วิถีแห่งอหิงสา....
คีตากะ
มังสวิรัติเป็นวิถีแห่งชีวิต..ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
หนังสือ วิถีสุขภาพแห่งชีวิต จัดทำโดย สหพันธ์มังสวิรัติแห่งประเทศไทย
ประวัติของวิทยากร
ศาสตราจารย์ ดร. อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา SK2493
จบการศึกษาปริญญาเอกจากอังกฤษ เป็นนักวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์
เคยเป็นผู้ออกแบบประดิษฐ์ชิ้นส่วนขาและระบบลงจอดของยานอวกาศ Viking ที่สหรัฐฯ ส่งไปลงบนดาวอังคารได้เป็นผลสำเร็จ ...ใน 63 ล้านคน...ยังมีคนไทยที่มีความรู้ความสามารถระดับสากล สิ่งนี้...บอกเราว่า...ยังมีคนไทย...ที่มีผลงานระดับนานาชาติ...มันสมองคนไทยไม่ด้อยกว่าชาติภาษาใด...ถ้าได้รับการฝึกฝน-พัฒนา-ปลดปล่อยศักยภาพให้ถูกทาง
เคยรับบทเป็นพระยาอธิการบดี ในภาพยนตร์เรื่องข้างหลังภาพ กำกับโดยคุณเชิด ทรงศรี
เป็นผู้สนใจด้านพลังจิต-สมาธิ และการประยุกต์พลังจิตใช้ในชีวิตประจำวัน และพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์
เคยสอนแผนกวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 ท่านอาจารย์อาจองเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งการนั่งวิปัสนาและชมรมพุทธศาสนาของจุฬาฯ ห้องนั้นน่าจะอยู่ที่ตึกเก่าของคณะอักษรศาสตร์ทางด้านห้องสมุด แต่มาในราวปี พ.ศ. 2512 ใด้เกิดอุบัติเหตุมีนิสิตบัญชีที่ฝึกนั่งกรรมฐานแบบท่านอาจารย์อาจองเสียชีวิตในตุ่มน้ำในขณะที่นั่งกรรมฐาน หนังสือพิมพ์ทั้งหลายเลยโจมตีท่านอาจารย์อาจอง กล่าวหาว่าเป็นคนนอกคอก บังอาจริตั้งลัทธิใหม่ที่ไม่ใช่ศาสนาพุทธ เป็นคนตั้งศาสนาการบิน ต่างๆนาๆ จนกระทั่งท่านอาจาย์อาจอง ต้องลี้ภัยไปสอนที่มหาวิทยาลัยที่ประเทศออสเตรเลีย
เป็นนักมังสิวิรัติ กรรมการ และอดีตนายกสโมสรมังสวิรัติกรุงเทพฯ
เป็นประธานมูลนิธิสัตยาไสแห่งประเทศไทยและได้ก่อตั้งโรงเรียนสัตยาไส ที่ อ.ลำนารายณ์ จ.ลพบุรี ซึ่งเป็นโรงเรียนกินนอนระดับประถม-มัธยม ทั้งครูและนักเรียนใช้วิถีชีวิตแบบมังสวิรัติโดยตลอด
การศึกษา...วิถีไทย
การศึกษา...วิถีธรรม
การศึกษา...วิถีทาส...ทาสทางวัฒนธรรม...ทาสทางความคิด
มังสวิรัติเป็นวิถีแห่งชีวิต
โชคดีที่ตอนผมยังเด็ก ผมนับถือศาสนาพุทธ แต่พอไปเรียนที่ประเทศอังกฤษ ได้เริ่มเรียนไบเบิล เมื่อโตขึ้นผมได้เริ่มเรียนไบเบิลและศึกษาด้วยตนเองมากขึ้น ผมพบว่ามีการทำสมาธิในไบเบิลด้วย จากนั้นก็เริ่มฝึกสมาธิด้วยตนเอง ตั้งแต่นั้นมาจนถึงวันนี้ 40 ปีแล้ว หลังการทำสมาธิทำให้บางครั้งพบความสงบและประโยชน์อย่างอื่นอีก เช่น ช่วยกำจัดภาวะไมเกรน หอบหืด แต่ปัญหาเกี่ยวกับระบบท้องยังคงมีอยู่ ระหว่างทำสมาธิจะมีรังสีความคิดออกไปสู่สิ่งมีชีวิต รวมทั้งสัตว์ทั้งหลาย
18 ปีที่ผ่านมาเมื่อส่งผ่านความคิดความหวังดีถึงสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ผมพบว่า ผมไม่สามารถทานเนื้อได้ และกินแต่อาหารมังสวิรัติตั้งแต่ตอนนั้นจนถึงบัดนี้ มันเป็นวิถีทางของผม เมื่อเป็นนักมังสวิรัติ ผมสามารถทำสมาธิได้ง่ายขึ้น พบความสงบ และไม่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบท้องอีกต่อไป นอกจากสภาวะที่เป็นหวัดหรือไข้หวัดใหญ่เนื่องจากการนอนไม่พอ
วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังว่า ทำไมมังสวิรัติจึงเป็นวิถีทางของชีวิตที่เหมาะสมสำหรับทุกคน?
เมื่อมองไปที่ศาสนาต่าง ๆ ในโลก คัมภีร์ฉบับเดิมของไบเบิลจะคล้ายคลึงกับศาสนาอิสลาม พระเจ้าพูดว่าจะให้เมล็ดที่มีต้นพืชเล็ก ๆ บนโลกเพื่อเป็นอาหารแทนสัตว์ และในศาสนาคริสต์ พระเจ้าพูดว่า ทุกอย่างที่พระองค์ให้คือเนื้อ ฉะนั้นเราไม่ควรทานเนื้อ ขณะที่ฮินดูถือหลักการอยู่ที่ความไม่รุนแรงหรืออหิงสา ทุกสิ่งอยู่อาศัยร่วมกัน เมื่อไปอินเดีย ผมพบว่าผู้คนส่วนใหญ่เป็นนักมังสวิรัติ ลิง ม้า วัว เดินไปมาบนถนน คือภาพปกติที่เห็นมันอยู่ร่วมกันคน
ในพระพุทธศาสนา การแผ่เมตตาภาวนาคือ สิ่งที่ชาวพุทธพึงปฏิบัติเสมอต่อสัตว์และสิ่งมีชีวิตสำหรับผม พุทธคือธรรมชาติของการเป็นชาวมังสวิรัติ เพราะเราไม่ได้รับอนุญาตให้ฆ่าสัตว์ ในอดีตมีนักปรัชญา นักวิทยาศาสตร์ และศิลปินได้พูดถึงมังสวิรัติไว้มากมาย เช่น เพลโต, ไอนสไตน์, โสเครตีส, ชาลส์ ดาร์วิน, ไอแซค นิวตัน, วอลแตร์, ตอลสตอย, ลีโอนาโด ดาร์วินซี, เบนจามิน แฟรงคลิน, รพินทรนารถ ฐากูร, อัลเบอร์ต สไวเซอร์, จอร์จ เบอร์นาค ซอร์, และมหาตมะคานธี
ไอนสไตน์เคยพูดว่า วิถีชีวิตแบบมังสวิรัติจะส่งผลต่อต้านอารมณ์ของมนุษย์ (vegetarian moral of living) และส่งผลดีอย่างมากต่อมวลมนุษย์ ผลของการศึกษาสัตว์ที่กินเนื้อเมื่อเทียบกับสัตว์กิบพืชโครงสร้างด้านกายภาพของสัตว์เหล่านี้ เช่น เสือ หมา แมว ซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อ จะมีกรงเล็บที่แหลมคมมาก กรามบดเคี้ยวที่แข็งแรง มีฟันที่แหลมคม ยาว เพื่อจะฉีกเหยื่อของมันสด ๆ พวกมันไม่มีฟันที่สั้นทื่อซึ่งเหมาะสำหรับการเคี้ยว และไม่ต้องมีการย่อยก่อน (pre-digested) การย่อยจึงอยู่ที่กระเพาะอาหารและลำไส้มากกว่า เมื่อดูสุนัขกินอาหาร มันจะไม่เคี้ยว แต่จะกลืนทันที ในทางตรงกันข้าม สัตว์ที่กินพืชไม่มีกรงเล็บที่แหลม แต่มีฟันที่เหมาะสำหรับเคี้ยวใบพืชผักเมล็ดและผลไม้ และมีเอนไซม์ไทอะลินที่อยู่ในน้ำลาย ซึ่งเป็นจุดที่เริ่มต้นย่อยอาหาร โดยเคี้ยวอย่างช้า ๆ ด้วยฟันทั้งสองข้าง ในขณะที่สัตว์กินเนื้อจะใช้ฟันเคี้ยวแบบ ขึ้น-ลง
ลักษณะของมนุษย์ไม่เหมือนกับสัตว์กินเนื้อ ฟันจะคล้ายสัตว์กินพืชและสามารถผลิตเอนไซม์ในน้ำลายได้ สัตว์กินเนื้อจะมีระบบการย่อยที่สั้น คือเพียง 3 เท่าของความยาวของร่างกาย และทำให้อาหารสดถูกย่อยสลายได้ไว ในขณะที่สัตว์กินพืชมีลำไล้ยาวมากประมาณ 12 เท่าของความยาวร่างกายทำให้อาหารมีเวลาอยู่ในร่างกายนาน มนุษย์ก็เช่นกันมีลำไส้ยาวมาก ทุกส่วนของร่ายกายที่ได้พัฒนามาเป็นพัน ๆ ปี บอกว่า มนุษย์มีชีวิตจากการกินผลไม้ ถั่ว เมล็ด และผัก
เมื่อพิจารณาความยืนยาวของชีวิต ชาวเอสกิโมซึ่งกินเนื้อและไขมันเป็นจำนวนมาก มีอายุเฉลี่ยประมาณ 27.5 ปี ในขณะที่ชาว Hunsa ซึ่งเป็นชนเผ่าที่อาศัยอยู่ที่ตอนเหนือของอินเดียและปากีสถานและชนพื้นเมืองเผ่าหนี่งของเม็กซิโก ซึ่งกินเมล็ดธัญพืช อาหารสด ผลไม้และผัก มีอายุยืนยาวถึง 110 ปี หรือมากกว่านั้น Robert Magalism หมอที่ศึกษาเกี่ยวกับเผ่า Hunsa พูดว่า ฉันไม่เคยเห็น โรคไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis) และมะเร็งในชนเผ่านี้เลย มีนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งไปที่หมู่บ้านที่มีประชากรประมาณ 4,000 คน ในเอลควาดอร์ ชาวบ้านเป็นมังสวิรัติส่วนใหญ่จะมีอายุประมาณ 100 ปี
สถาบันส่งเสริมสุขภาพในอเมริกา ได้ศึกษานักมังสวิรัติ 50,000 คนพบว่า นักมังสวิรัติเหล่านี้มีอายุยืนยาวขึ้น มีการพบโรคหัวใจ (Heart diseases) ในคนกลุ่มนี้ต่ำมาก และอัตราการเกิดมะเร็งต่ำกว่าเมื่อเทียบกับคนอเมริกันที่กินเนื้อ นอกจากนี้การศึกษายังพบว่า มีการลดลงของโรคหวัดและภูมิแพ้ สัตว์ที่กิน พืช เช่น ม้า วัว ควาย และช้าง ซึ่งมีอายุยืนยาวสามารถทำงานหนักแทนมนุษย์ด้วยพละกำลัง อดทนและแข็งแรงได้
สามสี่ปีที่ผ่านมา มีนักมังสวิรัติกลุ่มหนึ่งได้ทำกิจกรรมที่เรียกว่า เดินทนมหัศจรรย์ คือ ขณะที่อดอาหาร (fasting) ได้เดินมาราธอนจากลพบุรี ถึงกรุงเทพฯ ประมาณระยะทางมากกว่า 320 กม. โดยไม่กินอาหารเลย
โรงเรียนสัตยาไส (Satayasai school) คือโรงเรียนที่เด็กนักเรียนเป็นนักมังสวิรัติ ตอนเริ่มแรกพ่อแม่กังวลว่า เด็กจะตัวเล็กเมื่อกินอาหารมังสวิรัติ แม้แต่หนังสือพิมพ์ก็กล่าวว่า การกินอาหารมังสวิรัติจะทำให้คนไทยตัวเล็ก เด็ก ๆ ชอบออกกำลังกายมาก เช่น ว่ายน้ำในแม่น้ำ ยิ้มและมีความสุข รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเคยมาเยี่ยมโรงเรียนนี้บอกว่าบุคลิกอย่างหนึ่งของเด็กที่นี่ คือ มีความสุขมาก พวกเขาเติบโตโดยทานผักที่ไม่ใส่ปุ๋ยหรือสารเคมีและฝึกการทำสมาธิ เด็ก 13 ปี อยู่ ม.1 สูงกว่าครูมาก และพ่อแม่ก็ไม่กังวลอีกต่อไปในเรื่องที่ว่าเด็กจะตัวเล็ก
เมื่อมนุษย์มีความโกรธหรือมีอารมณ์เครียดจะผลิตฮอร์โมนอะดรีนาลิน (Adrenalin) ซึ่งจะทำลายระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย และทำให้ร่างกายเผชิญต่อโอกาสที่จะเป็นโรคต่าง ๆ รวมทั้งมะเร็ง แต่ในขณะที่ร่างกายอยู่ในภาวะสงบ สันติ ร่างกายจะผลิตเอนดอร์ฟิน (Endorphin) ซึ่งจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน สามารถป้องกันโรคต่างๆ และทำให้สุขภาพแข็งแรง ดังนั้นคนเราควรมีภาวะสงบ สันติตลอดเวลา
เมื่อสัตว์หลงทาง มีความกลัว ร่างกายก็จะสร้างอะดรีนาลิน ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีสารพิษจากอาหารที่เป็นเนื้อจะทำให้ร่างกายเพิ่มความเป็นพิษ (toxin) และอะดรีนาลินมากขึ้น และมีโอกาสเกิดโรค ดังนั้นถ้าร่างกายมีภาวะที่สงบและแข็งแรงควรหลีกเลี่ยงการกินเนื้อ
ในศตวรรษที่ 21 ประมาณกันว่า ประชากรโลกจะมีสูงที่สุดที่ 12 พันล้านคน ในตอนนี้ประชากรบนโลกเป็นโรคขาดอาหารและยากจน ในประเทศกำลังพัฒนามากมายบนโลกนี้ เราจะทำอย่างไรที่จะมีอาหารเพียงพอในศตวรรษหน้า จนถึงตอนนี้มีการตัดต้นไม้เพิ่มขึ้นเพื่อจะเพิ่มปริมาณอาหาร พื้นที่ป่าลดลงเพราะเอาไปเลี้ยงสัตว์และทำการเกษตร
ในช่วงชีวิตของผม ประเทศไทยเมื่อ 50 ปีมาแล้ว 60% เป็นพื้นที่ปา ปัจจุบันเหลือ 20% ของพื้นที่ทั้งหมด ต้นไม้ช่วยดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ และให้ก๊าซออกซิเจน เมื่อมีการทำลายป่าอย่างมากมายทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์สะมเพิ่มขึ้น และเป็นสาเหตุ ของปรากฏการณ์เรือนกระจก (green-house effect) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันส่งผลต่ออุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบันจากที่เคยค่อย ๆ ขึ้นในอดีต
โลกที่ร้อนขึ้นทำให้ปรากฏการณ์ธรรมชาติเปลี่ยนไป เช่น ปัจจุบันเรามีปัญหาอย่างมากกับพายุเฮอริเคน ไต้ฝุ่น และอีกหลายปรากฏการณ์ทุกชนิดที่เปลี่ยนแปลงในโลก
ในศตวรรษหน้า คาดว่าระดับน้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้น กรุงเทพฯ อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลแค่ 1 เมตร เท่านั้น ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 1 หรือ 2 เมตร ไม่มีใครบอกได้อย่างชัดเจน มีการคาดว่าบางประเทศ เช่น เกาะมัลดิฟจะจมหายไป หรือพื้นที่ส่วนใหญ่ของบังคลาเทศ ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากประเทศหนึ่งจะจมหายไป และอาจจะรวมถึงกรุงเทพฯ ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลเพียงแค่ 1 เมตร ก็จะจมหายไปด้วยเช่นกัน
เราจะเลี้ยงประชากรโลกในศตวรรษที่ 21 อย่างไรในเมื่อไม่สามารถจะตัดต้นไม้เพื่อที่จะเลี้ยงสัตว์หรือเป็นพื้นที่ทางการเกษตรอีกต่อไป แล้วเราจะทำอย่างไรกับคนหิวโหยเหล่านี้
มองไปที่ผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น นมถั่วเหลืองผง 100 กรัม มีโปรตีน 41.8 กรัม ถั่วเหลืองแห้ง 100 กรัม มีโปรตีน 34.4 กรัม
ชนิดของอาหาร (100 กรัม)
ปริมาณโปรตีน (กรัม)
นมผงถั่วเหลือง
41.8
ถั่วเหลืองแห้ง
34.4
ถั่วลิสง
26
ถั่วต่าง ๆ
24.7
เนื้อ
20.2
ไก่
18.6
แกะ
16.8
ดังนั้นถั่วเหลือง, ถั่วลิสง, ถั่วต่าง ๆ หรือพืชอื่น ๆ มีประโยชน์มากกว่าในแง่ของแหล่งโปรตีน นี่คือการแก้ปัญหาที่ดีสำหรับการเลี้ยงประชากรในศตวรรษที่ 21
เมื่อเปรียบเทียบกับการเลี้ยงสัตว์ และการปลูกพืช เราต้องเพิ่มพื้นที่เป็น 17 เท่าเพื่อที่จะได้โปรตีนในปริมาณเท่ากันจากสัตว์ เมื่อเทียบกับที่ได้จากถั่วเหลืองรวมทั้งน้ำที่ต้องใช้มากกว่าในการเลี้ยงสัตว์การเลี้ยงสัตว์ด้วยเมล็ดพืช แล้วย้อนกลับมาเป็นโปรตีนในสัตว์ที่มนุษย์จะได้กลับคืนมา จะมีโปรตีนต่ำมากแค่ 10% ของโปรตีนและพลังงานของอาหารทั้งหมดที่เอาไปเลี้ยงสัตว์ และเปลี่ยนสภาพมาเป็นเนื้อสัตว์ ในอเมริกา 80-90% ของเมล็ดธัญพืชจะถูกนำไปเลี้ยงสัตว์ จึงเป็นการสูญเสียอย่างหนึ่ง เพราะเราได้คืนแค่ 10% โดยเฉลี่ยคนอเมริกันกินเนื้อ 129 ปอนด์ต่อ 1 ปี ในเวลานี้ สมมติว่า ถ้าพวกเขาแต่ละคนลดการกินเนื้อลงครึ่งหนึ่ง อาหารจะมีเพียงพอต่อประชากรในประเทศกำลังพัฒนา ถ้าลดการกินแค่ 10% จะทำให้เมล็ดพืชเพียงพอต่อประชากร 60 ล้านคน นี่คือการแก้ปัญหาในศตวรรษที่ 21 โดยมีการเปลี่ยนแปลงให้มีการเลี้ยงสัตว์ในปริมาณที่เหมาะสมและเพิ่มการปลูกพืช, ธัญพืช, เมล็ดพืชอื่น ๆ ซึ่งควรนำไปเลี้ยงประชากรโดยตรง และเพื่อหยุดการทำลายป่าไม้ และลดการเพิ่มปัญหาสิ่งแวดล้อม จะมีอาหารเพียงพอกับทุกคนในศตวรรษหน้า ถ้ามังสวิรัติคือวิถีของชีวิต
ผมอยากสรุปตามคำของมหาตมะคานธีว่า The earth has enough for everyones need but not enough for everyones greed. คือ โลกนี้เพียงพอสำหรับความต้องการของทุกคน แต่ไม่เคยเพียงพอสำหรับความโลภของผู้คน และมังสวิรัติจะเป็นวิถีแห่งชีวิตสำหรับศตวรรษที่ 21
(ถอดเทป แปล และเรียบเรียงมาจากปาฐกถาพิเศษ เรื่อง Vegetarianism is the Way ในวันพิธีเปิดการประชุมมังสวิรัติโลก ครั้งที่ 33 วันที่ 4 มกราคม 2542)