เรื่องราวของประเทศจีนต่างๆที่ผมได้รวบรวมมาเพื่อสะดวกในการอ่านที่เดียวก่อนเมื่อเข้าใจดีแล้วค่อยๆไปหาอย่างอื่นอ่านกันต่อไป ราชวงศ์ซัง-ราชวงศ์โบราณที่สุดของจีนที่มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ 中国国际广播电台 วงการประวัติศาสตร์ของจีนมักจะเห็นว่าราชวงศ์เซี่ยเป็นราชวงศ์ที่โบราณที่สุดของจีน แต่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับราชวงศ์เซี่ยส่วนใหญ่เป็นการบันทึกไว้ในหนังสือของยุคหลังทั้งนั้น จนถึงปัจจุบัน ยังค้นไม่พบพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถือทางโบราณคดี ส่วนราชวงศ์แรกที่มีพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถือและได้รับจากการค้นพบทางโบราณคดีของจีนก็คือราชวงศ์ซัง ราชวงศ์ซังสถาปนาขึ้นประมาณศตวรรษที่16 ก่อนค.ศ. สูญสิ้นลงเมื่อศตวรรษที่11ก่อนค.ศ. กินเวลาประมาณ600ปี ช่วงแรกของราชวงศ์ซังเคยย้ายเมืองหลวงหลายครั้ง ในที่สุดได้ตั้งเมืองหลวงขึ้นที่ กรุงยิน(บริเวณเมืองอันหยางของมณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) พยานหลักฐานทางโบราณดคีพิสูจน์ให้เห็นว่า ในช่วงของราชวงศ์ซัง อารยธรรมของจีนได้พัฒนาไปถึงระดับสูงพอสมควรแล้วโดยมีสัญลักษณ์สำคัญคือ ตัวอักษรโบราณที่สลักไว้บนกระดองเต่าหรือกระดูกสัตว์และวัฒนธรรมทองสัมฤทธิ์ การค้นพบตัวอักษาโบราณบนกระกองเต่าหรือกระดูกสัตว์นั้นเกิดขึ้นโดยความบังเอิญมาก เมื่อต้นศตวรรษที่20 ชาวบ้านของหมู่บ้านเสี่ยวถุนทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองอันหยานมณฑลเหอหนานเอากระดองเต่าและกระดูกสัตว์ที่เก็บมาขายเป็นยาแพทย์แผนโบราณจีน มีนักวิชาการได้พบเห็นโดยบังเอิญ จึงรู้ว่าบนกระดองและกระดูกเหล่านี้ได้สลักตัวอักษรโบราณไว้ และใช้ความพยายามค้นหา ไม่นานนัก นักวิชาการในด้านตัวอักษรโบราณของจีนก็ได้ลงข้อสรุปอย่างแน่นอนว่า ตัวอักษรเหล่านี้เป็นตัวอักษรของราชวงศ์ซัง และก็ได้ลงความเห็นว่าหมู่บ้านเสี่ยวถุนก็คือที่ตั้งของกรุงยินเมืองหลวงเก่าของราชวงศ์ซัง การค้นพบและขุดค้นของกรุงยินนั้นเป็นการค้นพบทางโบราณคดีที่สำคัญที่สุดในศตวรรษที่20ของจีน ตั้งแต่ปีค.ศ.1928เริ่มขุดค้นเป็นต้นมา ได้ค้นพบโบราณวัตถุที่มีค่าจำนวนมากมายซึ่งรวมทั้งตัวอักษรกระดองเต่ากระดูกสัตว์ และเครื่องทองสัมฤทธิ์ ตัวอักษรกกระดองเต่าและกระดูกสัตว์เป็นตัวอักษรโบราณที่สลักไว้บนกกระดองเต่าและกระดูกสัตว์ ในสมัยราชวงศ์ซัง กษัตริย์ไม่ว่าจะทำเรื่องอะไรก็จะต้องดำเนินการเสี่ยงทายก่อนเสมอ กระดองเต่าและกระดูกสัตว์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเสี่ยงทาย ปัจจุบัน ได้ค้นพบกระดองเต่าและกระดูกสัตว์ที่เมืองยินเก่าเป็นจำนวนกว่า160000ชิ้น ในจำนวนนี้ บางชิ้นยังมีสภาพสมบูรณ์ บางชิ้นเหลือแต่เศษที่มีไม่ตัวอักษร ตามสถิติ ตัวอักษรชนิดต่างๆบนกระดองเต่าและกระดูกสัตว์เหล่านี้มีจำนวนกว่า4000ตัว ในจำนวนนี้ นักวิชาการได้ศึกษาวิจัยประมาณ3000ตัวซึ่งมีจำนวนกว่า1000ตัวนักวิชาการได้บรรลุความเห็นเอกฉันท์ ส่วนที่เหลือบ้างก็ยากที่จะอ่านออก บ้างก็มีความเห็นแย้งกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อผ่านการศึกษาวิจัยตัวอักษรโบราณจำนวนกว่าพันตัวนี้ คนปัจจุบันก็สามารถรับทราบสภาพด้านต่างๆในสมัยนั้นเช่นการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของราชวงศ์ซังอย่างคร่าวๆ เหมือนกับกระดองเต่าและกระดูกสัตว์ที่ได้สลักตัวอักษร เครื่องทองสัมฤทธิ์ก็เป็นโบราณวัตถุที่เป็นเอกลักษณ์พิเศษของราชวงศ์ซัง เทคนิคการถลุงเครื่องทองสัมฤทธิ์ของราชวงศ์ซังได้พัฒนาถึงระดับสูงพอสมควรแล้ว เครื่องทองสัมฤทธิ์ที่ค้นพบแควเมืองยินเก่ามีจำนวนหลายพันชิ้น ในจำนวนนี้ หม้อสี่เหลี่ยมใหญ่ซือหมู่อู้ที่ค้นพบที่ซากวิตกโบราณยินในปีค.ศ.1939 มีน้ำหนักถึง875กิโลกรัม สูง1.33เมตร ยาว1.1เมตรและกว้าง0.78เมตร มีรูปแบบที่สง่างาม เป็นผลงานยอดเยี่ยมของวัฒนธรรมด้านเครื่องทองสัมฤทธิ์ในสมัยโบราณของจีน การขุดค้นทางโบราณคดีและการวิจัยทางศึกษาวิชาการพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ในสมัยราชวงศ์ซัง ได้มีประเทศเกิดขึ้นแล้ว ระบอบกรรมสิทธิ์ก็ได้กำหนดขึ้น ตั้งแต่สมัยนี้เป็นต้นมา จีนก็ได้พัฒนาเข้าสู่สมัยอารยธรรม ราชวงศ์เซี่ย-ราชวงศ์แรกในประวัติศาสตร์ของจีน 中国国际广播电台 ราชวงศ์เซี่ยเป็นราชวงศ์แรกในประวัติศาสตร์ของจีน อยู่ระหว่างประมาณศตวรรษที่21-16ก่อนค.ศ. มีกษัตริย์14รุ่น17วงศ์ กินเวลาประมาณ500ปี ใจกลางการปกครองของราชวงศ์เซี่ยอยู่ที่บริเวณภาคใต้ของมณฑลซันซีและภาคตะวันตกของมณฑลเหอหนานในปัจจุบัน กษัตริย์ยวี่ ผู้สถาปนาของราชวงศ์เซี่ยเป็นวีรบุรุษที่จัดการปัญหาแม่น้ำและสร้างความสงบให้ประชาชน เล่ากันว่า เขาเนื่องจากได้แก้ปัญหาแม่น้ำเหลืองที่เคยเกิดอุทกภัยบ่อยครั้งได้รับความสำเร็จจึงได้รับการยกย่องสนับสนุนจากประชาชน ในที่สุดสถาปนาราชวงศ์เซี่ยขึ้น การสถาปนาของราชวงศ์เซี่ยนั้นนับเป็นสัญลักษณ์ที่สังคมกรรมสิทธิ์ได้เข้าแทนที่สังคมดึกดำบรรพ์ที่ดำเนินมาเป็นเวลาอันยาวนาน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จีนได้พัฒนาเข้าสู่สังคมระบอบทาส ช่วงปลายของสมัยราชวงศ์เซี่ย การเมืองมีความวุ่นวาย ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนับวันรุนแรงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกษัตริย์เซี่ยเจ๋ กษัตริย์สุดท้ายของเซี่ยเมื่อครองราชย์ไม่นาน ก็ไม่สนใจบริหารประเทศ เย่อหยิ่งฟุ่มเฟือยใช้ชีวิตเละเทะ ผลาญเงินเหมือนผลาญดิน กษัตริย์เซี่ยเจ๋เอาแต่ดื่มเหล้าสนุกสนานกับพระสนมชื่อเม่สีที่เขาชอบ ไม่คำนึงถึงความทุกข์ยากลำบากของประชาชน มีเสนาบดีวิจารณ์เขา เขาก็ประหารเสนาบดีเหล่านั้นเสีย ด้วยเหตุนี้ ก๊กต่างๆที่อยู่ใต้สังกัดราชวงศ์เซี่ยก็พากันกบฏ ก๊กซังซึ่งเป็นก๊กที่เคยสังกัดกับราชวงศ์เซี่ยก็ถือโอกาสนี้โจมตีเซี่ยจนทำให้เซี่ยแตกพ่าย กษัตริย์เซี่ยเจ๋หนีออกจากเมืองหลวงในที่สุดถึงแก่อสัญกรรมที่เมืองหนานเฉา ราชวงศ์เซี่ยจึงสูญสิ้นลง ปัจจุบัน เนื่องจากข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับราชวงศ์เซี่ยมีน้อยมาก ในประวัติศาสตร์จีนมีราชวงศ์เซี่ยจริงหรือไม่นั้น วงการวิชาการยังไม่ได้มีข้อสรุปที่แน่นอน แต่หนังสือสือจี้ เซี่ยซึ่งเป็นหนังสือประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของจีนได้บันทึกชื่อกษัตริย์ของราชวงศ์เซี่ยอย่างชัดแจ้ง นักโบราณดคีก็หอย่างยิ่งวังจะว่าจะใช้วิธีการทางโบราณคดีไปค้นหาพยานหลักฐานของวัฒนธรรมทางวัตถุของราชวงศ์เซี่ยเพื่อพิสูจน์ประวัติศาสตร์ของราชวงศ์เซี่ย ตั้งแต่ปีค.ศ.1959เป็นต้นมา วงการโบราณคดีของจีนเริ่มสำรวจซากโบราณวัตถุเซี่ยซึ่งนับเป็นการเปิดฉากการค้นหาวัฒนธรรมราชวงศ์เซี่ย ปัจจุบัน นักวิชาการส่วนใหญ่เห็นว่า ซากวัตถุโบราณเอ้อหลี่โถวในเมืองยั่นซือของมณฑลเหอหนานที่ได้รับการตั้งชื่อว่าเป็นวัฒนธรรมเอ้อหลี่โกวเป็นสถานที่เป้าหมายที่ต้องค้นหาสำคัญที่สุดของการค้นหาวัฒนธรรมของราชวงศ์เซี่ย ตามการตรวจวัด เวลาก่อรูปขึ้นของซากวัตถุโบราณแห่งนี้อยู่ในช่องประมาณปี1900ก่อนค.ศ.ซึ่งน่าจะพอดีอยู่ในสมัยราชวงศ์เซี่ย ปัจจุบัน แม้ยังไม่ได้ค้นพบพยานหลักฐานโดยตรงที่สามารถสรุปได้ว่าซากวัตถุโบราณแห่งนี้เป็นวัฒนธรรมของราชวงศ์เซี่ยก็ตาม แต่ข้อมูลข่าวสารอันอุดมสมบูรณ์ที่ค้นพบจากที่แห่งนี้ได้มีส่วนทำให้งานค้นหาวัฒนธรรมของราชวงศ์เซี่ยก้าวหน้าไปอย่างมีพลัง เครื่องมือการผลิตที่ค้นพบที่ซากเอ้อหลี่โถวยังคงเป็นเครื่องมือหินเป็นสำคัญ เครื่องมือกระดูกและเขาสัตว์และเครื่องมือเปลือกหอยก็มีการใช้สอยอยู่ในขณะนั้น บนรากฐานของบ้านเรือน เตียงดินและผนังของสุสานได้ค้นพบรอยขุดดินด้วยเครื่องมือที่ทำด้วยไม้ ประชาชนในสมัยนั้นได้ใช้ความขยันหมั่นเพียรและสติปัญญาของตน ปรับพื้นดำเนินการผลิตทางการเกษตรด้วยเครื่องมือที่ค่อนข้างล้าหลัง แม้จนถึงปัจจุบัน ยังไม่เคยค้นพบเครื่องทองสัมฤทธิ์ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ในซากปรักหักพังของราชวงศ์เซี่ยก็ตาม แต่เคยค้นพบเครื่องมือ อาวุธและภาชนะที่ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ชนิดต่างๆเช่น มีด สว่าน ขอเน สิ่ว ลั่ม ง้าว จอกเหล้าเป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้ค้นพบซากโบราณของเตาเผาหล่อทองสัมฤทธิ์ ได้ค้นพบแบบหล่อเครื่องทองสัมฤทธิ์ที่ทำด้วยดินเผา กากทองสัมฤทธิ์และเศษหม้อสำหรับหล่อทองสัมฤทธิ์ นอกจากนี้ ยังได้ค้นพบเครื่องหยกที่มีระดับเทคนิคผลิตที่ค่อนข้างสูงจำนวนมากมาย มีเครื่องประดับที่ฝังประดับด้วยอัญมณี ยังมีเครื่องดนตรีชนิดต่างๆเช่นฉิ่งหินเป็นต้น เทคนิคการผลิตหัตถกรรมและการจัดงานภายในได้มีการพัฒนาไปอีกขึ้นหนึ่ง ในด้านการบันทึกภาษาโบราณ สิ่งที่น่าสังเกตที่สุดก็คือปฎิทินของราชวงศ์เซี่ย บทความเรื่องเซี่ยเสี่ยวเจิ้งในหนังสือต้าไต้หลี่จี้ก็เป็นหนังสือสำคัญเกี่ยวกับปฎิทินเซี่ยที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่า ผู้คนในสมัยนั้นสามารถกำหนดเดือนด้วยทิศทางของดาวไถ ปฎิทินเซี่ยนับเป็นปฎิทินที่โบราณที่สุดของจีน บทความเรื่องเซี่ยเสี่ยวเจิ้งได้บันทึกปรากฎการณ์ของดวงดาว ปรากฎการณ์ทางอุตุนิยมวิทยาและปรากฎการณ์ของสรรพสิ่งตลอดจนกิจการทางการเกษตรและการเมืองที่ผู้คนควรจะต้องทำตามลำดับของ12เดือนของปฎิทินเซี่ย ปฎิทินเซี่ยได้แสดงให้เห็นถึงระดับการผลิตทางการเกษตรของราชวงศ์เซี่ยและบันทึกความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่โบราณที่สุดและค่อนข้างมีค่าของจีน หนังสือสื่อจี้ แปลตรงตัวก็คือบันทึกประวัติศาสตร์ 中国国际广播电台 หนังสือสื่อจี้ แปลตรงตัวก็คือบันทึกประวัติศาสตร์ เป็นบทนิพนธ์ด้านประวัติศาสตร์ชิ้นยิ่งใหญ่ของจีน ได้บันทึกประวัติศาสตร์โดยผ่านชีวประวัติของบุคคลสำคัญต่างๆ เป็นหนังสือที่มีบทบาทและอิทธิพลกว้างไกลและลึกซึ้งต่อ การวิจัยค้นคว้าประวัติศาสตร์และวรรณคดีในสมัยหลัง สื่อจี้ประพันธ์ขึ้นในราชวงศ์ฮั่นตะวันตกซึ่งห่างจากปัจจุบัน 2,100 ปี โดยได้บันทึกสภาพการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ในระยะเวลา 3,000 ปีตั้งแต่บรรพกาลจนถึง ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก เป็นหนังสือประวัติศาสตร์รวมหลายยุคสมัย เล่มแรกที่ใช้แนวเขียนโดยอาศัยชีวประวัติของบุคคลสำคัญเป็นแกนกลาง นับได้ว่า เป็นการริ่เริ่มวรรณกรรมประเภทบันทึก ประวัติศาสตร์ของประเทศจีน ก่อนที่จะบรรยายคุณค่าของสื่อจี้ที่มีต่อการศึกษาวิจัยประวัติศาสตร์และวรรณคดี ขอแนะนำนายซือหม่าเชียน นักประพันธ์ผู้ยิ่งใหญ่ ที่ประพันธ์หนังสือสื่อจี้เล่มนี้ก่อน นายซือหม่าเชียนเป็น นักประวัติศาสตร์และนักประพันธ์ในราชวงศ์ฮั่นตะวันตกของจีน บิดาของเขาเป็นขุนนาง ทำหน้าที่บันทึกประวัติศาสตร์ในราชสำนัก ซือหม่าเชียนเป็น คนช่างคิดตั้งแต่เด็ก เขามักจะมีความคิดเห็นที่เป็นตัวของตัวเอง เกี่ยวกับบุคคลและเหตุการณ์สำคัญสมัยก่อนในตำนานต่างๆ เมื่อเขายังหนุ่มอยู่ เขาเคยออกเดินทางไปทัศนาจรทั่วประเทศ เพื่อศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ขนบธรรมเนียม สภาพสังคม เศรษฐกิจและเกษตรกรรม เยี่ยมเยือนสถานที่ ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในท้องที่ต่างๆของจีน รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ บุคคลและเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ ต่อมา ซือหม่าเชียน ได้สืบต่อตำแหน่งของบิดาไปเป็นขุนนางด้านประวัติศาสตร์ สมัยนั้น การบันทึกประวัติศาสตร์ของยุคก่อน ส่วนใหญ่จะแต่งขึ้นในสมัยที่จีนยังแบ่งเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อยซึ่งมีอำนาจรัฐแตกแยกกระจัดกระจาย ดังนั้น บรรดาผู้ประพันธ์จึงมักจะยึดถือทัศนะทางประวัติศาสตร์ที่ต่างกัน นอกจากนั้น ในขณะที่รวบรวมเรียบเรียงหนังสือของคนยุคก่อน ซือหม่าเชียนเตรียมตัวจะประพันธ์หนังสือประวัติศาสตร์เล่มสมบูรณ์ด้วยตนเอง เคราะห์ร้ายที่เขาถูกจักรพรรดิลงโทษด้วยการตัด อวัยวะเพศเนื่องจากสาเหตุทางการเมือง ซือหม่าเชียนถูกทำร้ายทั้งร่างกายและจิตใจอย่างแสนสาหัส แม้ว่าต่อมาราชสำนักจะกลับแต่งตั้งเขาให้เป็นขุนนางชั้นสูงในกภายหลัง แต่สภาพความคิดจิตใจของเขาได้เปลี่ยนแปลงไป อย่างมาก เขาเห็นว่า ความหมายเพียงอย่างเดียวที่จะทำให้เขามี ชีวิตอยู่ต่อก็คือ เขียนสื่อจี้ให้เสร็จสมบูรณ์ สื่อจี้ หนังสือเล่มยิ่ง ใหญ่เล่มนี้ ซือหม่าเชียนใช้เวลาเขียนถึง 13 ปี ทั้งเล่มประกอบด้วย 103 บทใช้ตัวอักษรกว่า 5 แสนตัว สื่อจี้แบ่งเป็นเปิ่นจี้ เปี่ยว ซู สื้อเจียและเลี่ยจ้วน 5 ภาค สื่อจี้ได้อาศัยชีวประวัติของจักรพรรดิและบุคคลสำคัญอื่นๆในประวัติศาสตร์เป็นโครงสร้างการประพันธ์ เปิ่นจี้เป็นการบันทึกสภาพการ เจริญรุ่งเรืองหรือเสื่อมทรุดของจักรพรรดิองค์ต่างๆและเหตุการณ์สำคัญๆในประวัติศาสตร์ เปี่ยวเป็นตารางที่แสดง เหตุการณ์สำคัญต่างๆของแต่ละยุคสมัยตามลำดับเวลา ซูคือบทความเกี่ยวกับด้านต่างๆเช่น ดาราศาสตร์ ปฎิทิน การชลประทาน เศรษฐกิจและวัฒนธรรมเป็นต้น สื้อเจียได้ บรรยายประวัติ เรื่องราวและกิจกรรมของบรรดา เจ้าผู้ครองนครรัฐ ส่วนเลี่ยจ้วนเป็นชีวประวัติของบุคคลที่มีอิทธิพล ของชนชั้นต่างๆในแต่ละยุคสมัย และยังมีบทความบางบทได้บันทึกความเป็นมาและประวัติ ของชนชาติส่วนน้อยด้วย ภาคเปิ่นจี้ สื้อเจียและเลี่ยจ้วนเป็น 3 ภาคที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของหนังสือเล่มนี้ ซึ่งทั้ง 3 ภาคนี้ล้วนเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์โดยผ่านเรื่องราวชีวประวัติบุคคล ด้วยเหตุนี้ ซือหม่าเชียนจึงเป็นผู้คิดค้น รูปแบบการ ประพันธ์หนังสือประวัติศาสตร์แนวใหม่ที่เรียกกันว่าจี้จ้วนถี่ ซึ่งแปลว่า บันทึกประวัติศาสตร์ด้วยชีวประวัติของบุคคลสำคัญ ในสายตาของคนจีน สื่อจี้เป็นหนังสือบันทึกประวัติศาสตร์ ตามสภาพความเป็นจริง สมัยก่อน ขุนนางจะถืองานการปรับปรุง เพิ่มเติมเรื่องราวประวัติศาสตร์เป็นการสรรเสริญเยินยอคุณงามความดีของจักรพรรดิผู้ทรงปรีชาสามารถและเสนาบดีผู้จงรักภักดี หรือเป็นการชื่นชมสภาพความมั่นคั่งของรัชกาลของตน แต่ซือหม่าเชียนไม่ได้เลียนแบบคนสมัยก่อน เขาจะประพันธ์ โดยเน้นสภาพความเป็นจริง เขาได้เชื่อมโยงการเมือง เศรษฐกิจ การทหารและวัฒนธรรม ตลอดจนดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์และ ประเพณีนิยมให้เข้าด้วยกันเป็นองค์เอกภาพ สร้างโลกประวัติศาสตร์ที่มีสีสันและมีชีวิตชีวาแก่ผู้อ่าน เนื่องจากตนได้ประสบการลงโทษที่ไม่เที่ยงธรรม ซือหม่าเชียนให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อพลังชีวิต และคุณค่าของตัวบุคคล ดังนั้น สื่อจี้จึงต่างกันกับหนังสือ ประวัติศาสตร์ของราชวงศ์สมัยก่อนตรงที่เปี่ยมไปด้วยความรักและความชังที่เด่นชัด ในหนังสือนอกจากจะเขียนโจมตีและเสียดสี ชนชั้นปกครองของสังคมศักดินา โดยเฉพาะราชสำนักฮั่น ยังได้บันทึกการเคลื่อนไหวของประชาชนในการต่อต้านการปกครองแบบเผด็จการและทารุณกรรม ได้กล่าวชื่นชมบุคคลชั้นต่ำที่มีคุณความดีอย่างกระตือรือร้น และได้วาดภาพอันยิ่งใหญ่ให้กับวีรบุรุษผู้มีจิตใจรักชาติ เหตุการณ์จำนวนมาก ถ้าพิจารณาด้วยทัศนะของราชสำนักและ แนวคิดทางจริยธรรมแล้ว ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แต่ในสายตาของซือหม่าเชียน กลับเป็นเหตุการณ์ที่มีคุณค่าและควรแก่การบันทึกไว้ทั้งนั้น สื่อจี้มีคุณค่าสูงยิ่งทางด้านวรรณคดี ได้อาศัยสภาพความจริงในประวัติศาสตร์สร้างภาพบุคคลขึ้นอย่างมีชีวิตชีวา เช่น ภาพชาวนาที่องอาจกล้าหาญก่อการกบฏต่อต้าน การปกครองเผด็จการ ภาพวีรบุรุษที่มีอุดมคติกว้างไกลแต่ดูท่าทางอ่อนแอ ภาพบุคคลที่มีความสามารถประเสริฐแต่ปลีกตัวออกจากราชการ แม่ทัพที่มีวิสัยทัศน์และรบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง มือมีดที่ชื่อสัตย์ที่ยอมเสียชีวิตเพื่อประเทศชาติ ปัญญาชนแสนฉลาดที่เป็นนักวางแผนกุศโลบายสุดยอด ตลอดจนหญิงสาวสวยงามที่หนีตามชายชู้ไปเป็นต้น ภาพลักษณ์ของบุคคลดังกล่าวที่มีชีวิตชีวา เป็นส่วนที่มีสีสันและสำคัญที่สุดของสื่อจี้ สื่อจี้ได้เล่าเรื่องราวในประวัติศาสตร์อย่างถูกต้องตามความจริง เขียนเป็นระบบชัดเจน ใช้ภาษารวบรัดและสละสลวย เข้าใจง่าย สไตล์การบันทึกมีความหนักแน่นและสนุกสนาน ถือว่าเป็นบทนิพนธ์ด้านประวัติศาสตร์ที่มีความสำเร็จสูงสุดของจีน หลี่ไป๋---เซียนกวี 中国国际广播电台 หลี่ไป๋เป็นกวีที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยราชวงศ์ถังของจีน มีอุปนิสัยที่อวดดีลำพองตัว มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ใจนักเลงและเปิดเผยตรงไปตรงมา มีความคิดเป็นอิสระ ทั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงคุณลักษณะแห่งยุคสมัยและสภาพจิตใจของปัญญาชนในช่วงเวลาที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดของราชวงศ์ถัง หลี่ไป๋มีบ้านเกิดอยู่ที่มณฑลกันสู้ในปัจจุบัน จนถึงทุกวันนี้ สภาพครอบครัวและแหล่งกำเนิดที่แน่นอนของหลี่ไป๋ยังคงเป็นปริศนาอยู่ จากบทกลอนของหลี่ไป๋มีความว่า ครอบครัวของเขาเป็นครอบครัวที่มั่งมีและมีการศึกษา หลี่ไป๋อ่านหนังสือมากมายตั้งแต่เด็ก นอกจากอ่านหนังสือแล้ว เขายังฝึกมวยรำกระบี่ได้ดีด้วย เพื่อหาความรู้เพิ่มเติม หลี่ไป๋ออกท่องเที่ยวไปตามที่ต่างๆตั้งแต่อายุ 20 กว่า เนื่องด้วยเขามีความรอบรู้ มีความสามารถเฉลียวฉลาดเหนือคนทั่วไป จึงได้ประสบผลสำเร็จอันยอดเยี่ยมในด้านการประพันธ์บทกลอน แม้ว่าในเวลานั้น เทคโนโลยีการพิมพ์และการคมนาคมยังไม่เจริญนัก แต่หลังจากผ่านการแลกเปลี่ยนและการแลกบทกลอนให้แก่กันและกันระหว่างปัญญาชน ทำให้หลี่ไป๋มีชื่อเสียงโด่งดังตั้งแต่อายุยังน้อยๆ การศึกษาหาความรู้และการเข้าร่วมการสอบคัดเลือกขุนนางเป็นทางเลือกมาแต่ไหนแต่ไรของผู้เรียนหนังสือในสมัยโบราณของจีน หลี่ไป๋ในวัยเยาว์ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้รับผลสำเร็จในวิถีชีวิตขุนนาง เขาจึงเดินทางไปถึงกรุงฉานอาน ราชธานีของราชวงศ์ถัง เนื่องจากเขาเป็นกวีชื่อดัง รวมทั้งได้รับการเสนอชื่อจากบุคคลที่มีชื่อเสียง หลี่ไป๋จึงมีโอกาสได้ไปเป็นอาลักษณ์วรรณคดีของจักรพรรดิในราชวัง ระยะนี้นับเป็นช่วงเวลาที่หลี่ไป๋มีความภาคภูมิใจที่สุดในชีวิตของเขา หลี่ไป๋มีอุปนิสัยที่ถือดี เขามีความไม่พอใจมากต่อสภาพความเหลวแหลกเน่าเฟะในเวทีการเมือง เขาเคยฝากความหวังไว้ว่า จะได้รับพระราชทานแต่งตั้งจากจักรพรรดิ ให้ตัวเองมีโอกาสแสดงความสามารถทางการเมือง แต่จักรพรรดิในขณะนั้นทรงมองหลี่ไป๋เป็นเพียงกวีส่วนพระองค์คนหนึ่งเท่านั้น ประกอบกับมีเจ้าขุนมูลนายในพระราชสำนักบางคนใส่ร้ายป้ายสีเขา ทำให้จักรพรรดิทรงขาดความเชื่อถือในตัวหลี่ไป๋ในที่สุด ด้วยเหตุนี้ หลี่ไป๋จำต้องอำลาจากไปจากกรุงฉานอานด้วยความผิดหวังต่อสำนักพระราชวัง และหันไปใช้ชีวิตแบบนักท่องเที่ยวอีกครั้ง หลี่ไป๋ใช้เวลาส่วนใหญ่ของชีวิตออกท่องเที่ยวไปที่ต่างๆทั่วประเทศ ระหว่างนั้น เขาได้แต่งบทกลอนที่พรรณนาถึงทัศนียภาพธรรมชาติเป็นจำนวนมาก คำกลอนที่มีชื่อเสียงโด่งดังจนถึงทุกวันนี้ของหลี่ไป๋มีมากมาย เช่น สู่เต้าจือหนัน หนันอยี่สั้งชินเทียนซึ่งหมายความว่าทางขึ้นภูเขาในมณฑลเฉสวน ยากยิ่งกว่าการปีนขึ้นท้องฟ้า จุนปู๋เจี้ยนหวงเหอจือสุยเทียนสั้งไหล เปินเหลียวตเต้าไห่ปู้ฟู่หุยซึ่งแปลเป็นไทยว่า ท่านไม่เห็นแม่น้ำเหลืองไหลจากฟ้า เชี่ยวธาราสู่ทะเลไม่หวนกลับ เฟยเหลียวจื๋อเสี้ยซันเชียนฉื่อ อยี๋ซื่อหยินเหอลั่วจิ่วเทียน ซึ่งแปลเป็นไทยว่า ไหลละลิ่วพุ่งพาดลงสามร้อยวา สงสัยว่าคงคาเงินจากเมืองแมนเป็นต้น บทกลอนของหลี่ไป๋มักนิยมใช้วิธีการเขียนเชิงขยายความและคำเปรียบเปรย บทกลอนของหลี่ไป๋ที่เหลือตกทอดมาจนถึงปัจจุบันมีกว่า 900 บท นอกจากนี้ยังมีบทร้อยแก้วกว่า 60 บท บทกลอนของหลี่ไป๋ดึงดูดใจผู้คนทั้งหลายด้วยภาพจินตนาการอันมหัศจรรย์และด้วยภาพกว้างที่สง่างาม ซึ่งมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งและยาวไกลต่อชนรุ่นหลัง ได้รับการยกย่องจากชนรุ่นหลังว่าเป็น เซียนแห่งบทกวี หลี่อยี๋---นักวิชาการการละคร 中国国际广播电台 ในประวัติศาสตร์วรรณคดีโบราณหลายพันปีของจีนเคยปรากฏกวี นักประพันธ์บทละครและนักเขียนนวนิยายที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นจำนวนมาก แต่บุคคลที่เป็นทั้งนักประพันธ์บทละคร ผู้กำกับ นักทฤษฎีการละครและนักเขียนนวนิยายนั้นหาได้น้อยยิ่งนัก หลี่อยี๋ นักวรรณคดีที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยโบราณของจีนก็เป็นคนหนึ่งที่มีคุณสมบัติดังกล่าวครบถ้วน หลี่อยี๋เกิดในปีค.ศ. 1610 สมัยราชวงศ์หมิงของจีน ขณะเขามีอายุ 30 ปี ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงราชวงศ์ ราชวงศ์ชิงซึ่งเป็นราชวงศ์ศักดินายุคสุดท้ายของจีนได้เข้าแทนที่ราชวงศ์หมิงด้วยกำลังอาวุธ ก่อให้เกิดความปั่นป่วนอย่างหนักที่ยืดเยื้อเป็นเวลานานหลายสิบปีในสังคม หลี่อยี๋ก็ได้ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมที่มีความปั่นป่วนนี้จนเสียชีวิตในปีค.ศ. 1680 หลี่อยี๋รับการศึกษาของลัทธิหยูหรือลัทธิขงจื้อที่มีมาแต่ดั้งเดิมตั้งแต่เด็ก และหวังที่จะเจริญรอยตามปัญญาชนดั้งเดิมของจีน นั่นก็คือ เข้าสู่วิถีชีวิตขุนนางโดยผ่านการสอบคัดเลือก แต่เนื่องจากเขามีชีวิตในยุคบ้านเมืองปั่นป่วน แม้เคยเข้าร่วมการสอบคัดเลือกหลายครั้ง แต่ก็สอบตกทุกครั้ง หลังจากนั้น หลี่อยี๋ไม่ใฝ่หาลาภยศอีก เขาได้เปิดร้านขายหนังสือในบ้านตัวเอง ถือการแกะสลักและขายหนังสือเป็นอาชีพ ขณะเดียวกันก็ได้ทุ่มเทแรงกายและใจทั้งหมดให้กับการประพันธ์บทละคร ผลสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในตลอดชีวิตของหลี่อยี๋อยู่ที่การประพันธ์บทละครและทฤษฎีการละคร ผลงานบทละครของหลี่อยี๋ที่เหลือตกทอดมาจนถึงปัจจุบันมี 10 ประเภท ซึ่งรวมถึง ปี่มู่อยี๋ ฟ่งเฉียวฟ่ง อยี้ซอโถวและเหลียนเซียงปั้น เป็นต้น บทละครเหล่านี้ โดยพื้นฐานแล้วต่างก็มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องราวความรักระหว่างชายหญิง ส่วนใหญ่มีแหล่งที่มาจากชีวิตจริง ได้สรรเสริญความปรารถนาและการใฝ่หาความรักของหนุ่มสาวอย่างอบอุ่น บทละครของหลี่อยี๋มีเค้าโครงที่สลับซับซ้อน ชวนให้เพลิดเพลินหรือเกิดความรู้สึกตลกขบขัน เหมาะที่จะแสดงบนเวทีเป็นอย่างยิ่ง แต่ผลงานบทละครของเขามิใช่เป็นเพียงเครื่องผ่อนคลายอารมณ์เท่านั้น ยังคงแฝงไว้ซึ่งประเด็นทางสังคมที่เคร่งขรึม อาทิ การวิพากษ์วิจารณ์ทัศนะการแบ่งชนชั้นตามฐานะและระบบการสมรสแบบคลุมถุงชน เป็นต้น ละครของหลี่อยี๋เป็นที่ต้อนรับอย่างกว้างขวางของสังคมในสมัยนั้น ทั้งได้แพร่หลายไปยังญี่ปุ่นและประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการไปมาหาสู่กันอย่างใกล้ชิดกับจีน จนถึงปัจจุบัน บทละครดั้งเดิมของจีนก็ยังคงมีการแสดงละครที่แต่งขึ้นโดยหลี่อยี๋อยู่ หลี่อยี๋ไม่เพียงแต่ได้เขียนบทละครจำนวนมากมายเท่านั้น เขายังจัดตั้งคณะละครมาแสดงละครที่เรียบเรียงขึ้นด้วยตนเอง ในละคร หลี่อยี๋เป็นผู้กำกับเอง บางครั้งแสดงเองอีกด้วย ในสมัยโบราณของจีน การแสดงละครถูกสังคมชั้นสูงมองเป็นงานที่ต่ำต้อย และก็ถูกปัญญาชนแบบดั้งเดิมดูถูกเหยียดหยามอีกด้วย แต่เพื่อภารกิจที่ตนเองชอบ หลี่อยี๋ได้นำคณะละครออกไปแสดงตามที่ต่างๆ ได้เดินทางไปถึงกว่า 10 มณฑลทั้งทางภาคเหนือและภาคใต้ของจีน กินเวลานานกว่า 20 ปี การทำงานด้านละครอันยาวนานช่วยให้หลี่อยี๋ได้สะสมประสบการณ์ที่อุดมสมบูรณ์ เขาได้สัมผัสทุกขั้นตอนของงานการละครด้วยตนเอง ตั้งแต่การเรียบเรียงบทละคร คัดเลือกนักแสดง ผู้กำกับและการฝึกซ้อมจนถึงการออกแสดงอย่างเป็นทางการ ทุกขั้นตอนหลี่อยี๋จะใช้ความคิดอย่างละเอียดรอบคอบ เขาได้บันทึกข้อคิดของตนไว้ในหนังสือเสียนฉินอื๋อจี้ จนต่อมาได้ค่อยๆกลายเป็นทฤษฎีการละครที่สมบูรณ์ซึ่งรวมถึงทฤษฎีการเขียนบทละคร ทฤษฎีผู้กำกับและทฤษฎีการแสดงละคร การปรากฏขึ้นของทฤษฎีละครชุดนี้เป็นสัญญลักษณ์แห่งความสุกงอมของทฤษฎีละครโบราณของจีน ซึ่งเป็นผลดีในการสงเสริมพัฒนาการของทั้งศิลปะละครและวรรณคดี นอกจากผลสำเร็จในด้านการประพันธ์บทละครและทฤษฎีการละครแล้ว หลี่อยี๋ยังเป็นนักเขียนนวนิยายที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์วรรณคดีของจีนอีกด้วย เขาได้เขียนนวนิยายขนาดยาวเรื่องเจอี๋ยโฮ่วฉันและนวนิยายขนาดสั้นเรื่องอู๋เซินซี่และสือเอ้อโหลว เป็นต้น นวนิยายของหลี่อยี๋มักจะวางเค้าโครงและแต่งเรื่องจากประสบการณ์ชีวิตและสิ่งที่ได้พบได้เห็นของตน ซึ่งเป็นการขยายโอกาสแสดงฝีมือการประพันธ์ของตน มีเอกลักษณ์ประจำตัวอันเข้มข้น ในนวนิยายของหลี่อยี๋ ยังมักจะได้พบเนื้อหาสาระที่คัดค้านสังคม สวนทางกับทัศนะแบบประเพณีนิยมแต่ดั้งเดิมบางอย่าง เช่น ในสมัยโบราณของจีนมีทัศนะดั้งเดิมที่ว่านี๋จื่ออู๋ไฉเปี้ยนซื่อเต๋อซึ่งมีความหมายว่าการไร้ความรู้ความสามารถของผู้หญิงก็คือคุณธรรมเพื่อให้ผู้หญิงยินยอมอยู่ในสภาพที่ขาดความรู้ แต่หลี่อยี๋กลับแสดงในนวนิยายว่า การมีความรู้ความสามารถของผู้หญิงจึงจะเป็นคุณธรรม ส่งเสริมให้สตรีเรียนรู้ความสามารถชนิดต่างๆ ซึ่งแฝงไว้ด้วยความคิดที่ให้มีความเสมอภาคกันระหว่างชายหญิง นอกจากนี้ ความรู้ความสามารถของหลี่อยี๋ยังได้ปรากฏให้เห็นในด้านอื่นๆอีกมากมาย เช่น บทกวีและทฤษฎีประวัติศาสตร์ เป็นต้น ในหนังสือเสียนฉินอื๋อจี้ซึ่งเป็นผลงานชิ้นสำคัญที่สุดของเขา นอกจากผลงานด้านทฤษฎีการประเขียนบทละครแล้ว ยังมีความรู้เกี่ยวกับอาหารการกิน การก่อสร้าง การสะสม การบันเทิงเริงรมย์ตลอดจนการเพาะปลูก เป็นต้น แม้จะนำมาอ่านในทุกวันนี้ก็ยังมีความรู้สึกสนุกสนานอยู่ไม่น้อยทีเดียว ผูซุงหลิงกับนิทานประหลาดในเหลียวจัย 中国国际广播电台 ต้นศตวรรษที่ 18 มีหนังสือรวมเรื่องสั้นที่ชื่อนิทานประหลาดในเหลียวจัยได้แพร่หลายในประเทศจีน ผูซุงหลิง ผู้แต่งหนังสือเล่มนี้ได้แต่งเรื่องผีสุนักจิ้งจอกหลากหลายชนิดด้วยลีลาการ เขียนที่มีลักษณะแปลกใหม่ ผูซุงหลิงค.ศ.1640-ค.ศ.1715เป็นนักวรรณคดีสมัยราชวงศ์ชิง เกิดในครอบครัวการค้าขาย เป็นครูมาตลอดชีวิต เคยแต่งวรรณกรรมหลายเรื่อง นิทานประหลาดในเหลียวจัยเป็นผลงานที่ขึ้นชื่อที่สุดของเขา นิทานประหลาดในเหลียวจัยได้รวมเรื่องสั้น 431 เรื่อง เรื่องสันเหล่านี้มีความยาวตั้งแต่ 200-300 คำจนถึงหลายพันคำ เขาได้อาศัยวิธีการเล่าเรื่องผีสุนักจิ้งจอกมาวิพากษ์วิจารณ์และโจมตีระบอบสังคมศักดินา ระบบการสอบจอหงวนตลอดจนศีลธรรมจรรยาในสมัยศักดินา ส่งเสริมอิสระเสรีภาพในการหาคู่ เรื่องที่เกี่ยวกับความรักของหนุ่มสาวในนิทานเล่มนี้เป็นส่วนที่ผู้อ่านชอบที่สุด เรื่องความรักที่กล่าวมาข้างต้นนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นระหว่าง มนุษย์กับผีสุนักจิ้งจอก สะท้อนให้เห็นถึงความปรารถนาอันแรงกล้าของ หนุ่มสาวในสมัยนั้นที่ใฝ่ฝันต้องการจะบุกทะลวงการผูกมัดของศีลธรรมจรรยาสังคมศักดินา ผีสุนักจิ้งจอกในนิทานประหลาดในเหลียวจัยส่วนใหญ่แปลงตัวเป็นหญิงสาวที่มีหน้าตาสวยงามและใจดี โดยเฉพาะเสี่ยวชุ่ย นางเอกในเรื่องเสี่ยวชุ่ยนับเป็นตัวละครที่แต่งได้ดีที่สุดคนหนึ่ง เธอเป็นหญิงสาวผู้บริสุทธิ์ ที่มีจิตใจดีงาม เฉลียวฉลาดและน่ารักน่าเอ็นดู ตอนสุดท้ายของเรื่อง ผู้แต่งถึงเฉลยว่าเสี่ยวชุ้ยจริงๆแล้วเป็นสุนักจิ้งจอกตัวน้อย เนื่องจากคุณแม่ของเสี่ยวชุ้ยเคยไปหลบภัยที่บ้านตระกูลหวาง เสี่ยวชุ้ยจึงแปลงตัวเป็นมนุษย์เพื่อตอบแทนบุญคุณของตระกูลหวาง ในอีกเรื่องหนึ่ง ผูซุงหลิงได้เล่าเรื่องครอบครัวสุนักจิ้งจอก ครอบครัวหนึ่งมีความโอบอ้อมอารี แม้เวลามนุษย์บุกเข้ามาในบ้านของพวกเขา พวกเขาก็ยังถือเป็นแขกผู้มีเกียรติ และให้การต้อนรับอย่างดี ทำให้ผู้อ่านเกิดความเพลิดเพลินจนลืม ความเศร้าโศกในชีวิตจริง นอกจากผีสุนักจิ้งจอกที่มีหน้าตาสวยงามแล้ว ยังมีผีสุนักจิ้งจอกที่มีหน้าตาขี้เหร่แต่จิตใจงดงาม นิทานเรื่องจิ้งจอกขี้เหร่ได้เล่าเรื่องสุนักจิ้งจอกขี้เหร่ตัวหนึ่ง พยายามช่วยเหลือซูเซิงคนเรียนหนังสือคนหนึ่งที่ยากจนมาก แต่พอซูเซิงคนนี้มีชีวิตที่ดีขึ้น มีบ้านอยู่สบายของตนแล้ว กลับเชิญพ่อมดมาขับไล่สุนักจิ้งจอกขี้เหร่ออกจากบ้าน ทำให้สุนักจิ้งจอกขี้เหร่โกรธมาก จึงเก็บข้าวของทุกอย่างที่เคยให้ไปกลับคืน แถมยังลงโทษซูเซิงด้วยอำนาจปาฏิหาริย์ของตนด้วย เรื่องนี้เป็นการประนามพฤติกรรมมนุษย์ที่ขี้ลืมบุญคุณของผู้อื่น นอกจากมีสุนักจิ้งจอกสวยงาม สุนักจิ้งจอกขี้เหร่แล้ว ยังมีสุนักจิ้งจอกหน้าตาสวยแต่ใจคอโหดเหี้ยมด้วย สุนักจิ้งจอกในเรื่องหน้ากากหนังเป็นเรื่องสุนักจิ้งจอกที่ใส่หน้ากากหนังที่วาดขึ้นมาอย่างสวยงาม เพื่อหลอกกินเลือดมนุษย์ ในที่สุด สุนักจิ้งจอกตัวนี้ต้องถูกมนุษย์ฆ่าตาย กล่าวโดยสรุปแล้ว นางเอกในนิทานประหลาดในเหลียวจัยที่แต่งโดยผูซุงหลิงส่วนใหญ่เป็นผีสุนักจิ้งจอกที่แปลงตัวเป็นหญิงสาว และหญิงสาวเหล่านี้มีความดีหลายอย่างที่มักจะพบได้ยากในตัวมนุษย์ นิทานประหลาดในเหลียวจัยเป็นผลงานด้านวรรณกรรมที่อมตะในประวัติวรรณคดีจีน ในช่วงกว่า 200 ปีที่ผ่านมา วรรณกรรมเรื่องนี้ได้แปลเป็นภาษาต่างประเทศกว่า20ภาษาแพร่หลายไปทั่วโลก นอกจากนี้ ยังได้รับการถ่ายทำเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชมอย่างกว้างขวาง เถาเอี้ยนหมิน--- กวีลูกทุ่ง 中国国际广播电台 เถาเอี้ยนหมินมีอีกชื่อหนี่งว่า เถาเฉียน เขาเป็นคนในสมัยตงจิ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 4 เป็นผู้ริเริ่มบทกวีสำนักลูกทุ่ง ตลอดชีวิตของเถายวนหมิง เขาเป็นคนใช้ชีวิตเรียบง่ายตามมีตามเกิดและเคารพนับถือธรรมชาติ เป็นคนมีคุณธรรมสูง จิตใจงดงาม ซื่อส้ตย์และเปิดเผยตรงไปตรงมา ลักษณะอุปนิสัยใจคอของเถาเอี้ยนหมินเป็นที่ยกย่องชมเชยและเลื่อมใสศรัทธาจากบรรดาปัญญาชนในยุคสมัยต่างๆของจีน ปู่ทวดของเถายวนหมิงชื่อ เถาขัน เป็นรัฐบุรุษอาวุโสที่ร่วมก่อตั้งประเทศของราชวงศ์ตงจิ้น ปู่และพ่อของเถายวนหมิงต่างก็เคยเป็นขุนนาง พ่อของเขาเสียชีวิตขณะเถายวนหมิงมีอายุเพียง 8 ขวบ ทำให้ฐานะครอบครัวของเขาตกต่ำลงเรื่อยๆ เถายวนหมิงในวัยอนุชนก็เคยมีความปรารถนาที่จะก้าวหน้าบนวิถีชีวิตราชการและมีผลงานในเวทีการเมืองบ้าง อย่างไรก็ตาม ตงจิ้นเป็นยุคที่บ้านเมืองปั่นป่วนมาก เกิดการต่อสู้กันระหว่างราชนิกูลหรือเชื้อพระองค์อย่างต่อเนื่อง การเมืองของประเทศอยู่ในสภาพที่เหลวแหลกเน่าเฟะ เถายวนหมิงที่มีนิสัยซื่อตรงหลังจากเข้าดำรงตำแหน่งขุนนางเป็นครั้งแรกขณะอายุ 29 ปี ได้ไม่นานก็ต้องลาออกกลับบ้านไปเพราะอดรนทนต่อความเหลวแหลกเน่าเฟะและความมืดมนสกปรกของวงการการเมืองไม่ได้ หลังจากนั้น เถายวนหมิงเคยกลับเข้ารับตำแหน่งขุนนางผู้น้อยหลายครั้งเพื่อเลี้ยงชีพครอบครัว แต่ก็ต้องลาออกไปทุกครั้งเพราะเหตุผลเดียวกัน ต่อมา เถายวนหมิงมีชีวิตที่ยากจนลงเรื่อยๆ ต้องทำไรไถนาด้วยลำแข้งตัวเอง แต่ก็ยังไม่พอเลี้ยงชีวิตครอบครัวอยู่ดี ด้วยเหตุนี้ เขาจึงจำต้องไปสมัครงานกับทางราชการอีกครั้งขณะมีอายุ 41 ปี และได้ตำแหน่งเป็นนายอำเภอเผิงเจ๋อ เนื่องจากเถายวนหมิงยังคงไม่ยึดติดในฐานะชื่อเสียงและความมั่งคั่ง ไม่ยอมประจบและสมยอมกับผู้มีอิทธิพล เป็นนายอำเภอได้เพียง 80 กว่าวันก็ต้องลาออกอีก ตั้งแต่นั้นเป็นต้นไป เถายวนหมิงก็เลิกลาจากวงราชการอย่างถาวร หันไปใช้ชีวิตที่ถือการทำไร่ไถนาเป็นอาชีพ ชีวิตลูกทุ่งของเถ้าเอี้ยนหมินมีความลำบากยากแค้นยิ่ง ขณะเขามีอายุ 44 ปี บ้านถูกไฟไหม้จนได้รับความเสียหายอย่างหนัก ทำให้ชีวิตเขายิ่งทวีความเดือดร้อนมากขึ้น คำกลอนของเถ้าเอี้ยนหมินที่ว่า เสี้ยรึเป้าฉางจี ไหเยี่ยอู๋เป้ยเหมียนที่มีความหมายว่า ในฤดูร้อนต้องอดอยากอยู่เรื่อยเพราะขาดอาหาร ในคืนฤดูหนาวนอนหลับได้ยากเพราะขาดผ่าห่ม แต่ถึงกระนั้น เถ้าเอี้ยนหมินเองกลับมีจิตใจสงบไม่สะทกสะท้าน ระยะนั้นเป็นช่วงเวลาที่เถายวนหมิงผลิตผลงานการประพันธ์มากที่สุด เขาได้ประพันธ์บทกวีพื้นบ้านเป็นจำนวนมาก ในบทกวีของเขา สภาพการดำรงชีวิตและทัศนียภาพในชนบทได้ถูกใช้เป็นเป้าหมายแห่งความงามเป็นครั้งแรก ในบทกวีพื้นบ้านของเถายวนหมิง สภาพชีวิตในชนบทได้ถูกเพิ่มเติมสีสันแห่งความงามและความบริสุทธิ์อย่างมาก ได้กลายเป็นแหล่งหลบภัยทางจิตใจอันเนื่องจากความทุกข์ของโลกแห่งความเป็นจริง ชีวิตวัยชราของเถายวนหมิงยากจนและทุกข์ระทมมาก บางครั้งกระทั่งต้องไปขอทานหรือหยิบยืมอาหารเพื่อยังชีพไปวันๆ แต่แม้จะอยู่ในช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดก็ตาม เถายวนหมิงก็ยังปฏิเสธการเรียกเกณฑ์ของทางราชการอีกครั้งเพื่อหลีกหนีจากการเมืองและวงราชการ ในบทร้อยแก้วชื่อดังมีชื่อว่า เถาฮวาหยวนจี้ปิ้นซือที่เถายวนหมิงประพันธ์ขึ้นในวัยชรา นั้นได้จิงตนาการสังคมยูโธเปียที่เต็มไปด้วยความผาสุก เล่าถึงชาวประมงคนหนึ่งที่หลงเข้าไปในบริเวณเถาหยวน พบเห็นคนกลุ่มหนึ่งใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น บรรพบุรุษของคนกลุ่มนี้ไปอาศัยอยู่ที่นั่นอย่างเงียบๆเพื่อหลบภัยสงคราม และก็ไม่เคยออกจากบริเวณเถาหยวนเลยในทุกชั่วคน พวกเขาไม่รับรู้สภาพของโลกภายนอก ต่างก็มีอุปนิสัยที่ซื่อสัตย์จริงใจ พวกเขาขยันทำงาน มีชีวิตสันติที่ไร้ความกังวล บทร้อยแก้ว เถาฮวาหยวนจี้ปิ้นซือเป็นภาพจิงตนาการที่สวยงาม สะท้อนถึงความปรารถนาของประชาชนอันกว้างไพศาลในยุคสงครามที่ไฝ่หาสังคมสงบสุข ผลงานบทประพันธ์ที่เถายวนหมิงเหลือตกทอดมาให้ชนรุ่นหลังมีเพียงบทกวี 100 กว่าบทและบทร้อยแก้ว 10 กว่าบท แต่เถายวนหมิงมีบทบาทที่สำคัญยิ่งในประวัติวรรณคดีของจีน ในสมัยตงจิ้นที่เถายวนหมิงใช้ชีวิตอยู่นั้นเป็นช่วงเวลาที่ลัทธิรูปแบบได้รับการส่งเสริมและเผยแพร่ เวลาเขียนบทประพันธ์ ผู้เขียนจำนวนมากต่างก็จงใจแสวงหาภาษาที่สวยหรูมาใช้เท่านั้น แต่เถายวนหมิงกลับได้สร้างบทกวีพื้นบ้านซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน บทกวีของเถายวนหมิงได้สืบทอดสไตล์ที่เรียบง่ายของบทกวีที่มีมาแต่ดั้งเดิมของจีน ทั้งยังเปี่ยมไปด้วยพลังชีวิตใหม่ ผลงานบทประพันธ์ของเขาล้วนใช้ภาษาที่เรียบง่าย สดใสและรื่นหู บทกวีของเถายวนหมิงจึงเสมือนเป็นป้ายบอกระยะทางที่เป็นสัญญลักษณ์ในระดับสูงของผลงานบทกวีโบราณของจีน ตู้ฝู ปราชญ์แห่งกวี 中国国际广播电台 ในประวัติศาสตร์วรรณคดีของจีน ผู้คนทั้งหลายมักจะใช้คำว่า หลี่ตู้มาเป็นตัวแทนของความสำเร็จสูงสุดของบทกวีในสมัยราชวงศ์ถังของจีน หลี่หมายถึงหลี่ไป๋ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกว่าเป็นเซียนกวีของจีน ตู้หมายถึงตู้ฝูที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์กวีของจีน ตู้ฝูเกิดในปีค.ศ. 712 เป็นหลานชายของตู้เสินหยวน กวีที่มีชื่อเสียง ตู้ฝูเป็นคนเฉลียวฉลาดตั้งแต่เด็ก เป็นคนขยัน ชอบศึกษา มีความรอบรู้ ตู้ฝูสามารถแต่งบทกลอนได้ตั้งแต่อายุเพียง 7 ขวบ หลังจากโตขึ้น นอกจากเป็นกวีชื่อดังแล้ว เขายังมีความเชี่ยวชาญในด้านอื่นๆด้วย อาทิ ศิลปะการเขียนตัวอักษรและภาพด้วยพู่กันจีน เล่นดนตรี ขี่ม้าและรำกระบี่ ในขณะที่เป็นเยาวชน ตู้ฝูเป็นคนมีอุดมการณ์ เมื่ออายุได้ 19 ปีก็เริ่มออกท่องเที่ยวไปตามที่ต่างๆทั่วประเทศ ใช้ชีวิตอย่างโลดแล่นสบายอารมณ์ ระยะนั้นเป็นช่วงเวลาที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดของราชวงศ์ถังพอดี ตู้ฝูได้ท่องเที่ยวตามภูเขาและแม่น้ำที่มีชื่อเสียงของจีนมากมาย ช่วยให้เขาเปิดโลกทัศน์ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น และได้แต่งคำกลอนที่มีชื่อเสียงโด่งดังจนกลายเป็นคำกลอนอมตะมาจนถึงทุกวันนี้ นั่นก็คือ ฮุ่ยตังหลิงเจวี๋ยติ่ง อีหลันจ้งซานเสี้ยซึ่งหมายความว่า ยืนอยู่บนสุดยอดแห่งภูเขาสูง แลเห็นทิวเขาเป็นเทือกเล็กอยู่เบื้องล่าง ตู้ฝูก็เหมือนปัญญาชนคนอื่นๆจำนวนมาก มีความประสงค์ที่จะมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานทางราชการ และเคยใช้ความสามารถในการแต่งบทกวีไปคบค้าสมาคมกับพวกเจ้าขุนมูลนาย เขาเคยเข้าร่วมการสอบคัดเลือกขุนนางระดับชาติ แต่ก็ประสบความล้มเหลวทุกครั้ง ในสมัยวัยกลางคน ตู้ฝูอาศัยอยู่ในกรุงฉานอาน ราชธานีของราชวงศ์ถัง มีชีวิตที่ยากจนข้นแค้นมาก เขาได้เห็นกับตาถึงความหรูหราและสุรุ่ยสุร่ายของพวกเจ้าขุนมูลนายที่ทรงอำนาจและสภาพที่คนจนต้องอดตายในท้องถนนอันเนื่องจากขาดเครื่องนุ่งห่มและอาหารซึ่งเป็นภาพที่แสนโศกเศร้าน่าเวทนา เขาได้แต่งคำกลอนคำหนึ่งมาวิพากษ์วิจารณ์สภาพดังกล่าว ซึ่งก็คือ จูเหมินจิ่วโร่วโช่ว ลู่โหย่วต้งสื่อกู่ซึ่งแปลเป็นไทยว่า ทวารแดงพะแนงเหล้าบูด ลู่มีกระดูกตายหนาวอด ความล้มเหลวในวิถีชีวิตขุนนางและความทุกข์ยากของชีวิตตัวเอง ทำให้ตู้ฝู่ได้ตระหนักถึงความเหลวแหลกเน่าเฟะของชนชั้นปกครองและความทุกข์ทรมาณของประชาชน ทำให้ตู้ฝูค่อยๆกลายเป็นกวีที่เป็นห่วงชาติบ้านเมืองและประชาชน ในปีค.ศ.755 ตู้ฝูมีอายุ 43 ปี เขามีโอกาสได้ไปเป็นขุนนางตำแหน่งหนึ่ง แต่เป็นขุนนางอยู่ได้เพียงเดือนเดียว ราชวงศ์ถังก็เกิดความปั่นป่วนอันเนื่องจากสงคราม หลังจากนั้น ภัยสงครามก็ยืดเยื้อลุกลามไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตู้ฝู่ต้องพลัดที่นาคาที่อยู่ ผ่านประสบการณ์ชีวิตที่ลำบากอย่างโชกโชน ซึ่งทำให้เขายิ่งมีความตื่นตัวและความเข้าใจถึงความเป็นจริงของสังคมได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ในช่วงเวลานี้ ตู้ฝูได้แต่งบทกลอนชื่อดังหลายต่อหลายบท อาทิ บทกลอนที่มีชื่อตามภาษาจีนว่าสือหอลี่ ถงกวนลี่ซินอันลี่ซินฮุนเปี๋ยฉุยเหล่าเปี๋ยและอู๋เจียเปี๋ย บทกลอนเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงความเห็นอกเห็นใจอย่างสุดซึ้งของกวีที่มีต่อประชาชนและความเคียดแค้นของเขาที่มีต่อสงคราม ค.ศ.759 ตู้ฝูรู้สึกผิดหวังอย่างสิ้นเชิงต่อการเมือง จึงลาออกจากการเป็นขุนนาง เวลานั้น กรุงฉานอานกำลังเกิดภัยแล้ง ตู้ฝูตกอยู่ในภาวะที่ยากจนจนไม่สามารถเลี้ยงชีวิตครอบครัวต่อไปได้ เขาจึงพาครอบครัวลี้ภัยไปถึงเมืองเฉินตูในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ด้วยความช่วยเหลือจากเพื่อนฝูง ตู้ฝูกับครอบครัวได้ใช้ชีวิตในเมืองเฉินตูอย่างเงียบสงบเป็นเวลา 4 ปี ในยามตกทุกข์ได้ยาก ตู้ฝูได้แต่งบทกลอนที่มีชื่อตามภาษาจีนว่า เหมาอูเหวยชิวเฟิงสั่วพั่วเกอ ได้เล่าถึงสภาพที่ตกทุกข์ได้ยากของครอบครัวตนเอง จากประสบการณ์ชีวิตของตัวเองทำให้ตู้ฝูนึกถึงประชาชนโดยทั่วไปที่มีสภาพชีวิตที่ยากลำบากเช่นกัน ทำให้เขาเกิดความใฝ่ฝันที่อยากจะมีบ้านพักอาศัยจำนวนเรือนพันเรือนหมื่นห้องเพื่อขจัดความทุกข์ให้แก่ประชาชนผู้ยากจนที่ไร้ที่พักอาศัย จนกระทั่งเกิดความคิดที่ยินดีอุทิศตัวเองถ้าแลกมาได้ซึ่งร้อยยิ้มของประชาชนผู้ตกทุกข์ได้ยาก บทกลอนของตู้ฝูบทนี้เปี่ยมไปด้วยความจริงใจอันสุดซึ้ง สะท้อนให้เห็นถึงจิตใจอันสูงส่งของกวีท่านนี้ ค.ศ.770 ตู้ฝูเสียชีวิตระหว่างทางเร่ร่อนลี้ภัย ผลงานบทกลนอของตู้ฝูที่เหลือไว้แก่ชนรุ่นหลังมีกว่า 1400 บท บทกลอนของเขาสะท้อนให้เห็นถึงภาพรวมของสังคมในช่วงเวลากว่า 20 ปีที่ราชวงศ์ถังเกิดภัยสงคราม จากประเทศที่เข้มแข็งกลายเป็นประเทศอ่อนแอในที่สุด มีลักษณะที่เป็นบทกลอนเชิงประวัติศาสตร์ที่มีเนื้อหากว้างขวาง บทกลอนของตู้ฝูมีรูปแบบที่หลากหลาย ได้รับเอาจุดเด่นของกวีผู้อื่นมาปรับใช้เป็นของตัวเอง บทกลอนของตู้ฝูมีเนื้อหาที่กว้างขวางและลึกซึ้ง เปี่ยมไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกที่จริงใจและสุดซึ้ง ตู้ฝูยังได้ริเริ่มพัฒนาศิลปะการแต่งบทกลอนใหม่ๆ และได้ขยายขอบเขตเนื้อหาและรูปแบบในการแต่งบทกลอนให้กว้างขวางออกไปอีกด้วย ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อชนรุ่นหลัง ซูเซ่อ นักประพันธ์ที่มีพรสวรรค์ 中国国际广播电台 ซูเซ่อ1037-1101มีสมญานามว่า จื้อไจ และมีฉายานามว่าตงปัวจีซื่อเป็นชาวเสฉวน บิดาเป็นนักอักษรศาสตร์โบราณจีนที่มีชื่อเสียง เนื่องจากได้รับการอบรมบ่มเพาะด้านวัฒนธรรมจากทางครอบครัว ซูเซ่อมีอุดมการณ์ที่กว้างไกลตั้งแต่เด็ก หลังจากได้รับคัดเลือกเป็นขุนนางแล้ว เขาได้ต่อสู้อย่างหนักในการปฏิรูประบบบริหารประเทศที่มีจุดบกพร่องเพื่อปก ครองประเทศชาติให้มีควาบสงบสุขยิ่งขึ้น แต่เพราะซูเซ่อเป็นคนที่มีนิสัยเปิดเผยตรงไปตรงมา กล้าวิพากษ์วิจารณ์ความผิดพลาดและข้อบกพร่องของราชวงค์ ทำให้เขาตกเป็นเหยื่อของการต่อสู่ระหว่างพรรคฝ่านในราชสำนัก ครึ่งหลังของชีวิต ซูเซ่อต้องดิ้นรนต่อสู้อย่างหนักท่ามกลางความทุกษ์ยากทางการเมือง นับตั้งแต่อายุ 43 ปีเป็นต้นไป ซูเซ่อถูกเนรเทศไปสู่ชายแดนหลายครั้ง แต่ละครั้งยิ่งเนรเทศยิ่งไกลและสภาพแวดล้อมก็ยิ่งยากลำบากเมื่อเทียบกับครั้งก่อน ท่ามกลางการต่อสู้กับชีวิตที่สุดแสนโหดร้ายทารุณ ซูเซ่อกลับยิ่งมีความเข้าใจอย่างทะลุปรุโปร่งในปรัชญาทั้งสามสำนักของจีน ได้แก่ ลัทธิขงจื้อ ลัทธิเต๋าและพุทธศาสนา ความคิดของลัทธิเต๋ากับพุทธศาสนาช่วยให้เขามีมุมชีวิตที่กว้างขวางรอบด้าน สามารถแก้ไขความทุกข์เข็ญทางกายและใจด้วยจิตใจที่เปิดกว้าง ขณะเดียวกัน ความคิดของลัทธิขงจื้อก็ช่วยให้ซูเซ่อยึดมั่นในอุดมการณ์ ยึดมั่นในการแสวงหาสิ่งดีงามในชีวิต สิ่งเหล่านี้ทำให้ซูเซ่อสามารถรักษาคุณธรรมอันสูงส่งและศักดิ์ศรีของตนไว้ได้ และต้านทานการบีบคั้นอย่างหนักจากสภาพภายนอกไว้ได้เช่นกัน ซูเซ่อเป็นคนที่คิดกับทำตรงกัน รักศักดิ์ศรีตัวเอง มีอุปนิสัยที่คล่องแคล่วและสง่างาม แต่ไม่โบราณคร่ำครึแม้แต่น้อย ลักษณะนิสัยใจคอแบบนี้ได้กลายเป็นเยี่ยงอย่างที่นิยมชมชอบของบรรดาปัญญาชนในยุคหลังของสังคมศักดินาจีน ซู่เซ่อเป็นคนมีปัญญาปราดเปรื่องยิ่งนัก เป็นทั้งกวีและนักวรรณคดีที่ยิ่งใหญ่ของจีน บทกวีของซูเซ่อมีเนื้อหาที่กว้างขวางและมีรูปแบบที่หลากหลาย มีจิงตนาการที่อัศจรรย์ ใช้คำเปรียบเปรยที่ให้ความรู้สึกแปลกใหม่ และใช้ภาษาที่ชวนให้จิงตนาการถึงภาพได้ดียิ่ง บทกลอนของซูเซ่อมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวจนกลายเป็นสำนักหนึ่งของนักกลอนในสมัยนั้น บทกลอนของซูเซ่อได้ทำลายกรอบที่เพียงจำกัดอยู่ในกลุ่มปัญญาชนเท่านั้น หากได้นำพาบทกลอนเข้าสู่สังคมและชีวิตที่กว้างขวางยิ่งขึ้น บทร้อยแก้วของซูเซ่อแสดงให้เห็นฝีมือการประพันธ์ที่หนักแน่น เปี่ยมไปด้วยอารมณ์ความรู้สึก ในบรรดานักวรรณคดีโบราณที่ยิ่งใหญ่ 8 ท่านในสมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ้องหรือซ่งของจีนนั้น ผลงานด้านบทร้อยแก้วของซูเซ่อจัดอยู่ในอันดับที่หนึ่ง ในสมัยนั้น แม้ว่าโดยฐานะทางครอบครัวของซู่เซ่อมีความยากลำบากมาก แต่บรรดาปัญญาชนทั่วประเทศกลับพากันเลียนแบบบทความของเขา ในบทร้อยแก้วของซูเซ่อนั้น บทร้อยแก้วประเภทบรรยายเรื่องราวหรือบันทึกสภาพการท่องเที่ยวของเขาเป็นผลงานที่ประสบความสำเร็จสูงที่สุด เช่น กาพย์กลอนชื่อปี้ที่แบ่งเป็นตอนต้นกับตอนจบ ตอนต้นเขียนถึงฤดูใบไม้ร่วงที่มีลมพัดเย็นสบาย มีดวงจันทร์ที่สุกสกาว และมีท้องฟ้าที่ปลอดโปร่ง ตอนจบเขียนถึงสภาพในฤดูหนาวที่เห็นแต่ภูเขาสูงใหญ่ ดวงจันทร์ที่เล็กลง และก้อนหินที่โผล่ตัวออกมาอันเนื่องจากระดับน้ำลดลง ตอนต้นและตอนจบของแก้วนี้ต่างก็ได้สะท้อนอารมณ์ความรู้สึกแห่งกวีที่มีสภาพประดุจภาพวาดคละเคล้าอุดมการณ์ได้อย่างเป็นเอกภาพ กลายเป็นผลงานบทร้อยแก้วที่เป็นแบบฉบับในสมัยราชวงศ์ซ้องหรือซ่งของจีน ซือจิงหรือคัมภีย์บทกวี---ชุมนุมบทกวีเล่มแรกของจีน 中国国际广播电台 ในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์กาล จีนได้เกิดซือจิงหรือคัมภีย์บทกวีซึ่งเป็นชุมนุมผลงานบทกวีเล่มแรกของจีน ในหนังสือเล่มนี้มีผลงานบทกวีประเภทต่างๆมากมาย เช่น บทกวีประวัติศาสตร์ บทกวีเสียดสี บทกวีเล่าเรื่อง บทเพลงความรัก บทเพลงสงคราม บทเพลงสรรเสริญ บทเพลงฤดูกาลและบทเพลงเกี่ยวกับการทำงาน เป็นต้น บทประพันธ์ในซือจิงไม่ได้เขียนขึ้นโดยคนๆเดียว แต่ซือจิงเกิดขึ้นก่อนหลายร้อยปีเมื่อเทียบกับบทกวีประวัติศาสตร์โฮเมอร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของกรีชในสมัยโบราณ ซือจิงได้รวบรวมผลงานบทกวีรวม 305 บทในระยะเวลาประมาณ 500 ปีตั้งแต่ต้นสมัยซีโจวในศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสต์กาลจนถึงกลางสมัยชุนชิวในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์กาล ซือจิงแบ่งเป็นสามส่วน ได้แก่ เฟิง หยา และ ซ่ง เฟิงหมายถึงบทเพลงพื้นเมืองของ 15 แคว้น มีทั้งหมด 160 บท หยาหมายถึงบทเพลงดนตรีในบริเวณใกล้ๆเมืองราชธานีของราชวงศ์โจว มีทั้งหมด 105 บท ซ่งหมายถึงกลอนดนตรีที่กษัตรยิ์ใช้ในพิธีการเซ่นไหว้หรือบวงสรวงศาลเจ้าบรรพบุรุษเพื่อสรรเสริญคุณงามความดีของบรรพบุรุษและความน่าเกรงขามยิ่งของพวกภูตผีปีศาจ แบ่งเป็นกลอนเซ่นไหว้และกลอนสรรเสริญ เป็นต้น มีทั้งหมด 40 บท กล่าวจากแง่รูปแบบแล้ว ซื่อจิงได้ใช้รูปประโยคที่มีตัวอักษร 4 คำ เป็นหลัก แต่ก็มีรูปประโยคที่มีตัวอักษร 2 คำ 3 คำ 5 คำ 6 คำ 7 คำและ 8 คำอยู่บ้าง ขณะเดียวกัน ได้ใช้คำซ้อน เสียงคู่และคำที่มีเสียงสัมผัสเป็นจำนวนมาก ทำให้ผลงานวรรณคดีเล่มนี้มีความหลากหลาย เวลาอ่านจะส่งเสียงสูงๆต่ำๆไพเราะน่าฟังมาก มีลักษณะเป็นเสียงดนตรีที่โดดเด่น กล่าวจากแง่เนื้อหาแล้ว เฟิงเป็นส่วนที่เป็นหัวกะทิของซือจิง บทกวีเหล่านี้มาจากชาวบ้าน ไม่ได้เสริมแต่งหรือปรับแต่งเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แสดงให้เห็นถึงความงดงามและความหลากหลายของบทเพลงพื้นบ้านในสมัยราชวงศ์โจว ผลงานบทประพันธ์ในเฟิงได้สะท้อนสภาพการดำรงชีวิตที่แท้จริงของผู้ใช้แรงงานทั่วไป อาทิ กวนจยี และ ชูฉีตงเหมินที่สะท้อนความใฝ่ฝันและการแสวงหาความรักที่ดีงามของหนุ่มสาว ฝาถันและสู้สู่ที่สะท้อนถึงความรู้สึกเจ็บแค้นของทาสที่มีต่อเจ้าทาส หยังจื่อสวยและจุนจื่ออี่อยี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับสงคราม เป็นต้น ผู้ประพันธ์ของ ซือจิงมีสถานภาพที่สลับซับซ้อนมาก ถ้าจะถือสถานภาพของผู้ประพันธ์ที่บรรยายด้วยตัวเองในบทกวีว่าเป็นสถานภาพจริงของผู้ประพันธ์แต่ละคน จะพบว่าผู้ประพันธ์ใน ซือจิงมีตั้งแต่ผู้ใช้แรงงาน พลทหารจนถึงบุคคลชนชั้นระดับซื่อและจุนจื่อ ซื่อในสมัยนั้นก็คือชนชั้นตระกูลผู้ดีระดับต่ำสุด ส่วนจุนจื่อเป็นคำเรียกรวมๆต่อชนชั้นตระกูลผู้ดี นอกจากนี้ ยังมีบุคคลจำนวนมากที่ไม่สามารถบอกสถานภาพได้ เริ่มแรกเดิมที ประโยชน์ใช้งานที่สำคัญของผลงานบทประพันธ์ใน ซือจิงคือ หนึ่ง ใช้เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมงานเฉลิมฉลองต่างๆ ให้ผู้คนทั้งหลายขับร้อง สอง ใช้ในกิจกรรมบันเทิงเริงรมย์ และสาม แสดงความคิดเห็นของผู้เขียนต่อปัญหาสังคมและการเมือง แต่ต่อมา ซือจิงได้ค่อยๆกลายเป็นตำราเรียนที่ใช้กันโดยทั่วไปในการศึกษาของตระกูลผู้ดี การศึกษา ซือจิงกลายเป็นสิ่งที่ขาดเสียมิได้ของบุคคลตระกูลผู้ดี และได้ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในหนังสือคัมภีร์ที่เป็นแบบฉบับที่สำคัญที่สุดของจีน การศึกษาชนิดนี้มีบทบาทในการเสริมภาษาให้งดงามมากขึ้น โดยเฉพาะตามสถานที่คบค้าสมาคมต่างๆ มักจะต้องอ้างอิงถึงคำในบทกวีของซือจิงมาใช้เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของตนอย่างอ้อมค้อม กล่าวโดยรวมแล้ว ซือจิงเป็นจุดเริ่มต้นอันรุ่งโรจน์ของวรรณคดีจีน เป็นสัญญลักษณ์ที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองที่มีมาเนิ่นนานแล้วของวรรณคดีจีน มีเนื้อหาที่ครอบคลุมด้านต่างๆของชีวิตสังคมสมัยโบราณของจีน เช่น การใช้แรงงานกับความรัก สงครามกับแรงงานเกณฑ์ การกดขี่กับการต่อต้าน ประเพณีกับการสมรส การเซ่นไหว้บรรพบุรุษกับงานเลี้ยง แม้กระทั่งปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ สภาพภูมิประเทศ สัตว์ พืชพันธุ์และอื่นๆอีกมากมาย ภาษาของซือจิงนับเป็นข้อมูลสำคัญที่สุดในการศึกษาสภาพรวมของภาษาฮั่นในช่วงเวลาตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสต์กาลจนถึงศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์กาล ชีหยวนกับบทกวีของเขา 中国国际广播电台 ชีหยวนเป็นกวีที่ประชาชนจีนเลื่อมใสศรัทธาและรักที่สุดคนหนึ่งในช่วงหลายพันปีที่ผ่านมา เขาใช้ชีวิตในสมัยจ้านกว๋อ ก่อนค.ศ.475-ก่อนค.ศ.221 สมัยจ้านกว๋อของจีนเป็นช่วงเวลาที่มีก๊กหรือแคว้นต่างๆจำนวนมากและเกิดสงครามระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง ในบรรดาก๊กต่างๆ ก๊กฉินกับก๊กฉู่เป็นประเทศที่มีกำลังเข้มแข็งเกรียงไกรที่สุดในเวลานั้น ก๊กขนาดเล็กจำนวนกว่า 10 ก๊กอื่นๆต่างก็ต้องพึ่งพาอาศัยก๊กฉินหรือก๊กฉู่ซึ่งเป็นสองก๊กใหญ่ในสมัยนั้น ชีหยวนเป็นขุนนางชั้นสูงของก๊กฉู่ และมีตำแหน่งสูงในรัฐบาล เขาเป็นคนมีความรอบรู้ มีความเชี่ยวชาญในกิจการต่างประเทศ จึงได้รับความชื่นชอบจากกษัตริย์ของก๊กฉู่ในช่วงระยะแรกที่เป็นขุนนาง ในเวลานั้น กษัตริย์และพวกเจ้าขุนมูลนายทั้งหลายต่างพากันรับสมัครบุคคลที่มีความรู้ความสามารถให้มารับใช้ตัวเอง ทำให้การให้เกียรติแก่ผู้มีสติปัญญากลายเป็นกระแสของสังคม เวลานั้น มีนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงจำนวนมากต่างก็พากันออกไปเที่ยวพูดโน้มน้าวตามก๊กต่างๆและฟันฝ่าต่อสู้เพื่อให้อุดมการณ์การเมืองของตนบรรลุผลสำเร็จ แต่ชีหยวนไม่เหมือนบรรดานักปราชญ์ดังกล่าว เขารักปิตุภูมิตัวเองสุดชีวิต หวังที่จะช่วยเหลือกษัตริย์ของก๊กฉู่ด้วยความรู้ความสามารถของตน ช่วยให้ก๊กฉู่เปิดกว้างทางการเมืองและมีพลังประเทศที่เข้มแข็งเกรียงไกร ด้วยอุดมการณ์เช่นนี้ ชีหยวนไม่เคยยอมออกจากปิตุภูมิแม้แต่ก้าวเดียวจนถึงตาย แต่สิ่งที่น่าเสียใจก็คือ เนื่องจากชีหยวนเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงกับกลุ่มเจ้าขุนมูลนายที่เหลวแหลกของก๊กฉู่ ขณะเดียวกัน เขายังถูกใส่ร้ายป้ายสีด้วย ทำให้กษัตรย์ของก๊กฉู่ทรงห่างเหินไปจากชีหยวน หลังจากนั้น สถานภาพที่เป็นก๊กใหญ่ที่เข้มแข็งของก๊กฉู่ก็ได้ค่อยๆอ่อนแอ่ลง ในปีค.ศ. 278 ก่อนคริสต์กาล กองทหารของก๊กฉินได้ตีเมืองหยิงราชธานีของก๊กฉู่แตก เมื่อบ้านแตกชาติสลาย ชีหยวนเศร้าโศกเสียใจจนยากที่จะอดรนทนได้ จึงได้กระโดดน้ำเสียชีวิตในที่สุด มรดกที่ชีหยวนเหลือตกทอดไว้แก่ชนรุ่นหลังนั้นเป็นผลงานอมตะที่ยิ่งใหญ่ เขาเป็นกวีที่ประพันธ์บทกวีอย่างเป็นตัวของตัวเองคนแรกของจีน บทกวีหลีเซาที่เป็นตัวแทนผลงานของชีหยวนนับเป็นบทกวีพรรณนาอารมณ์ความรู้สึกทางการเมืองเชิงโรแมนติคที่มีความยาวที่สุดในประวัติวรรณคดีของจีน ในบทกวีบทนี้ ชีหยวนอ้างอิงพจนะจากหนังสือประวัติศาสตร์มากมายเพื่อแสดงความหวังว่า กษัตรย์ของก๊กฉู่จะเหมือนกับหยอ เซิ่นและอยี๋ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่ทรงปรีชาญาณในพงศาวดาร ดำเนินนโยบายภายในประเทศที่แต่งตั้งใช้ผู้มีความรู้ความสามารถ มีความเป็นธรรมและสุจริต ใช้อำนาจบริหารประเทศด้วยคุณธรรม และดำเนินนโยบายต่างประเทศที่ร่วมมือกับก๊กอื่นๆเพื่อต่อต้านก๊กฉิน หลีเซาได้ทะลุกรอบรูปแบบการประพันธ์ของซือจิงหรือคัมภีย์บทกวีที่เป็นชุมนุมบทกวีฉบับแรกของจีน ทำให้บทกวีมีพลังแสดงออกมากขึ้นอย่างมาก ได้สร้างโลกใหม่แก่การเขียนบทกวีสมัยโบราณของจีน ในผลงานบทประพันธ์ของชีหยวนได้ปรากฏความคิดแปลกๆมากมาย เขาเปรียบไม้ดอกไม้ผลและต้นหญ้าเสมือนมนุษย์ และได้สร้างภาพลักษณ์นางฟ้าเป็นจำนวนมากเพื่อฝากฝังอารมณ์และความคิดอันสูงส่งของตัวเอง ด้วยเหตุนี้ เวลาอ่านบทประพันธ์ของชีหยวน ผู้อ่านนอกจากจะได้สัมผัสถึงความงดงามของภาษาและความมหัศจรรย์ของคำเปรียบเปรยแล้ว ยังจะได้สัมผัสถึงอารมณ์และความคิดอันสูงส่ง ความรักชาติและความอาลัยอาวรบ้านเมืองที่กวีฝากไว้กับบทประพันธ์ ด้วยเหตุนี้เอง ตลอดระยะเวลาหลายพันปีที่ผ่านมา ชีหยวนจึงเป็นกวีโบราณที่ประชาชนจีนให้ความเคารพรักมากที่สุดคนหนึ่ง ซวุนจื่อปิงฝ่าหรือตำราพิชัยสงครามของซวุนจื่อ 中国国际广播电台 ซวุนจื่อปิงฝ่าเป็นบทนิพนธ์ทฤษฎีการทหารยิ่งใหญ่ที่สุดในสมัยโบราณของจีน และก็เป็นหนึ่งในหนังสือโบราณของจีนที่มีบทบาท ต่อโลกมากที่สุดและกว้างขวาง ความคิดในการวางแผนกุศโลบาย และความคิดทางปรัชญาที่บรรยายไว้ในหนังสือเล่มนี้ ได้ถูกนำไปใช้ในด้านการทหาร การเมือง เศรษฐกิจและด้านอื่นๆอย่างกว้างขวาง ซวุนจื่อปิงฝ่าเขียนในสมัยที่ห่างจากปัจจุบัน 2,500 ปีก่อน จึงถือได้ว่าเป็นบทนิพนธ์เกี่ยวกับทฤษฎีการทหารที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เมื่อเทียบกับOn War หนังสือทฤษฎีการทหารที่เขียนโดยนายคราว์เซวิทส์ นักการทหารชาวยุโรป ซวุนจื่อปิงฝ่ามีประวัติยาวนานกว่าถึง 2,300 ปี นายซวุนหวู่ ผู้เขียนซวุนจื่อปิงฝ่า เป็นนักการทหารผู้ยิ่งใหญ่ ในสมัยชุนชิวจั้นกั๋วของจีน เขาได้รับการยกย่องเป็นปรัชญาเมธี การทหาร สมัยนั้น ประเทศจีนไม่ได้รวมตัวเป็นเอกภาพ ยังแบ่งเป็น ก๊กใหญ่น้อยต่างๆหลายก๊ก เพื่อหนีภัยสงคราม ซวุนหวู่ได้เดินทางไปอยู่ก๊กหวู กษัตริย์ก๊กหวูแต่งตั้งให้เขาเป็นแม่ทัพใหญ่ ซวุนหวู่ ผู้มีความสามารถพิเศษด้านการทหาร ได้บัญชาทหารก๊กหวูเพียง 3 หมื่นคนสามารถเอาชนะทหารรุกรานของก๊กสู่ที่มีจำนวนถึง 2 แสนคนได้ ได้สร้างชื่อเสียงและอิทธิพลอย่างสูงในบรรดาก๊กต่างๆ ต่อมา ซวุนหวู่ได้รวบรวมและบรรยายสรุปประสบการณ์การทหารและการทำศึกสงครามของสมัยก่อนและสมัยชุนชิวจั้นกั๋ว เขียนเป็น ซวุนจื่อปิงฝ่าขึ้น ได้อธิบายกฎเกณฑ์การทหารทั่วไป สร้างเป็นระบบทฤษฎีการทหารที่สมบูรณ์ขึ้นทั้งชุด ซวุนจื่อปิงฝ่ามีตัวอักษรจีนทั้งหมดกว่า 6,000 ตัว แบ่งเป็น 13 บท แต่ละบทมีความคิดหลักหนึ่งอย่าง เช่น บทกลยุทธ์ได้บรรยายเงื่อนไขในการทำสงครามว่า ภายใต้สภาพเช่นใดจึงจะดำเนินการรบได้ เขาได้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสงครามกับการเมืองและเศรษฐกิจอย่างลึกซึ้ง และสรุปว่า ปัจจัย 5 ประการที่จะทำให้แพ้หรือชนะสงครามคือ การเมือง เวลา ความได้เปรียบ ทางภูมิประเทศ แม่ทัพผู้บัญชาการและระบบกฎหมาย ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือปัจจัยด้านการเมือง บทว่าด้วยศึกสงคราม บรรยายว่าควรจะดำเนินการรบอย่างไร บทว่าด้วยกลยุทธการโจมตี แนะนำว่าจะเข้าโจมตีประเทสข้าศึกอย่างไร ซวุนหวู่เห็นว่า ช่วงชิงชัยชนะและ ความสำเร็จมากที่สุดด้วยค่าทดแทนที่น้อยที่สุด คือใช้กลยุทธ์ชนะสงครามโดยไม่ต้องรบ พิชิตเมืองของข้าศึก โดยไม่ต้องใช้กำลังเข้ารตีหักโหม และกำจัดข้าศึกโดยไม่ต้องใช้เวลานาน เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ซวุนหวู่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษแก่ การใช้กลยุทธ์ในการเอาชนะสงคราม เขาชี้ว่า กลยุทธ์ดีที่สุดในการบัญชากองทหาร ก็คือการสามารถเอาชนะด้วยกุศโลบายทางการเมือง รองลงไปคือใช้วิธีการทางการทูต ถัดจากนั้นจึงจะเป็นการใช้กำลังอาวุธ ส่วนกลยุทธ์ที่ด้อยที่สุดคือยกทัพตีเมือง การที่จะใช้กลยุทธ์ในรการโจมตีอย่างได้ผล ไม่เพียงแต่ต้องตระหนักดีดึง กำลังที่แท้จริงของตนเองเท่านั้น หากยังจะต้องรู้สภาพของฝ่ายตรงข้าม ในบทว่าด้วยการยุยงให้แตกสามัคคีกัน ซวุนหวู่ชี้ให้เห็นว่า ถ้าอยากรู้สภาพข้าศึก ก็ต้องสันทัดในการใช้จารชนชนิดต่างๆไปรวบรวมสะสมข่าวกรองให้ได้มากที่สุด ซวุนจื่อปิงฝ่าได้รวบรวมเอาความคิดทางปรัชญาอันล้ำค่ามากมาย เช่นสำนวนรู้เขารู้รา รบร้อยชนะร้อย กลายเป็นสำนวนติดปาก ชาวจีน ซวุนจื่อปิงฝ่าเป็นตำราพิชัยสงครามที่เต็มไปด้วย ความคิดวิภาษวิธี หนังสือได้บรรยายถึงสภาพที่เป็นปฏิปักษ์และการเปลี่ยนแปลงของคู่ความขัดแย้งต่างๆ เช่น ข้าศึกกับตนเอง เจ้าภาพกับผู้มาเยือน กำลังมากกับกำลังน้อย ฝ่ายเข้มแข็งกับฝ่ายอ่อนแอ ฝ่ายโจมตีกับฝ่ายตั้งรับ ชัยชนะกับพ่ายแพ้ สิ่งที่เป็นประโยชน์กับสิ่งเป็นภัยเป็นต้น ซวุนจื่อปิงฝ่าได้กำหนดยุทธศาสตร์และยุทธวิธีบนพื้นฐานของการค้นคว้าศึกษาความสัมพันธ์ของคู่ความขัดแย้งและเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ความคิดวิภาษวิธีในซวุนจื่อปิงฝ่ามีฐานะสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การพัฒนาของปรัชญาวิภาษวิธีของจีน ซวุนจื่อปิงฝ่าตำรงพิชัยสงครามเล่มนี้ เป็นคลังที่รวมแห่งกลยุทธและกุศโลบาย นักการทหารแต่ละยุคสมัยได้ทำไปใช้กันอย่างกว้างขวาง ชื่อกลยุทธ์ ตำนาน เรื่องราวต่างๆในตำราเล่นนี้ เป็นที่แพร่หลายในหมู่ชาวจีนทั้งหลาย แม้กระทั่งเด็กและสตรีก็พูดกันติดปาก ระบบความคิดการทหารและระบบปรัชญาอันละเอียดรอบคอบ หลักตรรกะที่ลึกซึ้ง และยุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่พลิกแพลงผันแปรไม่สิ้นสุดในซวุนจื่อปิงฝ่ามีอิทธิพลกว้างขวางและยาวไกลต่อปริมณฑลความคิดทางการทหารในขอบเขตทั่วโลก ตำราพิชัยสงครามโบราณที่มีชื่อเสียงโด่งดังเล่มนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆถึง 29 ภาษา เช่นภาษาอังกฤษ รัสเซีย เยอรมนี ญี่ปุ่นและภาษาอื่นๆเป็นต้น เผยแพร่ไปในประเทศต่างๆทั่วโลก มีประเทศไม่น้อยได้กำหนดให้ซวุนจื่อปิงฝ่าเป็นตำราสอนของสถานบันหรือมหาวิทยาลัยการทหาร แหล่งข่าวแจ้งว่า ในระหว่างสงครามอ่าวเปอร์เซียที่เกิดขี้นในปี 1991 คู่สงครามต่างได้ศึกษาวิจัยซวุนจื่อปิงฝ่า เพื่อนำความคิดการทหารอันล้ำค่าไปชี้นในำการศึกสงคราม ซวุนจื่อปิงฝ่าได้รถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางในวงสังคม วงการค้าและด้านอื่นๆ วิสาหกิจและนักธุรกิจทั้งจีนและต่างประเทศจำนวนมาก ได้ประยุกต์แนวความคิดของซวุนจื่อปิงฝ่าในการบริหารธุรกิจ และการตลาดอย่างได้ผล ชีวประวัติของกษัตริย์เกอซาร์ 中国国际广播电台 ชีวประวัติของกษัตริย์เกอซาร์เป็นบทกวีบันทึกประวัติศาสตร์ที่ยาวที่สุดของโลก ปัจจุบันยังมีศิลปินพิ้นบ้านขับร้องบทกวีดังกล่าวแพร่หลายไปในเขตทิเบต มองโกเลียในและชิงไห่ บทกวีชีวประวัติของกษัตริย์เกอซาร์เกิดขึ้นในระหว่างปี200-300ก่อนคริสต์กาลถึงศตวรรษที่ 6 ตลอดระยะเวลาร่วมพันปีที่ผ่านมา ศิลปินพื้นบ้านได้ถ่ายทอดบทกวีนี้ด้วยการเล่าสืบทอดกันมา ทำให้เนื้อหาและภาษาของบทกวีบทนี้มีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงต้นศตวรรษที่ 12 จึงกลายเป็นบทกวีที่มีความสมบูรณ์แบบ และแพร่หลายในเขตทิเบตอย่างกว้างขวาง บทกวีได้เล่านิทานเรื่องราวดังต่อไปนี้ กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว เขตทิเบตประสบภัยธรรมชาติอย่างร้ายแรง ภูตผีปีศาจก่อกรรมทำเข็ญ ประชาชนตกทุกข์ได้ยาก พระโพธิสัตว์กวนอิมที่มีความเมตตากรุณาเพื่อโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายในโลก จึงอ้อนวอนให้อมิตพุทธ์ส่งโอรสของเทพเจ้าลงมาปราบเหล่าภูตผีปีศาจ ต่อมาพระโอรสองค์นี้กลายเป็นกษัตริย์ของชาวทิเบต ซึ่งก็คือ กษัตริย์เกอซาร์ เพื่อให้กษัตริย์สามารถปฎิบัติภาระหน้าที่อันสูงส่งในการปราบภูตผีปีศาจ ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากและบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน ผู้แต่งบทกวีได้สร้างกษัตริย์เกอซาร์ให้เป็นวีรบุรุษกึ่งมนุษย์กึ่งเทวดาที่มีความสามารถมาก หลังจากกษัตริย์เกอซาร์ลงสู่โลกมนุษย์แล้ว เคยถูกลอบทำร้ายครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ด้วยความเป็นผู้มีปฎิหาริย์ที่ได้รับการคุ้มครองจากเทพเจ้า กษัตริย์เกอซาร์มิเพียงแต่ไม่ได้รับการทำร้ายเท่านั้น หากกลับสามารถฆ่าเหล่าภูตผีปีศาจทั้งหลาย ตั้งแต่วันประสูต เกอซาร์ก็เริ่มกำจัดภัยพิบัติให้ประชาชน ตอนอายุ 5 ขวบ มารดาพาเกอซาร์ย้ายไปอาศัยอยู่ริมแม่น้ำเหลือง เมื่ออายุ 12 ขวบ เกอซาร์ได้รับชัยชนะในการแข่งม้าของเผ่าชน จึงกลายเป็นผู้สืบบัลลังก์ของหัวหน้าเผ่า ตั้งแต่นั้นมา เกอซาร์เริ่มแสดงความสามารถของตน ยกทัพไปปราบปรามทั่วสารทิศ หลังจากปราบเหล่าภูตผีปีศาจจนหมดสิ้นแล้ว กษัตริย์เกอซาร์พามารดาและภรรยาเสด็จกลับสู่สวรรค์ บทกวีชีวประวัติของกษัตริย์เกอซาร์แบ่งเป็น 120 กว่าภาค มีล้านกว่าบรรทัด รวม20กว่าล้านคำ เป็นบทกวีบันทึกประวัติศาสตร์ที่ยาวที่สุดในโลก บทกวีชีวประวัติของกษัตริย์เกอซาร์ได้รวบรวมเพลงพื้นเมือง เทพนิยายและนิทานพื้นบ้านมากมาย ได้สร้างตัวบุคคลนับร้อยคน ไม่ว่าจะเป็นวีรบุรุษผู้ที่น่าสรรเสริญ หรือกษัตริย์ทรราช ไม่ว่าชายหรือหญิง ไม่ว่าผู้เฒ่าหรือหนุ่มสาว ล้วนเป็นตัวบุคคลที่มีอุปนิสัยเด่นชัด ในด้านการใช้ภาษา ก็ใช้สำนวนและสุภาษิตของภาษาทิเบตมากมายนับไม่ถ้วน อีกทั้งได้รักษาลักษณะการเล่านิทานด้วยปาก เช่น การอุปมาอุปมัย การขึ้นต้นและจบเรื่องโดยมีการขานรับกัน ฯลฯ ในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า รัฐบาลจีนได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียบเรียง แปลและพิมพ์บทกวีบทนี้ ปี 2002 จีนได้จัดกิจกรรมรำลึกการครบรอบ 1000 ปีของบทกวีชีวประวัติของกษัตริย์เกอซาร์ ปัจจุบัน มีสถานบันการศึกษาและองค์กรต่างๆกว่า 10 แห่งกำลังดำเนินการวิจัยบทกวีบันทึกประวัติศาสตร์บทนี้ บทกวียุคถังที่เจริญรุ่งโรจน์ของจีน 中国国际广播电台 ราชวงศ์ถังเป็นราชวงศ์สำคัญในประวัติศาสตร์จีน ในยุคนั้น เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง สังคมสงบสุข ศิลปะวัฒนธรรมต่างๆล้วนมีความผลสำเร็จอันรุ่งโรจน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ เป็นช่วงเวลาที่ผลงานบทกวีโบราณของจีนพัฒนาจนถึงขีดสูงสุด การประพันธ์บทกวีในสมัยราชวงศ์ถังได้กลายเป็นเนื้อหาสำคัญอย่างหนึ่งในกิจกรรมทางวัฒนธรรมของสังคม ระบบการสอบคัดเลือกขุนนางระดับเคอจี้หรือระดับชาติของราชวงศ์ก็ได้เปลี่ยนจากการคัดเลือกด้วยผลงานการเขียนบทวิทยานิพนธ์มาเป็นผลงานการแต่งบทกวีแทน ในหนังสือคัมภีร์โบราณวรรณคดีฉวนถังซือที่เหลือตกทอดมาจนถึงปัจจุบันได้บันทึกบทกวีไว้ร่วม 5 หมื่นบทที่มาจากกวีกว่า 2300 คน วิวัฒนาการการประพันธ์บทกวีในราชวงศ์ถังของจีนแบ่งได้เป็นสี่ช่วงเวลา ได้แก่ ชูถังหรือยุคแรกของราชวงศ์ถัง เสิ้งถังหรือยุคเจริญรุ่งเรืองที่สุดของราชวงศ์ถัง จงถังหรือยุคกลางของราชวงศ์ถังและหวั่นถังหรือช่วงสุดท้ายของราชวงศ์ถัง ในสมัยชูถังค.ศ.618-712 หวังปั๋ว หยังโจง หลูเจ้าหลินและลั่วปิน หวังได้รับสมญานามว่าเป็น4 กวีเด่นในยุคนี้ได้ค่อยๆเสร็จสิ้นกระบวนการสร้างกฎเกณฑ์สัมผัสเสียงในบทกวี ปูพื้นฐานให้กับรูปแบบของบทกวีที่มีเสียงสัมผัสของจีน ทำให้การประพันธ์บทกวีในสมัยราชวงศ์ถังของจีนได้ปรากฏฉันทลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของตน ด้วยการใช้ความพยายามของพวกเขา เนื้อหาในบทกวีได้เปลี่ยนจากเดิมที่เน้นแต่ความฟุ่มเฟือยของสำนักราชวังมาเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับสภาพชีวิตของประชาชนทั่วไปในสังคม ส่วนท่วงทำนองของบทกวีก็เปลี่ยนจากที่เคยเน้นความอ่อนน้อมถ่อมตนมาเป็นรูปแบบที่ชัดเจนรื่นหู กวีที่ยอดเยี่ยมที่สุดในยุคชูถังคือ เฉินจื่ออ๋าง เขาได้ฟื้นฟูประเพณีอันดีงามของบทกวีที่สะท้อนสภาพความเป็นจริงของชีวิต บทกวีของเฉินจื่ออ๋างมีลักษณะเรียบง่ายแต่ทรงพลัง ได้แผ้วถางทางให้กับการพัฒนาก้าวหน้าของบทกวีในราชวงศ์ถังในเวลาต่อมา จากค.ศ.712 ถึงค.ศ. 762 เป็นช่วงเวลาที่เรียกกันว่า เซิ่งถังเป็นยุคที่ราชวงศ์ถังมีความเจริญรุ่งเรืองที่สุด และก็เป็นช่วงเวลาที่การประพันธ์บทกวีของจีนมีความเจริญรุ่งเรืองและมีผลงานโดดเด่นที่สุด บทกวีในยุคนี้มีเนื้อหาและรูปแบบหรือสไตล์ที่หลากหลาย กวีบางคนสรรเสริญธรรมชาติ บางคนแสดงความใฝ่ฝันที่จะไปตั้งหลักอยู่ทางชายแดน บางคนสดุดีลัทธิวีรชน และบ้างก็ได้ส่งเสียงถอนหายใจด้วยความผิดหวังก็มี บรรดากวีจำนวนมากต่างแข่งกันประพันธ์บทกวีอย่างอิสระเสรีท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่เปิดกว้าง ร่วมกันสร้างปรากฏการณ์เซิ่งถังที่ส่งผลสั่นสะเทือนอย่างมากต่อชนรุ่นหลัง ในสมัยเซิ่งถัง กวีที่มีชื่อเสียงที่สุดได้แก่ หลี่ไป๋ ตู้ฝู หวังเหวย เมิ่งฮ่าวหลัน เกาเซ่อและเฉินเซิง เป็นต้น ฉินเซินถนัดแต่งบทกลอนที่สะท้อนสภาพด่านชายแดน บทกวีของเกาเซ่อสะท้อนความทุกข์เข็ญของชาวบ้านได้ค่อนข้างดี ส่วนกวีที่ยิ่งใหญ่ที่สามารถเป็นตัวแทนของวงการกวีในสมัยเซิ่งถังได้นั้นย่อมควรยกให้หลี่ไป๋ที่ถูกขนานนามว่าเซียนกวีกับตู้ฝูที่ถูกขนานนามว่าปราชญ์กวี ผลงานบทกวีของพวกเขาได้ส่งอิทธิพลที่ลึกซึ้งและยาวไกลต่อการประพันธ์บทกวีของชนรุ่นหลังของจีน ในสมัยจงถังค.ศ.762---827 ก็มีกวีดีเด่นหลายคน เช่น ไป๋จอี้อยี้ หยวนเจิ๋นและหลี่เฮ่อ เป็นต้น ไป๋จอี้อยี้ขึ้นชื่อด้วยผลงานโคลงเปรียบเปรยที่เสียดสีการรีดไถประชาชนอย่างเหี้ยมโหดของชนชั้นปกครอง คัดค้านการก่อสงคราม วิพากษ์วิจารณ์พวกเจ้าขุนมูลนายที่ทรงอำนาจ นอกจากนี้ ไป๋ จอี่อยี้ยังพยายามใช้ภาษาที่เรียบง่าย รื่นหู มีชีวิตชีวาและน่าประทับใจ จึงได้รับความนิยมชบชอบจากบรรดาผู้อ่านอันกว้างไพศาล หลี่เฮ่อเป็นกวีที่มีอายุสั้นเพียง 20 กว่าปี เขามีชีวิตที่ยากลำบาก และก็ประสบความล้มเหลวในวิถีชีวิตขุนนาง แต่บทกวีของเขาอุดมไปด้วยจิงตนาการ มีความหมายที่แปลกใหม่ มีโครงสร้างที่รวบรัด ใช้ภาษาที่งดงาม เปี่ยมไปด้วยสีสันแห่งจิงตนิยมและอารมณ์ความรู้สึกที่ไปทางเศร้าสลด จากค.ศ.827 ถึง 859 เป็นสมัยของหวั่นถัง กวีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้คือ หลี่ซังอิงและตู้มู่ บทกวีของตู้มู่ได้รวมความสดใสกับความเย็นชาเข้าไว้ด้วยกันซึ่งเอื้อต่อการแสดงความมุ่งมาดปรารถนาทางการเมืองของเขาไว้ในบทกวี ส่วนผลงานบทกวีของหลี่ซังอิงมักจะมีโครงสร้างที่ประณีต ใช้ภาษาที่งดงามแต่แฝงไว้ด้วยสไตลน์ที่เต็มไปด้วยความกลัดกลุ้ม สะท้อนให้เห็นถึงความล้มลุกคลุกคลานบนวิถีชีวิตขุนนางของตัวเอง บทกวีของเขามักจะปรากฏให้เห็นถึงอารมณ์ความรู้สึกที่เศร้าเสียใจ บทกวีอู๋ถีที่มีชื่อเสียงโด่งดังของเขาจนถึงปัจจุบันก็ยังคงเป็นประเด็นที่มีความขัดแย้งกันในวงการวิจารณ์บทกวีของจีนว่า เป็นบทกวีที่มีเนื้อหาสะท้อนชีวิตรักหรือจะเป็นเนื้อหาที่แฝงความหมายทางการเมืองกันแน่ กวนฮั่นชิง นักแต่งบทละครชื่อดังของจีน 中国国际广播电台 กวนฮั่นชิง นักแต่งบทละครสมัยราชวงศ์หยวนของจีน เป็นนักประพันธ์ผู้ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์แห่งวรรณกรรมการละครของจีน โต้วเอ๋อยวนความแค้นของนางโต้วเอ๋อละครโศกนาฏกรรมที่ประพันธ์โดยกวนฮั่นชิง เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชมมาตลอด 700 กว่าปี และแปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา เผยแพร่สู่ประเทศต่างๆทั่วโลก กวนฮั่นชิงมีความคิดเฉลียวฉลาดแหลมคมและมีอารมณ์ขัน อีกทั้งมีความสามารถหลายด้าน เช่น แต่งบทกลอน เป่าขลุ่ย ดีดพิณ ร้องรำทำเพลง เล่นหมากรุกและการล่าสัตว์เป็นต้น แม้กวนฮั่นชิงใช้ชีวิตในมหานครและเคยประกอบอาชีพเป็นหมอมา หลายปี แต่ความสนใจของเขาไม่ได้อยู่ที่การปฏิบัติหน้าที่หมอ หากอยู่ที่การแต่งบทละคร สมัยราชวงศ์หยวน มีละครชนิดหนึ่งกำลังเป็นที่นิยม ละครชนิดนี้เรียกว่าจ๋าจวู้เนื้อเรื่องของละครชนิดนี้ส่วนใหญ่เป็นการสะท้อนสภาพสังคม ไม่ว่าชนชั้นผู้ดีหรือประชาชนผู้ใช้แรงงานล้วนชอบดูละครจ๋าจวู้ทั้งนั้น ส่วนบทละครที่กวนฮั่นชิงแต่งนั้นไม่ใช่เพื่อสร้างความเพลิดเพลินให้ กับชนชั้นผู้ดีและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ หากเพื่อช่วยประชาชนผู้ยากจน ระบายความทุกข์ในใจ ในยุคสมัยของกวนฮั่นชิง การเมืองทุจริตเน่าเฟะ สังคมปั่นป่วน ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นและชนชาติรุนแรงมาก คดีที่เกิดจากการถูกกลั่นแกล้งใส่ร้ายมีมากจนนับไม่ถ้วน ประชาชนผู้ใช้แรงงานของชนชาติต่างๆดำรงชีวิตอย่างยากลำบากน่าเวทนา กวนฮั่นชิงเห็นใจประชาชนผู้ใช้แรงงานอย่างยิ่ง กระทั่งลาออกจากราชการ เพื่อใช้ชีวิตคลุกคลีกับประชาชนผู้อยู่ระดับล่างของสังคม และแต่งละครจ๋าจวู้เปิดโปงความมืดมนทางสังคมและแสดงอุดมคติของตนโดยอาศัยข้อมูลต่างๆที่เก็บมาจากชีวิตจริง กวนฮั่นชิงเข้าใจความทุกข์ยากของประชาชนและมีความถนัดในการใช้ภาษาของทุกชนชั้น ประกอบกับความสามารถในด้านศิลปะอันดีเลิศ ทำให้บทประพันธ์ของเขาเปี่ยมไปด้วยพลังแห่งชีวิต สมัยราชวงศ์หยวน นักแสดงมีฐานะทางสังคมต่ำ แต่กวนฮั่นชิงกลับคลุคลีกับเหล่านักแสดง จนบางครั้งเป็นทั้งผู้กำกับและผู้แสดงด้วย กวนฮั่นชิงมีนิสัยเข้มแข็ง เปิดเผยและตรงไปตรงมา เขาเคยเปรียบเทียบนิสัยของตัวเองว่าเสมือนเมล็ดถั่วทองแดงที่นึ่งไม่เปื่อย ต้มไม่สุก ทุบไม่แบนและขั้วไม่แตกด้วยเหตุนี้ บทละครของเขามิเพียงแต่ได้สะท้อนสภาพความเป็นจริงของสังคม เท่านั้น หากยังเปี่ยมไปด้วยเจตนารมณ์แห่งนักต่อสู้ ประชาชนในปลายปากกาของเขานอกจากจะมีเสียงคร่ำครวญอันเนื่องจากการทนความทุกข์ทรมานแล้ว ยังเต็มไปด้วยจิตใจต่อสู้อย่างกล้าหาญด้วย ความแค้นของโต้วเอ๋อก็เป็นบทละครที่ขึ้นชื่อที่สุดเรื่องหนึ่งของกวนฮั่นชิง ความแค้นของโต้วเอ๋อได้เล่าเรื่องชีวิตอันขมขื่นของหญิงสาวคนหนึ่งที่ชื่อโต้วเอ๋อ ตลอดระยะเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา ละครเรื่องนี้ได้รับความชื่นชอบจากผู้ชมชนิดไม่เคยเสื่อมคลาย จนได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในบทละครโศกนาฏกรรมที่มีชื่อเสียง 10 เรื่องในสมัยโบราณของจีน และได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษาเผยแพร่ไปทั่วโลก กวนฮั่นชิงเป็นผู้นำวงการละครในสมัยนั้น ละครที่เขาแต่งไม่เพียงแต่ปลุกระดมให้ประชาชนผู้ใช้แรงงานลุกขึ้นมาต่อสู้กับการกดขี่รีดไถเท่านั้น หากได้ส่งผลกระทบอันลึกซึ้งยาวไกลต่อการแต่งละครในสมัยต่อๆมาด้วย ตลอดชีวิตของกวนฮั่นชิง เขาได้แต่งจ๋าจวู้ทั้งหมด 67 เรื่อง มีเพียง 18 เรื่องเท่านั้นที่ได้สืบทอดจนถึงปัจจุบัน สิ่งที่กวนฮั่นชิงถนัดที่สุดคือ การสร้างตัวละครที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น และบรรยายความรู้สึกนึกคิดอันลึกซึ้งและสลับซับซ้อนของตัวละคร ในบรรดานักแต่งบทละครในสมัยโบราณของจีน ยังไม่มีผู้ใดสามารถสร้างตัวลัครที่มีเอกลักษณ์แตกต่างกันมากมาย เทียบเท่ากับกวนฮั่นชิงได้ กวนฮั่นชิงจึงมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ละครและประวัติศาสตร์วรรณกรรมของจีน และได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งละครจ๋าจวู้นอกจากนี้ กวนฮั่นชิงยังได้รับการยกย่องในวงการวรรณคดีและศิลปะของโลกด้วย เขาได้รับฉายาว่าเป็นshakespeare แห่งตะวันออก เนื้อหาโดยย่อ ตำราพิชัยสงครามซุนปิน:เป็นตำราพิชัยยุทธที่คลอดออกมาหลัง"ตำรับพิชัยยุทธ"ซุนหวู่กว่าร้อยปี ตำราพิชัยยุทธทั้งสองเล่มนี้ ต่างได้รับการยกย่องจากนักการทหาร นักการทูตและนักเศรษฐศาสตร์ต่างประเทศว่าเป็นตำรับตำราที่มีประโยชน์มากต่อวงการต่างๆโดยได้แปลเป็นภาษาญี่ปุ่น ฝรั่งเศส รัสเซีย ฯลฯ กว่า 20 ภาษา ต้นฉบับเดิมเขียนบนแผ่นไม้ไผ่ และนอนหลับสนิทอยู่ใต้ดินได้กว่าสองพันปี แผ่นไม้ไผ่ส่วนใหญ่ชำรุดและตัวอักษรก็เลือนลาง ดีที่ว่านักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์มากท่านต่างเห็นความสำคัญของตำราเล่มนี้ จึงได้ช่วยกันชำระสะสางแผ่นไม้ไผ่ดังกล่าวและนำมาวิเคราะห์เรียบเรียง โดยอาศัยข้อมูลจากการบันทึกและหมายเหตุทางประวัติศาสตร์อันเกี่ยวกับทฤษฎีการทหารซึ่งนักการทหารได้วิเคราะห์ไว้หลายยุคหลายสมัยในระหว่างสองพันปีนี้มา เหมาะสำหรับนักเรียน นักศึกษาและผู้ที่สนใจทั่วไป สารบัญ คำนำ ประวัติย่อของซุนปิน ตำนานซุนปิน ผังจวนแม่ทัพใหญ่แห่งแคว้นเว่ย ซุนปินถูกแนะนำตัวให้ฮุ่ยอ๋อง ฮุ่ยอ๋องลองภูมิสองขุนพลด้วยค่ายกล ผังจวนยัดข้อหาให้ซุนปิน ม่อตี้และเถียนจี้หาทางช่วยซุนปิน ซุนปินกลับแคว้นฉี ทัพผังจวนประชิดแคว้นจ้าว สงครามระหว่างหันและเจ้ากับเว่ย ซุนปินวางกับดักผังจวน อวสานของผังจวน ความคิดการทหารของซุนปิน ปิดล้อมก๊กเว่ย ช่วยก๊กจ้าว 中国国际广播电台 นายซุนปินเป็นนักการทหารที่มีชื่อคนหนึ่งในสมัย จั้นกว๋อของจีน เขากับนายผังเจียนเคยไหว้ครูคนเดียวกันเพื่อศึกษาตำราพิชัยสงคราม ต่อมาภายหลัง เขาสองคนได้รับใช้ก๊กเว่ยด้วยกัน นายผังเจียน อิจฉานาย ซุนปินที่มีความรู้ความสามารถมากกว่าตน จึงพยายามคิดหาทางใส่ร้ายป้ายสีเขา ทำให้นายซุนปินต้องถูกลงโทษตัดหัวเข่า ต่อมา แม่ทัพเถียนจี้ของก๊กฉีได้ช่วยชีวิต นายซุนปินและส่งเขาไปที่ก๊กฉีแบบลับๆ เรื่อง ปิดล้อมก๊กเว่ย ช่วยก๊กจ้าว ก็คือสงครามที่เกิดขึ้นระหว่าง นายซุนปินกับนายผังเจียน ศตวรรษที่ ๔ ก่อน คริสต์ศักราชเป็นสมัย จั้นกว๋อของจีน ก๊กเว่ยได้ดำเนินการปฎิรูปทางการเมืองและการทหารก่อนก๊กอื่น ๆ ในจีน และได้เข้าผนวกก๊กเล็กและก๊กที่อ่อนแอ ในสมัยนั้น ก๊กที่มีกำลังพอ ๆ กับก๊กเว่ยมีหลายก๊ก เช่น ทางภาคตะวันออกมีก๊กฉี และทางภาคตะวันตกมีก๊กฉิน ส่วนก๊กจ้าวและก๊กว่อยซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านของก๊กเว่ยล้วนเป็นก๊กเล็กและก๊กที่อ่อนแอกว่า ปี ๓๖๘ ก่อน คริสต์ศักราช ก๊กจ้าวที่ได้รับการสนับสนุนจากก๊กฉีได้ยกทัพไปบุกโจมตีก๊กว่อย ซึ่งเป็นก๊กที่อยู่ใต่อาณัติของก๊กเว่ย พระจักรพรรดิ เว่ยฮุ่ยหวางของก๊กเว่ยได้สั่งให้แม่ทัพ ผังเจียนนำทหาร ๑ แสนคนปิดล้อม กรุง หันตัน เมืองหลวงของก๊กจ้าว ก๊กจ้าวจึงจำเป็นต้องไปขอความช่วยเหลือจากก๊กฉี นาย โจวจี้ ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ของก๊ก ฉี เห็นว่า ไม่ควรไปช่วยก๊กจ้าว เพราะว่าถ้าทำเช่นนั้น จะสิ้นเปลืองพลังรวมของก๊ก ฉี แต่นาย ต้วนกันหลูน ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ของก๊ก ฉี เห็นว่า ถ้าหากก๊ก เว่ย รุกโจมตี ก๊ก จ้าวได้สำเร็จ อิทธิพลของก๊ก เว่ยก็จะเข้มแข็งเกรียงไกรยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการคุกคามต่อก๊ก ฉี จึงมีข้อคิดเห็นให้ดำเนินการช่วยเหลือก๊ก จ้าว จักรพรรดิ ฉีเวยหวาง ได้รับข้อเสนอของ นาย ต้วนกันหลูน โดยสั่งให้แม่ทัพ เถียนจี้ และเสนาธิการ ซุนปินนำกองทหาร ๘ หมื่นนายเดินทางไปช่วยเหลือก๊กจ้าว เกี่ยวกับความสามารถด้านการทหารของนาย ซุนปินมีเรื่องเล่ากันมากมาย เช่น เรื่องเกี่ยวกับการแข่งม้าซึ่งเป็น ที่รู้กันอย่างแพร่หลาย มีอยู่ครั้งหนึ่ง จักรพรรดิ ฉีเวยหวางถามนายซุนปินขณะพูดคุยถึงเรื่องการทหารว่า เมื่อสองกองทัพต่างฝ่ายต่างคุมเชิงกัน ฐานที่มั่นของแต่ละฝ่ายต่างก็มีความแข็งแกร่งมาก ทั้งสองฝ่ายต่างก็ไม่กล้าผลีผลามออกรบ ในกรณีเช่นนี้ควรจะดำเนินการอย่างไร นาย ซุนปินกล่าวว่า คงรจะได้คัดเลือกนายทหารที่มีความกล้าหาญและผู้หนึ่ง ให้นำกองทหารเคลื่อนที่เร็วจำนวนน้อยไปหยั่งชิงสภาพที่เป็นจริงของ แนวรบฝ่ายข้าศึก อนุญาตให้แพ้ได้อย่างเดียว ห้ามชนะ เพื่อล่อใจข้าศึก จากนี้ ให้นำกองทหารที่รบเก่งอีกหน่วยหนึ่งไปซ่มตัวยังปีกข้างของข้าศึก เมื่อแนวรบด้านหน้าข้าศึกเกิดความปั่นป่วน ก็ให้รุกโจมตีจากด้านข้างหน้า ทำเช่นนี้ จะชนะได้อย่างแน่นอน ต่อไปจะเล่าเรื่อง แม่ทัพ เถียนจี้กับนาย ซุนปินนำกองทหารเดินทางไปช่วยเหลือก๊ก จ้าว นาย ซุนปินได้พิจารณาสถานการณ์ในเวลานั้นแล้วเห็นว่า กองทหารของก๊กเว่ยมีความเข้มแข็งมาก ถ้าดำเนินการสู่รบซึ่ง ๆ หน้ากับทหารของก๊กเว่ย ก๊ก ฉีจะประสบความเสียหายมาก ฉะนั้น ควรจะหลีกเลี่ยงส่วนที่แข้มแข็ง เข้าตีส่วนที่เป็นจุดอ่อน ให้ถือโอกาสที่กองทหารของก๊ก เว่ย เดินทางพ้นจากพรมแดนของตน และการป้องกันเมือง ต้าเหลียง เมืองหลวงของก๊กเว่ยว่างเปล่า เข้าโจมตีเมืองหลวงของก๊กเว่ยซึ่งเท่ากับ บีบบังคับให้ทหารก๊กเว่ยต้องเดินทางกลับเพื่อกู้กรุงต้าเหลียง ก๊ก จ้าวก็จะพ้นจากอันตราย เพื่อช่วงชิงเป็นฝ่ายกระทำทางยุทธศาสตร์ นายซุนปิน ตกลงจะสร้างภาพลวงตาให้เห็นกองทหารของก๊กฉีมีสภาพอ่อนแอ เจตนาส่งนายทหารที่ไม่มีความสามารถนำทหารไปโจมตี ผิงหลิง เมืองสำคัญทางการทหาร สุดท้าย ทหารก๊กฉีพ่ายแพ้ยับเยิน นายพลผังเจียนนึกว่า ทหารก๊กฉี ถูกตีทีเดียวก็พังทะลาย จึงเร่งดำเนินการโจมตีก๊ก จ้าว โดยไม่คิดถึงแม้แต่นิดว่า ทหารก๊กฉีจะไปโจมตี กรุง ต้าเหลียง เมืองหลวงของก๊กเว่ย ในเวลาเดียวกัน นาย ซุนปิน ได้นำกองทหารที่ดีเลิศด้วยตนเองเดินทางยุกไปยัง กรุง ต้าเหลียง เมืองหลวงของก๊กเว่ย เมื่อนายผังเจียนทราบข่าว จึงรีบถอนทหารกลับจากแนวหน้าของก๊กจ้าว แล้วเดินทัพไกลกลับประเทศเพื่อป้องกันเมืองหลวง ระหว่างเดินทัพไกล ทหารและม้ารบของก๊กเว่ยทั้งหิวข้าวและเหน็ดเหนื่อยมาก สุดท้าย ทหารเว่ยก็ตกอยู่ในวงปิดล้อมของนาย ซุนปิน และถูกโจมตีจนพ่ายแพ้ยับเยิน ทหาร ฉีใช้กลยุทธที่หลบเลี่ยงส่วนที่แข้มแข็ง เข้าตีส่วนที่เป็นจุดอ่อน และ ตั้งมั่นออมกำลังเพื่อรอรับมือทหารข้าศึกที่เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเข้ามาตี ไม่เพียงแต่ได้ช่วยก๊กจ้าวพ้นจากอันตราย หากยังได้ตัดทอนกำลังของก๊กเว่ยให้อ่อนแอลง และได้สร้างยุทธสิธีการรบที่ปิดล้อมก๊กเว่ย เพื่อ ช่วย ก๊ก จ้าว กลยุทธนี้มีอิทธิพลลึกซึ้งยาวไกลต่อคนรุ่นหลัง พื่นที่ของสาธารารณรัฐประชาชนจีน 中国国际广播电台 สาธารณรัฐประชาชนจีนมีชื่อย่อว่าจีน ตั้งอยู่ทางถาคตะวันออกของทวีปเอเซีย อยู่ฝั่งตะวันตกของมหาสมุทแปซิฟิค มีพื่นที่ทางบกกว้าง 9 ล้าน 6 แสนตารางกิโลเมตรเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเซียและก็เป็นประเทศใหญ่อันดับที่ 3 ในโลกรองลงมาจากรัสเซีย และแคนาดา อาณาเฃตชองจีนจากเหนือสุดถึงใค้สุด คือ จากเส้นกลางของร่องน้ำเดินเรือในแม่น้ำเฮยหลงเจียงทางเหนือของเมืองโม่เหอ(ละติจูตเหนื53 ํ 30่)ถึงแนวโขดหินเจิงหมู่อั้นซาในทะเลจีนใค้(ลองจิจูตใต้ 4 ํ) ระยะต่างกันทางละติจูตสูงถึง 49 องศากว่า ๆ ระยะห่างกันในสายตรงยาวถึง5500 กิโลเมตร จากด้านตะวันออกถึงด้านตะวันตกคือ จากจุดบรรจบของแม่น้ำเฮย หลงเจียงกับแม่น้ำอูซูหลี่เจียงทางภาคคะวันออกของจีน(ลองจิจูตตะวันออก135 ํ05 ่)ถึงที่ราบสูง ปามีร์ทางภาคตะวันตกของจีน(ลองจิจูตตะวันตก73 ํ40่ ) ระยะต่างกันทางลองจิจูดมีถึง 60 กว่าองศา กว้างประมาณ 5000 กิโลเมตร พรมแดนทางบกของจีนยาวประมาณ 2.28 ล้านกิโลเมตร ทางตะวันออกติดกับเกาหลีเหนือ ทางเหนือติดกับมองโกล ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับรัสเซีย ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับคาซัคสถาน กิกิเซียสถาน ทาจิกิสถาน ทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ติดกับอาฟกานิสถานปากีสถาน อินเดีย เนปาล พูฐาน เป็นต้น ทางใต้ติดกับประเทศพม่า ลาว เวียตนาม ทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้คือ ประเทศเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ บรูไน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ซึ่งมีทะเลคั่นอยู่ ราชวงศ์เซี่ย-ราชวงศ์แรกในประวัติศาสตร์ของจีน ราชวงศ์ซัง-ราชวงศ์โบราณที่สุดของจีนที่มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ 中国国际广播电台 ราชวงศ์โจวเป็นราชวงศ์ที่สามหลังจากราชวงศ์เซี่ยและราชวงศ์ซัง สถาปนาขึ้นประมาณปี1027ก่อนค.ศ. และถูกโค่นโดยก๊กฉินในปี256ก่อนค.ศ.กินเวลานานกว่า770ปี แบ่งสมัยโดยยึดการย้ายเมืองหลวงของราชวงศ์โจว ช่วงแรกเป็นโจวตะวันตก ช่วงหลังเป็นโจวตะวันออก ส่วนโจวตะวันออกยังแบ่งได้อีกเป็นสมัยชุนชิวและจั้นกั๋วสองสมัย โจวตะวันตกเริ่มตั้งแต่ประมาณปี1027ก่อนค.ศ. สูญสิ้นลงปี771ก่อนค.ศ. กินเวลาประมาณ257ปี กษัตริย์คนแรกของราชวงศ์โจวคือกษัตริย์โจวอู่หวางหลังจากได้ย้ายเมืองหลวงไปสู่เมืองเก๋า(อยู่แถวเมืองซีอันในปัจจุบัน)แล้ว ได้พาทหารพันธมิตรไปโจมตีราชวงศ์ซัง และสถาปนาราชวงศ์โจวขึ้น เมื่อกษัตริย์คนที่สองโจวเฉิงหวางซึ่งเป็นลูกชายของโจวอู่หวางขึ้นครองราชย์ เนื่องจากอายุยังน้อยจึงไม่สามารถบริหารประเทศ โจวกงซึ่งเป็นอาชายของโจวเฉิงหวางเสด็จออกว่าราชการแทน โจวกงหลังจากได้ปรับปรุงกิจการภายในเสร็จแล้ว ได้พาทหารไปโจมตีภาคตะวันตกเพื่อปราบการกบฎ หลังจากนั้น โจวกงได้ใช้มาตรการสำคัญที่เสริมสร้างความมั่นคงต่างๆ ระยะช่วงที่กษัตริย์โจวเฉิงหวางและกษัตริย์โจงคังหวางซึ่งเป็นลูกชายของโจวเฉิงหวางครองราชย์ นักประวัติศาสตร์จีนเรียกกันว่าช่วงเจริญรุ่งเรืองยุคเฉิง-คัง ระบอบการเมืองของราชวงศ์โจวมีเอกลักษณ์พิเศษของตน สิ่งที่สำคัญมีระบบสาธารณะที่นา ระบบสืบทอดอำนาจ ระบบตัวเมืองชานเมืองและระบบเซ่นไหว้และดนตรีสำหรับการเซ่นไหว้ สมัยชุนชิวคือระหว่างปี770-476ก่อนค.ศ. ในสมัยนี้ เมื่อเศรษฐกิจเติบโตและประชาชนมีจำนวนมากขึ้น ก๊กต่างๆได้ดำเนินการต่อสู้กันอย่างรุนแรงเพื่อช่วงชิงอำนาจครองความเป็นเจ้าของจีน สภาพสังคมได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ในการผลิตเกษตรกรรม ได้มีเครื่องมือเหล็กปรากฎขึ้น การไถ่นาด้วยควายได้รับการเผยแพร่ ชลประทานได้รับการพัฒนา ปริมาณการผลิตพืขธัญญาหารเพิ่มพูนมากขึ้น สมัยชุนชิวเป็นช่วงระยะผ่านที่ระเบียบการเมืองสังคมที่สืบทอดลงมาจากโบราณกาลของโจวตะวันตกก้าวสู่การสลายตัวเรื่อยๆ นายขงจื๊อ นักคิดและนักการศึกษาที่ยิ่งใหญ่คนแรกของจีนก็อยู่ที่ช่วงหลังของสมัยชุนชิว ขงจื๊อหลังจากได้สรุปวัฒนธรรมและความคิดในอดีตเป็นพื้นฐานแล้ว ได้ประสานกับสถานการณ์สังคมที่มีความวุ่นวายในช่วงหลังของสมัยชุนชิว เสนอแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับปัญหาอภิปรัชญา ศีลธรรม สังคมและการเมืองของตนขึ้นทั้งชุด และได้สร้างสำนักขงจื๊อในสมัยโบราณขึ้น สมัยจั้นกั๋ว(ปี403-221ก่อนค.ศ.)เป็นสมัยที่ก๊กต่างๆแบ่งแยกประเทศและแย่งชิงอำนาจครองความเป็นเจ้าของจีนอีกสมัยหนึ่งหลังจากสมัยชุนชิว ความจริง สมัยชุนชิวและสมัยจั้นกั๋วไม่มีขอบเขตที่ชัดแจ้ง แต่ตามความเคยชินในปัจจุบัน ได้ถือเอาการที่สามก๊กแบ่งแยกก๊กจิ้นและสถาปนาเป็นก๊กเจ้า ก๊กหันและก๊กเว่ยที่เกิดขึ้นในปี403ก่อนค.ศ.เป็นสัญลักษณ์เริ่มต้นของสมัยจั้นกั๋ว ตั้งแต่นี้ไปจนถึงปี221ก่อนค.ศ. เมื่อก๊กฉินรวมจีนเป็นเอกภาพ ระยะเวลาดังกล่าวเรียกว่าสมัยจั้นกั๋ว ในสมัยจั้นกั๋ว สถานการณ์ของจีนได้เกิดการเปลี่ยนแปลง ก๊กขนาดเล็กต่างๆถูกก๊กใหญ่กลืนกิน 7ก๊กที่เหลือได้แก่ ฉิน ฉู่ ยัน หัน เจ้า เว่ยและฉีกลายเป็นก๊กสำคัญในสมัยจั้นกั๋ว ในสมัยจั้นกั๋ว ก๊กต่างๆพากันปรับปรุงกฎหมาย ในจำนวนนี้ การปรับปรุงกฎหมายที่ริเริ่มโดนนายซังยังของก๊กฉินได้ดำเนินการอย่างถึงที่สุดและมีผลกระทบมากที่สุด ในสมัยจั้นกั๋ว แม้มีการปะทะกันอย่างไม่ขาดสายก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบเท่าไหร่ต่อการพัฒนาของวัฒนธรรมสมัยโบราญของจีน สังคมจีนได้มีชนชั้นปัญญาชนซึ่งเป็นชนชั้นใหม่ปรากฎขึ้น พวกชนชั้นปัญญาชนมีความรู้วิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงฐานะของชนชั้นนี้ การเคลื่อนไหวของชนชั้นปัญญาชนได้ผลักด้นให้วัฒนธรรมทางวิชาการมีความเจริญรุ่งเรือง ในสมัยชุนชิว วัฒนธรรมทางความคิดสมัยโบราณของจีนได้บรรลุจุดสูงสุดเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์จีน ในจำนวนนี้ แนวคิดและทฤษฎีต่างๆเช่นสำนักขงจื๊อที่มีขงจื๊อและเมิ่งจื่อเป็นตัวแทน ลัทธิเต๋าที่มีเหลาจื่อ จวงจื่อและเลี่ยจื่อเป็นตัวแทน วิชากฎหมายที่มีหันเฟยเป็นตัวแทนและสำนักเม่อจื่อที่มีเม่อจื่อเป็นตัวแทนเป็นต้นต่างได้รับการยกย่องจากคนในยุคหลัง การปรากฎขึ้นของสำนักวิชาเหล่านี้ทำให้วงการความคิดในสมัยจั้นกั๋วเกิดสภาพที่ร้อยสำนักประชันกันขึ้น แนวคิดและทฤษฎีเหล่านี้ไม่เพียงแต่มีบทบาทส่งเสริมต่อการเมืองและเศรษฐกิจในสมัยจั้นกั๋วเท่านั้น หากยังมีอิทธิพลยาวนานและลึกจนกระทั่งปัจจุบันและเป็นผลงานที่ไม่อาจลบล้างได้ในประวัติศาสตร์ความคิดของจีน ปี230 ก่อนค.ศ. เจ้าก๊กฉินหยิงเจิ้งได้เริ่มกระบวนการรวมจีนให้เป็นเอกภาพ ในช่วงเวลา 9 ปีหลังจากนี้ ก๊กฉินได้ผนวกเอา 6 ก๊กอื่นทั้งหมด ได้รวมจีนเป็นเอกภาพในปี221ก่อนค.ศ. สภาพแบ่งแยกเป็นก๊กเป็นเหล่าที่ยือเยื้อมานานประมาณ600ปีของจีนได้สิ้นสุดลง ราชวงศ์ฉิน-ราชวงศ์ศักดินาแรกของจีน 中国国际广播电台 221ก่อนค.ศ. หลังจากได้ผ่านสังคมระบอบทาสที่ดำเนินมานานกว่า2000ปีแล้ว ราชวงศ์ฉินซึ่งเป็นราชวงศ์ศักดินาที่มีระบอบรวมศูนย์อำนาจรัฐที่เป็นเอกภาพราชวงศ์แรกได้สถาปนาขึ้น ซึ่งมีความหมายสำคัญเป็นพิเศษต่อประวัติศาสตร์ของจีน ในช่วงระหว่างปี255-222ก่อนค.ศ. เป็นสมัยจั้นกั๋วของจีน และเป็นช่วงปลายของสังคมระบอบทาสของจีน ในสมัยนั้น จีนมีก๊กเล็กก๊กน้อยที่เป็นเอกราชจำนวนมากมาย ก๊กเหล่านี้กลืนกินซึ่งกันและกัน ในที่สุด เหลือแต่ก๊กที่ค่อนข้างใหญ่ทั้งหมด7ก๊กซึ่งถูกเรียกกันว่าชีสวง (เจ็ดผู้ยิ่งใหญ่)ได้แก่ ฉิน ฉี ฉู่ เว่ย เยี่ยน หันและเจ้า ในบรรดา7ก๊ก ก๊กฉินที่ตั้งอยู่ที่ภาคตะวันตกเฉียงเหนือเนื่องจากได้ดำเนินการปฎิรูปทางการทหารและการเกษตรค่อนข้างเร็ว กำลังประเทศได้เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ปี247ก่อค.ศ. นายหยิงเจิ้งผู้มีอายุแค่13ปีได้รับช่วงตำแหน่งเจ้าก๊กของฉิน หลังจากเขาอายุครบ22ปีและเข้าบริหารประเทศแล้ว ก็เริ่มกลืนกินอีก6ก๊กและรวมจีนเป็นเอกภาพ เจ้าก๊กฉินหยิงเจิ้งได้ค้นหาบุคลากรอย่างกว้างขวาง ขอเพียงแต่เป็นผู้ที่มีความสามารถเท่านั้นก็จะมีโอกาสได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการทั้งนั้น อาทิ เคยแต่งตั้งให้นายเจิ้งกั๋วผู้เป็นจารชนของก๊กหันไปขุดลอกแม่น้ำลำคลองเจิ้งกั๋ว จนทำให้ที่ดินที่มีสารเกลือมากจำนวนกว่า40000เฮกตาร์ของก๊กฉินกลายเป็นที่นาที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งได้สร้างเงื่อนไขทางวัตถุที่เพียงพอแก่การรวมจีนเป็นเอกภาพของก๊กฉิน ในช่วงเวลาไม่ถึง10ปีตั้งแต่ปี230-221ก่อนค.ศ. เจ้าก๊กฉินหยิงเจิ้งได้กลืนกินก๊กหัน เจ้า เว่ย ยัน ฉู่และฉี่ทั้งหมด6ก๊กตามลำดับและรวมจีนเป็นเอกภาพสำเร็จ จีนก็ได้สิ้นสุดสภาพการแบ่งแยกลง และมีราชวงศ์ฉินที่เป็นเอกภาพและใช้ระบอบรวมศูนย์อำนาจรัฐทางเผด็จการ เจ้าก๊กฉินก็กลายเป็นจักรพรรดิวงศ์แรกของจีน ด้วยเหตุนี้เรียกว่าสือฮวางตี้หรือจิ๋นซีฮ่องเต้หมายความว่าจักรพรรดิวงศ์แรก การที่ฉินรวมจีนเป็นเอกภาพได้นั้นนับเป็นคุณูปการและมีความหมายยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของจีน ในด้านการเมือง จิ๋นซีฮ่องเต้ได้ยกเลิกระบบแต่งตั้งผู้ครองแคว้นประเทศราช กลับใช้ระบบจังหวัดและอำเภอ แบ่งทั่วประเทศเป็น36จังหวัด จังหวัดแบ่งเป็นอำเภอ ข้าราชการของรัฐบาลกลางและหน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่นล้วนแต่งตั้งและยกเลิกโดยตัวจักรพรรดิเอง ไม่มีการสืบต่อทางวงศ์ตระกูล ระบบจังหวัดและอำเภอที่ราชวงศ์ฉินเริ่มใช้ในสมัยนั้นได้กลายเป็นระบบปกครองของราชวงศ์ต่างๆในยุคหลัง ปัจจุบัน ชื่อของอำเภอจำนวนมากมายของจีนก็เริ่มกำหนดโดยราชวงศ์ฉินเมื่อกว่า2000ปีก่อน ส่วนผลงานอีกสำคัญรายหนึ่งของฉินก็คือได้รวมตัวหนังสือของจีนให้เหลือเพียงอย่างเดียว ก่อนราชวงศ์ฉิน ก๊กต่างๆต่างก็มีตัวหนังสือของตน แม้ตัวหนังสือเหล่านี้มีแหล่งที่มาเดียวกันและไม่มีความแตกต่างในด้านการสะกดสักเท่าไหร่ก็ตาม แต่ยังคงเป็นอุปสรรคต่อการแพร่กระจายและแลกเปลี่ยนของวัฒนธรรม หลังจากฉินรวมจีนเป็นเอกภาพแล้ว ได้กำหนดให้ตัวหนังสือเสี่ยวจ้วนของก๊กฉินเป็นตัวหนังสือที่ใช้ทั่วประเทศ หลังจากนั้น การเปลี่ยนแปลงของตัวหนังสือจีนเริ่มมีระเบียบ ซึ่งมีความหมายที่ชนิดประเมินไม่ได้ต่อการก่อรูปขึ้นของประวัติศาสตร์จีนและการสืบทอดของวัฒนธรรมจีน นอกจากนี้ จิ๋นซีฮ่องเต้ยังได้กำหนดมาตราชั่งตวงวัดของจีนให้เห็นเอกภาพ เหมือนกับตัวหนังสือ ก่อนหน้านี้ มาตราชั่งตวงวัดของก๊กต่างๆมีความแตกต่างกัน ซึ่งเป็นอุปสรรคกีดขวางการเติบโตของเศรษฐกิจ เพื่อให้สอดคล้องมาตราชั่งตวงวัด จิ๋นซีฮ่องเต้ยังได้กำหนดเงินตราและกฎหมายเพื่อสร้างเงื่อนไขแก่การเติบโตของเศรษฐกิจประชาชาติ ทั้งได้เสริมสร้างฐานะของรัฐบาลกลางอย่างมาก เพื่อเสริมสร้างการปกครองในด้านความคิด ปี213ก่อนค.ศ. จิ๋นซีฮ่องเตได้สั่งการให้เผาหนังสือประวัติศาสตร์ของก๊กต่างๆนอกจากประวัติศาสตร์ของก๊กฉินและทฤษฎีของลัทธิเต๋า และถึงกับประหารชีวิตผู้คนที่แอบเก็บและแพร่กระจายหนังสือเหล่านี้ พร้อมกันนี้ เพื่อป้องกันการรุกรานจากรัฐของชนชาติส่วนน้อยในภาคเหนือ จิ๋นซีฮ่องเต้ได้สั่งการให้บูรณะซ่อมแซมกำแพงที่ก่อสร้างขึ้นด้วยก๊กฉิน ก๊กเจ้าและก๊กยันในอดีตเป็นต้น เชื่อมต่อเป็นกำแพงเมืองจีนหมื่นลี้ตั้งแต่ทะเลทรายทางตะวันตกไปสู่ริมฝั่งทะเลทางตะวันออก ฉิ๋นซีฮ่องเต้ยังได้สั่งการก่อสร้างเป็นการใหญ่ เกณฑ์ชาวบ้านจำนวนกว่า7แสนคน และลงทุนจำนวนมหาศาลก่อสร้างสุสานที่ตั้งอยู่ใต้ภูเขาหลีซันซึ่งเป็นสุสานจิ๋นซีฮ่องเต้และหุ่นทหารกับม้าซึ่งเป็นมรตกทางวัฒนธรรมของโลกในปัจจุบัน จิ๋นซีฮ่องเต้รวมจีนเป็นเอกภาพ สิ้นสุดสภาพแบ่งแยกอันเป็นเวลายาวนานของจีน สถาปนาประเทศศักดินาหลายชนชาติที่มีที่เข้มแข็งเกรียงไกรโดยมีชนชาติฮั่นเป็นองค์ประกอบสำคัญ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ประวัติศาสตร์ของจีนก็เดินหน้าสู่นั้นใหม่ ราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์ฮั่น 中国国际广播电台 ช่วงเวลาตั้งแต่ปี206ก่อนค.ศ.จนถึงปีค.ศ.8เป็นสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก จักรพรรดิฮั่งเกาจู่ชื่อหลิวบังสถาปนาราชวงศ์ฮั่นและตั้งเมืองหลวงที่กรุงฉางอัน(เมืองซีอันในปัจจุบัน) ในช่วงเวลา7ปีที่จักรพรรดิฮั่นเกาจู่ครองราชย์ ได้เสริมสร้างการปกครองรวมศูนย์อำนาจรัฐ กำหนดนโยบายทางการเมืองที่ให้ประชาชนได้พักฟื้นจำนวนหนึ่งเป็นการเสริมสร้างการปกครองของตนให้มั่นคง ปี159ก่อนค.ศ. จักรพรรดิฮั่นเกาจู่ถึงแก่กรรม จักรพรรดิฮั่นฮุ่ยตี้รับช่วงตำแหน่งจักรพรรดิต่อ แต่เวลานั้น อำนาจตกอยู่ในมือของนางลวี่จื้อพระมเหสีของจักรพรรดิฮั่นเกาจู่ พระมเหสีลวี่จื้อได้ครองอำนาจอยู่นาน16ปี นับเป็นผู้ปกครองผู้หญิงในประวัติศาสตร์จีนที่มีเพียงไม่กี่คน ปี183ก่อนค.ศ. จักรพรรดิฮั่นเหวินตี้รับช่วงตำแหน่งจักรพรรดิต่อไป จักรพรรดิฮั่นเหวินตี้และจักรพรรดิฮั่งจิ่งตี้(ปี156-143ก่อนค.ศ.)ซึ่งเป็นลูกชายยังคงดำเนินนโยบายให้ประชาชนได้พักฟื้นต่อไป ลดภาษีอากรของประชาชนให้น้อยลง ทำให้เศรษฐกิจของราชวงศ์ฮั่นเติบโตอย่างเจริญงอกงาม นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงเวลานี้ว่าเป็นช่วงเจริญรุ่งเรืองยุคเหวิน-จิ่ง หลังจากช่วงเจริญรุ่งเรืองยุคเหวิน-จิ่ง ราชวงศ์ฮั่นมีกำลังที่เข้มแข็งเกรียงไกรขึ้นเรื่อยๆ ปี141ก่อนค.ศ. จักรพรรดิฮั่นอู่ตี้รับช่วงตำแหน่งจักรพรรดิ ฮั่นอู่ดิ้ได้ส่งนายพลเว่ยชิงและนายพลฮั่วชิ่วบิ้งพาทหารไปโจมตีชาวฮุนหรือซวงหนูจนแตกพ่าย ได้ขยายขอบเขตการปกครองของฮั่นตะวันตกให้กว้างขวางขึ้น ซึ่งได้ให้หลักประกันแก่การพัฒนาของเศรษฐกิจและวัฒนธรรมทางภาคเหนือของฮั่นตะวันตก หลังจากนั้น จักรพรรดิฮั่นเจาตี้ส่งเสริมให้พัฒนาเศรษฐกิจต่อไปจนทำให้ฮั่นตะวันตกพัฒนาไปถึงช่วงที่เจริญรุ่งเรืองที่สุด หลังจาการปฎิบัติตามนโยบายให้ประชาชนได้พักฟื้นเป็นเวลานานถึง38ปีในสมัยราชกาลฮั่นเจาตี้และฮั่นซวนตี้ กำลังประเทศของฮั่นตะวันตกมีความเข้มแข็งมากขึ้น แต่ในเวลาเดียวกัน อิทธิพลท้องถิ่นก็พัฒนาเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆเช่นกันซึ่งได้คุกคามการปกครองของราชวงศ์ฮั่นตะวันตกอย่างรุนแรง เมื่อปีค.ศ.8 นายหวางหมางได้ช่วงชิงตำแหน่งจักรพรรดิและเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นราชวงศ์ซิน ได้สูญสิ้นการปกครองของราชวงศ์ฮั่นตะวันตกลง ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกเป็นราชวงศ์ที่ค่อนข้างเข้มแข็งเกรียงไกรในประวัติศาสตร์จีน ทุกรัชกาลได้ปฎิบัติตามนโยบายที่ให้ประชาชนพักฟื้นมาโดยตลอด ประชาชนกินดีอยู่ดี อยู่เย็นเป็นสุข การปกครองของฮั่นตะวันตกจึงมีความมั่นคงมาโดยตลอด จักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ได้ปฎิบัติตามข้อเสนอที่ให้ยกเลิกความคิดอื่นๆ ส่งเสริมยกย่องแต่สำนักขงจื๊ออย่างเดียวที่เสนอขึ้นโดยนายตุ๋ง จุงซู ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ลัทธิขงจื๊อและสำนักปรัชญาขงจื๊อกลายเป็นความคิดที่ราชวงศ์ต่างๆหลังจากราชวงศฮั่นได้ยึดถือปฎิบัติตามมาตลอด เนื่องจากการเมืองและเศรษฐกิจมีความมั่นคง หัตถกรรม การพาณิชย์ ศิลปะตลอดจนวิทยาศาสตร์ต่างได้พัฒนาไปอย่างมาก เมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนาสูงขึ้น ประสิทธิภาพการผลิตทางหัตถกรรมของราชวงศ์ฮั่นตะวันตกในการถลุงโลหะและการผลิตสิ่งทอเป็นสำคัญก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากด้วย การพัฒนาขึ้นของหัตถกรรมได้ส่งเสริมให้การพาณิชย์คึกคักขึ้นเรื่อยๆ และได้บุกเบิกการแลกเปลี่ยนซื้อขายในด้านต่างๆเช่นการติดต่อกันต่างประเทศและการค้ากับประเทศเอเซียตะวันตกต่างๆด้วยเส้นทางสายไหม ช่วงเวลาตั้งแต่ค.ศ.25 จนถึงค.ศ.220เป็นราชวงศ์ฮั่นตะวันออก สถาปนาขึ้นโดยจักรพรรดิฮั่นกวางอู่ตี้ชื่อหลิวซิ่ว ปีค.ศ.25 นายหลิวซิ่วได้โจมตีจักรพรรดิหวางหมางจนแตกพ่ายภายใต้การสนับสนุนจากกองทหารหลิ่วหลินซึ่งเป็นกองทหารชาวนา และช่วงชิงตำแหน่งจักรพรรดิกลับคืน ตั้งชื่อประเทศเป็นฮั่นอีกครั้งแต่ตั้งเมืองหลวงที่กรุงลั่วหยาง ในปีที่สองรัชกาลเจี้ยนอู่ จักรพรรดิกวางอู่ตี้มีคำสั่งให้ปฎิรูปนโยบายเก่าของจักรพรรดิหวางหมาง ปรับปรุงระบอบการเมือง จัดตั้งตำแหน่งซั่งซู6คนแบ่งกันรับผิดชอบบริหารกิจการการเมืองเพื่อลดอำนาจของเสนาบดีชั้นสูงสุดสามคนได้แก่ไทเว่ย ซือถูและซือคุงให้น้อยลง ยกเลิกข้าทาสของรัฐ ตรวจและจัดสรรที่ดินจนทำให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างมีเสถียรภาพ จนถึงกลางศตวรรษที่1 หลังจากการปกครองประเทศของสามรัชกาลได้แก่ฮั่นกวางอู่ตี้ ฮั่งหมิงตี้และฮั่นจังตี้ตามลำดับ ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกก็ได้ฟื้นฟูความเข้มแข็งเกรียงไกรของฮั่นตะวันตกในอดีตขึ้นเรื่อยๆ ช่วงนี้คนยุคหลังเรียกว่าช่วงเจริญรุ่งเรือนยุคกวางอู่ ในช่วงต้นของฮั่นตะวันออก เนื่องจากรัฐบาลกลางได้เสริมสร้างการผสมผสานกับอิทธิพลท้องถิ่น จึงทำให้ประเทศมีความมั่นคง ในด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฮั่นตะวันออกล้วนได้พัฒนาจนมีระดับเหนือกว่าฮั่นตะวันตกอย่างรอบด้าน ปีค.ศ.105 นายชั่ยหลุนได้ปรับปรุงเทคนิคการผลิตกระดาษ ทำให้วิธีการบันทึกตัวหนังสือของจีนสลัดพ้นจากสมัยที่ยังใช้ไม้ไผ่ และวิธีการผลิตกระดาษในฐานะที่เป็นหนึ่งในผลงานประดิษฐ์อันยิ่งใหญ่4อย่างในสมัยโบรายของจีนได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ในด้านวิทยาศาสตร์ วงการนักวิชาการที่มีนายจังเหิงเป็นตัวแทนได้ประสบผลงานอันยิ่งใหญ่ นายจังเหิงได้สร้างเครื่องหุนเทียนอี๋ซึ่งเป็นเครื่องตรวจวัดดาราศาสตร์และเครื่องตี้ต้งอี๋เครื่องพยากรณ์แผ่นดินไหว นอกจากนี้ นายหั้วถัว แพทย์ที่มีชื่อเสียงในสมัยปลายฮั่นตะวันออกเป็นแพทย์แผนกศัลยกรรมคนแรกที่ใช้ยาชาผ่าตัดผู้ป่วย ราชวงศ์เว่ย ราชวงศ์จิ้น ในยุคสมัยรัฐเหนือใต้ 中国国际广播电台 ตั้งแต่ค.ศ.220-589เป็นยุคของราชวงศ์เว่ยและราชวงศ์จิ้น ปลายศตวรรษที่สอง การปกครองของราชวงศ์ฮั่นตะวันออกเสื่อมโทรมลง ประวัติศาสตร์ของจีนพัฒนาเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งการแบ่งแยกที่กินเวลาค่อนข้างยาวนาน ช่วงเริ่มต้นคือช่วงสามก๊กได้แก่ก๊กเว่ย ก๊กสู่และก๊กอู๋(ค.ศ.189-265) หลังจากยุคสามก๊กก็คือสมัยราชวงศ์จิ้นตะวันตก แต่สภาพเอกภาพของจิ้นตะวันตกกินเวลาสั้นมาก(ค.ศ.265-316) จีนก็ตกอยู่ในสภาพแบ่งแยกอีก เชื้อพระวงศ์ของจิ้นตะวันตกได้สถาปนาจิ้นตะวันออก(ค.ศ.317-420)ที่ภาคใต้ของจีน ส่วนภาคเหนือตกอยู่ในสภาพรบกันพัลวันระหว่างชนชาติ ได้เกิดอำนาจรัฐจำนวนมากมาย โดยรวมแล้วเรียกว่า16ก๊ก ในระยะนี้ เศรษฐกิจภาคใต้ของจีนมีการพัฒนาไปค่อนข้างเร็ว ชนชาติส่วนน้อยในภาคตะวันออกและภาคเหนือมีการโยกย้ายเท้สู่ภาคกลางของจีนเรื่อยๆ การอพยพและอยู่ผสมปนเปกันระหว่างชนชาติได้หนุนเนื่องให้เกิดการผสมผสานและการแลกเปลี่ยน ในด้านวัฒนธรรม แนวคิดอภิปรัชญาแพร่หลาย พุทธศาสนาและศาสนาเต๋ามีการแพร่กระจายและการพัฒนาท่ามกลางการต่อสู้กัน แต่ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักจะส่งเสริมพุทธศาสนา ในด้านวรรณคดีและศิลปะ บทกวีของนักกวี7คนในรัชกาลเจี้ยนอัน และนายเถา ยวนหมิงเป็นต้น ลายมือเขียนภู่กันของนายหวาง ซีจือ ภาพวาดของนายกู้ ไขจือศิลปะถ้ำหินทางพุทธศาสนาต่างๆเช่นถ้ำหินตุนหวงล้วนเป็นผลงานยอดเยี่ยมในยุคนี้ ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายจู่ ชุงจือเป็นคนแรกที่คำนวณอัตราส่วนระหว่างเส้นรอบวงกับเส้นผ่านศูนย์กลางไปถึงหน่วยที่7หลังจุดทศนิยม หนังสือเรื่องฉีหมินเย่าซู่ของนายเจี่ย ซือเซียะเป็นงานประพันธ์อันยิ่งใหญ่ในด้านเกษตรศาสตร์ของโลก สมัยช่วงรัฐเหนือใต้(ค.ศ.420-589)เป็นชื่อรวมของรัฐภาคใต้และรัฐภาคเหนือ ก๊กแรกของรัฐภาคเหนือคือเว่ยเหนือ เว่ยเหนือต่อมาแบ่งแยกเป็นเว่ยตะวันออกและเว่ยตะวันตก ต่อมาฉีเหนือเข้าแทนเว่ยตะวันออก โจวเหนือเข้าแทนที่เว่ยตะวันตก ในที่สุดโจวเหนือก็โค่นฉีเหนือลง ส่วนรัฐภาคใต้เปลี่ยนแปลงไปซับซ้อน จากก๊กซุ่ง ไปฉี เหลียงและเฉินตามลำดับ เศรษฐกิจของภาคใต้ในสมัยนี้พัฒนาเร็วกว่าภาคเหนือ สาเหตุเนื่องจากทางภาคกลางมีการปะทะรบพุ่งกันไม่ขาดสาย ประชาชนที่อาศัยในแถบภาคกลางจึงอพยพลงภาคใต้เพื่อหนีสงครามทำให้ทางภาคใต้มีจำนวนผู้ใช้แรงงานเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นเทคนิคการผลิตที่ก้าวหน้าก็เริ่มแพร่กระจายเข้าสู่ภาคใต้มากขึ้น เป็นการส่งเสริมการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างมาก เขตบริเวณเมืองหยางโจวเป็นเขตที่มีเศรษฐกิจเจริญก้าวหน้าที่สุดของรัฐภาคใต้ในด้านวัฒนธรรม ผลงานที่สำคัญทีสุดคือการพัฒนาของความคิดทางอภิปรัชญา ความปั่นป่วนของยุคสมัยได้สร้างเงื่อนไขแก่อิสระภาพทางความคิด ในด้านวรรณคดี ผลงานที่สำคัญที่สุดคือบทกวี ในยุคสมัยนี้ การแลกเปลี่ยนกับภายนอกก็คึกคักมาก จีนมีการไปมาหาสู่กับญี่ปุ่น เกาหลี เอเซียกลาง โรมตลอดจนประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย หลังจากจิ้นตะวันออกสูญสิ้นลง ก็เข้าสู่ยุคสมัยรัฐเหนือใต้ซึ่งเป็นช่วงแบ่งแยกภาคเหนือกับภาคใต้ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์จีนซึ่งมีไม่บ่อยนัก แม้สภาพแบ่งแยกเช่นนี้จะขีดขวางการเติบโตของเศรษฐกิจก็ตาม เนื่องจากการเข้าปกครองพื้นที่ภาคกลางของชนชาติจากภายนอกการผสมผสานครั้งยิ่งใหญ่ระหว่างชนชาติในบริเวณลุ่มแม่น้ำเหลืองซึ่งไม่เคยมีมาก่อน ภายใต้เงื่อนไขเช่นนี้ ชนชาติส่วนน้อยต่างๆในภาคเหนือของจีนถูกชนชาติฮั่นกลืนชาติจนกระทั่งรวมเป็นชนชาติเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ กล่าวได้ว่า การแบ่งแยกของสมัยรัฐเหนือใต้นั้นมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการเร่งการรวมชาติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของจีน และก็เป็นขั้นตอนสำคัญที่ขาดเสียไม่ได้ของกระบวนการพัฒนาประชาชาติจีน ราชวงศ์สุย(Sui)และราชวงศ์ถัง(Tang) ราชวงศ์สุย(Sui)และราชวงศ์ถัง(Tang) 中国国际广播电台 ราชวงศ์สุยปกครองประเทศแค่37ปีนั้นตั้งแต่ค.ศ.581จักรพรรดิสุยเหวินตี้ชื่อหยางเจียนสถาปนาราชวงศ์สุยขึ้นจนถึงค.ศ.618จักรพรรดิสุยหยางตี้ชื่อหยางกว่างถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ นับเป็นราชวงศ์ที่มีอายุสั้นมาก จักรพรรดิสุยเหวินตี้ได้สร้างคุณูปการอันยิ่งใหญ่ในหลายด้าน เช่นได้ยกเลิกระบบ6เสนาบดีของราชวงศ์โจวเหนือลง และจัดตั้งระบบ3กระทรวง6ฝ่ายขึ้น จักรพรรดิสุยหยางตี้ยังได้ตรากฎหมายใหม่โดยลดความโหดร้ายทารุณของการลงโทษให้น้อยลงเมื่อเทียบกับยุคสมัยช่วงรัฐภาคเหนือกับรัฐภาคใต้ นอกจากนั้น จักรพรรดิสุยหยางตี้ยังได้จัดตั้งระบบสอบจอหงวนซึ่งเป็นวิธีการคัดเลือกข้าราชการแบบใหม่ แต่จักรพรรดิสุยหยางตี้ก็ไม่มีผลงานเท่าไหร่นอกจากการขุดลอกแม่น้ำลำคลองใหญ่(ความจริงคือเพื่อนั่งเรือทัศนาจร) จักรพรรดิสุยหยางตี้มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ของจีนในด้านความโหดร้ายทารุณ เนื่องจากจักรพรรดิสุยหยางตี้เก็บภาษีอย่างรีดนาทาเร้นจนทำให้ประชาชนมีความเคียดแค้นอย่างมาก ในที่สุดจักรพรรดิสุยหยางตี้ก็ถูกแขวนคอตายที่เมืองเจียงตู ราชวงศ์สุยก็เลยสูญสิ้นลง ราชวงศ์ถังปกครองประเทศนานถึง289ปีตั้งแต่ค.ศ.618ราชวงศ์ถังสถาปนาขึ้นจนถึงค.ศ.907ราชวงศ์ถังถูกนายจูเวินโค่นลง ราชวงศ์ถังสามารถแบ่งได้เป็นสองช่วงโดยแบ่งด้วยการก่อกบฎของนายอัน ลู่ซันและนายสื่อ ซือหมิง ช่วงแรกเป็นช่วงที่เจริญรุ่งเรือง ช่วงหลังเป็นช่วงที่เสื่อมโทรมลง จักรพรรดิถัง เกาจู่สถาปนาราชวงศ์ถัง นายหลี่ สื่อหมินลูกชายของถังเกาจู่ได้นำกองทัพรวบรวมจีนเป็นเอกภาพใช้เวลานานถึง10ปี หลังจากเหตการณ์ประตูสวนอู่เหมิน นายหลี่ สื่อหมินขึ้นครองราชย์จนเป็นจักรพรรดิถังไท่จุง ถังไท่จุงบริหารประเทศอย่างขยันหมั่นเพียรจนทำให้ราชวงศ์ถังมีความเจริญรุ่งเรืองที่ไม่เคยมีมาก่อน อยู่ในฐานะนำหน้าทั่วโลกในสมัยนั้นทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและด้านอื่นๆ ซึ่งเรียกว่าช่วงเจริญรุ่งเรืองยุคเจินกวัน หลังจากนั้น ในสมัยถังสวนจุงได้มีช่วงเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง เรียกว่าช่วงเจริญรุ่งเรืองยุคไคหยวน ประเทศมีความเข้มแข็งเกรียงไกร ประชาชนมีความมั่งคั่ง แต่หลังจากนั้นไม่นาน ในช่วงปลายของรัชกาลถังสวนจุง ได้เกิดกบฎที่ก่อขึ้นโดยนายอัน ลู่ซันและนายสื่อ ซือหมิง จากนี้เป็นต้นไป ราชวงศ์ถังก็เริ่มเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ ในสมัยราชวงศ์สุยและราชวงศ์ถัง ระบบทางการเมืองมีการพัฒนาไปไม่น้อยและมีส่งอิทธิพลต่อยุคหลังมาก เช่นระบบ3กระทรวง6ฝ่าย ระบบสอบจอหงวนและระบบภาษีเป็นต้น ในด้านการต่างประเทศ สุยและถังได้ใช้มาตรการที่ค่อนข้างเปิดประเทศ การแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมระหว่างประเทศมีบ่อยครั้ง ในด้านวรรณคดี บทกวีของราชวงศ์ถังมีผลงานอันยิ่งใหญ่ แต่ละช่วงล้วนมีกวีที่ยอดเยี่ยมเกิดขึ้น เช่นช่วงต้นของราชวงศ์ถังมีนายเฉิน จื่ออ๋าง ช่วงเจริญรุ่งเรืองของราชวงศ์ถังมีนายหลี่ไป๋และนายดู้ฝู่ ช่วงกลางของราชวงศ์ถังมีนายไป๋ จวีอี้และนายหยวนเจิ๋น ช่วงปลายของราชวงศ์ถังมีนายหลี่ ซังอิ่นและนายดู้มู่ ขบวนการส่งเสริมบทความสมัยโบราณที่ริเริ่มโดยนายหาน ยวี่และนายหิว จุงหยวนมีอิทธิพลต่อคนยุคหลังมาก ลายมือเขียนภู่กันของนายหยาน เจินชิง ภาพวาดของนายหยาน ลี่เบิ๋น นายอู่ เต้าจื่อ นายหลี่ ซือซุ่นและนายหวางเหวย ชุดระบำที่ชื่อหนีซันยวี่อีอู่ และศิลปะถ้ำหินต่างๆได้แพร่หลายจนถึงยุคปัจจุบัน ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิธีการพิมพ์และดินไฟซึ่งเป็นสองอย่างในสั่งประดิษฐ์อันยิ่งใหญ่สี่รายของจีนก็เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ช่วงหลังของราชวงศ์ถังมีความวุ่นวายในด้านการเมือง ได้เกิดการปะทะกันระหว่างพรรคหนิวและพรรคหลี่กับการเข้ากุมอำนาจของขุนนางขันที การลุกขึ้นต่อสู้ของชาวนาเกิดขึ้นไม่ขาดสาย ในที่สุด การลุกขึ้นสู้ที่นำโดยนายหวงเฉา นายจู เวินที่เคยเป็นลูกน้องของนายหวงเฉา กลับไปแต่ยอมจำนนต่อรัฐบาลราชวงศ์ถัง หลังจากนั้น ก็ฉวยโอกาสโค้นราชวงศ์ถังลง ประกาศตั้งเป็นจักรพรรดิเองโดยได้สถาปนาราชวงศ์เหลียงยุคหลังซึ่งเป็นราชวงศ์แรกของสมัยอู่ใต้หรือสมัย5ราชวงศ์ ราชวงศ์ซุ่ง(Song) ราชวงศ์ซุ่ง 中国国际广播电台 ปีค.ศ.950 พระเจ้าซุ่งไท่จู่ ชื่อเจ้า ควังยินได้ก่อการปฎิวัติที่หมู่บ้านเฉินเฉียว และได้สถาปนาราชวงศ์ซุ่งขึ้นสภาพแตกแยกของจีนที่เคยมีในสมัย5ราชวงศ์และ10ก๊กจึงด้สิ้นสุดลง ราชวงศ์ซุ่งปกครองประเทศนาน319ปีจนกระทั่งปีค.ศง1279 ราชวงศ์ซุ่งก็ถูกราชวงศ์หยวนโค่นอำนาจลง ราชวงศ์ซุ่งแบ่งเป็นสองช่วงได้แก่ซุ่งเหนือและซุ่งใต้ ในช่วงเวลาเดียวกันกับซุ่งเหนือ ชนชาติชี่ดันได้สถาปนาราชวงศ์เหลียว(ค.ศ.947-1125)ขึ้นที่ภาคเหนือของจีน ชนชาติตั๋งเซี่ยงได้สถาปนาราชวงศ์เซี่ย(ค.ศ.1038-1227)ที่ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ค.ศ.1115 ชนชาตินวี่เจินซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชนชาติแมนจูได้สถาปนาราชวงศ์จิน(ค.ศ.1115-1234)ที่ภาคเหนือของจีน ต่อมาค.ศ.1125 ราชวงศ์จินได้โค่นราชวงศ์เหลียวลง และรุกเข้าสู่เมืองหลวงของราชวงศ์ซุ่งในปี1127ได้จับจักรพรรดิ์ซุ่งฮุยจุงและจักรพรรดิซุ่งชินจุงไป ซุ่งเหนือจึงได้สิ้นอำนาจลง หลังจากนั้น จักรพรรดิซุ่งกัวจุงได้ประกาศขึ้นครองราชย์ที่เมืองซังชิวของมณฑลเหอหนาน แล้วย้ายเมืองหลวงไปกรุงหลินอัน(เมืองหางโจวในปัจจุบัน)และสถาปนาซุ่งใต้ขึ้น ปกครองได้เพียงแต่ภาคใต้ของจีนเท่านั้น จึงกล่าวได้ว่า ซุ่งเหนือเป็นช่วงที่มีอำนาจไปพร้อมๆกับราชวงศ์เหลียว ราชวงศ์เซี่ยและราชวงศ์จิน แต่ราชวงศ์ซุ่งใต้เป็นช่วงที่ปกครองเพียงแต่ภาคใต้ของจีนเพื่อแสวงหาความสงบสุขและค่อยๆเสื่อมโทรมลง หลังจากซุ่งเหนือรวมภาคเหนือของจีนเป็นเอกภาพแล้ว เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของจีนได้พัฒนาไปอย่างมาก การค้าระหว่างประเทศก็คึกคักมาก แม้การปฎิบัติตามนโยบายรายใหม่ของนายฟั่น จุ้งยันและการปฎิรูปของนายหวาง อันสื่อไม่ได้ทำให้ซุ่งเหนือมีการเจริญรุ่งเรืองเป็นระยะเวลายาวนานอย่างแท้จริงก็ตาม แต่ก็ได้แก้ไขความขัดแย้งทางสังคมไปบ้าง การลุขึ้นต่อสู้ของชาวนาที่นำโดยนายซุ่งเจียงและนายฟังล่าเพื่อต่อต้านการปกครองที่เสื่อมโทรมเน่าเฟะในสมัยจักรพรรดิซุ่งฮุยจุง หลังจากราชวงศ์จินได้โค่นอำนาจซุ่งเหนือลงแล้ว ซุ่งใต้ปกครองได้เพียงภาคใต้ของจีนเท่านั้นและไม่มีแผนการอันยิ่งใหญ่ที่จะปราบไปยังภาคเหนือของจีนเพื่อรวมจีนเป็นเอกภาพอีกครั้ง ในระยะเดียวกัน ชนชาติชี่ดันได้สถาปนาราชวงศ์เหลียวที่ภาคเหนือของจีน ชนชาติดั๋งเซี่ยงได้สถาปนาราชวงศ์ซีเซี่ยที่ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน การเกิดขึ้นของซุ่ง เหลียงและซีเซี่ยทำให้สถานการณ์มีสภาพเป็นดุลกำลัง3เส้า ปีค.ศ.1115 ชนชาตินวี่เจินได้สถาปนาราชวงศ์จินที่ภาคเหนือของจีน และค.ศ.1125 จินได้โค่นอำนาจราชวงศ์เหลียว และปี1127ได้รุกเข้าสู่กรุงไคเฟิงมืองหลวงของซุ่งเหนือ จับจักรพรรดิซุ่งฮุยจุงและซุ่งชินจุงไป ซุ่งเหนือจึงได้สิ้นอำนาจลง หลังจากนั้น จักรพรรดิซุ่งเกาจุงชื่อเจ้าโก้วครองราชย์ที่เมืองยิ่งเทียนฝู่(เมืองซังชิวในปัจจุบัน) แล้วคอยหนีไปถึงกรุงหลินอัน(เมืองหางโจวในปัจจุบัน) ปกครองได้เพียงแต่ภาคใต้ ในสายตาของชนชั้นปกครองเวลานั้น การต่อต้านราชวงศ์จินของจอมพลงักฮุยที่มีชื่อเสียงนั้นก็เพียงแค่เป็นการป้องกันประเทศตนเองเท่านั้น การละโมบอำนาจและบริหารประเทศอย่างผิดพลาดของนายเจี่ย สื้อเต้าในช่วงปลายของสมัยราชวงศ์ซุ่งใต้ได้เร่งให้ซุ่งใต้ก้าวสู่การพังทลายเร็วยิ่งขึ้น ในสมัยราชวงศ์ซุ่ง ผลงานในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีจำนวนมากมาย เข็มทิศ การพิมพ์หนังสือและดินปืนเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ยิ่งใหญ่สามประการที่ได้รับการพัฒนาและประยุกต์ใช้อย่างเต็มที่ในยุคนี้ ในจำนวนนี้ วิธีการพิมพ์โดยใช้ตัวเรียงพิมพ์ที่ประดิษฐ์คิดสร้างใหม่โดยนายบี้เซิงเกิดขึ้นก่อนยุโรปถึง400ปี นายซูซุ่งได้ผลิตเครื่องสังเกตปรากฏการณ์ดวงดาวและนาฬิกาทางดาราศาสตร์เครื่องแรกของโลก หนังสือเรื่องเมิ่งซีบี๋ถานของนายเสินคั่วมีฐานะอันสูงส่งในประวัติศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในด้านวัฒนธรรม จริยศาสตร์ได้รับความนิยมชมชอบ และได้มีนักจริยศาสตร์หลายคนเช่นนายจูซีและนายลู่ จิ่วยวนเป็นต้น ศาสนาเต๋า พุทธศาสนาตลอดจนศาสนาที่แพร่กระจายเข้าสู่จีนจากต่างประเทศก็แพร่หลายมาก หนังสือเรื่องประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ถังฉบับใหม่ที่เรียบเรียงโดยนายโอว หยางซิวในซุ่งเหนือได้สร้างผลงานอันยิ่งใหญ่ต่อการบันทึกประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ถัง ส่วนหนังสือเรื่องจีจื้อทุงเจี้ยนซึ่งเป็นหนังสือประวัติศาสตร์ทั่วไปที่เรียบเรียงตามลำดับปีโดยนายซือ หม่ากวางก็นับเป็นผลงานยอดเยี่ยมของหนังสือประวัติศาสตร์ของจีน ในด้านวรรณคดี ราชวงศ์ซุ่งมีนักประพันธ์วรรณกรรมปกิณกะที่มีชื่อเสียงหลายคนเช่นนายโอว หยางซิวและนายซูสื้อเป็นต้น บทกลอนซุ่งเป็นวรรณกรรมที่ยอดเยี่ยมที่สุดในช่วงราชวงศ์ซุ่ง มีกวีที่ดีเลิศหลายคนเช่นนายยั่นซู นายหลิวหย่ง นายโจว บังยั่น นางหลี่ ชิงเจ้าและนายซิน ชี่จี๋เป็นต้น ในสมัยราชวงศ์ซุ่งและราชวงศ์จิน ละครและงิ้วก็มีค่อนข้างแพร่หลาย ในด้านการวาดภาพ ผลงานที่มีชื่อเสียงค่อนข้างมากคือภาพวาดทัศนียภาพ ดอกไม้และนก ภาพวาดเรื่องชิงหมิงซั่งเหอถูของนายจัง จื่อร่อนเป็นผลงานอันยิ่งใหญ่ในด้านการวาดภาพของจีน ราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หยวน 中国国际广播电台 กุบไลข่านโค่นราชวงศ์ซ้องลง แล้วเปิดศักราชชาวมองโกลครองประเทศจีน ตั้งกรุงปักกิ่งเป็นเมืองหลวง (สมัยนั้นชื่อว่า เมืองต้าตู) ทรงตั้งความหวังจะเป็นกษัตริย์ที่ดี จึงปกครองอย่างสุขุมรอบคอบ เอาใจใส่ประชาชน จึงสามารถชนะใจชาวจีนได้ และเป็นฮ่องเต้มองโกลพระองค์เดียว ที่ชาวจีนยอมรับ (เดิมทีนั้น พวกมองโกลขึ้นชื่อลือชามากในเรื่องความโหด ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากวิถีชีวิตเดิม ที่อยู่ในทุ่งหญ้า ทะเลทราย แถมยังเร่ร่อนไปเรื่อยๆ) นอกจากนี้ กุบไลข่านยังพยายามขยายดินแดนไปกว้างไกลมาก ถึงกับยกทัพเรือจะไปตีญี่ปุ่น แต่เรือถูกมรสุมจึงไม่สำเร็จ กุบไลข่านสนใจทางอักษรศาสตร์และวรรณกรรมมาก จึงส่งเสริมบทประพันธ์ต่างๆ ปรากฏว่า บทงิ้วในสมัยกุบไลข่านดีมาก จนไม่มีบทงิ้วสมัยใดเทียบได้ การติดต่อกับต่างประเทศ ก็เป็นไปด้วยดี ไม่ว่าจะเป็นมาร์โคโปโล สมณทูตจากวาติกัน ก็ได้มาเยือนแดนจีนในยุคของกุบไลข่านนี่เอง พอสิ้นยุคของกุบไลข่าน ก็ไม่มีกษัตริย์มองโกลองค์ใดเด่นเหมือนพระองค์ จึงได้มีการพยายามโค่นล้มราชวงศ์หยวนอยู่ตลอดเวลา ฮ่องเต้องค์ต่อๆ มาของราชวงศ์หยวน ส่วนใหญ่ครองราชย์ไม่นานนัก และจะได้ครองราชย์ โดยการแย่งชิงอำนาจกัน เนื่องจากมองโกลไม่มีกฎแน่นอน เกี่ยวกับการสืบราชบัลลังก์ จวบจนฮ่องเต้องค์สุดท้าย หยวนซุ่นตี้ ซึ่งครองราชย์นานกว่าองค์ก่อนๆ ในยุคนี้ มีความวุ่นวายมาก เกิดภัยพิบัติขึ้นหลายที่ เชื้อพระวงศ์กับขุนนาง ก็ร่วมกันข่มเหงชาวบ้าน จึงมีกบฏเกิดขึ้นทั่วไป ครั้งนั้น มีชายผู้หนึ่งชื่อ จูหยวนจาง ตอนอายุได้ ๑๗ ปี ครอบครัวได้ตายหมดจากโรคระบาด จึงไปบวชที่วัดหวงเจี๋ย ต่อมา ไปเร่ร่อนต่ออีก ๓ ปี เนื่องจากเสบียงอาหารหมด แล้วจึงกลับมาที่วัดดังเดิม ครั้นชาวบ้านก่อกบฏขึ้น เขาก็เดินทางไปสมทบกับพวกกบฏ เริ่มนำทัพออกตีก๊กต่างๆ ในแผ่นดิน แล้วในที่สุดก็ได้ส่งแม่ทัพชื่อ สีต๋า ไปตีเมืองปักกิ่งได้สำเร็จ เป็นการโค่นล้มราชวงศ์หยวนลงได้ จากนั้น เขาก็ได้ตั้งราชวงศ์หมิงขึ้น ใช้เมืองนานกิงเป็นเมืองหลวง ราชวงศ์ชิง ราชวงศ์ชิง 中国国际广播电台 ราชวงศ์ชิงเริ่มตั้งแต่ปีค.ศ.1644 และสิ้นสุดลงในปี 1911 ตั้งแต่จักรพรรดิหนูเอ่อฮาชื่อจนถึงจักรพรรดิผู่อี๋ มีจักรพรรดิทั้งหมด 12 พระองค์ ซึ่งได้ปกครองแผ่นดินจีนทั้งหมด 268 ปี ดินแดนของจีนในสมัยนั้นกว้างใหญ่กว่าของปัจจุบัน เนื้อที่ทั่วประเทศจีนมีมากกว่า 12 ล้านกว่าตารางกิโลเมตร เมื่อค.ศ.1616 หนูเอ่อฮาชื่อ หัวหน้าชนเผ่าแมนจูได้สร้างประเทศจินยุคหลัง จนถึงปี 1636 หวงไท่จี๋ โอรสหนูเอ่อฮาชื่อเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นชิง ปี 1644 นายหลี่จื้อเฉิง แม่ทัพชาวนาได้ยกทัพเข้าตีกรุงปักกิ่ง และโคนการปกครองของราชวงศ์หมิงลง จักรพรรดิฉงเจิน กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์หมิงผูกคอตายที่เชิงเขาจิ่งซัน ซึ่งอยู่ติดกับพระราชวังโบราณ ทหารราชวงศ์ชิงได้ฉวยโอกาสเข้าโจมตีทหารชาวนา และประสบชัยชนะในที่สุด จากนั้นจึงย้ายเมืองหลวงจากภาคอีสานของจีนมาอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ต่อมา ราชสำนักชิงค่อยๆปราบปรามกบฏชาวนาในท้องที่ต่างๆของจีน และอิทธิพลหลงเหลือของราชวงศ์หมิงที่คิดจะฟื้นฟูหมิงทางภาคใต้ของจีน จนกระทั่งได้ปกครองทั่วทั้งประเทศจีนในที่สุด เพื่อทำให้ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นต่างๆผ่อนคลายลง ในระยะต้นๆ ราชสำนักชิงได้ดำเนินนโยบายส่งเสริมการทำไร่ไถนา ขยายพื้นที่เพาะปลูก และลดหรือยกเลิกภาษีอากรของชาวไร่ชาวนาตามสมควร ทำให้สังคมจีนในสมัยนั้นพัฒนาก้าวหน้า กลางศตวรรษที่ 18 เศรษฐกิจสังคมศักดินายุคชิงได้พัฒนามากสู่ระดับสูงสุด ได้รับสมญาว่าเป็นสมัยที่เจริญรุ่งเรืองคังยงเฉียน ระบบการปกครองแบบรวมอำนาจที่ศูนย์กลางมีความสมบูรณ์และรอบด้านมากยิ่งขึ้น ประเทศจีนมีความเข้มแข็งเกรียงไกร สังคมสงบเรียบร้อย ถึงปลายศตวรรษที่ 18 ประชากรจีนมีจำนวนถึง 3 ร้อยล้านคน ปี 1661 แม่ทัพเจิ้งเฉิงกงได้นำกองเรือรบข้ามช่องแคบไต้หวันไปสู่เกาะไต้หวัน พิชิตอาณานิคมชาวเนเธอร์แลนด์ที่ยึดครองไต้หวันนาน 38 ปี ต้นปี 1662 ทหารเนเธอร์แลนด์ยอมจำนนต่อราชวงศ์ชิง ไต้หวันได้กลับคืนสู่อ้อมกอดของแผ่นดินแม่ ปลายศตวรรษที่ 16 รัสเซียในสมัยพระเจ้าซาร์แผ่ขยายอาณาจักรมาทางตะวันออก ในช่วงที่ทหารแมนจูบุกลงใต้ ประเทศจีนเกิดความปั่นป่วน รัสเซียได้ฉวยโอกาสยึดครองเขตหยักซา เขตหนีปู้ฉู่และเขตพรมแดนอื่นๆของจีน ราชสำนักชิงได้ประท้วงและเรียกร้องให้ทหารรุกรานชาวรัสเซียถอนตัวออกจากดินแดนของจีน ค.ศ.1685 ถึง 1686 จักรพรรดิคังซีได้ยกทัพไปโจมตีทหารรัสเซียที่ประจำเขตหยักซา บังคับให้รัสเซียยอมเข้าร่วมการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาปักปันเขตแดนภาคตะวันออกของจีน ปี 1689 ผู้แทนจีนและรัสเซียได้จัดการเจรจาที่เขตหนีปู้ฉู่ ลงนามสนธิสัญญาหนีปู้ฉู่อันเป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการปักปันเขตแดนฉบับแรกของจีนกับรัสเซีย กลางรัชกาลเฉียนหลง ราชสำนักชิงใช้กำลังทหารปราบปรามอิทธิพลแบ่งแยกประเทศของเผ่าจู่นก๋าเอ่อและกบฎของชนชาติเหวยจู๋ ทำให้เขตซินเกียงสงบเรียบร้อยลง และได้ดำเนินนโยบายและใช้มาตรการต่างๆ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการคมนาคมของเขตชายแดนของจีน สมัยราชวงศ์ชิง จีนได้ประสบผลสำเร็จอันใหญ่หลวงในด้านวัฒนธรรม ปรากฏนักคิดผู้ประเสริฐหลายคน ขณะเดียวกัน ก็มีนักเขียนและศิลปินที่มีชื่อเสียงโด่งดังในประวัติศาสตร์จีน อาทิเช่นนายเฉาเส่ฉิน ผู้ประพันธ์ความฝันในหอแดง ในด้านการวิจัยประวัติศาสตร์ ราชวงศ์ชิงก็มีผลงานสะสมจำนวนมาก ราชสำนักได้จัดการให้นักโบราณคดีหลายคนร่วมกันประพันธ์หนังสือสื้อคู่ฉวนซูอันเป็นหนังสือสารานุกรมชุดใหญ่ที่สุดในสมัยโบราณของจีน จีนสมัยราชวงศ์ชิงยังได้ประสบผลสำเร็จในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจำนวนมาก โดยเฉพาะด้านสถาปัตยกรรมการก่อสร้าง สำหรับเศรษฐกิจในสมัยนั้น จีนในราชวงศ์ชิงยังคงเป็นประเทศเกษตรกรรม ทางวัฒนธรรมและความคิด ราชวงศ์ชิงยังคมส่งเสริมหลักการและคำสอนต่างๆของสังคมศักดินาที่สืบทอดกันมา เพื่อพิทักษ์การปกครองของจักรพรรดิ ราชวงศ์ชิงได้จำคุกบุคคลไม่น้อยในสังคมเพราะเขียบบทประพันธ์ที่เสียดสีหรือแสดงความคิดเห็นคัดค้านต่อต้านราชวงศ์ชิง หลังช่วงกลางของราชวงศ์ชิง ความขัดแย้งทางสังคมต่างๆนับวันรุนแรงยิ่งขึ้นและปรากฏให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น เกิดการกบฎต่อต้านราชวงศ์ชิงไม่ขาดสาย การเกิดกบฎไป๋เหลียนเจี่ยวทำให้ความเจริญรุ่งเรืองของราชวงศ์ชิงสิ้นสุดลง สงครามฝิ่นที่เกิดขึ้นในค.ศ.1840 และการรุกรานของจักวรรดินิยมต่างประเทศ บังคับให้ราชสำนักชิงต้องลงนามสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมต่างๆกับจักรวรรดินิยมต่างชาติที่รุกรานจีน ปักปันดินแดนและชดใช้เงินให้กับนักรุกราน เปิดเมืองท่าให้กับชาวต่างชาติ ทำให้สังคมจีนค่อยๆกลายเป็นสังคมกึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินา ปลายราชวงศ์ชิง การเมืองทุจริตเน่าเฟะ กระแสความคิดสังคมไม่ได้พัฒนา ประชาชนจีนที่ติดยาฝิ่นร่างกายอ่อนแอขาดความมั่นใจตนเอง สังคมศักดินาจีนค่อยๆเข้าสู่ระยะเสื่อมโทรม ประชาชนจีนมีความเดือดร้อนทุกข์ยาก จึงก่อการเคลื่อนไหวต่อต้านจักรวรรดินิยมและศักดินานิยมต่างๆ เช่น เคลื่อนไหวไท่ผิงเทียนกั๋ว ซึ่งเป็นกบฎชาวนาที่มีอิทธิพลใหญ่หลวงที่โจมตีการปกครองของราชวงศ์ชินอย่างร้ายแรง เพื่อช่วยประเทศชาติและกู้ชะตากรรมของตน ภายในชนชั้นปกครองราชวงศ์ชิงได้ดำเนินการปฏิรูปบ้าง เช่น เคลื่อนไหวหยังอู้ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ราชสำนักชิงส่งนักศึกษาไปเรียนต่อที่ต่างประเทศและศึกษาประสบการณ์จากประเทศฝรั่งที่ทันสมัยแล้ว และรัฐประหารอู้ซี ซึ่งมุ่งปฏิรูประบอบการปกครองแบบศักดินาของจีนและต่อต้านการปกครองประเทศแบบเผด็จขการของชนชั้นเจ้านายที่ดิน นักปฏิรูปคิดที่จะสร้างฟื้นฟูความเจริญรุ่งเรื่องและมั่งคั่งให้กับประเทศจีนจากบนสู่ล่าง แต่ต้องประสบความล้มเหลวในที่สุด บุคคลที่มีอุดมคติกว้างไกลและมีวิสัยทัศน์และวีรบุรุษที่ยอมเสียชีวิตเพื่อประเทศชาติจำนวนนับไม่ถ้วน ได้ต่อสู้รุ่นแล้วรุ่นเล่า กระแสชาตินิยมของจีนได้พัฒนาไปสู่จุดสูงสุดในยุคใกล้อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ปีค.ศ.1911 การปฏิวัติซินไฮ่ที่นำโดยดร.ซุนยัดเซ็นได้โค่นล้มการปกครองของราชวงศ์ชิง และสิ้นสุดสังคัมศักดินาจีนซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,000 ปี ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ประวัติศาสตร์จีนได้เข้าสู่ยุคใหม่
18 มีนาคม 2550 19:37 น. - comment id 95407
เห็นเรื่อง "จีน" จึงเข้ามาอ่านเป็นเรื่องราวที่เป็นความรู้ดีค่ะ แต่เนื้อหายาวไปนิดสำหรับการที่จะให้ความรู้ เท่าที่อ่านคร่าว ๆ มีคำบางคำผิดไปค่ะท่านพี่ หนีห่าว จินเทียนหนี่เหินห่าวมะ
18 มีนาคม 2550 20:57 น. - comment id 95408
ไม่เป็นไร อ่านกันคร่าวๆก่อนวันหลังจะมีพิสดารมากกว่านี้และแน่นอนยาวกว่านี้แน่