*** พระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญ พระราชอำนาจเพื่อปวงประชา ***

ลุงแทน

รัฐธรรมนูญ  เป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ  ซึ่งบทบัญญัติต่าง ๆ ของรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะเปลี่นแปลงไปตามสภาพการณ์ของบ้านเมืองในกาลสมัยนั้น และนับตั้งแต่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ  เมื่อวันที่  ๙ มิถุนายน ๒๔๙๐ มีรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้ในรัชสมัยของพระองค์ท่าน  ประกอบด้วยรัฐธรรมนูญที่ผ่านกระบวนการพิจารณา
และให้ความเห็นชอบจากรัฐสภาหรือองค์กรด้านนิติบัญญัติ  ซึ่งจัดทำอยู่ในรูปของสมุดไทย จำนวน  ๘ ฉบับ  และรัฐธรรมนูญที่มิได้จัดทำเป็นสมุดไทย  เนื่องจากเป็นรัฐธรรมนูญที่มีการประกาศใช้โดยมิได้ผ่าน
กระบวนการพิจารณาและให้ควมเห็นชอบจากรัฐสภา จำนวน  ๗ ฉบับ  รวมเป็น ๑๕ ฉบับ ดังนี้
          ๑.  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)  พุทธศักราช ๒๔๙๐  มิได้จัดทำเป็นสมุดไทย  และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมขุนชัยนาทนเรนทร  ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์  ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นผู้ลงนาม  เมื่อวันที่  ๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๐
          ๒.  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๔๙๒  จัดทำเป็นสมุดไทย และคณะอภิรัฐมนตรี  ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  จำนวน  ๕ คน  เป็นผู้ลงพระนามและลงนาม  เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๔๙๒    ณ พระที่นั่งราชกัลณยสภา
          ๓.  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๔๗๕  แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๙๕   จัดทำเป็นสมุดไทย   และทรงลงพระปรมาภิไธย  เมื่อวันที่  ๘ มีนาคม ๒๔๙๕  ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม
          ๔.  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๐๒  มิได้จัดทำเป็นสมุดไทย  และทรงลงพระปรมาภิไธย  เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๐๒
          ๕. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๑๑  จัดทำเป็นสมุดไทย  และทรงลงพระปรมาภิไธย  เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๑๑  ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม
          ๖. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๑๕  มิได้จัดทำเป็นสมุดไทย  และทรงลงพระปรมาภิไธย  เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม  ๒๕๑๕  ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
          ๗. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๑๗  จัดทำเป็นสมุดไทย  และทรงลงพระปรมาภิไธย  เมื่อวันที่ ๗ ๒๕๑๗   ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
          ๘. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๑๙  มิได้จัดทำเป็นสมุดไทย  และทรงลงพระปรมาภิไธย  เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม  ๒๕๑๙  ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
          ๙. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๒๐  มิได้จัดทำเป็นสมุดไทย  และทรงลงพระปรมาภิไธย  เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน  ๒๕๒๐  ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
         ๑๐. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๒๑  จัดทำเป็นสมุดไทย  และทรงลงพระปรมาภิไธย  เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม  ๒๕๒๑  ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
         ๑๑. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๓๔  มิได้จัดทำเป็นสมุดไทย  และทรงลงพระปรมาภิไธย  เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม  ๒๕๓๔  ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
         ๑๒. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๓๔  จัดทำเป็นสมุดไทย  และทรงลงพระปรมาภิไธย  เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม  ๒๕๓๔  ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
         ๑๓. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๔๐  จัดทำเป็นสมุดไทย  และทรงลงพระปรมาภิไธย  เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม  ๒๕๔๐  ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
         ๑๔. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชัวคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙  มิได้จัดทำเป็นสมุดไทย  และทรงลงพระปรมาภิไธย  เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม  ๒๕๔๙  ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
         ๑๕. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๕๐  จัดทำเป็นสมุดไทย  และทรงลงพระปรมาภิไธย  เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม  ๒๕๕๐  ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
          การลงพระปรมาภิไธในรัฐธรรมนูญ  เป็นการแสดงให้เห็นถึงการใช้พระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประการหนึ่ง  ซึ่งที่ผ่านมาในอดีตถึงแม้จะไม่ปรากฏว่าทรงใช้พระราชอำนาจยับยั้งร่างรัฐธรรมนูญโดยการ
ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยก็ตาม  แต่เคยมีกรณีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงไม่เห็นด้วยกับการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๑๗  ที่ได้ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในขณะนั้นแล้ว  โดยทรงเห็นว่าควรมีข้อแก้ไขบางประการและทรงมีกระแสพระราชดำรัสกับหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์  ปราโมท  ลงมาก่อนที่จะทรงลงพระปรมาภิไธย  ทั้งนี้ ทรงตั้งข้อสังเกตบางประการเกี่วกับร่างรัฐธรรมนูญ  ที่สำคัญคือทรงไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะให้ประธานองคมนตร
ีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งวุฒิสมาชิก  ด้วยเหตุที่ว่าประธานองคมนตรีเป็นผู้ที่พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัย  ซึ่งการบัญญัติเช่นนี้จะทำให้ขัดกับหลักการตามระบอบประชาธิปไตยที่ว่า  พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง  ซึ่งในเวลาต่อมารัฐบาลขณะนั้นได้ดำเนินการแก้
ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวตามคำแนะนำของพระองค์ท่าน  จะเห็นได้ว่าการที่พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมิได้ยับยั้งร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว  อาจเนื่องด้วยทรงเล็งเห็นว่าบ้านเมืองในขณะนั้น
มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องประกาศใช้รัฐธรรมนูญ  ซึ่งหากใช้พระราชอำนาจยับยั้งไว้อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติได้  ดังนั้นจึงทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญ เพื่อประกาศใช้ก่อนแล้วึงทรงแนะนำให้แก้ไขเพิ่มเติมภายหลังในส่วนที่ไม่เหมาะสม  แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่านที่มรงใช้พระราชอำนาจ  โดยคำนึงถึงประโยชน์สุขของอาณาประชาราษฎร
์และความเจริญก้าวหน้าหมั่นคงของประเทศชาติเป็นสำคัญ
          ตลอดระยะเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่าง ๆ  ภายใต้กรอบของกฎหมายและทรงยึดหลักทศพิธราชธรรมในการปกครองประเทศอย่างเคร่งครัด  แม้ในยามที่บ้านเมืองประสบภาวะวิกฤติเกิดความสับสนวุ่นวายขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ วันมหาวิปโยค  เหตุการณ์ความไม่สงบเมื่อวันที่  ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙  หรือเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เมื่อปี ๒๕๓๕ ก็ตาม  พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงใช้พระปรีชาญาณอันสุขุม  และทรงใช้วิธีการตามครรลองแห่งวิถีประชาธิปไตยเข้าแก้ไขปัญหาในเหตุการณ์หลาย ๆ เหตุการณ์ให้คลี่คลายลง  โดยพระราชทานคำแนะนำต่าง ๆ แก่รัฐในเรื่องที่รัฐนำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อขอพระราชทานคำปรึกษา  รวมทั้งทรงตักเตือนเพื่อยุติเหตุแห่งปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น  ซึ่งจากที่กล่าวมาจึงถือได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็น  "พระมหากษัตริย์นักประชาธิปไตย" อย่างแท้จริง				
comments powered by Disqus

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน