- ลักษณะนิสัยตัวละคร 1. นางสีดา เป็นผู้หญิงที่รักนวลสงวนตัว รักเดียวใจเดียวมีความมั่นคงต่อพระราม มีความกล้าหาญ ยอมลุยไฟเพื่อพิสูจน์ความรักและความมั่นคงที่มีต่อพระราม เมื่อนั้น นวลนางสีดามารศรี ได้ฟังดั่งต้องสายสุนี มิรู้ที่จะทูลให้เห็นจริง จึ่งบังคมก้มพักตร์พจนารถ อันข้าบาทยากเย็นเพราะเป็นหญิง จะว่าไปไม่มีที่อ้างอิง ใครจะเล็งเห็นจริงที่ในใจ เว้นแต่กองเพลิงกาลถ่านอัคคี จะเป็นที่พึ่งพาของข้าได้ ขอพระองค์จงสั่งให้กองไฟ ที่ในหน้าพลับพลาเวลานี้ ข้าจะตั้งความสัตย์อธิษฐาน สาบานต่อเบื้องบทศรี แล้วจะลุยเข้าไปในอัคคี ถ้าแม้นชั่วชีวีจงวายปราณ ฯ ๘ คำ ฯ นางสีดารู้สึกเสียใจที่พระรามไม่เชื่อว่าตนเองบริสุทธิ์จึงยอมลุยไฟเพื่อพิสูจน์ว่าตนเองนั้นไม่มีอะไรเกินเลยกับทศกัณฐ์อย่างแน่นอน 2. พระราม เป็นผู้ชายที่มีรักมั่นคง มีความเข้มแข็ง อดทน และมีอารมณ์อ่อนไหว ดังจะเห็นได้จากตอนที่นางเบญจกายแปลงเป็นนางสีดาลอยน้ำมา ยอดเอยยอดมิ่ง เป็นความในใจจริงทุกสิ่งสรรพ์ หวังสวาทมาดหมายไม่วายวัน จะรับขวัญนัยนามาธานี ที่ผูกใจจึงไปดลจิตเจ้า ให้โฉมนงเยาว์มาถึงที่นี่ ขอเชิญดวงดอกฟ้าสุมาลี อยู่เป็นศรีนคเรศนิเวศน์วัง เจ้าจงดูปราสาทราชฐาน ทั้งตึกกว้านมากมายหลายหลัง คลังเงินคลังทองสิบสองพระคลัง ทรัพย์สินมั่งคั่งเรามากมี ขอเชิญโฉมเฉลาเป็นเจ้าของ ครอบครองสารพัดสมบัติพี่ จงผินผันพักตรามาข้างนี้ พูดจาพาทีกับพี่ยา ควรหรือทำสะเทินเมินเฉย ไม่เห็นเลยว่ารักเจ้าหนักหนา มาหยุดอยู่นี่ไยไคลคลา ไปนั่งแท่นแว่นฟ้าเถิดเทวี ฯ ๑๐ คำ ฯ พระรามมีความรู้สึกเสียใจ พยายามให้นางสีดาแปลงนั้นฟื้นคืนสติขึ้นมาพูดคุยกับตนแต่ก็สุดปัญญา ซึ่งทำให้ทราบถึงอารมณ์ที่พระรามมีต่อนางสีดาอย่างทราบซึ้ง นอกจากนั้นยังสื่อให้เห็นภาพว่าพระรามประคองนางสีดามาแนบตักและพูดกับนางด้วยความเสียใจและอาลัยยิ่งนัก 3. พระลักษมณ์ เป็นน้องที่ดี รักพี่ มีความเข้มแข็งและมีความเชื่อมั่นต่อพี่สะใภ้ว่าจะมั่นคงต่อพระรามแน่นอน 4. หนุมาน เป็นทหารเอกที่รู้ใจพระรามที่สุด ฉลาดรอบรู้ ค่อนข้างหัวดื้อ เช่น ตอนที่หักกิ่งไม้ ทำลายอุทยานของทศกัณฐ์ ตอนเผาเมืองลงกา เป็นต้น ซึ่งเป็นการทำนอกเหนือคำสั่ง เจ้าเล่ห์เพทุบาย มีกลอุบายมากมายซึ่งเอาไว้ใช้ในการศึก รักนายและพลีชีพเพื่อนาย 5. องคต มีความกตัญญูรู้คุณต่อพระราม และนางมณโฑ แต่เพื่อความถูกต้ององคตจึงทำในสิ่งที่ถูกต้อง 6. ท้าวมาลีวราช เป็นผู้ที่มีความยุติธรรม ให้ความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายไม่คำนึงว่าหลานตนเป็นคนผิด ( ไม่เข้าข้างคนผิด ) ดังตอนท้าวมาลีวราชว่าความ เมื่อนั้น พระพงศ์พรหมบรมนาถา จึ่งว่ากูผู้พิจารณา พิพากษาอาธรรม์หรือฉันใด ไม่ควรค้านพาลพาโลโกสีย์ รถของเขามีเขาก็ให้ เมื่อสืบสวนสมอ้างทุกอย่างไป ยังแก้ไขคดเคี้ยวเกี่ยวพัน เป็นของข้าวเล่าเถิดว่าตกหล่น นี่เก็บคนได้ดูก็ขบขัน เอ็งพูดไม่มีจริงสักสิ่งอัน แม่นมั่นมึงลักเมียพระราม จงควรคิดถอยหลังฟังกูว่า อย่าฉันทาทำบาปหยาบหยาม เร่งคืนส่งองค์สีดางางาม ให้พระรามผัวเขาอย่าเอาไว้ ฯ ๘ คำ ฯ 7. พิเภก เป็นผู้ที่รู้ผิดชอบชั่วดี แนะแนวทางที่ดีและถูกต้องให้แก่พี่ชายแต่เมื่อพี่ชายไม่ฟังจึงถูกขับออกจากเมืองต้องมาอยู่กับพระราม ก็รู้คุณและช่วยเหลือพระรามมาโดยตลอด 8. นางมณโฑ มีความรักลูก รักสามี ไม่โกรธเคืองที่สามีหาผู้หญิงอื่นมาอยู่ด้วย 9. ทศกัณฐ์ รักลูก รักพวกพ้อง แต่ไม่คำนึงถึงความผิดถูก พาพวกพ้องมาสู้รบในเรื่องไม่เป็นเรื่องจนกระทั่งวงศ์วารหมดสิ้น - ก่อให้เกิดจินตนาการณ์ อารมณ์ เมื่อนั้น ทศกัณฐ์เคืองขัดอัชฌาสัย ลุกขึ้นกระทืบบาทตวาดไป เหม่ไอ้เจ้าเล่ห์เพทุบาย คิดว่าขี้ขลาดดั่งชาติเนื้อ ได้สาบเสือตัวสั่นขวัญหาย เสียแรงกำเนิดเกิดเป็นชาย ไม่มีอายไม่มีเจ็บเท่าเล็บมือ เมื่อข้าศึกมาชิดไม่คิดรบ จะให้นบนอบมันกระนั้นหรือ หมายว่าน้องต้องปรึกษาหารือ ชะเจ้าคนซื่อถือสัตย์ธรรม์ จงไปหาลักษมณ์รามตามพิเภก จะได้เสกให้ผ่านไอศวรรย์ อันตัวกูสู้ตายวายชีวัน มิขอพันผูกรักกับลักษมณ์ราม ฯ ๘ คำ ฯ - ภาษาสามัญ ( จากตัวอย่างข้างต้น ) - ภาษาในเชิงเปรียบเทียบ เห็นนางหนึ่งงามแฉล้มแช่มช้อย นั่งร้อยดอกดวงพวงบุปผา ทรงโฉมประโลมเลิศลักขณา พักตราจิ้มลิ้มยิ้มแย้ม ผิวเนื้อนวลละอองเป็นสองสี โอษฐ์นางอย่างลิ้นจี่จีนแต้ม ขอบขนงโก่งเหมือนดังเดือนแรม ทั้งสองแก้มเพียงพระจันทร์วันเพ็ญ เอวบางร่างรัดกำดัดสวาท ดูผุดผาดสารพัดอรัดเคร่ง เข้าแอบฉากแพรแสแลเล็ง ยิ่งเพ่งยิ่งพิศยิ่งติดใจ ฯ ๖ คำ ฯ - โวหารภาพพจน์ เมื่อนั้น คำแหงหนุมานชาญสมร รบรับจับประจัญฟันฟอน หมายสังหารราญรอนอสุรา แล้วเข้าไปในปากกุมภัณฑ์ ออกทางข้างกรรณเบื้องขวา กลับเข้ากรรณซ้ายด้วยศักดา ทะลุออกกระบอกตาอสุรี แล้วลงตามลำไส้ด้วยว่องไว เอาตรีแตระแหวะท้องยักษี ลากไส้ออกมาจากนาภี อสุรีล้มดิ้นสิ้นชีวา ฯ ๖ คำ ฯ โอด - สัญลักษณ์ เมื่อนั้น องค์พระหริรักษ์เรืองศรี ครั้นสิ้นแสงสุริยาราตรี สถิตที่แท่นทองห้องใน นิ่งนึกคะนึงถึงสีดา ไม่รู้ว่ายากเย็นเป็นไฉน จำจะใช้ทหารชาญชัย ไปสืบข่าวอรไทถึงลงกา พระนิ่งนึกตรึกไตรไปมา จนสุริยาเยี่ยมยอดยุคันธร ฯ ๖ คำ ฯ คำที่ทำตัวหนาแสดงสัญลักษณ์ถึงความเศร้าเมื่อพระอาทิตย์ได้ตกดินไปแล้ว - รสวรรณคดี : สิงคารรส ตอนหนุมานเข้าห้องนางบุษมาลี สุดเอยสุดสวาท แสนฉลาดลิ้นลมคมสัน ลวงล่อเลือกว่าสารพัน ถ้าเช่นนั้นโฉมฉายสบายใจ ขึ้นอยู่สรวงสวรรค์ชั้นอินทร์พรหม ใครจะตามไปชมเชยได้ จะลวงกันให้เก้อเอออะไร พอรู้เท่าเข้าใจอยู่ดอกน้อง ว่าพลางทางทำทอดสนิท แนบชิดเชยชมสมสอง ระทวยทอดกอดเกี่ยวกรตระกอง ตามทำนองเสน่หาประสาลิง ฟ้าลั่นคลั่นครื้นดังปืนยิง พยุยิ่งฮือฮือกระพือพัด ประเดี๋ยวลงฝนตกลงซู่ซู่ ท่วมคูขอบวังทั้งจังหวัด ถ้อยทีภิรมย์โสมนัส ตามกำหนัดเสน่หาอาวรณ์ ฯ ๖ คำ ฯ 2. รูปแบบ 2.1 ความเหมาะสมของเนื้อหา เรื่องรามเกียรติ์เป็นเรื่องราวที่ถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับการรบ มีการดำเนินเรื่องไปอย่างสมเหตุสมผล 2.2 ความงดงามทางฉันทลักษณ์ รถเอยราชรถอินทร์ กงแก้วโกมินอลงกต สามงอนอ่อนสลวยชวยชด เครือขดช่อตั้งกระจังราย ชั้นหนึ่งครุฑจับภุชงค์ผยอง ชั้นสองเทพนมเฉิดฉาย ชั้นสามกินรีรำกราย บุษบกแก้วลายอรชร เทียมด้วยสินธพเทพบุตร ฤทธิรุทยิ่งพญาไกรสร พระลักษมณ์นั่งหน้าประนมกร มาตุลีขับจรดั่งลมพัด ประดับด้วยอภิรุมชุมสาย ธงริ้วทิวลายปลายสะบัด หมู่พหลพลแห่เยียดยัด ขนัดกลองฆ้องทนอึงอล เสียงสินธารร้องก้องกึก โห่ฮึกประสานกาหล ผงคลี่บดบังพระสุริยน เร่งพลรีบเวไชยันต์ไปฯ จุดมุ่งหมายในการแต่งเพื่อใช้เป็นบทละครสำหรับเล่นละครใน หรือที่เห็นกันในปัจจุบันนี้คือโขลน เพื่อรวบรวมบทละครเรื่องรามเกียรติ์ที่บางส่วนที่สูญหายไปในช่วงศึกสงครามในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราชและมาชำระใหม่เพื่อให้สมบูรณ์ที่สุด เพื่อสมโภชกรุงเทพมหานคร เพื่อปลุกใจประชาชนให้มีความรักชาติ เข้มแข็ง อดทน ให้มีความกล้าหาญเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นการบันทึกเรื่องราวทางยุทธศาสตร์การรบ ดังจะเห็นได้จากตอนที่ทศกัณฐ์ออกรบ มีการแปลขบวนทัพเป็นรูปครุฑ รูปนาค ซึ่งในตำรายุทธพิชัยสงครามสมัยกรุงศรีอยุธยาได้กล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งพระเจ้ากรุงหงสาวดีทำศึกกับพระมหาธรรมราชา ได้มีการแปลขบวนทัพเป็นรูปครุฑ รูปนาค ( พิมาน แจ่มจรัส, 2527,159 ) เพราะสมัยนั้นอยู่ในช่วงศึกสงคราม ถึงแม้ว่าบ้านเมืองเริ่มเป็นปึกแผ่นแล้วก็ตาม อีกทั้งยังเป็นการประกาศพระเกียรติยศของพระองค์ไปด้วย นอกจากนี้ยังจะเป็นการสนับสนุนนาฏศิลป์โดยการให้มีละครในซึ่งใช้เนื้อเรื่องรามเกียรติ์ ทำให้ทั้งเชื้อพระวงศ์ เจ้านายชั้นสูง ข้าราชบริพารมีความสนุกสนานไม่ตึงเครียดกับการศึกมากนัก เนื้อหาส่วนใหญ่กล่าวถึงการเดินทางและการรบซึ่งเกิดจากปมปัญหาเด่น ที่สำคัญที่จะทำให้เรื่องมีความโดดเด่นและน่าสนใจมากขึ้น ชวนให้ติดตาม คือ นางอันเป็นที่รักถูกลักพาตัวไป การตามกวาง เป็นต้น 3. สารัตถะหรือแนวคิดของเรื่อง 3.1 สภาพสังคมและวัฒนธรรมที่ปรากฏ คือ ในการดำเนินเรื่องนั้น กวีจะสอดแทรกลักษณะความเป็นอยู่ของคนไทยที่ออกมาจากตัวละครและสิ่งแวดล้อม อย่างเช่น ตอนที่พระรามตามกวางนั้นเป็นการบอกถึงกีฬาอย่างหนึ่งของคนโบราณที่ต้องล่าหรือจับสัตว์ การสื่อให้เห็นถึงลักษณะของกษัตริย์ที่ต้องมีผู้ติดตามรับใช้ใกล้ชิด เปรียบเหมือนหนุมานเป็นมหาดเล็กใกล้ชิดก็ว่าได้ สังคมในสมัยนั้นยังคงมีเรื่องของการมีเมียมากมายหลายคน สื่อให้ให้ถึงคนในสมัยก่อนที่มักจะมีเมียเยอะแยะ และเมียต้องเป็นช้างเท้าหลัง เมื่อสามีสั่งอะไรเมียต้องทำตามและอยู่ในโอวาท ต้องอยู่เย้าเฝ้าเรือน เลี้ยงลูก ต้องซื่อสัตย์ต่อสามี ไม่มีการคุมกำเนิด ดังจะเห็นได้จากนางมณโฑที่มีลูกเยอะแยะ มีความกตัญญู การเป็นผู้นำของครอบครัว เป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดี เป็นต้น 3.2 ค่านิยมและโลกทัศน์ คือ ค่านิยมเกี่ยวกับความรักที่นางสีดามีต่อพระราม นางมณโฑมีต่อทศกัณฐ์ นอกจากนั้นยังสื่อให้เห็นว่าตัวละครตัวหนึ่งมีมุมมองที่ดีและสื่อออกมาเด่นชัดที่สุดว่าถ้าคืนตัวนางสีดาไปแล้วเผ่าพงศ์ยักษ์จะไม่เดือดร้อน นั่นคือพิเภก เป็นผู้ที่มองการณ์ไกลมีแนวคดีและมีสติอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังสื่อถึงวิธีการแต่งที่เกี่ยวกับค่านิยมอีกด้วย - เกี่ยวกับความงาม นางสีดางามที่สุด จะหานางใดใน 3 โลกเปรียบไม่ได้ แสดงว่าสวยมาก มีรูปร่างเอวอ่อนอ้อนแอ้นอรชร มีความเป็นกุลสตรี - ความงดงามของกวางทอง ที่ทำให้พระรามต้องตามไป - ความงามของพระราม และพระลักษมณ์ที่มีความงดงามทั้งทางรูปทรงและลักษณะ กล่าวคือ มีรูปร่างอ้อนแอ้น - ผู้ร้าย ซึ่งคือพวกยักษ์ ก็จะมีรูปร่างใหญ่โต ดูน่าเกรงขาม รูปร่างน่ากลัว - ผู้ช่วยพระเอก คือพวกลิง ก็จะมีลักษณะตัวเล็ก ๆ คล่องแคล่วว่องไว มีความงดงามในการแสดง กล่าวคือ เวลาที่ศิลปากรแสดงโขลน บุคลิกที่ดูงดงามตัวหนึ่งคือพวกลิง เวลาแสดงต้องผสมผสานความอ่อนช้อยและท่วงท่าที่แสดงออกถึงการไม่อยู่นิ่งของลิงทำให้ดูตลกและสนุกสนานยิ่งนัก ซึ่งเป็นค่านิยมในการแต่งที่มักจะให้ผู้ช่วยพระเอกเป็นคนที่สนุกสนานจึงทำให้วรรณกรรมยุคปัจจุบัน ได้รับอิทธิพลในส่วนนี้นำไปแต่งเรื่องอื่น ๆ ต่อไป 4. บุคลิกภาพของกวี ในช่วงที่รัชการที่ 1 และ รัชการที่ 2 ทรงประพันธ์และชำระเรื่องรามเกียรติ์ขึ้น ซึ่งในยุคสมัยนั้นเป็นช่วงที่ประเทศไทยเริ่มมีความเป็นปึกแผ่น แต่บางส่วนยังมีสงครามอยู่ วรรณคดีเรื่องนี้จึงสะท้อนเรื่องราวของสงคราม การต่อสู้ ความกล้าหาญของกษัตริย์ การปกครองคน ปกครองเมือง การรู้จักใช้คนซึ่งพระองค์ทรงแฝงบทบาทของกษัตริย์ไว้ในตัวละคร คือ พระราม และทศกัณฐ์ ซึ่งจะมีความเป็นผู้นำ รู้จักใช้คนสนิท มีการพูดโน้มน้าวใจให้คนใกล้ตัวทำตาม
15 กรกฎาคม 2547 12:36 น. - comment id 75447
ได้ความรู้ขึ้นมามากเลยครับ แต่ที่อยากทราบ เพิ่มเติมคือ 1.อะไรคือเหตจูงใจให้กำเนิดเรื่องนี้ 2.เรื่องนี้แต่งขึ้นมาต้องการสื่ออะไร ถามเพื่อต้องการทราบ มิใช่เพื่อลองภูมิ๚ะ๛ size>
15 กรกฎาคม 2547 15:54 น. - comment id 75453
เดี๋ยวจะตอบให้นะคะ ๑. เหตุที่กำเนิดเรื่อนี้ขึ้นมาเพราะเราได้รับอิทธิพลมาจากชวา และอินเดีย มีการติดต่อสื่อสารเพื่อค้าขาย เราจึงรับอิทธิพลในการแต่งเรื่องต่าง ๆ เช่น อิเหนา รามเกียรติ์ หรือแม้แต่ปัจจุบันที่เราได้รับเอาวัฒนธรรมและอิทธิพลทางตะวันตกมาเราจึงเกิดวรรณกรรมใหม่ ๆ ขึ้น คือนวนิยาย เรื่องสั้น สารคดี บทความ ข่าว และอื่น ๆ ฯลฯ ซึ่งทำให้คนกล้าคิดกล้าทำกล้าเขียนมากยิ่งขึ้น และถ้าจะถามอีกว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมา ณ ช่วงเวลาใดนั้นก็มีหลายทฤษฎีที่คิดขึ้นมาและเกิดการสำรวจและวิจัยขึ้น คือนวนิยายอาจจะเกิดขึ้นสมัย ๒๔๑๗ มียุกบุกเบิก ยุคเติบโต ยุคก้าวหน้า ยุคมืดทางปัญญา (จอมพลสฤษธ์) เป็นต้น ๒.เรื่องที่แต่งขึ้นมาต้องการสื่อในหลาย ๆ เรื่องขึ้นอยู่กับการตีความของแต่ละคน แต่สิ่งที่เป็บบันทึกสำคัญที่ซ่อนอยู่ในเรื่องคือแนวทางการรบ ยุทธภูมิในการรบทัพจับศึกของ ร.1 และเรื่องของคุณธรรม ศีลธรรม ความจงรักภักดี ความกตัญญูรู้คุณ ความซื่อสัตย์ของหนุมาน ความซื่ตรง รักนวลสงวนตัวของนางสีดา เป็นต้น มีอะไรจะถามอีกไหมคะ
15 กรกฎาคม 2547 16:15 น. - comment id 75455
คุณสุชาดาครับ....น่าสนใจ ผมขอทดลองเขียนสักหน่อยนะครับ รามายนะ.... ปฐมมหากาพย์แห่งเมืองภารตะ.... ตัวแทนการยุทธ...ระหว่างอารยันเผ่าพันธุ์ผิวขาว...ตาเขียว/ฟ้า....ผมทอง/แดง...จากแถบดินแดนเอเชียกลาง....เป็นผู้บุกเข้ามาในชมพูทวีปเมื่อสักประมาณ 4000-5000ปีล่วงมาแล้ว...ฝ่ายหนึ่ง กับชนพื้นเมืองดั้งเดิม....ตัวดำ...เตี้ย...ผมหยิก เรียก...มิลักขะ...อันมีรูปแบบสังคมเกษตรกรรม....มีอารยธรรมอันนับกันว่าสูงกว่า..อารยัน...ในสมัยยุคนั้น การยุทธโดยผู้รุกรานผิวขาว....โดยตัวแทนสมมุติคือ....เทวดาอวตาร-มนุษย์-ลิง-ยักษ์กบถเผ่าพันธุ์ตัวเอง......กับ....ยักษ์อัปลักษณ์อันเป็นตัวแทนของชาว...มิลักขะหรือ..ดราวิเดียน การรบเพื่อการรุกรานถูกทำให้เป็นความชอบธรรมโดยผ่าน...นารายณ์อวตารมาปราบมาร ผล...อารยันชนะได้ครองดินแดนทางตอนเหนือของชมพูทวีป.... หลังจากตั้งหลักปักฐานกระจายไปทั่วตอนเหนือเชิงเขาหิมาลัยได้แล้ว....อารยันผู้มาพร้อมกับคัมภีร์พระเวทและภาษาสันสกฤต....ก็เกิดกระทบกระทั่งกันเองจนเกิดสงครามครั้งยิ่งใหญ่ของเผ่าพันธุ์เดียวกันขึ้น คือ....มหาภารตะยุทธ....ระหว่างตัวแทนสมมุติของความดี-ความชั่ว...คือปาณฑพ-เการพ....เป็นศึกสายเลือดระหว่างพี่-น้อง อาจจะต่างกับของคุณสุชาดาบ้างนะครับ.... ของผมภาคต้นฉบับครับ...อิๆๆ
15 กรกฎาคม 2547 16:42 น. - comment id 75457
สุดยอดเลยค่ะ ขยันอ่านดีจังเลย ชอบค่ะที่มีคนอ่านเยอะ ๆ แบบนี้ ที่จริงเคยอ่านรามายนะมาเหมือนกันแต่เป็นฉบับย่อซึ่งเป็นแบบในการประพันธ์ของรัชกาลที่ ๑ แต่ไม่ระเอียดมากนัก...ขอบคุณที่ให้ความรู้ค่ะ
16 กรกฎาคม 2547 07:26 น. - comment id 75476
ได้ความรู้เพิ่มอีกมากเลยครับ เรื่องนี้ก็แปลก ครับ ผมไม่เคยอ่านเป็น เรื่องเป็นราวซักครั้ง เพราะมันยาวและยืดเยื้อมาก แต่รับรู้เรื่องทั้ง หมดจากสื่ออื่นที่ไม่ใช่สื่อจากการอ่าน ขอขอบคุณทั้งสองท่านที่อนุเคราะห์ความกระ จ่าง ๚ะ๛ size>
16 กรกฎาคม 2547 10:01 น. - comment id 75482
ขอบคุณที่อ่านนะคะคุณทิงนองนอย
20 ธันวาคม 2547 19:04 น. - comment id 80043
พี่ ๆ คะ อยากทราบเกี่ยวกับบทบาทความสำคัญของตัวละครว่า มีความสำคัญอย่างไร แล้วก็แต่ละตัวมีความสัมคัญในตอนอย่างอย่างไร คะ ช่วยตอบทีน๊า
20 ธันวาคม 2547 19:04 น. - comment id 80044
พี่ ๆ คะ อยากทราบเกี่ยวกับบทบาทความสำคัญของตัวละครว่า มีความสำคัญอย่างไร แล้วก็แต่ละตัวมีความสัมคัญในตอนอย่างอย่างไร คะ ช่วยตอบทีน๊า
21 มกราคม 2548 22:44 น. - comment id 82236
อยากได้รสวรรณคดีตำรารสวรรณคดีบาลี - สันสกฤต ที่มี 9 รส อยากได้กลอนทั้งหมดอย่างละรสค่ะ จะทำรายงานส่งอาจารย์ ค่ะ จะส่งวัน จันทร์ นะคะ เร็วๆๆนะค่ะ ขอบคุณคะ
18 เมษายน 2548 22:19 น. - comment id 84226
แล้วตอนนี้ใครเทียบได้กับนางสีดาครับ
27 กันยายน 2549 20:23 น. - comment id 89468
ขอบคุงคับทำไห้ผมผ่านวิชานี้คับ %%
28 พฤษภาคม 2549 08:34 น. - comment id 90940
ดีมากๆค่ะกำลังทำรายงานเรื่องนี้อยู่พอดีๆอิอิยืมหน่อยน่ะคร่ะ ขอบคุนมากเยยมีงานส่งแระวุ้ย เย้ๆๆๆๆๆๆๆ
29 กรกฎาคม 2550 09:16 น. - comment id 97057
ชอบเรื่องนี้มากมากเลย
13 ธันวาคม 2550 21:32 น. - comment id 98606
ช่วยบอกนิสัยของไมยราพให้หน่อนนะคับ มัจฉานุด้วย เอานิสัยเลยอ่ะค่ะ มีงานด่วน รบกวนหน่อยนะคับ
9 มีนาคม 2551 12:15 น. - comment id 99442
23 มิถุนายน 2551 15:48 น. - comment id 100577
ควรจะหาเนื้อเรื่องของวรรณคดีลำนำเรื่องรามเกียรติ์ให้ดูดีมากกว่านี้น่ะค่ะ
25 มกราคม 2552 08:01 น. - comment id 103487
วิเคราะห์รามเกียรติ์ สุชาดา โมรา - ลักษณะนิสัยตัวละคร 1. นางสีดา เป็นผู้หญิงที่รักนวลสงวนตัว รักเดียวใจเดียวมีความมั่นคงต่อพระราม มีความกล้าหาญ ยอมลุยไฟเพื่อพิสูจน์ความรักและความมั่นคงที่มีต่อพระราม เมื่อนั้น นวลนางสีดามารศรี ได้ฟังดั่งต้องสายสุนี มิรู้ที่จะทูลให้เห็นจริง จึ่งบังคมก้มพักตร์พจนารถ อันข้าบาทยากเย็นเพราะเป็นหญิง จะว่าไปไม่มีที่อ้างอิง ใครจะเล็งเห็นจริงที่ในใจ เว้นแต่กองเพลิงกาลถ่านอัคคี จะเป็นที่พึ่งพาของข้าได้ ขอพระองค์จงสั่งให้กองไฟ ที่ในหน้าพลับพลาเวลานี้ ข้าจะตั้งความสัตย์อธิษฐาน สาบานต่อเบื้องบทศรี แล้วจะลุยเข้าไปในอัคคี ถ้าแม้นชั่วชีวีจงวายปราณ ฯ ๘ คำ ฯ นางสีดารู้สึกเสียใจที่พระรามไม่เชื่อว่าตนเองบริสุทธิ์จึงยอมลุยไฟเพื่อพิสูจน์ว่าตนเองนั้นไม่มีอะไรเกินเลยกับทศกัณฐ์อย่างแน่นอน 2. พระราม เป็นผู้ชายที่มีรักมั่นคง มีความเข้มแข็ง อดทน และมีอารมณ์อ่อนไหว ดังจะเห็นได้จากตอนที่นางเบญจกายแปลงเป็นนางสีดาลอยน้ำมา ยอดเอยยอดมิ่ง เป็นความในใจจริงทุกสิ่งสรรพ์ หวังสวาทมาดหมายไม่วายวัน จะรับขวัญนัยนามาธานี ที่ผูกใจจึงไปดลจิตเจ้า ให้โฉมนงเยาว์มาถึงที่นี่ ขอเชิญดวงดอกฟ้าสุมาลี อยู่เป็นศรีนคเรศนิเวศน์วัง เจ้าจงดูปราสาทราชฐาน ทั้งตึกกว้านมากมายหลายหลัง คลังเงินคลังทองสิบสองพระคลัง ทรัพย์สินมั่งคั่งเรามากมี ขอเชิญโฉมเฉลาเป็นเจ้าของ ครอบครองสารพัดสมบัติพี่ จงผินผันพักตรามาข้างนี้ พูดจาพาทีกับพี่ยา ควรหรือทำสะเทินเมินเฉย ไม่เห็นเลยว่ารักเจ้าหนักหนา มาหยุดอยู่นี่ไยไคลคลา ไปนั่งแท่นแว่นฟ้าเถิดเทวี ฯ ๑๐ คำ ฯ พระรามมีความรู้สึกเสียใจ พยายามให้นางสีดาแปลงนั้นฟื้นคืนสติขึ้นมาพูดคุยกับตนแต่ก็สุดปัญญา ซึ่งทำให้ทราบถึงอารมณ์ที่พระรามมีต่อนางสีดาอย่างทราบซึ้ง นอกจากนั้นยังสื่อให้เห็นภาพว่าพระรามประคองนางสีดามาแนบตักและพูดกับนางด้วยความเสียใจและอาลัยยิ่งนัก 3. พระลักษมณ์ เป็นน้องที่ดี รักพี่ มีความเข้มแข็งและมีความเชื่อมั่นต่อพี่สะใภ้ว่าจะมั่นคงต่อพระรามแน่นอน 4. หนุมาน เป็นทหารเอกที่รู้ใจพระรามที่สุด ฉลาดรอบรู้ ค่อนข้างหัวดื้อ เช่น ตอนที่หักกิ่งไม้ ทำลายอุทยานของทศกัณฐ์ ตอนเผาเมืองลงกา เป็นต้น ซึ่งเป็นการทำนอกเหนือคำสั่ง เจ้าเล่ห์เพทุบาย มีกลอุบายมากมายซึ่งเอาไว้ใช้ในการศึก รักนายและพลีชีพเพื่อนาย 5. องคต มีความกตัญญูรู้คุณต่อพระราม และนางมณโฑ แต่เพื่อความถูกต้ององคตจึงทำในสิ่งที่ถูกต้อง 6. ท้าวมาลีวราช เป็นผู้ที่มีความยุติธรรม ให้ความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายไม่คำนึงว่าหลานตนเป็นคนผิด ( ไม่เข้าข้างคนผิด ) ดังตอนท้าวมาลีวราชว่าความ เมื่อนั้น พระพงศ์พรหมบรมนาถา จึ่งว่ากูผู้พิจารณา พิพากษาอาธรรม์หรือฉันใด ไม่ควรค้านพาลพาโลโกสีย์ รถของเขามีเขาก็ให้ เมื่อสืบสวนสมอ้างทุกอย่างไป ยังแก้ไขคดเคี้ยวเกี่ยวพัน เป็นของข้าวเล่าเถิดว่าตกหล่น นี่เก็บคนได้ดูก็ขบขัน เอ็งพูดไม่มีจริงสักสิ่งอัน แม่นมั่นมึงลักเมียพระราม จงควรคิดถอยหลังฟังกูว่า อย่าฉันทาทำบาปหยาบหยาม เร่งคืนส่งองค์สีดางางาม ให้พระรามผัวเขาอย่าเอาไว้ ฯ ๘ คำ ฯ 7. พิเภก เป็นผู้ที่รู้ผิดชอบชั่วดี แนะแนวทางที่ดีและถูกต้องให้แก่พี่ชายแต่เมื่อพี่ชายไม่ฟังจึงถูกขับออกจากเมืองต้องมาอยู่กับพระราม ก็รู้คุณและช่วยเหลือพระรามมาโดยตลอด 8. นางมณโฑ มีความรักลูก รักสามี ไม่โกรธเคืองที่สามีหาผู้หญิงอื่นมาอยู่ด้วย 9. ทศกัณฐ์ รักลูก รักพวกพ้อง แต่ไม่คำนึงถึงความผิดถูก พาพวกพ้องมาสู้รบในเรื่องไม่เป็นเรื่องจนกระทั่งวงศ์วารหมดสิ้น - ก่อให้เกิดจินตนาการณ์ อารมณ์ เมื่อนั้น ทศกัณฐ์เคืองขัดอัชฌาสัย ลุกขึ้นกระทืบบาทตวาดไป เหม่ไอ้เจ้าเล่ห์เพทุบาย คิดว่าขี้ขลาดดั่งชาติเนื้อ ได้สาบเสือตัวสั่นขวัญหาย เสียแรงกำเนิดเกิดเป็นชาย ไม่มีอายไม่มีเจ็บเท่าเล็บมือ เมื่อข้าศึกมาชิดไม่คิดรบ จะให้นบนอบมันกระนั้นหรือ หมายว่าน้องต้องปรึกษาหารือ ชะเจ้าคนซื่อถือสัตย์ธรรม์ จงไปหาลักษมณ์รามตามพิเภก จะได้เสกให้ผ่านไอศวรรย์ อันตัวกูสู้ตายวายชีวัน มิขอพันผูกรักกับลักษมณ์ราม ฯ ๘ คำ ฯ - ภาษาสามัญ ( จากตัวอย่างข้างต้น ) - ภาษาในเชิงเปรียบเทียบ เห็นนางหนึ่งงามแฉล้มแช่มช้อย นั่งร้อยดอกดวงพวงบุปผา ทรงโฉมประโลมเลิศลักขณา พักตราจิ้มลิ้มยิ้มแย้ม ผิวเนื้อนวลละอองเป็นสองสี โอษฐ์นางอย่างลิ้นจี่จีนแต้ม ขอบขนงโก่งเหมือนดังเดือนแรม ทั้งสองแก้มเพียงพระจันทร์วันเพ็ญ เอวบางร่างรัดกำดัดสวาท ดูผุดผาดสารพัดอรัดเคร่ง เข้าแอบฉากแพรแสแลเล็ง ยิ่งเพ่งยิ่งพิศยิ่งติดใจ ฯ ๖ คำ ฯ - โวหารภาพพจน์ เมื่อนั้น คำแหงหนุมานชาญสมร รบรับจับประจัญฟันฟอน หมายสังหารราญรอนอสุรา แล้วเข้าไปในปากกุมภัณฑ์ ออกทางข้างกรรณเบื้องขวา กลับเข้ากรรณซ้ายด้วยศักดา ทะลุออกกระบอกตาอสุรี แล้วลงตามลำไส้ด้วยว่องไว เอาตรีแตระแหวะท้องยักษี ลากไส้ออกมาจากนาภี อสุรีล้มดิ้นสิ้นชีวา ฯ ๖ คำ ฯ โอด - สัญลักษณ์ เมื่อนั้น องค์พระหริรักษ์เรืองศรี ครั้นสิ้นแสงสุริยาราตรี สถิตที่แท่นทองห้องใน นิ่งนึกคะนึงถึงสีดา ไม่รู้ว่ายากเย็นเป็นไฉน จำจะใช้ทหารชาญชัย ไปสืบข่าวอรไทถึงลงกา พระนิ่งนึกตรึกไตรไปมา จนสุริยาเยี่ยมยอดยุคันธร ฯ ๖ คำ ฯ คำที่ทำตัวหนาแสดงสัญลักษณ์ถึงความเศร้าเมื่อพระอาทิตย์ได้ตกดินไปแล้ว - รสวรรณคดี : สิงคารรส ตอนหนุมานเข้าห้องนางบุษมาลี สุดเอยสุดสวาท แสนฉลาดลิ้นลมคมสัน ลวงล่อเลือกว่าสารพัน ถ้าเช่นนั้นโฉมฉายสบายใจ ขึ้นอยู่สรวงสวรรค์ชั้นอินทร์พรหม ใครจะตามไปชมเชยได้ จะลวงกันให้เก้อเอออะไร พอรู้เท่าเข้าใจอยู่ดอกน้อง ว่าพลางทางทำทอดสนิท แนบชิดเชยชมสมสอง ระทวยทอดกอดเกี่ยวกรตระกอง ตามทำนองเสน่หาประสาลิง ฟ้าลั่นคลั่นครื้นดังปืนยิง พยุยิ่งฮือฮือกระพือพัด ประเดี๋ยวลงฝนตกลงซู่ซู่ ท่วมคูขอบวังทั้งจังหวัด ถ้อยทีภิรมย์โสมนัส ตามกำหนัดเสน่หาอาวรณ์ ฯ ๖ คำ ฯ 2. รูปแบบ 2.1 ความเหมาะสมของเนื้อหา เรื่องรามเกียรติ์เป็นเรื่องราวที่ถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับการรบ มีการดำเนินเรื่องไปอย่างสมเหตุสมผล 2.2 ความงดงามทางฉันทลักษณ์ รถเอยราชรถอินทร์ กงแก้วโกมินอลงกต สามงอนอ่อนสลวยชวยชด เครือขดช่อตั้งกระจังราย ชั้นหนึ่งครุฑจับภุชงค์ผยอง ชั้นสองเทพนมเฉิดฉาย ชั้นสามกินรีรำกราย บุษบกแก้วลายอรชร เทียมด้วยสินธพเทพบุตร ฤทธิรุทยิ่งพญาไกรสร พระลักษมณ์นั่งหน้าประนมกร มาตุลีขับจรดั่งลมพัด ประดับด้วยอภิรุมชุมสาย ธงริ้วทิวลายปลายสะบัด หมู่พหลพลแห่เยียดยัด ขนัดกลองฆ้องทนอึงอล เสียงสินธารร้องก้องกึก โห่ฮึกประสานกาหล ผงคลี่บดบังพระสุริยน เร่งพลรีบเวไชยันต์ไปฯ จุดมุ่งหมายในการแต่งเพื่อใช้เป็นบทละครสำหรับเล่นละครใน หรือที่เห็นกันในปัจจุบันนี้คือโขลน เพื่อรวบรวมบทละครเรื่องรามเกียรติ์ที่บางส่วนที่สูญหายไปในช่วงศึกสงครามในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราชและมาชำระใหม่เพื่อให้สมบูรณ์ที่สุด เพื่อสมโภชกรุงเทพมหานคร เพื่อปลุกใจประชาชนให้มีความรักชาติ เข้มแข็ง อดทน ให้มีความกล้าหาญเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นการบันทึกเรื่องราวทางยุทธศาสตร์การรบ ดังจะเห็นได้จากตอนที่ทศกัณฐ์ออกรบ มีการแปลขบวนทัพเป็นรูปครุฑ รูปนาค ซึ่งในตำรายุทธพิชัยสงครามสมัยกรุงศรีอยุธยาได้กล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งพระเจ้ากรุงหงสาวดีทำศึกกับพระมหาธรรมราชา ได้มีการแปลขบวนทัพเป็นรูปครุฑ รูปนาค ( พิมาน แจ่มจรัส, 2527,159 ) เพราะสมัยนั้นอยู่ในช่วงศึกสงคราม ถึงแม้ว่าบ้านเมืองเริ่มเป็นปึกแผ่นแล้วก็ตาม อีกทั้งยังเป็นการประกาศพระเกียรติยศของพระองค์ไปด้วย นอกจากนี้ยังจะเป็นการสนับสนุนนาฏศิลป์โดยการให้มีละครในซึ่งใช้เนื้อเรื่องรามเกียรติ์ ทำให้ทั้งเชื้อพระวงศ์ เจ้านายชั้นสูง ข้าราชบริพารมีความสนุกสนานไม่ตึงเครียดกับการศึกมากนัก เนื้อหาส่วนใหญ่กล่าวถึงการเดินทางและการรบซึ่งเกิดจากปมปัญหาเด่น ที่สำคัญที่จะทำให้เรื่องมีความโดดเด่นและน่าสนใจมากขึ้น ชวนให้ติดตาม คือ นางอันเป็นที่รักถูกลักพาตัวไป การตามกวาง เป็นต้น 3. สารัตถะหรือแนวคิดของเรื่อง 3.1 สภาพสังคมและวัฒนธรรมที่ปรากฏ คือ ในการดำเนินเรื่องนั้น กวีจะสอดแทรกลักษณะความเป็นอยู่ของคนไทยที่ออกมาจากตัวละครและสิ่งแวดล้อม อย่างเช่น ตอนที่พระรามตามกวางนั้นเป็นการบอกถึงกีฬาอย่างหนึ่งของคนโบราณที่ต้องล่าหรือจับสัตว์ การสื่อให้เห็นถึงลักษณะของกษัตริย์ที่ต้องมีผู้ติดตามรับใช้ใกล้ชิด เปรียบเหมือนหนุมานเป็นมหาดเล็กใกล้ชิดก็ว่าได้ สังคมในสมัยนั้นยังคงมีเรื่องของการมีเมียมากมายหลายคน สื่อให้ให้ถึงคนในสมัยก่อนที่มักจะมีเมียเยอะแยะ และเมียต้องเป็นช้างเท้าหลัง เมื่อสามีสั่งอะไรเมียต้องทำตามและอยู่ในโอวาท ต้องอยู่เย้าเฝ้าเรือน เลี้ยงลูก ต้องซื่อสัตย์ต่อสามี ไม่มีการคุมกำเนิด ดังจะเห็นได้จากนางมณโฑที่มีลูกเยอะแยะ มีความกตัญญู การเป็นผู้นำของครอบครัว เป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดี เป็นต้น 3.2 ค่านิยมและโลกทัศน์ คือ ค่านิยมเกี่ยวกับความรักที่นางสีดามีต่อพระราม นางมณโฑมีต่อทศกัณฐ์ นอกจากนั้นยังสื่อให้เห็นว่าตัวละครตัวหนึ่งมีมุมมองที่ดีและสื่อออกมาเด่นชัดที่สุดว่าถ้าคืนตัวนางสีดาไปแล้วเผ่าพงศ์ยักษ์จะไม่เดือดร้อน นั่นคือพิเภก เป็นผู้ที่มองการณ์ไกลมีแนวคดีและมีสติอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังสื่อถึงวิธีการแต่งที่เกี่ยวกับค่านิยมอีกด้วย - เกี่ยวกับความงาม นางสีดางามที่สุด จะหานางใดใน 3 โลกเปรียบไม่ได้ แสดงว่าสวยมาก มีรูปร่างเอวอ่อนอ้อนแอ้นอรชร มีความเป็นกุลสตรี - ความงดงามของกวางทอง ที่ทำให้พระรามต้องตามไป - ความงามของพระราม และพระลักษมณ์ที่มีความงดงามทั้งทางรูปทรงและลักษณะ กล่าวคือ มีรูปร่างอ้อนแอ้น - ผู้ร้าย ซึ่งคือพวกยักษ์ ก็จะมีรูปร่างใหญ่โต ดูน่าเกรงขาม รูปร่างน่ากลัว - ผู้ช่วยพระเอก คือพวกลิง ก็จะมีลักษณะตัวเล็ก ๆ คล่องแคล่วว่องไว มีความงดงามในการแสดง กล่าวคือ เวลาที่ศิลปากรแสดงโขลน บุคลิกที่ดูงดงามตัวหนึ่งคือพวกลิง เวลาแสดงต้องผสมผสานความอ่อนช้อยและท่วงท่าที่แสดงออกถึงการไม่อยู่นิ่งของลิงทำให้ดูตลกและสนุกสนานยิ่งนัก ซึ่งเป็นค่านิยมในการแต่งที่มักจะให้ผู้ช่วยพระเอกเป็นคนที่สนุกสนานจึงทำให้วรรณกรรมยุคปัจจุบัน ได้รับอิทธิพลในส่วนนี้นำไปแต่งเรื่องอื่น ๆ ต่อไป 4. บุคลิกภาพของกวี ในช่วงที่รัชการที่ 1 และ รัชการที่ 2 ทรงประพันธ์และชำระเรื่องรามเกียรติ์ขึ้น ซึ่งในยุคสมัยนั้นเป็นช่วงที่ประเทศไทยเริ่มมีความเป็นปึกแผ่น แต่บางส่วนยังมีสงครามอยู่ วรรณคดีเรื่องนี้จึงสะท้อนเรื่องราวของสงคราม การต่อสู้ ความกล้าหาญของกษัตริย์ การปกครองคน ปกครองเมือง การรู้จักใช้คนซึ่งพระองค์ทรงแฝงบทบาทของกษัตริย์ไว้ในตัวละคร คือ พระราม และทศกัณฐ์ ซึ่งจะมีความเป็นผู้นำ รู้จักใช้คนสนิท มีการพูดโน้มน้าวใจให้คนใกล้ตัวทำตาม
23 กุมภาพันธ์ 2552 22:09 น. - comment id 104011
ข้อมูลดีมากๆเลยค่ะ หนูกำลังข้อมูลนี้เพื่อส่งรายงานเรื่องนี้พอดี หามาตั้งนาน เจอสักที ขอบคุณค่ะ สำหรับข้อมูลดีๆที่นำมาฝากกัน (ถ้าไม่ส่งไม่จบแน่ๆเลย)
29 พฤศจิกายน 2552 17:50 น. - comment id 110451
ขออุปนิสัยของไมยราพด้วยคับ
20 มิถุนายน 2553 19:28 น. - comment id 117532
kuyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyy sattttttttttttt por mung tai
6 กรกฎาคม 2553 13:20 น. - comment id 117875
6 กรกฎาคม 2553 13:21 น. - comment id 117876
เยอะจังอ่านไม่ไหวปวดหัว ช่วย น่าเบื่อ
6 กรกฎาคม 2553 13:29 น. - comment id 117877
หว้าปวดตาเยอะมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆเลยแต่ก็สนุกนะ และชอบมากด้วย
30 สิงหาคม 2553 19:41 น. - comment id 118921
love gun the sta
29 พฤศจิกายน 2553 09:17 น. - comment id 120264
8 ธันวาคม 2553 17:57 น. - comment id 120465
อยากรู้ลักษณะนิสัยของพระนารายณ์จร้า
24 มกราคม 2554 17:21 น. - comment id 121825
วิเคราะห์รามเกียรติ์ สุชาดา โมรา - ลักษณะนิสัยตัวละคร 1. นางสีดา เป็นผู้หญิงที่รักนวลสงวนตัว รักเดียวใจเดียวมีความมั่นคงต่อพระ ราม มีความกล้าหาญ ยอมลุยไฟเพื่อพิสูจน์ความรักและความมั่นคงที่มีต่อพระ ราม เมื่อนั้น นวลนางสีดามารศรี ได้ฟังดั่งต้องสายสุนี มิรู้ที่จะทูลให้เห็นจริง จึ่งบังคมก้มพักตร์พจนารถ อันข้าบาทยากเย็นเพราะเป็นหญิง จะว่าไปไม่มีที่อ้างอิง ใครจะเล็งเห็นจริงที่ในใจ เว้นแต่กองเพลิงกาลถ่านอัคคี จะเป็นที่พึ่งพาของข้าได้ ขอพระองค์จงสั่งให้กองไฟ ที่ในหน้าพลับพลาเวลานี้ ข้าจะตั้งความสัตย์อธิษฐาน สาบานต่อเบื้องบทศรี แล้วจะลุยเข้าไปในอัคคี ถ้าแม้นชั่วชีวีจงวายปราณ ฯ ๘ คำ ฯ นางสีดารู้สึกเสียใจที่พระรามไม่เชื่อว่าตนเองบริสุทธิ์จึงยอมลุยไฟเพื่อพิสูจน์ว่าตนเองนั้นไม่มีอะไรเกินเลยกับทศกัณฐ์อย่างแน่นอน 2. พระราม เป็นผู้ชายที่มีรักมั่นคง มีความเข้มแข็ง อดทน และมีอารมณ์อ่อน ไหว ดังจะเห็นได้จากตอนที่นางเบญจกายแปลงเป็นนางสีดาลอยน้ำมา ยอดเอยยอดมิ่ง เป็นความในใจจริงทุกสิ่งสรรพ์ หวังสวาทมาดหมายไม่วายวัน จะรับขวัญนัยนามาธานี ที่ผูกใจจึงไปดลจิตเจ้า ให้โฉมนงเยาว์มาถึงที่นี่ ขอเชิญดวงดอกฟ้าสุมาลี อยู่เป็นศรีนคเรศนิเวศน์วัง เจ้าจงดูปราสาทราชฐาน ทั้งตึกกว้านมากมายหลายหลัง คลังเงินคลังทองสิบสองพระคลัง ทรัพย์สินมั่งคั่งเรามากมี ขอเชิญโฉมเฉลาเป็นเจ้าของ ครอบครองสารพัดสมบัติพี่ จงผินผันพักตรามาข้างนี้ พูดจาพาทีกับพี่ยา ควรหรือทำสะเทินเมินเฉย ไม่เห็นเลยว่ารักเจ้าหนักหนา มาหยุดอยู่นี่ไยไคลคลา ไปนั่งแท่นแว่นฟ้าเถิดเทวี ฯ ๑๐ คำ ฯ พระ รามมีความรู้สึกเสียใจ พยายามให้นางสีดาแปลงนั้นฟื้นคืนสติขึ้นมาพูดคุยกับ ตนแต่ก็สุดปัญญา ซึ่งทำให้ทราบถึงอารมณ์ที่พระรามมีต่อนางสีดาอย่างทราบ ซึ้ง นอกจากนั้นยังสื่อให้เห็นภาพว่าพระรามประคองนางสีดามาแนบตักและพูดกับ นางด้วยความเสียใจและอาลัยยิ่งนัก 3. พระลักษมณ์ เป็นน้องที่ดี รักพี่ มีความเข้มแข็งและมีความเชื่อมั่นต่อพี่สะใภ้ว่าจะมั่นคงต่อพระรามแน่นอน 4. หนุมาน เป็นทหารเอกที่รู้ใจพระรามที่สุด ฉลาดรอบรู้ ค่อนข้างหัว ดื้อ เช่น ตอนที่หักกิ่งไม้ ทำลายอุทยานของทศกัณฐ์ ตอนเผาเมือง ลงกา เป็นต้น ซึ่งเป็นการทำนอกเหนือคำสั่ง เจ้าเล่ห์เพทุบาย มีกลอุบาย มากมายซึ่งเอาไว้ใช้ในการศึก รักนายและพลีชีพเพื่อนาย 5. องคต มีความกตัญญูรู้คุณต่อพระราม และนางมณโฑ แต่เพื่อความถูกต้ององคตจึงทำในสิ่งที่ถูกต้อง 6. ท้าวมาลีวราช เป็นผู้ที่มีความยุติธรรม ให้ความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายไม่ คำนึงว่าหลานตนเป็นคนผิด ( ไม่เข้าข้างคนผิด ) ดังตอนท้าวมาลีวราชว่าความ เมื่อนั้น พระพงศ์พรหมบรมนาถา จึ่งว่ากูผู้พิจารณา พิพากษาอาธรรม์หรือฉันใด ไม่ควรค้านพาลพาโลโกสีย์ รถของเขามีเขาก็ให้ เมื่อสืบสวนสมอ้างทุกอย่างไป ยังแก้ไขคดเคี้ยวเกี่ยวพัน เป็นของข้าวเล่าเถิดว่าตกหล่น นี่เก็บคนได้ดูก็ขบขัน เอ็งพูดไม่มีจริงสักสิ่งอัน แม่นมั่นมึงลักเมียพระราม จงควรคิดถอยหลังฟังกูว่า อย่าฉันทาทำบาปหยาบหยาม เร่งคืนส่งองค์สีดางางาม ให้พระรามผัวเขาอย่าเอาไว้ ฯ ๘ คำ ฯ 7. พิเภก เป็น ผู้ที่รู้ผิดชอบชั่วดี แนะแนวทางที่ดีและถูกต้องให้แก่พี่ชายแต่เมื่อพี่ ชายไม่ฟังจึงถูกขับออกจากเมืองต้องมาอยู่กับพระราม ก็รู้คุณและช่วยเหลือ พระรามมาโดยตลอด 8. นางมณโฑ มีความรักลูก รักสามี ไม่โกรธเคืองที่สามีหาผู้หญิงอื่นมาอยู่ด้วย 9. ทศกัณฐ์ รักลูก รักพวกพ้อง แต่ไม่คำนึงถึงความผิดถูก พาพวกพ้องมาสู้รบในเรื่องไม่เป็นเรื่องจนกระทั่งวงศ์วารหมดสิ้น - ก่อให้เกิดจินตนาการณ์ อารมณ์ เมื่อนั้น ทศกัณฐ์เคืองขัดอัชฌาสัย ลุกขึ้นกระทืบบาทตวาดไป เหม่ไอ้เจ้าเล่ห์เพทุบาย คิดว่าขี้ขลาดดั่งชาติเนื้อ ได้สาบเสือตัวสั่นขวัญหาย เสียแรงกำเนิดเกิดเป็นชาย ไม่มีอายไม่มีเจ็บเท่าเล็บมือ เมื่อข้าศึกมาชิดไม่คิดรบ จะให้นบนอบมันกระนั้นหรือ หมายว่าน้องต้องปรึกษาหารือ ชะเจ้าคนซื่อถือสัตย์ธรรม์ จงไปหาลักษมณ์รามตามพิเภก จะได้เสกให้ผ่านไอศวรรย์ อันตัวกูสู้ตายวายชีวัน มิขอพันผูกรักกับลักษมณ์ราม ฯ ๘ คำ ฯ - ภาษาสามัญ ( จากตัวอย่างข้างต้น ) - ภาษาในเชิงเปรียบเทียบ เห็นนางหนึ่งงามแฉล้มแช่มช้อย นั่งร้อยดอกดวงพวงบุปผา ทรงโฉมประโลมเลิศลักขณา พักตราจิ้มลิ้มยิ้มแย้ม ผิวเนื้อนวลละอองเป็นสองสี โอษฐ์นางอย่างลิ้นจี่จีนแต้ม ขอบขนงโก่งเหมือนดังเดือนแรม ทั้งสองแก้มเพียงพระจันทร์วันเพ็ญ เอวบางร่างรัดกำดัดสวาท ดูผุดผาดสารพัดอรัดเคร่ง เข้าแอบฉากแพรแสแลเล็ง ยิ่งเพ่งยิ่งพิศยิ่งติดใจ ฯ ๖ คำ ฯ - โวหารภาพพจน์ เมื่อนั้น คำแหงหนุมานชาญสมร รบรับจับประจัญฟันฟอน หมายสังหารราญรอนอสุรา แล้วเข้าไปในปากกุมภัณฑ์ ออกทางข้างกรรณเบื้องขวา กลับเข้ากรรณซ้ายด้วยศักดา ทะลุออกกระบอกตาอสุรี แล้วลงตามลำไส้ด้วยว่องไว เอาตรีแตระแหวะท้องยักษี ลากไส้ออกมาจากนาภี อสุรีล้มดิ้นสิ้นชีวา ฯ ๖ คำ ฯ โอด - สัญลักษณ์ เมื่อนั้น องค์พระหริรักษ์เรืองศรี ครั้นสิ้นแสงสุริยาราตรี สถิตที่แท่นทองห้องใน นิ่งนึกคะนึงถึงสีดา ไม่รู้ว่ายากเย็นเป็นไฉน จำจะใช้ทหารชาญชัย ไปสืบข่าวอรไทถึงลงกา พระนิ่งนึกตรึกไตรไปมา จนสุริยาเยี่ยมยอดยุคันธร ฯ ๖ คำ ฯ คำที่ทำตัวหนาแสดงสัญลักษณ์ถึงความเศร้าเมื่อพระอาทิตย์ได้ตกดินไปแล้ว - รสวรรณคดี : สิงคารรส ตอนหนุมานเข้าห้องนางบุษมาลี สุดเอยสุดสวาท แสนฉลาดลิ้นลมคมสัน ลวงล่อเลือกว่าสารพัน ถ้าเช่นนั้นโฉมฉายสบายใจ ขึ้นอยู่สรวงสวรรค์ชั้นอินทร์พรหม ใครจะตามไปชมเชยได้ จะลวงกันให้เก้อเอออะไร พอรู้เท่าเข้าใจอยู่ดอกน้อง ว่าพลางทางทำทอดสนิท แนบชิดเชยชมสมสอง ระทวยทอดกอดเกี่ยวกรตระกอง ตามทำนองเสน่หาประสาลิง ฟ้าลั่นคลั่นครื้นดังปืนยิง พยุยิ่งฮือฮือกระพือพัด ประเดี๋ยวลงฝนตกลงซู่ซู่ ท่วมคูขอบวังทั้งจังหวัด ถ้อยทีภิรมย์โสมนัส ตามกำหนัดเสน่หาอาวรณ์ ฯ ๖ คำ ฯ 2. รูปแบบ 2.1 ความ เหมาะสมของเนื้อหา เรื่องรามเกียรติ์เป็นเรื่องราวที่ถ่ายทอดเรื่องราว เกี่ยวกับการรบ มีการดำเนินเรื่องไปอย่างสมเหตุสมผล 2.2 ความงดงามทางฉันทลักษณ์ รถเอยราชรถอินทร์ กงแก้วโกมินอลงกต สามงอนอ่อนสลวยชวยชด เครือขดช่อตั้งกระจังราย ชั้นหนึ่งครุฑจับภุชงค์ผยอง ชั้นสองเทพนมเฉิดฉาย ชั้นสามกินรีรำกราย บุษบกแก้วลายอรชร เทียมด้วยสินธพเทพบุตร ฤทธิรุทยิ่งพญาไกรสร พระลักษมณ์นั่งหน้าประนมกร มาตุลีขับจรดั่งลมพัด ประดับด้วยอภิรุมชุมสาย ธงริ้วทิวลายปลายสะบัด หมู่พหลพลแห่เยียดยัด ขนัดกลองฆ้องทนอึงอล เสียงสินธารร้องก้องกึก โห่ฮึกประสานกาหล ผงคลี่บดบังพระสุริยน เร่งพลรีบเวไชยันต์ไปฯ จุด มุ่งหมายในการแต่งเพื่อใช้เป็นบทละครสำหรับเล่นละครใน หรือที่เห็นกันใน ปัจจุบันนี้คือโขลน เพื่อรวบรวมบทละครเรื่องรามเกียรติ์ที่บางส่วนที่สูญ หายไปในช่วงศึกสงครามในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราชและมาชำระใหม่เพื่อให้ สมบูรณ์ที่สุด เพื่อสมโภชกรุงเทพมหานคร เพื่อปลุกใจประชาชนให้มีความรัก ชาติ เข้มแข็ง อดทน ให้มีความกล้าหาญเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนใน ประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นการบันทึกเรื่องราวทางยุทธศาสตร์การรบ ดังจะ เห็นได้จากตอนที่ทศกัณฐ์ออกรบ มีการแปลขบวนทัพเป็นรูปครุฑ รูปนาค ซึ่งใน ตำรายุทธพิชัยสงครามสมัยกรุงศรีอยุธยาได้กล่าวไว้ว่า “เมื่อครั้งพระเจ้า กรุงหงสาวดีทำศึกกับพระมหาธรรมราชา ได้มีการแปลขบวนทัพเป็นรูปครุฑ รูปนาค ” ( พิมาน แจ่มจรัส, 2527,159 ) เพราะสมัยนั้นอยู่ในช่วงศึกสงคราม ถึงแม้ว่าบ้านเมืองเริ่มเป็นปึกแผ่นแล้ว ก็ตาม อีกทั้งยังเป็นการประกาศพระเกียรติยศของพระองค์ไปด้วย นอกจากนี้ยัง จะเป็นการสนับสนุนนาฏศิลป์โดยการให้มีละครในซึ่งใช้เนื้อเรื่อง รามเกียรติ์ ทำให้ทั้งเชื้อพระวงศ์ เจ้านายชั้นสูง ข้าราชบริพารมีความ สนุกสนานไม่ตึงเครียดกับการศึกมากนัก เนื้อหาส่วนใหญ่กล่าวถึงการเดินทาง และการรบซึ่งเกิดจากปมปัญหาเด่น ที่สำคัญที่จะทำให้เรื่องมีความโดดเด่นและ น่าสนใจมากขึ้น ชวนให้ติดตาม คือ นางอันเป็นที่รักถูกลักพาตัวไป การตาม กวาง เป็นต้น 3. สารัตถะหรือแนวคิดของเรื่อง 3.1 สภาพสังคมและ วัฒนธรรมที่ปรากฏ คือ ในการดำเนินเรื่องนั้น กวีจะสอดแทรกลักษณะความเป็น อยู่ของคนไทยที่ออกมาจากตัวละครและสิ่งแวดล้อม อย่างเช่น ตอนที่พระรามตาม กวางนั้นเป็นการบอกถึงกีฬาอย่างหนึ่งของคนโบราณที่ต้องล่าหรือจับสัตว์ การ สื่อให้เห็นถึงลักษณะของกษัตริย์ที่ต้องมีผู้ติดตามรับใช้ใกล้ชิด เปรียบ เหมือนหนุมานเป็นมหาดเล็กใกล้ชิดก็ว่าได้ สังคมในสมัยนั้นยังคงมีเรื่องของ การมีเมียมากมายหลายคน สื่อให้ให้ถึงคนในสมัยก่อนที่มักจะมีเมียเยอะ แยะ และเมียต้องเป็นช้างเท้าหลัง เมื่อสามีสั่งอะไรเมียต้องทำตามและอยู่ ในโอวาท ต้องอยู่เย้าเฝ้าเรือน เลี้ยงลูก ต้องซื่อสัตย์ต่อสามี ไม่มี การคุมกำเนิด ดังจะเห็นได้จากนางมณโฑที่มีลูกเยอะแยะ มีความกตัญญู การ เป็นผู้นำของครอบครัว เป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดี เป็นต้น 3.2 ค่านิยม และโลกทัศน์ คือ ค่านิยมเกี่ยวกับความรักที่นางสีดามีต่อพระราม นางมณโฑ มีต่อทศกัณฐ์ นอกจากนั้นยังสื่อให้เห็นว่าตัวละครตัวหนึ่งมีมุมมองที่ดีและ สื่อออกมาเด่นชัดที่สุดว่าถ้าคืนตัวนางสีดาไปแล้วเผ่าพงศ์ยักษ์จะไม่เดือด ร้อน นั่นคือพิเภก เป็นผู้ที่มองการณ์ไกลมีแนวคดีและมีสติอยู่ตลอด เวลา นอกจากนี้ยังสื่อถึงวิธีการแต่งที่เกี่ยวกับค่านิยมอีกด้วย - เกี่ยวกับความงาม นางสีดางามที่สุด จะหานางใดใน 3 โลกเปรียบไม่ได้ แสดงว่าสวยมาก มีรูปร่างเอวอ่อนอ้อนแอ้นอรชร มีความเป็น กุลสตรี - ความงดงามของกวางทอง ที่ทำให้พระรามต้องตามไป - ความงามของพระราม และพระลักษมณ์ที่มีความงดงามทั้งทางรูปทรงและลักษณะ กล่าวคือ มีรูปร่างอ้อนแอ้น - ผู้ร้าย ซึ่งคือพวกยักษ์ ก็จะมีรูปร่างใหญ่โต ดูน่าเกรงขาม รูปร่างน่ากลัว - ผู้ ช่วยพระเอก คือพวกลิง ก็จะมีลักษณะตัวเล็ก ๆ คล่องแคล่วว่องไว มีความงดงามในการแสดง กล่าวคือ เวลาที่ศิลปากรแสดง โขลน บุคลิกที่ดูงดงามตัวหนึ่งคือพวกลิง เวลาแสดงต้องผสมผสานความอ่อนช้อย และท่วงท่าที่แสดงออกถึงการไม่อยู่นิ่งของลิงทำให้ดูตลกและสนุกสนานยิ่ง นัก ซึ่งเป็นค่านิยมในการแต่งที่มักจะให้ผู้ช่วยพระเอกเป็นคนที่สนุกสนาน จึงทำให้วรรณกรรมยุคปัจจุบัน ได้รับอิทธิพลในส่วนนี้นำไปแต่งเรื่องอื่น ๆ ต่อไป 4. บุคลิกภาพของกวี ในช่วงที่รัชการที่ 1 และ รัชการที่ 2 ทรงประพันธ์และชำระเรื่องรามเกียรติ์ขึ้น ซึ่งในยุคสมัยนั้นเป็นช่วงที่ ประเทศไทยเริ่มมีความเป็นปึกแผ่น แต่บางส่วนยังมีสงครามอยู่ วรรณคดี เรื่องนี้จึงสะท้อนเรื่องราวของสงคราม การต่อสู้ ความกล้าหาญของ กษัตริย์ การปกครองคน ปกครองเมือง การรู้จักใช้คนซึ่งพระองค์ทรงแฝงบทบาท ของกษัตริย์ไว้ในตัวละคร คือ พระราม และทศกัณฐ์ ซึ่งจะมีความเป็นผู้ นำ รู้จักใช้คนสนิท มีการพูดโน้มน้าวใจให้คนใกล้ตัวทำตาม
17 กรกฎาคม 2554 19:29 น. - comment id 125037
ได้ความรู้มากมายเลยค่ะขอบคูรมากค่ะ
17 กรกฎาคม 2554 19:32 น. - comment id 125039
ได้ความรู้มากมายเลยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ
9 กรกฎาคม 2555 19:53 น. - comment id 129746