วรรณคดีในแง่วรรณศิลป์... โดย พระยาอนุมานราชธน คัดจาก หนังสือ สูจิบัตร งานสัปดาห์แห่งวรรณคดี พ.ศ.๒๕๐๓ **ประกอบด้วยสนมกำนัล...แปดหมื่นสี่พันพร้อมหน้า** นี่เป็นกลอนอยู่ในหนังสือเรื่องอะไรก็จำไม่ได้ เป็นแต่รู้เพียงว่าเป็นวรรณคดีเก่า ไม่ใช่ วรรณคดีปัจจุบัน ท่านอ่านแล้วมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร ท่านคงตอบได้ทันทีว่าไม่มีความจริง ถูกของท่านในแง่ข้อเท็จจริง แต่ถ้าคิดในแง่ของวรรณคดี ก็เป็นความจริง กวีต้องการจะเน้นให้เห็นความแตกต่างระหว่าง ท้าวพระยามหากษัตริย์แต่ก่อน กับตาสีตาสา ว่ามีฐานะผิดแผกกันอย่างไร ถ้า * สนมกรมนางกำนัลใน ** ของท้าวพระยามหากษัตริย์ อันพึงมีเป็นจำนวนสูงสุดได้เท่านี้แล้ว พระอินทร์ผู้เป็น จอมเทวดาจะมีได้มากกว่านี้สักเท่าไร ตามธรรมดา ก็ต้องมีมากกว่าเป็นของแน่ อยากทราบว่าพระอินทร์ท่านมีเท่าไร อ่านดูในหนังสือ ไตรภูมิพระร่วงก็แล้วกัน ข้าพเจ้ายกเอาคำว่า **วรรณคดี** ขึ้นมาอ้าง ท่านอาจเข้าใจดีว่า หมายความถึงอะไร แต่ความเข้าใจนี้อาจไม่ตรงกับที่ข้าพเจ้าเข้าใจก็ได้ เพราะความหมายของคำ ถ้าไม่ตรงกัน ก็ทำให้เข้าใจผิดได้ไม่มากก็น้อย เพื่อให้ท่านทราบถึงความหมายคำ **วรรณคดี** ตามที่ข้าพเจ้าเข้าใจ จึงจะนำความรู้ของข้าพเจ้ามาตีแผ่ให้ท่านทราบ เท่าที่ตัวเองนึกว่ารู้ นอกเหนือจากนี้ไปก็ไม่รู้ วรรณคดี คือ หนังสือ ไม่ว่าเรื่องใด ที่แต่งขึ้น ทั้งในอดีต และในปัจจุบัน......นี่เป็นความหมายคำว่า วรรณคดีอย่างกว้างๆ ในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสร พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ .ซึ่งมีคำ วรรณคดี ปรากฎขึ้นเป็นครั้งแรกในภาษาไทย จำกัดลักษณะของหนังสือที่วรรณคดีสโมสร จะรับไว้พิจารณา มีอยู่ ๕ประเภท และหนังสือเหล่านี้จะต้องเป็นหนังสือดี และ แต่งดีด้วย จึงจะได้รับการพิจารณาของวรรณคดีสโมสร วรรณคดีอีกความหมายหนึ่ง ซึ่งเป็นความคิดเห็นของทางตะวันตก คือ หนังสือที่มีลักษณะเป็นศิลป เหตุนี้ใน พระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสถาน พระพุทธศักราช ๒๔๘๕ จึงได้เกิดมีคำว่า วรรณคดีศิลป์ ขึ้น คือ ศิลปทางแต่งหนังสือ ศิลปเป็นนามธรรม เป็นเรื่องที่เห็นแต่ในใจ ต่อเมื่อแสดงให้ออกมาภายนอกใจเป็นสิ่งรูปธรรมเสียก่อน คนอื่นจึงจะดูรู้ดูเห็น หรืออ่านได้ สิ่งที่แสดงออกนี้ ท่านเรียกว่า ศิลปกรรม หรือ วรรณกรรม แล้วแต่กรณี ดั่งปรากฏมีคำทั้งสองนี้ อยู่ในพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พระพุทธศักราช ๒๔๗๔ นั้นแล้ว
วรรณกรรม ศิลปกรรมในที่นี้ หมายถึงงานเกี่ยวกับ วรรณคดีและศิลปตามความหมายอย่างกว้าง วรรณคดี ที่มีลักษณะเป็นศิลป ก็เพราะเป็นประเภทหนึงของ วิจิตรศิลป์ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน ๕ ประเภท คือ ๑ สถาปัตยกรรม ๒ ประติมากรรม ๓ วิจิตรศิลป์ ๔ ดุริยางคศิลป์ และ ๕ วรรณศิลป์ ส่วน นาฏศิลป์ ก็มีลักณะเป็น วิจิตรศิลป์ เหมือนกัน แตลักษณะส่วนใหญ่ของ นาฎศิลป์ มีอยู่ในดุริยางคศิลป์ และ วรรณศิลป์แล้ว จึงไม่แยกไว้เป็นเอกเทศ
เพื่อให้เข้าใจคำว่า ศิลป จะต้องกล่าวไปถึงเรื่อง คน คือเรื่องของท่านและของข้าพเจ้าเสียก่อน คน เมื่อเกิดมามีความต้องการด้วยความจำเป็นทางชีวิต และ ทางสังคม คือต้องทำมาหากินเลี้ยงชีพ เพื่อให้ได้สิ่งอันเป็น ปัจจัย ๔ อย่าง และสิ่ง อันจะให้ความสะดวกสบายแก่ตน ต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และต้องการไมตรีจิตจากเพื่อนผู้ร่วมสังคม ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความผาสุกแก่ตนตามสัญชาติญาณ นอกนี้ก็ยังต้องการบำรุงความรู้อันเป็นเรื่องของปัญญา และต้องการความสดชื่นในชีวิต อันเป็นเรื่องของจิตใจเกี่ยวกับความรู้สึกทางอารมณ์ ความต้องการอย่างหลังนี้แหละ เป็นเรื่องของศิลปในประเภทวิจิตรศิลป์ ซึ่งเป็นความจำเป็นแก่คนเหมือนกัน ว่าเฉพาะหนังสือวรรณคดีที่เป็นวรรณศิลป์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้สึกทางอารมณ์สะเทือนใจ หนังสือเล่มเดียวกันอาจมีทั้งที่ให้ความรู้ และให้ความรู้สึกทางอารมณ์สะเทือนใจปนกันอยู่ก็ได้ ถ้าต้องการวิเคราะห์เรื่องทางอารมณ์ ก็ต้องแยกเรื่องความรู้สึกออกเสียก่อน หนังสือที่แต่งม่งไปทางอารมณ์ ไม่ใช่ว่าจะทำให้ผู้อ่านรู้สึกทางอารมณ์ได้ตลอดไปทั้งเรื่องก็หาไม่ อาจมีที่ทำให้เกิดอารมณ์เป็นลางแห่งก็ได้ ลางแห่งเราอ่านก็เกิดอารมณ์ แต่คนอื่นอ่านไม่รู้สึกเหมือนกับเราก็ได้ ทั้งนี้เป็นด้วยเรื่องรสนิยม ซึ่งทุกคนมีไม่เหมือนกัน งามหรือไม่งาม เพราะหรือไม่เพราะ ถ้าลงได้ขัดแย้งกัน เถียงกันจนคอเป็นเอ็น ก็ไม่มีวันลงรอยกันได้สนิท วรรณคดีที่เป็นวรรณศิลป์ โดยมากมักแต่งเป็น คำชนิดร้อยกรอง เพราะได้เสียงที่มีจังหวะ และ สัมผัส ดีกว่าแต่งเป็นความเรียง ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่า วรรณคดีที่เป็นวรรณศิลป์ จะต้องเป็นคำร้อยกรองเสมอไป ถึงแต่งเป็นความเรียงในลักษณะที่เป็นร้อยแก้ว ก็เป็นวรรณคดีที่มีวรรณศิลป์ได้เหมือนกัน ร้อยแก้วในที่นี้ ข้าพเจ้าหมายถึง **ความเรียงที่สละสลวยไพเราะ เหมาะเจาะด้วยเสียง และ ความหมาย** (พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน) ตรงกับ ที่ภาษาอังกฤษ เรียกว่า prose-poem หรือ poetical prose จึงผิดกับ prose ซึ่งเป็นความเรียงตามธรรมดา
คราวนี้ถึงคำว่า วรรณคดีบริสุทธิ์ และ วรรณคดีประยุกต์ หนังสือเรื่องใดซึ่งแต่งขึ้นด้วยอำนาจ จินตนาการ หรือด้วยอำนาจอารมณ์สะเทือนใจ เป็นถ้อยคำอันไพเราะ ไม่ได้มุ่งประโยชน์จะให้เป็นวิชาความรู้ หรือเป็น คำสั่งสอนโดยตรง หนังสือนั้นก็เป็น วรรณคดีบริสุทธิ์ ถ้าตรงกันข้าม คือแต่งเพื่อให้เป็นความรู้หรือเป็นคำสั่งสอนโดยตรง ก็เป็น วรรณคดีประยุกต์ แต่การแบ่งวรรณคดี ออกเป็น บริสุทธิ์ และประยุกต์นี้ จะแบ่งให้เด็ดขาด เหมือนอย่างตัดขนมเอาเข้าปากเป็นชิ้นๆ หาได้ไม่ ได้ก็แต่เพียง อนุโลมเท่านั้น เป็นทำนองแบ่งคนออกเป็นผิวขาวและ ผิวดำ ถ้าขาวจริงๆ ดำจริงๆ ก็แบ่งได้ง่าย แต่คนที่ไม่ขาวสนิทก็มี และ ไม่ดำสนิทก็มี เมื่อไม่มีทางเลือกเป็นอื่นได้ นอกจาก ขาวและดำ ไม่ข้างใดก็ข้างหนึ่ง เราก็ต้องเลือกคนที่มีผิวค่อนข้างขาวว่าเป็นคนขาว และคนที่มีผิวค่อนข้างดำว่าเป็นคนดำโดยอนุโลมเท่านั้น นี้ฉันใด เรื่อง วรรณคดีบริสุทธิ์และ วรรณคดีประยุกต์ หรือไม่ว่าเรื่องอะไร ถ้าแยกประเภทออกเป็นสองลักษณะ ไม่มีทางจะเลือกได้เป็นอย่างอื่น มากกว่าสองทาง อันเป็นลักษณะที่คาบเส้นเหลื่อมล้ำกันอยู่ นี้ก็ฉันนั้น
ถัดไปถึง วรรณคดี ว่าเรื่องใดมีลักษณะสูง หรือ ต่ำ ดี หรือ ชั่ว นี่เกี่ยวกับ เรื่อง คุณค่าของวรรณคดี เป็นเรื่องพัลวันกันอยู่กับเรื่องรสนิยม เพื่อจะหาทางกำหนด ค่าของวรรณคดี ข้อนี้ จึงต้องมีหลักความเห็นสำหรับพิจารณาว่า สิ่งใดเป็น วรรณกรรม หรือกล่าวรวมอย่างกว้างๆ ว่า ศิลปกรรม ที่ถือว่ามีค่าสูง หรือ ต่ำ ดี หรือ ชั่ว เรียกว่า หลักแห่งการวิจารณ์ (Criticism) มีอยู่ด้วยกัน ๓ หลัก คือ ๑ วิจารณ์ในแง่ความรู้สึกนึกเห็นของตน ( Impressionistic Criticism ) ๒ วิจารณ์ในแง่แปลความหมาย ( Interpretative Criticism) ๒ ในแง่ วิพากษ์วิจารณ์ เป็นอย่างให้คำพิพากษา(Judicial Criticism ) การวิจารณ์อย่าง ๑ และ ๒ เป็นเรื่อง เอาความเห็นและ ความรู้สึกของบุคคลโดยธรรมดาเป็นที่ตั้ง ไม่ได้ใช้หลักวิชาความรู้เป็นเครื่องวิจารณ์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ รสนิยม ของใคร ก็ของใครมากกว่า ส่วนการวิจารณ์อย่างที่ ๓ คือการวิพากษ์วิจารณ์นั้น มีหลักสำหรับใช้วินิจฉัยตัดสิน เป็นทำนองผู้พิพากษาอรรถคดีในโรงศาล ซึ่งต้องเป็นผู้ทรงความรู้ และมีใจเที่ยงธรรม แต่เราจะหาผู้ที่มีลักษณะเช่นนี้ได้ที่ไหนมากคน มีก็แต่ ๒- ๓ คน เท่านั้น ซึ่ง ได้รับความยกย่อง ว่าเป็นนักวิพากษ์วิจารณ์โดยแท้ เพราะคนเราตามธรรมดา ถึงจะมีความรู้ในหลักการวิพากษ์วิจารณ์ แต่ก็ไม่พ้นเอาหลักวิจารณ์อย่างที่ ๑ และ ๒ เข้ามาประกอบด้วย แม้กระนั้น ก็ยังดีกว่า ผุ้ที่ไม่ใช้หลักวิจารณ์อย่างที่ ๓ เสียเลย ซ้ำคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ ถ้าพูดกันตามธรรมดาสามัญ ก็มักมีความหมายไปในทางว่า ติเพื่อหาตำหนิข้อบกพร่องในสิ่งที่วิจารณ์ แท้จริงการวิพากษ์วิจารณ์ ก็เพื่อจะค้นหาคุณงามความดีซึ่งมีอยู่ในสิ่งนั้น เพื่อกำหนดค่าของสิ่งนั้นว่า สูง ต่ำ หรือ ดี ชั่ว แค่ไหน จึงจำเป็นอยู่เอง ที่ต้องพิจารณาถึง ข้อบกพร่องในสิ่งนั้นด้วย เพื่อจะได้ไต่ขึ้นไปหาสิ่งที่ถือว่าเป็นอุดมคติ ได้สะดวกขึ้น เพราะฉะนั้น ว่าในทางหลักวิชาการวิพากษ์วิจารณ์ จึงมิใช่เรื่องจะจับผิด หาข้อบกพร่องโดยตรง แต่เป็นเรื่องค้นหาและกำหนดค่าให้แก่สิ่งนั้น
หลักสำหรับ วิพากษ์วิจารณ์ ว่าสิ่งใดที่เป็น ศิลปกรรม ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็น วรรณกรรม หรือเป็น ศิลปกรรม ในสาขา ๕ อย่าง ของ วิจิตรศิลป์ ข้อแรกที่ควรยกขึ้นพิจารณา ก็คือเรื่อง จินตนาการ ของผู้สร้างสรรค์ ศิลปกรรม ชิ้นนั้น เรื่องนั้น ว่ามีลักษณะ สูง หรือ ต่ำ ดี หรือ ชั่ว แค่ไหน โดยอาศัยข้อที่ควรหยิบยกขึ้น พิจารณา มีอยู่ ๓ ประการ ๑. เป็นความคิดแปลก ไม่เหมือนกับธรรมดาเพียงไรบ้าง ๒. เป็นความคิด สูง ต่ำ เพียงไหน ๓. เป็นความคิดส่งเสริมคุณงามความดีแก่สังคมแค่ไหน
๑.มนุษย์เรามีนิสัย เบื่อง่าย ไม่ชอบสิ่งที่มีอยู่อย่างซ้ำ ๆ ซาก ๆ เพราะ หายความสดชื่น ไม่เกิดรส เกิดความเร้าใจ เหมือนเมื่อได้ประสบครั้งแรก ๆ โปรดเข้าใจไว้ด้วยว่า ในที่นี้ข้าพเจ้า กล่าวเรื่องของ ศิลปและวรรณคดี เท่านั้น ไม่ใช่ขยายวงลามปามไปถึงเรื่องอื่น จริงอยู่ ความแปลกกว่าธรรมดาสามัญ เป็นประการแรกที่ควรหยิบยกขึ้นพิจารณาในการวิพากษ์วิจารณ์ แต่ผลอันเป็นสิ่งสุดท้ายและสำคัญที่สุดในแง่ของ ศิลป ไม่ใช่อยู่ที่แปลกอย่างเดียว ยังต้องมีความงาม ความไพเราะประกอบด้วย แปลกเป็นแต่ปัจจัย เพื่อให้บรรลุผลอันเป็นจุดหมาย คือความงาม ความไพเราะเท่านั้น อีกอย่างหนึ่ง แปลกในที่นี้ ไม่จำเป็นจะต้องเป็น สิ่งใหม่เสมอไป ถึงสิ่งเก่าเรื่องเก่า ถ้านำมาปรับปรุงได้งามหรือไพเราะ ยิ่งขึ้นกว่า ธรรมดาสามัญ ก็ถือว่า เป็นแปลก เป็นใหม่ ได้เหมือนกัน ในข้อที่ ๒ เรื่องเป็นความคิด สูง - ต่ำ เพียงไหน จะขอกล่าวแต่ย่อว่า เมื่อท่านอ่านเรื่อง นิราศ แล้วอ่านเรื่อง ลิลิตเตลงพ่ายเปรียบเทียบกันดู ก็พอจะรู้ได้ว่า ไหนสูง หรือ ต่ำกว่ากัน ในข้อ ๓ เรื่องเป็นความคิดส่งเสริม คุณงามความดีแก่สังคมแค่ไหน นี่เกี่ยวกับเรื่องอารมณ์สะเทือนใจ อันเป็นหลักการวิพากษ์วิจารณ์ ประการที่ ๒ รองจากเรื่องจินตนาการ อันเป็น ประการแรก สิ่งที่เป็น ศิลปกรรม แม้งามวิจิตร หรือไพเราะอย่างน่าพิศวงสักเพียงใดก็ตามที สร้างขึ้นด้วยฝีมือความสามารถ หรือด้วย ความคิดวิเศษสักเท่าไร ถ้ามุ่งประโยชน์ไปแต่ในทางรูปธรรมถ่ายเดียว จะจัดว่าเป็นศิลปกรรมที่แท้ที่สูง หาได้ไม่ จะเป็นก็แต่อุตสาหกรรม หรือ พาณิชศิลป์ เท่านั้น ถ้า ศิลปกรรมใด สร้างขั้นเพื่อประโยชน์ทางจิตใจ อันเป็น นามธรรม มุ่งหมายจะส่งเสริมจิตใจคน ให้สูงขึ้นสู่สภาพสูง คือ ความดีงาม พ้นสภาพแห่งความเป็นอยู่ทางรูปธรรม อันเป็นชีวิตประจำวันอย่างซ้ำซาก มีการกิน การนอน การเสพย์เมถุน เป็นต้น ศิลปกรรม นั้นก็เป็น ศิลปสูง ซึ่งภาษาอังกฤษ เรียกว่า High Arts ศิลปสูงตามที่กล่าวนี้ ก็เท่ากับเป็นธรรมอยู่ในตัว
ศิลปกรรมที่สูงและแท้จริง ( อย่าลืมว่า ข้าพเจ้าใช้คำนี้ให้หมายรวมถึง วรรณกรรมที่เป็น วรรณศิลป์ด้วย ) ไม่ใช่อยู่ที่ความงาม หรือ ความไพเราะอย่างเดียว ยังจะต้องมีลักษณะที่จะน้อมจิตใจผู้อ่านดูหรือผู้ฟัง ให้บังเกิดความรู้สึกซึ้งในค่าแห่งความจริง คือ ความดีงาม ให้ฝังอยู่ในจิตใจได้ถาวรนาน ประเทศชาติที่เจริญ ย่อมถือว่า ศิลปและวรรณคดี เป็นของสูง เป็นสิ่งเชิดหน้าชูตาของชาติ เพราะศิลปและวรรณคดี เป็นปัจจัย ยกฐานะแห่งจิตใจให้มนุษยชาติได้พ้นจากสภาพแห่งความเป็นป่าเถื่อน ประวัติศาสตร์ ของประเทศชาติต่าง ๆ บ่งให้เห็นเป็นตัวอย่างอยู่มากชาติ ว่าความเจริญที่ถาวร เป็นคุณ เป็นศานติสุขแก่มวลมนุษยชาติ ยิ่งกว่าอำนาจรุกรานทางแสนยากร ก็คือ อำนาจแห่งธรรม และ ศิลป เพราะฉะนั้น เราจะรู้ค่าของ ศิลปที่สูง ก็ด้วยทางอารมณ์สะเทือนใจ ที่ได้รับทางศิลปกรรม ท่านเข้าไปในวัด เห็น โบสถ์วิหารที่งดงาม (สถาปัตยกรรม) เห็นองค์พระประธาน มีความงามสง่า(ปฏิมากรรม ) เห็นภาพวิจิตรจนาวิจิตรศิลป์ ได้ฟังพระสวดเป็นทำนอง และลางทีก็มีพระสวดด้วยในพิธี (ดุริยางคศิลป และ วรรณศิลป์)ลางทีก็มีการจับระบำรำร่ายเป็นพุทธบูชานาฏศิลป์ กระทำให้เกิดอารมณ์ ความศรัทธาอันมีบ่อเกิดมาจากความสะเทือนใจทั้งนั้น ถ้าขาดสิ่งเหล่านี้ มุ่งเอาแต่เหตุผลทางปัญญาอย่างเดียว ผลจะเป็นอย่างไร นอกจากความแห้งแล้ง ขาดความสดชื่นแห่งชีวิต
ศิลปเกิดแต่อารมณ์สะเทือนใจ แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า อารมณ์สะเทือนใจ จะต้องเป็น ของดี ของสูงเสมอไป เพราะ กวี และ ศิลปิน อาจมีเจตนา จะ ให้ผู้อ่าน ผู้ดู หรือ ผู้ฟัง เกิดอารมณ์ทางฝ่ายต่ำก็ได้ เหตุนี้ ศิลปกรรม และ วรรณกรรมจึงมีทั้งที่สูง ที่เป็นฝ่ายกลางๆ ไม่สูงไม่ต่ำก็มี และที่เป็นฝ่ายต่ำก็มี ในภาษาอังกฤษ จึงแยก ศิลปออกเป็น Moral Arts, Amoral Arts และ Immoral Arts ตรงกับคำในพระอภิธรรม ที่พระท่านสวดหน้าศพว่า กุศลาธรรมา อัพพยากตาธรรมา อกุศลา ธรรมา ฉะนั้น ข้าพเจ้าเขียนเรื่องนี้แข่งกับเวลาเพื่อให้ทันต้องการ จึงจำเป็นต้องงดกล่าวหลักวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งยังมีเหลืออยู่อีก ๔ หลัก แต่ก็ไม่สำคัญนัก เพราะเป็นหลักที่หลั่นความสำคัญ รองลงมาจากสองข้อแรกที่กล่าวมาข้างต้น และข้อความที่นำมากล่าวไว้ในที่นี้ เก็บเอาแต่ใจความมากล่าวเท่านั้น จึงไม่มีตัวอย่างสนับสนุน ขอให้ท่านผู้อ่านที่สนใจ ลองใช้ความคิด ตรึกตรองดูบ้าง อย่าใช้แต่ความจำอย่างเดียว ท่านจะพบปัญหาแง่ต่างๆ ผุดขึ้นจากเรื่องนี้ ไม่มากก็น้อย เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ นามธรรม ซึ่งจะลงรอยเดียวกันเหมือนเรื่องรูปธรรม นั้นไม่ได้ ด้วยประการฉะนี้แล *---คัดจาก--- หนังสือสูจิบัตร งานสัปดาห์แห่งวรรณคดี พ.ศ. ๒๕๐๓ วรรณคดีในแง่วรรณศิลป์... โดย พระยาอนุมานราชธน คัดจาก หนังสือ สูจิบัตร งานสัปดาห์แห่งวรรณคดี พ.ศ.๒๕๐๓ อนึ่งขอกราบเรียนให้ท่านผู้ถือลิขสิทธิ์แห่ง พระยาอนุมานราชธนทราบว่า บทความดังกล่าวข้างต้นนี้ ได้คัดลอกจาก หนังสือ**ชุมนุมรุ่น วิทยาลัยบางแสน ๓๐ มกราคม ๒๕๐๓ หน้า 81-92 ไม่ปรากฎนามผู้คัดลอก จึงขอเรียนมาเพื่อเป็นประโยชน์แด่สาธารณะชน เฉพาะใช้หน้าเว็บไซท์แห่งนี้ มิได้มีการนำมาเพื่อทำการค้าหรือผลประโยชน์อันเป็นส่วนตัวแต่ประการใด น้อมรำลึกพระคุณท่าน พระยาอนุมานราชธน ผู้รจนา ไว้ณ.ที่นี้ งานอันจารถ้อยความอันใดไม่ถูกต้องประการใด ขอท่านผู้อ่านได้ แนะนำหลักฐานสิ่งที่ถูกต้องกว่า มาจะเป็นพระคุณอย่างสูง ทิกิ_tiki
๏ ๏ ๙๐ ปี คำ.**วรรณคดี**๏ ๏ ๏ คำ วรรณคดี เริ่มมีแต่เมื่อใด..? (พระยา)อนุมานราชธนค้นไว้ให้แลเห็น นับเก้าสิบปีประสงค์ตรงประเด็น สองพันสี่ร้อยห้าสิบเจ็ดเฟ้นเป็นถ้อยคำ... ๚ ๏ ณ.พุทธศักราชนั้น*วรรณคดี* เริ่มเกิดมีในประกาศวาทย์ให้พร่ำ พระราชกฤษฎีกาทรงน้อมนำ **วรรณคดีสโมสร** จำ..จารขึ้นมา... ๚ ๏ นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทย คำ *วรรณคดี* ได้ปรากฎค่า ถือเป็นมาตรฐานงานวิชา คัดพรรณนาประเภทงาน *วรรณคดี* ๚ ๏ จากอดีตหนังสือแต่งแจ้งปัจจุบัน นับขึ้นขั้นหนังสือเลิศวรรณศรี ผ่าน**วรรณคดีสโมสร**ร่อนพจี เกิดก่อมีนามธรรม..ค้ำชีวิน. ๚ ๏ สองพันสี่ร้อยเจ็ดสิบสี่นั้นชี้ชัด พระราชบัญญัติคุ้มครองเหล่าผองศิลป์ ขึ้นคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปิน ให้มีกินค่าลิขสิทธิ์ชีวิตไทย... ๚ ๏ ถึงสองพันสี่ร้อยแปดสิบห้า เกิดศัพท์ค่า *วรรณคดีศิลป์** ขึ้นมาใหม่ มุ่งหมายศิลป์แต่งหนังสือสื่อจากใจ แสดงให้ ได้รูปธรรม..นำมาดู๚ ๏ ผู้อื่นอ่าน...งานที่เห็น เป็น รูปธรรม ศิลปกรรม ..วรรณกรรม..ค่าล้ำหรู เป็นหลักการวางเทียบเปรียบชั้นครู น้อมนบผู้แสดงธรรมล้ำวิชา..... ๚ะ๛- ทิกิ_tiki จารหน้าจอ เมื่อ ๒๔:๐๐ นาฬิกา เพลาเที่ยงคืน คืนพระจันทร์.ที่ยี่สิบแปด...๒๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๗ คืนขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๘ สยาม..กรุงเทพฯเมืองฟ้าอมร....ประเทศไทย สงวนลิขสิทธิ..ตามพระราชบัญญัติ Copyright ..All rights reserved ที่มา บทกลอน http://www.thaipoem.com/web/poemedit.php?id=56128
ภาพ :พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่หก ภาพคัดลอกมาจาก ตำนานดอทคอม http://www.tumnan.com/ryl_palace/ryl_palace_zzg.html โดยมีที่มาจากหนังสือ"พระบรมมหาราชวัง และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม" โดยเป็นไปเพื่อความรู้เฉพาะหน้าเว็บไซท์นี้เท่านั้น เขียนบทนี้ ให้แม้จะดึกมากในคืนวันอาทิตย์ ซึ่งควรเป็นวันพักผ่อนที่สุด แต่ในการประมวลวิเคราะห์ถ้อยคำ ทางหนีทีไล่ ที่บรรพบุรุษเรา โดยเฉพาะ สาย เอกกวี รัตนโกสินทร์ อันมีพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นกวีลือนามทุกพระองค์นั้น บทนี้ คือรากฐาน วรรณกรรม เพื่อปวงประชาชน อย่างชัดเจน แจ่มแจ้งที่สุดในโลก วรรณกรรม เราเขียนคำว่า วรรณคดี วรรณกรรม วรรณคดีศิลป์ วรรณกรรมศิลป์ วรรณศัพท์...... นานา สารพัด ชี้ชัดพระราชหฤทัย แห่ง เบื้อง พระบรมมหากษัตริย์ไทย ผู้ทรง เทิดค่า ศิลปิน มาทุกยุค ทุกสมัย............. พระราชบัญญัติ ฉบับแรกเริ่มนี้ ทรงจารขึ้นไว้ให้ เหล่าผองชน ผู้มีใจอันสุนทรีย์ ได้ จารงานฝากไว้บนแผ่นดินไทยให้ลูกหลานตนได้ มีกิน มีใช้ ให้ผองไทย ได้เรียนรู้ ขนบธรรมเนียม ประเพณีไทย รักไทย รักความเป็นไทย รักชาติ รักบรรพบุรุษตน ทรงดูหลัก Copy Right นับ แต่วรรณกรรม ไทยเล่มแรก ได้รับการตีพิมพ์ขึ้น บนระบบโรงพิมพ์ ของบาทหลวง มิชชันนารี อเมริกัน ..หมอบรัดเลย์ และ หมอโรบินสัน... นับแต่เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย เครื่องแรก เกิดขึ้นในโลก...พ.ศ.2371 ร้อยโท เจมส์โลว์... นับแต่ โรงพิมพ์ในไทย เกิดขึ้น โรงแรกในโลก บทนี้ ได้สะท้อนสิ่งลึกสุด ราวได้ยินเสียงหายใจ แห่ง กวีรัตนโกสินทร์ ว่า เพชรวรรณกรรม เพชร วรรณคดี นั้น จะอยู่ต่อไปได้อย่างไร หากไม่มี กฎหมาย รองรับ การตราพระราชบัญญัติ วรรณคดีสโมสร ขึ้น ใน ปี พุทธศักราช ๒๓๕๗ นั้น ในวันนี้ ข้าพเจ้ารจนา ขึ้นเมื่อคืน เที่ยงคืน ของวันอาทิตย์ ๒๘ ต่อ ๒๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๗ ๙๐ ปี แห่ง วรรณ.....คดี...(คดีความโรงศาล).... คือ การตัดสิน พิจารณา ว่า เส้นทางงานเขียน ของใคร ได้รับการคุ้มครองทางสิทธิเสรีภาพ ในการรับการคุ้มครองสิทธิ์ ในประเทศนี้ ไปจนถึงทั่วโลก ที่ต้อง พึงทราบ ว่า งานเขียนนั้นนั้น ทุกภาษา ที่ได้มีการจาร จารึก ขึ้นมา บน หนังสือ และสื่อทุกชนิด อันได้มีการระบุต่อมาในกฎหมาย ว่าด้วยลิขสิทธิ์ในภายหลังนั้น ได้ ทรง ตราพระราชบัญญัติ ขึ้นเพื่อปกป้องสิทธิแห่งงานเขียน ของนีกเขียนไทย และ สิทธิแห่ง ศิลปกรรมไทยใน อีก ๑๗ ปีต่อมา คือปี พุทธศักราช ๒๔๗๔ อันเป็นปี ที่กฎหมาย ไทย ว่าด้วย ลิขสิทธิ์ การคุ้มครอง วรรณกรรมและศิลปกรรม ได้ถือคลอดออกมา..... ก่อน ปี ที่ ประชาไทย ถือว่า มีรัฐธรรมนูญเพื่อประชาชน เกิดขึ้นในโลกไทย คือ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๗๕ นั้น ๙๐ ปีที่ผ่านไป กวีไทย ได้ รักษาสิทธิสภาพของตน บนงานเขียนของตน กันหรือไม่....หรือว่า หม้อข้าว หม้อแกงตน ที่ต้มไว้ให้ลูกหลานกินนั้น มันแค่ ขี้ดินขี้ทราย ที่จะโยน เหยียบย่ำทำลาย อย่างไร ก็ได้ ? ๙๐ ปี ที่ผ่านไป กวีไทย ได้ทำอะไร ในการรักษาสิทธิสภาพ ลิขสิทธิ์ ของตน จาร ...ด้วยว่า.. คนเล็กๆคนนี้ ได้มีโอกาส...ไปช่วยผ่าน กฎหมาย ว่าด้วย องค์กรจัดเก็บ ค่าลิขสิทธิ์ ในนามของ สมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ลิขสิทธิ์ นี้ คุ้มครองทุกสื่อ มิใช่เฉพาะ บนหน้ากระดาษ ... แต่หน้าจอ และ หน้ากระดานนี้ แน่นอนค่ะ ถวายสักการะ สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นอบกราบเบื้องพระบาท พระมหาธีรราชเจ้า ล้นเกล้า รัชกาลที่ หก ถวายสักการะ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้นเกล้า รัชกาลที่ เจ็ด และ พระมหากษัตริย์ เอกกวีรัตนโกสินทร์ ทุกพระองค์ มา ณที่นี้...**** ถวายสักการะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระภูมิ พลอดุลยเดช ฯ ท่านทรงเป็น เอกอัครศิลปินแห่งชาติ ผู้ทรงเทิดไทย ...ทรงทำให้ ชาวไทยศิลปินทุกคนอยู่ร่มเย็นใต้เบื้องพระบาท....มาเป็นเวลาช้านาน... ทิกิ_tiki จารหน้าจอ เมื่อ ๒๔:๐๐ นาฬิกา เพลาเที่ยงคืน คืนพระจันทร์.๒๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๗ คืนขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๘ สยาม..กรุงเทพฯเมืองฟ้าอมร....ประเทศไทย ...**** เขียนเพิ่มเติม เวลา ๑๓:๐๐ บ่ายวันจันทร์ ๒๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๗ คืนขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๘ ทิกิ_tiki ....**1 ขอเพิ่มเติมโดยขอยกบทความที่หาได้เฉพาะหน้า จาก หนังสือ ประวัติสุนทรภู่ฯ รวบรวมโดย คุณ ชมนาด เสวิกุล พิมพ์ ณ โรงพิมพ์ อำนวยสาส์น พ.ศ.2533 หน้า 190 ความว่า ** สำหรับในด้านการพิมพ์นั้น หมอบรัดเลย์ ได้เป็นผู้นำแท่นพิมพ์ ภาษาไทย มาจากเมืองสิงคโปร์เป็นแท่นแรก เมื่อ พ.ศ และหมอโรบินสัน ได้เป็นผู้ติดตั้ง และ ทดลองพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ วันที่ 3 มิถุนายน พศ.2379 นับเป็นครั้งแรกที่มีโรงพิมพ์.....และการพิมพ์เกิดขึ้นในประเทศไทย..** ชมนาท เสวิกุล ครั้งสมัยรัชกาลที่ 3... (ผู้เขียน) เล่มเดียวกัน หน้า 188... ** ตัวพิมพ์ อักษรไทยนี้ บุคคลแรกที่ประดิษฐ์ขึ้นได้ สำเร็จ คือ ร้อยโท เจมส์โลว์ ซึ่งเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ หลายปี จนอ่านออกเขียนได้ แล้วกลับไปประดิษฐ์อักษรไทย สำหรับ ตีพิมพ์ขึ้นสำเร็จเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2371 โดยไปหล่อตัวพิมพ์ ที่เมืองเบงกอล แล้วส่งมาไว้ในราชการที่สิงคโปร์ จากนั้นก็ได้ใช้พิมพ์แบบเรียน ไวยากรณ์ไทย สำหรับข้าราชการอังกฤษใช้ศึกษา ซึ่ง ร้อยโทเจมส์โลว์เป็นผู้แต่งขึ้นเป็นหนังสือภาษาไทยเล่มแรกที่ตีพิมพ์ขี้นในโลก** เล่มเดียวกัน หน้า 188 ว่า โรงพิมพ์แห่งแรกสมัยอยุธยา มีขึ้น **ในรัชสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช การพิมพ์หนังสือไทยได้มีขึ้นแล้ว โดย สังฆราชลาโน เป็นผู้จัดตั้งดำเนินการขึ้นที่ โรงเรียนมหาพราหมณ์ ซึ่งเป็นโรงเรียนของ คณะบาดหลวง ฝรั่งเศส ตั้งอยู่ ณ ตำบลเกาะมหาพราหมณ์ เหนือกรุงศรีอยุธยาขี้นไป นัยว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพอพระราชหฤทัย ในการพิมพ์หนังสือตามวิธีฝรั่งของสังฆราช ลาโน ถึงกับโปรดฯ ให้ตั้งโรงพิมพ์หลวง ขึ้นที่เมืองลพบุรี อันเป้นราชธานีที่สองในครั้งนั้น นับวาเป็นโรงพิมพ์หลวงแห่งแรกของเมืองไทย แต่ครั้นสิ้นรัชกาลลงแล้ว ........ ........การพิมพ์หนังสือในเมืองไทย จึงยุติลงแต่เพียงนั้น... อนึ่งขอกราบเรียนให้ท่านผู้ถือลิขสิทธิ์แห่ง พระยาอนุมานราชธนทราบว่า บทความดังกล่าวข้างต้นนี้ ได้คัดลอกจาก หนังสือ**ชุมนุมรุ่น วิทยาลัยบางแสน ๓๐ มกราคม ๒๕๐๓ หน้า 81-92 ไม่ปรากฎนามผู้คัดลอก จึงขอเรียนมาเพื่อเป็นประโยชน์แด่สาธารณะชน เฉพาะใช้หน้าเว็บไซท์แห่งนี้ มิได้มีการนำมาเพื่อทำการค้าหรือผลประโยชน์อันเป็นส่วนตัวแต่ประการใด น้อมรำลึกพระคุณท่าน พระยาอนุมานราชธน ผู้รจนา ไว้ณ.ที่นี้ งานอันจารถ้อยความอันใดไม่ถูกต้องประการใด ขอท่านผู้อ่านได้ แนะนำหลักฐานสิ่งที่ถูกต้องกว่า มาจะเป็นพระคุณอย่างสูง ทิกิ_tiki
สำหรับเบื้องหน้าข้าพเจ้านี้ ยังมีหนังสืออีกหนึ่งเล่มวางอยู่เบื้องหน้า คือ Adventures in Siam in the Seventeenth Century by E.W.Hutchinson เป็นฉบับพิมพ์ใหม่ Reprinted with permission of THE ROYAL ASIATIC SOCIETY From the original publication of 1940 1985 ISBN 974-405-475-1 ผู้ใดจะค้นคว้าเพื่อประกอบงานประวัติศาสตร์อยุธยา ก็น่าจะสมควรซื้อหาเก็บไว้ ภาพปก เป็นภาพ ฟอลคอน กำลัง ก้มตัวหน้าพระที่นั่ง ในขณะที่ ราชทูต เมอร์ซิเออ เดอ โชมองก์ กำลัง ถวายเอกสารแด สมเด็จพระนารายณ์มหาราช จัดพิมพ์โดย DD BOOKS 32/9 Soi Askok, Sukhumvit 21 Bangkok 10110.Thailand ตีพิมพ์ ปี 1985 ก็ อยู่กับทิกิมานับแต่ปี 2534 ถึงวันนี้ ก็ 13 ปีที่ครอบครอง อ่านมั่งไม่อ่านมั่ง แต่ภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ไทย และ นายเดนนิส ดันแคนสัน Vice President ของ The Royal Asiatic Society นั้นได้เขียนความนำ หน้าปกนี้ ไว้ ที่กรุงลอนดอน เมื่อ วันที่ 8 มิถุนายน ปี ค.ศ.1985 ;ว่าไว้ นั้นประทับใจเหลือแสน ด้วยว่า พูดถึง ว่า นับแต่ปี ค.ศ.1767 ที่ กรุงอยุธยาถูกทำลายสิ้นเป็นต้นมา ประวัติศาสตร์ไทย ก็ได้ถูกเผาพินาศสิ้น... นับเป็นโชคอันยิ่งใหญ่ ที่ชาวต่างชาติได้บันทึกประวัติศาสตร์การเดินทางสู่ประเทศสยามไว้... อันนี้ ในภาคแปลไทย ก็มีผู้แปลแล้วทั้งเล่ม แต่เข้าใจว่าข้าพเจ้าได้ขอให้วัดสวนแก้ว มารับบริจาคไปนานกวา 5 ปี คงติดไปกับหนังสือเหล่านั้น และอาจถูกเทขายเป็นเศษกระดาษไปแล้วกระมัง... ในหน้าคำนำดังกล่าว ได้พูดถึง ฟัลคอน ชาวกรีก นามวา Constantine Gerakis alias ** Falcon** ซึ่งเขียนนามตนเองว่า * Phaulkon อันเป็นระบบการถ่ายภาษาสันสกฤต ลงสู่ภาษา อังกฤษ ทีเดียว นับว่า เป็น เพื่อน เป็น ศัตรู กับสยามประเทศ บนประวัติการกองเรือ มหาอำนาจการแย่งชิงเกาะเครื่องเทศ เกาะไข่มุก น่านน้ำทะเล อันดามัน เหล่านั้น.... แต่ บุคคลที่เขียนเรื่องเหล่านี้ขึ้นเป็นระบบ คือ E W Hutchinson ซึ่งอยู่ใน เชียงใหม่และ กรุงเทพฯ ประมาณ ก่อนปี 1929 ...ปี ค.ศ. 1930 ถือเป็นผู้ เขียนประวัติการณ์เหล่านี้ ไว้ได้อย่างน่าชื่นชม คนไทยเราจะต้องจ่าย ค่า ลิขสิทธิ์ เพื่ออ่านประวัติชาติตัวเอง อีกนานแค่ไหน ..น่าคิด ทิกิ_tiki จาก : รหัสสมาชิก : 4895 - tiki รหัส - วัน เวลา : 295917 - 29 มิ.ย. 47 - 15:19 ภาพ :พระบรมมหาราชวัง ภาพคัดลอกมาจาก ตำนานดอทคอม http://www.tumnan.com/ryl_palace/contents.html โดยมีที่มาจากหนังสือ"พระบรมมหาราชวัง และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม" โดยเป็นไปเพื่อความรู้เฉพาะหน้าเว็บไซท์นี้เท่านั้น
29 มิถุนายน 2547 16:07 น. - comment id 75007
ก็ ขออนุญาต นำลง อนึ่งขอกราบเรียนให้ท่านผู้ถือลิขสิทธิ์แห่ง พระยาอนุมานราชธนทราบว่า บทความดังกล่าวข้างต้นนี้ ได้คัดลอกจาก หนังสือ**ชุมนุมรุ่น วิทยาลัยบางแสน ๓๐ มกราคม ๒๕๐๓ หน้า 81-92 ไม่ปรากฎนามผู้คัดลอก จึงขอเรียนมาเพื่อเป็นประโยชน์แด่สาธารณะชน เฉพาะใช้หน้าเว็บไซท์แห่งนี้ มิได้มีการนำมาเพื่อทำการค้าหรือผลประโยชน์อันเป็นส่วนตัวแต่ประการใด น้อมรำลึกพระคุณท่าน พระยาอนุมานราชธน ผู้รจนา ไว้ณ.ที่นี้ งานอันจารถ้อยความอันใดไม่ถูกต้องประการใด ขอท่านผู้อ่านได้ แนะนำหลักฐานสิ่งที่ถูกต้องกว่า มาจะเป็นพระคุณอย่างสูง
29 มิถุนายน 2547 16:09 น. - comment id 75008
นับเป็นโชคอันยิ่งใหญ่ ที่ชาวต่างชาติได้บันทึกประวัติศาสตร์การเดินทางสู่ประเทศสยามไว้... อันนี้ ในภาคแปลไทย ก็มีผู้แปลแล้วทั้งเล่ม แต่เข้าใจว่าข้าพเจ้าได้ขอให้วัดสวนแก้ว มารับบริจาคไปนานกวา 5 ปี คงติดไปกับหนังสือเหล่านั้น และอาจถูกเทขายเป็นเศษกระดาษไปแล้วกระมัง... ในหน้าคำนำดังกล่าว ได้พูดถึง ฟัลคอน ชาวกรีก นามวา Constantine Gerakis alias ** Falcon** ซึ่งเขียนนามตนเองว่า * Phaulkon อันเป็นระบบการถ่ายภาษาสันสกฤต ลงสู่ภาษา อังกฤษ ทีเดียว นับว่า เป็น เพื่อน เป็น ศัตรู กับสยามประเทศ บนประวัติการกองเรือ มหาอำนาจการแย่งชิงเกาะเครื่องเทศ เกาะไข่มุก น่านน้ำทะเล อันดามัน เหล่านั้น.... แต่ บุคคลที่เขียนเรื่องเหล่านี้ขึ้นเป็นระบบ คือ E W Hutchinson ซึ่งอยู่ใน เชียงใหม่และ กรุงเทพฯ ประมาณ ก่อนปี 1929 ...ปี ค.ศ. 1930 ถือเป็นผู้ เขียนประวัติการณ์เหล่านี้ ไว้ได้อย่างน่าชื่นชม คนไทยเราจะต้องจ่าย ค่า ลิขสิทธิ์ เพื่ออ่านประวัติชาติตัวเอง อีกนานแค่ไหน ..น่าคิด ทิกิ_tiki จาก : รหัสสมาชิก : 4895 - tiki รหัส - วัน เวลา : 295917 - 29 มิ.ย. 47 - 15:19
29 มิถุนายน 2547 19:09 น. - comment id 75012
ถึงเวลาหรือยังสหาย ที่จะเขียนเรื่องอะไร อันจารไว้บนหน้าเว็บนี้ ซึ่งเคาะทีเดียวมันไปทั่วโลก หรือจะอ่านของใครก็ไม่ทราบ จริงมั่งไม่จริงมั่งต่อไป ทิกิ_tiki