จนถึงส่วนที่เป็นดิน ก็เจาะทะลุดิน เป็นอุโมงค์ และไหลลอดตามอุโมงค์ดินนั้นไป จนถึงภูเขาหินขวางอยู่ (ติรัจฉานบรรพต=ภูเขาขวาง) ภูเขานี้เรียกว่า วิชฌะ เมื่อน้ำกระทบหินเข้า ก็ไปต่อไม่ได้โดยง่าย แรงน้ำได้ดันจุดที่อ่อนแอที่สุดออกไปได้ ๕ จุด เกิดเป็นทางแยก ๕ แยก และกลายเป็นต้นน้ำสำคัญแห่งมนุษย์ ๕ สาย ด้วยกัน คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหิ และแม่น้ำทั้ง๕ นี้ นอกจากผู้ตาทิพย์แล้ว ไม่มีใครบอกได้ว่า ของจริงอยู่ที่ไหน ...
***********************************
อีกหนึ่งตำนานกล่าวไว้เช่นเดียวกันว่า
ตาม ตำนานกล่าวไว้ว่าป่า หิมพานต์ตั้งอยู่บนเขา หิมพานต์ หรือหิมาลายา (หิมาลัย) คำว่า “หิมาลายา” นั้นเป็นคำที่ มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤตซึ่งแปลว่าสถาน ที่ๆ ถูกปกคลุมด้วยหิมะ ภูเขาหิมพานต์ประดิษฐานอยู่ในชมพูทวีปมีเนื้อที่ ประมาณ ๓,๐๐๐ โยชน์ (๑ โยชน์ เท่ากับ ๑๐ ไมล์ หรือ ๑๖ กิโลเมตร) วัดโดยรอบได้ ๙,๐๐๐ โยชน์ ประดับด้วยยอด ๘๔,๐๐๐ ยอด มีสระใหญ่ ๗ สระคือ ๑ สระอโนดาต ๒ สระกัณณมุณฑะ ๓ สระรถการะ ๔ สระฉัททันตะ ๕ สระกุณาละ ๖ สระมัณฑากิณี ๗ สระสีหัปปาตะ บรรดาสระใหญ่ทั้ง ๗ นั้น สระอโนดาตแวดล้อมไปด้วยภูเขาทั้ง ๕ ที่จัดเป็นยอดเขาหิมพานต์ ยอดเขาทุกยอด มีส่วนสูงและสัณฐาน ๒๐๐ โยชน์ กว้างและยาวได้ ๕๐ โยชน์ ในป่านี้เต็มไปด้วย สัตว์นานาชนิด ซึ่งล้วนแต่แปลกประหลาด ต่างจากสัตว์ที่เราๆรู้จัก บ้างก็ว่า สัตว์เหล่านี้เกิดจากจินตนาการของ จิตรกร ที่ได้สรรค์สร้าง ภาพต่างๆจาก เอกสาร
สัตว์ประเภทกิเลน
แม้ ว่ากิเลนจะได้รับอิทธิพลจากประเทศจีน วัดหลายแห่ง ในไทยก็มี กิเลนเช่นกัน แบบฉบับของกิเลนไทย แตกต่างจากแบบจีนบ้าง โดยปกติแล้ว กิเลนไทยมีเขา ๒ เขา และมีกีบคู่ ต่างจากแบบดั้งเดิม
สัตว์ประเภทกวาง
มารีศ เป็นหนึ่งในตัวละครยักษ์ในเรื่องรามายนะ (รามเกียรติ์)
. มารีศเป็นบุตรของนางยักษ์ชื่อ กากนาสูร และเป็นญาติของทศกัณฑ์ (ตัวร้ายหลักของเรื่อง) ในเรื่อง ทศกัณฑ์ต้องการจับตัวนางสีดา จึงสั่งให้มารีศให้จำแลงกาย เป็นกวางทองไปล่อนาง แผนนี้เกือบสำเร็จลุล่วง แต่ท้ายที่สุด มารีศก็โดนพระรามแผลงศรใส่ ในรูปวาดมารีศจึงเป็นรูปสัตว์ประหลาด กึ่งยักษ์กึ่งกวาง
พานรมฤคมีร่างท่อนบนเป็นลิงและมีกายท่อนล่างเป็นกวาง
สัตว์ประเภทสิงห์
บัณฑุ ราชสีห์ เป็น ๑ ใน ๔ ราชสีห์แห่งป่าหิมพานต์ บัณฑุราชสีห์มีผิวกายสีเหลืองและ เป็นสัตว์กินเนื้อ บัณฑุราชสีห์จัดได้ว่าเป็นสัตว์นักล่าขนาดใหญ่สัตว์ ที่ถูกล่า มีตั้งแต่สัตว์ประเภทกวาง ควาย ช้าง หรือแม้แต่มนุษย์ ในเอกสารที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับป่าหิมพานต์ระบุว่า มี ร่างกาย เหมือนสีใบไม้เหลืองและใหญ่เท่ากับวัวหนุ่ม
ไกรสรปักษาเป็นสัตว์ผสมระหว่างสิงห์กับนก
. ตามรูปโบราณ ไกรสรปักษามีกายสีเขียวอ่อน หัวเป็นเหมือนพญาอินทรี ตัวเป็นดั่งราชสีห์แต่มีเกล็ดคลุม นอกจากนั้นยังมีปีกเหมือนนกอีกด้วย
เหม ราชตามชื่อของสัตว์ชนิดนี้ เหมราชเป็นสัตว์ผสมที่มีร่างเป็นสิงห์ ส่วนหัวเป็นเหม เหมเป็นสัตว์ในวรรณคดีไทยชนิดหนึ่ง บ้างก็ว่ามีลักษณะเหมือนหงส์(ห่าน) แต่ในบางรูป ก็วาดเหมเหมือนสัตว์ตระกูลจระเข้
สัตว์ประเภทม้า
ดุรงค์ไกรสรมีลักษณะคล้ายกับโตเทพอัสดรกล่าวคือทั้งคู่ เป็นสัตว์ผสมระหว่าง
สิงห์กับม้า
ตาม ตำนาน ดุรงค์ไกรสรมีกายเป็นม้าสีแดง มีหางสีดำ กีบสีดำเหมือนม้า ส่วนหัวเป็นสิงฆืที่มีลักษณะสง่า ชื่อ “ดุรงค์ไกรสร” มาจากคำบาลีโบราณ ๒ คำคือ “ดุรงค์” ซึ่งคือสายพันธุ์หนึ่งของม้า และคำว่า “ไกรสร” ซึ่งก็คือสิงห็นั่นเอง .
ดุรงค์ไกรสรเป็นสัตว์กินเนื้อเป็น อาหาร อาหารที่กิน ก็คือสัตว์นานาชนิดในป่าหิมพานต์ ไม่ว่าจะเป็นกวาง หรือวัวควาย ลักษณะเด่นของดุรงค์ไกรสรคือ สามารถวิ่งได้เร็วดุจม้าและ มีความแข็งแรงอย่างสิงห์
โต เทพอัสดร เป็นสัตว์หิมพานต์แบบผสมระหว่างสิงโตกับม้า มีลักษณะทั่วไปเหมือนดุรงค์ไกรสรกล่าว คือมีหัวเป็นสิงโต และมีร่างเป็นม้า แต่เมื่อพิจารณาลึกๆแล้วมีความแตกต่างจาก ดุรงค์ไกรสร โดยโตเทพอัสดรมีร่างกายเป็นม้าสีแสด หางและกีบสีแดงชาด หัวเป็นสิงโต คอ หลังและขนสร้อยคอสีเขียว คำว่า “อัสดร” มาจากภาษาสันสกฤต “อสฺสตร” หมายถึง ม้าดี หรือสัตว์ผสมที่เกิดจากพ่อที่เป็นลา และแม่ที่เป็นม้า โตเทพอัสดรเป็นสัตว์ล่าเนื้อเป็นอาหารเช่นเดียวกับ ดุรงค์ไกรสร สัตว์ที่เป็นเหยื่อของโตเทพอัสดรมีตั้งแต่ สัตว์เล็กสัตว์น้อย จนไปถึงสัตว์ขนาดใหญ่ ในป่าหิมพานต์เช่นกวาง วัว ควาย
สัตว์ประเภทแรด
“ระมาด” ในภาษาเขมรแปลว่าแรด ระมาดเป็นสัตว์หิมพานต์ที่ มาจากสัตว์ที่มีตัวตนอยู่จริง แต่อาจจะเพี้ยนไปบ้าง เพราะระมาด หรือแรดเป็นสัตว์ ป่าหายาก ศิลปินไทยในสมัยโบราณไม่รู้ว่าจริงๆแล้ว ระมาดหน้าตาเป็นอย่างไร จึงได้แต่วาดตามคำอธิบาย ระมาดที่ปรากฎในศิลปะไทยจึงดูคล้ายกับตัวสมเสร็จ ซึ่งมีจมูกเป็นงวงสั้นๆ ดูน่าจะเป็นพันธุ์ Malayan Tapir ที่มีอยู่ในเขตตะวันตกของประเทศไทย
สัตว์ประเภทช้าง
ใน เรื่องรามายณะและ ความเชื่อของศาสนาฮินดู กล่าวถึงพระอินทร์มีร่างสีเขียว มีพาหนะเป็นช้าง ๓ เชือก เชือกหนึ่งพระศิวะเป็นผู้ประทานให้ชื่อว่า เอราวัณ เชือกหนึ่งพระพรหมป็นผู้ประทานให้ชื่อว่า คีรีเมขล์ไตรดายุค และอีกเชือกหนึ่งพระวิษณุเป็นผู้ ประทานให้ชื่อว่า เอกทันต์ ช้างเอราวัณเป็นช้างที่มีพละกำลังมากที่สุดในหมู่ ช้างทั้ง ๓ เชือก และเป็นที่โปรดปรานมากที่สุด ของพระอินทร์ เชื่อกันว่าช้างเชือกนี้เป็นเทพบุตรองค์หนึ่ง เมื่อพระอินทร์ต้องการจะเสด็จ ไปไหนเอราวัณเทพบุตร ก็จะแปลงกายเป็นช้างเผือก ขนาดสูงกว่าภูเขาเอเวอร์เรสต์ มี ๓๓ เศียร แต่ละเศียรมีงา ๗ งา งาแต่ละงายาวถึง ๔ ล้านวา
งาแต่ละงามีสระบัว ๗ สระ แต่ละสระมีดอกบัว ๗ ดอก แต่ละดอกมีกลีบ ๗ กลีบ มี ๗ เกสร แต่ละเกสรมีปราสาทอยู่ ๗ หลัง ปราสาทแต่ละหลังมี ๗ ชั้น แต่ละชั้นมี ๗ ห้อง แต่ละห้องมี ๗ บัลลังค์ แต่ละบัลลังค์มีเทพธิดาสถิต ๗ องค์ เทพธิดาแต่ละองค์มีบริวาร องค์ละ ๗ นาง เทพธิดาบริวารแต่ ละนางมีนางทาสีนางละ ๗ ทาสี รวมทั้งนางเทพอัปสรทั้งหมดประ มาณ ๑๙๐,๒๔๘,๔๓๓ นาง เทพธิดา บริวารรวมกันทั้งหมดประมาณ ๑๓,๓๓๑,๖๖๙,๐๓๑ นาง เศียรทั้ง ๓๓ ของช้างเอราวัณมีอุเปนทเทพยดา สถิตเศียรละ ๑ องค์ โดยปกติศิลปินไทยมักจะทำช้าง เอราวัณ เป็นช้าง ๓ เศียร
คน ทั่วไป มักจำวารีกุญชรสลับกับกุญชรวารี เพราะสัตว์หิมพานต์ทั้ง ๒ ชนิดนี้มีรากศัพท์มาจากคำ บาลี ๒ คำที่เหมือนกัน เพียงแต่คำเรียงลำดับสลับกัน เท่านั้น รากศัพท์ทั้ง ๒ ที่กล่าวถึงคือคำว่า “วารี” มีความหมายตามตัวว่าน้ำ โดยปกติจะใช้แทนน้ำทะเล และคำว่า “กุญชร” ซึ่งแปลว่าช้าง สัตว์ทั้ง ๒ ชนิดนี้เป็นสัตว์ประสม ระหว่างช้างกับปลา เราสามารถแยกแยะระหว่าง วารีกุญชรและกุญชรวารีได้ค่อนข้างง่าย โดยที่วารีกุญชรนั้นมีร่างกายเกือบทั้ง ตัวเป็นช้าง จะมีก็แต่อวัยวะบางส่วนที่กลายมาจาก สัตว์ประเภทปลาเช่น ครีบบนแผ่นหลัง ครีบเท้า และครีบหาง ส่วนกุญชรวารีนั้น มีช่วงตัวท่อนแรกเป็นช้าง ช่วงหลัง เป็นปลา กล่าวคือกุญชรวารี มีเท้าเพียง ๒ ข้าง ลำตัวและหางเป็นปลาหมด สัตว์ทั้ง ๒ มีถิ่นอาศัยอยู่ในทะเล สามารถว่ายและดำ น้ำได้ดีเยี่ยม
สัตว์ประเภทวัวควาย
มี ยักษ์อยู่ตนหนึ่งชื่อ "นนทกาล" มีหน้าที่เป็นยามเฝ้าประตูวังสวรรค์ ของพระศิวะ (เขาไกรลาส) ยักษ์ตนนี้ได้ทำผิดกฏ โดยการปลุกปล้ำนางฟ้านาม "มาลี" นางฟ้าได้นำเรื่องทูล ต่อองค์ศิวะเจ้า พระศิวะทรงกริ้วจึงสาป ให้ยักษ์ไปเกิดเป็น
ควาย มีนามว่า "ทรพา" และจะต้องถูกสังหารโดยลูกของตัวเอง ผู้มีชื่อว่า "ทรพี" หลังจากนั้นถูกจะพ้นคำสาป
นนท กาลเกิดเป็นควายหลายเมีย มันจะฆ่าลูกชายที่จะเกิดทุกตัว เมียทรพาตัวหนึ่ง หนีไปและได้คลอดลูกที่อื่น ควายตัวนี้ ได้รับการเลี้ยงดูโดยเทวดา เทวดาได้ตั้งชื่อควายตัวนี้ว่า "ทรพี" ทุกวันทรพีจะวัดขนาดกีบของมันกับของพ่อ เมื่อใหญ่เท่ากันจึงถือว่าพร้อมที่จะสู้ ท้ายสุดทรพาก็ถูกลูกของตนฆ่าตาย
สำนวนไทย คำว่า "ทรพี" หมายถึงคนที่ไม่รู้จักคุณบิดามารดา
กบิลปักษาเป็นสัตว์ประหลาดกึ่งนกกึ่งลิง โดยมีปีกนกติดอยู่ที่หัวไหล่ และ มีหางเหมือนนก โดยปกติระบายสีกายเป็นสีดำ
สัตว์ประเภทลิง
มัจฉา นุเป็นสัตว์ที่มีกายเป็นลิงมีหางเป็นปลา มัจฉานุเป็นตัวละครหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นบุตรของตัวละครหลัก หนุมาน กับนางเงือกชื่อ นางสุวรรณมัจฉา
สัตว์ประเภทนก
คชปักษา เป็นลักษณะของนกผสม มีตัวและแขนคล้ายครุฑ ท่อนล่างเป็นนกคล้ายหงส์ หางเป็นกนก มีจมูกเป็นงวงและงาเหมือนช้าง
ครุฑ เป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ มีอานุภาพและพละกำลังมหาศาล แข็งแรง สามารถบินได้รวดเร็ว ทั้งยังมีสติปัญญาเฉียบแหลม เฉลียวฉลาด อ่อนน้อม ถ่อมตน และมีสัมมาคารวะ น่าสรรเสริญ
สัตว์ประเภทปลา
ศฤงคมัส ยา เป็นปลาศักดิ์สิทธิ ที่เชื่อกันว่าเป็นภาคอวตารของพระนารายณ์ หน้าที่หลักของปลาชนิดนี้คือชักเรือลากไปใต้น้ำในคราวที่น้ำท่วมโลก
มัจ ฉวาฬ สัตว์หิมพานต์ชนิดนี้เกิดขึ้นจากความเข้าใจผิดของคนโบราณที่ได้พบเห็นวาฬของ จริงจะเห็นได้ว่ามีการแต่งเติมฟันที่แหลมคมเข้าไปด้วย
สัตว์ประเภทจระเข้
เป็นสัตว์ผสมระหว่างเทพกับจระเข้
มีลักษณะตัวเป็นเทพ ท่อนล่างเป็นจระเข้
มีหาง มือถือดาบ
เหรา นั้นเป็นสัตว์กึ่งนาคกึ่งจรเข้
สัตว์ประเภทนาค
นาค หรือ พญานาค งูใหญ่มีหงอน สัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา และนาคยังเป็นสัญลักษณ์ของบันไดสายรุ้งสู่จักรวาล
นาคเป็นเทพเจ้าแห่งท้องน้ำ บางแห่งก็ว่าเป็นเทพเจ้าแห่งฟ้า
สัตว์ประเภทมนุษย์
คนธรรพ์ เป็นชาวสวรรค์จำพวกหนึ่ง ตามคติลัทธิ
ศาสนาฮินดู
ว่า มีกำเนิดจากพระพรหม แต่บางทีก็ว่าเป็นโอรสพระกัตยปฤษี ตามปกติพวกคนธรรพ์มีบ้านเมืองของตนเองอยู่ระหว่างสวรรค์และโลกมนุษย์ และกล่าวว่าเป็นพวกมีนิสัยเป็นเจ้าชู้ มีเสน่ห์ทำให้ผู้หญิงหลงรัก
นารีผล หรือมักกะลีผล หรือมัคคะลีผล เป็นพืชวิเศษชนิดหนึ่ง เกิดอยู่ในป่าหิมพานต์ ว่ากันว่า นารีผล ขั้วลูกอยู่ด้านบนศีรษะ มีรูปร่างเป็นหญิง ผลสด รูปร่างสะโอดสะอง สมส่วน ผิวพรรณงดงาม ปานเทพธิดา
ว่ากันว่า บางครั้ง ฤๅษีที่บำเพ็ญเพียรจนตบะกล้า กิเลสสงบรำงับ เพื่อจะทดสอบจิตตน ก็จะเหาะไปที่ต้นนารีผล มองดูนารีผล ว่าตนจะตบะแตกหรือไม่... หรือบางครั้งฤๅษีผู้เป็นอาจารย์ อาจจะพาลูกศิษย์ไปทดสอบระดับจิต ไปฝึกควบคุมจิต ที่นั่น ก็มี และว่ากันว่า พวกนักสิทธิ์วิทยาธร มักจะเหาะไปเก็บนารีผล อุ้มมาเชยชมแล้ว ฝึกจิตใหม่ ค่อยเหาะกลับออกมา นารีผล เป็นที่ต้องการของสัตว์วิเศษ (คนธรรพ์เป็นต้น) รวมถึงวิทยาธรทั้งหลายผู้ยังไม่หมดกามราคะ ดังนั้น การที่นารีผลจะเหี่ยวแห้งคาต้นแล้วร่วงหล่นนั้น เป็นไปได้ยาก ก่อนจะโรยรา จะมีเทวดา สัตว์วิเศษ และวิทยาธร เป็นต้นมาเก็บเอาไป
ขอ ขอบคุณข้อมูลความรู้จาก นายช่วง สเลลานนท์ ประพันธ์หนังสือ “ศิลปไทย” ในปีพ.ศ. ๒๔๙๔ และได้มีการกล่าวถึงสัตว์หิมพานต์ ท่านได้จำแนกสัตว์หิมพานต์เป็น ๓ ประเภทคือ สัตว์ทวิบาท (สองขา) สัตว์จตุบาท (สี่ขา) และ ประเภทปลา
อีกตำนานหนึ่งก็กล่าวบอกถึงลักษณะสัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์
*********************************
อีกตำนานหนึ่งกล่าวถึงประเภทสัตว์ในป่าหิมพานต์เอาไว้
"ป่า หิมพานต์" ตามตำนานกล่าวไว้ว่า ป่าหิมพานต์ตั้งอยู่บนเขาหิมพานต์ หรือหิมาลายา (หิมาลัย) คำว่า หิมาลายา นั้นเป็นคำที่ มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤตซึ่งแปลว่าสถาน ที่ๆ ถูกปกคลุมด้วยหิมะ ภูเขาหิมพานต์ประดิษฐานอยู่ในชมพูทวีปมีเนื้อที่ ประมาณ ๓,๐๐๐ โยชน์ (๑ โยชน์ เท่ากับ ๑๐ ไมล์ หรือ ๑๖ กิโลเมตร) วัดโดยรอบได้ ๙,๐๐๐ โยชน์ ประดับด้วยยอด ๘๔,๐๐๐ ยอด มีสระใหญ่ ๗ สระคือ ๑ สระอโนดาต ๒ สระกัณณมุณฑะ ๓ สระรถการะ ๔ สระฉัททันตะ ๕ สระกุณาละ ๖ สระมัณฑากิณี ๗ สระสีหัปปาตะ บรรดาสระใหญ่ทั้ง ๗ นั้น สระอโนดาตแวดล้อมไปด้วยภูเขาทั้ง ๕ ที่จัดเป็นยอดเขาหิมพานต์ ยอดเขาทุกยอด มีส่วนสูงและสัณฐาน ๒๐๐ โยชน์ กว้างและยาวได้ ๕๐ โยชน์
ในป่านี้เต็มไปด้วย สัตว์นานาชนิด ซึ่งล้วนแต่แปลกประหลาด ต่างจากสัตว์ที่เรารู้จัก เราได้จำแนกสัตว์หิมพานต์เป็น ๑๕ ประเภทดังนี้
+ สัตว์ประเภทกิเลน
- กิเลนจีน
- กิเลนไทย
- กิเลนปีก
+ สัตว์ประเภทกวาง
- มารีศ
- พานรมฤค
- อัปสรสีหะ
+ สัตว์ประเภทสิงห์
- บัณฑุราชสีห์
- กาฬสีหะ
- ไกรสรราชสีห์
- ติณสีหะ
- เกสรสิงห์
- เหมราช
- คชสีห์
- ไกรสรจำแลง
- ไกรสรคาวี
- ไกรสรนาคา
- ไกรสรปักษา
- โลโต
- พยัคฆ์ไกรสร
- สางแปรง
- สกุณไกรสร
- สิงฆ์
- สิงหคาวี
- สิงหคักคา
- สิงหพานร
- สิงโตจีน
- สีหรามังกร
- เทพนรสีห์
- ฑิชากรจตุบท
- โต
- โตเทพสิงฆนัต
- ทักทอ
+ สัตว์ประเภทม้า
- ดุรงค์ไกรสร
- ดุรงค์ปักษิณ
- เหมราอัสดร
- ม้า
- ม้าปีก
- งายไส
- สินธพกุญชร
- สินธกนธี
- โตเทพอัสดร
- อัสดรเหรา
- อัสดรวิหค
+ สัตว์ประเภทแรด
+ สัตว์ประเภทช้าง
- เอราวัณ
- กรินทร์ปักษา
- วารีกุญชร
- ช้างเผือก
+ สัตว์ประเภทวัวควาย
- มังกรวิหค
- ทรพี / ทรพา
+ สัตว์ประเภทลิง
- กบิลปักษา
- มัจฉานุ
+ สัตว์ประเภทสุนัข
+ สัตว์ประเภทนก
- อสูรปักษา
- อสุรวายุพักตร์
- ไก่
- นกการเวก
- ครุฑ
- หงส์
- หงส์จีน
- คชปักษา
- มยุระคนธรรพ์
- มยุระเวนไตย
- มังกรสกุณี
- นาคปักษี
- นาคปักษิณ
- นกหัสดี
- นกอินทรี
- นกเทศ
- พยัคฆ์เวนไตย
- นกสดายุ
- เสือปีก
- สกุณเหรา
- สินธุปักษี
- สีหสุบรรณ
- สุบรรณเหรา
- นกสัมพาที
- เทพกินนร
- เทพกินรี
- เทพปักษี
- นกทัณฑิมา
+ สัตว์ประเภทปลา
- เหมวาริน
- กุญชรวารี
- มัจฉนาคา
- มัจฉวาฬ
- นางเงือก
- ปลาควาย
- ปลาเสือ
- ศฤงคมัสยา
+ สัตว์ประเภทจระเข้
- กุมภีร์นิมิต
- เหรา
+ สัตว์ประเภทปู
+ สัตว์ประเภทนาค
+ สัตว์ประเภทมนุษย์
- คนธรรพ์
- มะกาลีผล
ดังนั้นข้าพเจ้่าเอามาลงไว้ให้ท่านได้ไตร่ตรองเอาดูเองเถิดแต่
ข้าพเจ้าอ่านดูแล้ว เห็นว่ามีส่วนคล้ายหรือเหมือนกันทั้งนั้น ซึ่งบาง
ตำนานกล่าวไว้ว่า อันป่าหิมพานต์นี้อยู่ในดินแดนปกครองของท่าน
ท้ายธตรัฐฐะมหาราชในจตุรโลกบาลทั้งสี่ ข้าพเจ้าเองก็ไม่แน่ใจนัก
จึงขอให้ท่านที่ผ่านมาอ่านนี้เรื่องราวเหล่านี้
ควรอยู่ในดุลยพินิจของท่านเองเถิด สวัสดีครับ
* แก้วประเสริฐ. *
9 มกราคม 2554 16:40 น.
แก้วประเสริฐ
ท่องแดนสวรรค์ + นรกภูมิ
ด้วยข้าพเจ้าไปเปิดอ่านพบเรื่องนี้ขึ้นโดยบังเอิญ เห็นว่ามีประโยชน์
แก่ชาวพุทธบริษัททั้งหลาย จึงใคร่ที่จะนำเผยแพร่ให้แก่ชาวเวปฯไทย
กลอนที่นับถือพุทธศาสนา เพื่อเสริมสร้างทางบุญได้เกิดปิติยินดีต่อ
ผลานิสงฆ์อันพึงจะได้รับ คงจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย จึงนำมา
ฝากไว้ สวัสดี
ท่องแดนสวรรค์
20/12/2010
View: 33
เทวภูมิ หมายถึง ภูมิที่มีความสุขความเพลิดเพลิน อยู่ในกามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ประณีต ถ้าจะเปรียบเทียบความสุขในมนุษยโลก กับความสุขบนสรวงสวรรค์ในเทวภูมิแล้ว ห่างไกล กันเหมือนฟ้ากับดิน พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ในวิตถตสูตร คัมภีร์อังคุตตรนิกาย อัฏฐนิบาต ว่า “ ราชสมบัติของมนุษย์ เป็นเหมือนสมบัติของคนกำพร้า เมื่อเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์ในสรวงสวรรค์ ” หมายความว่า ถึงจะเกิดเป็นราชาพระมหากษัตริย์ หรือพระเจ้าจักรพรรดิ เสวยสุขอยู่ในราชสมบัติ เมื่อเทียบความสุขในเทวภูมิแล้ว ก็เทียบได้กับสมบัติของคนกำพร้า ซึ่งแทบจะไม่มีสมบัติอะไรติดตัวเลย ความพิเศษของเทวโลก เทวภูมิ หรือ เทวดานั้น มีอะไรที่ไม่เหมือนกับมนุษย์มี เช่น เทพบุตรเทพธิดาทุกคนในสรวงสวรรค์ ไม่มีคนแก่อย่างเมืองมนุษย์ มีแต่หนุ่มสาวเหมือนกันหมด เทพธิดาจะมีอายุราว ๑๖ ปี ส่วนเทพบุตรก็จะมีอายุราว ๒๐ ปี เหมือนกันหมดทุกคน จึงไม่มีคนแก่ในสรวงสวรรค์ ทุกอย่างจะเป็นทิพย์หมด เช่น อาหาร วิมาน ร่างกาย ซึ่งเราจะมองไม่เห็นด้วยตาเนื้อ เรียกว่า อทิสสมานกาย การเกิดขึ้นของเทวดาในสรวงสวรรค์ ไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ หรือครรภ์ของมารดาอย่างมนุษย์ เป็นการลักษณะของ โอปปาติกกำเนิด เมื่อเกิดขึ้นจะโตเป็นหนุ่มเป็นสาวทันที
การไปเกิดบนเทวภูมิ
๑. ถ้าสร้างบุญกุศลไว้มาก จะเกิดในวิมานของตนเอง เหมือนคนรวยย่อมมีบ้านของตนเอง ไม่ต้องไปเช่าหรืออาศัยคนอื่นอยู่
๒. ถ้าสร้างบุญกุศลไว้น้อย ไม่มีวิมานของตนเอง ก็ต้องไปเกิดในวิมานของเทวดาองค์อื่น ที่สร้างกุศลไว้มาก โดย
(๑) ผุดปรากฏขึ้น ที่ตัก ของเทวดาองค์ใด ก็เป็น บุตร หรือธิดา ของเทวดาองค์นั้น
(๒) ผุดปรากฏขึ้น ที่แท่นบรรทม ของเทวดาองค์ใด ก็ต้องเป็นบาทบริจาริกา หรือภรรยาของเทวดาองค์นั้น
(๓) ผุดปรากฏขึ้น ใกล้แท่นบรรทม ของเทวดาองค์ใด ก็ต้องเป็น พนักงานรับใช้ ของเทวดาองค์นั้น
(๔) ผุด ปรากฏขึ้น ภายในวิมานหรือปราสาท ของเทวดาองค์ใด ก็ต้องเป็น บริวาร ของเทวดาองค์นั้น
(๕) ผุดปรากฏขึ้น นอกวิมาน เมื่อใกล้วิมานของเทวดาองค์ใด ก็ต้องเป็น บริวาร ของเทวดาวิมานนั้น
(๖) ผุดปรากฏขึ้น ระหว่างวิมานพอดี ก็ต้องดูว่าหันหน้าไปทางวิมานใด ก็ต้อง เป็น บริวารของเทวดาวิมานนั้น
(๗) ผุดปรากฏขึ้น ระหว่างวิมานพอดี แต่ไม่หันหน้าไปทางวิมานใด ก็จะตก เป็น บริวาร ของเทวดาที่เป็นใหญ่ปกครองสวรรค์ชั้นนั้น ๆ หรือจะยกให้เป็นบริวารของเทวดาองค์ใดองค์หนึ่งก็ได้
นี่คือลักษณะการเกิดขึ้นของเทวดาประเภทโอปปาติกกำเนิด ซึ่งก็ถือว่าเป็นกฎเกณฑ์ที่ควรรู้ควรเข้าใจเรื่องของเทวภูมิ
คำว่า เทวะ หรือ เทวดา นั้น มีอยู่ ๓ ประเภท คือ
๑. อุปปัตติเทวะ เทวดาโดยกำเนิด ได้แก่ เทวดาและพรหม
๒. สมมติเทวะ เทวดาโดยสมมติ หมายถึง พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระราชโอรส พระราชธิดา
๓. วิสุทธิเทวะ เทวดาที่บริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสทั้งปวง หมายถึง พระอรหันต์
สวรรค์ ชั้นที่ ๑
จาตุมหาราชิกาภูมิ เป็นภูมิที่อยู่ต่อจากมนุษยภูมิขึ้นไป มีเทวดาผู้เป็นใหญ่ เป็นมหาราชอยู่ ๔ องค์ คือ
๑. ท้าวธตรัฏฐะ อยู่ทางทิศตะวันออกของเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครอง คันธัพพเทวดา
๒. ท้าววิรุฬหกะ อยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครอง กุมภัณฑ์เทวดา
๓. ท้าววิรูปักขะ อยู่ทางทิศตะวันตกของเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครอง นาคเทวดา
๔. ท้าวกุเวร หรือ
ท้าวเวสสุวรรณ
อยู่ทางทิศเหนือของเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครอง ยักขเทวดา
มหาราชทั้ง ๕ นี้ เป็นผู้รักษามนุษยโลก หรือเรียกว่า ท้าวจตุโลกบาล ซึ่ง มีสถานที่ปกครองตั้งแต่ตอนกลางของเขาสิเนรุ ลงมาจนถึงมนุษยโลก มีอาณาเขตแผ่ออกไปจดขอบจักรวาล เทวดาทั้งหลายที่อยู่ในชั้นจาตุมหาราชิกาภูมินี้ทั้งหมด เป็นบริวารภายใต้อำนาจของมหาราชทั้ง ๔ เมื่อเทียบเวลาระหว่างมนุษย์กับสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิแล้ว ๕๐ ปี ในมนุษย์ เท่ากับ ๑ วัน ของเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ
เทวดาที่อยู่ภายใต้การปกครองของมหาราชทั้ง ๔ คือ
๑. ปัพพตัฏฐเทวดา เทวดาที่อาศัยอยู่ที่ภูเขา
๒. อากาสัฏฐเทวดา เทวดาที่อาศัยอยู่ในอากาศ
๓. ขิฑฑาปโทสิกเทวดา เทวดาที่มีความเพลิดเพลินในการเล่นกีฬา จนลืมกินอาหารแล้วตาย
๔. มโนปโทสิกเทวดา เทวดาที่ตายเพราะความโกรธ
๕. สีตวลาหกเทวดา เทวดาที่ทำให้อากาศเย็นเกิดขึ้น
๖. อุณหวลาหกเทวดา เทวดาที่ทำให้อากาศร้อนเกิดขึ้น
๗. จันทิมเทวปุตตเทวดา เทวดาที่อยู่ในพระจันทร์
๘. สุริยเทวปุตตเทวดา เทวดาที่อยู่ในพระอาทิตย์
เทวดา ชั้นจาตุมหาราชิกานี้ มีอยู่ตั้งแต่กลางเขาสิเนรุจนกระทั่งถึงพื้นดินที่มนุษย์อยู่ มีชื่อเรียกตามที่อยู่ที่อาศัย ดังนี้
** อยู่บนพื้นดิน เรียกว่า ภุมมัฏฐะเทวดา
** อยู่บนต้นไม้ เรียกว่า รุกขะเทวดา
** อยู่ในอากาศ (มีวิมานอยู่) เรียกว่า อากาสัฏฐะเทวดา
ภุมมัฏฐเทวดา ได้แก่ เทวดาที่อาศัยอยู่ตามสถานที่ต่างๆ เช่น ภูเขา แม่น้ำ มหาสมุทร ใต้พื้นดิน ตามบ้านเรือน ซุ้มประตู เจดีย์ ศาลา เป็นต้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ จะอยู่ตอนกลางรอบเขาสิเนรุ มีปราสาทเป็นวิมานของตนเอง สำหรับ เทวดาอื่นที่ไม่มีวิมาน ก็ต้องไปอาศัยอยู่ตามสถานที่ดังกล่าวข้างต้น โดยถือเอาสถานที่นั้นเป็นวิมานของตน
รุกขเทวดา ได้แก่ เทวดาที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ มีอยู่ ๒ จำพวก คือ พวกที่มีวิมานอยู่บนต้นไม้ กับพวกที่ไม่มีวิมาน รุกขเทวดาที่มีวิมานนั้น จะเอา วิมานตั้งอยู่บนยอดไม้ ส่วนเทวดาที่ไม่มีวิมานของตนเอง ก็จะอาศัยอยู่บนคบไม้ หรือ กิ่งก้านของต้นไม้
อากาสัฏฐเทวดา ได้แก่ เทวดาที่มีวิมานของตนเองในอากาศ ตั้งอยู่ในอากาศ ภายใน และภายนอกของวิมาน จะประกอบด้วยรัตนะ ๗ อย่าง ซึ่งเกิดขึ้นด้วยอำนาจ ของกุศลกรรม คือ แก้วมรกต แก้วมุกดา แก้วประพาฬ แก้วมณี แก้ว เชียร เงิน และทอง บางวิมานก็มี ๒ รัตนะ บางวิมานก็มี ๓, ๔, ๕, ๖ รัตนะ ขึ้นอยู่กับบุญกุศลที่ตนได้สร้างไว้ วิมานเหล่านี้ จะลอยหมุนเวียนไปในอากาศรอบ ๆ เขาสิเนรุ
เทวดาใจร้าย
เทวดาในชั้นจาตุมหาราชิกา บางพวกก็ขาดเมตตาธรรม จัดเป็นพวกเทวดาใจร้าย มี ๔ จำพวก คือ
๑. คันธัพพี คันธัพโพ ได้แก่ เทวดาคันธัพพะ ที่ถือกำเนิดภายในต้นไม้ที่มีกลิ่นหอม เรา เรียกกันว่านางไม้ หรือแม่ย่านาง ชอบรบกวนให้เกิดอุปสรรคต่าง ๆ เช่น ให้ เกิดเจ็บป่วย หรือทำอันตรายแก่ทรัพย์สมบัติที่นำไม้นั้นมาใช้สอย หรือนำมาปลูกบ้านเรือน เทวดาจำพวกนี้อยู่ในความปกครองของ ท้าวธตรัฏฐะ คันธัพพเทวดานี้ สิงอยู่ในต้นไม้นั้นตลอดไป แม้ว่าใครจะตัดฟันไป ทำเรือ แพ บ้าน เรือน หรือเครื่องใช้สอยอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็คงสิงอยู่ในไม้นั้น ซึ่งผิดกับรุกขเทวดาที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ ถ้าต้นไม้นั้นตายหรือถูกตัดฟัน ก็ย้ายจากต้นไม้นั้นไปต้นไม้อื่น
๒. กุมภัณโฑ กุมภัณฑี ได้แก่ เทวดากุมภัณฑ์ ที่เราเรียกว่า รากษส เป็นเทวดาที่รักษา สมบัติต่าง ๆ มี แก้วมณี เป็นต้น และรักษาป่า ภูเขา แม่น้ำ ถ้ามีผู้ล่วงล้ำ ก้ำเกินก็ให้โทษต่าง ๆ เทวดาจำพวกนี้ อยู่ในความปกครองของท้าววิรุฬหก
๓. นาโค นาคี ได้แก่ พวก เทวดานาค จะมีวิชาเกี่ยวกับเวทมนต์คาถาต่าง ๆ ขณะท่องเที่ยวไปในมนุษยโลก บางทีก็เนรมิตเป็นคน หรือเป็นสัตว์ เช่น เสือ ราชสีห์ เป็นต้น โดยเฉพาะชอบลงโทษพวกสัตว์นรก เทวดาจำพวกนี้ อยู่ในความปกครองของท้าววิรูปักขะ
๔. ยักโข ยักขี ได้แก่ พวก เทวดายักษ์ จะพอใจในการเบียดเบียนสัตว์นรก เทวดา จำพวกนี้ อยู่ในความปกครองของท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ เทวดาทั้ง ๔ จำพวกนี้ จะเป็นเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ เพราะอยู่ใกล้ชิดกับมนุษยภูมิ
ทางไปสวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกาภูมิ
มนุษย์จะไปเกิดเป็นเทพยดาในสรวงสวรรค์ นั้น จะต้องประกอบกรรมอันเป็นบุญเป็นกุศล เช่น การทำบุญใส่บาตร ทำทาน รักษาศีล เป็นต้น ในการจะไปเกิดในสวรรค์ชั้นใด ก็จะต้องทราบถึงวิธีการวางใจ ในการทำบุญว่า ทำเพื่ออะไร วางใจอย่างไรจะได้บุญมาก จะไปสวรรค์ชั้นใด สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้ใน ทานสูตร ว่า
ถ้าผู้ใดให้ทานโดยหวังผลบุญจากการให้ทาน
เมื่อตายไปจะไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา
ตัวอย่างของผู้ที่ไปเกิดในสวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกา คือ
พระ เจ้าพิมพิสาร แห่งกรุงราชคฤห์ ซึ่งเป็นพระราชบิดา ของพระเจ้าอาชาตศัตรู ได้ทรงปฏิบัติธรรมจนสำเร็จเป็นโสดาบันบุคคล เมื่อสวรรคตแล้วก็ไปบังเกิด ในชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ เป็นสหายของท้าวเวสสุวรรณมหาราช ชื่อว่า ชนวสภยักษ์
สวรรค์ชั้นที่ ๒
ดาวดึงสาภูมิ หมาย ถึง ภูมิอันเป็นที่เกิดของบุคคล ๓๓ คน ที่ได้สร้างกุศลไว้ในอดีต เป็น “สหบุญญการี” ที่มี มาฆมานพ เป็นหัวหน้า เมื่อตายแล้วก็ไปเกิดเป็นพระอินทร์ พร้อมบริวารอีก ๓๒ รวม เป็น ๓๓ เป็นเทวดาชั้นผู้ใหญ่ในชั้นดาวดึงส์ ดาวดึงสาภูมินี้ เป็นผืนแผ่นดินผืนแรก ที่เกิดขึ้นในโลก หลังจากโลกนี้ถูกทำลายด้วยน้ำ เมื่อน้ำงวดลงแผ่นดินผืนแรก ที่โผล่ขึ้นก่อนแผ่นดินอื่น ๆ ก็คือ ยอดเขาสิเนรุ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ นี้เอง เทวดาที่อยู่บนชั้นดาวดึงส์มีอยู่ ๒ จำพวก คือ
๑. ภุมมัฏฐเทวดา (เทวดาที่อยู่บนพื้นดิน) ได้แก่ พระอินทร์และเทวดาผู้ใหญ่ ๓๒ องค์
พร้อมทั้งบริวาร และ เทวอสุรา ๕ จำพวก ที่อยู่ใต้ เขาสิเนรุด้วย
๒. อากาสัฏฐเทวดา (เทวดาที่อยู่ในอากาศ) ได้แก่ เทวดาที่มีวิมานลอยไปในกลางอากาศ ตั้งแต่เหนือพื้นดินยอดเขาสิเนรุ ไปจดขอบจักรวาล บางวิมานก็มีเทวดาอยู่ บางวิมานก็ไม่มีเทวดาอยู่
เรื่องของจักวาลและเขาสิเนรุ
จักรวาลหนึ่ง ๆ วัดโดยรอบได้ ๓,๖๑๐,๓๕๐ โยชน์ ส่วนที่เป็น พื้นดิน หนา ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ โดยมี พื้นน้ำ รองรับหนา ๘๔๐,๐๐๐ โยชน์ น้ำนี้ตั้งอยู่บน ลม ซึ่งมีความหนา ๙๖๐,๐๐๐ โยชน์
เขาสิเนรุ เป็นภูเขาสูงสุดตั้งอยู่ท่ามกลางจักรวาล หยั่งลงสู่ห้วงน้ำ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ และสูงขึ้นไปในอากาศ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ ยอดเขาสิเนรุมีลักษณะกลม มีเทือกเขา ๗ เทือก ล้อมรอบอยู่ คือ
๑.ยุคันธร ๒.อีสินธร ๓.กรวิก ๔.สุทัสสนะ ๕.เนมินทร ๖.วินัตตถะ ๗.อัสสกรรณ ซึ่งเป็นภูเขาทิพย์
แผ่นดินชั้นดาวดึงส์ ตั้งอยู่บนยอดเขาสิเนรุนี้ มีลักษณะกลม กว้าง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ สุทัสสนะนคร ซึ่งเป็นนครของพระอินทร์ กว้าง ๑๐๐ โยชน์ มี กำแพง ล้อมรอบ ๔ ชั้น มี ประตู ด้านละ ๒๕๐ ประตู รวม ทั้ง ๔ ด้าน มีประตู ๑,๐๐๐ ประตู ในสุทัสสนะนครนี้ มี ปราสาทเวชยันต์ ที่เป็นที่อยู่ของท้าวสักกะ (พระอินทร์) ทิศใต้ของนครมีสวนดอกไม้ชื่อ นันทวัน กว้าง ๑๐๐ โยชน์ ในสวนมีสระโบกขรณี ๒ สระ คือ มหานันทา และจุฬนันทา ขอบสระและรอบ ๆ บริเวณสระปูลาดด้วยแผ่นศิลา เป็นที่นั่งพักผ่อนหย่อนใจ
ทิศตะวันตก ของสุทัสสนะนคร มีสวนชื่อ จิตรลดา กว้าง ๕๐๐ โยชน์ มีสระโบกขรณี ๒ แห่ง คือ วิจิตรา และ จุฬจิตรา
ทิศเหนือ ของสุทัสสนะนคร มีสวนชื่อ มิสสกวัน กว้าง ๕๐๐ โยชน์ มีสระโบกขรณี ๒ แห่ง คือ ธัมมา และ สุธัมมา
ทิศใต้ มีสวนชื่อ ผารุสกวัน กว้าง ๗๐๐ โยชน์ มีสระโบกขรณี ๒ แห่ง คือ ภัทรา และ สุภัทรา สวนทั้ง ๔ แห่งเหล่านี้ เป็นรมณียสถาน สำหรับพักผ่อนรื่นเริงของเทวดาในชั้นดาวดึงส์
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของสุทัสสนะนคร มีสวนอีก ๒ แห่ง คือ สวน ปุณฑริกะ และมหาวัน ที่สวนปุณฑริกะมี ต้นปาริชาติ สูง ๑๐๐ โยชน์ แผ่กิ่งก้านสาขาออกไป ๕๐ โยชน์ เมื่อคราวออกดอกจะส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปไกล ๑๐๐ โยชน์ ที่ใต้ต้นปาริชาติมีแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ กว้าง ๕๐ โยชน์ ยาว ๖๐ โยชน์ หนา ๑๕ โยชน์ มีสีแดงเหมือนดอกชบา ยุบได้เวลานั่ง ฟูขึ้นเมื่อเวลายืนขึ้น หน้าแท่นศิลานี้มีศาลาฟังธรรม ชื่อว่า ศาลาสุธัมมา มีเจดีย์มรกต คือ จุฬามณี สูง ๑๐๐ โยชน์ ซึ่งบรรจุพระเขี้ยวแก้วข้างขวา ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และ พระเกศา ี่ทรงตัดไว้ในตอนเสด็จออกบรรพชา
สวนมหาวัน เป็นที่ประทับสำราญพระอิริยาบถของ ท้าวสักกะเทวราช (พระอินทร์) มีสระโบกขรณี สุนันทา กว้าง ๔ โยชน์ และมีวิมานรายล้อมอยู่ ๑,๐๐๐ วิมาน
ชีวิตความเป็นอยู่ของเทวดาชั้นดาวดึงส์
ความเป็นอยู่ของเทวดาในชั้นดาวดึงส์ ล้วนแต่เป็นผู้เสวยทิพยสมบัติจากผลบุญ ที่ได้กระทำไว้ อารมณ์ ที่ได้รับในชั้นดาวดึงส์ จึงล้วนแต่เป็นอารมณ์ที่ดีเลิศ เทพบุตร จะมีวัย ๒๐ ปี ส่วน เทพธิดา มีวัย ๑๖ ปี เหมือนกันทุก ๆ องค์ ไม่มีการแก่ เจ็บ ตาย ให้ปรากฏเห็น มีแต่ความสวยงาม เป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่ตลอดไปจนกระทั่งตาย
เทวดาในเทวโลกนี้ เกิดขึ้นโดยโอปปาติกกำเนิด คือ โตทันที มีอวัยวะครบบริบูรณ์ ถ้าจะเกิดเป็น บุตรเป็นธิดา ก็จะเกิดขึ้น ในตัก ถ้าจะเกิดเป็น บาทบริจาริกา (ภรรยา) จะไปเกิดใน ที่นอน ถ้าเกิดเป็นเทวดา ผู้รับใช้ ก็จะเกิด ภายในวิมาน
เมื่อ เทวดาเกิด ขึ้น ในวิมาน ของเทวดาองค์ใดองค์หนึ่งแล้ว ก็จะต้องเป็นบริวารของเจ้าของวิมานนั้น ๆ โดยเทวดาอื่นจะมาแย่งชิงไปไม่ได้ ถ้าเกิดระหว่างแดนวิมานต่อวิมาน ก็ต้องดูว่าใกล้เคียงกับวิมานขององค์ใด ก็จะเป็นบริวารของเจ้าของวิมานนั้น ถ้าเกิดระหว่างกลางวิมานต่อวิมาน ถ้าหันหน้าไปทางวิมานใด ก็ถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของวิมานนั้น ถ้าตกลงกันไม่ได้ ก็จะพากันไปให้พระอินทร์เป็นผู้พิจารณา ถ้าผู้เกิดมาไม่หันหน้าไปทางวิมานใด ก็ต้องตกเป็นบริวารของพระอินทร์ไป
เทพบุตรองค์หนึ่ง ๆ อาจ จะมีนางฟ้าเป็นบาทบริจาริกา (ภรรยา) ๕๐๐ ถึง ๑,๐๐๐ หรือมากกว่าขึ้นอยู่กับบุญบารมีที่ตนได้ทำไว้ และเทวดาจำนวนมาก ที่ไม่มีวิมานเป็นของตนเอง บางทีก็เกิดความวุ่นวายทะเลาะวิวาท มีการพิพากษาตัดสินกันเหมือนกับมนุษยโลกของเรานี้
ความเป็นอยู่ของเทวดาในเทวโลกนี้ ก็ เป็นไปเช่นเดียวกับมนุษยโลก มีการไปมาหาสู่ เบียดเบียนกัน มีนักดนตรี นักร้อง เทพบุตร เทพธิดา มีความรักใคร่ปรารถนาเป็นคู่ครองกัน หากขาดคู่ครอง ก็ย่อมจะเกิดความเบื่อหน่าย ในความเป็นอยู่ของตน ไม่เบิกบานรื่นเริงเหมือนเทวดาที่มีคู่ครอง เทวดาในชั้นดาวดึงส์ ทั้งหลาย ต่างก็ไปหาความสุขสำราญในสวนทั้ง ๔ แห่ง พร้อมด้วยบริวารของตน ๆ อย่างสำเริงสำราญ
ในเทวภูมิ ชั้นดาวดึงส์มีสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่าง และเป็นเทวโลกที่มีความเกี่ยวพันกับ พระพุทธศาสนาอยู่มาก โดยเฉพาะพระอินทร์ หรือท้าวสักกะเทวราชซึ่งได้เกื้อหนุนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชาติสุดท้าย ที่ทรงบำเพ็ญพระบารมีเป็นพระเวสสันดร และยังได้ตักบาตรแก่ พระมหากัสสปเถระที่ออกจากนิโรธสมาบัติด้วย เป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรมที่ให้ผลในทันที ทำให้รัศมีกายและวิมานที่เคยรุ่งโรจน์แจ่มจรัสน้อยนั้น กลับสวยงามเจิดจ้าขึ้นมาในทันที
ผู้ที่ปรารถนาจะเกิดเป็นพระอินทร์ จะต้องหมั่นสร้างบุญกุศลโดยสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีคุณธรรม ๗ ประการ คือ
๑. เลี้ยงดูบิดามารดา
๒. เคารพผู้ใหญ่ในตระกูล
๓. กล่าววาจาอ่อนหวาน
๔. ไม่กล่าวคำส่อเสียด
๕. ไม่มีความตระหนี่
๖. มีความซื่อสัตย์
๗. ระงับความโกรธได้
ปัจจุบัน พระอินทร์หรือ ท้าวสักกะเทวราชองค์นี้ ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน แล้ว ด้วย การฟังพระธรรมเทศนา จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสักกปัณหสูตร นับเป็นพระอริยบุคคลขั้นแรก ในพระพุทธศาสนา และอยู่ในดาวดึงส์พิภพนี้ต่อไป จนสิ้นอายุขัย เมื่อจุติจากชั้นดาวดึงส์แล้ว จะมาบังเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในมนุษยโลก และสำเร็จเป็นพระสกทาคามีบุคคล เมื่อสิ้นชีพแล้วก็กลับไปเกิดในชั้นดาวดึงส์อีก และได้สำเร็จเป็นพระอนาคามี เมื่อสิ้นอายุแล้วจะไปบังเกิดเป็นพรหมโลก ในชั้นสุทธาวาสภูมิขั้นต้น คือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี และอกนิฏฐาภูมิ ตามลำดับ และเข้านิพพานในชั้นสุดท้ายนี้ นี่เป็นเรื่องราวของพระอินทร์พอสังเขป
สถานที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา อัน เป็นพุทธศาสนสถานที่สำคัญของเทวโลก คือ
ศาลาสุธัมมา เป็นสถานที่ฟังธรรมในเทวโลก บรรดาเทวดาทั้งหลาย จะมาประชุมกันเพื่อฟังธรรม โดยมีท้าวสักกะเทวราช องค์อมรินทร์เป็นประธาน ศาลาสุธัมมานี้ ประกอบด้วยรัตนะ ๗ สูง ๕๐๐ โยชน์ วัดโดยรอบได้ ๑,๒๐๐ โยชน์ พื้นประกอบด้วยแก้วผลึก เสาเป็นทอง เครื่องบนคือ ขื่อ คาน ระแนง เป็นต้นทำด้วยรัตนะทั้ง ๗ หลังคามุงด้วยอินทนิล เพดาน เสา ประกอบเป็นแก้วระพาฬ ลวดลายต่าง ๆ ช่อฟ้า ใบระกา ทำด้วยเงิน
ภายในศาลา ตรงกลางเป็นที่ตั้งธรรมาสน์สูง ๑ โยชน์ ทำด้วยรัตนะทั้ง ๗ ปกกั้นด้วยเศวตฉัตรสูง ๓ โยชน์ ข้างธรรมาสน์ เป็นที่ประทับของท้าวโกสีย์เทวราช ถัดไปเป็นที่ประทับของเทวดาผู้ใหญ่ ๓๒ องค์และเทวดาอื่น ๆ
ศาลาสุธัมมานี้ ตั้งอยู่ข้าง ต้นปาริฉัตร ซึ่ง ออกดอกปีละครั้ง เมื่อเวลาใกล้จะผลิดอก ใบปาริฉัตรจะมีสีนวล เวลานั้นเหล่าเทวดา จะมีความยินดีปรีดา ว่าอีกไม่ช้าจะได้เห็นดอกออกสะพรั่ง ฉายสีแดง เป็นรัศมีแผ่ไปในปริมณฑลประมาณ ๕๐๐ โยชน์ ส่งกลิ่นหอมไปตามลมได้ไกล ๑๐๐ โยชน์
ดอกปาริฉัตรนี้ เมื่อต้อง ลมกันตนะ จะหล่นลงมาเอง ไม่ต้องสอยและมี
ลมสัมปฏิจฉนะ รองรับดอกไม้ไม่ให้ร่วงหล่นลงสู่พื้นดินได้
ลมปเวสนะ ทำหน้าที่พัดพาเอาดอกเก่าที่เหี่ยวเฉาออกไป
ลมสันถกะ ก็จะพัดจัดระเบียบเรียบร้อย มิให้ไปกองรวมกัน
การฟังธรรมในศาลาสุธัมมานี้ เมื่อถึงเวลาที่จะมาประชุมฟังธรรม ท้าวสักกะอมรินทร์ ก็จะทรงเป่า สังข์วิชยุตตระ ซึ่ง ยาว ๑๒๐ ศอก ดังก้องกังวานทั่วไปทั้งภายในและภายนอกพระนครสุทัสสนะ เสียงสังข์ที่เป่าครั้งหนึ่งจะดังปรากฏอยู่นานถึง ๔ เดือนมนุษย์
เทพบุตร เทพธิดาทั้งหลายในชั้นดาวดึงส์ เมื่อได้ยินเสียงสังข์ ต่างก็พากันมาสู่ศาลาสุธัมมา รัศมีจากร่างกาย และแสงจากเครื่องประดับของเทวดาทั้งหลาย ก็สว่างไสวไปทั่วศาลา ท้าวสักกะเทวราช เมื่อเป่าสังข์แล้วก็เสด็จจากปราสาทเวชยันต์ พร้อมด้วยมเหสีทั้ง ๔ องค์ ทรงขึ้น ช้างเอราวัณ มีเทพยดาห้อมล้อมตามเสด็จ ไปสู่ศาลาสุธัมมา ประมาณ ๓ โกฏิ ๖ ล้านองค์
สุนังกุมารพรหม เสด็จจากพรหมโลกมาแสดงธรรมเป็นประจำ แต่บางครั้งท้าวอมรินทร์ก็ทรงแสดงเอง หรือบางทีเทพบุตรผู้มีความรู้ธรรมะดีก็จะเป็นผู้แสดง
ศาลาสุธัมมานี้ แม้ในเทวภูมิเบื้องบนอีก ๔ คือ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี ก็มี ศาลาสุธัมมา เช่นเดียวกัน
เมื่อ เทียบเวลาระหว่างมนุษย์กับสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แล้ว ๑๐๐ ปี ในมนุษย์เท่ากับ ๑ วัน ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ในทานสูตร กล่าวไว้ว่า ถ้าผู้ใดทำทานโดยไม่หวังผลบุญของการทำทาน แต่ทำทานโดยคิดว่าการทำทานนั้นเป็นสิ่งที่ดีงาม เมื่อตายลงย่อมไปบังเกิดในสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์
ตัวอย่างของผู้ไปเกิดในชั้นดาวดึงส์ คือ มาฆมานพ พร้อมด้วยสหาย ๓๒ คน ขณะที่เป็นมนุษย์ ได้ช่วยกันทำถนนหนทาง ทางเดินที่ไม่สะดวก ให้สัญจรไปมาได้สะดวก ขุดบ่อน้ำ ที่พักคนเดินทาง เคารพนอบน้อมในผู้ใหญ่ บำรุงเลี้ยงบิดามารดา เมื่อสิ้นชีวิต จึงได้ไปบังเกิดเป็นพระอินทร์ ในชั้นดาวดึงส์สถาน พร้อมด้วยบริการดังกล่าวแล้ว
สถานที่น่าสนใจในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
๑. สวนสวรรค์
ได้แก่สวนสวรรค์ซึ่งเป็นอุทยานทิพย์ที่มีชื่อเสียง ๔ อุทยานด้วยกัน คือ
๑. นันทวันอุทยานทิพย์ ตั้งอยู่ในด้านทิศตะวันออก แห่งดาวดึงส์แดนสวรรค์
๒. จิตรลดาวันอุทยานทิพย์ ตั้งอยู่ในด้านทิศตะวันตก แห่งดาวดึงส์แดนสวรรค์
๓. มิสกวันอุทยานทิพย์ ตั้งอยู่ในด้านทิศเหนือ แห่งดาวดึงส์แดนสวรรค์
๔. ปารุสกวันอุทยานทิพย์ ตั้งอยู่ในด้านทิศใต้ แห่งดาวดึงส์แดนสวรรค์
ซึ่ง เป็นสวนขวัญอุทยานทิพย์ที่มีความรื่นรมย์ สนุกสนาน หาที่เปรียบไม่ได้ในมนุษยโลก ซึ่งเต็มไปด้วยบุปผาชาตินานาพรรณ มีสระโบกขรณีอันทิพย์ มีน้ำใสดั่งแก้ว มีก้อนศิลาที่เป็นทิพย์มีรัศมีรุ่งเรือง มีแท่นที่นั่งอันอ่อนนุ่มมีสีใสสะอาด เหล่าเทพบุตรเทพธิดา ก็จะมาในสวนสำราญเหล่านี้อย่างไม่ขาดสาย
๒.พระเกศจุฬามณีเจดีย์
เป็น สถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่ง สร้างด้วยแก้วอินทนิลอันเป็นทิพย์ มีความสวยงาม รุ่งเรืองยิ่งนัก ยอดพระเจดีย์เป็นทองคำบริสุทธิ์ ประดับด้วยรัตนะ ๗ ประการ (รัตนะคือแก้ว ๗ ประการ) เจดีย์นี้สูง ๘๐,๐๐๐ วา มีกำแพงทองคำล้อมรอบทั้ง ๔ ทิศ มีความยาว ๑๖๐,๐๐๐ วา ประดับด้วยธงนานาชนิด พระเจดีย์นี้เป็นที่บรรจุสิ่งที่มีค่ายิ่ง ๒ อย่าง คือ
๑. พระเกศโมลี ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือมวยผมที่ตัดออก ขณะที่เสด็จออก บรรพชา (ภิเนษกรมณ์) และได้อธิษฐานว่า “ถ้าจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ขอให้มวยพระเกศโมลีจงลอยขึ้นไปบนนภากาศเถิด อย่าได้ตกลงสู่พื้นปฐพีเลย” ครานั้นสมเด็จพระมหาอมรินทราธิราชผู้เป็นใหญ่ในชั้นดาวดึงส์นี้ จึงนำเอาพระผอบทองมารองรับพระเกศโมลีไว้ แล้วนำขึ้นไปบนดาวดึงส์สวรรค์ สร้างเจดีย์สำหรับบรรจุพระโมลีโดยเฉพาะ
๒. พระบรมธาตุ เขี้ยวแก้วเบื้องขวา ของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสมัยที่ถวาย พระเพลิงพระพุทธสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โทณพราหมณ์ซึ่งได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นผู้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ได้นำเอาพระเขี้ยวแก้วซ่อนไว้ที่ผ้าโพกศรีษะ แล้วจึงได้จัด พระบรมสารีริกธาตุที่เหลือออกเป็น ๘ ส่วน เพื่อถวายแก่กษัตริย์ต่าง ๆ ในครั้งนั้น ท้าวสักกะเทวราช จึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ เขี้ยวแก้วจากผ้าโพกศรีษะของโทณพราหมณ์นั้น ลงสู่พระผอบทองคำทิพย์อีกทอดหนึ่ง ด้วยกิริยาอันเลื่อมใสยิ่ง แล้วรีบเสด็จมาประดิษฐานบรรจุไว้ในพระเกศจุฬามณีเจดีย์นี้
๓.ต้นปาริชาต (กัลป์พฤกษ์)
อยู่ ในอุทยานทิพย์ ปุณฑริกวัน มีบริเวณกว้างขวางมีกำแพงล้อมรอบ ๔ ด้าน กลางสวนนั้นมี ต้นไม้ทองหลางใหญ่แผ่สาขาอยู่ต้นหนึ่ง ซึ่งชื่อว่า ต้นปาริชาต หรือ กัลปพฤกษ์ ซึ่งเป็นต้นไม้ทิพย์ มีแท่นศิลาแก้วนามว่า “บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์” เป็นแท่นสีแดงดังดอกชบา อ่อนนุ่มดังฟูก เมื่อพระอินทราธิราชประทับ พักผ่อนอิริยาบถอยู่เหนือแท่นศิลาอาสน์แล้ว แท่นทิพย์นี้ก็จะอ่อนยุบลงไป และเมื่อพระองค์ทรงลุกขึ้น แท่นศิลาก็จะฟูขึ้นเต็มตามเดิม เป็นแท่นศิลาที่ประหลาดมหัศจรรย์ ยุบและฟูขึ้นเองโดยธรรมชาติ
ต้น กัลปพฤกษ์นี้ ๑๐๐ ปี ถึงจะออกดอกครั้งหนึ่ง เมื่อถึงคราวนั้นดอกไม้ในสวรรค์นี้ก็จะบานสะพรั่ง เหล่าเทพบุตรเทพธิดา ก็จะพากันมารื่นเริง ผลัดเปลี่ยนเวียนกันมาเฝ้า จนกว่าดอกไม้จะบาน ครั้นดอกไม้สวรรค์นั้นบานแล้ว ก็จะปรากฏแสงรุ่งเรือง งดงามยิ่งนัก รัศมีของดอกปาริชาต จะส่องรัศมีรุ่งเรืองไปไกลหลายหมื่นวา เมื่อลมรำเพยพัดพาไปในทิศใด ย่อมส่งกลิ่นหอมไปในทิศนั้น เป็นระยะไกลแสนไกล ดอกไม้นี้จะบานสะพรั่งไปทุกกิ่งก้านทั่วทั้งต้น ถ้าเทพบุตรเทพธิดาองค์ใด ปรารถนาจะได้ดอกปาริชาต ก็จะตกลงมาในมือดั่งรู้ใจ ถ้ายังไม่ได้รับในมือดอกก็ยังไม่ทันตกลงดิน โดยมีลมชนิดหนึ่งจะพัดชูดอกไว้ในอากาศ จนกว่าเทพยดาผู้ใดประสงค์ก็จะมารับเอาไป
๔.ศาลาสุธรรมาเทวสภา
เป็น เทวสถานที่อยู่ไม่ไกลจากต้นปาริชาตเท่าไรนัก เป็นศาลาทิพย์ที่งามสง่ายิ่งนัก ศาลานี้เต็มไปด้วยแก้วผลึก ประดับไปด้วยแก้วรัตนะ ๗ ประการ มีกำแพงล้อมรอบเป็นทองคำ ที่ศาลานี้มีดอกไม้พิเศษอีกชนิดหนึ่งชื่อว่า ดอกอสาพติ หนึ่ง พันปีจะออกดอกครั้งหนึ่ง ส่งกลิ่นหอมอบอวล เทพธิดาทั้งหลาย ก็จะเปลี่ยนเวรกันมาเฝ้า โดยมีจิตผูกพันรักใคร่ดอกไม้นี้ยิ่งนัก
ศาลาสุธรรมานี้ เป็นที่ประชุมฟังธรรม ของเหล่าเทวดาสัมมาทิฏฐิทั้งหลาย ซึ่งได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
สวรรค์ชั้นที่ ๓
ยามาภูมิ เป็นเทวภูมิ หรือ สวรรค์ ชั้นที่ ๓ ซึ่ง สวยงามและประณีตกว่าสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นสวรรค์ที่พรั่งพร้อม ด้วยความสุขที่เป็นทิพย์ ปราศจากความยากลำบากใด ๆ พระสยามเทวาธิราช หรือ เรียกว่า พระสุยามะ หรือ ยามะ ผู้เป็นใหญ่เป็นผู้ปกครองในสวรรค์ชั้นนี้
ยามาภูมินี้ เป็นภูมิที่ตั้งอยู่ในอากาศ จึงไม่มีเทวดาประเภทที่อาศัยบนพื้นดิน คือ กุมมัฏฐเทวดา มีแต่พวกอากาสัฏฐเทวดาพวกเดียว มีวิมาน ทิพยสมบัติ ร่างกาย สวยงามและประณีตกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ อายุขัยก็ยืนกว่าด้วย
พื้นที่ของยามาภูมิอยู่ในอากาศ สูงกว่ายอดเขาสิเนรุ ๔๒,๐๐๐ โยชน์ มีบริเวณกว้างขวางขยายออกไป จนจดกำแพงจักรวาล มีวิมานของเทวดาเรียงรายอยู่โดยทั่วไป
เมื่อ เทียบเวลาระหว่าง มนุษย์กับสวรรค์ชั้นยามาภูมิแล้ว ๒๐๐ ปี ในมนุษย์ เท่ากับ ๑ วัน ในสวรรค์ชั้นยามา
ในทานสูตร กล่าวไว้ว่า ถ้าผู้ใดทำทานโดยไม่คิดว่าเป็นการทำดี “แต่คิดว่า บิดามารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ได้เคยทำบุญทำทานมา โดยตลอด เราก็ควรจะได้ทำตามประเพณีที่ท่านเคยทำมา”
ถ้า ผู้นั้นให้ทานด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เมื่อทำกาลกิริยาตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเหล่าเทวดาทั้งหลายใน สวรรค์ชั้นยามา
ตัวอย่างผู้ที่ไปเกิดในชั้นยามาภูมิ คือ อุบาสกผู้หนึ่ง มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้อุทิศถวายอาหารเป็นสังฆทาน แก่พระภิกษุสงฆ์วันละ ๔ รูปทุกวัน ได้จ้างบุรุษผู้หนึ่งคอยเปิดปิดประตูเวลา พระจะมารับสังฆทาน บุรุษนั้นต้อนรับพระภิกษุสงฆ์ ที่มารับสังฆทาน ด้วยความนอบน้อมเลื่อมใสศรัทธา เมื่ออุบาสกผู้นั้นดับชีพลง ได้ไป บังเกิดในสวรรค์ชั้นยามา ส่วนบุรุษผู้ต้อนรับเฝ้าประตู ก็ไปบังเกิดในดาวดึงส์ สถานสวรรค์ชั้นถัดลงมา
สวรรค์ชั้นที่ ๔
ดุสิตาภูมิ เป็น สวรรค์ที่ปราศจากความร้อนใจ มีความยินดีแช่มชื่นใจในทิพยสมบัติของตนอยู่เป็นนิตย์ เป็นภูมิที่อยู่ของพระโพธิสัตว์ ทั้งหลายก่อนที่จะไปบังเกิดในมนุษยโลก และบำเพ็ญเพียร จนสำเร็จ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และยังเป็นที่เกิดของผู้ที่จะเป็น อัครสาวก ก่อน ที่จะไปบังเกิดในมนุษยโลกอีกด้วย ดังนั้น เทวดาที่อยู่ในชั้นดุสิตาภูมินี้ จึงนับว่าเป็นเทวดาที่ประเสริฐกว่าเทวดาในภูมิอื่น ๆ
ดุสิตาภูมิ เป็น ภูมิที่ตั้งอยู่ท่ามกลางอากาศ สูงจากชั้นยามาขึ้นไป ๔๒,๐๐๐ โยชน์ มีบริเวณแผ่กว้างออกไปจนจดขอบจักรวาล มีเทวดาที่เป็นอากาสัฎฐเทวดาเท่านั้น โดยมีท้าวสันตุสิตเทวราช เป็นผู้ปกครอง มีวิมาน ทิพยสมบัติ ร่างกาย สวยงามประณีตกว่าเทวดาในชั้นยามา อายุก็ยืนกว่าประมาณ ๔ เท่า
เมื่อ เทียบเวลาระหว่างมนุษย์กับสวรรค์ชั้นดุสิตาภูมิแล้ว ๔๐๐ ปี ในมนุษย์ เท่ากับ ๑ วัน ในสวรรค์ชั้นดุสิตาภูมิ
ในทานสูตร กล่าว ไว้ว่า ผู้ใดให้ทานโดยไม่คิดว่าทำตามบิดามารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ที่เคยทำมาจนเป็นประเพณี แต่ให้ทานโดยคิดว่า เราหุงหากิน สมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่ได้หุงหากิน ถ้าเราไม่ให้ทาน ก็เป็นสิ่งไม่ควรอย่างยิ่ง เมื่อเขาตายลง ก็ย่อมไปบังเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ชั้นดุสิต
ตัวอย่างที่ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ได้แก่ พระนางสิริมหามายา พุทธมารดาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง ครั้นประสูตพระโพธิสัตว์แล้ว ๗ วัน ก็ดับขันธ์ไปอุบัติเกิด เป็นเทพบุตรงามโสภา อยู่ในสวรรค์ชั้นนี้ อาจมีคำถามว่า ทำไมต้องเกิดเป็นเทพบุตรซึ่งเป็นชาย เกิดเป็นเทพธิดาไม่ได้หรือ ด้วยเหตุผลมีว่า เพราะเป็นวิสัยของพระพุทธชนนี ซึ่งมีบุญญาธิการ ถ้าไปเกิดเป็นเทพธิดาแล้ว หาก เทพบุตรองค์ใดเกิดความปฏิพัทธ์มีจิตรักใคร่เสน่หา จะเกิดเป็นโทษอย่างยิ่งแก่เทพบุตรองค์นั้น
สวรรค์ชั้นที่ ๕
นิมมานรดีภูมิ เป็น สวรรค์ชั้นที่ ๕ เทวดาที่เกิดในภูมินี้ย่อมมีความสนุกเพลิดเพลินในกามคุณทั้ง ๕ ที่ตนเนรมิตขึ้นมาตามความพอใจของตน เทวดาที่เกิดอยู่ในชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ ดาวดึงส์ ยามา และดุสิตา ทั้ง ๔ ภูมินี้ ย่อมมีคู่ครองของตนเป็นประจำอยู่มากบ้าง น้อยบ้าง ตามบุญญาธิการของตน แต่ในชั้นนิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี ๒ ภูมินี้ ไม่มีคู่ครองของตนเป็นประจำ เทพบุตรหรือเทพธิดาในชั้นนี้ เวลาใดที่จะปรารถนาใคร่เสพในกามคุณ เวลานั้นก็จะเนรมิตเทพบุตรเทพธิดาขึ้นมา ตามที่ใจปรารถนา เมื่อได้ เพลิดเพลินกับการเสพกามคุณนั้น ๆ สมใจแล้ว เทพบุตรเทพธิดาที่เนรมิตมานั้น ก็จะอันตรธานหายไป เมื่อ ปรารถนาอีกก็เนรมิตขึ้นมาใหม่ เมื่อสมปรารถนาแล้วก็หายไป มีความเพลิดเพลินเป็นอยู่เช่นนี้ตลอดไป
เมื่อ พิจารณาดูแล้วก็น่าไปเกิด แต่เมื่อพิจารณาโดยสภาวธรรมแล้ว จะเห็นว่าเป็นการไปใช้ บุญเก่าจากที่ได้สะสมมาแล้วมากมาย พร้อมนี้ก็สะสมกิเลสใหม่ไปด้วย เมื่อหมดบุญเก่า ก็ต้องไปรับผลของกิเลสที่สะสมใหม่นั้นอีก เมื่อพ้นจากเทวภูมิแล้ว อาจจะไปเกิดในอบายภูมิได้ จึงไม่ควรที่จะยินดี แต่ให้มองเห็นวัฏฏะของชีวิตว่า ตราบใดเมื่อยังมีการเกิดอีก ความทุกข์ความโทมนัสไม่อาจหลีกเลี่ยงได้แน่นอน
นิมมานรดี ภูมินี้ อยู่กลางอากาศห่างจากดุสิตาภูมิขึ้นไป ๔๒,๐๐๐ โยชน์ มีแต่อากาสัฏฐเทวดา อย่างเดียว ที่มีความสวยงาม ประณีตกว่าเทวดาในชั้นดุสิตา มีอายุยืนกว่า ประมาณ ๔ เท่า
ในทานสูตร กล่าวไว้ว่า ผู้ใดทำทานโดยไม่คิดว่าเราหุงหากิน แต่สมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่ได้หุงหากิน เราจะไม่ให้ทานก็ไม่บังควรอย่างยิ่ง แต่ได้คิดว่าเราจะให้ทาน เหมือนอย่างฤาษีทั้งหลาย ที่ได้กระทำมาในอดีต เมื่อตายลงย่อมไป บังเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี
ตัวอย่างผู้ที่ไปเกิดในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี ก็คือ หญิงชรายากจนอนาถา ผู้หนึ่ง ได้ใส่บาตรด้วยน้ำผักดอง แก่พระมหากัสสปเถระเจ้า ผู้เป็นพระอรหันต์ที่ออกจากนิโรธสมาบัติ พอตกกลางคืน เข้านอนเกิดเป็นโรคลมฉับพลัน ถึงแก่ความตาย ซึ่งก่อนที่จะตาย นางยังชื่มชมปีติโสมนัสอยู่ในใจ ที่พระมหากัสสปเถระเจ้า ได้กรุณามาโปรดถึงหน้าบ้าน เพื่ออนุเคราะห์ให้นางได้ทำทาน ทำให้นางไปเกิดเป็นเทพนารี มีฤทธิ์ มีอนุภาพมากในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี เสวยทิพยสมบัติอยู่ในปราสาทพิมาน
สวรรค์ชั้นที่ ๖
ปรนิมมิตวสวัตดีภูมิ เป็นสวรรค์ชั้นที่ ๖ ที่มีความสุขความสำราญ มีความเพลิดเพลินในกามคุณทั้ง ๖ เป็นอย่างยิ่ง เมื่อปรารถนาเสวยกามคุณเมื่อใด เทวดาองค์อื่นรู้ใจคอยปรนนิบัติ โดยเนรมิตให้ตามความต้องการ
เทวดาในชั้นปรนิมมิตวสวัตดีภูมินี้ ทั้งเทวดาที่เป็นเทพบุตรและเทพธิดา เวลา ใดที่ปรารถนาจะเสวยในกามคุณ ก็มีเทวดาที่รู้ใจเนรมิตให้ เมื่อได้เสวยกามคุณสมความปรารถนาแล้ว สิ่งที่เนรมิตมาก็จะสิ้นไป เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี จึงไม่มีคู่ครองประจำเหมือนกับเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ ดาวดึงส์ ยามา และ ดุสิตา
ปรนิมมิตวสวัตดีภูมิ ตั้งอยู่ในอากาศ ห่างจากนิมมานรดีภูมิ ๔๒,๐๐๐ โยชน์ ปรนิมมิตวสวัตดี ภูมินี้มีแต่อากาสัฏฐเทวดาอย่างเดียว มีท้าวปรนิมมิตตเทวราช หรือ ท้าววสวัตดีเทวราช เป็นใหญ่เป็นผู้ปกครอง อากาสัฏฐเทวดาทั้งหลายในภูมินี้
วิมาน ทิพยสมบัติและร่างกาย มีความสวยงามประณีต มากกว่าเทวดาในชั้นนิมมานรดี มีอายุ ยาวกว่าประมาณ ๔ เท่า ถือว่าเป็นยอดภูมิ คือ ภูมิที่สูงสุดของเทวดาในเทวภูมิ ๖ ท้าววสวัตดีเทวราช ซึ่งปกครองในสวรรค์ชั้นนี้นั้น มิใช่มีอำนาจปกครอง แต่เฉพาะเทวดา ที่อยู่ในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีภูมิเท่านั้น แต่ยังมีอำนาจปกครองทั่วไป ถึงสวรรค์ชั้นต่ำลงอีก ๕ ชั้นด้วย คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ด้วย
เมื่อ เทียบเวลาระหว่างมนุษย์กับสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีภูมิ แล้ว ๑,๖๐๐ ปี ในมนุษย์ เท่ากับ ๑ วัน ในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
ในทานสูตร กล่าวไว้ว่า ผู้ใดทำทานโดยไม่ได้คิดว่า ทำทานตามฤาษีในอดีตที่เคยทำมา แต่คิดว่าทำทาน เพื่อให้จิตเกิดความปลื้มปีติในบุญที่ทำ
ตัวอย่างผู้ที่ไปเกิดในสวรรค์ ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ได้แก่ นางสิริมา เดิมเป็นหญิงนครโสเภณีชั้นสูง เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนา จากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว สำเร็จเป็นโสดาบัน มุ่งหน้า ประกอบแต่การกุศลตลอดมา มีการถวายทาน รักษาศีล ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัย ถวายสลากภัตวันละ ๘ สำรับ อาราธนาให้พระภิกษุสงฆ์ไปสู่เรือนตน เพื่อรับสลากภัตวันละ ๘ รูป ทุกวัน ทานจะถวายอาหารอย่างประณีตที่สุด เท่าที่จะทำได้ ถวายให้อย่างจุใจ ถวายภิกษุรูปเดียวสามารถจะฉันได้ถึง ๓ ถึง ๔ รูป เมื่อสิ้นชีพแล้วก็ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้น ปรนิมมิตวสวัตดี ซึ่งเป็นสวรรค์ชั้นสูงสุดในเทวโลก เสวยสุขอันเปี่ยมล้นหฤทัยสุดจะพรรณา
*************************************
นรกภูมิ
ขอเสริมด้วย นรกภูมิ โดยสังเขปเพื่อเป็นอุทาหรณ์ เมื่อกล่าวถึง
สวรรค์แล้วก็ควรจะมีนรกภูมิประกอบด้วย ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว
ไว้เพื่อท่านสาธุชนจะได้พึงสังวรณ์ไว้ ว่าท่านจะเลือกทางใดทางหนึ่ง
เพื่อจะไปเสวยผลนั่นเอง
นรกภูมิื
นรกภูมิ
นรกภูมิ เป็นสถานที่เกิดของผู้ที่ทำบาปอกุศลไว้ เมื่อบุคคลผู้ทำบาปตายลง ถ้าบาปอกุศลนั้นส่งผลจะส่งผลมาเกิดในนรก ต้องเสวยผลของบาปที่ทำไว้ ได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัส แบ่งเป็นขุมได้ ๘ ขุม เรียกว่า “มหานรก ๘ ขุม”
มหานรก มี ๘ ขุม
๑. สัญชีวนรก แปลว่า คืนชีวิตขึ้นเอง หมายถึงสัตว์นรกในขุมนี้ถูกตัดเป็นท่อนเล็กท่อนใหญ่แล้วก็กลับคืนชีวิตขึ้น มาเองอีก ได้รับการทรมานอยู่ร่ำไป
๒. กาฬสุตตนรก แปลว่า เส้นด้ายดา หมายถึงสัตว์นรกขุมนี้ที่ร่างกายถูกตีเส้นด้วยเส้นด้ายสีดา เหมือนอย่างตีเส้นที่ต้นซุงเพื่อที่จะเลื่อย แล้วถูกผ่าด้วยขวานเป็น ๘ เสี่ยง ๑๖ เสี่ยง ได้รับทุกข์อย่างแสนสาหัส
๓. สังฆาตนรก แปลว่า กระทบกัน หมายถึงมีภูเขาเหล็กคราวละ ๒ ลูก จากทิศที่ตรงกันข้ามเลื่อนเข้ามากระทบกันเอง บดสัตว์นรกในระหว่างให้แหลกละเอียด จาก ๔ ทิศก็เป็นภูเขา ๔ ลูกเลื่อนเข้ามากระทบกันตลอดเวลา
๔. โรรุวนรก แปลว่า ร้องครวญคราง คือ มีเปลวไฟเข้าไปทางทวารทั้งเก้า เผาไหม้ในสรีระจึงร้องครวญครางเพราะเปลวไฟ บางพวกถูกหมอกควันด่าง(เป็นกรด) เข้าไปละลายสรีระจนละเอียดเหมือนแป้ง จึงร้องครวญครางเจ็บปวดเพราะหมอกควัน
๕. มหาโรรุวนรก แปลว่า ร้องครวญครางมาก คือเป็นทุกข์ทรมานยิ่งกว่าข้อที่ ๔
๖. ตาปนนรก แปลว่า ร้อน คือถูกให้นั่งเสียบตรึงไว้ด้วยหลาวเหล็กบนพื้นแผ่นดินเหล็กแดงลุกเป็นไฟร้อน แรง บ้างก็ถูกต้อนขึ้นไปบนภูเขาเหล็กที่มีไฟลุกโชน ถูกลมพัดตกลงมาถูกเสียบด้วยหลาวเหล็กที่โผล่ขึ้นมาจากพื้นแผ่นดินเหล็กแดง ที่ลุกโชนด้วยเปลวเพลิง
๗. มหาตาปนนรก แปลว่า ร้อนสูงมาก คือเป็นที่ทุกข์ทรมานยิ่งกว่าข้อที่ ๖
๘. อวีจินรก แปลว่า ไม่มีระหว่าง คือไม่เว้นว่างจากทุกข์ บางทีเรียกว่า มหาอวีจิ แปลว่า อเวจีใหญ่ ภาษาไทยมักเรียกว่า นรกอเวจี นรกขุมนี้มีไฟลุกโพลงเต็มทั่วไปหมด ไม่มีระหว่างหรือเว้นว่าง สัตว์นรกขุมนี้ก็แน่นขนัดเหมือนยัดทะนาน ไม่มีระหว่างหรือเว้นว่าง แต่ก็ไม่เบียดเสียดกันอย่างวัตถุสิ่งของ เพราะสัตว์นรกต่างถูกไฟเผาหม้อยู่ในที่เฉพาะตนๆ ความทุกข์ทรมานของสัตว์นรกในขุมนี้เกิดขึ้นตลอดเวลาไม่มีว่างเว้น
พระ เทวทัตบังเกิดในอวีจินรก ยืนถูกทรมานอยู่บนพื้นเหล็กที่มีไฟลุกโชน เท้าทั้ง ๒ จมพื้นลงไปถึงข้อเท้า มือทั้ง ๒ จมฝาเหล็กถึงข้อมือ ศีรษะเข้าไปในเพดานโลหะถึงคิ้ว หลาวโลหะอันหนึ่งออกจากพื้นเบื้องล่างแทงร่างกายทะลุขึ้นไปในเพดาน หอกเล่มหนึ่งออกจากฝาทิศตะวันออกแทงทะลุหัวใจไปเข้าฝาทิศตะวันตก หอกอีกเล่มหนึ่งออกจากฝาทิศเหนือแทงทะลุซี่โครงไปเข้าฝาทิศใต้ ถูกตรึงแน่นขยับไม่ได้ ถูกเผาไหม้อยู่ในอวีจินรก
เครื่องทรมานสัตว์ นรก ในนรกใหญ่ทั้ง ๘ ขุมนี้ มีเหล็ก เช่น พื้นแผ่นดินเหล็ก เครื่องอาวุธเหล็กต่างๆ มีไฟ คือ เหล็กนั่นแหละลุกเป็นไฟร้อนแรง มีภูเขาเหล็กที่กลิ้งมาบด และมีหมอกควันชนิดเป็นกรดหรือด่าง เป็นเครื่องทรมานสัตว์นรกทั้งหลาย ในนรกขุมที่ ๑ และที่ ๒ มีนายนิรยบาล แปลว่า ผู้รักษานรก ไทยนิยมเรียกว่า ยมบาล เป็นผู้ทำการทรมานสัตว์นรก แต่นรกขุมที่ลึกลงไปกว่านั้น ในอรรถกถาสังกิจจชาดกไม่ได้กล่าวถึงนายนิรยบาล มีแต่ไฟ เหล็ก เครื่องอาวุธต่างๆ เป็นต้น บังเกิดขึ้นเองตามแต่อกุศลกรรมของแต่ละบุคคลนั้นๆ
เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทรมานสัตว์นรกเอง
นรกแดนอบายประกอบด้วย
มหานรก ๘ ขุม
อุสสทนรก ๑๒๘ ขุม
ยมโลกนรก ๓๒๐ ขุม
โลกันตร์นรก ๑ ขุม
รวม ๔๕๗ ขุม
ยมโลกนรก ๓๒๐ ขุม
(อยู่รอบ ๔ ทิศ ทิศละ ๑๐ ของมหานรกแต่ละขุม)
:73:
โลหกุมภีนรก
:040:เป็น หม้อเหล็กขนาดใหญ่เท่าภูเขา เต็มไปด้วยน้ำแสบร้อนเดือดพล่านตลอดเวลา สัตว์ที่มาเกิดต้องรับทุกข์ทั้งแสบทั้งร้อนเสวยทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส ถูกต้มเคี่ยวในหม้อเหล็กนรกนั้นจนกว่าจะสิ้นอายุกรรมชั่วที่ตนได้ทำมา
บุพกรรม : จับสัตว์เป็นๆมาต้มในหม้อน้ำร้อน แล้วเอามากินเป็นอาหาร
สิมพลีนรก
:040:เต็ม ไปด้วยป่างิ้วนรก มีหนามเหล็กคมเป็นกรดยาวประมาณ ๓๖ องคุลี ลุกเป็นเปลวไฟแรงอยู่เสมอ สัตว์นรกที่มาเกิดต้องรับทุกข์ทรมานจนกว่าจะสิ้นกรรมชั่วของตน
บุพกรรม : คบชู้สู่สาว ผิดศีลธรรมประเวณี ชายเป็นชู้กับภรรยาของผู้อื่น หญิงเป็นชู้กับสามีของผู้อื่น หรือชายหญิงที่มีภรรยาหรือสามี ประพฤตินอกใจไปสู่หาเป็นชู้กับผู้อื่น มักมากในกามคุณ
อสินขะนรก
:040:สัตว์ นรกที่มาเกิดมีรูปร่างแปลกพิกล เช่น เล็บมือเล็บเท้าแหลมยาว กลับกลายเป็นอาวุธ หอก ดาบ จอบ เสียม สัตว์นรกเหล่านี้เหมือนคนบ้าวิกลจริตบ้างนั่ง บ้างยืน เอาเล็บมือถากตะกุยเนื้อหนังของตนกินเป็นอาหารตลอดเวลา จนกว่าจะสิ้นกรรม
บุพกรรม : เมื่อเป็นมนุษย์ชอบลักเล็กขโมยน้อย ขโมยของในสถานที่สาธารณะและของที่เขาถวายแด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ตามโพทะนรก
:040:มี หม้อเหล็กต้มน้ำทองแดงปนด้วยหินกรวด ร้อนระอุตลอดเวลา สัตว์นรกที่มาเกิดต้องรับทุกข์ โดยการถูกกรอกด้วยน้ำทองแดง และกรวดหินเข้าไปทางปาก จนกว่าจะสิ้นกรรม
บุพกรรม : ด้วยผลกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อนๆ เป็นคนใจอ่อนมัวเมาประมาท ดื่มกินสุราเมรัย แสดงอาการคล้ายคนบ้าเป็นเนืองนิจ
อโยคุฬะนรก
:040:เต็ม ไปด้วยก่อนเหล็กแดงเกลื่อนกลาดไปหมด อกุศลกรรมบันดาลสัตว์นรกที่มาเกิดเห็นก้อนเหล็กแดงเป็นอาหาร เมื่อกินเข้าไปแล้วเหล็กแดงนั้นก็เผาไหม้ไส้พุง ได้รับทุกขเวทนาจนกว่าจะสิ้นกรรม
บุพกรรม : แสดงตนว่าเป็นคนใจบุญใจกุศล เรี่ยไรทรัพย์ว่าจะนำไปทำบุญสร้างกุศล แต่กลับยักยอกเงินทำบุญของผู้อื่นมาเป็นของตน การกุศลก็ทำบ้างไม่ทำบ้างตามที่อ้างไว้ หลอกลวงผู้อื่น
ปิสสกปัพพตะนรก
:040:มี ภูเขาใหญ่ ๔ ทิศ เคลื่อนที่ได้ไม่หยุดหย่อน กลิ้งไปมาบดขยี้สัตว์นรกที่มาเกิดให้ร่างแหลกกระดูกแตกป่นละเอียดจนตายแล้ว ฟื้นขึ้นมาอีก ถูกบดขยี้อีกจนตายเรื่อยไปจนกว่าจะสิ้นกรรมของตน
บุพกรรม : เคยเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ประพฤติตนเป็นคนอันธพาล กดขี่ข่มเหงราษฎร ทำร้ายร่างกาย เอาทรัพย์เขามาให้เกินพิกัดอัตราที่กฏหมายกำหนด ไม่มีความกรุณาแก่คนทั้งหลาย
ธุสะนรก
:040:สัตว์นรกที่มาเกิดมี ความกระหายน้ำมาก เมื่อพบสระมีน้ำใสสะอาดก็ดื่มกินเข้าไป อำนาจของกรรมบันดาลให้น้ำกลายเป็นแกลบ เป็นข้าวลีบลุกเป็นไฟเผาไหม้ท้องและลำไส้ เสวยทุกขเวทนาแสนสาหัส จากกรรมชั่วที่ทำมา
บุพกรรม : คดโกง ไม่มีความซื่อสัตว์ ปนปลอมแปลงอาหารและเครื่องใช้แล้วหลอกขายผู้อื่น ได้ทรัพย์สินเงินทองมาโดยมิชอบ
สีตโลสิตะนรก
:040:เต็ม ไปด้วยน้ำเย็นยะเยือก เมื่อสัตว์นรกที่มาเกิดตกลงไปก็จะตายฟื้นขึ้นมาก็ถูกจับโยนลงไปอีกซ้ำเรื่อย ไปจนกว่าจะสิ้นกรรมชั่วของตน
บุพกรรม : จับสัตว์เป็นๆโยนลงไปในบ่อ ในเหว ในสระน้ำ หรือมัดสัตว์เป็นๆทิ้งน้ำให้จมน้ำตาย หรือทำเพื่อนมนุษย์ด้วยกันได้รับความทุกข์และตายเพราะน้ำ
สุนขะนรก
:040:เต็ม ไปด้วยสุนัขนรก ซึ่งมี ๕ พวก คือ หมานรกดำ, หมานรกขาว, หมานรกเหลือง, หมานรกแดง, หมานรกต่างๆ และยังมีฝูงแร้งกา นกตะกรุม สัตว์นรกที่มาเกิดจะถูก สุนัข แร้ง กา ไล่ขบกัดตรงลูกตา ปากและส่วนต่างๆ ได้รับทุกขเวทนาจากผลกรรมชั่วทางวจีทุจริต
บุพกรรม : ด่าว่าบิดามารดา ปู่ย่าตายาย พี่ชายพี่สาวและญาติทั้งหลายไม่เลือกหน้า ไม่ว่าจะเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ ตลอดจนพระภิกษุสงฆ์สามเณร
ยันตปาสาณะนรก
:040:มี ภูเขาประหลาด ๒ ลูก เคลื่อนกระทบกันตลอดเวลา สัตว์นรกที่มาเกิดจะถูกภูเขาบีบกระแทก ได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส ตายแล้วก็กลับฟื้นขึ้นมา จนกว่าจะสิ้นกรรมชั่วของตน
บุพกรรม : เป็นหญิงชายใจบาปหยาบช้า ด่าตีคู่ครองด้วยความโกรธ แล้วหันเหประพฤตินอกใจไปคบชู้เป็นสามีภรรยากับคนอื่นตามใจชอบ
การที่ข้าพเจ้านำมาเผยแพร่ให้ทราบถึงกุศลกรรมและอกุศลกรรม
นั้นมิใช่ให้ท่านนั้นได้เชื่อถือแต่ประการใดก็หาไม่ เพียงเพื่อให้เกิด
ความสังวรณ์ ด้วยสิ่งที่นำมากล่าว ณ ที่นี้นั้นมีหลักฐานอ้างอิงทั้งสิ้น
เพื่อให้ท่านที่ประกอบแต่กุศลกรรม และอกุศลกรรมได้พึงสังวรณ์ไว้
เท่านั้นเอง สวัสดีครับ
**************************
* แก้วประเสริฐ. *