ประเพณีรับน้องใหม่ ประเพณีรับน้องใหม่เป็นประเพณีที่นักศึกษาในสาถบันอุดมศึกษาหลายแห่งถือปฏิบัติมาเป็นเวลาช้านาน วิธีการต้อนรับน้องใหม่ของนิสิตนักศึกษามีหลายวิธี นักศึกษาในมหาวิทยาลัยหลายแห่งทำการต้อนรับน้องใหม่หรือเพื่อนใหม่โดยการช่วยเหลือและจัดการต้อนรับอย่างอบอุ่น เพื่อให้น้องใหม่เกิดความประทับใจ ซึ่งประโยชน์ในการปรับตัวของนิสิต นักศึกษาใหม่อย่างมาก นิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งทำการต้อนรับน้องใหม่โดยการบังคับ ขู่เข็ญด้วยวิธีต่างๆเป็นเวลาหลายสัปดาห์ เพื่อให้น้องใหม่มีความสามัคคี แล้วจัดงานต้อนรับน้องใหม่อย่างอบอุ่นในที่สุด นิสิต นักศึกษา ที่มีความเชื่อในการบังคับขู่เข็ญน้องใหม่นั้นได้มีความเชื่อในวิธีการต้อนรับน้องใหม่ตามระบบโซตัส (SOTUS) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ 5 ประการ ตามตัวอักษร 5 ตัว คือ 1. S หมายถึง Seniority คือ เพื่อให้นิสิต นักศึกษารุ่นน้องเคารพอาจารย์ และนิสิต นักศึกษารุ่นพี่ 2. O หมายถึง Order คือ เพื่อให้นิสิตนักศึกษารุ่นน้องเชื่อฟังคำสั่งของอาจารย์ และรุ่นพี่ 3. T หมายถึง Tradition คือ เพื่อให้มีการรักษาเฉพาะประเพณีที่ดีงาม และ เหมาะสมไว้ 4. U หมายถึง Unity คือ เพื่อให้นิสิต นักศึกษา รักษาความสามัคคีระหว่างนิสิตนักศึกษาในสถาบัน 5. S หมายถึง Spirit คือ เพื่อให้นิสิตนักศึกษามีจิตใจที่ดีงาม มีคุณธรรม และจริยธรรม เสียสละเพื่อส่วนรวม ประวัติของประเพณีโซตัส ระบบโซตัสได้เกิดขึ้นในโรงเรียนเตรียมทหาร ในสหรัฐอเมริกามาเป็นเวลาช้านาน ในช่วงปี ค.ศ. 1850-1950 ระบบโซตัสได้แพร่เข้าไปในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยต่างๆในประเทศสหรัฐอเมริกา วิธิการบังคับขู่เข็ญ นิสิต นักศึกษาใหม่หรือน้องใหม่ด้ยวิธีการต่างๆของนิสิต นักศึกษารุ่นพี่ ทำให้นักศึกษาใหม่ได้เสียชีวิตไปหลายคน อย่างไรก็ตามระบบโซตัสทำให้นิสิต นักศึกษารุ่นพี่สามารถสั่งให้นิสิตนักศึกษารุ่นน้องทำในสิ่งต่างๆได้ดีพอสมควร จึงทำให้เกิดความพร้อมเพรียงในการทำกิจกรรมต่างๆของนักศึกษา นักศึกษาจึงได้รักษาประเพณีโซตัสมาเป็นเวลาช้านาน (BUCHANAN, 1982) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หลายประเทศในทวีปยุโรปได้รับความเสียหายจากสงครามมาก ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งได้รับผลกระทบ่จากสงครามน้อย จึงเป็นประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรืองและมีความก้าวหน้าในวิชาการด้านต่างๆ จึงมีนิสิต นักศึกษาตต่างชาติไปศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวนมาก นิสิต นักศึกษาต่างชาติได้รับระบบโซตัสไปเผยแพร่ในประเทศของตน ระบบโซตัสจึงได้แพร่กระจายไปยังประเทศฟิลิปปินส์ และอีกหลายประเทศ สำหรับประเทศไทยนั้น วิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่หรือมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในปัจจุบัน ซึ่งอาจารยืในยุคแรกส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ University of the Philippines วิทยาเขต ลอสบานยอส Los Banos อาจารย์ได้นำระบบโซตัสมาถ่ายทอดให้นักศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2486 ก็ได้รับอิทธิพลระบบโซตัสจากหลายทางด้วยกัน อาจารย์ในยุคบุกเบิกส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาจากประเทศฟิลิปปินส์ปละประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น ที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐออนรีกอน (Oregon State University) และมหาวิทยาลัยคอลแนลล์ (Cornell University ) ซึ่งมีส่วนอย่างมากที่ทำให้ระบบโซตัสขึ้น และในช่วงแรกนั้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าศซึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ด้วยระบบโซตัสจึงทำให้เกิดที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี พ.ศ. 2496 สำหรับนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็มีระบบโซตัสมาเป็นเวลาช้านาน ในปัจจุบันระบบโซตัสก็เป็นที่นิยมในหมู่นักศึกษาในมหาวิทยาลัยและมาหวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศไทย (สำเนาว์ และบุญเรียง, 2531) วิธีการต้อนรับน้องใหม่แบบโซตัส วิธีการประชมุซ้อมเพลงเชียร์และการต้อนรับน้องใหม่ของนิสิตนักศึกษาที่ยึดถือระบบโซตัสนั้น มีความแตกต่างกันตามยุคสมัยและสถาบันการศึกษา ในแต่ละสถาบันก็มีกลุ่มนักศึกษาหลายกลุ่ม เช่น องค์การนิสิตนักศึกษา คณะ สาขาวิชาเอก หอพัก สำหรับมหาวิทยาลัยในต่างจังหวัดก็มีกลุ่มนักศึกษาที่สอบเข้าในระบบโควต้าและกลุ่มที่สอบเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยโดยทบวงมหาวิทยาลัยเป็นผู้จัดสอบ นักศึกษากลุ่มต่างๆเปล่านี้ก็มีวิธีการต้อนรับน้องใหม่ที่แตกต่างกัน การประชุมเชียร์หรือากรประชุมเพื่อซ้อมเพลงเชียร์ คือการที่นิสิตน้กศึกษารุ่นพี่บังคับให้นักศึกษาปีที่ 1 เข้าประชุมเพื่อฝึกซ้อมเพลงเชียร์ของคณะ ของมหาวิทยาลัย การประชุมเชียร์โดยทั่วไปเริ่มเวลาประมาณ 18.00 น. มีการเข้าแถวตรวจสอบรายชื่อนิสิต นักศึกษาใหม่และนักศึกฏษารุ่นพี่ก็เริ่มสอนเพลงให้กับรุ่นน้อง ระหว่างสอนเพลงเชียร์ นิสิตนักศึกษารุ่นพี่ จะอบรมรุ่นน้อง บางครั้งก็ใช้นิสิตนักศึกษารุ่นพี่หลายคนพูดอบรมตักเตือนรุ่นน้อง ด้วยเสียงอันดังและข่มขู่ที่เรียกกันว่าการว๊าก นักศึกษาใหม่ถูกบังคับให้นั่งตัวตรง หน้าตรงไม่ให้มองรุ่นพี่ บางครั้งนิสิตนักศึกษารุ่นพี่ก็พาน้องใหม่ทั้งหมดไปวิ่ง และสั่งทำโทษด้วยวิธีต่างๆ เช่น ยึดพื้น สก็อตย้ำ นอนกลิ้งบนพื้น และการพารุ่นน้องไปลุยโคลน เป็นต้น การประชุมเชียร์ของคณะกรรมการประชุมเชียร์กลางแต่ละครั้งจะเริ่มเมื่อ 23.00-24.00 น. ส่วนจำนวนครั้งของการประชุมเชียร์แต่ละสัปดาห์นั้นก็แตกต่างกันไปแต่ละสถาบัน ซึ่งอายเป็น 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ หและมีการประชุมเชียร์อยู่ประมาณ 4-6 สัปดาห์ ก็มีการต้อนรับน้องใหม่ซึ่งถือว่าการประชุมเชียร์สิ้นสุดลง การต้อนรับน้องใหม่ของแต่ละสถาบันก็มีความแตกต่างกันมาก การต้อนรับน้องใหม่ของสถาบันที่มีหอพัก แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การต้อนและการรับ การต้อนเริ่มขึ้นตอนเช้ามืดวันเสาร์ เวลา 02.00 น. ด้วยการปลุกน้องใหม่ที่หอหรือที่เรียกว่า การปล้นหอ โดยนักศึกษารุ่นพี่ปลุกน้องใหม่ด้วยเสียงอันดัง เช่น การจุดประทัด การตะโกนด้วยเสียงอันดัง และการเคาะสิ่งของที่ทำให้เกิดเสียงดัง เป็นต้น เมื่อน้องใหม่ตื่นขึ้นทั้งหมดแล้ว บางแห่งก็ให้คลานอยู่ภายในหอพัก บางแห่งก็พาน้องใหม่ออกนอกหอพัก ซึ่งมีกิจกรรมต่างๆภาคกลางวันเริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 12.00 น. โดยเริ่มขบวนน้องใหม่ซึ่งเป็นวิธีการที่คล้ายกันทังสถาบันที่มีหอพักและสถาบันที่ไม่มีหอพัก ในช่วงนี้ไม่มีการว๊าก แต่เป็นการเล่นสนุกสนานระหว่างรุ่นพี่-รุ่นน้อง รุ่นพี่ให้รุ่นน้องลอดซุ้มต่างๆ รุ่นพี่ใช้สีทารุ่นน้อง และสั่งให้นองแสดงออกด้วยวิธีการต่างๆ รับประทานของที่แปลกๆ กรรับเรื่อมตอนคืนวันเสาร์ โดยการเลี้ยงอาหารมื้อเย็นแก่นน้องใหม่ มีการละเล่น การแสดงดนตรีและมีดนตรี เพื่อสร้างความเพลิดเพลิน และความประทับใจให้แก่น้องใหม่ รุ่นพี่ให้น้องใหม่ร่วมสนุกกัน และบางสถาบันก็ให้เต้นรำร่วมกันอย่างเต็มที่ จรกระทั่งเวลา 24.00 น. หรรือ อาจถึง 02.00 น. จึงเลิกงานก็เป็นอันเสร็จงานรับน้องใหม่ หลักของโซตัสเป็นสิ่งที่ดีงามที่สอนให้นิสิตนักศึกายึดมั่นในประเพณีอันดีงาม นับถือผู้อาวุโส มีระเบียบวินัย มีความสามัคคี และมีคุณธรรมจริยธรรม ซี่งสอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย การนำเอาระบบโซตัสมาใช้ในระยะแรกคือ เมื่อประมาณ 30-40 ปีมาแล้ว ค่อนข้างจะได้ผลและบรรลุตามวันถุประสงค์ทั้ง 5 ประการของระบบโซตัสพอสมควร ทั้งนี้เพราะในสมัยก่อนนิสิตนักศึกษามี่จำนวนน้อย การดูแลและควบคุมกันระหว่างรุ่นพี่ รุ่นน้องจึงเป็นไปอย่างทั่วถึง การประชุมเพื่อซ้อมเพลงเชียร์และการต้อนรับน้องใหม่ก็ทำโดยองค์การนิสิต นักศึกษาเท่านั้น จึงเกิดความสามัคคีได้ดี และน้องใหม่ก็มีเวลาพักผ่อนและสามารถศึกษาเล่าเรียนตามปกติ เมื่อเวลาได้ล่วงเลยมา 30-40 ปี หลายสิ่งได้เปลี่ยนแปลงไป คนเราก็เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน นอกจากจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายแล้ว นิสิตนักศึกษาปัจจุบันมีความแตกต่างกับนิสิตนักศึกษาสมัยก่อนเป็นอย่างมาก ในเรื่องความเชื่อ ความคิด และการเคารพผู้ใหญ่ เป็นต้น นอกจากนั้น วิธีการต้อนรับน้องใหม่ในปัจจุบันก็แตกต่างกับวิธีการต้อนรับน้องใหม่ในสมัยก่อนมาก ปัญหาของการต้อนรับน้องใหม่ในปัจจุบันมีมากมายดังนี้ 1. ปัญหาเกี่ยวกับนักศึกษารุ่นพี่ 1.1 นิสิตนักศึกษารุ่นพี่ไม่ยึดมั่นในหลักของโซตัส จึงไม่ได้นำหลักการของโซตัสมาใช้ 1.2 นิสิตนักศึกษารุ่นพี่ส่วนใหญ่ไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตัวเอง จึงเกิดการขัดแย้งในทีมงาน 1.3 นิสิตนักศึกษารุ่นพี่ไมเข้าใจวัตถุประสงค์ มาตรการและวิธีการจัดกิจกรรมการต้อนรับน้องใหม่และการประชุมเพื่อซ้อมเพลงที่แท้จริง 1.4 นิสิตนักศึกษาส่วนมามีความเชื่อที่ผิด คิดวิธีการบังคับขู่เข็นและตะคอก จะป็นทำให้น้องใหม่เชื่อฟังรุ่นพี่และก่อให้เกิดความรัก ความผูกพันธ์เห็นอกเห็นใจกันในหมู่น้องใหม่ 1.5 นิสิตนักศึกษารุ่นพี่ไม่คำนึงถึงคามแตกต่างของนักศึกษารุ่นน้อง เช่นด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต 1.6 นิสิตนักศึกษารุ่นพี่จำนวนมากไม่ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่รุ่นน้อง คือ มีความประพฤติที่ไม่เหมาะสม ไม่มีระเบียบวินัย จึงเป็นการยากที่จะสอนให้รุ่นน้องเชื่อฟังคำสั่งรุ่นพี่ 2. ปัญหาเกี่ยวกับวิธีการประชุมเชียร์เพื่อซ้อมเพลงเชียร์และการต้อนรับน้องใหม่ 2.1 การประชุมเชียร์โดยการบังคับให้น้องใหม่ ฝึกซ้อมเพลงเชียร์เป็นเวลาครั้งละหลายชั่วโมงเป็นเวลา 4-6 สัปดาห์ ทำให้นักศึกษาไม่มีเวลาศึกษาเล่าเรียนอย่างเพียงพอ และ ผลการเรียนตกต่ำ 2.2 การบังคับให้นิสิตนักศึกษาใหม่วิ่งโดยพร้อมเพรียงกันเป็นหมู่ ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับร่างกาย เช่น การเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสี่ยงต่อการเสียชีวิตอันเนื่องมาจากโรคหัวใจ และโรคตับอักเสบ 2.3 การว๊าก การลงโทษด้วยวิธีต่างๆ และการปล้นหอทำให้นิสิตนักศึกษาใมห่มีปัญหาด้านสุขภาพจิร โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น นักศึกาใหม่บางคนทนต่อสภาพการประชุมเชียร์ด้วยวิธีดังกล่าวไม่ไหว ก็ต้องลาออกจากการเป็นนิสิตนักศึกษาต่อไป 2.4 การประชุมเชียร์และการต้อนรับน้องใหม่ด้วยวิธีการรุนแรงทำให้นักศึกษาบางกลุ่มไม่เห็นด้วยและเกิดการต่อต้านด้วยวิธีการต่างๆทำให้เกิดความแตกแยก 3. ปัญหาเกี่วกับผู้บริหารและอาจารย์ 3.1 มีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้บริหารตามวาระบ่อยมาก ผู้บริหารใหม่มักไม่เข้าใจปัญหาการประชุมเพื่อซ้อมเพลงเชียร์และการต้อนรับน้องใหม่ 3.2 ผู้บริหารบางคนไม่ให้ความสำคัญ จึงไม่ให้การสนับสนุนกิจกรรม การประชุมเพื่อซ้อมเพลงเชียร์และการต้อนรับน้องใหม่ 3.3 อาจารย์โดยทั่วไปไม่เห็นความสำคัญ ไม่สนใจและไม่ให้การสนับสนุนกิจกรรมการประชุมทเพื่อซ้อมเพลงเชียร์และการต้อนรับน้องใหม่ 4. ปัญหาเกี่ยวกับงบประมาณ 4.1 องค์การนิสิตนักศึกาบางสถาบันขาดงบประมาณในการจัดกิจกรรมการต้อนรับน้องใหม่ 4.2 องค์การนิสิตนักศึกษาบางสถาบันใช้งบประมาณอย่างฟุ่มเฟือยจึงทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากมาย
18 มีนาคม 2548 12:04 น. - comment id 83604
ผ่านการรับน้องมาแล้วค่ะ อาจจะมีอึดอัดบ้าง เวลาต้องเข้าเชียร์ แต่สุดท้ายก็รู้สึกประทับใจ กับทุกสิ่งที่รุ่นพี่ได้ทำให้ แม้จะผ่านมาแล้ว...แต่ก็ยังไม่เคยลืมค่ะ และก็ดีใจที่ได้เรียนในสิ่งที่ตัวเองชอบ เป็นประสบการณ์ที่ดีมากๆค่ะ
1 กุมภาพันธ์ 2554 18:08 น. - comment id 122016
ผ่านมาแล้ว สดๆร้อนๆ ตอนนี้กำลังเข้มข้นในการหาข้อมูลเชียร์