สองมาตรฐาน
nidhi
สองมาตรฐาน
มาตรฐาน หมายถึง สิ่งที่ถือเอาเป็นหลักสำหรับเทียบกำหนด
มาตรฐานของแต่ละคน แต่ละสิ่ง แต่ละหน่วยงานย่อมมีแตกต่างกัน
เพราะว่ามาตรฐานก็คือสิ่งที่เราถือเอาเป็นหลักในการเทียบกำหนด
ฉะนั้น มาตรฐานในความเป็นจริงในตัวของมันเอง ย่อมมีได้หลายอย่าง หลายมาตรฐาน
แม้ในบุคคลคนเดียวกันก็ยังมีมาตรฐานสำหรับสิ่งต่างๆ เรื่องราวต่างๆที่แตกต่างกันไปตามสถานการณ์แต่ละครั้ง
การมี ๒ มาตรฐาน จึงเป็นเรื่องปกติ
เพราะมาตรฐานขึ้นอยู่กับหลักในการถือเอาแต่ละสิ่งมาเป็นตัวเทียบกำหนด เช่น มาตรฐานในการปฏิบัติงานให้บริการประชาชน
ย่อมต้องขึ้นอยู่กับประชาชนที่มาใช้บริการเป็นตัวกำหนดวัดเทียบเคียง ซึ่งย่อมไม่เหมือนกัน เพราะประชาชนที่มาใช้บริการย่อม
มีหลากหลายแตกต่างกันไป ไม่มีวันที่จะเหมือนกันไปหมดทุกคน แม้แต่ตัวเราเองก็ยังเปลี่ยนไปตลอดเวลา นั่นก็คือมีการเกิด
ความคงอยู่ และสิ้นสุดไปทุกขณะ เป็นธรรมดา
การมีสองมาตรฐาน ที่ถูกต้องตามหลักแห่งความเป็นจริงก็คือ เรื่องปกติธรรมดา
ที่ถูกต้องนั้น การมีเพียงสองมาตรฐาน จึงนับว่าน้อยเกินไป
เหมือนกับการที่แบ่งระหว่าง ธรรม กับอธรรม
ดำกับขาว ดีกับเลว มืดกับสว่าง ฯลฯ
การแบ่งลักษณะเป็นสองส่วนสองด้านเช่นนี้ เป็นการแบ่งเพียงกว้างๆ
เพราะในความมืดหรือความสว่างก็ยังมีระดับความมืดและความสว่างที่แตกต่างกันออกไปมากมาย
ที่ผ่านมานั้น เรามักจะพูดวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติงานขององค์กรต่างๆว่ามี ๒ มาตรฐาน
การมีสองมาตรฐานในการปฏิบัติงานนั้นอย่างที่กล่าวแล้ว นับว่าน้อยเกินไปเพราะมาตรฐานเป็นสิ่งที่ถือเอาเป็นหลัก
สำหรับเทียบกำหนดในแต่ละสถานการณ์ ซึ่งบางครั้งอาจไม่ได้มีเพียงตัวเทียบเพียงตัวเดียว
การมีสองมาตรฐานจึงถือเป็นเรื่องปกติ และถือได้ว่ายังน้อยเกินไปสำหรับสถานการณ์ที่แปรเปลี่ยนอย่างรวดเร็วและซับซ้อนเหมือนในปัจจุบัน
เราใช้มาตรฐานของเราไปตัดสินอะไรสักอย่าง เราก็ยังต้องเลือกมาตรฐานที่เหมาะสมที่สุด
บุคคลอื่นหรือองค์กรอื่นก็เช่นเดียวกัน จะใช้มาตรฐานในการตัดสินใจทำอะไร
ก็ย่อมต้องเลือกมาตรฐานให้เหมาะสมและทัดเทียมกันด้วยเป็นธรรมดา