tiki
ภาพ :พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่หก
ภาพคัดลอกมาจาก ตำนานดอทคอม
http://www.tumnan.com/ryl_palace/ryl_palace_zzg.html
โดยมีที่มาจากหนังสือ"พระบรมมหาราชวัง และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม"
โดยเป็นไปเพื่อความรู้เฉพาะหน้าเว็บไซท์นี้เท่านั้น
เขียนบทนี้ ให้แม้จะดึกมากในคืนวันอาทิตย์ ซึ่งควรเป็นวันพักผ่อนที่สุด
แต่ในการประมวลวิเคราะห์ถ้อยคำ ทางหนีทีไล่ ที่บรรพบุรุษเรา
โดยเฉพาะ สาย เอกกวี รัตนโกสินทร์ อันมีพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นกวีลือนามทุกพระองค์นั้น
บทนี้ คือรากฐาน วรรณกรรม เพื่อปวงประชาชน อย่างชัดเจน แจ่มแจ้งที่สุดในโลก วรรณกรรม
เราเขียนคำว่า วรรณคดี วรรณกรรม วรรณคดีศิลป์ วรรณกรรมศิลป์ วรรณศัพท์...... นานา สารพัด
ชี้ชัดพระราชหฤทัย แห่ง เบื้อง พระบรมมหากษัตริย์ไทย ผู้ทรง เทิดค่า ศิลปิน มาทุกยุค ทุกสมัย.............
พระราชบัญญัติ ฉบับแรกเริ่มนี้ ทรงจารขึ้นไว้ให้ เหล่าผองชน ผู้มีใจอันสุนทรีย์ ได้ จารงานฝากไว้บนแผ่นดินไทยให้ลูกหลานตนได้ มีกิน มีใช้
ให้ผองไทย ได้เรียนรู้ ขนบธรรมเนียม ประเพณีไทย รักไทย รักความเป็นไทย รักชาติ รักบรรพบุรุษตน
ทรงดูหลัก Copy Right นับ แต่วรรณกรรม ไทยเล่มแรก ได้รับการตีพิมพ์ขึ้น บนระบบโรงพิมพ์ ของบาทหลวง มิชชันนารี อเมริกัน ..หมอบรัดเลย์ และ หมอโรบินสัน...
นับแต่เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย เครื่องแรก เกิดขึ้นในโลก...พ.ศ.2371 ร้อยโท เจมส์โลว์...
นับแต่ โรงพิมพ์ในไทย เกิดขึ้น โรงแรกในโลก บทนี้ ได้สะท้อนสิ่งลึกสุด
ราวได้ยินเสียงหายใจ แห่ง กวีรัตนโกสินทร์ ว่า
เพชรวรรณกรรม เพชร วรรณคดี นั้น จะอยู่ต่อไปได้อย่างไร หากไม่มี กฎหมาย รองรับ
การตราพระราชบัญญัติ วรรณคดีสโมสร ขึ้น ใน ปี พุทธศักราช ๒๓๕๗ นั้น
ในวันนี้ ข้าพเจ้ารจนา ขึ้นเมื่อคืน เที่ยงคืน ของวันอาทิตย์ ๒๘ ต่อ ๒๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๗
๙๐ ปี แห่ง วรรณ.....คดี...(คดีความโรงศาล)....
คือ การตัดสิน พิจารณา ว่า เส้นทางงานเขียน ของใคร ได้รับการคุ้มครองทางสิทธิเสรีภาพ ในการรับการคุ้มครองสิทธิ์ ในประเทศนี้ ไปจนถึงทั่วโลก
ที่ต้อง พึงทราบ ว่า งานเขียนนั้นนั้น ทุกภาษา ที่ได้มีการจาร จารึก ขึ้นมา บน หนังสือ และสื่อทุกชนิด อันได้มีการระบุต่อมาในกฎหมาย ว่าด้วยลิขสิทธิ์ในภายหลังนั้น
ได้ ทรง ตราพระราชบัญญัติ ขึ้นเพื่อปกป้องสิทธิแห่งงานเขียน ของนีกเขียนไทย และ สิทธิแห่ง ศิลปกรรมไทยใน อีก ๑๗ ปีต่อมา คือปี พุทธศักราช ๒๔๗๔ อันเป็นปี ที่กฎหมาย ไทย ว่าด้วย ลิขสิทธิ์ การคุ้มครอง วรรณกรรมและศิลปกรรม
ได้ถือคลอดออกมา.....
ก่อน ปี ที่ ประชาไทย ถือว่า มีรัฐธรรมนูญเพื่อประชาชน เกิดขึ้นในโลกไทย
คือ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๗๕ นั้น
๙๐ ปีที่ผ่านไป
กวีไทย ได้ รักษาสิทธิสภาพของตน บนงานเขียนของตน
กันหรือไม่....หรือว่า หม้อข้าว หม้อแกงตน ที่ต้มไว้ให้ลูกหลานกินนั้น
มันแค่ ขี้ดินขี้ทราย ที่จะโยน เหยียบย่ำทำลาย อย่างไร ก็ได้ ?
๙๐ ปี ที่ผ่านไป กวีไทย ได้ทำอะไร ในการรักษาสิทธิสภาพ ลิขสิทธิ์ ของตน
จาร ...ด้วยว่า.. คนเล็กๆคนนี้ ได้มีโอกาส...ไปช่วยผ่าน กฎหมาย ว่าด้วย องค์กรจัดเก็บ ค่าลิขสิทธิ์ ในนามของ สมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย
ลิขสิทธิ์ นี้ คุ้มครองทุกสื่อ มิใช่เฉพาะ บนหน้ากระดาษ ...
แต่หน้าจอ และ หน้ากระดานนี้ แน่นอนค่ะ
ถวายสักการะ สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
นอบกราบเบื้องพระบาท พระมหาธีรราชเจ้า ล้นเกล้า รัชกาลที่ หก
ถวายสักการะ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้นเกล้า รัชกาลที่ เจ็ด
และ พระมหากษัตริย์ เอกกวีรัตนโกสินทร์ ทุกพระองค์ มา ณที่นี้...****
ถวายสักการะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระภูมิ พลอดุลยเดช ฯ ท่านทรงเป็น เอกอัครศิลปินแห่งชาติ ผู้ทรงเทิดไทย ...ทรงทำให้ ชาวไทยศิลปินทุกคนอยู่ร่มเย็นใต้เบื้องพระบาท....มาเป็นเวลาช้านาน...
ทิกิ_tiki
จารหน้าจอ เมื่อ ๒๔:๐๐ นาฬิกา เพลาเที่ยงคืน
คืนพระจันทร์.๒๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๗
คืนขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๘
สยาม..กรุงเทพฯเมืองฟ้าอมร....ประเทศไทย
...****
เขียนเพิ่มเติม เวลา ๑๓:๐๐
บ่ายวันจันทร์ ๒๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๗
คืนขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๘
ทิกิ_tiki
....**1
ขอเพิ่มเติมโดยขอยกบทความที่หาได้เฉพาะหน้า จาก หนังสือ ประวัติสุนทรภู่ฯ รวบรวมโดย คุณ ชมนาด เสวิกุล พิมพ์ ณ โรงพิมพ์ อำนวยสาส์น พ.ศ.2533
หน้า 190 ความว่า
** สำหรับในด้านการพิมพ์นั้น หมอบรัดเลย์ ได้เป็นผู้นำแท่นพิมพ์ ภาษาไทย มาจากเมืองสิงคโปร์เป็นแท่นแรก เมื่อ พ.ศ และหมอโรบินสัน ได้เป็นผู้ติดตั้ง และ ทดลองพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ วันที่ 3 มิถุนายน พศ.2379 นับเป็นครั้งแรกที่มีโรงพิมพ์.....และการพิมพ์เกิดขึ้นในประเทศไทย..**
ชมนาท เสวิกุล
ครั้งสมัยรัชกาลที่ 3... (ผู้เขียน)
เล่มเดียวกัน หน้า 188...
** ตัวพิมพ์ อักษรไทยนี้ บุคคลแรกที่ประดิษฐ์ขึ้นได้ สำเร็จ คือ ร้อยโท เจมส์โลว์ ซึ่งเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ หลายปี จนอ่านออกเขียนได้ แล้วกลับไปประดิษฐ์อักษรไทย สำหรับ ตีพิมพ์ขึ้นสำเร็จเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2371 โดยไปหล่อตัวพิมพ์ ที่เมืองเบงกอล แล้วส่งมาไว้ในราชการที่สิงคโปร์ จากนั้นก็ได้ใช้พิมพ์แบบเรียน ไวยากรณ์ไทย สำหรับข้าราชการอังกฤษใช้ศึกษา ซึ่ง ร้อยโทเจมส์โลว์เป็นผู้แต่งขึ้นเป็นหนังสือภาษาไทยเล่มแรกที่ตีพิมพ์ขี้นในโลก**
เล่มเดียวกัน หน้า 188
ว่า โรงพิมพ์แห่งแรกสมัยอยุธยา มีขึ้น
**ในรัชสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช การพิมพ์หนังสือไทยได้มีขึ้นแล้ว
โดย สังฆราชลาโน
เป็นผู้จัดตั้งดำเนินการขึ้นที่ โรงเรียนมหาพราหมณ์ ซึ่งเป็นโรงเรียนของ คณะบาดหลวง ฝรั่งเศส ตั้งอยู่ ณ ตำบลเกาะมหาพราหมณ์ เหนือกรุงศรีอยุธยาขี้นไป นัยว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพอพระราชหฤทัย ในการพิมพ์หนังสือตามวิธีฝรั่งของสังฆราช ลาโน ถึงกับโปรดฯ ให้ตั้งโรงพิมพ์หลวง ขึ้นที่เมืองลพบุรี อันเป้นราชธานีที่สองในครั้งนั้น นับวาเป็นโรงพิมพ์หลวงแห่งแรกของเมืองไทย แต่ครั้นสิ้นรัชกาลลงแล้ว ........
........การพิมพ์หนังสือในเมืองไทย จึงยุติลงแต่เพียงนั้น...
อนึ่งขอกราบเรียนให้ท่านผู้ถือลิขสิทธิ์แห่ง พระยาอนุมานราชธนทราบว่า
บทความดังกล่าวข้างต้นนี้
ได้คัดลอกจาก หนังสือ**ชุมนุมรุ่น วิทยาลัยบางแสน ๓๐ มกราคม ๒๕๐๓
หน้า 81-92
ไม่ปรากฎนามผู้คัดลอก
จึงขอเรียนมาเพื่อเป็นประโยชน์แด่สาธารณะชน เฉพาะใช้หน้าเว็บไซท์แห่งนี้ มิได้มีการนำมาเพื่อทำการค้าหรือผลประโยชน์อันเป็นส่วนตัวแต่ประการใด
น้อมรำลึกพระคุณท่าน พระยาอนุมานราชธน ผู้รจนา ไว้ณ.ที่นี้
งานอันจารถ้อยความอันใดไม่ถูกต้องประการใด ขอท่านผู้อ่านได้ แนะนำหลักฐานสิ่งที่ถูกต้องกว่า
มาจะเป็นพระคุณอย่างสูง
ทิกิ_tiki