เมื่อโลกทั้งใบ มากับสายไฟฟ้า...
ลุงแทน
เมื่อโลกทั้งใบ มากับสายไฟฟ้า...
ย้อนกลับไปราวสิบกว่าปีก่อน สมัยนั้น “อินเทอร์เน็ต” ยังเป็นคำที่ไม่ค่อยคุ้นหูคนไทยส่วนใหญ่นัก จะรู้กันในหมู่นิสิต นักศึกษา ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ยังจำได้ว่าจะส่งอีเมล กันที ก็ต้องใช้โปรแกรมที่มีส่วนติดต่อกับผู้ใช้งานเป็นแบบจอพื้นสีดำ ตัวอักษรสีขาว สีเขียว ดูเวียนหัวไปหมด เมาส์นี่แทบไม่ต้องพูดถึงเลยว่าหน้าตาเป็นอย่างไร
เผลอแป๊บเดียว สมัยนี้การใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างรวดเร็ว ง่ายดาย และแพร่หลายไปทั่ว โปรแกรมก็มีหน้าตาสวยงาม น่าใช้งาน และมีความหลากหลายขึ้นมาก (ๆ) ในส่วนของการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตก็พัฒนาจากโมเด็มความเร็วต่ำ (ไม่ถึง 56 Kbps) มาเป็นโมเด็มความเร็วสูงผ่านสายโทรศัพท์ ใยแก้วนำแสง หรือดาวเทียม ไปจนกระทั่งอินเทอร์เน็ตไร้สายหรือ Wi-Fi ที่คุ้นกันดีในปัจจุบัน
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว BPL (Broadband Over Powerlines) หรือ เทคโนโลยีในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านสายไฟฟ้า ก็ถือได้ว่าเป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่น่าสนใจและเริ่มมีการใช้งานกันมากขึ้น ในปัจจุบัน
ในอาคารสำนักงานที่มีการต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตความเร็ว สูงกับโลกภายนอกอยู่แล้ว มีแนวโน้มว่าจะมีการนำ BPL มาใช้งานกันมากขึ้น เนื่องจากว่าเพียงแค่ใช้ PLC (Power Line Communication) โมเด็มเสียบเข้ากับปลั๊กไฟฟ้าในอาคารหรือสถานที่ที่มีการวางระบบ BPL ก็จะสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ โดยเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถทำความเร็วได้ถึงในระดับกิกะบิตทีเดียว
แต่ ล่าสุดนักวิจัยจาก Pennsylvania State University ประเทศสหรัฐอเมริกา ยังไม่หยุดเพียงแค่นั้น เพราะว่ากำลังทำการวิจัยการนำเอา LED (Light Emitting Diode) มาใช้งานร่วมกับระบบ BPL ที่จะทำให้แสงสว่างภายในบ้านของเรามาพร้อมกับข้อมูลมหาศาลจากโลกอิน เทอร์เน็ต
LED เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ จัดอยู่ในประเภทไดโอดที่สามารถเปล่งแสงได้ ทั้งแสงที่อยู่ในช่วงที่ตาเราสามารถมองเห็นและมองไม่เห็น ถูกใช้งานคล้ายหลอดไฟคือให้แสงสว่าง อย่างเช่นใน สัญญาณไฟจราจร หลอดไฟในนาฬิกาปลุก ในจอภาพบางชนิด โทรศัพท์มือถือ หลอดไฟ (ที่มีแนวโน้มว่าจะมาแทนที่หลอดไฟแบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน) ฯลฯ
ทั้ง นี้การนำเอา LED มาใช้งานร่วมกับระบบ BPL นั้น ให้คุณผู้อ่านลองนึกภาพ การใช้งานภายในห้องหรือสำนักงานที่มีการใช้งานระบบ BPL คือข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตจะถูกส่งผ่านมากับสายไฟฟ้า ผู้ใช้งานเพียงแต่มีโมเด็มหรือตัวแปลงสัญญาณ แล้วนำไปเสียบเข้ากับเต้าเสียบ ก็จะสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ผ่านทางคอมพิวเตอร์ที่ต่อกับโมเด็มนั่นเอง
ตาม ปกติแล้ว LED ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเชื่อมต่อแบบไร้สายของโทรศัพท์มือถือหรือ คอมพิวเตอร์อยู่แล้ว ออกจะเป็นเทคโนโลยีที่เก่าไปแล้วด้วยซ้ำ เพราะสมัยนี้มีทั้ง บลูทูธ ทั้ง Wi-Fi (ไว-ไฟ) ให้เลือกใช้กัน
แต่ จากการทดลอง นักวิจัยได้ทำการเชื่อมต่อหลอด LED ที่ให้แสงสว่างสีขาว (คล้ายหลอดนีออน) เข้ากับกับระบบ BPL แล้ว ข้อมูลที่มาจากสายไฟฟ้าจะกลายเป็นแสงสว่างที่มีความถี่เดียวและเฟสต่อเนื่อง กัน นั่นคือแสงสว่างที่เปล่งออกมาจากหลอด LED จะมาพร้อมกับข้อมูลมหาศาลด้วยความเร็วสูงผ่านทางระบบ BPL นั่นเอง
ผล การทดลองนักวิจัยทดลองใช้คอมพิวเตอร์รับข้อมูลจากแสงสว่างที่มีจากหลอด LED ภายในห้องทดลอง ได้ที่ความเร็วประมาณ 1 กิกะบิต ซึ่งเป็นความเร็วที่สูงมากทีเดียว แต่ทั้งนี้ยังมีข้อจำกัดที่เกิดจากระดับความสว่าง บริเวณพื้นที่รับแสง ที่เป็นอุปสรรคสำหรับความเร็วในการส่งข้อมูลที่มากกว่านี้ ซึ่งจะต้องได้รับการปรับปรุงต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้สิ่งที่น่า สนใจก็คือการใช้ LED ร่วมกับระบบ BPL จะมีความปลอดภัยมากกว่าการใช้ระบบ Wi-Fi โดยเฉพาะในสถานที่ทำงาน เพราะว่าธรรมชาติของแสงไม่สามารถผ่านทะลุกำแพงได้เหมือนกับคลื่นไมโครเวฟ ดังนั้นเราจึงไม่ต้องกังวลว่าจะมีใครแอบเจาะเข้ามาในระบบเราจากสถานที่ใกล้ เคียงนั่นเอง
รอกันอีกไม่นาน ไม่เกิน 4-5 ปีข้างหน้า อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงคงเป็นเพียงแค่ “การเปิดคอมพิวเตอร์ และ เปิดไฟ” เท่านั้น จริง...