29 มิถุนายน 2546 16:58 น.
เชษฐภัทร วิสัยจร
ระเบียบการ
ประชันกลอนสด ครั้งที่ ๑๓ พระบารมีเกื้อเกล้า
จัดโดย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ณ ห้องประชุมชั้น ๖ อาคารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
วันเสาร์ที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๖ ****************************************************************************
ประเภทการประชันและการประกวด
๑.
การประชันกลอนสด แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ประเภทนักเรียน และประเภทประชาชน
๑.๑
ประเภทนักเรียน ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ ๑ ถึงปีที่ ๖ และนักศึกษาสายอาชีวศึกษา
ไม่เกินระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แต่ละโรงเรียนจะส่งนักเรียนเข้าสมัครประชัน
กลอนสดได้โรงเรียนละ ไม่เกิน ๒ กลุ่ม
๑.๒
ประเภทประชาชน ได้แก่ นักศึกษาในวิทยาลัย มหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไป
๒.
การประกวดบทร้อยกรอง แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือประเภทนักเรียน และประเภทประชาชน
๒.๑
ประเภทนักเรียน ได้แก่ นักเรียนที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับการประชันกลอนสดประเภทนักเรียน
๒.๒
ประเภทประชาชน ได้แก่ นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไป
ลักษณะการประชันและการประกวด
๑.
การประชันกลอนสดประเภทนักเรียน จะจัดประชันเป็นกลุ่มๆ ละ ๓ คน ไม่จำกัดเพศชาย-หญิง
๒.
การประชันกลอนสดประเภทประชาชน จะจัดประชันเป็นรายบุคคล ไม่จำกัดเพศชาย-หญิง
๓.
การประกวดบทร้อยกรอง ทั้งประเภทนักเรียนและประเภทประชาชน จะจัดประกวดเป็นรายบุคคล
ส่งประกวดได้คนละ ๑ สำนวน โดยใช้ชื่อและนามสกุลจริง
กิจกรรมการประชันและการประกวด
๑.
การประชันกลอนสด ทั้งประเภทนักเรียนและประเภทประชาชน ดำเนินการประชันโดยจัดให้มี รอบคัดเลือก ๒ รอบต่อเนื่องกัน เพื่อให้ได้ผู้เข้ารอบสุดท้าย ๒๐ กลุ่ม หรือ ๒๐ คน โดยผู้เข้ารอบสุดท้ายจะประชันกันเพื่อชิงรางวัลชนะเลิศ ๑ รางวัล รางวัลรองชนะเลิศ ๑ รางวัล และรางวัลชมเชย ๕ รางวัล
๒.
คำประพันธ์ที่ใช้ในการประชัน ทั้งประเภทนักเรียนและประเภทประชาชน จะใช้กลอนสุภาพ (กลอนแปด) ในแต่ละรอบผู้ประชันต้องเขียนกลอน ๒ ญัตติ ความยาวญัตติละ ๒ บท โดยในแต่ละญัตติ ประเภทนักเรียนให้เวลา ๑๐ นาที ประเภทประชาชนให้เวลา ๘ นาที
๓.
การประกวดบทร้อยกรอง ประเภทนักเรียน กำหนดให้เขียนด้วยกาพย์ฉบัง ประเภทประชาชน กำหนดให้เขียนเป็นกวีวัจนะ โดยกรรมการจะแจกแบบแผนผังบังคับและประกาศหัวข้อให้ทราบก่อนลงมือเขียน ทั้งสองประเภทให้เวลาเขียนประมาณ ๑ ชั่วโมง และนั่งเขียนพร้อมกันในห้องประชุม โดยมีคณะกรรมการกำกับดูแล
หัวข้อเรื่องที่กำหนดในการประชันกลอนสด
หัวข้อเรื่องที่กำหนดในการประชันกลอนสด ทั้งประเภทนักเรียนและประเภทประชาชน เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และปัญหาสังคมทั่วไป เช่น ปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา สิ่งแวดล้อม จริยธรรม รวมทั้งแง่คิดในการดำรงชีวิต
-๒-
กติกาการตัดสิน
๑.
บทกลอนที่ผิดฉันทลักษณ์สำคัญต่อไปนี้ กรรมการจะไม่นำไปตรวจให้คะแนน
๑.๑
ไม่มีสัมผัสระหว่างวรรค
๑.๒
ไม่มีสัมผัสระหว่างบท
๑.๓
เสียงท้ายวรรคผิด (ท้ายวรรคที่หนึ่งใช้ได้ทุกเสียง ท้ายวรรคที่สองห้ามใช้เสียงสามัญและ เสียงตรี ท้ายวรรคที่สามและท้ายวรรคที่สี่ใช้ได้เฉพาะเสียงสามัญและเสียงตรีเท่านั้น)
๑.๔
ใช้สระเสียงสั้นสัมผัสกับสระเสียงยาวเป็นสัมผัสบังคับ (เช่น ใช้ ใจ สัมผัสกับ กาย)
๑.๕
เขียนไม่ครบบทตามที่กำหนด
๒.
บทกลอนที่ไม่ผิดฉันทลักษณ์สำคัญ กรรมการจะนำไปตรวจให้คะแนน โดยมีหลักเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
๒.๑
ฉันทลักษณ์และอักขรวิธี (๑๐ คะแนน)
๑)
ถ้าเขียนตัวสะกดการันต์ผิด หักคะแนนคำละ ๑ คะแนน
๒)
ถ้าในบทกลอนที่เขียนมีสัมผัสซ้ำ หักคะแนนตำแหน่งละ ๕ คะแนน
๓)
ถ้าในบทกลอนที่เขียนมีสัมผัสเลือน หักคะแนนตำแหน่งละ ๒ คะแนน
๒.๒
ความคิดและเนื้อหา (๒๐ คะแนน)
พิจารณาจากหลักเกณฑ์ ต่อไปนี้
๑)
ตรงประเด็นหรือตีญัตติแตก หมายความว่าผู้เขียนจะต้องใช้ญัตติที่กำหนดเป็นแก่นเรื่อง
๒)
เสนอแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ หมายความว่าเนื้อหาที่ผู้เขียนเสนอนั้นให้แง่คิดที่เป็นประโยชน์
แก่ผู้อ่าน เช่น แง่คิดในการดำรงชีวิต การเข้าใจสังคม การปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมฯลฯ
๓)
เสนอแนวความคิดที่แปลกใหม่ หมายถึงแนวความคิดที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึง เป็นแนวความคิด
ที่มีเหตุผลและอยู่ในขอบเขตของญัตติ
๒.๓
กวีโวหาร (๒๐ คะแนน)
๑)
มีสัมผัสราบรื่น อ่านแล้วเกิดความไพเราะ
๒)
การใช้โวหารต่างๆส่งเสริมเนื้อหาให้มีความหมายลึกซึ้งกินใจ เช่น การกล่าวเปรียบเทียบ
และการใช้บุคลาธิษฐาน เป็นต้น
๓)
การเล่นอักษร เล่นคำ ที่ช่วยให้คำประพันธ์มีความไพเราะยิ่งขึ้น
กรรมการตัดสินแต่ละชุดในแต่ละญัตติมี ๓ คน กรรมการแต่ละคนรับผิดชอบให้คะแนนทั้งหมด
ตามกติกา
การรับสมัคร
๑.
ประเภทนักเรียน ต้องเขียนใบสมัครส่งไปที่ศูนย์วัฒนธรรมมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ถ.ประชาชื่น
เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐ ภายในวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๔๖ โดยระบุชื่อโรงเรียน และแจ้งชื่อ
นักเรียนที่จะเข้าแข่งขันให้ครบกลุ่มละ ๓ คน พร้อมทั้งลงชื่อผู้รับรองด้วย โรงเรียนสามารถส่งเข้า
แข่งขันได้โรงเรียนละไม่เกิน ๒ กลุ่ม
-๓-
๒.
ประเภทประชาชน แจ้งความประสงค์สมัครเข้าประชันกลอนสด ได้ทั้งทางจดหมาย และทางโทรศัพท์
โดยระบุชื่อและที่อยู่ให้ชัดเจน ภายในวันที่ ๑๖สิงหาคม ๒๕๔๖(ประเภทประชาชนไม่รับสมัครในวันงาน) ทั้งนี้ ผู้มีสิทธิ์สมัครประเภทประชาชน ให้เป็นไปตาม ข้อ ๑ (๑.๒) เท่านั้น ติดต่อหรือส่งไปที่
ศูนย์วัฒนธรรมมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ถนนประชาชื่น แขวงทุ่งสองห้อง
เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐
โทรศัพท์ ๐๒-๙๕๔-๗๓๐๐ ถึง ๒๙ ต่อ ๕๔๔,๕๔๙,๓๕๒
โทรสาร ๐๒-๕๘๙-๙๖๐๕
๓.
ประเภทประกวดบทร้อยกรอง สมัครได้ในวันงาน
ผู้ไม่มีสิทธิ์เข้าประกวด
๑.
ผู้ที่เคยเป็นกรรมการตัดสินการประกวดประชันกลอนสดของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
๒.
ผู้ที่เคยได้รับรางวัลชนะเลิศในการประชันกลอนสดและประกวดบทร้อยกรองแต่ละครั้งที่ผ่านมา
(ยกเว้นประเภทนักเรียน)
รางวัล
๑.
การประชันกลอนสดรอบคัดเลือก ๒ รอบ ทั้งประเภทนักเรียนและประเภทประชาชนมีรางวัล ดังนี้
๑.๑
ประเภทนักเรียน
๑)
รางวัลชนะเลิศ ๑ รางวัล
-
เกียรติบัตรของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และเงินรางวัล ๑,๐๐๐ บาท
๒)
รางวัลรองชนะเลิศ ๓ รางวัล
-
เกียรติบัตรของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และเงินรางวัล ๆ ละ ๕๐๐ บาท
๑.๒
ประเภทประชาชน
๑)
รางวัลชนะเลิศ ๑ รางวัล
-
เกียรติบัตรของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และเงินรางวัล ๑,๐๐๐ บาท
๒)
รางวัลรองชนะเลิศ ๓ รางวัล
-
เกียรติบัตรของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และเงินรางวัลๆ ละ ๕๐๐ บาท
๒.
ในการประชันกลอนสดรอบชิงชนะเลิศ ทั้งประเภทนักเรียนและประเภทประชาชนมีรางวัล ดังนี้
๒.๑
ประเภทนักเรียน
๑)
รางวัลชนะเลิศ ๑ รางวัล
-
โล่พระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
-
เงินรางวัล ๗,๐๐๐ บาท
๒)
รางวัลรองชนะเลิศ ๑ รางวัล
-
โล่เกียรติยศของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
-
เงินรางวัล ๔,๐๐๐ บาท
๓)
รางวัลชมเชย ๕ รางวัล
-
เกียรติบัตรของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และเงินรางวัลๆ ละ ๑,๐๐๐ บาท
-๔-
๒.๒ ประเภทประชาชน
๑) รางวัลชนะเลิศ ๑ รางวัล
- โล่พระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- เงินรางวัล ๘,๐๐๐ บาท
๒) รางวัลรองชนะเลิศ ๑ รางวัล
- โล่เกียรติยศของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- เงินรางวัล ๕,๐๐๐ บาท
๓) รางวัลชมเชย ๕ รางวัล
- เกียรติบัตรของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- เงินรางวัล ๆ ละ ๑,๐๐๐ บาท
๓. ประเภทประกวดบทร้อยกรอง มีรางวัล ดังนี้
๓.๑ ประเภทประชาชน
๑) รางวัลชนะเลิศ ๑ รางวัล
- โล่พระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี - เงินรางวัล ๔,๐๐๐ บาท
๒) รางวัลรองชนะเลิศ ๑ รางวัล
- โล่เกียรติยศของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- เงินรางวัล ๓,๐๐๐ บาท
๓) รางวัลชมเชย ๕ รางวัล
- เกียรติบัตรของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และเงินรางวัลๆละ ๑,๐๐๐ บาท
๓.๒ ประเภทนักเรียน
๑) รางวัลชนะเลิศ ๑ รางวัล
- โล่เกียรติยศของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และเงินรางวัล ๓,๐๐๐ บาท ๒) รางวัลรองชนะเลิศ ๑ รางวัล
- โล่เกียรติยศของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และเงินรางวัล ๒,๐๐๐ บาท
๓) รางวัลชมเชย ๕ รางวัล
- เกียรติบัตรของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และเงินรางวัลๆละ ๑,๐๐๐ บาท
วันเวลาจัดงาน
วันเสาร์ที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๖ ตั้งแต่เวลา ๘.๓๐ น. ถึงเวลาประมาณ ๑๗.๐๐ น. ทั้งนี้จะประกาศผล
และมอบรางวัลให้เสร็จสิ้นภายในวันเดียวกัน
สถานที่จัดงาน
ห้องประชุมชั้น ๖ อาคารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ถนนประชาชื่น เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐ ขอให้ผู้สมัครเข้าประชันกลอนสดและประกวดบทร้อยกรองทุกประเภทไปรายงานตัวต่อคณะกรรมการ ณ สถานที่จัดงานก่อนเวลา ๘.๐๐ น.
**************************
28 พฤษภาคม 2545 22:23 น.
เชษฐภัทร วิสัยจร
คือผมอยากนำกลอนที่แต่งไว้ก่อนที่จะเป็นสมาชิก เข้ามาเก็บไว้ในบัญชีของผมนะครับ
ควรจะทำอย่างไรดี
ช่วยแนะนำด้วยนะครับ
ขอบคุณมากครับ