ศูนย์กลาง รวมใจ ชาวบางคู้
สุชาดา โมรา
วัดเป็นที่สืบทอดทางศาสนา เป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนสำหรับทำกิจกรรมต่าง ๆ และเป็นที่พึ่งทางจิตใจเพื่อทำให้จิตใจสงบ เป็นที่สำหรับศึกษาหาความรู้ เป็นสถานที่เคารพสักการะบูชาของชาวบ้าน และเป็นศูนย์กลางที่รวบรวมความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของชาวบ้าน ซึ่งมีวันสำคัญเกี่ยวข้องกับศาสนา
วัดเป็นศูนย์รวมของจิตใจชาวพุทธ เป็นที่พึ่งทางจิตใจและทางปัญญา ทำให้ชาวพุทธไม่ทำบาป ไม่ประพฤติในสิ่งที่ไม่ดี ดังนั้น ผู้คนจึงไม่กล้าที่จะทำบาป และใช้ชีวิตอย่างสุภาพชนที่ไม่มีการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันของชาวบ้านบางคู้ จึงทำให้หมู่บ้านมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นเหตุมาจากการมีธรรมะในจิตใจ มีวัดเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงความคิดและชาวบ้านบางคู้
วัดปากคลอง เป็นวัดที่มีความสำคัญวัดหนึ่ง มีการพัฒนาที่ยาวนานและมีการพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ซึ่งทางวัดได้รวบรวมสิ่งที่เป็นองค์ความรู้ให้ประชาชนได้ศึกษาทำให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับศาสนาได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นยังเป็นการรวมตัวของชาวบ้านหมู่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น หมู่ 11 12 13 14 และ 15 เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล และช่วยเหลืองานทางวัดมีการปลูกต้นไม้ต่าง ๆ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางระบบนิเวศวิทยา เช่น มีการปลูกต้นไม้ การไม่ให้จับสัตว์น้ำ เป็นต้น
วัดปากคลอง ตั้งอยู่ ณ ตำบลบางคู้ เป็นวัดที่เก่าแก่มีการก่อตั้งมาเป็นเวลายาวนานกว่า 100 ปี คาดว่าราว ๆ ปี พ.ศ.2300 กว่า ๆ แต่ไม่สามารถระบุได้ว่ากว่าเท่าไรเพราะไม่มีการบันทึกเป็นรายลักษณ์อักษร วัดปากคลองนั้นเป็นวัดที่มาปลูกสร้างที่ปากคลองบางคู้ จึงมีชื่อว่า วัดปากคลอง
วัดแห่งนี้มีประวัติค่อนข้างเก่าแก่ เจ้าอาวาทที่เคยมีมานั้นประมาณ 7 รูป แต่ไม่สามารถระบุได้ว่ามีใครบ้างเพราะไม่ได้บันทึกไว้ แต่เจ้าอาวาสองค์ก่อน คือ หลวงพ่อมาก เกิดเมื่อ พ.ศ.2440 ท่านเป็นเจ้าคณะอำเภอซึ่งได้ก่อสร้าง ทะนุบำรุง บูรณะ ปฏิสังขรวัด สร้างโบสถ์ สร้างศาลา เพื่อให้พุทธศาสนิกชนมาใช้สถานที่ประกอบพิธีอย่างสะดวก และเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน คือ พระครูสังวรวิหารคุณ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาทเมื่อ พ.ศ.2524 ท่านเป็นเจ้าคณะตำบล ได้สร้าง ต่อเติมวัดจนมีความเจริญ ท่านได้บูรณะโบสถ์ ซึ่งมีอายุกว่า 100 ปี ซ่อมแซมศาลา สร้างซุ้มบันได ซ่อมแซมจิตรกรรมฝาผนัง สร้างหอสมุด สร้างศาลาสำหรับอ่านข่าวสารต่าง ๆ หอกระจายข่าว สร้างและต่อเติมเมรุ ปลูกต้นไม้และทำสวนสมุนไพร ย้ายหน้าวัด
ศาสนสถานที่สำคัญ
1. โบสถ์ มีอายุกว่า 100 ปี
2. วัด มีอายุกว่า 100 ปีมาแล้ว ประมาณ พ.ศ.2300 กว่า ๆ แต่ไม่สามารถระบุได้ว่ากว่าเท่าไรเพราะไม่มีการบันทึกเป็นรายลักษณ์อักษร
3. ศาลา ทำด้วยไม่สักทั้ง หลังสร้างเมื่อ พ.ศ.2470
ความเชื่อทางด้านศาสนา
1. เรื่องนรก สวรรค์
2. การเกิด การตาย รวมทั้งการเวียนว่ายตายเกิด
3. บาป บุญ
ชาวบ้านที่นี่มีประเพณีที่ดีงามร่วมกับวัด มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย มีการถือศีลในวันเข้าพรรษา และทำบุญทุก ๆ วัน มีการซื้อทรายเข้าวัดเพื่อให้วัดดำเนินการก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่วัดและสังคมชาวพุทธอีกด้วย เช่น การซ่อมแซมวัดในจุดต่าง ๆ เป็นต้น
ประเพณีที่พบ
- การทำบุญ-ตักบาตร สักการะบูชาพระ ฟังธรรม
- หล่อเทียนพรรษา
- เวียนเทียนในวันสำคัญทางศาสนา
- มีงานประจำปีของวัด คือเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นเดือน 6 วันออกพรรษา จะมีการนมัสการหลวงพ่อ และมีการแสดงลิเก
- รดน้ำพระในวันสงกรานต์ และรดน้ำผู้ใหญ่ ่
- ยืมสถานที่จัดงานเลี้ยงคือ งานบวช
- ฌาปนกิจ
ลักษณะเด่นของวัดปากคลองบางคู้
1. เป็นที่สำหรับเรียนรู้ เพราะมีคติสอนใจต่าง ๆ และเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาอยู่บนจิตรกรรมฝาผนังซึ่งบางภาพได้เลือนหายไปมากนัก แต่ได้มีการทะนุบำรุง ไม่ให้ภาพอื่น ๆ เลือนหายไปโดยการใส่กระจก ดังนี้
๏ ปัญญาย่อมเกิด เพราะความประกอบ ๚
๏ นันทยักษ์ธรณีสูบด้วยโทษประหารชีวิตพระสารีบุตตเถรเจ้า ๚
๏ ตักน้ำ รดหัวตอ ๚
๏ จับปลา สองมือ ๚
๏ สาวไส้ ให้กากิน ๚
๏ หักด้ำพร้า ด้วยหัวเข่า ๚
๏ รักดีปรงจิตร์ คิดหามจั่ว ๚
๏ ถ้ารักชั่วจำเปนต้องหามเสา ๚
๏ ฆ่าช้างทั้งตัว เอาใบบัวเข้าปิด ๚
ฯลฯ.
2. เป็นแหล่งการอนุรักษ์
1) สวนสมุนไพรได้แก่ ดีปลี เสลดพังพอน สมอไทย สมอพิเภก กานพลู ตลิงปลิง ชะเอม ส้มป่อย ส้มซ่า มะเกือ สัตตบรรณ ฟักข้าว มะดัน อินทนิน มะขามป้อม มะกา เพกา กะไดลิง เจ้าชู้ หญ้าแพรก กระชายดำ คูน คนทา หูกวาง
2) ต้นไม้หายากได้แก่ต้นยาง ต้นไข่เน่า ต้นทองกวาว ต้นจัน เข็มป่า ( ดอกสีขาว ) แปรงล้างขวด ต้นจิก พิกุล ไทร ตะแบก สาระ ประดู่ กุ่ม ลำเจียก แมงสาบ ชำมะเลียงป่า ชำมะเลียงบ้าน ไม้จามจุลี/ก้ามปู
3) ต้นไม้ในวรรณคดีและไม้หอม : เค้าแมว/นมแมว เฟื่องฟ้า สายหยุด ยี่สุ่น ผีเสื้อ ปีบ ชงโค ชบา สร้อยทอง พวงชมพู พวงแสด อังกาบ ยี่หุบ กาหลง มณฑา ยี่โถ บานบุรี ชมนาถ การเวก พุดจีบ พุดน้ำบุตร
4) แหล่งอนุรักษ์การละเล่นพื้นบ้าน
- ดวดเมือง
- หมากรุก